การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 เขตคลองสาน

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  ชีวิตและครอบครัว  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔  สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

ประเภทผลงานทางวิชาการ : งานวิจัย

ปีที่ทำการวิจัย : ๒๕๕๕

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : พันจ่าตรี  ศุภกร    ทิมเขียว      ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผลการวิจัยพบว่า  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  ชีวิตและครอบครัว  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  ชั้นประถมศึกษาที่ ๔  มีประสิทธิภาพในระดับ  ๘๕.๕๐ / ๘๙.๓๓           สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ๘๐ / ๘๐ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑

รายละเอียดของงานวิจัยสามารถค้นคว้าได้จาก web-online ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

รศ.ดร.อำนวย  เดชชัยศรี   บรรณากร

SMT: วิทย์/คณิต/เทคโนโลยี

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก สำหรับเด็กปฐมวัยเครือข่ายโรงเรียนที่ 70 สำนักงานเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง  สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก  สำหรับเด็กปฐมวัยเครือข่ายโรงเรียนที่ ๗๐  สำนักงานเขตคลองสาน  กรุงเทพมหานคร

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่พิมพ์ : 2555

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ พุทธชาติ    เล็กมีมงคล  ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก  สำหรับเด็กปฐมวัย  มีประสิทธิภาพระดับ  ๘๖.๖๗ / ๘๓.๒๐ สูงกว่ามาตรฐาน ๘๐ / ๘๐      สำหรับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .๐๑     ต้องการทราบรายละเอียดสามารถติดตามได้ที่WEB-online ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จจเจ้าพระยา

 

รศ.ดร.อำนวย    เดชชัยศรี   บรรณากร

SMT:  วิทย์ / คณิต / เทคโน

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง พระรัตนตรัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทวีธาภิเศก สำนักงานเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มัธยมศึกษา เขต 1

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่องพระรัตนตรัยกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑  โรงเรียนทวีธาภิเศก

ประเภทผลงานทางวิชาการ : งานวิจัย

ปีที่ทำการวิจัย : 2555

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : พงษ์สร  จันลิ้ม  ครุศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผลการวิจัยพบว่า  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้   ๘๐.๒๖ /๘๒.๕๖   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .๐๑สามารถติดตามรายละเอียดใน web-online ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จจเจ้าพระยา

รศ.ดร.อำนวย    เดชชัยศรี    บรรณากร   MST: คณิต / วิทย์ / เทคโนโลยี

Investigate Effect of AG2O Adding on Y134 Superconductor

Investigate Effect of Ag2O Adding on Y134 Superconductor

 

Napaporn Sripawatakul1,a* , Rattanasuda Supadanaison2,b,

Theerathawan Panklang2,c, Chalit Wanichayanan2,d, Adullawich Kaewkao1,e,

Tunyanop Nilkamjon1,f Piyamas Chainok5,i, Somporn Tiyasri3,j,

Wirat Wongphakdee3,g, Thitipong Kruaehong4,h,

Pongkaew Udomsamuthirun1,j

 

1Prasarnmit Physics Research Unit, Department of Physics, Faculty of Science, Srinakharinwirot University, Bangkok 10110, Thailand.

2Bansomdejchaopraya Rajabhat University 1061 Soi Itsaraphap 15, Hiranruchi, Thon Buri, Bangkok 10600, Thailand.

3Department of Chemistry, Faculty of Science, Srinakharinwirot University,Bangkok 10110, Thailand.

4Department of Physics, Faculty of Science and Technology, Suratthani Rajabhat University,Surat Thani 84100, Thailand.

5Department of General Education, Faculty of Science and Technology,Pathumwan Institute of Technology, Bangkok 10330, Thailand.

[email protected], [email protected], [email protected],

[email protected], [email protected], [email protected], [email protected],

[email protected], [email protected], [email protected],

[email protected]

 

Keywords: Y134 superconductor, Solid state reaction, Critical temperature


 

Abstract. In this paper, we synthesized Y134 superconductor doped Ag2O by solid state reactionand investigated the effect of Ag2O addition on the critical temperature of Y134 superconductor and SEM micrographs shown Y134 doped Ag2O has rather smooth and small pores feature. The maximum critical temperature found at an optimal doping, 0.1 Ag, with Tc onset =97 K.

 

Introduction

       Since the discovery of high temperature superconductors of Bednorz and Muller [1] in 1986 and the discovery of Y123 (YBa2Cu3O7-x) by Chu and coworkers [2] in 1987, increasing critical temperature and current of superconductors has been the aim of intensive research. The critical temperature above liquid nitrogen boiling point of these materials means that YBaCuO compounds can exhibit a high critical temperature enough for application in various areas. The critical temperature (Tc) of this high temperature superconductor sensitively depends on both the hole concentration in the CuO2 planes and the relative concentration of the oxygen within the planes [3]. After the discovery of Y123 (YBa2Cu3O7-x), various elements are added in YBaCuO system for increasing the critical temperature (Tc) and critical current density (Jc) [4-6]. Numerous studied have shown that Ag-doping of Y123 superconductor caused in improved superconducting properties [7-11]. As Ag fills the intergranular spaces, it improves the electrical properties of samples, enhancing the critical current density without changing the critical temperature [12]. In the studies of Ag admixing has been reported to result in enhancement of the critical current density in cuprate superconductors [13-15]. Shao et al. [16] prepared the YBa2Cu3O7-x by using Y2O3, BaCO3, CuO in the appropriate amounts. Then the Ag, Ag2O, AgNO3 were added into Y123 power separately. The sintering temperature of 830 – 930 °C were used to form the bulk samples. They found that the Ag-doping does not cause any district microstructure change of Y123 superconductor. Ag dopants located at the pores contributes to strengthening and improving the critical current density of material. Zheng et al. [17] study the Y124 superconductor and the effectof Ag2O addition prepared by solid-state reaction method. The Y2O3, CaCO3, Ba(NO3)2, CuI and Ag2O were mixed and heated at 815 °C. The obtained samples had a remarkable increase in critical current density by optimum silver addition. Reduction of porosity in the Y124 superconductor was found to be the origin of critical current density enhancement. Rani, Jha and Awana [18] reported the effect of Ag addition on the superconducting performance of Y123 superconductor prepared by solid-state reaction. The powder of Y2O3, BaCO3, CuO and Ag2O was used as the starting materials. The calcination at 870 °C, 890 °C, and 910 °C with sintering temperature at 920 °C were done. Ag-added Y123 superconductor showed the optimum intergranular coupling that the grain size is found to increase with Ag doping until the maximum value then decrease. Azambuja et al. [19] prepared the Y123 dope Ag by conventional solid-state reaction with Y2O3, BaCO3, CuO, Ag2O and metallic Ag as beginning materials. They were calcinated in air at 870 °C, 900 °C, 920 °C and the sintered temperature at 920 °C. The sample were heated in flowing oxygen at 420 °C. Their results revealed that Ag doping does not modify expressively the value of critical temperature. Ag is incorporated in the intergrain regions providing a better grain coupling. Another way to higher performance parameters of High-Tc superconductor are to find the new formula that can achieve our aim. The new formula of this group are Y5-6-11, Y7-9-16, Y358, Y5-8-13, Y7-11-18, Y156, Y3-8-11, and Y13-20-23, where the numbers indicate Y, Ba, and Cu atoms respectively [20, 21]. Chainok et.al [22] studied the YBaCuO superconductors having one Yttrium atom that Y123 (YBa2Cu3O7-y), Y134 (YBa3Cu4O9-y), Y145 (YBa4Cu5O 11-y) and Y156 (YBa5Cu6O13-y). The sintering temperature at 950 °C and 980 °C were used for synthesized their samples. The critical temperature in range 88 – 94 °C were found.

