ชื่อผลงานทางวิชาการ : จิตวิทยาสำหรับครู

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาชีพครู

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2559-2560

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ พิมพ์ที่โรงพิมพ์สหธรรมิก จำกัด กรุงเทพมหานคร

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงาน : การพัฒนาการ เป็นการเปลี่ยนแปลงในด้านร่างกายและจิตใจอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ตั้งแต่ปฏิสนธิจวบจนตลอดชีวิต ทำให้มีลักษณะและความสามารถใหม่ๆ เกิดขึ้น โดยควบคู่กับวุฒิภาวะและการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นทางด้านขนาด สัดส่วน ลักษณะต่างๆ ในร่างกาย เป็นต้น สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาประกอบด้วย สติปัญญา เพศ ต่อมต่างๆ ในร่างกาย อาหาร อากาศบริสุทธิ์และแสงแดด เชื้อชาติ เป็นต้น

       การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เนื่องจากประสบการณ์หรือการฝึก เพราะการเรียนรู้มีลักษณะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้น พฤติกรรมค่อนข้างถาวรและมาจากประสบการณ์หรือการฝึกเท่านั้น องค์ประกอบของการเรียนรู้มีตัวผู้เรียน วิธีการจัดการเรียนการสอน บทเรียนและสิ่งแวดล้อม

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : การถ่ายโยงการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้เพราะการเรียนรู้จะมีความรู้เดิมหรือประสบการณ์แทรกอยู่ การถ่ายโยงการเรียนรู้มีผลต่อการเรียนรู้ในปัจจุบัน การถ่ายโยงการเรียนรู้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก (Positive Transfer of Learning) กับการถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer of Leaning)

       องค์ประกอบที่ทำให้เกิดการถ่ายโยงการเรียนรู้เกิดจากความคล้ายคลึงของสิ่งที่จะเรียนรู้ ความสามารถในการสรุปความของผู้เรียน ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของผู้เรียน และการมีเจตคติและอุดมคติของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ทำได้โดยควรสอนวิชาต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน ก่อนเรียนบทเรียนใหม่ควรทบทวนความรู้เดิม สอนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในกฎเกณฑ์ต่างๆ จัดสภาพการเรียนการสอนให้คล้ายกับสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน คำนึงถึงระดับเชาว์ปัญญาและความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก พยายามให้เด็กเกิดประสบการณ์มากๆ ก่อนเริ่มเรื่องใหม่ ส่งเสริมการแสดงความคิดสร้างสรรค์ด้วยตนเองและจัดให้เด็กมีทักษะและความเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ ให้มาก

       ทฤษฎีการเรียนรู้เกิดจากนักจิตวิทยานำสัตว์มาทดลอง เพราะการทดลองบางอย่างใช้เวลานาน ฯลฯ เป็นต้น ทฤษฎีการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavior Learning Theories) หรือกลุ่มสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (Stimulus-Response Theories) ประกอบด้วยทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎี คือ Thorndike ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการวางเงื่อนไข มีแบบคลาสสิก (Classical Condition) ของ Paulow กับวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Condition ของ Skinner) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Leaning Theories) หรือทฤษฎีสนาม (Field Theories) ประกอบด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ของ (Gestalt’s Theory) ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ (Discovery Leaning) ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) และทฤษฎีการเรียนรู้ปัญหาสังคม (Social Cognitives Learning Theory)

       ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง (Connectionism Theory) สรุปเป็นกฎเกณฑ์ได้ 3 กฎ คือ กฎแห่งความพร้อม กฎแห่งการฝึกหัด และกฎแห่งผลที่พอใจ

       การนำทฤษฎีไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ทำได้โดย

       1. เปิดโอกาสให้เด็กได้ลองผิดลองถูกในบางเรื่อง เพราะบางสถานการณ์ไม่มีวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่จะเหมาะสมเท่ากับวิธีลองผิดลองถูก
2. สอนเมื่อเด็กมีความพร้อม
3. สร้างบรรยากาศที่ยั่วยุให้เด็กอยากเรียน อยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นความพร้อมและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจริง
4. ทำงานร่วมกันกับเด็กอย่างใกล้ชิด และต้องให้เด็กทราบผลงานของเขาด้วย
5. เปิดโอกาสให้เด็กทบทวน ฝึกฝนการทำกิจกรรมที่เรียนรู้ไปซ้ำๆ ตามสมควร
6. เปิดโอกาสให้เด็กนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสภาพการณ์ต่างๆ
7. ครูควรจัดการเรียนโดยการแทรกสิ่งที่น่าสนใจและเกิดความสนุกสนาน
8. สอนเด็กต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะด้านอารมณ์

       ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้มี 2 ด้านใหญ่ๆ คือ ด้านผู้รับรู้กับด้านสิ่งเร้าหรือสิ่งที่จะรับรู้ ในด้านผู้รับรู้มีความแตกต่างกันเกี่ยวกับอวัยวะสัมผัสของผู้รับรู้ ประสบการณ์เดิม สติปัญญา ความสนใจ ความต้องการ เจตคติและภาวะของอารมณ์ ส่วนสิ่งเร้าหรือสิ่งที่รับรู้ต้องสามารถดึงดูดความสนใจได้ เช่น ขนาดของสิ่งเร้า ระดับความเข้มหรือความหนัก-เบาของสิ่งเร้า การเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าและการเกิดซ้ำของสิ่งเร้า นอกจากนี้สิ่งที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ยังประกอบด้วยแรงจูงใจที่ใช้กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมความต้องการ/ตามจุดมุ่งหมาย ส่งให้เกิดพฤติกรรมการทำงาน 3 ประการ คือ เกิดพลังกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม แรงจูงใจกำหนดทิศทางและเป้าหมายของพฤติกรรมและระดับความพยายาม แรงจูงใจประกอบด้วยความต้องการของมนุษย์ คือ ต้องการทางร่างกายหรือสรีระและต้องการทางจิตใจหรือต้องการทางสังคม สำหรับแรงขับเป็นสภาวะที่ร่างกายถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า พฤติกรรมก็จะแสดงออกมาและเป้าหมายใช้บำบัดความต้องการเพื่อลดระดับแรงขับ

       แรงจูงใจมี 2 แนวคิด คือ แบ่งตามแหล่งที่มาของแรงจูงใจ และแบ่งตามเหตุผลเบื้องหลังในการตอบสนอง ดังนั้นนักจิตวิทยาจึงศึกษาทฤษฎีสำหรับนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยทฤษฎีแรงขับทางชีวภาพ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม การนำทฤษฎีแรงจูงใจมาใช้การจัดการเรียนการสอนสามารถสร้างแรงจูงใจได้ทั้งภายในและภายนอก เพราะทำให้เด็กตื่นตัว (Arousal) การตั้งจุดมุ่งหมาย (Objective) การให้รางวัลหรือเครื่องล่อ (Incentive) และการแข่งขัน

       ด้านเชาวน์ปัญญาเป็นสิ่งที่แต่ละคนมีติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิดและสามารถพัฒนาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น บางคนมีเชาวน์ปัญญาดีแต่ไม่ประสบผลสำเร็จในชีวิต เชาวน์ปัญญาเป็นสิ่งสามารถกระตุ้นส่งเสริมให้พัฒนาได้ สำหรับเชาวน์ปัญญากับความสำเร็จในชีวิตทั้งด้านการเรียนและการประกอบอาชีพต่างๆ ต้องมีความพยายามอดทน ประกอบด้วย  นอกจากนี้บุคคลยังมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่เคร่งครัดต่อระเบียบแบบแผนมีลักษณะเป็นผู้นำ มีความคิดอิสระและยืดหยุ่นเสมอ ช่างสงสัย ชอบถามและรับรู้สิ่งที่ซับซ้อนได้ ปัจจัยที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานของแต่ละคน จินตนาการและวิจารณญาณ

       ในการสอนเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์ ครูต้องพัฒนาตนเองให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์เสียก่อน ต้องแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ฝึกคิด ฝึกใช้จินตนาการ กล้าคิดค้นวิธีสอนใหม่ๆ พัฒนาวิธีการทำงานของตนเองและก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

จุดเด่น / ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ :  การศึกษาบุคคลด้วยวิธีการทางจิตวิทยาและรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) วิธีพฤติกรรมนิยม (Behavior Method)

วิธีศึกษาด้วยพฤติกรรมนิยมมี 2 วิธีการใหญ่ คือ วิธีทางธรรมชาติ ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การรายงานตนเอง การใช้แบบสอบถามและการสำรวจ การใช้แบบทดสอบทางจิตและการศึกษารายกรณี และวิธีทดลอง มีวิธีการทางวิทยาศาสตร์

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : หนังสือจิตวิทยาสำหรับครูเล่มนี้ สามารถนำไปใช้เป็นคู่มือการจัดการเรียนการสอนของอาชีพครูได้ดีทุกรายวิชาทั้งอาจารย์คณะครุศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการและวิทยาลัยการดนตรี เพราะมนุษย์มีพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกแตกต่างกัน ผู้สอนต้องรู้เข้าใจผู้เรียนเนื่องจากผู้เรียนแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการ ผู้สอนต้องเข้าใจหลักจิตวิทยา หลักพัฒนาการของมนุษย์ เช่น ควรใช้แรงเสริมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพฤติกรรมที่ถูกต้องเพราะการเรียนรู้เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองในลักษณะที่ว่า การกระทำใดๆ หรือการตอบสนองใดๆ ที่ได้รับแรงเสริมหรือสิ่งเร้าที่พอใจ ก็มีแนวโน้มที่จะกระทำพฤติกรรมนั้นๆ ซ้ำอีกในเวลาต่อไป แต่ถ้าการกระทำใดหรือการตอบสนองใดไม่ได้รับแรงเสริมหรือสิ่งเร้าที่พอใจ การกระทำพฤติกรรมนั้นมีแนวโน้มลดลงและหายไปในที่สุด

       การนำทฤษฎีการเรียนรู้ในหนังสือเล่มนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน สามารถทำได้ดังนี้

       1. ใช้ในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป
2. ใช้ในการปลูกฝังพฤติกรรมบางอย่าง
3. ใช้ปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรม
4. ช่วยเสริมให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียน

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร