ชื่อผลงานทางวิชาการ : คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ว่าด้วยเรื่อง ซื้อขายแลกเปลี่ยน ให้

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชา กฎหมาย

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2556

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นายพิบูลย์ วิฑูรย์ปัญญากุล ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงาน : หนังสือใช้ประกอบการสอนเล่มนี้มีสาระสำคัญของสัญญาซื้อขาย โดยกล่าวถึงสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทน วัตถุประสงค์ของสัญญาซื้อขายส่งมอบทรัพย์และโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ วัตถุของสัญญาซื้อขาย คือ  ทรัพย์สิน และผู้ซื้อตกลงชำระราคาคือ เงิน สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่กฎหมายกำหนดชื่อไว้เป็นการเฉพาะมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ คือ ผู้ขายต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อและผู้ซื้อตกลงชำระราคาให้แก่ผู้ขายเป็นการตอบแทน การที่บุคคลทั้งสองฝ่ายเข้ามาทำนิติกรรมผูกพันซึ่งกันและกัน โดยพื้นฐานต้องเกิดจากการยินยอมและเต็มใจทั้งสองฝ่าย ซึ่งรากฐานความคิดของนิติกรรมและสัญญานั้นมาจากอิสระในทางแพ่ง (Private autonomy) และหลักเสรีภาพในการทำสัญญา (Principle of freedom of contract)

       หลักเกณฑ์ทั่วๆ ไปในการแสดงเจตนา โดยในการพิจารณาจากบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ 1 แยกสาระสำคัญได้คือ บุคคลที่แสดงเจตนาประกอบด้วย บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และวิธีการแสดงเจตนา การแสดงโดยการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาเป็นกรณีย่อย 2 กรณี คือ การแสดงเจตนาโดยชัดเจนกับการแสดงเจตนาโดยปริยาย องค์ประกอบของการซื้อขายได้แก่ คู่สัญญา วัตถุประสงค์/เป้าหมายของการซื้อขาย แบบและเจตนา สัญญาซื้อขายมี 4 ประเภท ได้แก่ สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ข้อแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดกับสัญญาจะซื้อจะขายต่างกัน สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข สัญญาซื้อขายมีเงื่อนเวลาและสัญญาจะซื้อจะขาย บุคคลที่มีสิทธิทำสัญญาซื้อขาย และหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาซื้อขายกล่าวถึงบุคคลที่มีสิทธิทำสัญญาต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะอายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรส สำหรับผู้ที่มีสิทธิขายสินทรัพย์ได้แก่ เจ้าของกรรมสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1336 เจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1361 และบุคคลอื่นซึ่งมีสิทธิขายได้ตามกฎหมาย

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : เนื้อหาสาระของหนังสือเล่มนี้กล่าวถึง ตามเนื้อความของประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 456 นั้นทรัพย์สินที่สามารถนำมาเป็นวัตถุแห่งสัญญาจะซื้อจะขาย แยกตามประเภทได้ คือ อหังสาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน ตึก บ้าน และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือที่มีระวางตั้งแต่ 5 ต้นขึ้นไป แพและสัตว์พาหนะได้แก่ ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อและลา ที่ได้ทำตั๋วรูปพรรณตามกฎหมายแล้ว

       สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษตามพระราชบัญญัติอื่น คือ พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ.2514พระราชบัญญัติการเดินอากาศและพระราชบัญญัติเรือสยาม สถานที่รับจดทะเบียนตามประเภทของทรัพย์ คือ ที่ดิน เรือ แพ สัตว์พาหนะ อากาศยาน เครื่องจักร ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันไม่ได้ ได้แก่ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถถือเอาได้ ทรัพย์สินซึ่งไม่อาจโอนให้แก่กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายกับสัญญาอื่น คือ สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายให้ผู้ซื้อแลกกับเงินที่เป็นราคาของทรัพย์สินตามที่ตกลงกัน ฯลฯ เป็นต้น สัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมหลายฝ่าย จึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ 1 บททั่วไปลักษณะ 4 ว่าด้วยนิติกรรม และความเป็นโมฆียะของสัญญาซื้อขายเกิดจากความบกพร่อง เนื่องจากมีลักษณะไม่สมบูรณ์เต็มร้อยแต่สามารถบังคับใช้ชั่วคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 157 บัญญัติไว้ว่า การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล หรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 159 บัญญัติ ไว้ว่าการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ

       การโอนกรรมสิทธิ์ กล่าวว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 458 คือ ตั้งแต่ผู้ขายตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นให้เราและเราก็ตกลงจะชำระราคาค่าสินค้านั้นให้ผู้ขาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การโอนกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ธรรมดา และการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ

       บุคคลมีสิทธิทำสัญญาซื้อขายและหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาซื้อขายนั้น ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้สำหรับทรัพย์สินบางประเภท คือ อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ สำหรับผู้ที่ถือว่ามีสิทธิที่จะขายสินทรัพย์ ได้แก่ เจ้าของกรรมสิทธิ์ เจ้าของรวมและบุคคลอื่น ซึ่งมีสิทธิขายได้ตามกฎหมาย เช่น ผู้จัดการมรดก ผู้ใช้อำนาจปกครอง เจ้าพนักงานขายทอดตลาดบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การจะซื้อขายทรัพย์สินที่สำคัญอันได้แก่ อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษตามกฎหมายบัญญัติ ตามมาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายที่ตกลงกัน สิทธิของผู้ขายได้แก่ สิทธิที่จะยึดหน่วงทรัพย์สิน สิทธิที่จะเรียกให้ผู้ซื้อชำระหนี้ สิทธิในการริบมัดจำและสิทธิในการเลิกสัญญา หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขายตามกฎหมายลักษณะซื้อขายมี 3 ประการ คือ หน้าที่ในการส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินกรณีที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปและอสังหาริมทรัพย์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 465 และมาตรา 466 ส่วนเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้ขายและต้องรับผิดชอบกรณีเกิดการชำรุดของทรัพย์สินที่ขาย

       ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 475 กล่าวถึงความรับผิดชอบในการรอนสิทธิ์ สำหรับสิทธิของผู้ซื้อ ได้แก่ สิทธิที่จะเรียกให้ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินตามเวลา สถานที่ วิธีการและปริมาณที่ตกลงกันไว้ สิทธิที่จะยึดหน่วงเวลาในกรณีที่ผู้ซื้อพบการชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ซื้อ ฯลฯ เป็นต้น หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ซื้อ คือ การรับมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายตามเวลา สถานที่และวิธีที่ตกลงกันในสัญญาซื้อขาย มาตรา 486 และหน้าที่ในการชำระราคาทรัพย์สิน มาตรา 453 ฯลฯ เป็นต้น

       การซื้อขายเฉพาะอย่างมี 5 ประเภท คือ การซื้อขายตามตัวอย่าง การซื้อขายตามคำพรรณนา การซื้อขายเผื่อชอบ การซื้อขายฝากและการซื้อขายทอดตลาด สำหรับผู้ที่มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 497 พึงใช้ได้กับบุคลเหล่านี้ คือ ผู้ขายเดิมหรือทายาทของผู้ขายเดิมหรือผู้รับโอนสิทธิหรือบุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะว่าให้เป็นผู้ไถ่ได้ สามารถจำแนกผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ คือ ผู้ขายเดิม ทายาทของผู้ขายเดิม ผู้รับโอนสิทธินั้นและบุคคลซึ่งในสัญญายอมรับไว้โดยเฉพาะว่าเป็นผู้ไถ่ได้ และผู้มีหน้าที่รับไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก คือ ผู้ซื้อเดิม/ทายาทของผู้ซื้อเดิมและผู้รับโอนทรัพย์สิน

       การขายทอดตลาดอาจเกิดขึ้นได้ 2 วิธี คือ ขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลหรือคำพิพากษาของศาลและโดยไม่มีคำสั่งศาล ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคลต่อไปนี้ คือ ผู้ขาย (เจ้าของทรัพย์) Seller ผู้ดำเนินการขายทอดตลาด (ผู้ทอดตลาด) Auctioneer ผู้สู้ราคา Bidder และผู้ซื้อ Buyer

จุดเด่น /ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 518 และ520 เป็นสัญญาแลกเปลี่ยนเป็นเอกเทศที่มีบทบัญญัติเพียง 3 มาตราเท่านั้น ซึ่งมีคำจำกัดความสัญญาแลกเปลี่ยนไว้ดังนี้

       สัญญาแลกเปลี่ยนมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย สัญญาแต่ละฝ่ายต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ทำการแลกเปลี่ยนด้วย ต้องมีวัตถุแห่งสัญญาแลกเปลี่ยน วัตถุประสงค์ของสัญญาแลกเปลี่ยนเจตนาและแบบ ลักษณะสัญญาแลกเปลี่ยนมีดังนี้ เป็นสัญญาจ่ายตอบแทน เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ด้วยความยินยอม เป็นสัญญาที่มีผลในทางทรัพย์และเป็นสัญญาที่กฎหมายให้บังคับตามหลักเกณฑ์ในเรื่องซื้อขาย

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมหลายฝ่าย ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ 1 บททั่วไป ลักษณะ 4 ว่าด้วยนิติกรรม แต่กำหนดสัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์เพราะมีเหตุเป็นโมฆียะ สัญญานั้นย่อมสามารถก่อให้เกิดผลในทางกฎหมายไปได้ทั้งผลในทางหนี้และทางทรัพย์เพราะคู่สัญญาถือได้ว่าได้รับโดยมีฐานของสัญญาซื้อขายเป็นมูลรองรับ แต่ถ้าหากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมคืน คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งย่อมสามารถใช้สิทธิที่จะเรียกร้องให้คืนได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่บอกล้างโมฆียะตามมาตร 176 วรรคสาม

สิ่งที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางเนื้อหาสาระ : กรณีการนำเนื้อหาสาระไปใช้ประโยชน์ในทางการศึกษาสามารถดำเนินการได้เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็นสถาบันทางการศึกษาระดับอุดมศึกษามีสาขาการตลาด การท่องเที่ยว การเงินการบัญชีและแพทย์แผนไทย เป็นต้นนั้นเกี่ยวข้องกับสัญญาการขาย การให้บริการ หลายรูปแบบผู้สอนควรสอดแทรกหลักการ กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิผลประโยชน์ของนิติบุคคลด้วย

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร