Category Archives: ดนตรี ภาษา ศิลปวัฒนธรรมและนาฏยศิลป์และการแสดง

ไทดำ: พลวัตวัฒนธรรม กับการธำรงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ผ่านดนตรี

สุธี   จันทร์ศรี*

*วิทยาลัยการดนตรี  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การวิจัยเรื่อง ไทดำ: พลวัตวัฒนธรรมกับการธำรงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ผ่านดนตรี  เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง  การแปรตามภูมิภาคของภาษาและวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้ทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น ประจำปี 2558  โดยมีศาสตราจารย์ ดร. สมทรง บุรุษพัฒน์ เป็นหัวหน้าโครงการ  ระยะเวลาในการวิจัย 3 ปี (1 พฤษภาคม 2558 ถึง 30 เมษายน 2561)   ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 

          กลุ่มชาติพันธุ์ไทดำเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ใน 4 ประเทศ คือ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศไทย งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งอธิบายการธำรงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำผ่านการวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีในฐานะเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เคลื่อนไหวภายใต้การเปลี่ยนผ่านของบริบททางสังคมใน 3 ประเทศ คือ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศไทย

          ผลการศึกษาพบว่าบทบาทของการขับไทดำมี 2 ลักษณะ ได้แก่ การขับในพิธีกรรมและการขับที่เป็นวัฒนธรรมบันเทิง การขับไทดำในพิธีกรรมนั้นมีการสืบทอดในลักษณะของการคงสภาพ เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับความเชื่อ โดยผู้ขับจะต้องเรียนรู้และปฏิบัติตามแบบแผนของพิธีกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมาอย่างเคร่งครัด ซึ่งในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะขาดผู้สืบทอดและลดบทบาทเหลือเพียงการสาธิต ส่วนการขับไทดำในวัฒนธรรมบันเทิง  พบการปรับเปลี่ยนโดยการผสมผสานองค์ประกอบทางดนตรีแบบดั้งเดิมเข้ากับดนตรีสมัยนิยมรวมถึงการผลิตและเผยแพร่โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
สะท้อนให้เห็นว่า การสืบทอดในลักษณะคงสภาพดนตรีแบบดั้งเดิม แม้จะสามารถตอกย้ำจิตสำนึกความเป็นไทดำได้ดี แต่กลายเป็นข้อจำกัดในการธำรงอยู่ท่ามกลางบริบทสังคมสมัยใหม่ ในขณะที่การปรับเปลี่ยนสะท้อนถึงการต่อรองผ่านการนำองค์ประกอบและเทคโนโลยีในสังคมกระแสหลักมาปรับใช้ ทำให้การขับมีความทันสมัยและมีคุณค่าเชิงสุนทรียะมากขึ้น จึงมีแนวโน้มของการเรียนรู้และสืบทอดอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การธำรงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไทดำในพื้นที่ทางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตต่อไปได้

Abstract

The Tai Dam or Black Tai is an ethnic group living in four China-ASEAN countries, namely, PR China, Lao PDR, Vietnam, and Thailand. This article aims to describe the identity maintenance of  the Tai Dam through an analysis of musical components of Tai Dam folksongs or Khab Tai Dam which is part of a cultural heritage shared by Tai ethnic groups such as Tai Dam, Dai (Tai Lue), and  Zhuang. The Tai Dam in Lao PDR, Vietnam, and Thailand have been chosen for a case study to see how Tai Dam folksongs have been varied in accordance with the social context of each country. The study result found that Khab Tai Dam has two functions. First, it is performed at ritual  ceremonies and second, it is sung for entertainment culture. The first function is tied to Tai Dam belief that the singer has to learn and strictly follow the traditional practice of Khab Tai Dam as it has been preserved by their ancestors and transmitted from one generation to another. However,  this function is dying out because, currently, there are few successors available to sing Khab Tai Dam. The second function involves an adaptation of Khab Tai Dam by blending the traditional rhythm and content with rhythmic patterns of modern musical instruments such as electone in

order to appeal to a wider audience, especially Tai Dam teenagers.  The roles of Khab Tai Dam in Lao PDR, Vietnam, and Thailand are not much different. In all  countries, both features of Khab Tai Dam are found but their roles have diminished. Khab Tai Dam

The roles of Khab Tai Dam in Lao PDR, Vietnam, and Thailand are not much different. In all  countries, both features of Khab Tai Dam are found but their roles have diminished. Khab Tai Dam  these days is mainly used for demonstration purposes on important occasions because it is rarely transmitted down to qualified successors. This reflects the fact that, without a willing new generation  to take over the art, traditional Khab Tai Dam no longer functions as a cultural symbol. On the other hand, modern Khab Tai Dam, which has been changed and adapted for learning and succession purposes, has retained the typical features of Tai Dam music whilst also blending with modern  music. Consequently, modern Khab Tai Dam is able to continue to express Tai Dam identity within the dynamic societies of the three countries.

 

Keywords:   Tai Dam, Black Tai,   Ethnomusicology, Ethnic Identity, Khab Tai Dam, Black                            Tai folksong

          การขับไทดำเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมการขับลำนำร่วมกับการเป่าปี่ไม้ไผ่ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์ที่มีร่วมกันมากว่า 3000 ปี มีบทบาทในการประกอบพิธีกรรม การละเล่นบันเทิง การเกี้ยวพาราสี การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม รวมถึงการเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่บ่งชี้ถึงความเป็นไทดำ  ปัจจุบันกระแสของการเปลี่ยนแปลงของระบบสังคมแบบโลกาภิวัตน์ทำให้สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆได้รับผลกระทบรวมถึงดนตรี ซึ่งมักปรากฏในรูปแบบของการถูกกลืนกลายวัฒนธรรมดนตรีโดยสังคม กระแสหลัก เป็นดนตรีสมัยนิยมที่ไม่หลงเหลือจิตวิญญาณความเป็นชาติพันธุ์ ดังนั้น การขับไทดำภายใต้บริบทสังคมสมัยใหม่จะเป็นสัญลักษณ์ธำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไทดำได้อย่างไรจึงเป็นสิ่งที่สนใจศึกษา ทั้งนี้งานวิจัยที่ประยุกต์ใช้แนวทางการศึกษาแบบดนตรีวิทยาร่วมกับมานุษยวิทยาวัฒนธรรมในประเด็นของการธำรงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ผ่านดนตรีในประเทศไทยยังมีอยู่น้อย องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้จึงอาจเป็นส่วนเสริมให้งานวิจัยด้านมานุษยวิทยาการดนตรีมีความสมบูรณ์มากขึ้น โดยยกกรณีศึกษาการขับไทดำภายใต้บริบทสังคม 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว และเวียดนาม เพื่อเป็นแนวทางของการธำรงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ผ่านดนตรีทั้งไทดำและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆที่มีวัฒนธรรมการขับร่วมกันต่อไป

วัตถุประสงค์การวิจัย

        1. เพื่อศึกษาบทบาทและการใช้วัฒนธรรมดนตรีของไทดำในมิติทางประวัติศาสตร์และสถานภาพในปัจจุบัน
        2. เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการสร้างลักษณะเฉพาะและการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมดนตรีระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำในประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสังคมนิยมเวียดนาม
        3. เพื่อศึกษาการธำรงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์และการสร้างสำนึกความเป็นชาติพันธุ์ผ่านวัฒนธรรมดนตรีของชาวไทดำท่ามกลางพลวัตทางสังคม

วิธีการดำเนินการวิจัย
         การคัดเลือกพื้นที่วิจัย
          งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีแนวทางการวิจัยแบบมานุษยวิทยาการดนตรีเป็นเครื่องชี้นำสู่ข้อมูล  โดยอาศัยข้อมูลภาคสนามเป็นหลัก จาก 3 พื้นที่ ได้แก่
           1) จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทยซึ่งเป็นพื้นที่แรกของการตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยและเป็นพื้นที่หลักในการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำในประเทศไทย
           2) แขวงหลวงน้ำทา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวลาว เป็นพื้นที่ที่มีชาวไทดำอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น และเป็นเมืองพหุวัฒนธรรมที่มีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายรวมทั้งชาวลาวซึ่งเป็นกลุ่มคนในสังคมกระแสหลัก
           3) จังหวัดเซินลา และจังหวัดเดียนเบียนฟู ประเทศเวียดนาม เป็นพื้นที่ของการรวมสำนึกทางประวัติศาสตร์  ชาติพันธุ์ไทดำว่าเป็นถิ่นฐานเดิม และชาวไทดำในพื้นที่ดังกล่าวดำเนินชีวิตในฐานะชนพื้นเมืองดั้งเดิมของเวียดนาม

การเก็บรวบรวมข้อมูล
          การเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยการค้นคว้าเอกสารและการเก็บข้อมูลภาคสนาม วิธีเก็บข้อมูลภาคสนาม แบ่งเป็น 2 วิธี ได้แก่การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ศิลปิน นักดนตรี หมอขับ ผู้แต่งเพลง และผู้มีประสบการณ์ร่วมทางด้านดนตรี ข้อมูลภาคสนามแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทางด้านวัฒนธรรมดนตรีและข้อมูลบริบททางสังคมวัฒนธรรม

การวิเคราะห์ข้อมูล
          ผู้วิจัยแบ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกวิเคราะห์ตามแนวทางดนตรีวิทยา คือการแยกส่วน องค์ประกอบทางดนตรี ได้แก่ จังหวะ ทำนอง โครงสร้างฉันทลักษณ์ เนื้อหา เครื่องดนตรี ส่วนที่สองเป็นการวิเคราะห์ด้วยการตีความประเด็นทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรมโดยอาศัยกรอบความคิดว่าด้วยการธำรงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ผ่านดนตรี โดยเริ่มต้นจากการมองอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ว่าเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่งตายตัว

เต็มไปด้วยการประกอบสร้างความหมายและเปลี่ยนผันไปตามสภาพสังคม โดยอาศัยสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความแตกต่างและลักษณะเฉพาะ องค์ประกอบทางดนตรีมีลักษณะเป็นสัญญะเต็มไปด้วยการสร้างความหมาย การปลุกจิตสำนึกร่วม  การสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรม ทัศนคติ ค่านิยม และอารมณ์ความรู้สึกของคนในวัฒนธรรม การธำรงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ผ่านดนตรีภายใต้บริบทสังคมสมัยใหม่จึงเต็มไปด้วยการประกอบสร้างสัญญะในรูปแบบต่างๆ เช่น การตอกย้ำความเป็นชาติพันธุ์ การผสมผสานคุณค่าเชิงสุนทรียะ การแสดงออกถึงพฤติกรรมเชิงสัญลักษณ์ในดนตรีเป็นต้น

ผลการวิจัย

1. บทบาทและการสืบทอดขับไทดำ 3 ประเทศ
     1) บทบาทในพิธีกรรม
          แม้ไทดำจะมีการโยกย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในบริบททางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของทั้ง 3 ประเทศ แต่ก็พบว่าการขับในพิธีกรรมเป็นวัฒนธรรมดนตรีที่มีบทบาทในการสื่อสารกับสิ่งเหนือธรรมชาติ โดยมีหมอมดผู้นำพิธีจะเป็นผู้ขับเรียกว่า ขับมดแต่มีรายละเอียดของพิธีกรรมแตกต่างกันไปบ้าง
             – ประเทศลาวและเวียดนาม มีการขับร่วมกับการเป่า ปี่ลาวหลวง
             – ประเทศไทย ขับร่วมกับปี่ใหญ่และปี่น้อยประสานกันเป็นวงเรียกว่า วงปี่ไม้แมน
ทั้ง 3 พื้นที่มีความเชื่อร่วมกันว่า การขับมดและการเป่าปี่ในพิธีกรรมเป็นวัฒนธรรมดนตรีที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่สามารถขับหรือบรรเลงนอกพิธีกรรมได้ และยังมีข้อกำหนดในการบรรเลง เช่น บทขับ ขั้นตอน ทำนองการขับ และข้อกำหนดการสืบทอดอย่างเคร่งครัด

     2) บทบาทในวัฒนธรรมบันเทิง ดั้งเดิมขับไทดำมีบทบาทต่อสังคมไทดำที่หลากหลาย เช่น
             – การปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่เยาวชนผ่านการขับกล่อมลูก
             – การสร้างสถาบันครอบครัวผ่านการขับเกี้ยวพาราสี
             – การสร้างสำนึกทางประวัติศาสตร์ในการขับเล่าเรื่อง
ขับในวัฒนธรรมบันเทิงจะขับร่วมกับการเป่าปี่ ลาวเรียกปี่ปั๊บ เวียดนามปี่ตามไล แต่ไม่พบการขับร่วมกับปี่ในไทย
         ลักษณะเด่นของการขับในวัฒนธรรมบันเทิงใน 3 ประเทศได้แก่
             มีโครงสร้างฉันทลักษณ์ที่กำหนดคำร้องอย่างหลวมๆ สามารถปรับเปลี่ยนเนื้อหาไปตามโอกาส                  ได้ค่อนข้างอิสระเรียกว่าการด้น
             – มีการร้องตอบโต้กันเรียกว่าเพลงปฏิพากษ์ ทดสอบปฏิภาณไหวพริบ ทดสอบทักษะในการใช้                    ภาษาและองค์ความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
             – การขับทั้ง 3 ประเทศอยู่ในบันไดเสียงเดียวกัน ลาวและเวียดนามดำเนินทำนองลักษณะ                              เดียวกัน  แต่ไทยมีการดำเนินทำนองที่แตกต่าง

     3) การสืบทอดการขับไทดำ
             ขับมดในพิธีกรรมผู้สืบทอดต้องเป็นทายาทโดยตรงหรือผู้ที่มีภาวะพิเศษ เช่น ฝันแปลก เจ็บไข้ได้ป่วย จำเป็นต้องสืบทอด ผู้ที่มีความสนใจไม่สามารถสืบทอดได้การขับในวัฒนธรรมบันเทิงมีการสืบทอดมากกว่าเนื่องจาก ลักษณะเฉพาะทางดนตรีง่ายต่อการจดจำ โอกาสในการขับมีมากกว่า และไม่มีข้อกำหนดในการสืบทอด

2. การคงสภาพองค์ประกอบทางดนตรี  ภายใต้บริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปของทั้ง 3 ประเทศ ส่งผลให้การขับไทดำธำรงอยู่ในบริบทสังคมสมัยใหม่ในรูปแบบของการคงสภาพและปรับเปลี่ยนองค์ประกอบทางดนตรีดังนี้
– คงสภาพบันไดเสียงแบบ “Pentatonic” ซึ่งเป็นโครงสร้างของการควบคุมการดำเนินทำนอง ทำให้เกิดเป็นทำนองที่มีลักษณะเฉพาะ มีความสัมพันธ์กับระบบวรรณยุกต์ในการใช้ภาษาไทดำ
– คงสภาพการใช้ภาษา ทั้ง 3 พื้นที่ยังคงสภาพฉันทลักษณ์ในการด้นกลอนและการเนื้อหาของการขับที่ตอบสนองกิจกรรมทางสังคมไว้เช่นเดิม
การปรับเปลี่ยนองค์ประกอบทางดนตรี  ประเทศลาวมีการนำกระสวนจังหวะแบบ “ลำเพลิน” เข้ามาผสมผสาน มีการใช้เครื่องดนตรี “อิเลคโทน” บรรเลงประกอบการขับ เรียกว่า “ขับไทดำประยุกต์” ประเทศเวียดนาม พบการคงสภาพของการขับไว้เช่นเดิม แต่ปรับเปลี่ยนบทบาทระหว่างผู้ขับกับผู้ฟังเป็นรูปแบบของการแสดงโชว์มากกว่าการร่วมและสลับบทบาทกันระหว่างผู้ฟังและผู้ขับ อย่างในอดีตมีการพัฒนารูปแบบการเผยแพร่โดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผลิตเป็นรูปแบบวีซีดีคาราโอเกะมีการทำมิวสิควีดีโอแสดงวิถีชีวิตของชาวไทดำประกอบ

3. การธำรงอัตลักษณ์ผ่านการขับไทดำ   การขับไทดำมีบทบาทในฐานะเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อธำรงความเป็นไทดำในบริบทสังคมสมัยใหม่ดังต่อไปนี้

        1) การตอกย้ำจิตสำนึกเชิงประวัติศาสตร์ องค์ประกอบทางดนตรีในขับไทดำจะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และสร้างสัญญะใหม่ๆให้กับคนในวัฒนธรรมทุกครั้งที่ชาวไทดำร่วมกิจกรรมทางสังคม สัญญะเหล่านี้จึงเป็นการตอกย้ำจิตสำนึกเชิงประวัติศาสตร์ของชาวไทดำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ได้แก่ ความทรงจำร่วม ความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน การตระหนักถึงพรมแดนชาติพันธุ์ ระหว่างกลุ่มตนเองและกลุ่มอื่น จึงมีการสืบทอดในรูปแบบของการคงสภาพองค์ประกอบทางดนตรีที่พบใน บันไดเสียง ทำนอง ฉันลักษณ์และภาษา เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการตอกย้ำความเป็นชาติพันธุ์ไทดำในสภาวะสังคมที่เปลี่ยนไป

        2) การต่อรองคุณค่าเชิงสุนทรียะ การคงสภาพองค์ประกอบทางดนตรีแบบดั้งเดิม ถึงแม้จะเป็นการตอกย้ำจิตสำนึกเชิงประวัติศาสตร์ของชาวไทดำได้ดี แต่สังคมกระแสหลักได้สร้างคุณค่าเชิงสุนทรียะและดึงดูดกลุ่มผู้ฟังให้หันไปบริโภคดนตรีสมัยนิยมมากขึ้น และสร้างความหมายให้ดนตรีชาติพันธุ์กลายเป็น ดนตรีล้าสมัย” ชาวไทดำ ได้ต่อรองคุณค่าเชิงสุนทรียะเหล่านั้นด้วยการนำจังหวะที่เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมกระแสหลัก ผสมผสานกับองค์ประกอบทางดนตรีแบบดั้งเดิม เพื่อสร้างคุณค่าให้การขับไทดำแบบใหม่มีความทันสมัยมากขึ้น กลายเป็น ขับไทดำประยุกต์ที่พบในลาว

        3) การช่วงชิงพื้นที่ทางวัฒนธรรม ถึงแม้ว่าสังคมกระแสหลักจะมีบทบาทต่อกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำในปัจจุบัน แต่ชาวไทดำรวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ก็จำเป็นต้องช่วงชิงพื้นที่ในการแสดงออกถึงอัตลักษณ์ของตน และบางครั้งอาจต้องแลกกับการสูญเสียพื้นที่ทางวัฒนธรรมของตนเอง
                   – บทบาทการขับไทดำในพื้นที่สาธารณะ
การขับไทดำและการแซไตเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่มีบทบาทในพื้นที่วัฒนธรรมบันเทิงของชาวไทดำมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันพื้นที่วัฒนธรรมบันเทิงชาวไทดำได้เปลี่ยนแปลงไป โดยสังคมกระแสหลักเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่ชาวไทดำได้ช่วงชิงพื้นที่ดังกล่าวผ่านการนำเสนอการขับไทดำประยุกต์ซึงทำให้การขับไทดำมีโอกาสที่จะได้รับการสืบทอดต่อไป อีกทั้งยังสร้างกลุ่มผู้ฟังใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากงานกินดองหรืองานแต่งงานของไทดำในลาว นอกจากนี้ ยังพบว่า ปัจจุบันการขับไทดำได้เข้าไปมีบทบาทในพื้นที่สาธารณะ กรณีของงานประเพณีรวมชนเผ่าที่จัดขึ้นโดยรัฐบาลลาว มีการขับไทดำและการแซไตโดยให้ทุกชนเผ่าเข้ามามีส่วนร่วม แสดงถึงความสามัคคีและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สะท้อนให้เห็นว่า ชาวไทดำช่วงชิงพื้นที่สาธารณะโดยการนำเสนอสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมว่าด้วยการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้เกิดการเรียนรู้สำหรับคนต่างวัฒนธรรมผ่านวัฒนธรรมดนตรีของตน
                 – การช่วงชิงพื้นที่ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่และโลกออนไลน์
กรณีของการปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอการขับไทดำให้มีรูปแบบที่ทันสมัยในเวียดนาม สะท้อนให้เห็นถึงการช่วงชิงพื้นที่ในการใช้เทคโนโลยีที่ถูกผลิตขึ้นจากสังคมกระแสหลัก มีการเผยแพร่ในโลกออนไลน์อย่างเว็บไซต์YouTube.comทำให้อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไทดำมีพื้นที่บนโลกเสมือนมากขึ้น และทำให้ชาวไทดำต่างพื้นที่มีโอกาสในการบริโภคการขับไทดำมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

สรุปและอภิปรายผล
            ในสภาวะสังคมที่ต่างกันและมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างเป็นพลวัต งานวิจัยชิ้นนี้พบว่า ไทดำทั้ง 3 พื้นที่มีลักษณะของการสืบทอดการขับไทดำที่เหมือนกัน ได้แก่ ลักษณะของการคงสภาพองค์ประกอบทางดนตรีที่พบในการขับพิธีกรรมและขับในวัฒนธรรมบันเทิง ซึ่งลักษณะดังกล่าวทำให้สัญญะต่างๆในองค์ประกอบทางดนตรีทำหน้าที่ตอกย้ำจิตสำนึกความเป็นไทดำ สร้างความทรงจำร่วม และสร้างพรมแดนชาติพันธุ์ระหว่างกลุ่มภายใต้บริบทสังคมสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี

             แต่ลักษณะของการคงสภาพเพียงรูปแบบเดียวที่พบในการขับในพิธีกรรมกลายเป็นข้อจำกัดในการสืบทอด เนื่องจากมีขั้นตอน รายละเอียด และข้อกำหนดสำหรับผู้สืบทอดมาก จึงทำให้การขับไทดำขาดการสืบทอดดังที่ปรากฏในการขับมดของทั้ง 3 ประเทศ และการลดบทบาทของการขับในไทยที่หลงเหลือเพียงการสาธิต

              เมื่อเปรียบเทียบกับการขับในวัฒนธรรมบันเทิง เนื่องจากองค์ประกอบทางดนตรีมีลักษณะที่ค่อนข้างอิสระ ไม่มีข้อกำหนดในการสืบทอดมากเท่าการขับในพิธีกรรมจึงทำให้มีโอกาสสืบทอดมากกว่า อีกทั้งยังสามารถสร้างสรรค์ปรับเปลี่ยนโดยการผสมผสานคุณค่าเชิงสุนทรียะ การปรับใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้การขับมีความทันสมัย นำไปสู่การมีบทบาทบนพื้นที่ทางสังคม และขยายกลุ่มผู้ฟังใหม่ๆให้เกิดการบริโภคและสืบทอดขับไทดำต่อไป

             การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นบทเรียนของการธำรงอัตลักษณ์ผ่านดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการขับลำนำร่วมกับการเป่าปี่เป็นวัฒนธรรมร่วม เมื่อเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่าบางกลุ่มเริ่มมีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมในลักษณะเดียวกัน เช่น การขับลื้อในสิบสองปันนา มีการประยุกต์เข้ากับดนตรีสากลและปรับรูปแบบเผยแพร่เป็นวีซีดี มีมิวสิควีดีโอประกอบ การขับซอแบบล้านนามีการนำทำนองการขับมาทำเป็นเพลงลูกทุ่ง เป็นต้น

              การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมดนตรีด้วยการผสมผสานคุณค่าเชิงสุนทรียะให้เป็นดนตรีสมัยใหม่เทียบเท่าดนตรีกระแสหลัก จะต้องควบคู่กับการตอกย้ำจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์อย่างสมดุล การนำดนตรีกระแสหลักเข้ามาผสม

ค่ายคอนเสิร์ต “สร้างคนให้ทำคอนเสิร์ตเพื่อให้บังเกิดวิชาชีพไกล”   ปี  2560

ชื่อผลงานทางวิชาการ         ค่ายคอนเสริ์ต “สร้างคนให้ทำคอนเสิร์ตเพื่อให้บังเกิดวิชาชีพไกล”   ปี  2560

ข้อมูลเพิ่มเติม                  การจัดคอนเสริ์ตเพื่อให้บังเกิดวิชาชีพไกล ตามโครงการกิจกรรม ทำดี ตามคำพ่อสอน  จัดแสดงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2560 ณ ห้องประชุมอาคาร 1 ชั้น 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ  อาจารย์ณัฎฐ์ เดชะปัญญา สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

          สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา    โดยการนำของอาจารย์ณัฎฐ์ เดชะปัญญา ได้จัดค่ายคอนเสริ์ตเพื่อให้บังเกิดวิชาชีพไกล  จากค่ายคอนเสิร์ต บ้านสมเด็จฯโชบิส  ซึ่งเป็นคอนเสริ์ตการกุศล ภายใต้โครงการ บ้านสมเด็จฯเอนเตอร์ เป็นผลงานของอาจารย์ นักศึกษา และศิลปินจากภายนอก ในรายวิชาการจัดกิจกรรมพิเศษ โดย มีแนวคิดส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงกระบวนการการจัดงาน ของรูปแบบคอนเสริ์ตการกุศล โดยการทำคำสอนของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ในเรื่องของการ”รับ” และ “ให้” และฝึกปฏิบัติงานด้านการจัดคอนเสิร์ตอย่างเป็นรูปธรรม โดยมิได้มุ่งหวังการแสวงหาซึ่งผลกำไรจากผลประกอบการเป็นหลัก แต่ต้องการผลตอบแทนในเชิงของการได้มาซึ่งประสบการณ์ และทักษะการเรียนรู้ ในการปฏิบัติงานจริงของนักศึกษา ทำให้เกิดการฝึกฝน มีทักษะ มีความสามารถ   และมีศักยภาพ สามารถปฎิบัติงานรูปแบบ Concert & Special Events ในตลาดบันเทิงระดับประเทศ เน้นสร้างผลงานให้เป็นที่รู้จักด้วยการสื่อสารการตลาด ลงสื่อต่างๆ แบบครบวงจร เกิดความรัก ความสามัคคี และยังเป็นการทำงานเพื่ออุทิศตนให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และพร้อมที่จะทำงานจริงในแวดวงธุรกิจบันเทิง อันจะเป็นผลงานส่วนตัวให้กับนักศึกษาในการรับรองความสามารถ สำหรับใช้ในการแสดงผลงานหรือสมัครงาน หลังจบการศึกษาได้…

ดีที่ ๓ – สร้างคนให้ทำคอนเสิร์ตเพื่อให้บังเกิดวิชาชีพไกล
การจัดงานในรูปแบบคอนเสิร์ตการกุศล (โดยนำคำสอนของพ่อหลวงรัชกาลที่ ๙ ในเรื่องของ การ “ รับ และ ให้ ” ) ซึ่งในปีนี้ได้รับเกียรติจากวงบอดี้สแลม  ศิลปินวงร็อคแถวหน้าของประเทศ ในงาน : ทีเด็จฯ3 บอ ดี้ ส แ ล ม  เดอะพาวเวอร์ ออฟ “แ ช ริ่ ง ” คอนเสิร์ต

ศิลปินรับเชิญ : เป๊ก ผลิตโชค

ศิลปินรับเชิญ : วง ภารต้า

พิธีกรรับเชิญ : ดีเจ เลิฟ

 

ดีที่ ๓ – สร้างคนให้ทำคอนเสิร์ตเพื่อให้บังเกิดวิชาชีพไกล

 

ดีที่ ๓  ค่ายคอนเสิร์ต #บ้านสมเด็จฯโชบิส

สามารถติดตามรายเอียดได้ที่

https://www.youtube.com/watch?v=wugkbBNzd5Y

https://www.youtube.com/watch?v=zcrfgxZVQSA&t=532s

https://www.youtube.com/user/BansomdejRecord/videos

The Future Management of  Thai  Musical  Study

Supatra  Vilailuck1,

Supunnee  Leauboonshoo1  &  Sudarat  Janlekha2

1College  of  Music, Mahasarakham  University, Khamriang Sub-Distric, Kantarawichai Distric, Maha  Sarakham  44150,Thailand

2 Faculty  of  Humanities and  Social  Sciences,  Bansomdejchaopraya Rajabhat  University, 

  1061 Soi Isaraphab 15,  Isaraphab Rd., Dhonburi, Bangkok 10600. Thailand

   Correspondence: Supatra  Vilailuck , 1College  of  Music, Mahasarakham  University,

   Khamriang  Sub-Distric, Kantarawichai  Distric, Maha  Sarakham  44150,Thailand

   E-mail: svilailuck [email protected]

การวิจัยเรื่อง The Future Management of Thai Musical Study เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบกับเทคนิคเดลฟาย เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาดนตรีไทยในปัจจุบัน และแนวโน้มสภาพการจัดการศึกษาดนตรีไทยในช่วงปีการศึกษา 2013 ถึงปี 2022 ในมิติต่างๆ ได้แก่ด้านหลักสูตร ด้านผู้สอน ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านผู้เรียน ศึกษารายละเอียดของเรื่องในวารสาร Asian Culture and History

   Supatra  Vilailuck  and  Supunnee  Leauboonshoo,  Sudarat  Janlekha. (2015 )

                              “The Future  Management of  Thai  Musical  Study.”   Asian  Culture  and

                               History. V0l. 7( 1 ). pp. 119 – 124.

