การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก
สำหรับเด็กปฐมวัยเครือข่ายโรงเรียนที่ 70 สำนักงานเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

THE  DEVELOPMENT OF COMPUTER  ASSISTED INSTRUCTION  ON   EVERYTHING  AROUND  A  CHILD
FOR  PRESCHOOL   CHILDREN  CLUSTER 70  BANGKOK

พุทธชาติ เล็กมีมงคล


 

คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์  :  รองศาสตราจารย์ ดร. อำนวย  เดชชัยศรี
                                                          :  รองศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์คเรศ  ประกอบผล
คณะกรรมการสอบภายนอก            :  รองศาสตราจารย์ ดร. สุรศักดิ์  หลาบมาลา

 

บทคัดย่อ

       การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก  สำหรับเด็กปฐมวัย  เครือข่ายโรงเรียนที่ 70   สำนักงานเขตคลองสาน  กรุงเทพมหานคร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก  สำหรับเด็กปฐมวัย เครือข่ายโรงเรียนที่ 70 สำนักงานเขตคลองสาน  กรุงเทพมหานคร   

       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  คือ  ระดับชั้นปฐมวัยปีที่  2  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2553  โรงเรียนวัดสุทธารามจำนวน  25 คน  เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย  (Simple Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก  สำหรับเด็กปฐมวัย  2) แบบทดสอบพัฒนาการด้านสติปัญญาแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ  3  ตัวเลือก    มีค่าความเชื่อมั่น  0.89  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ  ร้อยละ (Percentage)  ค่าเฉลี่ย (Mean)   และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)   E1 / E2และ t-test (Dependent  Samples)

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก  สำหรับเด็กปฐมวัย  เครือข่ายโรงเรียนที่ 70 สำนักงานเขตคลองสาน  กรุงเทพมหานครมีประสิทธิภาพเท่ากับ  86.67 / 83.20  ซึ่งเป็นตามเกณฑ์  80 /80  ที่ตั้งไว้
2.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01

Abstract

       This study based on the purposes for (1) developing the lesson used a computer assisted in teaching the lesson about the things around the children in the science subject for Pre-school children in the network schools, the school the 70 th in the Klongsarn District, Bangkok to find out the efficiency of the lesson designed which is based on the criteria of 80/80 (2) finding out the achievement of learning and the marks comparing the pre-test scores to the students’ achievement from post-test scores from learning the lesson used the computer assisted in teaching about the things around the children in the network schools, the school the 70th in the Klongsarn District, Bangkok.

       The sample of the study consisted of (25) of the second year of pre-school children in Semester 2 in the school year 2011, WatSuttharam School located in Bangkok. The sampling was done by Simple Random Sampling. The instrument of the study were an instructional software program for teaching the things around the children for the pre-school children ,the test for the mental development which consists of three multiple choices, and the validity is 0.89.The statistics used in this study are Mean , Percentage , Standard Deviation and T-test (Independent Samples)

The findings of the study revealed that :

1) The lesson used a computer assisted in teaching the things around the children in the science subject of the pre-school children in the network schools, the school the 70thin  theKlongsarn District, Bangkok. The efficiency of  86.67/83.20 which is close to the expected scores of 80/80.
2) The lesson used a computer assisted in teaching higher achievement scores than the pre-test scores. There was ststistically significant difference .01

 

ความเป็นมาและความสำคัญทางปัญหา

       พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ   พ.ศ. 2542  ปรับปรุงและแก้ไข (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2545  และหลักการพัฒนาการเด็กตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย   พุทธศักราช   2546    ได้กำหนดปรัชญาการศึกษาปฐมวัยดังนี้   การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง   5   ปี   บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพ   ภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่    ด้วยความรัก    ความเอื้ออาทร   และความเข้าใจของทุกคน   เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์    เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม(กรมวิชาการ.2546:4-5)  ในปัจจุบันการเจริญด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง   สังคมและวัฒนธรรมมีการเปลี่ยนแปลงคอมพิวเตอร์มีบทบาทในการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น   ในสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยต่างนำคอมพิวเตอร์มาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่เด็ก    จากการศึกษาของสุภาพร แสนทวีสุข  (2541:5)  ได้สำรวจโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานครที่เปิดสอนระดับปฐมวัยในเบื้องต้นจำนวน   723   โรงเรียน   พบว่ามีโรงเรียนที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้จัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก   237   โรงเรียน   โดยมีแนวคิดเพื่อเป็นการเตรียมเด็กให้รู้จักและคุ้นเคยกับเทคโนโลยีที่จะต้องพบในอนาคตและใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม   ในด้านการศึกษาได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานการศึกษาในด้านต่าง ๆ  มากมายทั้งด้านการบริหารจัดการ    ในด้านข้อมูลข่าวสาร  ในด้านการสอน    และในด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย จะมีซอฟแวร์ที่เรียกว่า Edutainment เมื่อเด็กใช้เรียนจะได้ทั้งการเรียนรู้กับความบันเทิง(มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ   ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา. 2545 : 29 – 30)  จุดประสงค์ของการใช้คอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัยนั้นมุ่งฝึกให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้   พัฒนาความคิดและทักษะต่าง ๆ มากกว่าการหัดให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์แบบผู้ใหญ่  (ขนิษฐา   รุจิโรจน์ .2550  : 29) 

