การประยุกต์จิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การประยุกต์จิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือ ประยุกต์ความรู้ทางจิตวิทยามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม : จัดพิมพ์โดยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จัดจำหน่ายโดย ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิมพ์ที่ โรงพิมพ์พลัฎฐกรการพิมพ์

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางสาวเปรมสุรีย์ เชื่อมทอง ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดสาขาวิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงาน : ธรรมชาติและพัฒนาการของผู้เรียนจำแนกทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม ทางเพศและสติปัญญา องค์ประกอบให้บุคคลแตกต่างกัน อาทิเช่น พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ทฤษฎีพัฒนาการและพัฒนาการของเด็กวัยเรียน ประกอบด้วย ทฤษฎีพัฒนาการของเพียเจต์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์ ทฤษฎีพัฒนาการของฮิริคสัน ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์และทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

       การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึกฝนเกิดขึ้นตลอดชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัย คือ ระบบปราสาท สติปัญญา อายุ ความตั้งใจ แรงจูงใจ อารมณ์ วิธีการเรียน เนื้อหาและสถานการณ์ที่เรียนและเป้าหมาย การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนเป็นกิจกรรมสำคัญที่จะบอกให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องรู้พฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ต้องวัดและประเมินผลตามสภาพความเป็นจริงอย่างต่อเนื่องในด้านความรู้ ความคิด พฤติกรรม วิธีการฝึกทักษะกระบวนการและผลการปฏิบัติจริง โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์และการตรวจผลงาน เป็นต้น สำหรับเนื้อหาเรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนประสิทธิภาพการเรียนรู้ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสภาพแวดล้อมด้านจิตใจ

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : ความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเรียนรู้หรือการสร้างพฤติกรรมใหม่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางด้านสติปัญญา ความคิด ความจำ การแก้ปัญหา ตลอดจนการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์แวดล้อมอย่างเหมาะสมกระบวนการทางจิตวิทยาในการสืบค้นความรู้เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ ดั้งปัญหา ตั้งสมมุติฐาน รวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การประเมินผลและสรุปผลและการนำไปใช้ วิธีการเก็บข้อมูลทางจิตวิทยาที่นิยมใช้ในทางจิตวิทยามีการสังเกต การสัมภาษณ์ ฯลฯ เป็นต้น

       ทฤษฎีพัฒนาการและพัฒนาการของเด็กวัยเรียนของเพียเจต์ เน้นพัฒนาการของมนุษย์ คือ ผลของกระบวนการปรับตัวที่เกิดจากการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมของมนุษย์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบูรเนอร์ อธิบายถึงการเจริญเติบโตทางสติปัญญา 3 ขั้น คือ ขั้นการเอนเนกทีฟ ขั้นพัฒนาการไอโคนิกและขั้นซิมโปลิก ทฤษฎีของเอริคสัน เน้นพัฒนาการด้านจิตสังคมอันเป็นผลมาจากเปลี่ยนแปลงจะเกิดกับบุคลที่ประสบภาวะวิกฤติ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กเพราะเป็นรากฐานของการพัฒนาการทางบุคลิกภาพตอนวัยผู้ใหญ่ บุคลิกภาพของมนุษย์มีผลมาจากผลรวม 5 ปีแรก และทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมตามขั้นตอน แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถทางสติปัญญา ขั้นตอนพัฒนาทางจริยธรรมมี 6 ขั้นตอน อาทิเช่น ขั้นหลบหลีกการถูกลงโทษ ขั้นการแสวงหารางวัล ขั้นการทำตามเพื่อน ฯลฯ เป็นต้น

ตัวอย่าง แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก

ลักษณะ

แนวทางการส่งเสริม

1. ลักษณะทางร่างกาย

– มีความคล่องแคล้ว ว่องไว ไม่อยู่นิ่ง

– ควรจัดกิจกรรมให้มีการเคลื่อนไหวคุยกันได้บ้าง ปล่อยให้เด็กได้พักผ่อนบ่อยๆ และให้มีส่วนร่วมในกิจกรรม

 2. ลักษณะทางอารมณ์

– จะมีความอ่อนไหวง่ายต่อการติเตียนและการเยอะเย้ย ถากถาง ชอบการชมเชยและการยอมรับจะนิยมชื่นชมครู

 – ควรระมัดระวัง หลีกเลี่ยงคำพูดถากถาง ซึ่งจะไปกระทบความรู้สึกของเด็กและเป็นสาเหตุของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อไป

3. ลักษณะทางสติปัญญา

– มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ

 – ในการสอนของครูควรสร้างแรงจูงใจใฝ่รู้ให้แก่เด็กอย่างสม่ำเสมอ

       ลักษณะการเรียนรู้ที่ดีมี 5 ประการ คือ เกิดจากกระบวนการที่สร้างความเข้าใจกับความหมายสิ่งที่รับรู้ การเรียนรู้ที่ดีต้องตั้งอยู่บนรากฐานของสิ่งที่รู้อยู่ก่อน เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นต้น ปัจจัยสำคัญต่อการเรียนรู้ประกอบด้วย ระบบปราสาท สติปัญญา อายุ ความตั้งใจ แรงจูงใจ อารมณ์ เนื้อหาของสิ่งที่รู้ สถานการณ์ที่เรียนรู้และวิธีเรียนที่ถูกต้อง วิธีการส่งเสริมการเรียนรู้แบบพหุปัญหา ได้แก่ ด้านภาษา ด้านตรรกและคณิตศาสตร์ ด้านภาพมิติสัมพันธ์ เป็นต้น

       ทฤษฎีการเรียนรู้และการประยุกต์สู่การสอน ประกอบด้วย ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอรันไดค์ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสัน ทฤษฎีการเรียนรู้ของทอลแมน เป็นต้น ฯลฯ สำหรับการเรียนรู้ตามแนวทางพุทธศาสนา แบ่งผู้เรียนเป็น 3 ระดับ คือ ระดับปริยัติ ระดับปฏิบัติและระดับปฏิเวธ กระบวนการเรียนรู้มี 4 ประเภท คือ ความมีอิสระ เรียนรู้ตามความจริง คิดไตร่ตรองอย่างแยบคาย การมีจิตใจที่เป็นกลาง และทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ 5 ทฤษฎี ดังนี้ ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพและลักษณะนิสัย

จุดเด่นของผลงานทางวิชาการ : หนังสือการประยุกต์จิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้มีจุดเด่นจากเนื้อหา และการนำหลักการของทฤษฎีมาประยุกต์กับกระบวนการบริหารจัดการทางการจัดการเรียนการสอนโดยเฉพาะการจัดสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนประสิทธิภาพการเรียนรู้จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนกับสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการจัดสภาพแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมุ่งเน้นด้านกายภาพและด้านจิตใจทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน สำหรับสภาพแวดล้อมด้านกายภาพประกอบด้วยอาคารสถานที่ สภาพห้องเรียน สื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน และสภาพแวดล้อมด้านจิตใจซึ่งเป็นบรรยากาศของการสร้างความอบอุ่นเป็นมิตร มีความเอื้ออาทรและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างนักเรียนกับครูและบุคลากรในโรงเรียน ทำให้สามารถใช้ชีวิตในการเรียนรู้อย่างมีความสุข

การนำไปใช้กับมหาวิทยาลัย : จากเนื้อหาและจุดเด่นข้างต้นนั้น มหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารจัดว่าเป็นบุคคลสำคัญในการจัดสภาพแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยควรสนับสนุนให้คณาจารย์ทุกคณะวิชาสนใจแก้ปัญหาจากการสอนด้วยวิธีการทำวิจัยชั้นเรียน (Classroom Research) เพื่อแก้ปัญหาและนำผลการวิจัยมาพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนได้และเป็นการพัฒนาครูไปสู่ความเป็นเลิศ มีอิสระทางวิชาการด้วย