วารสารวิชาการ        Asian  Culture  and History

ลิงค์ที่เข้าถึงได้          http://www.ccsenet.org/journal/index.php/ach/article/view/38501

มองพระอภัยมณีในเชิงอุปลักษณ์ ตอน อาวุธของพระอภัยมณี

“ บรมครูสุนทรภู่ “ ท่านมิใช่เป็นเพียงจินตกวีผู้ทรงคุณประเสริฐของไทยเท่านั้น    หากแต่ท่านยังได้รับการยกย่องจาก “องค์การยูเนสโก” ในฐานะที่เป็นหนึ่งในบุคคลที่เป็นกวีสำคัญของโลกอีกด้วย 

   ชวลิต ผู้ภักดี  ค้นหาความคิดที่แยบคายอันแฝงฝังอยู่ในนิทานที่ยังมีผู้อ่านส่วนหนึ่งน้อยนิดเห็นว่า นั่นก็เป็นเพียงนิทานที่ประโลมโลกของคนเหงาเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว นิทานคำกลอนเรื่อง “พระอภัยมณี” มีเงื่อนปมที่น่าค้นหา วิเคราะห์เจาะลึกให้เห็นว่า มหากวีท่านนี้กอปร์ด้วยความรู้ ความคิดอันอุดมยิ่งเพียงใด…… ใน  “มองพระอภัยมณีในเชิงอุปลักษณ์”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชวลิต ผู้ภักดี

ข้าราชการบำนาญ

ปัจจุบันผู้ทรงคุณวุฒที่ปรึกษาสาขาวิชาภาษาไทย

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

อาจารย์ประจำสาขาการสอนวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย


 

มองพระอภัยมณีในเชิงอุปลักษณ์

ตอน

อาวุธของพระอภัยมณี

โดย ผศ. ชวลิต  ผู้ภักดี

 

สุนทรภู่ เป็นนักจินตนาการเท่านั้น  รึ……

   เรื่องราวอันที่เป็นความนำของบทวิเคราะห์ต่อไปนี้  ผู้วิเคราะห์นำมาเพื่อจะให้เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของความจริงที่ปรากฏในการแสดงละครรำเท่านั้น

   กล่าวคือในแทบทุกเรื่องของละครไทยที่จะขาดเสียมิได้คือ ต้องมีการแปลงกาย ไม่ว่าจะเป็นตัวดี ตัวร้าย ที่เป็นตัวเอก หรือมิฉะนั้นก็เป็นตัวสำคัญของเรื่องทั้งสิ้น แล้วละครนั้นๆ ก็จะสร้างบทร้อง บทรำ “ฉุยฉาย” เป็นหลักของละครไทย

   การรำฉุยฉาย กล่าวโดยท่ารำนับว่ายากมากที่ทุกคนต้องตลึงกับท่าทีลีลาการร่ายรำ ต่อความงามหรือเสน่ห์ของพระ นางนั้นๆ  ซึ่งรำได้สวยมาก พระหรือนางที่รำจะได้รับการปรบมือ บรรดาแม่ยกจะให้รางวัลกันล้นหลาม เล่าลือกันไปปากต่อปากว่าสวยมาก งามมาก เก่งมาก จนเป็นที่กล่าวขวัญกันถ้วนทั่วว่าพระหรือนางละครตัวนี้เท่านั้นที่จะรำฉุยฉายได้สวยที่สุด

แน่นอนเรื่องนี้ก็ต้องถือว่าสำคัญเป็นอันดับแรก เพราะผู้รำที่ปรากฏต่อสายตาของผู้ชม ต้องดึงดูดความสนใจ หรือตรึงผู้ชมให้ประทับใจได้มากที่สุด  และหากไม่เก่งไม่สวยเป็นทุนย่อมไม่มีโอกาสได้รำแน่ๆ

สำหรับ “บทความ” นี้ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านลองทบทวนดูว่า เสน่ห์ของรำฉุยฉายที่แท้จริงคืออะไร หากพิจารณาให้ลึกเข้าไปแล้วจะพบว่า  อลังการครั้งนี้นั้น มีองค์ประกอบสำคัญคือ ๓ บุคคล กับอีก ๑  สิ่งที่คนเรามักมองข้ามไป

บุคคลแรกที่เป็นฐานสำคัญ คือ ผู้ประพันธ์เนื้อร้องที่สรรคำออกมาได้อย่างหมดจดงดงามทั้ง “กระบวนคำ กระบวนความ และ น้ำเสียงของถ้อยคำ” ล้วนส่งสารได้เสนาะเพราะพริ้ง แต่ทว่ากระชับมากจนหาที่ติมิได้

บุคคลที่สอง ผู้คิดประดิษฐ “ท่ารำ” ที่ตีบทของคำร้องได้เหมาะกับท่วงทำนองอันก่อให้เกิดลีลา และท่วงท่าที่สามารถสื่อสารได้อย่างมีศิลปะ  ทั้งนี้เพราะท่ารำย่อมมีบทบาทสำคัญของละครรำ เช่นเดียวกับระบำบัลเล่ต์ของฝรั่งหรือท่ารำของทุกชาติทุกภาษาในโลก

บุคคลที่สาม บุคลากรที่เป็นผู้สร้างสีสันให้กับการรำฉุยฉายที่สำคัญอีกผู้หนึ่งก็คือ “นักดนตรี” ผู้ที่ก่อให้เกิดลีลาและจังหวะอย่างครบครัน ดนตรีจะเป็นตัวการในการสร้างสีสันและอารมณ์ให้เลื่อนไหลไปตามบทบาทที่กำหนดได้นั้น ต้องอาศัยผู้ที่มากไปด้วยทักษะในการใช้เครื่องดนตรีแต่ละตัวแตะละชิ้น และสามารถหลอมรวมให้กระบวนของดนตรีทั้งหมดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จนเสริมบรรยากาศได้อย่างเหมาะเจาะเป็นสำคัญ กล่าวโดยเฉพาะเครื่องเป่าที่ผู้เป่าจะต้องมีความชำนาญ ความสามารถที่จะกำหนดลมในการเป่าได้อย่างต่อเนื่อง รักษาระดับของเสียงได้ อย่างที่ภาษาเฉพาะอาชีพเรียกกันว่า “ทั้งลูกเล่นลูกเก็บ” ซึ่งต้องใช้ฝีมือระดับครูจริงๆ  เพราะนอกจากจะต้องเป่าคลอไปกับเนื้อร้องแล้ว ยังต้องแสดงเดี่ยวในการเป่าล้ออีกด้วย(ภาษาทางดนตรีจะเรียกอย่างไรไม่ทราบชัด ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย)  และ

องค์ประกอบที่สำคัญที่มิใช่บุคคล สำหรับการรำฉุยฉาย นั่นคือ “ปี่” ใช่แล้วปี่เป็นเครื่องเป่าที่มีบทบาทสำคัญและสร้างความมหัศจรรย์ได้อย่างประหลาดยิ่งของการรำฉุยฉาย ปี่จะเป่าล้อเนื้อเพลงได้แนบและ เนียนสนิทมาก จึงนับว่าปี่ เป็นพระเอกตัวจริงแท้แน่นอน ที่น่าแปลกใจก็คือ เขาคิดได้อย่างไรที่ต้องใช้ปี่ ในเมื่อเครื่องดนตรีอื่นๆ อีกหลายชิ้นก็น่าจะหยิบหรือนำมาใช้ได้  ผู้เขียนเชื่อว่าทุกคนคิดได้ตรงกันก็คือ ดูเหมือนว่าปี่จะพูดได้ยังไงยังงั้น  ภาษาชาวบ้านเรียกว่า  “ตอด”  หรืออาจเรียกว่า “หยอด” ได้เฉียบจริงๆ  เสียงปี่นับว่าสร้างเสน่ห์ได้อย่างน่าทึ่ง รับรองได้ว่าทุกคนล้วนใจจดใจจ่อ และเอาใจช่วยไม่ให้เสียงปี่ขาดท่อนขาดตอนทุกเม็ดทีเดียว

   ท่านผู้อ่านที่รัก ขออนุญาตปรับเปลี่ยนอารมณ์สุนทรีย์ของละคร กลับเข้าเรื่องที่โหมโรงไว้เพราะถึงเวลาที่จะต้องเปิดนิทานคำกลอนของท่านสุนทรภู่กันไต่อไป เพื่อจะหาคำตอบอันเกี่ยวเนื่องกับพระเอกในนิทานคำกลอนของท่านบรมครู ซึ่งเป็นเชื้อวงศ์องค์กษัตริย์ ที่จะต้องไปศึกษาการรบ การเมืองการปกครอง เพื่อสารบ้านเมืองต่อไป แต่เหตุไฉน ท่านบรมครูผู้รจนาเรื่องนี้ จึงเอา “ปี่” ไปใส่พระอุ้งมือพระอภัยมณี  ผู้เขียนเคยสงสัยมานานนักหนาแล้วว่า ถ้าเจตนาของท่านสุนทรภู่จะเสกสร้างให้พระเอกเป็นนักดนตรีก็ตาม เครื่องเป่าในวงคนตรีไทยเราก็มีออกหลากหลาย  ท่านบรมครูเห็นดีเห็นงามอย่างไร จึงได้เอาปี่ไปใส่ปากพระอภัยมณีจนเป็นเรื่องเป็นราวที่ยาวยืดยาว นี่นับว่าปี่เป็นต้นเหตุของเรื่อง หรือเป็นสารัตถะสำคัญของนิทานเรื่องนี้

   ก่อนจะไปล้วงลึกเอา “ปี่ของพระอภัยฯ ออกมาเชยชมกัน ต้องขอย้ำว่า  “พระอภัยมณีคำกลอน”  นับเป็นวรรณคดีมรดกชิ้นหนึ่งในวงวรรณคดีไทย   ซึ่งวรรณคดีสโมสร ในพระบาทสมเด็จพระมงกงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว คัดสรรแล้วว่าเป็น ยอดของนิทานคำกลอน” ไม่ใช่ “นิยาย”

   ดังนั้น ผู้เขียนจำเป็นต้องกำหนดในข้อตกลงเบื้องต้นเสียก่อน คำว่า”นิทาน”  มีความหมายอย่างไร  ซึ่งผู้เขียนต้องขออภัยท่านผู้รู้บางท่านกล่าวว่าว่า นิทานเป็นเรื่องหลอกเด็กไร้สาระ ในเรื่องก็มี เทวดานางฟ้า แปลงกายเหาะเหิรเดินฟ้าได้นั้น  น่าจะเป็นความเข้าใจผิด  นั่นเข้าไปอยู่ในระดับ “นิยาย”  ไปแล้ว  แม้ว่าในเรื่องพระอภัยมณีนั้น ดูเหมือนจะมีอะไรที่เป็นอิทธิปาฏิหาริย์  เช่น  นางผีเสื้อสมุทร แปลงกายเป็นหญิงรูปราม พระฤษี ปรากฏกายในทันทีทันใด  นั่นเป็นเงื่อนที่ผูกขึ้นให้เข้าทางสนุกสนานน่าตื่นเต้น ซึ่งความจริงแล้วพฤติกรรมดังกล่าวนั้น หากอ่านอย่างพินิจ อ่านอย่างเข้าใจความหมายของคำว่า “นิทาน” แล้วจะพบว่า แท้จริงนั้นคืออำไร  ท่านบรมครูผู้รจนาท่านซ่อนนัยไว้อย่างไร  ลองอ่านบทต่อๆ  ไปแล้วจะวิเคราะห์ให้เห็นถ่องแท้เป็นฉากๆ ช้าๆ ก่อนที่จะตำหนิติเตียน

   มาพิจารณาคำว่า  “นิทาน”  นิทาน   แปลตามศัพท์ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า  “เหตุ”    ซึ่งเป็นชนวนให้ผู้เขียนต้องวิเคราะห์ และลองสร้างนิยามของคำว่า “นิทาน” ขึ้นมาเองบ้าง ได้ซึ่งความจริงแล้ว   

นิทาน ก็คือ  “เรื่องราวใดๆ ที่เกิดมาแต่รอยหยักในสมองของผู้เล่า โดยเฉพาะรอยนั้นเป็นรอยที่เป็นห้วงลึกของสมอง ผสานกับมโนสำนึกอย่างแท้จริง   ที่อยากจะแสดงออกมา แล้วจึงผูกขึ้นเป็นเรื่อง เป็นราวโดยมีจุดมุ่งหมายและเป้าประสงค์ที่แน่นอน”

   ดังนั้น   คำว่า  นิทาน”  จึงไม่ใช่เรื่องตื้นๆ สนุกปากเพื่อใช้สำหรับหลอกเด็ก หรือ คนเดินทางที่บังเอิญมาพบกัน และต่างคนต่างก็แบ่งปันกัน โดยแทรกความคิดไว้ ให้หลงเหลืออยู่ในความคิดคำนึงของผู้ได้ยินได้ฟัง ซึ่ง คนที่ผูกเรื่องขึ้นต้องเป็น“เธียร” ไม่ใช่เทียน”  เพราะ นิทานจะแฝงนัยไว้ในความสนุก ฝากคติ ข้อคิด ด้วยเหตุดังกล่าว หลังนิทานจบ ก่อนจากจะฝากคำว่า “นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า………………” หรืออาจปล่อยให้คนฟังคิดเอง

   นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี ของบรมครู ท่านผูกขึ้นอย่างวิเศษนี้ ประกอบด้วย  เสียดเสนาะ เซาะสัมผัส ซัดลีลา(Style) ของท่านจนถึงกับต้องพายเรือขายชาวบ้านติดกันงอมขนาดนั่งรอ ว่าเมื่อไรเรือพระอภัยมณีจะมาถึงแพ หรือท่าน้ำหน้าบ้าน เรียกว่าเป็น “ดีลีเวอรี” เลยทีเดียว ราคาหัวหนึ่งๆ(อ่านว่า หัวนึงหัวนึง โบราณเรียกนังสือว่า  “หัว”)ไม่กี่ อัฐ กี่ ฬส หรอก ซึ่งต่อเมื่อมีโรงพิมพ์เป็นนังสือก็พิมพ์ที่วัดเกาะขนาดพ้อกเก็ตบุค บางๆ มีทั้งปลาบู่ทอง โสนน้อยเรือนงาม คาวีหลวิไชย นี่นับเห็นเหตุสำคัญอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้คนในยุคนั้นลุกขึ้นมาเรียนหนังสือกันมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้อ่านนิทานเหล่านี้นี่เอง

   ท่านผู้อ่านที่รัก กลับมาช่วยกันวิเคราะห์หานัยที่ท่านบรมครูสุนทรภู่ท่านซ่อนเงื่อนงำไว้ใน ปี่ อันเป็น “เหตุ” ของเรื่องพระอภัยมณีกันต่อไป  ท่านสุนทรภู่ ท่านเปิดบทบาทของปี่ในตอนเริ่มต้น ก็ตอนที่พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณมาพบกับสามพราหมณ์ จับเอาเอาตอนที่พระอภัยฯ สำแดงความวิเศษของปี่ครั้งแรกนั้น ท่านไม่สงสัยบ้างหรือว่า พระอภัยฯ ท่านบรรเลงเพลงปี่ออกเป็นเนื้อความว่าเแล้วใครล่ะเป็นคนร้อง อย่างแรกของบทนี้ที่ท่านเปิดเผยว่า ปี่มีดีตรงที่เป่าให้เหมือนเสียงพูด

