การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 เขตคลองสาน

A DEVELOPMENT OF COMPUTER ASSISTED INSTRUCTION ON INFORMATION TECHNOLOGY SUBSTANCE OF INTRODUCTION CAREER AND TECHNOLOGY

FOR PRATOMSUKSA 5. UNDER THE OFFICE OF THE PRIVATE EDUCATION COMMISSION, EDUCATION AREA 3 BANGKOK. KLONGSAN  DISTRICT.

 

นฤมล  คงกำเหนิด


บทคัดย่อ

       การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อหาประสิทธิภาพบทเรียนที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์ คือ 80/80   2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจันทรวิทยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553  จำนวน 35 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และผลการประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ t-test (dependent Samples)

ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีค่าเท่ากับ 82/81 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80

2) วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

       จากผลการศึกษาวิจัยนี้ ทำให้เกิดสื่อที่มีคุณค่าในการพัฒนาการเรียนการสอนการเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพและสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยีตลอดจนเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น

 

Abstract

       The purpose of this study were : 1) to develop of Computer assisted instruction in the Learning to Information Technology Substance of Career Technology on Introduction for Pratom Suksa 5 to find out an Efficient Lesson designed according to the set of 80/80 Criteria, 2) to investigate the effectiveness index of Computer assisted in the Learning to Information Technology.

       The samples were 35 students selected by the Simple Random Sampling from Chandhorndhaya Primary School, the Pratom Suksa 5 of academic year 2010. Office of the Private Education Commission. Data collection tools are Computer assisted in the Learning to Information Technology, learning achievement test forms with the overall reliability and learning management plan. Statistics used in data analysis were Percentage, Mean, Standard Deviation, and t-test (independent samples). Research results found that :

1)  This new developed computer-assist course has efficiency of 82/81

2) The computer-assist course for students’ has greater learning achievement than conventional learning students with statistic significant at .01

       From studying this research, we could make value things to develop studying and InformationTechnology and we can make students get good attitude of substance of career Technology As well as, we can increase achievement of science studies.

 

บทนำ

       การมุ่งพัฒนาคนเป็นสาเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา เพื่อให้เหมาะสมกับยุคของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว สามารถนำเอาเทคนิค วิธีการสื่อสารที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น หลักสูตรที่ใช้ในการเรียนการสอนจึงต้องปรับให้รองรับกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่สูงขึ้น เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสมและเป็นระบบในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และหลักสูตรสถานศึกษามุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งยืดหยุ่น สนองความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ (หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2544 : 23)

       การเรียนการสอนในปัจจุบัน ได้มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยสนับสนุนทางด้านการศึกษา ซึ่งได้เริ่มมีบทบาทและเพิ่มมากขึ้น การที่นำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการศึกษาและใช้กระบวนการเรียนการสอน ทำให้เกิดสื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือ CAI ซึ่งมีวิธีการเรียนโดยการจัดโปรแกรมเพื่อการเรียนการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อช่วยถ่ายโยงเนื้อหาความรู้ไปสู่ผู้เรียน (วุฒิชัย ประสารสอย 2543 : 10) ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการเสนอเนื้อหาเรื่องราว

       เพื่อการสอนหรือทบทวน การทำแบบฝึกหัด เกมการศึกษา สถานการณ์จำลอง การสาธิต และการทดสอบวัดผล เป็นต้น ซึ่งการเรียนนั้นมีการโต้ตอบกันตลอดเวลา ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง สามารถที่จะแสดงผลลัพธ์บางประการให้ผู้เรียนดูได้ ผู้เรียนจะรู้สึกว่าตื่นเต้นเร้าใจ อยากรู้ ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนานได้ (ยืน ภู่วรวรรณ 2531 : 7) หรือกล่าวได้ว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นบทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอน(ฉลอง ทับศรี 2535 : 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ครอบคลุมเนื้อหาและกิจกรรมหรือวิธีเรียนที่จัดเตรียมไว้ล่วงหน้า มีทั้งระบบภาพ เสียง ตัวอักษรที่เป็นสื่อประสม สามารถมีปฏิสัมพันธ์หรือโต้ตอบกับผู้เรียนได้ทันที สะดวกในการแก้ไขข้อผิดพลาดของการเรียนแต่ละครั้งและแต่ละปัญหา นอกจากนี้ยังสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียนด้วยคอมพิวเตอร์ โดยผ่านทางระบบเครือข่าย ผลการเรียนสามารถบันทึกเก็บไว้และเปรียบเทียบผลกับเกณฑ์มาตรฐานได้อีก บทเรียนคอมพิวเตอร์ อาจหมายถึง สื่อการสอนที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันด้วยระหว่างผู้เรียนกับบทเรียนที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีความสามารถในการตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้เรียนป้อนเข้าไปได้ทันที เป็นการช่วยเสริมแรงแก่ผู้เรียน ซึ่งบทเรียนจะมีตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งเสียงประกอบ ทำให้ผู้เรียนสนุกไปกับการเรียนด้วย (ไชยยศ  เรืองสุวรรณ 2546 : 4)

       จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ให้กับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3  เขตคลองสาน เนื่องจากครูผู้สอนในกลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3  เขตคลองสาน ซึ่งมีโรงเรียนจันทรวิทยา โรงเรียนสตรีวุฒิศึกษา โรงเรียนบำรุงวิชา โรงเรียนพัฒนา และโรงเรียนภาษานุสรณ์ ธนบุรี ได้ใช้สื่อการเรียนรู้ประกอบการจัดกิจกรรมหลายประเภท เช่น ใบความรู้ เอกสาร คู่มือการเรียนรู้ พบว่าสื่อเดิมยังไม่ตอบสนองต่อผู้เรียน ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่บรรลุผลตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในด้านการพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จากคุณสมบัติและความสามารถของบทเรียนคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอย่างมีระบบขึ้น โดยคำนึงถึงเทคนิคและวิธีการที่เหมาะสมสอดคล้องกับผู้เรียน และสามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ดี เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่ประกอบไปด้วยเนื้อหา ข้อมูลและประโยชน์ของข้อมูล และการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่มีความถูกต้องตามหลักวิชาการและมีทั้งภาพ เสียง ตัวอักษรน่าสนใจ สามารถที่จะแสดงผลลัพธ์ให้นักเรียนดูได้ มีปฏิสัมพันธ์และให้ผลย้อนกลับต่อนักเรียนได้ทันที เป็นการช่วยเสริมแรง นักเรียนจะรู้สึกว่าตื่นเต้นเร้าใจ อยากรู้ ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน และช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.  เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 เขตคลองสาน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

2.  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี   สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

 

ขอบเขตของการวิจัย

1.  การทดลองหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

     1.1  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3  เขตคลองสาน ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 5 โรงเรียน ประกอบด้วยโรงเรียนจันทรวิทยา โรงเรียนสตรีวุฒิศึกษา โรงเรียนบำรุงวิชา โรงเรียนพัฒนา และโรงเรียนภาษานุสรณ์ ธนบุรี จำนวนห้องเรียน 5 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 165 คน

     1.2 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจันทรวิทยา ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)

2.  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ได้ใช้เนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ตามหลักสูตรสถานศึกษา ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 และขอบข่ายของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งทำการสอนครั้งละ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

3.  ตัวแปรที่ศึกษา

     3.1  ตัวแปรอิสระ

          3.1.1  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3  เขตคลองสาน

     3.2  ตัวแปรตาม

          3.2.1  ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

          3.2.2  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

4.  ระยะเวลาในการวิจัย

ดำเนินการวิจัยภาคสนามในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ตั้งแต่เดือนมกราคม  ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2554 จำนวน 8 ชั่วโมง

 

วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1. ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 เขตคลองสาน ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 5 โรงเรียน 5 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 165 คน

2. กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจันทรวิทยา ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553  จำนวนนักเรียน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random Sampling)

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย

1.  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2.  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งจะเป็นแบบทดสอบวัดความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และการนำไปใช้แก้ปัญหา ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20  ข้อ

3. แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้านเนื้อหาและด้านเทคโนโลยีการศึกษา

 

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นไปทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน โดยใช้สถานที่คือ ห้องคอมพิวเตอร์ โรงเรียนจันทรวิทยา เขตคลองสาน จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีขั้นตอนการเก็บรวมรวมข้อมูลดังนี้

1. หนังสือจาก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา นำไปติดต่อกับผู้อำนวยการโรงเรียนจันทรวิทยา เขตคลองสาน จังหวัดกรุงเทพมหานคร เพื่อขอความอนุเคราะห์ และขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

2.  กลุ่มตัวอย่างนักเรียนโรงเรียนจันทรวิทยา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 35 คน

3.  ติดต่อประสานงานกับครูประจำห้องเรียน และครูประจำห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อแจ้งวันและเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล

4.  นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไปทดสอบก่อนเรียน (Pretest) นักเรียนจะใช้เวลาในการทำแบบทดสอบ 30 นาที

5.  เรียนและทำแบบทดสอบระหว่างเรียน โดยแนะนำการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแก่นักเรียน ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา 2 กิจกรรม ในกิจกรรมประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียน แบบฝึกหัด นักเรียนจะต้องเรียนเนื้อหาบทเรียนให้เข้าใจ แล้วจึงทำแบบฝึกหัด และทำแบบทดสอบเป็นลำดับสุดท้าย เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ โดยกำหนดให้นักเรียนเรียนเนื้อหาในกิจกรรมที่ 1 จากนั้นทำแบบฝึกหัดของ

กิจกรรมที่ 1 เสร็จแล้วจึงเรียนเนื้อหาในกิจกรรมถัดไปแล้วทำแบบฝึกหัดประจำกิจกรรม ทำเช่นนี้ต่อไปตามลำดับจนครบทั้ง 2 กิจกรรม

6.  ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน โดยทันทีที่เรียนเนื้อหาจบ ซึ่งเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฉบับเดียวกันกับการสอบก่อนเรียน

7.  นำคะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนมาหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้สูตร E1/E2 (กรมวิชาการ. 2544:162-163)

8. นำคะแนนก่อนเรียน(Pretest)มาเปรียบเทียบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (Posttest) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปโดยใช้สูตร t-test เพื่อทำการทดสอบสมมุติฐาน

 

การวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

1. วิเคราะห์การประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้ค่าเฉลี่ย ()

2. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยวิธีการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละของค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัด และร้อยละของค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

3.  การหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดังนี้ (ยุทธ  ไกยวรรณ์. 2545 : 158 – 173)

     3.1 หาดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับพฤติกรรมที่ต้องการวัด โดยหาค่าเฉลี่ยการประเมินของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด โดยใช้สูตร IOC

     3.2 หาค่าความยาก (P) และอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบแต่ละข้อ โดยการตรวจให้คะแนน โดยข้อที่ตอบถูกให้ 1 คะแนน ข้อที่ตอบผิดหรือไม่ตอบให้ 0 คะแนน ซึ่งมีค่าความยากตั้งแต่ 0.20 0.80 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 – 1.00

     3.3 หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ โดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์- ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson) พบว่าได้ค่าความเที่ยงของแบบทดสอบเท่ากับ 0.92

4.  วิเคราะห์หาคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ t-test (Independent Samples)

 

ผลการวิจัย

1. ผลการประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

       ผลการประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า  ความเหมาะสมในการจัดลำดับขั้นตอนในการนำเสนอเนื้อหา ความเหมาะสมของรูปแบบวิธีนำเสนอ  ความเหมาะสมของเนื้อหากับระดับของผู้เรียน  ความเหมาะสมของภาพที่ใช้ในบทเรียน  เสียงบรรยายที่ใช้ประกอบบทเรียน  ความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับภาษา และเสียง  รูปแบบของตัวอักษรที่ใช้ในการนำเสนอ  ขนาดของตัวอักษรที่ใช้ในการนำเสนอ  ความเหมาะสมของการเลือกใช้สีตัวอักษร และสีพื้น  การนำเสนอชื่อเรื่องย่อยของบทเรียน  การออกแบบหน้าจอโดยรวม อยู่ในระดับดีมาก ส่วนข้ออื่นๆ อยู่ในระดับดี

2. ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

       คะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน (E1) ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 82 และคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน (E2) ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 81 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ถือว่ามีประสิทธิภาพ นำไปใช้ได้

3.  ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ตารางที่ 1  ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน

คะแนน

จำนวน

S.D.

t

sig

คะแนนก่อนเรียน

35

11.41

2.85

19.58**

0.00

คะแนนหลังเรียน

35

16.28

2.23

** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

จากตารางที่ 1 พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้

สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ

1.  สรุปผลการวิจัย

ผลจากการดำเนินการวิจัยเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

     1.1 หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งผลการทดลองครั้งนี้พบว่า ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีค่าเท่ากับ 82/81 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80

     1.2 วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.  อภิปรายผล

       ผลจากการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้

     2.1 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยมีค่าประสิทธิภาพเฉลี่ยเป็น 82/81 ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์สูงกว่าค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ ทั้งนี้เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นมีการออกแบบที่ใช้งานง่าย ใช้ภาษาการสื่อสารที่ชัดเจน มีการเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายาก มีการเรียงลำดับขั้นตอนในการนำเสนอมีรูปภาพประกอบ ภาพเคลื่อนไหว เสียงและมีแบบทดสอบประจำกิจกรรมที่น่าสนใจ รวมทั้งเนื้อหาทั้ง 2 กิจกรรมที่นำมาเป็นเนื้อหาที่นักเรียนยังไม่เคยศึกษามาก่อนนักเรียนจึงเกิดแรงกระตุ้นอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จึงทำให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากแต่ละกิจกรรมการเรียนนำมาเชื่อมโยงความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง

     2.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เป็นเพราะ การสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำให้นักเรียนมีความสนใจในบทเรียนมากขึ้น มีความตั้งใจในการเรียนรู้ มีความสนุกสนานในการเรียน ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ตลอดเวลา ซึ่งในแต่ละครั้งจะมีผลตอบกลับในทันที อีกทั้งยังมีภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและการเคลื่อนไหวของหน้าจอนำเสนออย่างต่อเนื่องสัมพันธ์กับเสียงช่วยเพิ่มความเร้าใจในการเรียน จึงส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

 

3.  ข้อเสนอแนะ

     3.1 ข้อเสนอแนะในการนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้

          3.1.1 ก่อนที่จะนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ ควรมีการแนะนำให้นักเรียนเข้าใจวิธีการเรียนก่อน เพื่อนักเรียนจะได้ไม่เกิดความสับสนหรือไม่เข้าวิธีเรียนอาจส่งผลให้นักเรียนไม่ประสบผลสำเร็จในการเรียนได้

          3.1.2 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำเสนอบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถรองรับการทำงานของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนขึ้นได้ เพื่อที่การนำเสนอบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นไปด้วยความราบรื่น และไม่ทำให้ผู้เรียนหมดความสนใจ

          3.1.3 ก่อนที่จะนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ ควรเตรียมแผ่นโปรแกรมให้พร้อมเพื่อง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน

          3.1.4 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการนำเสนอบทเรียนควรมีการต่อลำโพง หรือหูฟังให้กับนักเรียนด้วย เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดนี้มีเสียงบรรยายประกอบบทเรียนและมีเสียงป้อนกลับเมื่อผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียน

     3.2  ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป

          3.2.1  ควรพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในเรื่องอื่นในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และกลุ่มสาระอื่นๆ เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ

          3.2.2  ควรมีการวิจัยติดตามผลประเมินการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป

          3.2.3 ควรมีการนำเสนอบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผ่านทางเว็บไซต์ เพื่อจะช่วยเผยแพร่บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้แพร่หลายมากขึ้น

 

เอกสารอ้างอิง

กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรการ ศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2545.

วุฒิชัย  ประสารสอย. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน: นวัตกรรมเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : วี.เจ.พริ้นติ้ง, 2543.

ยืน  ภู่วรวรรณ. “การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน,” ไมโครคอมพิวเตอร์. 36 : 120 – 129 ; กุมภาพันธ์, 2531.

ฉลอง  ทับศรี. เอกสารประกอบการฝึกอบรมการพัฒนา CAI ด้วยมัลติมีเดีย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2535.

ไชยยศ  เรืองสุวรรณ.การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์และบทเรียนเครือข่าย.มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม, 2546.

วิชาการ, กรม. ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียศึกษา.กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาหนังสือกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ, 2544.

ยุทธ  ไกยวรรณ์. พื้นฐานการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น, 2545.