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : จากประโยชน์ของการทำวิจัยชั้นเรียนนั้น คณะวิชาทั้ง 5 คณะ ควรนำผลงานการวิจัยชั้นเรียนมาเป็นเครื่องประเมินผลการสอนและประเมินความดีความชอบประจำปีด้วย ซึ่งการนี้ทางสำนักวิจัยหรือคณะวิชาควรจัดสรรงบประมาณการจัดทำวิจัยเรื่องละ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) หรือสาขาวิชาสามารถจัดสรรงบประมาณให้แก่คณาจารย์ที่สังกัดในแต่ละวิชาด้วยก็จะยิ่งทำให้คณาจารย์มีขวัญกำลังใจมากขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอน

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

มันขี้หนู

“มัน” ที่นำหัวมารับประทานโดยทั่วไปนั้น จะเป็นพืชในวงศ์กลอย หรือ FAMILY DIOSCOREACEA ซึ่งเป็นมันที่คุ้นเคยกันมาเนิ่นนาน เช่น มันมือเสือ มันเลือด มันเทียน มันเสา รวมทั้งกลอย แต่สำหรับ “มันขี้หนู”นั้น หัวเหมือนมัน แต่กลับไม่ได้อยู่ในกลุ่มมันดังกล่าว เพราะ“มันขี้หนู” อยู่ในวงศ์โหระพากระเพรา หรือ FAMILY LAMIACEAE ซึ่งเป็นเรื่องแปลก เพราะพืชวงศ์นี้เป็นพืชผักเป็นส่วนใหญ่ เช่น โหระพา กระเพรา แมงลัก สระแหน่ ยี่หร่า มิ้นท์ หูเสือ และที่เป็นไม้ดอกไม้ประดับเศรษฐกิจที่คุ้นเคย เช่น แซลเวีย ฤษีผสม ที่แปลกไปจากเพื่อนคือ “เฉาก๊วย” ก็เป็นญาติในวงศ์เดียวกันกับมันขี้หนู

มันขี้หนู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plectranthus  rotundifolius

วงศ์ : LAMIACEAE 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นพืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูง 35-55 ซม. ลำต้นและกิ่งก้านเป็นเหลี่ยม มีขนปกคลุม อวบน้ำ เมื่อโตเต็มที่แล้วจะสร้างหัวขนาดเล็ก ลักษณะเรียวยาว ทรงกระบอก หัวท้ายป้าน สีน้ำตาลอมดำหรืออมแดง ขนาดหัว 1-3 ซม. ยาว 3-6 ซม. เปลือกหัวบาง เนื้อหัวด้านในมีสีขาวอมเหลืองหรือสีครีมหรือสีม่วงอ่อน ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปกลมแกมไข่ ปลายใบมน ใบหนาขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีรูปร่างคล้ายใบฤษีผสม มีขนปกคลุมทั้งสองด้าน เมื่อเด็ดดมจะมีกลิ่นหอม ก้านใบยาว 2-3 ซม. ใบกว้าง 4.5-6.5 ซม. ยาว 5-7 ซม.  ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอดลำต้น คล้ายช่อดอกโหระพา ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5-20 ซม. มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีม่วง ไม่ค่อยติดเมล็ด

ประโยชน์ของมันขี้หนู

คนใต้นำมาใส่ในแกงส้ม แกงไตปลา แกงกะทิ ต้มจิ้ม  ทำเป็นของหวาน หรือนำไปต้มกับเกลือให้ออกรสเค็ม หรือหุงกับข้าว เนื้อหัวมันละเอียด ให้รสมัน และหวานเล็กน้อยทำให้สุกแล้วนำมารับประทาน ทั้งนี้ต้องขูดเปลือกด้านนอกออกให้หมดก่อนนำมาใช้ประโยชน์