ในเพลงปี่ว่าสามพี่พราหมณ์เอ๋ย
ถึงร้อยรสบุบผาสุมาไลย
พระจันทรจรสว่างกลางโพยม
แม้นได้แก้วแล้วจะค่อยประคองเคย 
  ยังไม่เคยเชยชิดพิสมัย
 จะชื่นใจเหมือนสตรีไม่มีเลย
 ไม่เทียมโฉมนางงามเจ้าพราหมณ์เอ๋ย
 ถนอมเชยชมโฉมประโลมลาน

(๒๕๐๕ :๑๓)

เมื่อสามพราหมณ์ได้ฟังเพลงปี่พระอภัยฯ แล้วอาการใดที่เกิดขึ้น  นั่นก็คือ

เจ้าพราหมณ์ฟังวังเวงวะแว่วเสียง
หวาดประหวัดสัตรีฤดีดาล
 สำเนียงเพียงการะเวกกังวานหวาน
 ให้ซาบซ่านเสียวสดับจนหลับไป

(๒๕๐๕ :๑๓)

  ดังที่เกริ่นไว้ในตอนต้นว่า นิทานย่อมมีมาแต่ “เหตุ” เป็นที่ตั้ง ท่านบรมครูฯ ท่านไม่ลืมที่จะบอกที่มาที่ไปอันเป็นเหตุที่พระอภัยฯ เลือกเรียนวิชาดนตรี แม้ว่าจะต้องไปเสียเงินเสียทองตั้งแสนตำลึงทองเป็นค่าเรียนพิเศษ  อาจารย์ถึงกับอยู่ตึก แถมติดโป๊สเตอร์ไว้หน้าบ้านซะด้วย โชคไม่ดีของผู้เรียนต้องเดินไปอ่านประกาศเอง ตอนนี้แสดงให้เห็นว่า ยุคนั้นมีความเปลี่ยนแปลงจากโบราณ และก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ซึ่งท่านผู้รจนาไม่ละเลยที่จะกล่าวถึง นับได้ว่าเป็น “จดหมายเหตุ” ทางประวัติศาสตร์ไว้ในนิทานโดยปริยาย  จากคำกลอนที่ว่า

“อันสองท่านราชครูนั้นอยู่ตึก
เป็นข้อความตามมีวิชาการ
แม้นผู้ใดใครจะเรียนวิชามั่ง
ถ้ามีทองแสนตำลึงมาถึงใจ
 จดจารึกอักขราไว้หน้าบ้าน
 แสนชำนาญเลิศลบภพไตร
 จงอ่านหนังสือแจ้งแถลงไข
 จึงจะได้ศึกษาวิชาการ”(๒๕๐๕  : ๓)

   บทที่ยกมานี้แสดงให้เห็นว่า การกวดวิชามามีแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว  เล่นสอนกันบนตึกดัวย แต่ไม่บอกชื่อว่าครูอะไรที่แน่ชัดก็เห็นจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชานั้นอย่างแท้จริง  ไม่เหมือนสมัยนี้ครู“ปิง” สอนสังคม ครู“ลิลลี่” สอนภาษาไทย ส่วนครู “สมศรี” สอนภาษาอังกฤษ   อีกหน่อยครู “สุธน กับครูมโนห์รา” จะเปิดสอนวิทยาศาสตร์ ครู“เสี่ยวเหมย” จะสอนวรรณคดีไทย     ส่วนครู“ทองอยู่” คงต้องสอนภาษาอาเซียนแน่ ๆ เลย นี่ก็แปลกเรื่องหนึ่งละ นับว่าท่านสุนทรภู่ คงจินตนาการล่วงหน้ากว่า ๒๐๐ ปี

   เมื่อพระอภัยฯ กับน้องชาย ดั้นเดินมาอ่านประกาศ ปรากฏว่า มีสองวิชาที่เปิดกวดที่ตึกดังกล่าว  อ่านแล้ววิเคราะห์ให้ดีจะเห็นว่า ท่านสุนทรภู่แอบบอกไว้เป็นนัยๆ ว่า“เมื่อริจะเป็นนักศึกษาก็ต้องอ่าน ไม่ทำเป็นเดิน“ดุ่มเดาเข้าไป”  เหมือนวัสการพราหมณ์  แต่ถึงกระนั้น ท่านวัสการพราหมณ์ ท่านยังเดินดุ่มๆ  แบบเดาๆ อ่านแล้วลองวิเคราะห์เทียบกับปัจจุบันแล้วจะเห็นความแตดต่างอย่างชัดเจน

ใบประกาศที่หน้าบ้าน(ตึก)บรรยายสรรพคุณไว้ว่า

“อาจารย์หนึ่งชำนาญในการยุทธ์
รำกระบองป้องกันกายสกนธ์
อาจารย์หนึ่งชำนาญในการปี่
ผู้ใดฟังวังเวงในวิญญา
 ถึงอาวุธซัดมาดังห่าฝน
รักษาตนมิให้ต้องคมศัสตรา
ทั้งดีดสีแสนเสนาะเพราะหนักหนา
เคลิ้มนิทราลืมกายดังวายปราณ”

(๒๕๐๕ : ๓)

   เจ้าชายทั้งสองคงต้องเลือกเรียน “กระบอง” แน่นอน แต่การณ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ ทั้งคู่ต่างเลือกคนละวิชาเอก  ศรีสุวรรณผู้น้องน่าจะคิดถูก  เพราะต้องไปดูแลบ้านเมืองรักษาประชาชนและมนตรี แต่พระอภัยมณีผู้พี่กลับเลือกที่จะเรียนดนตรี  เห็นอะไรบ้างล่ะท่าน  การเลือกวิชาเรียนน่ะมีมานานแล้ว พ่อแม่ไม่ได้กำหนด เข้าหลักจิตวิทยาในเรื่องเอกัตบุคคลอย่างแท้จริง

“อันท่านครูอยู่ตึกตำแหน่งนี้
จึงดำรัสตรัสแก่พระน้องยา
 ฝีปากปี่เป่าเสนาะเพราะหนักหนา
 อันวิชาสิ่งนี้พี่ชอบใจ

(๒๕๐๕ : ๓)

 ส่วน ศรีสุวรรณ ก็เลือกเรียนตามที่ตนถนัด

“อนุชาว่าการกลศึก
ถ้าเรียนรู้รำกระบองได้ว่องไว
 น้องนี้นึกรักมาแต่ไหน
 จะชิงไชยข้าศึกไม่นึกเกรง

(๒๕๐๕ :  ๔)

วิเคราะห์จากบทประพันธ์จะเห็นว่า สุนทรภู่ท่านไขความด้วยบทเจราดังนี้

๑. การเลือกเรียนวิชาใด ขึ้นอยู่กับความถนัดตามธรรมชาติ และความสนใจของผู้เรียน พระอภัยฯ ผู้พี่เมื่ออ่านประกาศแล้วจะแนะน้องก็เปล่า ว่า เจ้าต้องเรียนวิชานี้ แต่กลับถามและบอกว่า เลือกเอาตามความสนใจ ไม่เชื่อไปอ่านดู  ที่ผิดแปลกไปจากแนวคิดก็คือ เริ่องนี้ให้กษัตริย์ไปเรียนเป่าปี่  ที่ถูกก็ตรงที่ว่า จะเรียนอะไรดีก็อยู่ที่ตัวเองคิดว่า ตนเองชอบ หรืออีกนัยหนึ่งก็คงเจตนาจะชี้แนะว่า “ใจต้องนำตัว  ความสำเร็จนั้นไปกว่าครึ่งแล้วต้องเลือกในสิ่งที่ตนเห็น(ลึก)

๒.  “ปี่” นี้ดีไฉน  สุนทรภู่ครูท่านเห็นใครเป็นตัวอย่างว่า พระราชาชาติไหนที่เรียนดนตรี จากนิทานหลากหลาย นิยายอีกหลายหลากเรื่องก็ล้วนแต่ให้เจ้าชายไปเรียนรัฐศาสตร์  เรียนนิติศาสตร์  ยุทธศาสตร์เป็นหลัก แต่จะมีก็เรื่องระเด่นลันได ที่เป็นพระเอกนักดนตรี ทว่าไม่เป่าปี่  หากแต่สีซอ จะว่าไม่มีเสียเลยก็ไม่ใช่ ที่กษัตริย์เรียนวิชาปี่เหมือนกัน ปรากฏใน เรื่อง  “ไซ่ฮั่น” ที่มาจากพงศาวดารจีนนั่น ว่า

พระเจ้ายู้เต้เป็นต้นตำรับปี่ ตัดไม้ไผ่ยาวประมาณ ๒๒นิ้วกึ่ง แล้วเอาธาตุทั้ง ๕ เป็นกำลัง เอาเสียง ๑๒ นักษัตรเป็นต้นเพลงเป่าได้เป็นเสียงสัตว์ทุกภาษา ถ้าจะเป่าให้เป็นบทกลอนก็ได้ดุจดังตั้งใจ จนสืบมาถึงนางหลั่งหยกราชบุตรีของจิ๋นอ๋อง ว่านางพอใจเรียนวิชาปี๋ และในที่สุดนางก็ได้พบกับเซียวซู้ ซึ่งชำนาญในเพลงปี่ไม่แพ้กัน สามารถเป่าจนฝูงหงส์และนกยูงพากันมารำ

นี่ก็เป็นตำนานหนึ่งซึ่งวิเคราะห์กันว่า สุนทรภู่น่าจะได้เค้ามูลตรงนี้  แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นในการวิเคราะห์ครั้งนี้ บทความนี้มุ่งพยายามวิเคราะห์ให้เห็นว่า “ปี่” ต้องดีแน่ ขนาดนกยูงได้ยินเสียงปี่ยังเริงร่ากล้าออกมารำอย่างท้าทายให้คนเห็น นับได้ว่า “ลืมตัวกลัวตาย”  ในประการนี้น่าจะเห็นร่วมกันได้ว่า ปี่ ต้องมีคุณลักษณะพิเศษอย่างแท้จริง

. เครื่องดนตรีไทยมีหลากหลายชนิด วิเคราะห์หานัยที่ครูท่านอาจซ่อนอะไรไว้ หรือทำไมต้องเปิดวิชาเอกปี่ วิชาเดียว ฆ้อง  กลอง  ระนาด  เครื่องตี เครื่องเคาะดีดพิณ จะเข้  ขิม  หรือว่า เครื่องเป่าอื่นก็มี ขลุ่ยก็ออกดีทำไมไม่เปิดสอนปี่จะดีตรงไหน

   แนวทางการวิเคราะห์  คำว่า “ปี่”  ในแง่ของคำ และการออกเสียงคำว่า /ปี่/ ขณะที่ออกเสียงก็ดี หรือเพียงแค่นึกถึงคำว่า “ปี่”  ท่านลองส่องกระจกแล้วพิจารณาด้วยใจที่ปราศจากอคติ ท่านสังเกตใบหน้า  นัยน์ตา   ริมฝีปากปากของตัวท่าน ว่าเกิดอะไรขึ้น   ผู้เขียนบทวิเคราะห์เชื่อว่า ท่านจะเห็นรอยยิ้มเกิดขึ้น  นี่คือคำว่า “ปี่” เกิดจากสระ /อี/ ที่เป็นใจกลางของพยางค์  สระอี  เกิดตรงไหน  เมื่อพลิกตำราภาษาศาสตร์ดู แล้วท่านก็จะพบคำตอบ

   บทวิเคราะห์ที่สำคัญ ที่น่าพิจารณาว่าท่านบรมครูให้บทบาทของปี่ที่ควรแก่ความสนใจก็คือตอนพระอภัยฯ ใช้เสียงปี่หยุดยั้งนางผีเสื้อ ที่กำลังอยู่ในภาวะของความโกรธเกรี้ยว กร้าวร้าวพระฤๅษี พิจารณาให้ลึกแล้ว จะพบว่าท่านบรมกวีเอกใช้ความเสน่ห์แห่งความหวานของปี่เป็นเครื่องหยุดยั้งต่างหากมิใช่เพื่อสังหาร พินิจบทกลอนดูแล้วจะหาข้อยุติได้ มีบ้างสักคำหรือว่าเสียงปีกระโชกโฮกฮากไม่

“แล้วทรงเป่าปี่แก้วให้แจ้วเสียง
พวกโยธีผีสางทั้งนางมาร
แต่เพลินฟังนั่งโยกจนโงกหงุบ
พอเสียงปี่ที่แหบหายลงไป
สอดสำเนียงนิ้วเอกวิเวกหวาน
ให้เสียวซ่านซับซาบวาบหัวใจ
ลงหมอบซุบซวนซบสลบไสล
ก็ขาดใจยักษ์ร้ายวายชีวา

(๒๕๐๕   ๒๐๐)

ตรงข้อความนี้คือกูญแจไขความ ว่า ความตายของนางผีเสื้อเกิดจากสาเหตุใด  พินิจดูแล้วจะเห็นว่า  สุนทรภู่ท่านเปิดความด้วย “หวาน” ปิดด้วย “ตาย” ลองพิจารณาบาทที่ ๒  และ๓  ด้วย  นางผีเสื้อสมุทรขาดใจตาย หรืออกแตกตาย เพราะรักแรง หรือโกรธแรง เห็นอธิบายกันลั่นว่า อกแตกตาย ไหนท่านสุนทรภู่ท่านบอกไว้หรือว่านางอกแตกตาย  ในบทประพันธ์ท่านก็บอกไว้ชัดว่า

แต่เพลินฟังนั่งโยกจนโงกหงุบ       ลงหมอบซุบซวนซบสลบไสล

   วิเคราะห์แล้วจะเห็นว่า การตายของนางผีเสื้อสมุทรนั้น อันเนื่องมาแต่จิตดับไปด้วยความสงบนะ    ทั้งนี้พระอภัยฯ ใช้ความหวานจับใจเป็นเครื่องมือหยุดยั้งความโมโหโกรธาได้อย่างสิ้นเชิง  เป็นธรรมดา ปี่จะเป่าด้วยความโมโหเกรี้ยวกราดก็จะหาความไพเราะไม่ได้  เพราะนอกจากปากยิ้มแล้วตายังพริ้มด้วย……อีกทั้งใจต้องยิ้มด้วยจึงจะเป่าได้ดี   

เพื่อยืนยันในหลักความจริงโดยวิชาภาษาศาสตร์ เป็นเครื่องสนับสนุนการวิเคราะห์ ตารางสระไทย