       In this paper, we interested in Y134 superconductor that proposed by Chainok et.al [22] because this formula having the amount of element nearby the Y123. We synthesized Y134 superconductor doped Ag2O by solid state reaction and investigated the effect of Ag2O addition on the critical temperature.

 

Experimental Details

       Series samples of YBa3Cu4AgxO9-δ (where x = 0, 0.05, 0.10, 0.15), the precursor powders were mixed according to chemical formula that pure sample Y: Ba: Cu as 1:3:4 and for doping samples Y: Ba: Cu: Ag as 1:3:4:0.05, 1:3:4:0.10, 1:3:4:0.15. Samples were synthesized by standard solid state reaction method. The appropriate ratio of the constituent oxides and carbonate i.e. Y2O3, CuO, Ag2O and BaCO3 were mixed and ground by mortar and pestle. After regrinding and mixing, the powder was kept in an alumina crucible and heated at 950 0C for the calcination process. After calcinations the material was ground to enhance chemical homogeneity. The homogeneous powder was pressed to form of pellets before sintering. These pellets sintered in air at 950 °C and the final annealing at 500 0C was done. The surface morphology of as synthesized materials has been carried out by a Joel scanning electron microscope (JSM-5600). The electrical resistivity have been measured by standard four point probe method. Results and Discussions After preparation process was done, we took all samples for SEM, resistance, and. In Fig. 1, the SEM images of Y134 superconductor were shown. We found that the large pores of Y134 without Ag2O doping were eliminated from the composites by the addition of Ag2O. Y134 doped Ag2O has rather smooth and small pores feature,

Fig. 1 Shown results from SEM observation on given samples.

The resistance measurement by four-point-probe technique of sample obtained were shown in

Fig. 2. The critical temperature onset and offset were read out from these data that were shown in

Table 1

Fig. 2 Shown the resistivity of pure Y134 and Y134 with Ag2O doping.

Table 1 The critical temperature of Y134 and Y134 doped Ag superconductor.

sample Tcoffset (K) Tconset (K) ΔTc
Y134 90 95 5
Y134 +0.05Ag 88 92 4
Y134 +0.10Ag 95 97 2
Y134 +0.15Ag 90 92 2

 

       According to Table 1. We found that the highest critical temperature was in Y134+0.1 Ag sample with Tc onset at 97 K the lowest was found in Y134+0.15Ag and Y134+0.05Ag at 92 K. This result was present the maximum critical temperature found at an optimal doping, 0.1 Ag, with Tc onset =97 K. This result was consistent with the research of Li et al [12] and Plesch et al [15] that studied Ag doped superconductor, found that fills the intergranular space and improves the electrical properties of samples. So not only, adding Ag2O contributes to strengthening this Ag2doping in appropriate volume will higher critical temperature.

 

Conclusions

       We have prepared YBa3Cu4AgxO9-δ (Y134+xAg) where x = 0, 0.05, 0.10, 0.15 by solid state reaction and investigated the effect of Ag2O addition on the critical temperature 950 oC. The critical temperature onset of all sample were equal 95K, 92K, 97K, and 92K with x = 0, 0.05, 0.10, 0.15,respectively. The maximum critical temperature found at an optimal doping, 0.1 Ag, with Tc onset =97 K. SEM images of Y134 superconductor shown that the pores of Y134 without Ag2O doping were fill up by admix Ag2O in Y134. Additional, Ag2O doping in appropriate volume will higher critical temperature.

 

Acknowledgements

       The author would like to express my sincere thank the Promotion of Science and Mathematics Talented Teacher (PSMT), the Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Faculty of science Srinakharinwirot University.

 

Reference

[1] J. G. Bednorz, K. A. Muller, Possible High Tc Superconductivity in the BaLaCuO System, Z. fuer Physik. B. 64 (1986) 189-193.

[2] M. K. Wu, J. R. Ashbum, C. J. Torng, P. H. Hor, R. L. Meng, L. Gao, Z. J. Huang, Y. Q. Wang, C. W. Chu, Superconductivity at 93 K in a New Mixed-Phase Y-Ba-Cu-O Compound System at Ambient Pressure, Phys. Rev. Lett. 58(9) (1987) 908-910.

[3] M. Karppinen, H. Yamauchi, Hole-doping routes for understanding the relationship between atomic arrangements and superconductivity properties in multi-layered copper oxides, J. Inorg. Mater. 2(6) (2000) 589-599.

[4] K. Salama, V. Selvamanickam, L. Gao, K. Sun, High current density in bulk YBa2Cu3Ox superconductor, Appl. Phys. Lett. 54 (1989) 2352-2354.

[5] S. Ravi, V. Seshu Bai, Ac-susceptibility study of the 110-K superconducting phase of Bi-Sr-Ca-Cu-O, Phys. Rev. B. 49(18) (1994) 13082-13088.

[6] D. X. Chen, R. B. Goldfarb, J. Nogues, K. V. Rao, Magnetic susceptibility of sintered and powdered Y-Ba-Cu-O, J. Appl. Phys. 63(3) (1988) 980-983.

[7] T. Nishio, Y. Itoh, F. Ogasawara, M. Suganuma, Y. Yamada, U. Mizutani, Superconducting and mechanical properties of YBCO/Ag composite superconductors, J. Mater. Sci. 24(9) (1989) 3228.

[8] J. H. Miller, S. L. Holder, J. D. Hunn, G. N. Holder, Improvement of YBa2Cu3O7−x thick films by doping with silver, Appl. Phys. Lett. 54(22) (1989) 2256.

[9] S. Jin, T. H. Tiefel, G. W. Kammlott, Effect of Y2BaCuO5 inclusions on flux pinning in YBa2Cu3O7−δ, Appl. Phys. Lett. 59(5) (1991) 540.

[10] J. Jung, M. A-K. Mohamed, I. Isaac, L. Friedrich, Josephson-flux depinning in granularYBa2Cu3O7−δ, Phys. Rev. B. 49 (1994) 12188-12199.

[11] K. Iida, N. H. Babu, S. Pathak, Y. Shi, W. K. Yeoh, T. Miyazaki, N. Sakai, M. Murakami, D.A. Cardwell, Optimum processing conditions for the fabrication of large, single grain Ag-doped YBCO bulk superconductors, J. Mater. Sci. 151(1) (2008) 2-6.

[12] A. P. Li, Q. H. Ni, Q. P. Kong, Mechanical properties of Ag-doped YBa2Cu3O7−y superconductors, Phys. Status Solidi (a) 127(1) (1991) 187-193.

[13] Y. Zhao, C. H. Cheng, J. S. Wang, Roles of silver doping on joins and grain boundaries of melt-textured YBCO superconductor, Supercond. Sci. Technol. 18(2) (2005) S34.

[14] O. Görür, C. Terzioglu, A. Varilci, M. Altunbas, Investigation of some physical properties of silver diffusion-doped YBa2Cu3O7−x superconductors, Supercond. Sci. Technol. 18(9) (2005) 1233.

[15] G. Plesch, F. Hanic, A. Cigan, J. Manka, A. Buckuliakova, S. Buchta, Microstructure and superconducting properties of melt textured Y-Ba-Cu-(Ag)-O composites with various Ag content, Int. J. Inorg. Mater. 3(6) (2001) 537-543.

[16] B. Shao, A. Liu, Y. Z. Hou, J. Zhang, J. Wang, Effect of Ag-doping on critical current densities in high Tc superconducting materials of YBa2Cu3O7-x, Mat. Res. Bull. 24(11) (1989) 1369-1373.

[17] X. G. Zheng, H. Matsui, S. Tanaka, M. Suzuki, C. N. Xu, K. Shobu, Superconducting properties of silver-doped YBa2Cu4O8 and Y0.9Ca0.1Ba2Cu4O8, Mater. Res. Bull. 33(8) (1998) 1213- 1219.

[18] P. Rani, R. Jha, V. P. S. Awana, AC Susceptibility Study of Superconducting YBa2Cu3O7: Agx Bulk Composites (x = 0.0–0.20): The Role of Intra and Intergranular Coupling, J. Supercond. Nov. Magn. 26 (2013) 2347-2352.

[19] P. de Azambuja, P. Rodrigues Junior, A. R. Jurelo, R. M. Costa, Conductivity Fluctuations of Polycrystalline Ag-Doped YBa2Cu3O7−δ Superconductor, Braz. J. Phys. 40(2) (2010) 195-200.

[20] P. Udomsamuthirun, T. Kruaehong, T. Nilkamjon, S. Ratreng, The new superconductors of YBaCuO materials, J. Supercond. Nov. Magn. 23(7) (2010) 1377-1380.

[21] A. Aliabadi, A. Farshchi, M. Akhavan, A New Y-based HTSC with Tc above 100 K, Physica C. 469(22) (2009) 2012–2014.

[22] P. Chainok, T. Khuntak, S. Sujinnapram, S. Tiyasri, W. Wongphakdee, T. Kruaehong, T. Nilkamjon, S. Ratreng, P. Udomsamuthirun, Some properties of YBamCu1+mOy (m = 2, 3, 4, 5) superconductors, Int. J. Mod. Phys. B 29(9) (2015) 1550060(1-14).

[23] J. H. Choy, et al. Determination of the Copper Valency and the Oxygen Deficiency in the High Tc Superconductor, YBa2Cu3O7-δ, Bull. Korean Chem. Soc. 9 (1988) 289-291.

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 เขตคลองสาน

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๕  กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา   สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน    เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๓  คลองสาน

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่ทำวิจัย : ๒๕๕๕

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นฤมล  คงกำเหนิด  ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ผลการวิจัยพบว่า

       ๑. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังกล่าวมีประสิทธิภาพเกินกว่ามาตรฐานกำหนดอยู่ในระดับ  ๘๒ / ๘๑

       ๒. วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังกล่าว  พบว่าผลสัมฤทธ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ . ๐๑   

รายละเอียดติดตามได้จากผลงานวิจัยที่เผยแพร่ทาง 0n-line ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ร.ศ.ดร.อำนวย  เดชชัยศรี   บรรณากร   

SMT: วิทย์ / คณิต / เทคโนโลยี

คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องซื้อขายแลกเปลี่ยนให้

ชื่อผลงานทางวิชาการ : คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ว่าด้วยเรื่อง ซื้อขายแลกเปลี่ยน ให้

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชา กฎหมาย

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2556

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นายพิบูลย์ วิฑูรย์ปัญญากุล ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงาน : หนังสือใช้ประกอบการสอนเล่มนี้มีสาระสำคัญของสัญญาซื้อขาย โดยกล่าวถึงสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทน วัตถุประสงค์ของสัญญาซื้อขายส่งมอบทรัพย์และโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ วัตถุของสัญญาซื้อขาย คือ  ทรัพย์สิน และผู้ซื้อตกลงชำระราคาคือ เงิน สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่กฎหมายกำหนดชื่อไว้เป็นการเฉพาะมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ คือ ผู้ขายต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อและผู้ซื้อตกลงชำระราคาให้แก่ผู้ขายเป็นการตอบแทน การที่บุคคลทั้งสองฝ่ายเข้ามาทำนิติกรรมผูกพันซึ่งกันและกัน โดยพื้นฐานต้องเกิดจากการยินยอมและเต็มใจทั้งสองฝ่าย ซึ่งรากฐานความคิดของนิติกรรมและสัญญานั้นมาจากอิสระในทางแพ่ง (Private autonomy) และหลักเสรีภาพในการทำสัญญา (Principle of freedom of contract)

       หลักเกณฑ์ทั่วๆ ไปในการแสดงเจตนา โดยในการพิจารณาจากบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ 1 แยกสาระสำคัญได้คือ บุคคลที่แสดงเจตนาประกอบด้วย บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และวิธีการแสดงเจตนา การแสดงโดยการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาเป็นกรณีย่อย 2 กรณี คือ การแสดงเจตนาโดยชัดเจนกับการแสดงเจตนาโดยปริยาย องค์ประกอบของการซื้อขายได้แก่ คู่สัญญา วัตถุประสงค์/เป้าหมายของการซื้อขาย แบบและเจตนา สัญญาซื้อขายมี 4 ประเภท ได้แก่ สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ข้อแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดกับสัญญาจะซื้อจะขายต่างกัน สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข สัญญาซื้อขายมีเงื่อนเวลาและสัญญาจะซื้อจะขาย บุคคลที่มีสิทธิทำสัญญาซื้อขาย และหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาซื้อขายกล่าวถึงบุคคลที่มีสิทธิทำสัญญาต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะอายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรส สำหรับผู้ที่มีสิทธิขายสินทรัพย์ได้แก่ เจ้าของกรรมสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1336 เจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1361 และบุคคลอื่นซึ่งมีสิทธิขายได้ตามกฎหมาย

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : เนื้อหาสาระของหนังสือเล่มนี้กล่าวถึง ตามเนื้อความของประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 456 นั้นทรัพย์สินที่สามารถนำมาเป็นวัตถุแห่งสัญญาจะซื้อจะขาย แยกตามประเภทได้ คือ อหังสาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน ตึก บ้าน และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือที่มีระวางตั้งแต่ 5 ต้นขึ้นไป แพและสัตว์พาหนะได้แก่ ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อและลา ที่ได้ทำตั๋วรูปพรรณตามกฎหมายแล้ว

       สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษตามพระราชบัญญัติอื่น คือ พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ.2514พระราชบัญญัติการเดินอากาศและพระราชบัญญัติเรือสยาม สถานที่รับจดทะเบียนตามประเภทของทรัพย์ คือ ที่ดิน เรือ แพ สัตว์พาหนะ อากาศยาน เครื่องจักร ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันไม่ได้ ได้แก่ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถถือเอาได้ ทรัพย์สินซึ่งไม่อาจโอนให้แก่กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายกับสัญญาอื่น คือ สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายให้ผู้ซื้อแลกกับเงินที่เป็นราคาของทรัพย์สินตามที่ตกลงกัน ฯลฯ เป็นต้น สัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมหลายฝ่าย จึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ 1 บททั่วไปลักษณะ 4 ว่าด้วยนิติกรรม และความเป็นโมฆียะของสัญญาซื้อขายเกิดจากความบกพร่อง เนื่องจากมีลักษณะไม่สมบูรณ์เต็มร้อยแต่สามารถบังคับใช้ชั่วคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 157 บัญญัติไว้ว่า การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล หรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 159 บัญญัติ ไว้ว่าการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ

       การโอนกรรมสิทธิ์ กล่าวว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 458 คือ ตั้งแต่ผู้ขายตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นให้เราและเราก็ตกลงจะชำระราคาค่าสินค้านั้นให้ผู้ขาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การโอนกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ธรรมดา และการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ

       บุคคลมีสิทธิทำสัญญาซื้อขายและหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาซื้อขายนั้น ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้สำหรับทรัพย์สินบางประเภท คือ อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ สำหรับผู้ที่ถือว่ามีสิทธิที่จะขายสินทรัพย์ ได้แก่ เจ้าของกรรมสิทธิ์ เจ้าของรวมและบุคคลอื่น ซึ่งมีสิทธิขายได้ตามกฎหมาย เช่น ผู้จัดการมรดก ผู้ใช้อำนาจปกครอง เจ้าพนักงานขายทอดตลาดบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การจะซื้อขายทรัพย์สินที่สำคัญอันได้แก่ อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษตามกฎหมายบัญญัติ ตามมาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายที่ตกลงกัน สิทธิของผู้ขายได้แก่ สิทธิที่จะยึดหน่วงทรัพย์สิน สิทธิที่จะเรียกให้ผู้ซื้อชำระหนี้ สิทธิในการริบมัดจำและสิทธิในการเลิกสัญญา หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขายตามกฎหมายลักษณะซื้อขายมี 3 ประการ คือ หน้าที่ในการส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินกรณีที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปและอสังหาริมทรัพย์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 465 และมาตรา 466 ส่วนเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้ขายและต้องรับผิดชอบกรณีเกิดการชำรุดของทรัพย์สินที่ขาย

       ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 475 กล่าวถึงความรับผิดชอบในการรอนสิทธิ์ สำหรับสิทธิของผู้ซื้อ ได้แก่ สิทธิที่จะเรียกให้ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินตามเวลา สถานที่ วิธีการและปริมาณที่ตกลงกันไว้ สิทธิที่จะยึดหน่วงเวลาในกรณีที่ผู้ซื้อพบการชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ซื้อ ฯลฯ เป็นต้น หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ซื้อ คือ การรับมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายตามเวลา สถานที่และวิธีที่ตกลงกันในสัญญาซื้อขาย มาตรา 486 และหน้าที่ในการชำระราคาทรัพย์สิน มาตรา 453 ฯลฯ เป็นต้น

       การซื้อขายเฉพาะอย่างมี 5 ประเภท คือ การซื้อขายตามตัวอย่าง การซื้อขายตามคำพรรณนา การซื้อขายเผื่อชอบ การซื้อขายฝากและการซื้อขายทอดตลาด สำหรับผู้ที่มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 497 พึงใช้ได้กับบุคลเหล่านี้ คือ ผู้ขายเดิมหรือทายาทของผู้ขายเดิมหรือผู้รับโอนสิทธิหรือบุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะว่าให้เป็นผู้ไถ่ได้ สามารถจำแนกผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ คือ ผู้ขายเดิม ทายาทของผู้ขายเดิม ผู้รับโอนสิทธินั้นและบุคคลซึ่งในสัญญายอมรับไว้โดยเฉพาะว่าเป็นผู้ไถ่ได้ และผู้มีหน้าที่รับไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก คือ ผู้ซื้อเดิม/ทายาทของผู้ซื้อเดิมและผู้รับโอนทรัพย์สิน

       การขายทอดตลาดอาจเกิดขึ้นได้ 2 วิธี คือ ขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลหรือคำพิพากษาของศาลและโดยไม่มีคำสั่งศาล ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคลต่อไปนี้ คือ ผู้ขาย (เจ้าของทรัพย์) Seller ผู้ดำเนินการขายทอดตลาด (ผู้ทอดตลาด) Auctioneer ผู้สู้ราคา Bidder และผู้ซื้อ Buyer

จุดเด่น /ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 518 และ520 เป็นสัญญาแลกเปลี่ยนเป็นเอกเทศที่มีบทบัญญัติเพียง 3 มาตราเท่านั้น ซึ่งมีคำจำกัดความสัญญาแลกเปลี่ยนไว้ดังนี้

       สัญญาแลกเปลี่ยนมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย สัญญาแต่ละฝ่ายต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ทำการแลกเปลี่ยนด้วย ต้องมีวัตถุแห่งสัญญาแลกเปลี่ยน วัตถุประสงค์ของสัญญาแลกเปลี่ยนเจตนาและแบบ ลักษณะสัญญาแลกเปลี่ยนมีดังนี้ เป็นสัญญาจ่ายตอบแทน เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ด้วยความยินยอม เป็นสัญญาที่มีผลในทางทรัพย์และเป็นสัญญาที่กฎหมายให้บังคับตามหลักเกณฑ์ในเรื่องซื้อขาย

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมหลายฝ่าย ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ 1 บททั่วไป ลักษณะ 4 ว่าด้วยนิติกรรม แต่กำหนดสัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์เพราะมีเหตุเป็นโมฆียะ สัญญานั้นย่อมสามารถก่อให้เกิดผลในทางกฎหมายไปได้ทั้งผลในทางหนี้และทางทรัพย์เพราะคู่สัญญาถือได้ว่าได้รับโดยมีฐานของสัญญาซื้อขายเป็นมูลรองรับ แต่ถ้าหากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมคืน คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งย่อมสามารถใช้สิทธิที่จะเรียกร้องให้คืนได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่บอกล้างโมฆียะตามมาตร 176 วรรคสาม

สิ่งที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางเนื้อหาสาระ : กรณีการนำเนื้อหาสาระไปใช้ประโยชน์ในทางการศึกษาสามารถดำเนินการได้เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็นสถาบันทางการศึกษาระดับอุดมศึกษามีสาขาการตลาด การท่องเที่ยว การเงินการบัญชีและแพทย์แผนไทย เป็นต้นนั้นเกี่ยวข้องกับสัญญาการขาย การให้บริการ หลายรูปแบบผู้สอนควรสอดแทรกหลักการ กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิผลประโยชน์ของนิติบุคคลด้วย

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

จิตวิทยาสำหรับครู

ชื่อผลงานทางวิชาการ : จิตวิทยาสำหรับครู

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาชีพครู

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2559-2560

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ พิมพ์ที่โรงพิมพ์สหธรรมิก จำกัด กรุงเทพมหานคร

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงาน : การพัฒนาการ เป็นการเปลี่ยนแปลงในด้านร่างกายและจิตใจอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ตั้งแต่ปฏิสนธิจวบจนตลอดชีวิต ทำให้มีลักษณะและความสามารถใหม่ๆ เกิดขึ้น โดยควบคู่กับวุฒิภาวะและการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นทางด้านขนาด สัดส่วน ลักษณะต่างๆ ในร่างกาย เป็นต้น สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาประกอบด้วย สติปัญญา เพศ ต่อมต่างๆ ในร่างกาย อาหาร อากาศบริสุทธิ์และแสงแดด เชื้อชาติ เป็นต้น

       การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เนื่องจากประสบการณ์หรือการฝึก เพราะการเรียนรู้มีลักษณะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้น พฤติกรรมค่อนข้างถาวรและมาจากประสบการณ์หรือการฝึกเท่านั้น องค์ประกอบของการเรียนรู้มีตัวผู้เรียน วิธีการจัดการเรียนการสอน บทเรียนและสิ่งแวดล้อม

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : การถ่ายโยงการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้เพราะการเรียนรู้จะมีความรู้เดิมหรือประสบการณ์แทรกอยู่ การถ่ายโยงการเรียนรู้มีผลต่อการเรียนรู้ในปัจจุบัน การถ่ายโยงการเรียนรู้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก (Positive Transfer of Learning) กับการถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer of Leaning)

       องค์ประกอบที่ทำให้เกิดการถ่ายโยงการเรียนรู้เกิดจากความคล้ายคลึงของสิ่งที่จะเรียนรู้ ความสามารถในการสรุปความของผู้เรียน ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของผู้เรียน และการมีเจตคติและอุดมคติของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ทำได้โดยควรสอนวิชาต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน ก่อนเรียนบทเรียนใหม่ควรทบทวนความรู้เดิม สอนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในกฎเกณฑ์ต่างๆ จัดสภาพการเรียนการสอนให้คล้ายกับสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน คำนึงถึงระดับเชาว์ปัญญาและความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก พยายามให้เด็กเกิดประสบการณ์มากๆ ก่อนเริ่มเรื่องใหม่ ส่งเสริมการแสดงความคิดสร้างสรรค์ด้วยตนเองและจัดให้เด็กมีทักษะและความเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ ให้มาก