การปลูกมันขี้หนู

เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย พื้นที่ปลูกเป็นที่ดอน มีแสงแดดส่องตลอดวัน อาจปลูกแซมในสวนยางและสวนปาล์มที่มีอายุน้อยเพราะยังมีแสงแดดส่องทั่วแปลง หากปลูกในแปลงก็เตรียมแปลงเหมือนพืชไร่ทั่วไป โดยปลูกด้วยหัวขนาดเล็กหลุมละ 2-3 หัว หรือเด็ดยอดมาปักชำ ระยะปลูก 30 x 50 ซม. ให้ปุ๋ยคอกได้ในระยะแรก เมื่อโตแล้วใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 บำรุงตามปกติเดือนละครั้ง เมื่ออายุ 5-6 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงหัวที่มีตัวท้ายสูง เช่น 13-13-21 จะทำให้หัวสมบูรณ์ เมื่ออายุ6 เดือนก็เก็บเกี่ยวหัวมาใช้ประโยชน์ได้ โดยใช้มือถอนต้นขึ้นมา สามารถจำหน่ายได้ในราคาสูง กิโลกรัมละ 30-80 บาท

ประดู่แดง

ประดู่แดง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Phyllocarpus  septentrionalis  Donn. Smith

วงศ์  CAESALPINIACEAE

ชื่อสามัญ  Monkey Flower Tree, Fire of Pakistan

ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ: วาสุเทพ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงได้ถึง 15 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน เรือนยอดแผ่กว้าง กิ่งก้านและใบลู่ลง ผลัดใบก่อนออกดอก ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบย่อยรูปมนรีใบปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ มีสีเขียวออกตรงข้ามเป็นคู่บนก้านใบ กว้างประมาณ  2.5  ซม. ยาวประมาณ 6  ซม. ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกสีแดงสดหรือสีส้ม  ดอกจะบานไม่พร้อมกัน จะทยอยกันบานไล่ขึ้นไปตั้งแต่โคนก้านช่อจนถึงปลายช่อ เวลาบานจะแดงสะพรั่งทั้งต้น เกสรยาวยื่นออกมากลางดอก ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-ต้นมีนาคม ผลเป็นฝักแบนรูปขอบขนานโค้งเล็กน้อย ขนาด กว้างกว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 7.5-10 ซม. มีเมล็ดแบน 1 เมล็ด มีถิ่นกำเนิดในประเทศกัวเตมาลา ทวีปอเมริกาใต้ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ประโยชน์  ดอกสวยควรปลูกเป็นไม้ประดับในสวนสาธารณะ วัด หรือหน่วยงานที่ต้องการไม้ดอกสวยและให้ร่มเงา

การบัญชีขั้นต้น๑ (Accounting Principle I)

การบัญชีขั้นต้น ๑

Accounting Principle I

ผศ.นพพร ลิ้มสุขวัฒน์


View Fullscreen

หลักการบัญชีขั้นต้น (Principle of Accounting)

หลักการบัญชีขั้นต้น 

Principle of Accounting

รศ.รวงพร อิ่มผล


View Fullscreen

ตำราเรื่อง หลักการบัญชีชั้นกลาง 1 (Intermediate Accounting)

ตำราเรื่อง หลักการบัญชีชั้นกลาง ๑

(Intermediate Accounting)

รศ.รวงพร อิ่มผล


ชื่อผลงานทางวิชาการ การบัญชีชั้นกลาง 1 (Intermediate Accounting)

ประเภทผลงานทางวิชาการ ตำรา

ปีที่พิมพ์ ฉบับปรับปรุง 2558

มูลเพิ่มเติม สาขาวิชาการบัญชีคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ

รองศาสตราจารย์รวงพร อิ่มผล

 

การบัญชีชั้นกลาง 1 (Intermediate Accounting)

   ตำรา เรื่อง การบัญชีชั้นกลาง 1 เล่มนี้ เป็นฉบับปรับปรุง 2558 รองศาสตราจารย์รวงพร อิ่มผล อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการเป็นผู้เขียนได้ปรับปรุงตำรา เพื่อใช้ในการเรียนการสอน สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี โปรแกรมวิชาบัญชีและโปรแกรมบริหารธุรกิจแขนงวิชาการบัญชี โดยเนื้อหาประกอบด้วย การแสดงรายการในงบการเงิน สินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน กำหนดราคาสินทรัพย์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน การด้อยค่าสินทรัพย์ และหนี้สิน โดยผู้เขียนอาศัยประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน และการสอนเป็นระยะเวลาหลายปี โดยตำราเล่มนี้ได้พิมพ์เผยแพร่แล้วในปี 2556 และเพื่อให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญ ในส่วนที่เกี่ยวกับสินทรัพย์และหนี้สิน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ออกใหม่ที่ประกาศใช้ และเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำวามรู้ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งรายละเอียดของตำราเล่มนี้ประกอบด้วย 10 บทเรียนแต่ละบทเรียนจะประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้

บทที่ 1 งบการเงิน ประกอบด้วยกรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงินวัตถุประสงค์ของการรายงานทางการเงินลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลทางการเงินคำนิยามการรับรู้รายการและการวัดมูลค่าองค์ประกอบของโครงสร้างงบการเงินแนวคิดเรื่องทุนและการรักษาระดับทุนการนำเสนองบการเงินสรุปคำถามและแบบฝึกหัด

บทที่ 2 เงินสดและเงินลุงทุน ประกอบด้วยเงินสดเงินสดย่อยเงินฝากธนาคารงบประมาณเงินสดเงินลงทุนต้นทุนของเงินลงทุนการจัดประเภทเงินลงทุนการบัญชีสำหรับเงินลงทุนราคาตามบัญชีของเงินลงทุนการโอนเปลี่ยนประเภทของเงินลงทุนการจำหน่ายเงินลงทุนการเปิดเผยข้อมูลสรุปคำถามและแบบฝึกหัด

บทที่ 3 ลูกหนี้และตั๋วเงินรับ ประกอบด้วย ลูกหนี้ การนำบัญชีลูกหนี้ไปหาผลประโยชน์ ตั๋วเงินรับ การบัญชีเกี่ยวกับตั้งเงินรับ การนำตั๋วเงินไปแสวงหาผลประโยชน์ ตั้งเงินรับที่มีอายุเกินกว่า 1 ปี สรุป คำถามและแบบฝึกหัด

บทที่ 4 สินค้าคงเหลือและการวัดมูลค่าด้วยราคาทุน ประกอบด้วย ความหมายของสินค้าคงเหลือ รายการที่ควรถือเป็นสินค้าคงเหลือ การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้า การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ วิธีถัวเฉลี่ย(อย่างง่าย ถ่วงน้าหนัก เคลื่อนที่) วิธีเข้าก่อนออกก่อน วิธีเข้าหลังออกก่อน วิธีรวมกลุ่มสินค้าเข้าหลังออกก่อนวิธีสินค้ามูลฐานวิธีราคาทุนอื่นๆเปรียบเทียบผลการคานวณราคาสินค้าคงเหลือสรุปคำถามและแบบฝึกหัด

บทที่ 5 สินค้าคงเหลือและการวัดมูลค่าด้วยวิธีอื่น ประกอบด้วยการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุนและมูลค่าสุทธิที่จะได้รับผลของการใช้ราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับที่ต่ากว่าการบันทึกราคาที่ต่ากว่าลงในบัญชีวิธีอัตรากาหรขั้นต้นวิธีราคาขายปลีกการคานวณสินค้าคงเหลือตามวิธีขายปลีกในกรณีต่างๆการเปิดเผยข้อมูลสรุปคำถามและแบบฝึกหัด

บทที่ 6 เงินลงทุนระยะยาว ประกอบด้วยเงินลงทุนระยะยาวในหุ้นทุนการซื้อหุ้นเป็นหน่วยรวมการบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนระยะยาวเงินปันผลการแบ่งแยกหุ้นและสิทธิซื้อหุ้นที่ออกใหม่การไถ่ถอนหุ้นและการแปลงสภาพหุ้นตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดการบันทึกบัญชีตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดการไถ่ถอนหุ้นกู้การแปลงสภาพหุ้นกู้การด้อยค่าของเงินลงทุนสรุปคำถามและแบบฝึกหัด

บทที่ 7 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ประกอบด้วย ความหมายของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ การวัดมูลค่าเริ่มแรกของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ต้นทุนการกู้ยืมที่อนุญาตให้รวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ ราคาทุน( ของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์) ต้นทุนที่เกิดขึ้นในภายหลังการบันทึกบัญชีเมื่อได้รับสินทรัพย์การซื้อสินทรัพย์การนาสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปแลกการสร้างสินทรัพย์ขึ้นใช้เองสินทรัพย์ที่ได้มาจากการบริจาคและการค้นพบการวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้มูลค่าเริ่มแรกสรุปคำถามและแบบฝึกหัด

บทที่ 8 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ประกอบด้วยคำนิยามการรับรู้รายการและการวัดมูลค่าการวัดมูลค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเมื่อเริ่มแรกการวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการอายุการให้ประโยชน์การเปิดเผยข้อมูลสรุปคำถามและแบบฝึกหัด

บทที่ 9 การด้อยค่าของสินทรัพย์ ประกอบด้วยความหมายของคาศัพท์การระบุสินทรัพย์ที่อาจเกิดจากการด้อยค่าการวัดมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับรับคืนหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดและค่าความนิยมการขาดทุนจากการด้อยค่าของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดการพิจารณาลักษณะของสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดการคานวณมูลค่าจากการใช้และการรับรู้รายการขาดทุนจากการด้อยค่าการกลับบัญชีรายการขาดทุนจากการด้อยค่าการปฏิบัติสำหรับการปรับโครงสร้างในอนาคตการปฏิบัติเกี่ยวกับรายจ่ายฝ่ายทุนที่จะเกิดขึ้นแนวทางทาการทดสอบแบบวิธีปันส่วนให้หน่วยเล็กที่สุดและแบบวิธีปันส่วนให้หน่วยที่ใหญ่ขึ้นมาปฏิบัติกับค่าความนิยมสรุปคำถามและแบบฝึกหัด

บทที่ 10 หนี้สิน ประกอบด้วย ความหมายของหนี้สิน การแบ่งประเภทหนี้สิน การกำหนดมูลค่าของหนี้สิน หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินโดยประมาณและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น การแสดงรายการหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินโดยประมาณ หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น หนี้สินระยะยาว การบัญชีเกี่ยวกับหุ้นกู้ การตัดส่วนเกินหรือส่วนลดมูลค่าหุ้นกู้โดยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง การแสดงรายการหนี้สินระยะยาวและการเปิดเผยในงบการเงิน สรุป คำถามและแบบฝึกหัด 


ประวัติผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์รวงพร อิ่มผล

การศึกษา : บช.. บัญชีบัณฑิต (บัญชีการเงิน) คณะบัญชีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

: ศศ.. เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประสบการณ์การทำงาน

: รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (2555-2559)

: คณบดีคณะวิทยาการจัดการ (2550-2554)

หมายเหตุ : สนใจ ติดต่อ โทร. 081-3084300 ราคาเล่มละ 180. บาท

หนังสั้นเรื่อง “มไหสวรรย์”

หนังสั้นเรื่อง “มไหสวรรย์”

อาจารย์ ภัทรนันท์ ไวทยะสิน


ชื่อผลงานทางวิชาการ หนังสั้นเรื่อง “มไหสวรรย์”