ส่วนของลิ้น

ระดับของลิ้น

ลิ้นส่วนหน้า

รูปริมฝีปากไม่ห่อกลม

ลิ้นส่วนกลาง

รูปริมฝีปากไม่ห่อกลม

ลิ้นส่วนหลัง

รูปริมฝีปากห่อกลม

ลิ้นระดับ สูง

อิ               อี

อึ                  อื

อุ               อู

ลิ้นระดับ กลาง

เอะ            เอ

เออะ           เออ

โอะ           โอ

ลิ้นระดับต่ำ

แอะ           แอ

อะ              อา

เอาะ            ออ

ต้องพิจารณา พร้อมกับทดลองออกเสียง “สระ”ในช่องแรกแนวตั้ง แล้วท่านจะหาคำตอบได้

สระหน้า ทั้ง ๓ ระดับ  สูง กลาง และต่ำ( /อี/     /เอ/    /แอ/) ล้วนเป็นสระที่ต้องอาศัยรูปริมฝีปากแบน ตั้งแต่เกือบปิดสนิท เปิดกว้างเล็กน้อย  และเปิดกว้างมากขึ้น แต่ไม่ถึงกับอ้าปากกว้าง จะมีแววของรอยยิ้มและยิ่งมากับคำว่า /ปี่/ ซึ่งมีพยัญชนะต้นที่เริ่มด้วย /ป/ อาการริมฝีปากทั้งล่างและบนปิดสนิท กับอาการกักลมเพื่อระเบิดเสียง หรือที่เรียกว่า Stop or Plosive พร้อมๆ กับเลื่อนลิ้นส่วนหน้าขึ้นในระดับสูงแต่ไม่จดเพดานส่วนหน้า และกดระดับเสียงให้ต่ำและต่ำลงท่านจะได้เสียงพร้อมอาการแสดงออกของคำว่า   /ปี่ / ยาวๆ อย่างชัดเจน  นี่น่าจะเป็นคำตอบว่า ทำไม “ปี่” ของท่านสุนทรภู่ จึงสามารถสะกดจิตถึงขนาดผู้คนหลับไหลไปทั้งกองทัพ

กลอนบทนี้เป็นเครื่องชี้วัดที่สนับสนุนได้

“ผู้ใดฟังวังเวงในวิญญา เคลิ้มนิทราลืมกายดังวายปราณ” 

(๒๕๐๕ :  ๓)

หรืออีกตอนหนึ่งที่เป็นคำไขไปสู่ความจริงอันเป็นเจตนาของท่านมหากวี

“แต่ใจพี่นี้รักทางนักเลง หมายว่าเพลงดนตรีนี้ดีจริง

ถึงการเล่นเป็นที่ประโลมโลก ได้ดับโศกศูนย์หายทั้งชายหญิง”

(๒๕๐๕ : ๔)

ครั้งแรกที่เป่าปี่หลังเรียนจบก็เห็นจะเป็นตอนพบเพื่อนพราหมณ์๓ คน

ความหวานของเสียงปี่ก่อให้เกิดข้อความดังนี้

“เจ้าพราหมณ์ฟังวังเวงวะแว่วเสียง     สำเนียงเพียงการะเวกกังวานหวาน

หวาดประหวัดถึงสัตรีฤดีดาล ให้ซาบซ่านเสียวสดับจนหลับไป

ศรีสุวรรณนั้นนั่งอยู่ข้างพี่ ฟังเสียงปีวาบวับก็หลับไหล

พระแกล้งเป่าแปลงเพลงวังเวงใจ เป็นความบวงสรวงพระไทรที่เนินทราย”

(๒๕๐๕ :๑๓ )

ที่เฉลยว่าปี่คืออะไรอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า ปี่เป็นเสียงสระหน้า-สูง ก็ตอนนี้ไง

“วิเวกแว่ววังเวงด้วยเพลงปี่ ป่วนฤดีดาลดิ้นถวิลหวัง

เสน่หาอาวรณ์อ่อนกำลัง เข้าเกยฝั่งหาดทรายสบายใจ”

(๒๕๐๕  : ๑๕)

   ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าเพลงปี่ที่หวานแว่ว ทำให้นางผีเสื้อเคลิ้ม ใช่ว่า ได้เห็นรูปโฉมของพระอภัยฯ ก่อนก็เปล่า สุนทรภู่ท่านไม่ด่วนผลีผลาม แต่ท่านต้องการสำแดงอานุภาพของความเป็นปี่ที่เข้าไปปะทะใจนางต่างหาก อย่างที่ปัจจุบันใช้คำว่า “โดนใจ” อย่างไรล่ะท่าน ว่ากันเพียงจุดนี้ก็คงจะพิสูจน์ให้เห็นว่า ท่านเจตนาให้  ปี่ เป็นอุปลักษณ์อย่างชัดเจน  ส่วนความหล่อเหลาเอาการของพระอภัยมณีนั้น นางได้ประจักษ์ก็ต่อเมื่อได้ประชิดตัวแล้วต่างหาก

   ท่านที่รักจะไม่เป็นการยุติธรรมเลย ถ้าคนส่วนใหญ่นั้นไม่เกิดปฏิพัทธ์ในตัวนักร้อง เพราะมีความสุขจากรอยยิ้ม แถมสื่อสายตากวาดคนฟังไปจนหมดสิ้นที่ลึกไปกว่านักร้องก็คือ  เสียงดนตรี และลึกที่สุดนั่นคือ นักดนตรีเป็นผู้ผลักดันอยู่เบื้องหลัง (Back up) ต่างหาก ลองมองผ่านนักร้องไป  นักดนตรีทุกคนล้วนมีความสุข  โดยเฉพาะเครื่องเป่าที่เพียงเอาริมฝีปากจดกับปลายที่เรียกว่าลิ้นเช่น ปี่ แซ็กโซโฟน อาการที่แสดงออกในขณะนั้นคือ รอยยิ้ม  ความสุข  จนกระทั่งแววตา จะเปล่งประกายความมีเสน่ห์ และรอยยิ้มอันน่าประทับใจ

   ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คำตอบที่ไม่ต้องอ้างอิงผู้รู้ใดๆ เลยก็คือ ต้องโทษที่ต้นเหตุคือ เครื่องมือและที่สำคัญคือดนตรีอันเป็นภาษาสากล ไม่ว่า เซ่นเจ้า เข้าผี หรือการนักมวย หรือก่อนที่เพชฌฆาตจะลงดาบแต่ครั้งโบราณ เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบก็คือ “ปี่” เชิญยิ้ม ย้อมใจทั้ง ครู  นักมวย และคนดู  นั่นย่อมแสดงว่าดนตรีมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งนั้น

ตอนที่พระอภัยฯให้สินสมุทร รับแขก ด้วยการเป่าปี

กรุงกษัตริย์ฟังปี่ให้วิเวก   เอกเขนกนั่งหาวทั้งสามศรี

ให้วาบวับหลับล้มไม่สมประดี    ทั้งโยคีผู้เฒ่าพลอยหาวนอน

(๒๕๐๕  ๑๗๓)

ไม่ใช่เพราะแปลกที่เป็นเด็กเป่า แต่เพราะความสุขความประทับใจโดยรวมและรอยยิ้มที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกลอนที่ยกมานั่นแหละ

   เมื่อนางผีเสื้อฯ ได้เห็นตัวนักดนตรีแล้วเกิดอะไรขึ้นกับหญิงผู้มีใจเยี่ยงยักษ์ในกมลสันดานยิ่งเข้าไปใกล้ตัวพระอภัยในระยะประชิด ท่านบรมครูสุนทรภู่ท่านไม่ได้ทิ้งปี่ให้ไกลตัวแม้แต่เพียงชั่วขณะจิต ดังที่ปรากฏในวรรครองและวรรคส่งของบทประพันธ์ข้างล่างนี้  ถึงขนาดรำพันว่า

“น้อยฤๅแก้มซ้ายขวาก็น่าจูบ   ช่างสมรูปนี่กระไรวิไลยเหลือ

  ทั้งลมปากลมปี่ไม่มีเครือ    นางผีเสื้อตาดูทั้งหูฟัง”

(๒๕๐๕  : ๑๕)

   ขออภัยที่ต้องด่วนสรุป แต่ย้ำเตือนว่า อย่าด่วนเชื่อ หรือยอมรับ เพราะยังขาดประสบการณ์ทางการณ์วิเคราะห์ และที่สำคัญคือ ไม่มีที่อ้างที่อิง  เยี่ยงนี้นักวิชาการคงยอมรับกันไม่ได้ คิดไป เขียนไป โดยมุ่งให้เป็นแนวในการทำวิจัยต่อไป และต้องการให้เห็นว่า การอ่านอย่างวินิจสารให้เข้าใจถึงก้นบึ้งแห่งหัวใจท่านบรมครู ผู้อาบความรักที่จะอ่านให้เอิบอิ่มไปในยุคนั้นสมัยนั้น โดยผสานความรู้ สู่..การวิเคราะห์

   การวิเคราะห์ครั้งนี้เป็นเพียงส่วนเสี้ยวของสำนึกที่เกิดตั้งคำถามถามตัวเองว่า เครื่องดนตรีมีหลากหลาย แต่เหตุไฉนท่านสุนทรภู่กวีผู้มีจินตทัศน์ใช้อะไรมาสัมผัส  ท่านจึงกำหนดให้ตัวละครตัวนี้เล่นปี่ ที่คล้ายคลึงแต่แตกต่างก็เห็นจะเป็น “ขลุ่ย” ทำไมไม่ให้พระอภัยมณีเรียน  ที่แน่ๆ ท่านต้องออกเสียง /ปี่/ กับ /ขลุ่ย/ แล้วพิจารณาหาความแตกต่างทางสรีระโดยเฉพาะที่ปรากฏบนใบหน้า ท่านก็คงจะนึกออกแล้ว

   ขณะเดียวกันใช้ตารางสระข้างต้นมาวิเคราะห์ก็จะพบว่า  ครูท่านคงเล็งไปที่ขลุ่ยด้วยเหมือนกัน และก็คงพบว่า ถ้าใช้ “ขลุ่ย” ก็คงไม่ตรงประเด็นที่ตั้งไว้แน่นอน   แม้จะเริ่มด้วย /ข/ มีฐานเสียงเดียวกับ  /ก/แต่พอเปิดปากจะเป่าขลุ่ยก็ดูอาการพิลึกแล้ว และ /ข/ ก็เป็นเสียงหนัก(ธนิต) คือ  /ก/ + /ห/ จะมีกลุ่มลมตามมาทันทีภาษาฝรั่งท่านเรียกว่าAssimilated จะเกิดเสียงจะเพี้ยนเป็น /ข/  /ค/  ส่วน  /ก/ เป็นเสียงเบา (สิถิล) เช่นเดียวกับ  /ป/ เป็นเสียงเบาถ้ามี /ห/ ตามมาจะเป็น /ผ/  /พ/ ทันที  เมื่อขลุ่ย มีพยัญชนะต้นเป็นเสียงหนัก ย่อมไม่เบาเท่า /ป/  และในเสียง /ปี่/  นี้ มีสระ/อี/ เป็นใจกลางของพยางค์  ซึ่งขณะเดียวกันเสียงสระของขลุ่ยที่เป็นไจกลางของพยางค์ คือ สระ /อุ/  เมื่อเปิดตารางสระดู  สระ/อุ/  / อู/ เป็นสระหลัง – สูง  ริมฝีปากห่อกลม รูปปาก จะโค้ง ทำให้รูปหน้า และตา เป็นวงโค้งตามไปด้วย รอยยิ้มที่ริมฝีปาก และใบหน้า จะไม่เกิดขึ้น   นี่นับจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่พึงสังเกต

   อีกสาเหตุ หนึ่งให้เป็นสาเหตุที่ ๒ พิจารณาจากเวลาเป่าขลุ่ย นั้น  แม้ปากจะเพียงแค่จดส่วนที่เรียกว่า  “ดากขลุ่ย” เป็นเหตุให้รูปปากไม่แบนเรียวแน่นอน  อาการที่แสดงออกต่างกันในทางตรงข้าม จากหน้ายิ้มจะเป็นหน้าดุ  ปากหวอห่อกลม ตาพอง ตรงนี้น่าจะเป็นข้อสังเกตที่ทำให้เสน่ห์ของผู้เป่าเครื่องดนตรี สองชนิด แตกต่างกัน

   ส่วนสาเหตุที่สาม  เท่าที่พยายามติดตามฟังเพลงที่เป็นเรื่องราวของขลุ่ย ล้วนแต่เป็นสำเนียงที่ชวนวิโยคโศกครวญ หวนโหยมากกว่าความสุข   เพราะเสียงขลุ่ยจะเป็นเสียงกลมๆ  ไม่แบนเหมือนปี่นี่กระมังที่ท่านจินตกวีเอกของไทย และของโลกคงจะพินิจแล้วพิเคราะห์อีกจนตกผลึก จึงสร้างเป็นเงื่อนงำแฝงไว้ในความสนุกสนานทั้งน้ำเสียง  อารมณ์ และเนื้อความ  ท่านที่ชื่นชมในบทเพลงเท่าที่ยังพอจำได้ว่า เพลงที่กล่าวถึงขลุ่ยที่มีอยู่หลากหลายนั้นล้วนโศก เศร้า ระทม คร่ำครวญหวนหาทั้งสิ้น เช่น “เสียงครวญเสียงขลุ่ย” โดยการถ่ายทอดของคุณสุเทพ วงศ์กำแหง “เสียงขลุ่ยระทม” ที่คุณสมยศ ทัศนพันธ์ขับร้อง “ขลุ่ยสัญญา” ขับร้องโดยก้าน แก้วสุพรรณ ฯลฯ เนื้อหาสาระจะเป็นอย่างไร น่าจะได้ลองติดตามฟัง ไพเราะแต่เคล้ากลิ่นอายของความว้าเหว่ เหงา และถ้าเมื่อใดมีเสียงขลุ่ยคลอตามดูเหมือนจะยิ่งตอกย้ำหนักเข้าไปอีก นี่แหละความแปลกของเครื่องเป่าระหว่างขลุ่ยกับปี่ที่คึกคักแต่หวาน

   สำหรับนัยแฝงของท่านสุนทรภู่นั้น น่าจะมองในเชิง อุปลักษณ์(Metaphor) มากกว่าเชิงอุปมาและหากไม่เจาะลึกให้เข้าในเนื้อ หรือถ้าเป็นเม็ดไม่ขบให้แตกพอเบาะๆ เบาๆ แล้ว นิทานเรื่องนี้  ก็คงจะเป็นเพียงเรื่องประโลมโลกเท่านั้น ยุคหลังจึงกล่าวกันว่า“เสียเวลาเรียนไปทำไมต้องเรียนวรรณกรรมซีไรท์ซึ่งเป็นของร่วมสมัยจึงจะเป็นคนทันยุคทันสมัย  แต่อย่างไรก็ตามขึ้นชื่อว่า หนังสืออ่านแล้วได้ประโยชน์ทั้งนั้น  หากตาปิด ปากก็ยังไม่เปิด ยิ่งหูไม่สดับศัพท์สำเนียงใดๆ แล้วปัญญาจะเกิดได้อย่างไร หนังสือทุกเล่มมีไว้เพื่ออ่านตื้นบ้าง ลึกบ้าง บางเล่มต้องมองผ่านแว่นขยาย นี่เรื่องจริงและแม้แต่ในคำคมของจีนยังกล่าวว่า