       ทฤษฎีการเรียนรู้เกิดจากนักจิตวิทยานำสัตว์มาทดลอง เพราะการทดลองบางอย่างใช้เวลานาน ฯลฯ เป็นต้น ทฤษฎีการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavior Learning Theories) หรือกลุ่มสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (Stimulus-Response Theories) ประกอบด้วยทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎี คือ Thorndike ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการวางเงื่อนไข มีแบบคลาสสิก (Classical Condition) ของ Paulow กับวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Condition ของ Skinner) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Leaning Theories) หรือทฤษฎีสนาม (Field Theories) ประกอบด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ของ (Gestalt’s Theory) ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ (Discovery Leaning) ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) และทฤษฎีการเรียนรู้ปัญหาสังคม (Social Cognitives Learning Theory)

       ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง (Connectionism Theory) สรุปเป็นกฎเกณฑ์ได้ 3 กฎ คือ กฎแห่งความพร้อม กฎแห่งการฝึกหัด และกฎแห่งผลที่พอใจ

       การนำทฤษฎีไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ทำได้โดย

       1. เปิดโอกาสให้เด็กได้ลองผิดลองถูกในบางเรื่อง เพราะบางสถานการณ์ไม่มีวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่จะเหมาะสมเท่ากับวิธีลองผิดลองถูก
2. สอนเมื่อเด็กมีความพร้อม
3. สร้างบรรยากาศที่ยั่วยุให้เด็กอยากเรียน อยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นความพร้อมและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจริง
4. ทำงานร่วมกันกับเด็กอย่างใกล้ชิด และต้องให้เด็กทราบผลงานของเขาด้วย
5. เปิดโอกาสให้เด็กทบทวน ฝึกฝนการทำกิจกรรมที่เรียนรู้ไปซ้ำๆ ตามสมควร
6. เปิดโอกาสให้เด็กนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสภาพการณ์ต่างๆ
7. ครูควรจัดการเรียนโดยการแทรกสิ่งที่น่าสนใจและเกิดความสนุกสนาน
8. สอนเด็กต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะด้านอารมณ์

       ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้มี 2 ด้านใหญ่ๆ คือ ด้านผู้รับรู้กับด้านสิ่งเร้าหรือสิ่งที่จะรับรู้ ในด้านผู้รับรู้มีความแตกต่างกันเกี่ยวกับอวัยวะสัมผัสของผู้รับรู้ ประสบการณ์เดิม สติปัญญา ความสนใจ ความต้องการ เจตคติและภาวะของอารมณ์ ส่วนสิ่งเร้าหรือสิ่งที่รับรู้ต้องสามารถดึงดูดความสนใจได้ เช่น ขนาดของสิ่งเร้า ระดับความเข้มหรือความหนัก-เบาของสิ่งเร้า การเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าและการเกิดซ้ำของสิ่งเร้า นอกจากนี้สิ่งที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ยังประกอบด้วยแรงจูงใจที่ใช้กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมความต้องการ/ตามจุดมุ่งหมาย ส่งให้เกิดพฤติกรรมการทำงาน 3 ประการ คือ เกิดพลังกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม แรงจูงใจกำหนดทิศทางและเป้าหมายของพฤติกรรมและระดับความพยายาม แรงจูงใจประกอบด้วยความต้องการของมนุษย์ คือ ต้องการทางร่างกายหรือสรีระและต้องการทางจิตใจหรือต้องการทางสังคม สำหรับแรงขับเป็นสภาวะที่ร่างกายถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า พฤติกรรมก็จะแสดงออกมาและเป้าหมายใช้บำบัดความต้องการเพื่อลดระดับแรงขับ

       แรงจูงใจมี 2 แนวคิด คือ แบ่งตามแหล่งที่มาของแรงจูงใจ และแบ่งตามเหตุผลเบื้องหลังในการตอบสนอง ดังนั้นนักจิตวิทยาจึงศึกษาทฤษฎีสำหรับนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยทฤษฎีแรงขับทางชีวภาพ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม การนำทฤษฎีแรงจูงใจมาใช้การจัดการเรียนการสอนสามารถสร้างแรงจูงใจได้ทั้งภายในและภายนอก เพราะทำให้เด็กตื่นตัว (Arousal) การตั้งจุดมุ่งหมาย (Objective) การให้รางวัลหรือเครื่องล่อ (Incentive) และการแข่งขัน

       ด้านเชาวน์ปัญญาเป็นสิ่งที่แต่ละคนมีติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิดและสามารถพัฒนาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น บางคนมีเชาวน์ปัญญาดีแต่ไม่ประสบผลสำเร็จในชีวิต เชาวน์ปัญญาเป็นสิ่งสามารถกระตุ้นส่งเสริมให้พัฒนาได้ สำหรับเชาวน์ปัญญากับความสำเร็จในชีวิตทั้งด้านการเรียนและการประกอบอาชีพต่างๆ ต้องมีความพยายามอดทน ประกอบด้วย  นอกจากนี้บุคคลยังมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่เคร่งครัดต่อระเบียบแบบแผนมีลักษณะเป็นผู้นำ มีความคิดอิสระและยืดหยุ่นเสมอ ช่างสงสัย ชอบถามและรับรู้สิ่งที่ซับซ้อนได้ ปัจจัยที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานของแต่ละคน จินตนาการและวิจารณญาณ

       ในการสอนเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์ ครูต้องพัฒนาตนเองให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์เสียก่อน ต้องแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ฝึกคิด ฝึกใช้จินตนาการ กล้าคิดค้นวิธีสอนใหม่ๆ พัฒนาวิธีการทำงานของตนเองและก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

จุดเด่น / ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ :  การศึกษาบุคคลด้วยวิธีการทางจิตวิทยาและรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) วิธีพฤติกรรมนิยม (Behavior Method)

วิธีศึกษาด้วยพฤติกรรมนิยมมี 2 วิธีการใหญ่ คือ วิธีทางธรรมชาติ ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การรายงานตนเอง การใช้แบบสอบถามและการสำรวจ การใช้แบบทดสอบทางจิตและการศึกษารายกรณี และวิธีทดลอง มีวิธีการทางวิทยาศาสตร์

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : หนังสือจิตวิทยาสำหรับครูเล่มนี้ สามารถนำไปใช้เป็นคู่มือการจัดการเรียนการสอนของอาชีพครูได้ดีทุกรายวิชาทั้งอาจารย์คณะครุศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการและวิทยาลัยการดนตรี เพราะมนุษย์มีพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกแตกต่างกัน ผู้สอนต้องรู้เข้าใจผู้เรียนเนื่องจากผู้เรียนแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการ ผู้สอนต้องเข้าใจหลักจิตวิทยา หลักพัฒนาการของมนุษย์ เช่น ควรใช้แรงเสริมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพฤติกรรมที่ถูกต้องเพราะการเรียนรู้เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองในลักษณะที่ว่า การกระทำใดๆ หรือการตอบสนองใดๆ ที่ได้รับแรงเสริมหรือสิ่งเร้าที่พอใจ ก็มีแนวโน้มที่จะกระทำพฤติกรรมนั้นๆ ซ้ำอีกในเวลาต่อไป แต่ถ้าการกระทำใดหรือการตอบสนองใดไม่ได้รับแรงเสริมหรือสิ่งเร้าที่พอใจ การกระทำพฤติกรรมนั้นมีแนวโน้มลดลงและหายไปในที่สุด

       การนำทฤษฎีการเรียนรู้ในหนังสือเล่มนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน สามารถทำได้ดังนี้

       1. ใช้ในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป
2. ใช้ในการปลูกฝังพฤติกรรมบางอย่าง
3. ใช้ปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรม
4. ช่วยเสริมให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียน

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

จิตวิทยาการแนะแนวสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ชื่อผลงานทางวิชาการ : วิชา จิตวิทยาการแนะแนวสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ประเภทผลงานทางวิชาการ : เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชา จิตวิทยาการแนะแนวสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ เป็นเอกสารสำหรับแจกผู้เรียน

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงาน : ความหมายของคำว่าเด็กพิเศษ หรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษมีขอบเขต 3 ประการ ได้แก่ ความบกพร่อง คือ การสูญเสีย/ผิดปกติของจิตใจและสรีระ/โครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย ไร้สมรถภาพ คือ การมีข้อจำกัดหรือขาดความสามารถอันเป็นผลจากความบกพร่องจนไม่สามารถทำกิจกรรมได้ และความเสียเปรียบ คือ การมีความจำกัดหรืออุปสรรคกีดกันเพราะความบกพร่องและไร้สมรรถภาพ ดังนั้นทางการแพทย์จึงเรียกว่า พิการ องค์การอนามัยโลกได้แบ่งเด็กพิการเป็นลักษณะบกพร่องทางสติปัญญา บกพร่องทางการได้ยิน และบกพร่องทางการมองเห็น เป็นต้น

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : เอกสารประกอบการเรียนการสอนเล่มนี้ ได้สรุปสาระสำคัญว่าทางการแพทย์ได้จัดประเภทความต้องการพิเศษ เพื่อการบำบัดรักษาตามสภาพความพิการเป็น พิการทางแขน ขา ลำตัว พิการทางหู พิการทางสายตา พิการทางสติปัญญา และพิการทางอารมณ์และจิตใจ กองการศึกษาเพื่อคนพิการ กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดประเภทเด็กที่มีความต้องการพิเศษตามลักษณะที่ได้ดำเนินการบริการทางการศึกษา โดยแบ่งเป็น เด็กพิเศษประเภทตาบอด หูหนวก ปัญญาอ่อน ทางร่างกายรวมทั้งการเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลและขาดโอกาสเรียนหรือเด็กศึกษาสงเคราะห์ เช่น เด็กชาวเขา ชาวเรือ ชาวเกาะ ฯลฯ เป็นต้น

       การให้ความช่วยเหลือสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ด้วยวิธีการให้ทำกิจกรรมหลากหลายเริ่มจากง่ายไปยากจัดนันทนาการให้สนุกสนานปรับพฤติกรรม เช่น การใช้แรงเสริม ให้รางวัล เป็นต้น และจัดศิลปะบำบัดเน้นทางความคิดและสร้างสรรค์ การเรียนสามารถเรียนร่วมในระดับประถมศึกษาได้และสามารถฝึกอาชีพงานง่ายๆ ได้ ส่วนมัธยมต้องจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียน ส่วนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องให้สอดคล้องกับความต้องการ ความสามารถของเด็ก ๆ แต่ละคน

       สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำเป็นต้องใช้ภาษามือแทนพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ การอ่านริมฝีปาก เป็นการสื่อสารทั้ง 2 วิธี เพื่อให้เด็กสามารถเดาความหมายในการแสดงออกของผู้พูด ควรเริ่มจากการฝึกฟัง ฝึกการอ่าน ฝึกภาษามือและการสะกดนิ้ว และการสื่อสารระบบรวมและท่านแนะคำพูด

       เด็กพิการทางสายตามี 2 ประเภท คือ บอดสนิทกับบอดไม่สนิท/บอดบางส่วน ผู้สอนควรปฏิบัติต่อเด็กที่บกพร่องทางตา ไม่ควรพูดกับเด็กในลักษณะที่ทำให้เขารู้สึกว่าพิการ อย่าเสียงดังจนเกินไป ใช้น้ำเสียงปกติ การทักทายควรใช้มือสัมผัส มอบหมายงานพิเศษให้เหมือนคนอื่นๆ และความฝึกให้เด็กตาบอดได้มีโอกาสช่วยเหลือผู้อื่นๆ บ้าง

       เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด แขนขาด้วนแต่กำเนิด การให้ความช่วยเหลือสามารถทำได้หลายอย่างในบุคคลเดียวกัน ต้องเลี้ยงดูให้ความรักพาออกสู่สังคมบ้าง ฝึกหัดให้ทำกิจกรรมต่างๆ สม่ำเสมอ ด้วยอารมณ์ที่มั่นคงปรับสภาพสิ่งแวดล้อมเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนไหว เช่น พื้นทางเดิน ห้องน้ำประตู โต๊ะเก้าอี้ สื่อและอุปกรณ์พิเศษ แนวการสอนหลักสูตรทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษาไม่ควรแตกต่างจากเด็กปกติ และมีการเพิ่มเติมหลักสูตร เช่น การฝึกการเคลื่อนไหว โดยการสอนให้วางแผนเดินทางในบริเวณรอบๆ โรงเรียน เป็นต้น

       เด็กออทิสติกจะมีความบกพร่องทางพัฒนาการด้านการสื่อสาร ภาษา และด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น จะมีลักษณะทางพฤติกรรมและอารมณ์ที่บกพร่อง เช่น พฤติกรรมซ้ำๆ ผิดปกติ เล่นมือโบกไปมา หรือหมุนตัวรอบๆ ติดต่อกัน การให้ความช่วยเหลือต้องมีผู้รู้เกี่ยวกับเด็กทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์ของแด็กแต่ละคนอย่างละเอียด การจัดการเรียนการสอนต้องเตรียมบุคลิกจะสร้างความเข้าใจเด็กเหล่านี้ ครูต้องทำแผนการสอนเป็นรายบุคคล เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาเด็กไปในทิศทางที่พึงประสงค์ ส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จได้

จุดเด่น /ความน่าสนใจของเอกสารเล่มนี้ : พบว่าสถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัดต้องพิจารณารับเด็กเข้าเรียนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 43 กำหนดว่า “บุคคลควรย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” สถานศึกษาไม่สามารถปฏิเสธการรับเด็กไม่ได้ การช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาในชั้นเรียน ปกตินั้นผู้สอนต้องพยายามให้ทำงานตามความสามารถให้คำสั่งของบทเรียนอย่างชัดเจน ช่วยถ่ายทอดการเรียนรู้จากโรงเรียนไปยังบ้านและจากบ้านมายังโรงเรียน และให้พวกเด็กสามารถนำทักษะ ความรู้ต่างๆ ไปใช้ที่บ้านได้

อื่นๆ ตามความเหมาะสม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ฐานะมหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาที่เด็กที่มีความต้องการพิเศษมาศึกษา เช่น เด็กตาบอด หูหนวก ออทิสติก ฯลฯ เป็นต้นนั้น ทุกสาขาวิชาทุกคณะวิชาไม่ควรปฏิเสธการรับเข้าศึกษา ควรส่งเสริมฐานะพลเมืองไทยคนหนึ่งฐานะมนุษยชาติคนหนึ่งของสังคม ดังนั้นมหาวิทยาลัยควร

       1. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรม สื่อ ควรมีความยืดหยุ่นตามสภาพเหตุการณ์ สิ่งแวดล้อมความสนใจ ความต้องการที่จำเป็น และความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
2. ผู้สอนควรจัดแผนการเรียนการสอน โดยผสมผสาน การสอนแบบตัวต่อตัวกับการสอนกลุ่มย่อยกลุ่มใหญ่ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพและยังคงมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างเหมาะสม
3. ผู้สอนควรคำนึงถึงการสอนเชิงพฤติกรรม ซึ่งจะช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไปพร้อมทั้งเพิ่มความมั่นใจในตัวเองขึ้น เช่น การวิเคราะห์งาน เป็นต้น
4. ผู้สอนควรจัดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำทักษะที่เรียนรู้แล้วไปฝึกปฏิบัตินอกห้องเรียน ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตประจำวัน
5. ผู้สอนควรได้รับการสนับสนุน สื่อ อุปกรณ์ ในการช่วยสอนจากมหาวิทยาลัย หรือดูจากผู้เชี่ยวชาญ

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

ไม้งามสามสหาย

ไม้งามสามสหาย : ตะแบก เสลา อินทนิล

ความนำ 

ตะแบก เสลา และอินทนิล ไม้ต้นดอกสวยทั้ง 3 ชนิดนี้อยู่ในวงศ์เดียวกัน คือวงศ์ตะแบก หรือ

FAMILY  LYTHRACEAE ต่างก็มีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ตกแต่งในสวนสาธารณะ สถานศึกษา อาคารบ้านเรือน หรือแม้กระทั่งริมถนนในเมือง และกรุงเทพมหานคร คุณสมบัติดังกล่าวได้แก่ ดอกสวย ดอกดก สีสวย ทรงพุ่มมีรูปทรงที่สวยงามไม่ต้องตัดแต่ง ที่สำคัญคือ ระบบรากลึกไม่ไชชอนผิวดินหรือฟุตบาท

ผู้พบเห็นไม้ต้นดอกสวย 3 ชนิดนี้มักจะสับสนกับความคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็น ใบ ดอก ผล หรือแม้กระทั่งลำต้นและทรงพุ่ม จึงขอนำเนื้อหาและภาพประกอบมาให้เห็นความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจน สามารถนำไปบอกกล่าวหรือเป็นบทเรียนได้ ดังนี้

ตะแบก

ชื่อวิทยาศาสตร์  Lagerstroemia calyculata Kurz

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 25 เมตร ทรงพุ่มกลม เปลือกลำต้นสีครีมหรือเทาอมเหลือง มีรอยหลุมตื้นๆมีสะเก็ดแผ่นบางหลุดเป็นแผ่นได้ดูคล้ายกับเปลือกต้นยูคาลิปตัส ใบเดี่ยวออกตรงข้าม ใบเป็นรูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก โคนใบทู่หรือกลม ใบด้านหรือสากคาย กว้าง 4-6 ซม. ยาว 8-12ซม.

ดอกเป็นช่อแขนงขนาดใหญ่ ตามปลายกิ่ง มีขนสากๆทั้งช่อ ดอกขนาดเล็ก บานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 ซม. กลีบดอก 6 กลีบ สีชมพูหรือสีม่วงอมชมพู  ออกดอกมากในช่วงฤดูฝน ส่วนฤดูอื่นอาจมีบางต้นออกดอกได้แต่ไม่มาก ผลเป็นผลแห้งที่มีขนาดเล็ก ขนาด 1 ซม. เมื่อแก่แล้วจะแห้งแตกออกเป็นแฉก มีเมล็ดแบนจำนวนมาก เพาะกล้าได้ง่าย


เสลา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia loudoni Teijsm. & Binn.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบเมื่อออกดอก สูงได้ถึง 20  เมตร ทรงพุ่มเรือนยอดสูงชะลูดทรงกระบอก ใบทึบหนาแน่นกิ่งโน้มลงรอบทรงพุ่ม เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีรอยแตกเป็นทางยาวตลอดลำต้น ใบเดี่ยว ปลายเรียวแหลมเป็นติ่ง โคนมน ออกตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 5-10 ซม. ยาว 15-20 เซนติเมตร เนื้อใบหนาปานกลาง เส้นใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ใบอ่อนสีน้ำตาล สามารถขูดเอาขุยหน้าใบออกได้ ดอกสีม่วง ม่วงอมชมพู หรือม่วงกับขาว ปนกันในช่อเดียว ออกช่อดอกทุกซอกใบตามยาวของกิ่ง กลีบดอก 6กลีบ ปลายกลีบหยักพลิ้ว เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 ซม. ออกดอกมากในช่วงปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน  ส่วนฤดูอื่นอาจมีบางต้นออกดอกได้แต่ไม่มาก ผลรูปไข่หรือรี ผิวแข็ง ขนาด 1.5 ซม. ผลแห้งแตกเป็นพู มีเมล็ดจำนวนมาก เพาะกล้าได้ง่าย


อินทนิล

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia speciose

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นต้นไม้ขนาดกลาง สูงได้ถึง 15  เมตร ทรงพุ่มกลมเรือนยอดแหลม ใบทึบหนาแน่น เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ เปลือกลำต้นแตกเป็นเกล็ดเล็ก ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกตรงข้าม หรือเยื้องกันเล็กน้อย ใบรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 – 10 ซม. ยาว 11 -26 ซ.ม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบมน ปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบ เกลี้ยงไม่มีขน ดอกขนาดใหญ่ออกเป็นช่อแขนง รวมกันเป็นใหญ่ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบใกล้ ๆ ปลายกิ่ง บานไม่พร้อมกันทั้งช่อ กลีบดอกสีม่วงสด ม่วงอมชมพูหรือชมพูล้วน ตรงส่วนบนสุดของช่อจะมีดอกตูมหลายขนาดรอบาน กลีบดอก 6 กลีบ เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 ซ.ม. ออกดอกมากในช่วงฤดูร้อน  ส่วนฤดูอื่นอาจมีบางต้นออกดอกได้แต่ไม่มาก ผลโตรูปไข่หรือรี ผิวแข็ง ขนาด 2.5-3 ซม. ผลแห้งแตกเป็นพู มีเมล็ดจำนวนมาก เพาะกล้าได้ง่าย


ตารางเปรียบเทียบตะแบก เสลา อินทนิล

ชื่อ / ข้อสังเกต

ตะแบก

เสลา

อินทนิล

ทรงพุ่ม

กลม

สูงชะลูด

กลมยอดแหลม

เปลือกลำต้น

แตกเป็นแผ่นใหญ่

แตกเป็นทางยาวตลอดลำต้น

แตกเป็นเกล็ดเล็ก

ใบ

สากกระด้าง

มีขุยลอกได้ที่ใบอ่อน

ขนาดใหญ่ หนา เป็นมัน

ดอก

เล็ก

กลาง

ใหญ่

สีดอก

ชมพู

ขาว ชมพู ม่วงในช่อเดียวกัน

ชมพูหรือม่วงในแต่ละต้น

ช่วงที่ออกดอก

ในช่วงฤดูฝน

ปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน

ในช่วงฤดูร้อน

ผล

เล็ก

กลาง

ใหญ่

จิตวิทยาการติดต่อสื่อสาร

ชื่อผลงานทางวิชาการ : จิตวิทยาการติดต่อสื่อสาร

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือประกอบการเรียนการสอน วิชา จิตวิทยาการติดต่อสื่อสารและการโน้มน้าวใจ

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : พิมพ์ที่ โรงพิมพ์พลัฎฐกรการพิมพ์ จัดจำหน่ายโดย ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางสาวปัญจนาถร วรวัฒนชัย ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดสาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงาน : ความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิทยากับการสื่อสาร รูปแบบพฤติกรรมการสื่อสาร กฎเกณฑ์เกี่ยวกับพฤติกรรม ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรม พฤติกรรมมนุษย์กับการสื่อสาร แนวคิดเรื่องการสื่อสารของมนุษย์ องค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการสื่อสารของมนุษย์ ภาษากับการสื่อสารของมนุษย์ การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ องค์ประกอบพื้นฐานของการโน้มน้าวใจ ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการโน้มน้าวใจและกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : จิตวิทยามุ่งศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ทุกด้าน เพราะการสื่อสารเกิดมาพร้อมๆ กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมเป้าหมายการศึกษาที่สำคัญมี 4 ประการ คือ เพื่อวัดและพรรณนาลักษณะพฤติกรรม เพื่อพยากรณ์พฤติกรรม เพื่อควบคุมหรือปรับพฤติกรรมและเพื่ออธิบายพฤติกรรม รูปแบบของพฤติกรรมสื่อสารของมนุษย์ประกอบด้วย พฤติกรรมการสื่อสารภายในตัวบุคคล สื่อสารระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล สื่อสารในองค์กร สื่อสารมวลชนและสื่อสารไซเบอร์

       ลักษณะของการสื่อสาร ได้แก่ การสื่อสารเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ เป็นกระบวนการถ่ายทอดที่มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้รับสารแต่ละบุคคล เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามลำดับ เป็นเรื่องเกิดขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมและเป็นสิ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์มี 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยทางชีวภาพ ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยทางด้านสังคมและจิตวิทยา และปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม

       การรับรู้กับการสื่อสารมีความเกี่ยวข้องกันและมนุษย์จะต้องมีการเลือกรับรู้ ซึ่งจะมีลักษณะบางอย่างสามารถกระตุ้นให้ผู้รับสารเกิดความสนใจที่จะเลือกรับรู้มี 5 ประการ คือ ความเข้มข้น ขนาด การเคลื่อนไหว ความถี่และความแปลกใหม่ในชีวิตประจำวัน การกระทำทุกอย่างเกี่ยวข้องกับความรู้สึกและอารมณ์เสมอ ด้านอารมณ์ของมนุษย์ในระยะแรกจะสื่อสารเพื่อการอยู่รอด เช่น การแสดงออกทางด้านเสียง อากับกิริยา และแสดงออกทางใบหน้า การเกิดอารมณ์ของมนุษย์สามารถศึกษาจากทฤษฎี อาทิเช่น ทฤษฎีของเจมส์-แลง (Jams-Lange) ทฤษฎีของแคนนอน-บอร์ด (Cannon-Bard) ทฤษฎีการรู้คิดของลาซาร์ลและแชอเตอร์ (Lazarus-Schackter)

       มนุษย์จะได้รับการจูงใจไม่เท่าเทียมกัน การจูงใจจะช่วยทำให้เกิดการแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตรงตามที่ผู้ส่งสารต้องการ ได้แก่ ทฤษฎีแรงขับทางชีวภาพ ทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของมาสโลว์ ทฤษฎีการจูงใจของเฮอร์สเบอร์ก ทฤษฎีความต้องการของแมคคลีแลนด์และทฤษฎีความคาดหวังของรูม ฯลฯ เป็นต้น สำหรับด้านเจตคติของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งไม่คงที่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับความสนใจ ความเข้าใจ ดังนั้นกระบวนการการที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเจตคติ คือ การสื่อสารซึ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาข่าวสารจะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงมาก จึงควรมีลักษณะดังนี้ คือ ลักษณะของแหล่งข่าว ลักษณะการดึงดูดใจและลักษณะโครงสร้างของข่าวสาร รูปแบบการเปลี่ยนแปลงเจตคติมี 3 ลักษณะ คือ รูปแบบการสื่อสารข้อความแบบทางเดียว รูปแบบการสื่อสารข้อความสองขั้นตอน และรูปแบบการสื่อสารข้อความชนิดการสื่อสารระหว่างกัน ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงเจตคติมีรายละเอียด 3 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีความต้องการ ทฤษฎีสมดุลและทฤษฎีความขัดแย้งทางความคิด

       หลักสำคัญของการสื่อสารมี 5 ประการ ได้แก่ เช่น ความสำคัญต่อความเป็นสังคม สำคัญต่อชีวิตประจำวัน สำคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ สำคัญต่อการปกครองและสำคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ การสื่อสารมีหลายรูปแบบเพราะมีเกณฑ์พิจารณาแตกต่างกัน ซึ่งแบ่งเป็น 5 เกณฑ์ คือ เกณฑ์จำนวนผู้ที่ทำการสื่อสาร เรื่องภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร การเห็นหน้าค่าตากันระหว่างผู้สื่อสาร ความแตกต่างระหว่างผู้สื่อสารและตามหลักเนื้อหารายวิชาที่มีการนำการสื่อสารเข้าไปใช้ สำหรับองค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการสื่อสารของมนุษย์มีหลักสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ผู้ส่งสาร สาร สื่อ/ช่องทางการสื่อสารและผู้รับสาร กระบวนการสื่อสารมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ดังนั้นการศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์จำเป็นต้องอาศัยแบบจำลองของการสื่อสารแบบต่างๆ คือ แบบการสื่อสารทางเดียว (One Way Conmunication ) แบบสื่อสารของแซรมม์ (Schramm) การสื่อสารของลาสเวลส์ (Laswell) การสื่อสารแบบเดวิด เบอร์โล (David Berlo) ฯลฯ เป็นต้น การใช้ภาษาเพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการสื่อสาร คือ ความสมบูรณ์ครบถ้วนความกระทัดรัดและการพิจารณาไตร่ตรอง การตีความวัจนภาษาก็จะผันแปรตามความหมายโดยตรง/ตามพจนานุกรม/อ้างอิง ตามหลักของภาษา/ในไวยากรณ์ นัยประหวัด/ความหมายแฝง ความหมายกำกวม ตามบริบทในประโยคตามเจตนาของผู้พูด ตามที่ผู้ฟังตีความ ภาษาแสลงความหมายเฉพาะกลุ่ม

       การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ คือ การส่งสารเพื่อเปลี่ยนแปลงเจตคติ ความเชื่อและพฤติกรรมของคนหรือกลุ่มเป็นการสื่อสารให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ อารมณ์ความรู้สึก โดยผู้สื่อสารต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการโน้มน้าวใจ กระบวนการโน้มน้าวใจ และข้อจำกัด โดยต้องมีองค์ประกอบ คือ ความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร การเป็นเหตุและผล การใช้อารมณ์และความรู้สึก

จุดเด่น / ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ :  ในหนังสือเล่มนี้มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการโน้มน้าวใจ 5 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของมาสโลว์ (Maslow’s – hierarehy of human Needs) ทฤษฎีสิ่งเร้าและการตอบสนอง (S-R Theory) ฯลฯ เป็นต้น นั้นจึงทำให้ผู้อ่านหรือนำไปใช้สามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีเป็นกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ ได้แก่ การเสนอข่าวซ้ำๆ การเชื่อมโยงการแต่งรูปโฉมการสื่อสาร วิธีการละเว้นไม่พูดถึง การหันเหความสนใจและการสร้างความสับสน

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : เนื้อหาสาระของผลงานทางวิชาการเล่มนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ โดยเฉพาะการอยู่รวมกันในสังคมเพราะภาษา คือ เครื่องมือสำคัญที่มนุษย์ใช้สื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน และแสดงถึงอารยธรรมอันสูงส่ง ภาษาจึงมีลักษณะสากล ความสำเร็จในการสื่อสารจำเป็นต้องอาศัยเทคนิคเหมาะสมสอดคล้องกับการสื่อสารทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นการใช้เทคนิคของการเอาใจเขามาใส่ใจเรา มุ่งความสนใจไปยังตัวผู้รับโดยตรง เพราะมนุษย์ใช้ถ้อยคำเพื่อสะท้อนภาพความเป็นตัวตนให้บุคคลอื่นรับรู้ถือเป็นลักษณะพื้นฐานของมนุษย์และการอยู่ร่วมกันในสังคม

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร