การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3  เขตคลองสาน

A DEVELOPMENT OF COMPUTER  ASSISTED UNIT 2 LIFE AND FAMILY DEPARTMENT OF HEALTH EDUCATION AND PHYSICAL EDUCATION FOR PRATOMSUKSA 4 THE SCHOOL. UNDER THE OFFICE THE PRIVATE AREA 3 BANGKOK. DISTRICT KLONGSAN.

 

พันจ่าตรี ศุภกร ทิมเขียว


บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประชากรที่ใช้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษาเขต 3 เขตคลองสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนจันทรวิทยา  รูปแบบการวิจัยเป็นแบบการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  แบบประเมินความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โดยผู้วิจัยดำเนินการสอนเอง  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้  ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน   (Standard  deviation) ค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ อิงเกณฑ์ ค่าเฉลี่ยดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ประสิทธิภาพของบทเรียน(E1/E2)และ ค่า t-test  ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยก่อนเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

       THIS RESEARCH AIMS  TO A DEVELOPMENT OF COMPUTER  ASSISTED    INSTRUCTION.  UNIT 2 LIFE AND FAMILY DEPARTMENT OF HEALTH   EDUCATION AND  PHYSICAL EDUCATION FOR PRATOMSUKSA 4 POPULATION   FOR  THIS RESEARCH ARE THE GROUP OF STUDENT AT  PRATOMSUKSA 4. MANAGEMENT  OFFICE UNDER THE BOARD OF PRIVATE   EDUCATION. BANGKOK AREA   EDUCATION DISTRICT 3 DISTRICT  KLONGSAN GROUP OF SAMPLES  FOR THIS RESEARCH ARE THE STUDENTS AT PRATOMSUKSA 4 OF CHANTONWITTAYA. TYPES OF RESEARCH IS  EXPERIMENTAL RESEARCH . IS A TOOL USED IN RESEARCH. COMPUTER ASSISTED INSTRUCTION. UNIT 2, LIFE AND FAMILY. GROUP OF HEALTH AND PHYSICAL  EDUCATION LEARNING . FOR PRATOMSUKSA 4 AN  ACHIEVEMENT TEST, ASSESSMENT FOR QUALITY OF COMPUTER-ASSISTED INSTRUCTION . ASSESSMENT OF COMPLIANCE WITH THE OBJECTIVES. RESEARCH CONDUCTED BY PROVIDER, DATA ANALYSIS USED THE AVERAGE (MEAN) STANDARD DEVIATION (STANDARD DEVIATION)FOR THE DIFFICULTY (P) THE CLASSIFICATION (R) THE CONFIDENCE OF THE TEST-BASED CRITERIA. THE AVERAGE CONSISTENCY INDEX (IOC) THE EFFECTIVENESS OF THE LESSON (E1 / E2) AND THE T-TEST TO TEST THE DIFFERENCE BETWEEN THE AVERAGE PRE-SCHOOL AND ACADEMIC ACHIEVEMENT.

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

       การเรียนทฤษฎีจึงควรสอนด้วยความสนุกสนาน มีสื่อที่น่าสนใจและเข้าใจง่ายจึงจะสามารถแก้ปัญหาการเรียนทฤษฎีที่จะทำให้นักเรียนนั้นอยากเรียนไม่แพ้ภาคปฏิบัติให้ผู้เรียนสามารถใช้เวลาในการเรียนและทบทวนเนื้อหาได้ด้วยตนเอง  รวมถึงมีสื่อการสอนที่ดึงดูดความสนใจของผู้เรียน   มีความสนุกสนานในการเรียน   สามารถไปศึกษาต่อด้วยตนเองได้   โดยเฉพาะเนื้อหาที่สำคัญ ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและพัฒนาตนเองตามศักยภาพของตนเองได้   รวมถึงกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจ   อยากที่จะทบทวนเนื้อหาจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อแก้ปัญหาการเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาทำให้การเรียนการสอนไม่จำกัดเฉพาะในชั้นเรียน  นักเรียนมีความเข้าใจและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาทั้งปฏิบัติและทฤษฎี

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย ไว้ดังนี้

       1.  เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา   เขต 3 เขตคลองสาน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

       2.  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษาเขต 3 เขตคลองสาน

 

