การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมชุดความคิดเกี่ยวกับการสอนของครูประถมศึกษา

การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมชุดความคิดเกี่ยวกับการสอนของครูประถมศึกษา

THE DEVELOPMENT OF PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY MODEL TO IMPROVE ELEMENTARY SCHOOL TEACHERS’ INSTRUCTIONAL MINDSET


รองศาสตราจารย์ ดร.บังอร  เสรีรัตน์ 

อาจารย์สาขาวิชาจิตวิทยา  คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

E-mail : [email protected]

             การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมชุดความคิดเกี่ยวกับการสอนของครูประถมศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน คือการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ฯ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ องค์ประกอบที่ 2 จุดมุ่งหมาย องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการหลักและบทบาทสำคัญ และองค์ประกอบที่ 4 ปัจจัยสนับสนุนการใช้รูปแบบฯ การศึกษางานวิจัยเรื่องนี้จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กระบวนการหลักและบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดชุดความคิดเกี่ยวกับการสอนในกลุ่มประชากรเป้าหมาย  สุดท้ายมีข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่สนใจจะทำวิจัย เพื่อขยายหรือต่อยอดงานวิจัยนี้ออกไปอีก

บังอร  เสรีรัตน์.  (2560)  การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมชุดความคิดเกี่ยวกับการสอนของครูประถมศึกษา  วารสารศรีประทุมปริทัศน์. 17 (1). 

วารสารวิชาการ : วารสารศรีประทุมปริทัศน์

ลิงค์ที่เข้าถึงได้ : 

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้

The Development of Instructional Model to Encourage Transfer of Learning.


รองศาสตราจารย์ ดร.บังอร เสรีรัตน์

อาจารย์สาขาวิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

E-mail : [email protected]

             การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนใหม่ๆ คือรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอนฯที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) แนวคิด 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดกิจกรรม 4) บทบาทผู้สอนและผู้เรียน และ 5) ผลที่ผู้เรียนได้รับ ครูผู้สอนสามารถนำรูปแบบการเรียนการสอนฯนี้ไปปรับประยุกต์ใช้กับผู้เรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นต้นไป เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมการถ่ายโยงการเรียนรู้ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียน เรียนรู้เนื้อหาต่างๆอย่างเข้าใจ และนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้ทั้งในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและการทำงาน สุดท้ายมีข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่สนใจจะทำวิจัย เพื่อขยายหรือต่อยอดงานวิจัยนี้ออกไปอีก

บังอร เสรีรัตน์. (2557) “ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้.”  วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 9 (2).

ลิงค์ที่เข้าถึงได้ : 

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทายกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล

สรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ  การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทาย กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕ โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล

ประเภทผลงานทางวิชาการ  งานวิจัย

ปีที่พิมพ์  ๒๕๕๔

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ   รุจิพันธุ์  โรจนานนท์   มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

ผลการวิจัยพบว่า   ประสิทธิภาพโดยรวมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  การเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทาย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕  โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล  มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ ๙๑.๖๐ / ๘๙.๓๐   ในกระบวนการของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบเน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ  และสามารถทบทวนเนื้อหาได้โดยอิสระตลอดทั้งมีสิ่งจูงใจอยู่ในบทเรียนเช่น เนื้อหากระชับ   เสียงดนตรี   คำบรรยาย ภาพประกอบ  เหมาะกับวัยผู้เรียนไม่ทำให้เบื่อหน่าย เข้าใจง่าย รายละเอียดค้นคว้าได้จาก web-online ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

รศ.ดร.อำนวย    เดชชัยศรี  บรรณากร     MST: คณิต / วิทย์ / เทคโนโลยี


บทนำบทที่ 1บทที่ 2บทที่ 3บทที่ 4บทที่ 5บรรณานุกรมภาคผนวก ขภาคผนวก คไฟล์ประกอบ

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทายกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล

 

รุจิพันธุ์  โรจนานนท์  *

 

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเรื่องการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80(2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเรื่องการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ ปริศนาคำทาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่( 1)บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษ เรื่องการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(3) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐานและ t-test for Dependent  Sample

ผลการวิจัยพบว่าผลการทดลองหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยรวม พบว่า มีค่าเป็น 90.16 /88.10 ตอนที่ 1 ประสิทธิภาพเป็น  90.30 /89.00 ตอนที่ 2  ประสิทธิภาพเป็น  88.60 /86.00 ตอนที่ 3  ประสิทธิภาพเป็น 91.60 /89.30 แสดงว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ทั้ง 3 ตอนมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80 /80

จากการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษ เรื่องเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทายพบว่าประสิทธิภาพ โดยรวมบทเรียน คือ 90.16/88.10ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80และทำให้ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนสามารถอภิปรายผลได้ว่า

1.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการทดลองครั้งนี้เป็นบทเรียนที่สร้างโดยผ่านขั้นตอนการสร้างที่มีระบบ ได้รับการตรวจสอบข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา รวมถึงการดำเนินการทดลองตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา

2.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้เน้นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เปิดโอกาสได้เรียนได้เรียนตามความสามารถของตนเองอย่างอิสระ ผู้เรียนสามารถทบทวนบทเรียนใหม่ได้เมื่อไม่เข้าใจ และใช้เวลาในการเรียนรู้ได้ตามความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนจึงไม่มีความกดดัน หรือความเครียดในขณะเรียน

3.บทเรียนคอมพิวเตอร์มีกิจกรรมที่กำหนดให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน การนำภาพและภาพเคลื่อนไหวประกอบในบทเรียน ใช้คำบรรยายและเสียงดนตรีที่เหมาะสมกับเนื้อหาและวัยของผู้เรียน  ทำให้ผู้สนใจและไม่เกิดความเบื่อหน่าย และเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย การทำแบบฝึกหัดเมื่อทำผิดจะเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง และผู้สามารถทราบคะแนนได้ทันทีส่วนประกอบทั้งหมดนี้ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจและเหมาะสมสำหรับใช้ในการเรียนการสอน

4.ในการศึกษาครั้งนี้ผลการเฉลี่ยจากแบบฝึกหัดระหว่างเรียนโดยรวมแล้ว สูงกว่าผลของคะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบหลังเรียน เด็กทำแบบฝึกหัด จากความจำที่เพิ่งเรียนจบ ทำได้คะแนนสูงกว่าการทำแบบทดสอบที่ต้องเรียนเนื้อหาย่อยแต่และส่วนจบก่อนแล้วจึงประมวลความรู้ตั้งแต่เริ่มเรียนจนจบบทเรียน เนื้อหาที่มากขึ้นและระยะเวลาหลังเรียนนานขึ้นส่งผลต่อความจำของเด็ก ทำให้ค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบทดสอบต่ำกว่าแบบฝึกหัด ซึ่งผลที่ได้สอดคล้องกับผลการวิจัยของนุสรา ทองปอนด์ ( นุสรา ทองปอนด์, 2546 ) เรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียวิชาภาษาอังกฤษโดยใช้บทสนทนาประกอบภาพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่าบทเรียนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 94.90/91.90

 

ขั้นเสนอแนะทั่วไป

ข้อเสนอแนะ

จากการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษ   เรื่องเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทายผู้ศึกษาค้นคว้ามีข้อเสนอแนะดังนี้

1.ควรมีการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นให้แก่นักเรียนในระดับประถมศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทักษะแก่เด็กเพราะคอมพิวเตอร์มีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เด็กควรได้รู้จักอุปกรณ์พื้นฐานเพื่อสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้  เมาส์ คีบอร์ดเรียนรู้การพิมพ์การปิด เปิดเครื่อง