ประเภทผลงานทางวิชาการ หนังสั้น

ปีที่พิมพ์ 2559

มูลเพิ่มเติม สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ

อาจารย์ภัทรนันท์ไวทยะสิน อาจารย์ประจำสาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง


มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สร้างชื่อเสียงอีกแล้ว

   นิสิตสาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สร้างชื่อเสียงโดยการคว้ารางวัล จำนวน ๒ รางวัล ได้แก่ รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ได้รับทุนการศึกษามูลค่า ๓๐,๐๐๐ บาท และรางวัลชมเชย ได้รับทุนการศึกษามูลค่า ๑๐,๐๐๐ บาท จากโครงการประกวดหนังสั้น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร “Shortfilm of Parliament ๒๐๑๖” ซึ่งจัดกิจกรรมต่อเนื่องเป็นครั้งที่ ๓ สำหรับโจทย์ในการสร้างสรรค์หนังสั้นคือ ขอ-รับ-ท่าน Corruption โดยรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ นั้น นิสิตทั้ง ๓ คน ได้แก่ นายภูริทัติ แก้วทับทอง นายอภิวิชญ์พงษ์ วุฒิประพันธ์ นิสิตชั้นปีที่ ๔ และนางสาวอัญชิษฐา อัครศรีประไพ นิสิตชั้นปีที่ ๒ หรือ ทีม ๖๕ Room ร่วมกันสร้างสรรค์หนังสั้นเรื่อง “มไหสวรรย์” เป็นการวิพากษ์สถานการณ์ปัจจุบันแนวกึ่งสารคดี นำเสนอวิถีชีวิตของคนฝั่งธนที่ต้องเดินทางผ่านแยกทุกวัน ผลกระทบของการก่อสร้างอุโมงค์ที่ยาวนานและยังไม่มีวี่แววจะเสร็จ และรางวัลชมเชย คือ ทีมมดตะนอย ของนายกิตติศักดิ์ ถุงพลอย นิสิตชั้นปีที่ ๓ ที่ได้สร้างสรรค์หนังสั้นเรื่อง เรา” งานนี้ต้องชื่นชมอาจารย์ภัทรนันท์ ไวทยะสิน อาจารย์ พิมพ์พิไล ไทพิทักษ์ และคณะ อาจารย์ประจำสาขาวิชาโฆษณาและธุรกิจบันเทิง ได้ให้คำปรึกษาจนประสบความสาเร็จ สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชา นับว่าเป็นตัวอย่างที่ทุกคนควรยกย่อง และเป็นตัวอย่างในการพัฒนาความรู้จากการเรียนการสอน สู่อาชีพ สังคม และชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยสืบไป


 

ผลการประกวดหนังสั้น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร “Shortfilm of Parliament 2016”

นิสิตสาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1

 

สามารถโหลดข้อมูลและรายเอียดได้จาก You Tube และ Facebook

ลิ้งค์จาก facebook – https://www.facebook.com/shortfilmofparliament

จะเข้ : ความเป็นมาและการบรรเลง

จะเข้ : ความเป็นมาและการบรรเลง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ


ชื่อผลงานทางวิชาการ จะเข้ : ความเป็นมาและการบรรเลง

ประเภทผลงานทางวิชาการ บทความ

ปีที่พิมพ์ 2555

มูลเพิ่มเติม สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ

 

View Fullscreen

อนุกรมเลข – เรขาคณิตที่วางนัยทั่วไป

อนุกรมเลข – เรขาคณิตที่วางนัยทั่วไป

(Generalized Arithmetic – Geometric Series)


กำจร มุณีแก้ว

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

การใช้ภูมิปัญญาท้องถื่นพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของตำบลพลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

พัฒนาตำบลพลูตาหลวง จังหวัดชลบุรี ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

.วนิดา ชื่นชัน


View Fullscreen