       การนำคอมพิวเตอร์มาจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้นต้องสอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการเด็กได้ลงมือกระทำ มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  ในบรรดาสื่อการศึกษาที่เรามีอยู่ในเวลานี้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อที่น่าสนใจที่สุดสื่อหนึ่ง    (ขนิษฐา  ศุภนราพรรค์ .2540  : 33)  ในปัจจุบันนี้ก็เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่า  มัลติมีเดีย   เป็นระบบที่รวมความสามารถในการทำงานของภาพนิ่ง   ภาพเคลื่อนไหว   วีดีทัศน์   เสียง   ข้อความ   ที่ใช้ร่วมกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   (ธนะพัฒน์   ถึงสุขและชเนท์   สุขวารี .2539 : 9) 

       ปัจจุบันมีการพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ มัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัยออกจำหน่ายอยู่มากพอสมควรจึงทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง สิ่งต่าง ๆ  รอบตัวเด็กสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นสาระการเรียนรู้ที่เด็กต้องได้รับการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตร    ผู้วิจัยจึงนำหลักการจัดประสบการณ์และวิธีการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ให้มีความเหมาะสมกับคุณลักษณะตามวัยของเด็ก   มีความสนุกสนานในการเรียน   เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามประสบการณ์สำคัญของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

       เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก  สำหรับเด็กปฐมวัย เครือข่ายโรงเรียนที่ 70 สำนักงานเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร   

 

ขอบเขตการวิจัย

       ขอบเขตด้านประชากร การวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กนักเรียนจำนวน 25 คน ใน 1 ห้องเรียน  ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นปฐมวัยปีที่  2  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2553  เครือข่ายโรงเรียนที่ 70 สำนักงานเขตคลองสาน  กรุงเทพมหานคร   มีทั้งหมด  7  โรงเรียน ได้แก่

โรงเรียนวัดสุทธาราม
-โรงเรียนวัดทองเพลง
-โรงเรียนวัดสุวรรณ
-โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
-โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
-โรงเรียนวัดทองนพคุณ
-โรงเรียนวัดพิชัยญาติ

 

ขั้นตอนดำเนินการวิจัย

       ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก  สำหรับเด็กปฐมวัยเครือข่ายโรงเรียนที่ 70 สำนักงานเขตคลองสาน  กรุงเทพมหานคร   

 

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้   ประกอบด้วย

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียช่วยสอน เรื่องสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
2. แบบทดสอบพัฒนาการความพร้อมด้านสติปัญญา
3. แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

 

เก็บรวบรวมข้อมูล

       ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก สำหรับเด็กปฐมวัย   ที่สร้างขึ้นไปทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน โดยใช้สถานที่คือ ห้องคอมพิวเตอร์ โรงเรียนวัดสุทธาราม  สำนักงานเขตคลองสาน กรุงเทพมหานครมีขั้นตอนการเก็บรวมรวมข้อมูลดังนี้

1. นำหนังสือจาก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา นำไปติดต่อกับผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสุทธาราม และโรงเรียนวัดทองเพลง     สำนักงานเขตคลองสาน     กรุงเทพมหานคร    เพื่อขอความอนุเคราะห์    และขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
2. ติดต่อประสานงานกับครูประจำห้องเรียน และครูประจำห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อแจ้งวันและเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ไปทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) นักเรียนจะใช้เวลาในการทำแบบทดสอบ   30 นาที
4. เรียนและทำแบบทดสอบระหว่างเรียน โดยแนะนำการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแก่นักเรียน ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา  5  หน่วยการเรียนรู้ ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียน   แบบฝึกหัด   นักเรียนจะต้องเรียนเนื้อหาบทเรียนให้เข้าใจ  แล้วจึงทำแบบฝึกหัด และทำแบบทดสอบเป็นลำดับสุดท้าย  เพื่อประเมินผลการเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้  โดยกำหนดให้นักเรียนเรียนเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ที่ 1   จนจบแล้วทำแบบฝึกหัดของหน่วยการเรียนรู้ที่ 1  เสร็จแล้วจึงเรียนเนื้อหาในหน่วยถัดไปแล้วทำแบบฝึกหัดประจำหน่วยการเรียนรู้นั้น  ทำเช่นนี้ตามลำดับจนครบทั้ง  5  หน่วยการเรียนรู้
5.ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนโดยทันทีที่เรียนเนื้อหาจบ ซึ่งเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฉบับเดียวกันกับการสอบก่อนเรียน
6.นำคะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนมาหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้สูตร E1/E2 (กรมวิชาการ. 2544:162-163)
7.นำผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน (Pretest) มาเปรียบเทียบกับผลสัมฤทธิ์หลังเรียน (Posttest) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป   โดยใช้สูตร t-test   เพื่อทำการทดสอบสมมุติฐาน

 

การวิเคราะห์ข้อมูล

       การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก  สำหรับเด็กปฐมวัย   เครือข่ายโรงเรียนที่ 70 สำนักงานเขตคลองสาน  กรุงเทพมหานคร  ทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

       วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยวิธีการทางสถิติดังนี้

1. หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดในแต่ละหน่วยย่อย และคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียน

2. หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนจากการทำแบบทดสอบระหว่างเรียน และร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

 

สรุปผลการวิจัย

จากผลการศึกษาค้นคว้าสรุปได้ดังนี้

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก สำหรับเด็กปฐมวัย เครือข่ายโรงเรียนที่ 70 สำนักงานเขตคลองสาน กรุงเทพมหานครมีประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ตามเกณฑ์  80/80 ซึ่งผลการทดลองครั้งนี้พบว่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์มีค่าเท่ากับ  86.67 / 83.20

2.  การเปรียบเทียบสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก สำหรับเด็กปฐมวัย เครือข่ายโรงเรียนที่ 70 สำนักงานเขตคลองสาน กรุงเทพมหานครพบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

อภิปรายผลการวิจัย

       จากการศึกษาค้นคว้า  สามารถอภิปรายผลในครั้งนี้เป็นการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน   เรื่องสิ่งต่าง ๆ  รอบตัวเด็ก    สำหรับเด็กปฐมวัย    เครือข่ายโรงเรียนที่  70 สำนักงานเขตคลองสาน  กรุงเทพมหานคร  ผลการวิจัยปรากฏว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้  กล่าวคือ ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) มีค่าเท่ากับ 86.67  ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2)  มีค่าเท่ากับ 83.20   และผลสัมฤทธิ์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง สิ่งต่างๆ รอบตัว เด็กปฐมวัยเครือข่ายโรงเรียนที่ 70 สำนักงานเขตคลองสาน  กรุงเทพมหานคร  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา  2553 โรงเรียนวัดสุทธาราม  จำนวน 25 คน  พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

       การพัฒนาความคิดและทักษะต่างๆ มากกว่าการหัดให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์แบบผู้ใหญ่  และสามารถเรียนรู้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้ในฐานะเป็นเครื่องมือ  สื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่ง ที่จัดเป็นกิจกรรมประจำวันให้กับเด็กเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย  ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง  อย่างเหมาะสมกับวัย โดยพิจารณาโปรแกรม  บทเรียนที่เหมาะสม  มีการใช้คำสั่งง่ายๆ ไม่ซับซ้อนจนเกินไป  ฝึกทักษะการเรียนรู้ทั้งเนื้อหาสาระสอดคล้องกับหลักสูตรและมีความสนุกสนานไปพร้อมกัน จึงทำให้การเรียนคอมพิวเตอร์ของเด็กปฐมวัยได้รับประโยชน์สูงสุด

       เด็กในวัยนี้ยังไม่มีความเข้าใจในชั้นของ Concrete Operation (Piaget’s Stage of Development)  จนกระทั่งมีงานวิจัยของคลีมองท์ (Clement) ที่แสดงให้เห็นว่าเด็กอนุบาลมีความสามารถในการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม  มีความสอดคล้องกับ ฟีเน่ (Feeney) ที่กล่าวว่าเด็กอายุ 5 ปี ซึ่งยังคงมีการเริ่มต้นในเรื่องของสัญลักษณ์และมีความสนใจและสามารถควบคุมคอมพิวเตอร์ได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้  ฮาแกน (Haugland) ได้กล่าวว่าควรแนะนำคอมพิวเตอร์ให้แก่เด็กอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ ต้องอาศัยโปรแกรมที่เหมาะสมกับอายุและพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัยด้วย  (สรรพมงคล  จันทร์ด้ง. 2544 : 23-24)