ขอบเขตของการวิจัย

1.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

       1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

       คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษาเขต 3 เขตคลองสาน ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ซึ่งมีโรงเรียนในสังกัด จำนวน 5 โรงเรียน ดังนี้ โรงเรียนบำรุงวิชา  โรงเรียนจันทรวิทยา โรงเรียนภาษานุสรณ์ ธนบุรี  โรงเรียนสตรีวุฒิศึกษา โรงเรียนพัฒนาวิทยา โดยมีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 5 ห้องเรียน รวมนักเรียนทั้งหมด 165 คน

       1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

       คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนจันทรวิทยา ที่อยู่ในกลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษาเขต 3 เขตคลองสาน ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2553 ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงได้ โรงเรียนจันทรวิทยา จำนวน 1 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน 32 คน

2.  ตัวแปรที่ศึกษา

       2.1  ตัวแปรต้น

       บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัวกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

       2.2  ตัวแปรตาม

       1.  ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัวกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
       2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัวกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

3. ระยะเวลาในการวิจัย

       ดำเนินการวิจัยภาคสนามในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2553 จนถึง เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2554

4. เนื้อหาในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

       หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัว   กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สำนักงานบริหารงาน   คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน   เขตพื้นที่การศึกษา    เขต 3 เขตคลองสานได้ใช้เนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัว ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 บทเรียนดังนี้

          บทที่ 1 เรื่อง คนดีที่คุณรัก

          บทที่ 2 เรื่อง พฤติกรรมทางเพศ

       ตามหลักสูตรสถานศึกษา ที่กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษาเขต 3 เขตคลองสาน ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐาน ซึ่งทำการสอนครั้งละ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

 

วิธีดำเนินการวิจัย

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

       1. ศึกษาเนื้อหาและวิธีการสร้างแบบทดสอบ การเขียนข้อสอบ การวิเคราะห์ข้อสอบ
       2. วิเคราะห์เนื้อหาสาระการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.  สร้างตารางวิเคราะห์เนื้อหา เป็นพฤติกรรมที่จะวัดเป็น 3 ด้าน ตามทฤษฎีของบลูม (Benjamin S. Bloom)
       4.  สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา เป็นแบบ 4 ตัวเลือก รวม 25 ข้อแต่ใช้จริง 20 ข้อ
       5.  นำแบบทดสอบเสนอผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 3 ท่าน เพื่อหาความสอดคล้อง IOC ของแบบทดสอบ เกณฑ์ดัชนีความสอดคล้องที่กำหนดไว้ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป จึงถือว่าเป็นแบบทดสอบที่มีความสอดคล้องที่จะนำไปใช้ได้
       6. นำไปทดสอบกับนักเรียน โรงเรียนสตรีวุฒิศึกษา ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ที่เรียนหน่วยที่ 2 ชีวิตและครอบครัวมาแล้ว
       7.  นำผลแบบทดสอบมาตรวจให้คะแนน ตอบถูกให้ 1 คะแนน และตอบผิดหรือไม่ตอบ หรือตอบมากกว่า 1 ตัวเลือกให้ 0 คะแนน
       8. นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบเป็นรายข้อ โดยใช้เทคนิค 50% แบบแบ่งครึ่ง
       9.  เลือกข้อสอบที่มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.20-0.80 และมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป เป็นข้อสอบที่ใช้ในการทดสอบจริง จำนวน 20 ข้อ
       10.หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยใช้สูตรแบบอิงเกณฑ์ของโลเวท (lovett) ได้เท่ากับ 0.855

 

แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

       1.  ศึกษาขั้นตอนในการสร้างแบบประเมินด้านเนื้อหาและด้านเทคนิคคอมพิวเตอร์
2.  ศึกษาคุณสมบัติที่ควรใช้ในการประเมินทางด้านเนื้อหา ได้แก่ ความเหมาะสมของเนื้อหา ความเหมาะสมของแบบฝึกหัด ความเหมาะสมของแบบทดสอบ
3.  ศึกษาคุณสมบัติที่ควรใช้ในการประเมินทางด้านเทคนิคคอมพิวเตอร์ ได้แก่ งานกราฟิก ตัวอักษร เทคนิคการนำเสนอ
4.  สร้างแบบประเมิน โดยออกแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale)
       5.  นำแบบประเมินไปให้ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ตรวจสอบ เพื่อปรับปรุงแก้ไข
6.  นำแบบประเมินด้านเนื้อหาที่ปรับปรุงแล้ว ไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และด้านเทคโนโลยีการศึกษา ที่ปรับปรุงแล้วไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
7.  นำผลจากการประเมินมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยเกณฑ์ในการยอมรับว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น มีคุณภาพนั้น ผู้วิจัยกำหนดให้มีค่าเฉลี่ยโดยค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป

 

การดำเนินการวิจัยมีขั้นตอนดังนี้

       ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นไปทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน โดยใช้สถานที่คือ ห้องคอมพิวเตอร์โรงเรียนจันทรวิทยา  มีขั้นตอนการเก็บรวมรวมข้อมูลดังนี้

       1.  นำหนังสือจาก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา นำไปติดต่อกับผู้อำนวยการโรงเรียนจันทรวิทยา เพื่อขอความอนุเคราะห์ และขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
       2.  ติดต่อประสานงานกับครูประจำห้องเรียน และครูประจำห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อแจ้งวันและเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล
       3.  นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไปทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) นักเรียนจะใช้เวลาในการทำแบบทดสอบ 20 นาที
       4.  เรียนและทำแบบทดสอบระหว่างเรียน โดยแนะนำการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแก่นักเรียนซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาในกิจกรรมประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียนและแบบฝึกหัด นักเรียนจะต้องเรียนเนื้อหาบทเรียนให้เข้าใจแล้วจึงทำแบบฝึกหัดและทำแบบทดสอบเป็นลำดับสุดท้าย เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ โดยกำหนดให้นักเรียนเรียนเนื้อหาในบทที่ 1 คนดีที่คุณรัก จนจบแล้วทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน แล้วจึงเรียนเนื้อหาในบทเรียนที่ 2 พฤติกรรมทางเพศ แล้วทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน
       5.  ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
6.  นำคะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนมาหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้สูตร E1/E2 (กรมวิชาการ. 2544:162-163)

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความเหมาะสมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

       โดยรวมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีความเหมาะสม   อยู่ในระดับมาก ( = 4.24) และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการพบว่า ความเหมาะสมระดับมากที่สุด 3 ข้อคือ ภาพที่นำเสนอตรงตามเนื้อหา ความเหมาะสมของเสียงที่ใช้ประกอบ และความเหมาะสมของขนาดตัวอักษรที่เลือกใช้

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพ 85.50/ 89.35 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

       การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 12.16  และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 17.86 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียน สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

สรุปผลการวิจัย

       1.  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  และมีประสิทธิภาพ  85.50 / 89.33  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80

       2.  ผลการทดลองใช้  มีดังนี้
2.1  นักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัวกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01 

 

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะทั่วไป

       1.  ในการจัดกิจกรรมการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่า      นักเรียนกลุ่มอ่อน มีปัญหาด้านทักษะความรู้พื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์  ดังนั้นก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ครูผู้สอนควรมีการตรวจสอบความรู้พื้นฐานของนักเรียนเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อทราบข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนและให้การช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาด้านทักษะการใช้คอมพิวเตอร์    ให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมตามบทเรียนคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

       2. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีนักเรียนเรียนพร้อมกันหลายคน  ควรให้นักเรียนใช้หูฟังแทนการใช้ลำโพง เพื่อลดปัญหาเรื่องเสียงที่อาจส่งผลกระทบต่อการเรียนของนักเรียน อันจะส่งผลให้การเรียนไม่เป็นไปตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

 

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัย

       1. ควรมีการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในเนื้อหาเรื่องอื่น ๆ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา หรือในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ   เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้มากยิ่งขึ้น
       2.  ควรมีการศึกษาค้นคว้าถึงตัวแปรอื่น ๆ ที่เป็นผลมาจากการเรียนด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เช่น  แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  เจตคติต่อการเรียน
       3.  ควรมีการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็น บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เพื่อการสืบค้นและการเผยแพร่ต่อไป

 

เอกสารอ้างอิง

กนก  จันทร์ทอง. (2544). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. วารสารวิทยบริการ. 12(1), 70-73.

กิดานันท์  มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิติมา  ปรีดิลก. (2532). เอกสารประกอบการสอนการบริหารการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น.กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.

ชัยยงค์  พรหมวงศ์.(ม.ป.ป.). การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา.สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2551, จากttp://www.bodin3.ac.th/~area2/doc_pdf/multimedia_ds.htm.

ไชยยศ  เรืองสุวรรณ. (2542).  คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน.  มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.