2.นักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 มีความสามารถในการควบคุมตนเองน้อยกว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เด็กจะขาดความสนใจเนื้อหาที่มีรายละเอียดมาก และนานเกินไปทำให้เด็กเลือกที่จะผ่านบทเรียนไปโดยไม่ตั้งใจเรียนควรสร้างบทเรียนให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในบทเรียนหลากหลายกิจกรรมและแบ่งเนื้อหาเป็นตอนย่อยหลายๆตอน จะดึงความสนใจผู้เรียนได้นานทำให้ผลการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

  1. การจัดห้องเรียนเพื่อเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ควรมีระยะห่างระหว่างผู้เรียนแต่ละคนอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการรบกวนซึ่งกันและกันระหว่างเรียนและการแข่งขันกันระหว่างผู้เรียนหากเป็นไปได้ผู้เรียนรู้สึกได้ถึงความเป็นสัดส่วนที่ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว เพื่อที่จะสามารถเรียนด้วยตนเองได้อย่างอิสระ ไม่มีสิ่งแวดล้อมรบกวนสมาธิในการเรียน
  2. ผู้สอนควรนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้เสริมใน การเรียนการสอน เพราะการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 เน้นที่การฝึกทักษะการอ่าน การเขียน และการนำไปใช้ ซึ่งบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อการเรียนการสอน ที่มีคุณสมบัติตอบสนองการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนได้ ทั้งนี้ผู้สอนควรเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนด้วย

 

ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาค้นคว้า

  1. ควรมีการวิจัยและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ในรูปแบบอื่นๆเช่นรูปแบบเกม รูปแบบฝึกทักษะที่มีประสิทธิภาพ เพื่อศึกษาผลของการเรียนรู้
  2. ควรมีการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับรูปแบบการสอนอื่นๆ เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
  3. ควรมีการวิจัยและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในวิชาอื่นๆ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

 

 

 

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง จักรวาลและอวกาศ วิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๔ โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง จักรวาลและอวกาศ วิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๔ โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๔

ชื่อเจ้าของผลงานวิชาการ : พิมลรัตน์ ปัทมโรจน์  มหาบัณฑิตสาชาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์    มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

      ผลการวิจัยพบว่า  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจักรวาลและอวกาศ  วิชาวิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มีประสิทธิภาพ  ๘๒.๘๙ / ๘๕.๘๖  สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งสมติฐาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังกล่าว  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .๐๑ ในการวิจัยกับกลุ่มทดลองย่อยในระยะแรกๆพบปัญหาบางประการเกิดจาก สี   ขนาดของตัวอักษรและคำบรรยายในบทเรียนบางครั้งยังไม่ค่อยชัดเจนต่อมาได้มีการปรับปรุงและทดลองกับกลุ่มใหญ่ปัญหาดังกล่าวหมดไป  และได้มีการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างได้ผลสัมฤทธิ์ดังกล่าวข้างต้น สำหรับรายละเอียดสามารถสืบค้นจากweb-online ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

รศ.ดร.อำนวย   เดชชัยศรี  บรรณากร

MST: คณิต / วิทย์ / เทคโนโลยี

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นทื่ ๑  ประถมศึกษาปีที่ ๓  โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นทื่ ๑  ประถมศึกษาปีที่ ๓  โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๔

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : จารุวรรณ จันทร์ทรัพย์ มหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

       ผลวิจัยของการออกแบบและพัฒนาพบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพดีอยู่ในระดับ ๘๑.๘๙ / ๘๘.๔๔   เมื่อนำมาใช้กับนักเรียนช่วงชั้นที่ ๑   ประถมศึกษาปีที่ ๓โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ปรากฎว่ามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่  ระดับ  .๐๑  เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้   จึงมีข้อเสนอแนะต่อไปว่าการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน   ครูต้องคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ของผู้เรียนควรมีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์ในระดับเบื้องต้นก่อน

       สำหรับการออกแบบในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต้องคำนึงถึงเนื้อหาถูกต้องและการออกแบบต้องคำนึงถึงด้านศิลป์กับจิตวิทยาการเรียนรู้เหมาะสมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้มีการทบทวนจะทำให้บทเรียนมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับรายละเอียดสามารถติดตามใน web-onlineของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

รศ.ดร.อำนวย     เดชชัยศรี   บรรณากร

MST : คณิต / วิทย์ / เทคโนโลยี

การสร้างหนังสืออ่านเสริมภาพการ์ตูนนิทานเสริมคุณธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การสร้างหนังสืออ่านเสริมภาพการ์ตูนนิทานเสริมคุณธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

ประเภทผลงานทางวิชาการ : งานวิจัย

ปีที่วิจัย : ๒๕๕๕

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : พล หิรัณยศิริ มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์     มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

       ถึงแม้ว่าในยุคของดิจิทัลมีสื่อประเภทมัลติมีเดียหลากหลายก็ตาม สิ่งที่พบในสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือที่มีมาแต่โบราณก็ยังใช้ได้สะดวกทุกสถานที่ เก็บรักษาง่าย  มีอายุการใช้งานได้นาน  เป็นสื่อที่ช่วยพัฒนาทักษะในการอ่าน  รวมทั้งช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้เด็กอีกด้วย งานวิจัยเรื่องดังกล่าวนี้ค้นพบว่า หนังสืออ่านเสริมภาพการ์ตูนนิทานเสริมคุณธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔  ได้ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านเนื้อหา และสื่อการเรียน ผลปรากฏว่าด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมากมีระดับคะแนนเฉลี่ย  ๓.๗๕  และด้านสื่อการเรียนอยู่ในระดับดีมีคะแนนเฉลี่ย  ๓.๒๗ นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออ่านเสริมภาพการ์ตูนนิทานเสริมคุณธรรม  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .๐๕  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสืออ่านเสริมภาพการ์ตูนนิทานเสริมคุณธรรมทั้ง ๔ ด้านได้แก่  เนื้อหา   รูปภาพ  ภาษา และประโยชน์ที่ได้รับอยู่ในระดับดีมากโดยมีระดับคะแนนเฉลี่ย ๓.๖๖ ผลของการวิจัยนี้จะเป็นแนวทางในการผลิตหนังสืออ่านเสริมภาพการ์ตูนนิทานเสริมคุณธรรมใช้ประกอบการเรียนทุกวิชาและทุกระดับชั้นเรียนต่อไป รายละเอียดติดตามได้ที่ web-online ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา    

รศ.ดร.อำนวย    เดชชัยศรี   บรรณากร   

MST: คณิต / วิทย์ / เทคโนโลยี

กิจกรรมการสื่อสารการแสดงละครเพื่อเด็กและเยาวชน

กิจกรรมการสื่อสารการแสดงละครเพื่อเด็กและเยาวชน

ภัทรนันท์ ไวทยะสิน และคณะฯ


ชื่อผลงานทางวิชาการ การสื่อสารการแสดงเพื่อเด็กและเยาวชนการบัญชีเพื่อการจัดการ (Accounting Management)

ประเภทผลงานทางวิชาการ โครงการบริการวิชาการแก่สังคม

ปีที่พิมพ์ 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม จัดกิจกรรม มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (ศูนย์ดวงแข)

แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 6 ธันวาคม 2557 (เป็นชุมชนแออัด)

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ

อาจารย์ภัทรนันท์ ไวทยะสิน อาจารย์ประจำสาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิงและคณะ

โครงการสื่อสารการแสดงเพื่อเด็กและเยาวชน

   โครงการสื่อสารการแสดงเพื่อเด็กและเยาวชน เป็นโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม ของสาขาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ จัดทำขึ้นร่วมกับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่กาลังศึกษาในรายวิชาการแสดงเพื่อธุรกิจบันเทิงและรายวิชาการกากับการแสดงเพื่อธุรกิจบันเทิง โดยมีการจัดกิจกรรมสื่อสาร การแสดงเพื่อมอบความสนุกสนาน ความบันเทิง และข้อคิดสอดแทรกการสอน ผ่านกิจกรรมต่างๆ คือ กิจกรรมสันทนาการ ดนตรี และการแสดงละครเด็ก จัดกิจกรรม ณ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (ศูนย์ดวงแข) แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 6 ธันวาคม 2557 (เป็นชุมชนแออัด)

   ซึ่งโครงการนี้ เป็นโครงการตัวอย่างที่ดี เป็นตัวอย่างที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้จากการเรียนในชั้นเรียนของนิสิต สู่สังคมและชุมชน และเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัย โดยการนำของอาจารย์ภัทรนันท์ ไวทยะสิน อาจารย์ประจำสาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิงและคณะ ที่มุ่งมั่น เสียสละ ในการดำเนินงานเพื่อคิด สร้างสรรค์ ผลิตสื่อสารการแสดงแบบง่ายๆ และการฝึกซ้อมไปสู่กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กอายุ 6 -12 ปี ถือว่าเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งในการสร้างสรรค์สังคม ให้ความสุขแก่สังคม เด็กและเยาวชน นอกจากโครงการนี้ จะมอบความบันเทิงแล้ว ยังมีการสอดแทรกข้อคิด คติสอนใจ ให้ความรู้แก่เด็กในชุมชน โดยเฉพาะในส่วนของการแสดงบทละคร เรื่องเบลล่า หนูน้อยเกเรตะลุยแดนเทพนิยายเป็นบทละครที่แสดงโดยนิสิต นอกจากจะได้รับความสนุกสนานแล้ว ยังได้ข้อคิด สอนใจ ในการอยู่ร่วมกับสังคมแล้ว ถ้าคนเรามีนิสัยเกเร เป็นนักเลง ก็จะไม่มีใครคบหาสมาคมด้วย ไม่มีเพื่อน ต้องปฏิบัติตนเป็นคนดี จึงจะทำให้สังคมมีแต่ความสุข และยั่งยืนต่อไป ในส่วนของนิสิตเองนั้น สิ่งที่ได้จากการนำองค์ความรู้ที่เรียนภายในห้องเรียนไปปฏิบัตินอกสถานที่ นิสิตได้เห็นสภาพของสังคม ชุมชน ว่ามุมชีวิตของคนที่อยู่ในชุมชนแออัด (สลัม)เหล่านั้น ลาบาก ยากแค้นเพียงใด โอกาสของเด็กๆ ในชุมชนต้องได้รับการพัฒนาและแก้ไข นอกจากนั้น ยังสามารถสร้างแรงขับดัน บันดาลใจให้นิสิตมีความรู้สึกว่า ตัวเองต้องให้ความร่วมมือ มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม และชุมชน (แออัด) ต่อไป

   ทั้งนี้ ในฐานะที่โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี เป็นตัวอย่างกับทุกๆ คน ต้องขอขอบคุณอาจารย์ภัทรนันท์ ไวทยะสิน อาจารย์ประจำสาขาโฆษณาและธุรกิจบันเทิงและคณะ และนิสิตชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่ได้สร้างสรรค์สิ่งดีๆให้แก่ชุมชนและสังคม

 

หมายเหตุ ชมรูปภาพประกอบ และบทละคร เรื่องเบลล่า หนูน้อยเกเรตะลุยแดนเทพนิยาย

บทละครเด็ก Acting อ.ภัทรนันท์

ประเพณีลอยกระทงกับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและการอนุรักษ์วัฒนธรรม

ประเพณีการลอยกระทงกับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและการอนุรักษ์วัฒนธรรม

Loy Krathong Tradition with Inheriting the Local Wisdom and Culture Conservation

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดถนอมตันเจริญ


 

ชื่อผลงานทางวิชาการ ประเพณีลอยกระทงกับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและการอนุรักษ์วัฒนธรรม

ประเภทผลงานทางวิชาการ บทความวิจัย

ปีที่พิมพ์ 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สหวิทยาการเอเชียอาคเนย์ วันที่ 25 เดือนมิถุนายน 2559

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดถนอม  ตันเจริญ

   ผลงานทางวิชาการ ประเภทบทความวิจัย เรื่องประเพณีลอยกระทงกับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและการอนุรักษ์วัฒนธรรมนี้ ผู้วิจัยต้องการศึกษาถึงการตระหนักถึงความสำคัญของการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ทำกระทงจากวัสดุธรรมชาติ ระหว่างนักศึกษา คณาจารย์ และชุมชนบางขันแตก ตำบลบางขันแตก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม และเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษา คณาจารย์ และชุมชนสืบสานวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมไว้ให้ยั่งยืน จำนวน 113 คน

 

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุระดับการศึกษาและอาชีพที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นแตกต่างกัน
2. นักศึกษาชุมชนให้ความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมทำกระทงจากธรรมชาติมากที่สุด
3. คณาจารย์ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์วัฒนธรรมด้านทำนุบารุงศิลปวัฒนธรรมและด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุด

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัย

สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรมด้านการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและประเพณีการลอยกระทงตามวัฒนธรรมไทยให้ยั่งยืนต่อไป

 

ประวัติผู้เขียนบทความ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุดถนอมตันเจริญ

คุณวุฒิ : ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร..) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ : การตลาด การท่องเที่ยว การบริหารทรัพยากรมนุษย์ รัฐประศาสนศาสตร์

ตำแหน่งปัจจุบัน : อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ประสบการณ์ : เคยดำรงตาแหน่งรองคณบดีฝ่ายวิจัยคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

งานวิจัยที่สนใจ : การท่องเที่ยวการบริหารธุรกิจการสื่อสารการตลาดพฤติกรรมผู้บริโภคการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทยและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นฤมลสุ่นสวัสดิ์ บรรณาธิการ

กฎหมายภาษีอากร (Tax Law)

กฎหมายภาษีอากร (Tax Law)

.ภัทิรา มาศมาลัย


ชื่อผลงานทางวิชาการ กฎหมายภาษีอากร (TAX LAW)

ประเภทผลงานทางวิชาการ ตำรา

ปีที่พิมพ์ 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม สาขาวิชาการบัญชีคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตาแหน่งทางวิชาการ อาจารย์ภัทิรามาศมาลัย

กฎหมายภาษีอากร (TAX LAW)

   หนังสือ เรื่อง กฎหมายภาษีอากร เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับภาษีที่จัดเก็บ โดยกรมสรรพกร ประกอบด้วยภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ ซึ่งอาจารย์ภัทิรา มาศมาลัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นผู้เขียนและเรียบเรียงขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาภาษีอากร ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผู้เขียนได้พยายามอธิบายหลักกฎหมายต่าง ๆ พร้อมทั้งได้แทรกข้อสังเกตและตัวอย่าง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาและผู้สนใจที่ต้องการศึกษา หาความรู้เกี่ยวกับภาษีอากรของประเทศไทย โดยรายละเอียดของเนื้อหาประกอบด้วย 7 บทพร้อมแบบฝึกหัดท้ายบทดังนี้

 

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร เนื้อหาประกอบด้ว ความหมายของภาษีอากร วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีอากรหลักการทั่วไปของกฎหมายภาษีอากรหลักการทำรายได้หลักการบริหารภาษีอากรหลักภาระภาษีการผลักภาระภาษีโครงสร้างของภาษีอากรการจาแนกประเภทภาษีอากรประเภทภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีอากรความรับผิดของผู้มีหน้าที่เสียภาษีและการขอคืนภาษี

 

บทที่ 2 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื้อหาประกอบด้วย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้ที่ต้องเสียภาษี แหล่งเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษี ประเภทของเงินได้พึงประเมิน เงินได้พึงประเมินที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีกับเงินได้ประเภทอื่น เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาการหักค่าใช้จ่ายเงินได้พึงประเมิน การหักลดหย่อน ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี (มาตรา 48) วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (มาตรา 56 ทวิ) ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการและการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การยื่นแบบ ภ... 90 หรือ ภ... 91 ทางอินเทอร์เน็ต สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วิธีการชำระภาษี การขอผ่อนชำระภาษี ความรับผิดกรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา แบบฝึกหัดแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ... 91 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ... 90

 

บทที่ 3 ภาษีเงินได้หัก ที่จ่าย เนื้อหาประกอบด้วย ประเภทของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ( เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) กรณีทั่วไป เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) (3) (4) (5) และ (6) กรณีผู้มีเงินได้มิได้อยู่ในประเทศไทย) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) ) กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) (6) (7) และ (8) ที่ผู้จ่ายเงินได้เป็นรัฐบาล เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8)

   (กรณีที่ขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือที่ได้มาจากการให้โดยเสน่หา กรณีที่ขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่น) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร (หลักเกณฑ์ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส หลักเกณฑ์การพิจารณาการจ่ายเงิน 1,000 บาท การหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 การหักภาษีตามคาสั่งกรมสรรพากรที่ ท.. 4/2528 กรณีที่ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ทวิ ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ตรี ภาษีเงินไดนิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 ภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการจาหน่ายเงินกำไร ตามมาตรา 70 ทวิหน้าที่ของผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ณที่จ่ายความรับผิดในการหักภาษีเงินได้ณที่จ่ายแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หักณที่จ่ายและกำหนดเวลายื่นแบบ

 

บทที่ 4 ภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื้อหาประกอบด้วย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล วิธีเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ รอบระยะเวลาบัญชี กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิ เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (รายจ่ายต้องห้าม) การคำนวณเงินได้นิติบุคคล(ตัวอย่าง การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคลสาหรับเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ภาษีเงินได้นิติบุคคลสาหรับการจาหน่ายกำไรไปนอกประเทศ สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ภ... 50 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ภ... 51

 

บทที่ 5 ภาษีมูลค่าเพิ่มเนื้อหาประกอบด้วยความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่มผู้มีหน้าทีเสียภาษีภาษีมูลค่าเพิ่มกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบการที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่า

เพิ่ม กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มกำหนดเวลาสถานที่ยื่นแบบและการชำระภาษีใบกากับภาษรายการที่ต้องมีในใบกากับภาษีการจัดทำใบกากับภาษีการออกใบแทนใบกากับภาษีใบเพิ่มหนี้ใบลดหนี้การยกเลิกใบกากับภาษีฉบับเดิมแล้วออกฉบับใหม่แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามส่วนของรายได้

 

บทที่ 6 ภาษีธุรกิจเฉพาะ เนื้อหาประกอบด้วย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะฐานภาษีธุรกิจเฉพาะการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะรายรับที่ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหน้าที่ของผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะการขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ

 

บทที่ 7 อากรแสตมป์ เนื้อหาประกอบด้วย ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ ตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ การยกเว้นและการลดอากรแสตมป์ ข้อเสียของตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ การคำนวณค่าอากรแสตมป์ การชำระอากรแสตมป์ อัตราอากรแสตมป์ ภาคผนวก (แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ... 90 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ... 91 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ... 94)

 


ประวัติผู้แต่ง : อาจารย์ภัทิรามาศมาลัยอาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชีคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การศึกษา : Master of Business Administration (Finance and International Business)Faculty of Business University of St. Thomas. USA.

: วิทยาศาสตร์บัณฑิต (สถิติ) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ประสบการณ์ : อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชีคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

: รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

สนใจติดต่อ โทร.0819089614 ราคาเล่มละ 180 บาท

การเงินธุรกิจ (Business Finance)

การนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ การเงินธุรกิจ (Business Finance)

ประเภทผลงานทางวิชาการ ตำรา

ปีที่พิมพ์ 2555

ข้อมูลเพิ่มเติม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตาแหน่งทางวิชาการ

รองศาสตราจารย์ปรียานุช กิจรุ่งโรจน์เจริญ


 

การเงินธุรกิจ (Business Finance)

 

   ตำรา เรื่องการเงินธุรกิจ ผู้แต่ง คือ รองศาสตราจารย์ปรียานุช กิจรุ่งโรจน์เจริญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผู้แต่งได้ แสดงเจตนารมณ์ว่า เป็นตำราเรียนที่เหมาะสาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมบริหารธุรกิจทุกแขนงและโปรแกรมบัญชี โดยได้กล่าวถึงขอบเขตอำนาจงานทางด้านการเงิน การวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อทราบถึงฐานะการเงินในปัจจุบัน การวางแผนทางการเงิน หลักในการบริหารเงินทุนหมุนเวียน หลักในการบริหารและการจัดสรรเงินทุนเพื่อลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวร การจัดแหล่งเงินทุนของธุรกิจ ปัจจัยดอกเบี้ยทางการเงิน การตัดสินใจเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ถาวร นโยบายการจ่ายเงินปันผลและกำไรสะสม โดยแบ่งเนื้อหาในไว้ ทั้งหมด 11บทเนื้อหาแต่ละบทประกอบด้วยข้อมูลเชิงบรรยายและการคำนวณในเนื้อหาบางส่วนพร้อมแบบฝึกหัดเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้ศึกษามีความรู้และความเข้าใจหลักพื้นฐานทางด้านการเงินเพื่อนำไปสู่การบริหารการเงินในธุรกิจได้เป็นอย่างดีมีประสิทธิภาพและสามารถนำความรู้เป็นหลักในการบริหารงานการเงินธุรกิจต่อไป

   ในการดำเนินงานของธุรกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพมีองค์ประกอบหลายด้านได้แก่ด้านการตลาดด้านการเงินและบัญชีด้านการผลิตด้านบุคลากรเป็นต้นองค์ประกอบทุกด้านมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันการดำเนินงานที่สอดคล้องกันจะทำให้การบริหารงานเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

   การบริหารงานทางด้านการเงินธุรกิจ เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะนำไปสู่การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เนื่องจากหลักในการบริหารงานทางการเงิน จะทำให้ทราบถึงแหล่งที่ได้มาของเงินทุน ทั้งแหล่งภายในและแหล่งภายนอก ซึ่งไม่ว่าจะหาจากแหล่งใด ธุรกิจก็ย่อมต้องมีต้นทุนของเงินทุน (Cost of Capital) ซึ่งต้นทุนของเงินทุนนั้นต้องต่ากว่าผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนดังนั้นเงินทุนที่ได้มานั้นผู้บริหารการเงินต้องศึกษาถึงหลักในการจัดสรรเงินทุนเพื่อนำไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนหรือสินทรัพย์ถาวรเพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงที่สุด

   การบริหารการเงินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพนั้นมีหน้าที่งานหลายด้านเกี่ยวข้องเริ่มตั้งแต่การคาดการณ์ความต้องการเงินทุนของธุรกิจการจัดหาเงินทุนการจัดสรรเงินทุนของธุรกิจซึ่งหน้าที่งานดังกล่าวจะต้องเกี่ยวข้องกับหลักในการบริหารเงินสดการจัดทำงบประมาณเงินสดการบริหารลูกหนี้อย่างมีประสิทธิภาพการบริหารสินค้าคงเหลือให้เพียงพอกับความต้องการและการจัดสรรเงินทุนไปใช้ในสินทรัพย์ถาวรโดยการจัดทำงบลงทุนเพื่อประเมินโครงการในอนาคตและ

   การศึกษามูลค่าของเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลาทั้งนี้เนื่องจากการตัดสินใจลงทุนในโครงการหนึ่งโครงการใดนั้นเป็นโครงการที่ใช้เงินทุนจำนวนมากและให้ผลตอบแทนในระยะยาวที่มีผลกระทบต่อเนื่องจากค่าของเงินการตัดสินใจที่ผิดพลาดจะมีผลต่อธุรกิจในระยะยาวในขณะเดียวกันการลงทุนในโครงการดังกล่าวธุรกิจมักก่อหนี้ระยะยาวเพื่อจัดหาเงินมาลงทุนซึ่งส่งผลต่อโครงสร้างของเงินทุนคือสัดส่วนหนี้สินต่อส่วนทุนที่มากเกินไปทำให้ธุรกิจเกิดความเสี่ยง

   หลักการบริหารการเงินที่ดีนั้นผู้บริหารการเงินต้องสามารถกาหนดขนาดของเงินทุนที่ต้องการอย่างเหมาะสมเพื่อหาแหล่งเงินทุนที่ดีที่สุดต้นทุนต่าที่สุดคือหากต้องการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวก็ควรมาจากแหล่งเงินทุนระยะยาวอันได้แก่เงินทุนจากส่วนของผู้ถือหุ้นและเงินกู้ระยะยาวหากลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนก็ควรมาจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นเช่นเงินกู้ยืมระยะสั้นหรือเครดิตทางการค้าดังรูปต่อไปนี้

 

การจัดหาและการจัดสรรเงินทุนของธุรกิจ งบดุล

 

   การจัดสรรเงินทุนให้มีประสิทธิภาพ ก็คือ การบริหารเงินทุนให้สอดคล้องกับแหล่งที่มาของเงินทุน เพื่อป้องกันไม่ให้ธุรกิจเกิดปัญหาเกี่ยวกบสภาพคล่อง (Liquidity) แต่ทำให้ธุรกิจมีความสามารถในการทำกำไร (Profitability) ที่สูงที่สุดด้วย ดังนั้น การจัดการทางด้านการเงินจึงเป็น 5 หัวใจสำคัญที่จะนำธุรกิจไปสู่เป้าหมายสูงสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง ในตำราเล่มนี้ประกอบด้วย 11 บทดังนี้

 

บทที่ 1 ความสำคัญของการเงินในองค์กรธุรกิจ และขอบเขตอำนาจหน้าที่งานทางด้านการเงิน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับเป้าหมายของธุรกิจมูลค่าของธุรกิจวัตถุประสงค์ของการบริหารการเงินของธุรกิจหน้าที่และสายงานของฝ่ายการเงินขอบเขตงานทางการเงินในองค์กรธุรกิจและหน้าที่งานทางด้านการเงิน

   ดังนั้นขอบเขตงานที่สำคัญในการบริหารการเงินในองค์กรธุรกิจก็คือการวางแผนคาดคะเนความต้องการเงินทุนของธุรกิจการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดหาทุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆซึ่งถือเป็นการบริหารเงินทุนที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดคือต้องมีทั้งสภาพคล่องและความสามารถในการทำกำไรที่สมดุลกันภายใต้ความเสี่ยงที่ธุรกิจยอมรับได้อนึ่งเงินทุนที่ธุรกิจจัดหามานั้นควรมีต้นทุนของเงินทุนที่ต่าที่สุด

   ในการบริหารการเงินของธุรกิจนั้น จุดมุ่งหมายหลักก็คือ พยายามทำให้มูลค่าของธุรกิจมีค่าสูงที่สุด ซึ่งจะมีผลให้การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การตัดสินใจทางการเงินที่ดีที่สุด การตัดสินใจทางการเงินจะนำไปสู่การวัดมูลค่าของธุรกิจว่ามีมูลค่าสูงสุดหรือไม่ จะพิจารณาได้จากราคาหุ้นที่สูงที่สุด ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการคือความเสี่ยงและความสามารถในการทำกำไรปัจจัยทั้งสองจะแตกต่างกันในแต่ละธุรกิจอันถูกกำหนดขึ้นจากประเภทของธุรกิจขนาดของธุรกิจชนิดของเครื่องจักรการใช้ประโยชน์จากหนี้และสภาพคล่องของแต่ละธุรกิจนั่นเอง

   หน้าที่งานด้านการเงินของธุรกิจโดยทั่วไปก็คือการรักษาสภาพคล่องของธุรกิจการเพิ่มสมรรถภาพในการทำกำไรการจัดการและบริหารสินทรัพย์และการจัดการและบริหารเงินทุนเพื่อให้ธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์สูงสุด

 

บทที่ 2 การวิเคราะห์งบการเงิน เนื้อหาในบทนี้ประกอบด้วยความหมายของการวิเคราะห์ทางการเงินขั้นตอนการวิเคราะห์งบการเงินเทคนิคและเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงินการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินประเภทของอัตราส่วนทางการเงินข้อจำกัดในการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินการวิเคราะห์แนวโน้มและการวิเคราะห์โดยการย่อส่วน

   ดังนั้นการวิเคราะห์ทางการเงินเป็นเครื่องมือของผู้บริหารในการวิเคราะห์ฐานะการเงินที่แท้จริงของธุรกิจซึ่งผลการวิเคราะห์ที่ได้จะทำให้ผู้บริหารการเงินประเมินผลการดำเนินงานและเป็นแนวทางในการวางแผนและตัดสินใจทางการเงินนอกจากนี้การวิเคราะห์ทางการเงินยังเป็นประโยชน์ต่อบุคคลต่างๆได้แก่ผู้ลงทุนเจ้าหนี้ผู้สนใจลงทุนผู้สอบบัญชีรัฐบาลและผู้สนใจอื่นๆ

เทคนิคและเครื่องมือทางการเงินที่ใช้ในการวิเคราะห์มี 3 ลักษณะ

1. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินเป็นการวิเคราะห์โดยใช้สูตรทางการเงินซึ่ง

แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ

1.1 อัตราส่วนวิเคราะห์ความคล่องตัวทางการเงิน

1.2 อัตราส่วนวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์

1.3 อัตราส่วนวิเคราะห์สภาพหนี้สิน

1.4 อัตราส่วนวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรหรือประสิทธิภาพในการบริหารงานของฝ่ายบริหาร

2. การวิเคราะห์แนวโน้ม เป็นการศึกษาข้อมูลในอดีต จนกระทั่งถึงปัจจุบันของอัตราส่วนทางการเงินที่ได้จากการวิเคราะห์

3. การวิเคราะห์โดยการย่อส่วน เป็นการย่อส่วนงบการเงิน คืองบดุลและงบกำไรขาดทุนเป็นอัตราร้อยละเพื่อให้ขนาดเล็กลงง่ายต่อการเปรียบเทียบ

   การวิเคราะห์ทางการเงิน ดังกล่าว เป็นกระจกเงาที่สะท้อนให้เห็นถึง ผลการดำเนินงานอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุมของธุรกิจ อันจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาและแนวโน้มในการดำเนินงานขั้นต่อไปของธุรกิจนั่นเอง

 

บทที่ 3 การวางแผนทางการเงิน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของการวางแผนทางการเงินงบประมาณเงินสดวิธีการจัดทำงบประมาณเงินสดงบประมาณเงินสดสุทธิการพยากรณ์กระแสเงินสดสุทธิหรืองบประมาณเงินสดสุทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดทำงบประมาณเงินสด

   การวางแผนทางการเงิน คือการจัดเตรียมข้อมูลทางการเงินไว้ล่วงหน้าด้วยการพยากรณ์ยอดขายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต และจากยอดขายที่พยากรณ์ ก็จะทำให้ธุรกิจสามารถคาดคะเนปริมาณสินค้าที่ต้องซื้อเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ หรือหากเป็นธุรกิจ อุตสาหกรรม ก็จะต้องคาดคะเนปริมาณการผลิตปริมาณวัตถุดิบ ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายใน การผลิต อันจะนำไปสู่การจัดทำงบประมาณเงินสดในแต่ละงวดเวลา

   การจัดทำงบประมาณเงินสดเป็นการวางแผนการรับเงินสดและการจ่ายเงินสดระหว่างงวด เพื่อการจัดทำงบประมาณเงินสดรับ(จ่าย)สุทธิ ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารการเงินสามารถพยากรณ์ปริมาณเงินสดที่ต้องหามาในกรณีที่กิจการมีเงินสดขาดมือ และวางแผนเพื่อการนำเงินสดไปลงทุนในกรณีที่เงินสดมากเกินความต้องการ การจัดเตรียมการจัดหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมจะทำให้ธุรกิจจัดหาเงินทุนได้ทันและเสียดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่า การดำเนินงานก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น

   นอกจากนี้การวางแผนทางการเงินก็จะเป็นเครื่องมือในการควบคุมการเงินได้โดยนำไปเปรียบเทียบกับผลการปฏิบัติงานจริงความแตกต่างจะชี้ให้เห็นถึงการปฏิบัติงานว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงใดและชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการแก้ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดปัญหานั้นๆ

 

บทที่ 4 การบริหารเงินทุนหมุนเวียน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของเงินทุนหมุนเวียนวัตถุประสงค์ของการบริหารเงินทุนหมุนเวียนการพิจารณาระดับเงินทุนหมุนเวียนที่เหมาะสมประเภทของเงินทุนหมุนเวียนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณเงินทุนหมุนเวียนและส่วนประกอบของเงินทุนหมุนเวียนทัศนคติผู้บริหารต่อระดับความเสี่ยงและการวิเคราะห์เงินทุนหมุนเวียน

เงินทุนหมุนเวียนหมายถึงเงินลงทุนที่ธุรกิจลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนได้แก่

เงินสดหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดลูกหนี้สินค้าคงเหลือ

เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ = สินทรัพย์หมุนเวียนหนี้สินหมุนเวียน

เงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจนั้นเปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่นที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินงานของธุรกิจที่จะขายเสียมิได้แต่หากมีมากเกินไปก็จะสูญเสียกำไรผลตอบแทนที่ควรจะได้รับ

เงินทุนหมุนเวียน แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ

เงินทุนหมุนเวียนถาวรคือสินทรัพย์หมุนเวียนขั้นต่ำที่ต้องดำรงไว้เช่นเงินสดขั้นต่ำ

เงินทุนหมุนเวียนชั่วคราวคือสินทรัพย์หมุนเวียนที่ต้องมีเพิ่มเติมจากส่วนถาวร

   ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดปริมาณและขนาดของเงินทุนหมุนเวียนมีหลายประการได้แก่ประเภทของธุรกิจปริมาณขายนโยบายธุรกิจการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีฤดูกาลฯลฯ

   แหล่งเงินทุนที่นำมาใช้ควรเป็นไปตามหลักการบริหารการเงิน กล่าวคือ เงินทุนหมุนเวียนแบบชั่วคราวควรจัดหามาจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นเงินทุนหมุนเวียนแบบถาวรควรจัดมาจากแหล่งเงินทุนระยะยาวแต่ในทางปฏิบัติอาจพบว่าไม่เป็นไปตามหลักดังกล่าวเนื่องจากทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อระดับความเสี่ยงนั้นแตกต่างกัน

   สิ่งที่ผู้บริหารการเงินจำเป็นต้องศึกษาอีกประการหนึ่งก็คือการได้มาและใช้ไปของเงินทุนหรืองบแสดงแหล่งที่ได้มาและใช้ไปของเงินทุนซึ่งแสดงให้เห็นถึงเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจ

   นอกจากนี้ การศึกษางบกระแสเงินสด จะทำให้ผู้บริหารทราบถึงกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายจากกิจกรรมต่างๆ เป็นการแสดงการเคลื่อนไหวของเงินสดในแต่ละงวด เงินสด

   รับของงวดนั้นมาจากไหนและเงินสดจ่ายนั้นจ่ายเพื่อการใดบ้างทำให้รู้ถึงการเคลื่อนไหวของเงินสดที่เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ

บทที่ 5 การบริหารเงินสดและหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของเงินสดสาเหตุของการถือเงินสดประโยชน์ของการถือเงินสดเพียงพอการบริหารเงินสดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากระบบการจัดเก็บเงินการจุดเก็บเงินจากเช็คที่ส่งทางไปรษณีย์การตั้งศูนย์จัดเก็บเงินระบบเช่าตู้ไปรษณีย์การควบคุมการจ่ายชำระหนี้และการบริหารหลักทรัพย์และความต้องบการของตลาด

   ดังนั้น เงินสด เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่ธุรกิจจำเป็นต้องมีไว้ ตามแนวความคิดของ John Maynard Keynes คือ

– เพื่อการดำเนินงานตาม

– เพื่อเหตุฉุกเฉิน

– เพื่อการเก็งกำไร

   การมีเงินสดให้เพียงพอจะทำให้การดำเนินงานของธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นไม่หยุดชะงักสามารถจ่ายชำระหนี้ได้ในระยะเวลาที่กำหนดและอาจได้รับโอกาสหรือประโยชน์จากการชำระหนี้โดยเอาส่วนลด

   การบริหารเงินสดคือการบริหารให้กิจการมีเงินสดในปริมาณที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงสภาพคล่องและผลตอบแทนที่ควรจะได้รับหากมีเงินสดมากเกินความจำเป็นซึ่งหลักในการบริหารเงินสดที่ดีจะมีผลทำให้

– ธุรกิจมีสภาพคล่อง

– ดำเนินงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

– มีโอกาสในการลงทุนหาผลประโยชน์ได้มากขึ้น

การบริหารเงินสดให้มีประสิทธิภาพนั้น มีอยู่ 3 วิธีด้วยกันคือ

1. การบริหารเงินสดรับและเงินสดจ่ายให้สอดคล้องกัน

2. การบริหารวงจรกระแสเงินสดให้มีประสิทธิภาพ

3. การกำหนดปริมาณเงินสดขั้นต่ำให้เหมาะสม

   ระบบการจัดเก็บเงิน และการเร่งรัดชำระหนี้ จะทำให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุนค่าเสียโอกาสของเงินที่ลอยตัว ที่เกิดจากการดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ อันจะทำให้ธุรกิจได้รับเงินกลับเข้าสู่กิจการได้เร็วขึ้น ซึ่งวิธีการที่นิยมใช้ก็คือ การตั้งศูนย์จัดเก็บเงิน ระบบการเช่าตู้ไปรษณีย์

ส่วนการควบคุมการจ่ายชำระหนี้ก็คือการชะลอการจ่ายชำระหนี้ให้ช้าที่สุดโดยไม่กระทบต่อเครดิตทางการเงินของกิจการ

 

บทที่ 6 การบริหารลูกหนี้ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับสาเหตุของการบัญชีลูกหนี้การค้าค่าใช้จ่ายของการมีบัญชีลูกหนี้การค้าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อขนาดของบัญชีลูกหนี้การค้านโยบายการให้สินเชื่อและการจัดเก็บหนี้การวิเคราะห์สินเชื่อและการจัดเก็บหนี้เฉพาะรายและประสิทธิภาพในการบริหารลูกหนี้

   การทวงถามหนี้ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นใดล้วนแต่เป็นปัญหาของเจ้าหนี้ทั้งสิ้นวิธีการที่ดีที่สุดก็คือการป้องกันไว้แต่แรกด้วยการพิจารณาให้การให้สินเชื่อก่อนที่จะปล่อยสินเชื่อให้กับลูกหนี้แต่ละราย

 

บทที่ 7 การบริหารสินค้าคงเหลือ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารสินค้าคงเหลือวัตถุประสงค์การบริหารสินค้าคงเหลือค่าใช้จ่ายในการมีสินค้าคงเหลือหลักในการบริหารสินค้าคงเหลือและส่วนลดเงินสดที่ได้จากกการซื้อสินค้าครั้งละมากๆ

   สินค้าคงเหลือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่ต้องมีการวางแผนและควบคุมทั้งนี้เนื่องจากปริมาณสินค้าที่ไม่เหมาะสมคือมากไปหรือน้อยเกินไปย่อมมีผลเสียต่อกิจการ

   ดังนั้นการบริหารและควบคุมสินค้าคงเหลือ ก็คือ การให้มีสินค้าคงเหลือในปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการ ไม่มากหรือน้อยเกินไป ซึ่งในการบริหารและควบคุมสินค้าคงเหลือนั้น มีด้วยกัน 4 กรณีคือ

1. การกำหนดปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม, ประหยัดที่สุด = EOQ ซึ่งสามารถคำนวณได้ 3 วิธีคือ

1.1 การทดลองจากปริมาการสั่งซื้อที่แตกต่างกัน

1.2 การพล๊อตกราฟค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ

1.3 การใช้สูตรคณิตศาสตร์ (EOQ)

จุดสั่งซื้อสินค้า (Reoder Point) คือการสั่งซื้อสินค้าครั้งถัดไปเมื่อมีระยะเวลาในการรอคอยสินค้า (Lead time) และปริมาณสินค้าเพื่อความปลอดภัย (Safety stock)

สูตร Reorder point = จำนวนวันที่ใช้ในการผลิต x ปริมาณสินค้าที่ต้องการใช้ต่อวัน + ปริมาณสินค้าที่ปลอดภัย

3. ส่วนลดเงินสดที่ได้รับจากการซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก (quantity discount) คือการพิจารณาเพื่อตัดสินใจซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ขายเสนอให้ส่วนลดหากซื้อสินค้ามากกว่าปริมาณที่ EOQ

หาก ส่วนลดที่ได้ > ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น   ตัดสินใจซื้อมากขึ้นเพื่อเอาส่วนลด

หากส่วนลดที่ได้ < ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ไม่ควรตัดสินใจซื้อเพิ่มขึ้น

4. ระดับสินค้าคงเหลือเพื่อความปลอดภัยเป็นการคำนวณหาปริมาณสินค้าขั้นต่ำเพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าขาดมือโดยศึกษาความน่าจะเป็นของโอกาสที่สินค้าจะขาดมือกับค่าใช้จ่ายรวมที่ต่ำที่สุดเป็นเกณฑ์

บทที่ 8 การจัดหาเงินทุนของธุรกิจ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนภายในกิจการแหล่งเงินทุนภายนอกกิจการแหล่งเงินทุนระยะสั้นระยะกลางระยะยาวและภายนอกกิจการ ดังนั้นการจัดหาเงินทุนระยะยาวของธุรกิจสามารถหาได้จากแหล่งเงินทุนภายในและแหล่งเงินทุนภายนอกกิจการ

* แหล่งเงินทุนภายในเป็นแหล่งเงินทุนที่ได้จากค่าเสื่อมราคาและกำไรสะสม
* แหล่งเงินทุนภายนอกเป็นแหล่งเงินทุนที่หาได้จากตลาดทุนที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์ได้แก่หุ้นสามัญหุ้นบุริมสิทธิหุ้นกู้พันธบัตรธุรกิจหุ้นกู้แปลงสภาพและใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ

หุ้นสามัญ เป็นหุ้นที่นิยมซื้อขายกัน เพราะผู้ถือหุ้นเข้าไปมีส่วนเป็นเจ้าของ ผลการดำเนินงานของบริษัทมีผลต่อราคาตลาดของหุ้นสามัญโดยตรง โดยเฉพาะกำไรต่อหุ้น(EPS) ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล

หุ้นบุริมสิทธิ เป็นหุ้นกึ่งหนี้สินและกึ่งหุ้นสามัญเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับจะกำหนดตายตัวในรูปของจำนวนเงินต่อหุ้นหรืออัตราร้อยละของมูลค่าที่ตราไว้

หุ้นกู้หรือพันธบัตร เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินระยะยาวต่างกันที่หลักประกันมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาการชำระคืนเงินต้นไว้แน่นอนนอกจากนี้ก็อาจมีการกำหนดการไถ่ถอนหุ้นกู้โดยการตั้งกองทุนไถ่ถอนและการเรียกคืนหุ้น

หลักทรัพย์แปลงสภาพได้ เป็นหุ้นกู้หรือหุ้นบุริมสิทธิ ที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของบริษัทได้ตามราคาและระยะเวลาที่กำหนด

ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้น เป็นสิทธิที่ผู้ออกหุ้นกู้ หรือหุ้นบุริมสิทธิให้กับผู้ถือหุ้น ชนิดมีใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของกิจการตามราคาที่กำหนด โดยผู้ซื้อต้องใช้สิทธิภายในระยะเวลาที่กำหนดเช่นกัน

   การจัดหาเงินทุนระยะยาวนั้นสามารถกระทำได้ทั้งในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์ซึ่งจะช่วยระดมเงินออมจากสาธารณชนให้กับธุรกิจที่ต้องการเงินทุน

บทที่ 9 ปัจจัยดอกเบี้ยทางการเงิน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับมูลค่าทบต้นและมูลค่าปัจจุบัน

   ปัจจัยดอกเบี้ยทางการเงิน มีผลกระทบทำให้ค่าของเงินเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ดังนั้น ผู้บริหารการเงินจึงจา เป็นต้องศึกษาผลกระทบดังกล่าวที่มีต่อค่าของเงิน เพื่อใช้ผลกระทบ ดังกล่าวศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เพื่อการลงทุนในระยะยาวของธุรกิจ การพิจารณา ดังกล่าวจา แนกได้เป็น 2 ประเภทคือ

มูลค่าทบต้น คือจำนวนเงินรวมที่ธุรกิจจะได้รับจากการลงทุนจากโครงการ โดยผลตอบแทน ที่ได้รับจากการลงทุนนั้นเป็นแบบต่อเนื่องภายในระยะเวลาที่กำหนด สามารถจำแนกการพิจารณาเป็น 2 กรณีคือ

มูลค่าทบต้นของเงินจ่ายลงทุนครั้งแรกเพียงครั้งเดียว เป็นลักษณะของการคำนวณหามูลค่าของเงินทบต้นซึ่งได้จ่ายลงทุนครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเป็นระยะเวลาหนึ่งด้วยผลตอบแทนที่ได้ตกลงกัน

สูตรการคำนวณ Bn = A x IFn,i (Table A)

มูลค่าทบต้นของเงินจ่ายลงทุนเป็นงวดรายปีต่อเนื่องกัน เป็นลักษณะของการคำนวณหามูลค่าทบต้นของเงินที่ได้จ่ายลงทุนเป็นงวดๆละเท่าๆกันเป็นระยะเวลาต่อเนื่องด้วยอัตราผลตอบแทนที่ได้ตกลงกัน

สูตรการคำนวณ
หรือ

แต่เปิดตำราง n+1 ได้ค่าเท่าใด ลบด้วย 1 เสมอ จึง จะได้ค่าเท่ากับ Table A

มูลค่าปัจจุบัน คือจำนวนที่จ่ายลงทุนในปัจจุบัน เพื่อให้ได้จำนวนเงินรวมกลับมาใน ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ภายใต้ระยะเวลาการลงทุนที่แน่นอน และปัจจัยลดค่าที่กำหนด สามารถจา แนก การพิจารณาเป็น 2 กรณีคือ

มูลค่าปัจจุบันของเงินรับสุทธิที่เข้ามาเพียงครั้งเดียว เป็นการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของ จำนวนเงินที่จ่ายลงทุนเพื่อให้ได้เงินรวม (เงินรับสุทธิ) คือเงินต้นบวกดอกเบี้ยกลับมาในช่วงเวลาหนึ่งในอนาคตเพียงครั้งเดียว

สูตรในการคำนวณ A(PV) = Bn x DFn,I (Table C)

มูลค่าปัจจุบันของเงินรับสุทธิรายปี แบบต่อเนื่อง เป็นการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของเงิน ที่ได้รับเป็นรายปี แบบต่อเนื่อง ด้วยจำนวนเงินรับสุทธิเท่ากัน

จากการคำนวณดังกล่าวสามารถนำไปพิจารณาเพื่อหาปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องเช่น

– อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน

– จำนวนเงินผ่อนชาระในแต่ละงวด

– ระยะเวลาในการผ่อนชำระ ฯลฯ

 

บทที่ 10 งบลงทุน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ ลักษณะสำคัญของงบจ่ายลงทุน ขั้นตอน ในการจัดทำ งบจ่ายลงทุน ปัจจัยที่ต้องคำนึงในการตัดสินใจเลือกโครงการจ่ายลงทุน วิธีการ ประเมินผลเพื่อวิเคราะห์งบจ่ายลงทุน

   งบจ่ายลงทุนเป็นลักษณะการบริหารเงินทุนของธุรกิจที่จะตัดสินใจเลือกลงทุนในงบจ่ายลงทุนใดที่จะให้ประโยชน์สูงสุดกับกิจการซึ่งในการพิจารณาเลือกโครงการจ่ายลงทุนนั้นต้องใช้จำนวนเงินลงทุนมากในขณะที่ผลตอบแทนหรือประโยชน์ที่จะได้รับนั้นจะทยอยได้รับในอนาคตข้างหน้านอกจากนี้มูลค่าของเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาก็จะมีผลเป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องนามาพิจารณาควบคู่กันไป

   การวิเคราะห์งบจ่ายลงทุนนั้นจะต้องอาศัยข้อมูลจากการประมาณการกระแสเงินสดเข้ากระแสเงินสดออกของโครงการและผลตอบแทนขั้นต่ำของโครงการเพื่อนามาเป็นปัจจัยในการวิเคราะห์โครงการจ่ายลงทุน

วิธีการวิเคราะห์โครงการจ่ายลงทุน ที่นิยมใช้กันมี 5 วิธี

1. วิธีจ่ายคืนทุนสุทธิ (PB) เป็นการหาระยะเวลาคืนทุนของโครงการหรือระยะเวลาที่กิจการได้รับผลตอบแทนเท่ากับเงินที่จ่ายลงทุน

2. วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นการหามูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการจากผลต่างของมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดเข้าและมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดออก

NPV = PV ของเงินสดเข้า – PV ของเงินสดออก
หากโครงการจ่ายลงทุนมีค่าเป็นบวก (+) แสดงว่าโครงการดังกล่าวมีกำไรจากการลงทุน
หากโครงการจ่ายลงทุนมีค่าเป็นลบ (-) แสดงว่าโครงการดังกล่าว ขาดทุนจากการ ลงทุน

3. วิธีอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (IRR) เป็นการหาอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของ โครงการ หรือการหา i, IRR ที่ทำให้ PV ของเงินเข้า = PV ของเงินออก

หาก IRR ที่ได้มีค่ามากกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำจึงควรลงทุน
หาก IRR ที่ได้มีค่าน้อยกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำไม่ควรลงทุน

4. วิธีดัชนีกำไร (PI) เป็นการหา Profitability Index ของโครงการจากสูตร

หาก PI มีค่ามากว่า 1 แสดงว่ากิจการมีกำไรจากการลงทุนในโครงการ
หาก PI มีค่าน้อยว่า 1 แสดงว่ากิจการมีผลขาดทุนจากการลงทุนในโครงการ

5. อัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ย (ARR) เป็นการหาอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยของโครงการจากสูตร

วิธีการวิเคราะห์ทั้ง 5 วิธี พบว่า วิธีที่ 2,3,4 คือวิธี NPV, IRR, PI เป็นวิธีที่นำเอา มูลค่า ของเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เข้ามาพิจารณาด้วย จึงทำให้ทั้ง 3 วิธีดังกล่าวข้างต้น เป็นวิธี ที่มีเหตุผลในการวิเคราะห์โครงการมากกว่าวิธีที่ 1 และ 5

 

บทที่ 11 กำไรสะสมและนโยบายการจ่ายเงินปันผล ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของกำไรสะสมกำไรสะสมจัดสรรความหมายของเงินปันผลปัจจัยที่ต้องคำนึงในการกำหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผลนโยบายการจ่ายเงินปันผลขั้นตอนการจ่ายเงินปันผลขั้นตอนการจ่ายเงินปันผลและชนิดของเงินปันผล

   กำไรสะสมคือส่วนเกินที่เกิดจากรายได้หักด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมดหลังจากจ่ายเงินปันผลและสะสมจนกระทั่งถึงปัจจุบันการคำนวณกำไรสะสมนั้นจะคำนวณได้จาก

กำไรสะสมปลายงวด = กำไรสะสมต้นงวด + กำไร(ขาดทุน)สุทธิระหว่างงวดเงินปันผล

กำไรสะสมถือเป็นแหล่งเงินทุนภายในที่สำคัญที่สุดของธุรกิจ โดยถูกจัดสรรตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1202 กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่กิจการจะจ่ายเงินปันผล ต้อง จัดสรรเงินไว้เป็นทุนสำรองอย่างน้อย 5% ของกำไรสุทธิประจำปี จนกว่าทุนสำรองจะเท่ากับ 10% ของทุนเรือนหุ้นหรือมากกว่านั้นแล้วแต่จะตกลงกันไว้ในข้อบังคับของบริษัทนอกจากนั้นธุรกิจก็จะจัดสรรกำไรสะสมตามข้อผูกพันที่ทำไว้เช่นการไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ถึงกำหนดหรือตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เช่นการขยายกิจการ

   การจ่ายเงินปันผลของธุรกิจต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการเช่น

– ข้อจำกัดทางกฎหมายสภาพคล่องของกิจการ

– ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจผลกระทบของภาษีต่อผู้ถือหุ้น

– อัตราการขยายตัวของธุรกิจข้อจำกัดของสัญญากู้ยืม

นโยบายการจ่ายเงินปันผล แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

1. จำนวนเงินปันผลคงที่ต่อหุ้น

2. อัตราการจ่ายเงินปันผลคงที่

3. เงินปันผลขั้นต่ำบวกเงินปันผลพิเศษ

ชนิดของเงินปันผลที่จ่าย

1. จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด
2. จ่ายเงินปันผลเป็นหุ้น
3. การแบ่งหุ้น
4. การจ่ายเงินปันผลอื่นๆ


 

ประวัติผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์ปรียานุชกิจรุ่งโรจน์เจริญ

: อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชีคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

: อาจารย์พิเศษในสถาบันอุดมศึกษาได้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นต้น

: หัวหน้าภาควิชาบริหารธุรกิจ

: รองคณบดีคณะวิทยาการจัดการ

: รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา การศึกษา : บช.. บัญชีบัณฑิต (บัญชีการเงิน) คณะบัญชีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

: บช.. บัญชีมหาบัณฑิต (บัญชีต้นทุน) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หมายเหตุ : สนใจ ติดต่อ โทร. 089-1258379 ราคาเล่มละ 180. บาท