       ขนิษฐา  รุจิโรจน์ (2540 : 32) กล่าวถึงแนวทางการใช้คอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัยว่า  การใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัยควรใช้ในลักษณะเป็นอุปกรณ์การเรียนรู้  ควรใช้ในการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperation learning) เพื่อลดปัญหาการแยกตัวของเด็ก  จัดให้เด็กมีกิจกรรมแบบร่วมมือในขณะเรียนด้วยจะช่วยแก้ปัญหาการแยกตัวจากสังคมเป็นอย่างดีและการสอนจรรยามารยาทในการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกัน  การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ในลักษณะที่เป็นสื่อประสม (Multimedia) จึงทำให้เด็กสามารถมีปฏิกิริยาตอบโต้ได้ในขณะเรียน (Active) เป็นการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive learning) กระตุ้นทำให้เกิดการอยากรู้อยากเห็น

       จิราภรณ์แจ่มชัดใจ (2540 : 46) ได้กล่าวไว้ว่าการแนะนำคอมพิวเตอร์ให้เด็กได้รู้จักเป็นสิ่งจำเป็นและต้องดำเนินการอย่างจริงจังควรผสมผสานไปทั้งความบันเทิงสนุกสนานและวิชาการเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กให้หันมาเรียนรู้คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาวงการศึกษาของเด็กและพ่อแม่ยังสามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในครอบครัวคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กได้ควรจะเป็นโปรแกรมที่ช่วยฝึกทักษะท้าทายความคิดฝึกให้เป็นคนช่างสังเกตช่างจดจำมีการคิดอย่างมีระบบเป็นเหตุเป็นผล

 

ข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปปฏิบัติ

1.การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการนำเสนอบทเรียนควรคำนึงถึงวัยของผู้เรียน
2.จากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถทบทวนการเรียนได้ด้วยตนเอง
3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อที่สนองความต้องการของผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดีจึงควรที่จะคำนึงถึงรูปแบบของบทเรียนที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

 

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

1. ควรมีการจัดการอบรมให้กับครูผู้สอนเพื่อทำความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
2.ควรมีการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้มีรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลายวิธีเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและเร้าใจในการเรียนรู้
3.คอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นที่น่าสนใจของคนทุกวัย  ดังนั้นควรพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในเนื้อหาที่เหมาะสมกับคนทุกวัยเป็นการเผยแพร่ความรู้ในด้านต่าง ๆ

 

บรรณานุกรม

กรม,วิชาการ.กระทรวงศึกษาธิการ.(2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภลาดพร้าว.

__________.(2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช2546 .  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ขนิษฐา  รุจิโรจน์. (2540,ตุลาคม).  คอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัยวารสารการศึกษาปฐมวัย. 1(4) : 29 – 34 .

ขนิษฐา    ศุภนราพรรค์. (2540). “Opinion,” COM  plus.  1  (3)  : 33 – 37 .

รัตนา  ดวงแก้ว. (2538). “คอมพิวเตอร์ :สื่อที่ปฏิเสธไม่ได้สำหรับเด็กปฐมวัย?”การสัมมนาทางวิชาการเรื่องสื่อเพื่อพัฒนาเด็กไทยวัยเรียนรู้.20-26  กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ธนะพัฒน์     ถึงสุข  และชเนนท์   สุขวารี. (2539). เปิดโลกมัลติมีเดีย.กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์.

ธิดารัตน์ศักดิ์วีระกุล (2544 : 9). ทัศนคติของผู้ปกครองที่มีต่อการเรียนคอมพิวเตอร์ของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

Borg, Walter  R.  and  Merredith   D.  Gall.(1983).  Educational    Research.New York :  Longman,

Dusick,  Diane  M.  (1999).  Effects   of   administrative    support   policies,  cognitive processes,  and  motivational    beliefs on  faculty    uses  of    computer technology  :  Testing  amotivational   model.  Doctoral  Dissertation.  California :University  of  Southern  California. Photocopied.

Gary J.Anglin. (1995) . Instructional Technology.Libraries  Unilimited,Inc, U.S.A. :

Linda ,Tway. (1995).  Multimedialin  Action. Academic   Press  Inc .  U.S.A.

L.R.  Gay.  (1990) . Educational   Research.Macmillan  Publishing   Company.  New  York.

Meyer, Catherine   Fabienne. (1997). Content Analysis   of  Some  Selected Computer Assisted Language Learning  Courseware  and Recommendation for  ESL/FL Instructors , University  of  Central Florida.