ถ้าโลกนี้ไม่มีเหล้าก็แล้วไปเถอะ แต่เมื่อโลกนี้มีเหล้าเราก็จงดื่ม

ถ้าโลกนี้ไม่มีผู้หญิงก็แล้วไปเถอะ แต่เมื่อโลกนี้มีผู้หญิงเราก็จงรัก

ถ้าโลกนี้ไม่มีเหล้าก็แล้วไปเถอะ แต่เมื่อโลกนี้มีเหล้าเราก็จงดื่ม

เมื่อโลกนี้ไม่มีหนังสือก็แล้วไปเถอะ แต่เมื่อโลกนี้มีหนังสือเราก็จงอ่าน

   ความจริงอยากจะย้ำว่า นิทานใช่แต่เพียงเรื่องเล่าสนุกปาก สนานอารมณ์ สนองความเงียบในยามว่าง ๆ ที่ไม่รู้จะคุยเรื่องอะไรกัน  แต่แท้จริงแล้ว รากเหง้าของคำว่านิทาน มาจาก  “เหตุ”  ท่านต้องตีหรือทุบคำว่า เหตุ หรือ นิทานให้แตก ที่โบราณว่า ต้องขบให้แตกนั่นแหละ แล้วจึงจะรู้ “รสชาด”(อิ่มเอมด้วยสีสันทางความคิด)ของถ้อยคำที่อยู่ในปาก

   เพื่อความเข้าใจในเจตนาของผู้วิเคราะห์ครั้งนี้ยังมีข้อสนับสนุนทั้งในทางหลักภาษา ที่ต้องการจะชี้ ย้ำให้เป็นส่วนประกอบที่ชัดเจนยิ่งขึ้น คงต้องนิยามคำว่า “ภาษา” นี่ต้องเพ่งเล็งที่  เสียง  พูด หรือ  พวก เป็นเรื่องของการตีความบนฐานแห่งความเป็นจริงตามธรรมชาติของมนุษย์ นับเป็นอัจฉริยภาพของมนุษย์ที่พินิจพิจารณ์มาแล้วก่อนกำหนดใช้ มนุษย์อยู่กับรอยยิ้มย่อมนับว่าประเสริฐ  รอยยิ้มเป็นเครื่องประเทืองใจมนุษย์ได้อย่างยอดเยี่ยม

   มนุษย์ก็จะดูดี มีค่าความเป็นมนุษย์ นอกจากจะยืนทรงตัวอยู่บนขาทั้งสองข้าง แขนเหยียดตรงลงข้างลำตัวแล้ว  รูปปากของมนุษย์ยามปกติจะอยู่ในลักษณาการที่แบนราบ ริมฝีปากชิดเรียวโค้งขึ้น ไม่เรียวคว่ำลง ต้องปฏิบัติ หรือลองทำดู   จะเปิดกว้างหรือแคบขึ้นอยู่กับภาวการณ์ที่จะต้องใช้งาน เมื่อใดท่านปิดปากตาท่านจะเปิด เมื่อท่านเงยหน้าแล้วตาของท่านจะปิด ส่วนปากจะเปิดเองโดยอัตโนมัติ จึงมีสำนวนว่า“เงยหน้าอ้าปาก” แต่ทุกวันนี้ เรา “ลืมตาอ้าปาก”เราจึงหายใจไม่ออก อึดอัด หน้าตาไม่สบายแถมไม่สุภาพอีกด้วย

   ภาษากำหนดโดยธรรมชาติ ลองสังเกตคำคู่ของภาษาเรา มีลักษณะของคำ ในทุกสถานการณ์ จะจบลงด้วยรอยยิ้มทั้งสิ้นและก็เป็นที่น่าแปลก คำคู่จะเริ่มที่สระหลัง แล้วจบลงด้วยสระหน้าในระดับเดียวกัน  ลองทำเสียงและวิเคราะห์รูปปากของท่านทั้งตอนเริ่ม และตอนปิดเสียง พร้อมๆ กับดูตารางสระประกอบ(หน้า 17) ก็จะชัดเจนขึ้น“จู้จี้    จุกจิก   บุบบิบ  บ๊งเบ๊ง   โทงเทง   โย้เย้     โลเล    จ้อกแจ้ก  จอแจ  หงุดหงิด เหยาะแหยะ งอแง  จะเห็นว่าทุกคำล้วนจบลงด้วยรอยยิ้ม ลองพูดคำว่า โมโห  นั่งจ๋อหวอ  เย้โย้ซึ่งเป็นคำที่จบลงด้วยสระหลัง  ปากกับตาของผู้พูดจะอยู่ในลักษณะใด

   บรมครูสุนทรภู่เขียนเรื่องนี้ ท่านมีเจตนาสำคัญเป็นอันดับแแรก ด้วยชื่อตัวละครตัวเอก ว่า “อภัยมณี”  ท่านสมาชิกลองแปลให้งามซิ  อภัย  ไม่โทษไม่โกรธ ยกให้   มณีคือ แก้ว เพชร รัตนชาติ ลองหาคำมาทดแทดแทนแล้วจะพบว่าเรื่องนี้สมควรเป็นนิทานอย่างแท้จริง  หรือเป็นเพียงเขียนขึ้นเพื่อประทังชีวิตของท่านสุนทรภู่เมื่อยามตกยาก แต่สำหรับผู้วิเคราะห์มั่นใจอย่างมั่นคงว่า สุนทรภู่ตั้งใจจะประทังชีวิตคนทั้งโลก ให้รู้ว่า“เมื่อใดรู้รักรู้อภัยย่อมสดใสดุจได้เพชรนิลจินดาดังความตอนที่พระอภัยมณีตอบข้อสงสัยของสามพราหมณ์ จุดนี้ต้องถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่ท่านบรมครูผู้กร้านโลกได้เห็นอย่างทะลุปรุโปร่ง

อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป   ย่อมใช้ได้ดังจินดาค่าบุรินทร์(๑ )

ถึงมนุษย์ครุฑาเทวราช   จัตุบาทกลางป่าพนาสิน

แม้ปี่เราเป่าไปให้ได้ยิน   ก็สุดสิ้นโทโสที่โกรธา( ๒ )

ให้ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ( ๓ )   อันลัทธิดนตรีดีนักหนา

ซึ่งสงไสยไม่สิ้นในวิญญา   จงนิทราเถิดจะเป่าให้เจ้าฟัง

(๒๕๐๕ :  ๑๑)

นี้มีคำสำคัญ ให้พิจารณาตีความจาก

(๑)  ใช้ได้ดังจินดา  นั้นต้องหมายว่า ดนตรีใช้ได้ดังใจนึก

(๒)  สิ้นสุดโทโสที่โกรธา  ต้องหมายว่า  ปี่สร้างสรรค์เสียงดนตรีให้รื่นรมย์  และ

(๓) ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ หมายถึง การโอนอ่อนผ่อนปรนย่อมหลับไปได้อย่างสบาย

ดังที่กล่าวแล้วในตอนต้นว่า อย่าเชื่ออย่าปักหรือปลงใจเชื่อในทันที ท่านนักวิเคราะห์ที่รัก  กรุณารวบรวมให้ครบจบกระบวนปี่  ที่พระอภัยฯ ใช้ทุกครั้ง แล้วท่านจะพบคำตอบที่แท้จริง   ไม่ว่าตอนที่ใช้ปี่สยบนางผีเสื้อสมุทรก็ดี   ใช้ในการรบทัพจับศึกก็ดี  เพลงปีมิได้เกรี้ยวกราด  หากแต่ว่า  หวานจนคนฟังลืมสติ  แต่ไม่เสียสติแต่ประการใด

ท่านสุนทรภู่ยังเสริมเจตนาของท่านไว้ในตอนหนึ่งเพื่อยืนยันว่าปี่ไม่ใช่อาวุธที่ใช้เพื่อการประหัตประหาร ตั้งแต่เริ่ม แต่เนื่องจากความเป็นนิทานผู้อ่านจึงมุ่งไปที่ความสนุกมากกว่า

 

ถ้าแม้ว่าข้าศึกมันโจนจับ จะรบรับสารพัดให้ขัดสน(๑)

เอาปี่เป่าเล้าโลมน้ำใจคน ด้วยเล่ห์กลโลกาห้าประการ(๒)

คือรูปรสกลิ่นเสียงเคียงสัมผัส เกิดกำหนัดลุ่มหลงในสงสาร

ให้ใจอ่อนนอนหลับดังวายปราณ จึงคิดอ่านเอาไชยเหมือนใจจง

(๒๕๐๕  หน้า  ๖)

บทวิเคราะห์  สุนทรภู่แสดงเจตนาถึงการใช้สติปัญญาเป็นอาวุธได้โดยผ่านการเจรจาของตัวละคร

ถ้าแม้ว่าข้าศึกมันโจนจับ  จะรบรับสารพัดให้ขัดสน(๑)

นัยที่(๑) ต้องพิจารณาในวรรครับว่า พระอภัยมณีชี้แจงถึงการวางแผนเท่านั้น ยังมิได้เกิดการรบแต่อย่างใด เมื่อพิจารณาจากคำว่า “ถ้าแม้ว่าข้าศึกมันโจนจับ” และก็ไม่เห็นความจำเป็นที่จะใช้การรบพุ่งใดๆ ทั้งสิ้นดังความในวรรครับ

นัยที่(๒) แสดงให้เห็นว่าพระอภัยฯ ก็ยังยืนยันที่จะใช้ “ปี่” เป็นเครื่องมือในการระงับศึกได้โดยไม่เสียเลือดเนื้อแต่อย่างใด เพราะเพลงจะเป็นสื่อให้เข้าถึงจิตใจ ปรับเปลี่ยนความโกรธเป็นความรักได้แน่นอน ยืนยันได้จากวรรคที่กล่าวว่า “เอาปี่เป่าเล้าโลมน้ำใจคน

        บทกลอนที่ยกตามมาข้างล่างนี้ ก็เป็นอีกหนึ่ง คำยืนยันว่า อาวุธอันวิเศษสุดที่ท่านบรมครู “สุนทรภู่” หยิบยื่นให้นำไปใช้โดยแฝงมากับนิทานเรื่องนี้นั้นใช้ได้ในทุกสถานการณ์ นั่นเอง


วิเวกหวีดกรีดเสียงสำเนียงสนั่น
ให้หวิววาบซาบทรวงต่างง่วงงง
จึงทรงปี่เป่าห้ามปรามณรงค์
 คนขยั้นยืนขึงตะลึงหลง
 ลืมณรงค์รบสู้เงี่ยหูฟัง

(๒๕๐๕  : ๕๑๒ – ๕๑๓)


ดังได้กล่าวแล้วในช่วงของคำว่า “นิทาน” นั้น หมายถึงเรื่องราวที่ผูกขึ้นอันเนื่องมาแต่เหตุ  ผู้วิเคราะห์เห็นควรที่จะอ้างอิงเหตุการณ์สืบเนื่องจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่ทำสงครามกับพม่าอันสร้างความตื่นกลัวได้อย่างยิ่ง คือ เรื่องศึกเก้าทัพ ซึ่งพม่ายกมาทุกทิศทุกทาง  นับว่าครั้งนั้นสร้างความเครียดให้ชาวไทยได้มาก  ท่านบรมครูจึงน่าจะเห็นเป็นโอกาสสร้างรอยยิ้มให้บังเกิดขึ้นโดยทั่วถ้วน   

   ดังนั้น อาจกล่าวโดยสรุปสำหรับช่วง “อาวุธของพระอภัยมณี”นี้ว่า ท่านผู้รจนาเรื่องนี้ ท่านมีนัยแฝงไว้ในอลังการของจินตนาการอย่างแยบยลในวาทะอย่างชัดเจนว่า “ปี่ จึงเป็นอุปลักษณ์ของรอยยิ้มอย่างแท้จริง”

   คำว่า“ปี่  คือ รอยยิ้มที่สร้างรอยพิมพ์ใจ ทั้งคนที่ถือ คนที่เห็นและคนที่ได้ยินเสียงปี่ ในวินาทีนั้นแล้ว  ยิ้มเถอะ ยิ้มให้เปื้อนโลก สุนทรภู่ท่านคงต้องการจะบอกว่า “ยิ้ม เป็นอาวุธสำคัญของคนไม่ต้องซื้อต้องหา ยิ้มมีติดตัวกันทุกคน แล้วทำไมไม่ใช้ให้เป็นประโยชน์”   มีเพลงอยู่เพลงหนึ่งที่คนไทยเลิกร้องแล้ว หรือเพราะเห็นว่ามีน้อยสาระเกินไปก็ได้ เพลงนั้นชื่ออะไร บอกไม่ถูก เคยได้ยินมาแต่เด็กจำได้ว่าคนไทยจะร้องในวันปีใหม่กันคึกคักและครื้นเครง  ขออภัยด้วย หากว่าเนื้อเพลงผิดเพี้ยนไป

“ยิ้มเถิด  ยิ้มเถิด  ยิ้มแย้ม  ยิ้มแย้มแจ่มใส  ทุกสถาบันไป  ขอให้ไทยสวัสดี

ยิ้มเถิด ยิ้มเถิด  หน้าอิ่ม  ยิ้มแย้มแจ่มใส   ยิ้มให้กันเรื่อยไป แล้วชาติไทย..จะ ส..วัส…ดี”……”

ก่อนปิดตอนก็พอดีเปิดหนังสือของท่านเจ้าพระคุณพระพุทธวรญาณ(มงคล วิโรจโน)ท่านว่าไว้ในตำราสร้างเสน่ห์ ซึ่งหลวงพ่อเนื่อง จังหวัดระนอง ท่านบอกว่า เบื้องต้นให้กำจัดหลวงพ่อทั้ง ๔ เสียก่อนคือ

หลวงพ่อบูด(๑) หลวงพ่อเบี้ยว(๑) หลวงพ่อบึ้ง(๑) และ หลวงพ่อเบ้(๑) แล้วให้ต้อนรับหลวงพ่อทั้ง ๔  คือ

หลวงพ่อยิ้ม(๑) หลวงพ่อแย้ม(๑) หลวงพ่อแจ่ม(๑)  หลวงพ่อใส(๑)”

บูด เบี้ยว บึ้ง เบ้สระ /อู/  / อึ/  /เอีย /  ไม่ต้องพูดเพียงแค่นึกถึงก็  บูด เสียแล้ว

โดยเฉพาะ “เบี้ยว” /เอีย / ทำท่าจะยิ้มเพราะเริ่ม /อี/ ตามด้วย /อา/ แถมปิดด้วย  /ว/

ลองทำท่าออกเสียงดู และเมื่อเปรียบเทียบกับ  ยิ้ม  แย้ม  แจ่ม  ใส สวย

สุนทรภู่ท่านไม่ได้สั่งโดยตรงแต่ท่านแฝงในนิทานที่ให้ทั้งความสนุกเสนาะ

และเพลิดเพลินโดยใช้คำว่า  “ปี่”  โดยที่อ่านเอาเรื่องก็สนุกไปแบบหนึ่ง แต่

เมื่อใดที่ผู้อ่านแอบตั้งคำถามลึกๆ ว่า “ปี่” นั้นสำคัญไฉน ย่อมก่อให้เกิดการ

วิเคราะห์เจาะลึกเข้าไปถึงเจตนาของท่านย่อมสร้างปัญญาให้เกิด นับว่าท่าน

บรมครูผู้นี้ได้สร้างวิสัยทรรศน์อย่างมีกุศโลบายอันแยบยลทีเดียว

 

ยิ้ม   ยิ้ม ยิ้ม  ยิ้มสร้างสันติสุข สวัสดี ดี  ดี…ปราชญ์ท่านใด

ท่านผู้อ่านที่รัก ถ้าหากว่าแนววิเคราะห์นี้ไปพ้อง หรือไปขัดกับความคิด

ความรู้ของปราญช์ท่านใดก็ต้องขออภัยอย่างสูง มิได้ลอกเลียนหรือ

จงใจขัดแย้งความคิดของท่าน หากแต่เพราะเพิ่งเริ่มหัดคิด  หัดเขียน และ

หัดวิเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางในการวิจัยขั้นสูงที่จะได้ตำตอบที่แท้จริงต่อไป

“””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””

เอกสารอ้างอิง

พระพุทธวรญาณ. (มงคล  วิโรจโน)  เก็บเล็กประสมน้อยฉบับสมบูรณ์ วัประยุรวงศาวาสวรวิหาร  ๒๕๔๗.

วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.  ประวัติวรรณคดีไทย,  มปพ.

ชวลิต  ผู้ภักดี.  ภาษาศาสตร์เบื้องต้น  เอกสารประกอบการสอน ภาควิชาภาษาไทยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, ๒๕๓๙.

ชวลิต  ผู้ภักดี.  ภาษาเฉพาะกิจ  ภาควิชาภาษาไทย  คณะมนษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, ๒๕๓๙.

ณรุทธ์  สุทธิจิตต์.  สังคีตนิยม  สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๗.

พรรัตน์  ดำรุ่ง.  ละครประยุกต์ การใชละครเพื่อการพัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๗.

http://sites. Google.com.> site< hom. เครื่องดนตรีไทยประเภทเป่า,  ๒๕๖๐.

 

………………………………………………..

“มหาบุรุษรัตนโนดม” บทเพลงเทิดพระเกียรติ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

 

 

การวิจัยเรื่อง “ มหาบุรุษรัตนโนดม  บทเพลงเทิดพระเกียรติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ” เป็นงานวิจัยสร้างสรรค์ผลงานด้านการประพันธ์เพลง   เพื่อเป็นการอนุรักษ์บทเพลงไทยดิม   และเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติในช่วงปีวันครบรอบวันพิราลัย   ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์   มีท่วงทำนองดนตรีไทยผสมผสานกับดนตรีคลาสสิก

ผลงานการวิจัยเรื่องนี้   ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการนานาชาติ  “ ดนตรีคลาสสิกของภูมิภาคอาเซียนบนเวทีโลก “

 


 

“มหาบุรุษรัตนโนดม” บทเพลงเทิดพระเกียรติ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

Mahaburutratanodam” the Symphinic Poem of Somdet  Chaopraya‘s Honor

 

เอกชัย   พุหิรัญ

วิทยาลัยการดนตรี   มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

             การวิจัยเรื่อง มหาบุรุษรัตนโนดม  บทเพลงเทิดพระเกียรติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อสร้างสรรค์ ผลงานนวัตกรรมด้านการประพันธ์เพลง  เพื่อเป็นการอนุรักษ์บทเพลงไทยเดิม โดยใช้วิธีการนำบทเพลงไทยเดิมมาปรับแต่งและเรียบเรียงให้เป็นลักษณะดนตรีสากล และเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติในช่วงปีวันครบรอบวันพิราลัย ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์  บทเพลงเทิดพระเกียรติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์นี้ เป็นงานสร้างสรรค์เกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านดนตรีคลาสสิกคุณค่าทางภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ทางศิลปะด้านดนตรีไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติที่สังเคราะห์ออกมาเป็นผลงานด้านการประพันธ์เพลงในรูปแบบซิมโฟนิกโพเอ็มเพื่อสร้างความตระหนักรู้ปลูกจิตสำนึกเกี่ยวกับการสืบสานและเผยแพร่ดนตรีสำเนียงไทยผสมผสานกับดนตรีคลาสสิกสู่สากล ให้เกิดความภาคภูมิใจทางวัฒนธรรมและดนตรีไทยที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เพื่อสร้างความเข้าใจที่มีต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม

 

             ส่วนที่ 1 “มหาบุรุษรัตโนดม” แนวคิดของการประพันธ์เพลงนี้เป็นวิธีการประพันธ์ภายใต้กรอบดนตรีคลาสสิคของดนตรีคลาสสิกที่ผนวกรวมเข้ากับสำเนียงดนตรีไทย ดนตรีตะวันออกกลางและดนตรีตะวันตกและนำเทคนิคดนตรีคลาสสิกศตวรรษที่ยี่สิบ สอดแทรกเข้าไว้ในบทประพันธ์เพลง ทฤษฎีที่ใช้ศึกษาประกอบด้วยการศึกษาดนตรี บันไดเสียงประสม (Mixed Scale) ระหว่างดนตรีไทยเดิมกับดนตรีตะวันตก อัตราจังหวะประสม (Mixed Meter) โพลีริธึม (Polyrhythm) โพลีโทนาลิตี (Polytonality) การคัดทำนอง (Quotation) และศึกษาผลงานและแนวคิดของนักประพันธ์ท่านอื่นๆ เป็นบทเพลงรูปแบบซิมโฟนิคโพเอ็มบรรยายเรื่องราว โดยมีการนำทำนองเพลงไทยเดิมมาเป็นพื้นฐานในการประพันธ์ โดยใช้เพลง “พระอาทิตย์ชิงดวง” เป็นวัตถุดิบหลักที่นำมาขาย มีการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีไทยกับดนตรีตะวันตก ใช้การปรับเปลี่ยนเทคนิคการประพันธ์เพลง เนื่องจากในบทประพันธ์เพลงไทยเดิมทั่วไปจะมีลักษณะพื้นผิวแบบ Heterophonic และการพัฒนาบทเพลงในลักษณะยึดทำนองหลักเป็นแกนในการไปสร้างทำนองแปรในแต่ละเครื่องดนตรี ผู้ประพันธ์ได้ผสมการใช้พื้นผิวแบบ Biphonic โดยมีการใช้เทคนิค Drone ในแนวเสียงต่ำ โดยมีการนำทำนองเพลงไทยเดิมมาเป็นพื้นฐาน บรรเลงโดยวงออร์เคสตรา

 

วีดีโอเพลง “มหาบุรุษรัตนโนดม” สำหรับวงออร์เคสตรา

 

             ส่วนที่ 2 เป็นการทดลองนำเทคนิคการประพันธ์ของดนตรีตะวันตกมาผสมผสานกับดนตรีไทย เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ของเชื้อชาติกำเนิดและการติดต่อปฏิสัมพันธ์กันระหว่างท่านกับชาวต่างชาติ ผู้ประพันธ์ได้ทดลองสร้างรูปแบบการประพันธ์แบบใหม่ที่เรียกว่า Hexagonal Form เฮกซาโกเนล ฟอร์ม คื สังคีตลักษณ์ในลักษณะ 6 ตอน ที่มีความสมดุลกัน โดยมีลักษณะผสม รูปแบบ รอนโดฟอร์ม วาริเอชั่นฟอร์ม และเซฟชั่นฟอร์ม และมีแกนย้อนกลับในลักษณะบรรเลงถอยหลังทับซ้อนกับเพลงเดิมในท่อนที่สองเพื่อเป็นการขยายบทเพลงไทยเดิมรูปแบบใหม่ที่ผู้ประพันธ์ทดลองสร้างขึ้นมา การใช้โมดและบันไดเสียงโฮลโทน ซึ่งเป็นบันไดเสียงที่มีลักษณะการแบ่งเสียงเท่าๆ คล้ายๆ กับบันไดเสียงของไทยแต่ระดับเสียงที่แท้จริงยังไม่เท่ากัน เนื่องจากบันไดเสียงของไทยแบ่งออกเตฟเป็น 1 ส่วนเท่าๆกัน ส่วนบันไดเสียงโฮลโทนแบ่งเป็น 6 เสียง เท่าๆกัน การใช้บันไดเสียงเพนตาโทนิค โดยใช้การประสานเสียงแบบการประกอบขั้นคู่ซ้อนกันตามรูปแบบของบันไดเสียงที่ใช้บรรเลงโดยวงแชมเบอร์

กระบวนการ

             โดยปกติลักษณะของท่อนเพลงจะมีลักษณะอยู่ในแนวราบ การสร้างงานของผู้ประพันธ์ส่วนใหญ่เป็นในลักษณะ 2 มิติ ผู้ศึกษาจึงได้ทดลองการวางรูปแบบสังคีตลักษณ์รูปแบบใหม่ที่พัฒนามาจาก วาริเอชั่น และ เซกชั่น ฟอร์มบนพื้นผิวแบบ เฮทเธอโรโฟนีโดยผู้ประพันธ์แต่งบทเพลงในท่อนแรก ซึ่งเรียก ท่อนปฐมก่อน จะสั้นหรือยาวก็ได้ ที่ศึกษาทดลองได้ใช้เพลงไทยเดิม 1 ท่อน 8 ห้องเพลงจากนั้นให้ทำเป็นรูปแบบวาริเอชั่นอีก 5 แบบ ในรูปแบบใดก็ได้ แต่ข้อกำหนดมีอยู่ว่าต้องอยู่บทเวลาที่เท่ากัน เพราะตอนบรรเลงจะบรรเลงไปพร้อมๆกัน

ผู้ศึกษาได้ทดลองนำบทเพลงไทยเดิมสั้นๆ ประมาณ 8 ห้องเพลง เริ่มการสร้างให้มีองค์ประกอบดนตรี ทั้ง วลี ประโยคเพลง ประโยคถาม – ตอบ ไคลแมกซ์ เคเดนซ์ ต่างๆ เป็น 1 เซกชั่นแล้วสร้าง วาริเอชั่น อีก 5 เซกชั่น โดยจำกัดห้องเพลง และความยาวต้องเท่าๆกัน ได้ทดลองการวางรูปแบบสังคีตลักษณ์รูปแบบใหม่ที่พัฒนามาจาก วาริเอชั่น และ เซกชั่นฟอร์ม บนพื้นผิวแบบ เฮทเธอโรโฟนี จากนั้นนำวาริเอชั่นมาทับซ้อนกับแบบมีหลักการ จะได้เซกชั่นเพิ่มมาอีก 5 เซกชั่น รวมเป็น 6 เซกชั่น แล้วในแต่ละเซกชั่นที่นำมาซ้อนจะสร้างแกนเพลงโดยนำแนวทำนองมาประพันธ์แบบถอยหลังจากห้องสุดท้ายไปห้องแรกในแต่ละเซกชั่น จะทำให้เกิดแกนในมิติที่ 3 ซึ่งสร้างจากตัวของบทเพลงเอง

ผลการวิจัย

             Hexagonal Form ซึ่งเป็นสังคีตลักษณ์ในลักษณะ 6 ตอน ที่มีความสมดุลกัน โดยมีลักษณะผสมรูปแบบ รอนโดฟอร์ม วาริเอชั่นฟอร์ม และ เซกชั่นฟอร์ม และมีแกนย้อนกลับในลักษณะมิติที่ 3

 

             ส่วนที่ 3 “ชงโค” สำหรับวงซิมโฟนิคแบนด์ ซึ่งจะเป็นการบรรยายเกี่ยวกับการเชิดชูเกียรติในสมัยปัจจุบัน โดยใช้เพลง “ช่อชงโค” ที่เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มาเป็นวัตถุดิบในการประพันธ์ในรูปแบบวงซิมโฟนิคแบนด์ที่มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่ากับเครื่องกระทบเป็นหลัก ซึ่งจะคล้ายกับรูปแบบวงเดิมที่บรรเลงเพลงช่อชงโค ที่บรรเลงจากวงบิ๊กแบนด์ เพลงนี้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย ผู้ประพันธ์ได้นำมาเรียบเรียงประพันธ์ขึ้นใหม่ โดยนำเอาโมทีฟบางส่วนของประโยคเพลง มาขยายให้เป็นลักษณะเซกชั่นเนลฟอร์ม ที่ฟังคล้ายๆรอนโดฟอร์ม ในส่วนท้ายท่อนนี้จะได้ยินประโยคเต็มของบทเพลง ช่อชงโค ทั้งเพลง บรรเลงโดยวงซิมโฟนิคแบนด์

วีดีโอเพลง “ชงโค” สำหรับวงวินด์ซิมโฟนี

 

การเผยแพร่เพิ่มเติม

วีดีโอเพลง “เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์​” สำหรับวงบิ๊กแบนด์(รายการโทรทัศน์ช่อง MONO 29)

 

 

 

 

 

 

กระบวนท่ารำ ชุด สำมนักขาชมไพร

สิริพิมพ์ พุ่มไสว และ ณัฏฐดนัย  ห้องสวัสดิ์ นิสิตสาขาวิชาศิลปกรรมศึกษา

แขนงวิชานาฏศิลป์ สารนิพนธ์เชิงวิจัย

โดยการควบคุมของ

อาจารย์ ดร. ปัทมา วัฒนพานิช และอาจารย์เตชสิทธิ์ รัศมีวงศ์พร 

ที่ปรึกษาพิเศษได้แก่

ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก และอาจารย์ประพัฒน์พงศ์ ภูวธน

ใน

“กระบวนท่ารำ ชุด สำมนักขาชมไพร”

 


 

กระบวนท่ารำ ชุด สำมนักขาชมไพร

The Study of Dancing Postures on Surpanakha Praising Forest

สิริพิมพ์  พุ่มไสว / Siripim Pumsawai

และณัฏฐดนัย  ห้องสวัสดิ์ / Nutthatadhanai Hongsawat

บทคัดย่อ

       การวิจัยเรื่อง กระบวนท่ารำนางสำมนักขา ในการแสดงโขน ชุด สำมนักขาชมไพร กรณีศึกษาท่ารำของดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก ในครั้งนี้ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อมุ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของกระบวนท่ารำของนางสำมนักขา ในการแสดงโขน ชุดสำมนักขาชมไพร การนำไปใช้ องค์ประกอบทางการแสดง ตลอดจนวิเคราะห์รูปแบบของกระบวนท่ารำ หลักและกลวิธีในการรำตีบทของนางสำมนักขา โดยมุ่งเน้นกระบวนท่ารำของ ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก เป็นหลักในการวิเคราะห์ ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร คำบอกเล่า บุคคล งานศิลปะ โดยใช้วิธีค้นคว้าข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนา การสังเกตการณ์รวมทั้งการฝึกปฏิบัติด้วยตนเองซึ่งมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินการวิจัย ตั้งแต่ เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2556 ถึง เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ จึงได้เห็นถึงความสำคัญของนางสำมนักขาที่มีต่อการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์จึงได้รวบรวมข้อมูลและศึกษากระบวนท่ารำที่มีลีลาของนางยักษ์ที่มีความงดงามตามแบบแผนในราชสำนักและอีกทั้งยังเป็นการสืบทอดการรำ ชุด สำมนักขาชมไพร เพื่อเป็นการอนุรักษ์กระบวนท่ารำสำมนักขาชมไพร ให้คงไว้เป็นหลักฐานทางวิชาการในการค้นคว้าวิจัยเป็นองค์ความรู้ต่อไป

       จากการวิจัยสามารถอภิปรายผลได้ว่า มีการวิเคราะห์รูปแบบของกระบวนท่ารำ การใช้ลีลาอารมณ์ วิเคราะห์ลักษณะความแตกต่างของเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบการแสดง รวมทั้งการใช้พื้นที่ในการแสดง ชุดสำมนักขาชมไพร และพบว่ามีข้อมูลที่ต้องการจะเสนอแนะให้ผู้อื่นทำการศึกษาเพื่อเติม เช่น กระบวนท่ารำของนางอดูลปิศาจ นางผีเสื้อสมุทร นางวรณี และนางกากนาสูร เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาข้อมูล โขนตัวนาง ในรามเกียรติ์

 

Abstract

       The study of Dancing Postures on Surpanakha in the Khon performance, the episode of Surpanakha Praising Forest: A case study of dancing postures according to Dr. Pairot Thongkhamsuk is qualitative research aimed at realising the importance of dancing postures of Surpanakha in the Khon performance in the episode of Surpanakha Praising Forest; applying components of performance; as well as analyse the styles of dancing postures. The principles and strategies of the dance of Surpanakha are focused on dancing postures of Dr. Pairot Thongkhamsuk for analysis. Furthermore, the researcher also studied and searched for information from many different sources, such as documents, anecdata, people, art work by searching, interviewing, having conversation, observing, and self-practising. The procedure and methodology starts from June 2013 to October 2014, and the data show the importance of Surpanakha towards the Khon performance in Ramakian. Therefore, the researcher had collected the data and studied the dancing postures that consist the styles of Demon that is magnificent with regard to the Royal tradition, and also carry on the dance on Surpanakha Praising Forest in order to maintain the dancing postures of Surpanakha Praising Forest and to be academic evidence for the next research.

       From the research, it can be discussed that there was the analysis of dancing postures, style and emotion, the differences of costumes, props of the performance, and area used for performing Surpanakha Praising Forest. It found that there is some useful information needed to suggest other people who are interested in to study further to be a guideline of the study of female Khon in Ramakian, such as dancing postures of Devil Adul, Nang Phisua Samut (Ocean Giant), Nang Vorani, and Nang Kaknasul.

การพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย

การพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย

Development of Classroom Action Research Practice Model to Enhance Classroom Action Research Competency for Early Childhood Education Program’s Student Teachers

รัศมี ตันเจริญ*

*สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

*Corresponding author. Email : [email protected]

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลการใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติ การวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการ ในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย โดยมีวิธี ดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอนคือ 1) สร้างรูปแบบ และทดลองประเมินโครงร่างรูปแบบ 2) สร้างเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ 3) ทดลองนำร่องและตรวจสอบคุณภาพ รูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 4) ทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่างในมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 4 แห่ง และ 5) ปรับปรุงและจัดทำรูปแบบให้เป็นฉบับสมบูรณ์

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

            1. ได้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยที่เสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติ การในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย 3 ด้าน คือ 1) ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 2) ทักษะการวิจัยปฏิบัติการ ในชั้นเรียน และ 3) เจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นรูปแบบที่ประกอบ ด้วยสาระซึ่งจัดเป็นชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 7 ชุด คือ ชุดที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ชุดที่ 2 การกำหนดปัญหาการวิจัยปฏิบัติการใน ชั้นเรียน ชุดที่ 3 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการกำหนดนวัตกรรม

            สำหรับการแก้ปัญหา ชุดที่ 4 การวางแผนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและการเขียน โครงร่างการวิจัย ชุดที่ 5 การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาและการสร้างเครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ชุดที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล และชุดที่ 7 การสรุปผลการวิจัยและการเขียนรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และ ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การให้ความรู้ก่อนการลงมือ ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (Informing = I) ขั้นที่ 2 การวางแผนการวิจัย (Research Plan = R) ขั้นที่ 3 การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist = P) ขั้นที่ 4 การนิเทศแบบ ให้คำชี้แนะ (Coaching=C) ขั้นที่ 5 การฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (Practice = P) ซึ่งผลการตรวจสอบคุณภาพโดยการทดลองนำร่อง พบว่า เป็นไปตามสภาพบ่งชี้การ บรรลุเป้าหมาย และผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องขององค์ ประกอบของโครงร่างรูปแบบว่าอยู่ในระดับเหมาะสมมากและสอดคล้องกัน และประเมิน ชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน ว่าอยู่ในระดับเหมาะสมมากและมีองค์ประกอบ สอดคล้องกัน

            2. ผลการใช้รูปแบบ พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย มีสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 มีสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านความรู้ และด้านเจตคติที่มี ต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีสมรรถนะ ทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงกว่า เกณฑ์ที่ก􀄬ำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อ การใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

คำสำคัญ: พัฒนาสมรรถนะ วิจัยในชั้นเรียน การศึกษาปฐมวัย

 

Abstract

            The purposes of this research were to develop a model and study the outcome of a classroom action research practice model to enhance classroom action research competency for Early Childhood Education Program’s student teachers. The research procedures were composed of 5 steps; namely, 1)construct the framework and evaluate the constructed model 2) construct the instrument incorporated with the model usage, 3) conduct a pilot study and have the model validated by the experts, 4) try out the constructed model with the samples from 149 4 Rajabhat University student teachers, and 5) revise and finalize the complete model. The findings were as follows:

            1. The gained classroom action research practice model to enhance classroom action research competency for Early Childhood Education Program’s student teachers developed the student teachers in 3 areas: 1) knowledge in a classroom action research, 2) skills in conducting a classroom action research, and 3) the attitudes towards a classroom action research. The model was composed of 7 practice modules for a classroom action research. The first module : an introduction to a classroom action research ; the second module : identification of a classroom action research statement problems; the third module : review of related literature and specify the innovation for problem resolution; the fourth module : planning the classroom action research and writing of the research proposal ; the fifth module : development of educational innovation and research instrument for data collection; the sixth module : data analysis and data interpretation; and the seventh module : research conclusion and research report writing. The classroom action research activities involved 5 steps classifying as stage 1 : informing (I) the teacher students with the knowledge prior to conducting the classroom action research; stage 2 : research planning (R)) ; stage 3 : peer assist (P) ; stage 4 coaching (C); and stage 5 practice (P) by putting into action of the classroom action research. Based on the quality review from the pilot project, the results indicated that the performances were in compliance with the prescribed goal attainment performance indicators. According to the model appraisal, the experts reported that the appropriateness and the model framework congruity were at a high level and were in compliance, while the evaluation result of the action research modules were as well at a high level and the components were also in consistence.

            2. The outcome of the model implementation revealed the Early Childhood Program’s student teachers possessed a higher competency of classroom action research at a statistically significant level of 0.01, while the competency of classroom action research knowledge as well as the attitudes towards the classroom action research increased at a statistically significant level of 0.01. Additionally, the Early

 

ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

            หลักสูตรการผลิตครูปฐมวัยในประเทศไทยในปัจจุบันเป็นหลักสูตรการผลิตครู 5 ปี ที่มีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 1 ปีการศึกษา สถาบันการผลิตครูจึงมีหน้าที่หลักในการเชื่อมโยงการเรียนรู้ภาคทฤษฏีสู่การปฏิบัติจริง ในสถานศึกษา โดยมีอาจารย์นิเทศก์ อาจารย์พี่เลี้ยง และทุกฝ่ายรวมถึงผู้บริหารสถานศึกษา เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูผ่าน การนิเทศการศึกษา เพราะการนิเทศเป็นการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ ปรึกษาหารือ ช่วยฝึกฝนเตรียมการดำเนินงาน ให้การสนับสนุนในภาคปฏิบัติ ตลอดถึงการจัดการและ ควบคุมเพื่อให้งานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ (เยาวพา เดชะคุปต์ 2542 : 86) ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนด้วย

            การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการวิจัยซึ่งมีประโยชน์ต่อครู ซึ่งช่วย แก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่จะเป็นครูในอนาคต จึงต้องฝึกปฏิบัติการวิจัยปฏิบัติการใน ชั้นเรียน แต่จากประสบการณ์จริง พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่มีความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ถึงแม้นักศึกษา จะเรียนวิชาวิจัยมาแล้วแต่วิธีวิจัยที่นักศึกษาครูเรียนรู้ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ สามารถทำวิจัยในสภาพของการปฏิบัติงานจริงได้”(สุวิมล ว่องวาณิช. 2557: 3) ซึ่งมี ปัญหาที่ตามมา คือ ไม่สามารถดำเนินการทำวิจัยในชั้นเรียนได้ และหมายถึงจะไม่ สามารถนำความสามารถนี้ไปใช้ได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา

            ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นอาจารย์ผู้สอนซึ่งปฏิบัติหน้าที่นิเทศนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย ตระหนักถึงความสำคัญของ กระบวนการผลิตครูให้มีสมรรถนะทางการวิจัย และตระหนักถึงปัญหาที่นักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีปัญหาในการดำเนินการฝึกปฏิบัติการวิจัย จึงสนใจที่จะ พัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ ทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาขึ้น เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการ วิจัยในชั้นเรียนตามสภาพจริง ควบคู่ไปกับการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา โดยนักศึกษา มีโอกาสได้ศึกษาเอกสารข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนด้วยตนเอง ได้แลก เปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ได้รับการช่วยเหลือด้วยกระบวนการฝึกปฏิบัติที่ได้รับการนิเทศ อย่างเหมาะสม ซึ่งผู้วิจัยเชื่อว่ารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย จะช่วยพัฒนาให้นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัยมีสมรรถนะ ทางการวิจัยที่จะสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูปฐมวัยในอนาคตต่อไป

Keywords : Enhancing Competency, Classroom Research, Early Childhood Education

 

บทนำ

            วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพที่มีบทบาทโดยตรงในการพัฒนาคนและพัฒนาชาติ บุคลากรที่เข้าสู่วิชาชีพครูจึงต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถและ คุณลักษณะที่เหมาะสม โดยเฉพาะสมรรถนะการเป็นครู ซึ่งการพัฒนาสมรรถนะครูได้รับการกำหนดแนวทางของการปฏิรูปการเรียนรู้ไว้ใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวด 4 ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษามาตรา 30 ที่กำหนดไว้ว่า ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ครูสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ. 2546 : 14) จึงกล่าวได้ว่าพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินอกจากจะระบุให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพแล้วยังระบุให้ครูต้องทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

            การผลิตครูในปัจจุบันต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครูครอบคลุมตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.. 2556 (2556 : 67-70) ที่กำหนดมาตรฐานความรู้จำนวน 11 เรื่องโดยมีสาระความรู้ทางด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เป็นสาระหนึ่งที่ถูกกำหนดไว้และกำหนดมาตรฐานบัณฑิตว่าต้องผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่

น้อยกว่าหนึ่งปีโดยต้องสามารถทำวิจัยใน ชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน สมรรถนะทางการวิจัยจึงเป็นสมรรถนะอย่างหนึ่งที่ครูจำเป็นต้องพัฒนา ซึ่งคำว่าสมรรถนะ (Competency) หมายถึง กลุ่มของความรู้ (Knowledge) ทักษะ(Skills) และคุณลักษณะ (Attributes) ที่เกี่ยวข้องกัน (พิมพันธ์ เดชะคุปต์; และพรทิพย์ แข่งขัน.2551: 2; อ้างอิงจาก Parry. 1997) โดยมีองค์ประกอบ 5 ส่วน ได้แก่ 1) ความรู้ 2) ทักษะ 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับ

ตนเอง 4) บุคลิกลักษณะประจำตัวของบุคคล 5) แรงจูงใจ/เจตคติ (เทื้อน ทองแก้ว. 2556: ออนไลน์; อ้างอิงจาก David C. McClelland. 1973) ดังนั้นการพัฒนาสมรรถนะทางการวิจัยจึงควรพัฒนาทั้งด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติซึ่งรวมถึงลักษณะส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

            หลักสูตรการผลิตครูปฐมวัยในประเทศไทยในปัจจุบันเป็นหลักสูตรการผลิตครู 5 ปี ที่มีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 1 ปีการศึกษา สถาบันการผลิตครูจึงมีหน้าที่หลักในการเชื่อมโยงการเรียนรู้ภาคทฤษฏีสู่การปฏิบัติจริง ในสถานศึกษา โดยมีอาจารย์นิเทศก์ อาจารย์พี่เลี้ยง และทุกฝ่ายรวมถึงผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูผ่านการนิเทศการศึกษา เพราะการนิเทศเป็นการให้คำแนะนำช่วยเหลือ ปรึกษาหารือช่วยฝึกฝนเตรียมการดำเนินงาน ให้การสนับสนุนในภาคปฏิบัติ ตลอดถึงการจัดการและควบคุมเพื่อให้งานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ (เยาวพา เดชะคุปต์ 2542 : 86) ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนด้วย

            การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการวิจัยซึ่งมีประโยชน์ต่อครู ซึ่งช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่จะเป็นครูในอนาคต จึงต้องฝึกปฏิบัติการวิจัยปฏิบัติการใน ชั้นเรียน แต่จากประสบการณ์จริง พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่มีความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ถึงแม้นักศึกษาจะเรียนวิชาวิจัยมาแล้วแต่วิธีวิจัยที่นักศึกษาครูเรียนรู้ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้สามารถทำวิจัยในสภาพของการปฏิบัติงานจริงได้”(สุวิมล ว่องวาณิช. 2557: 3) ซึ่งมีปัญหาที่ตามมา คือ ไม่สามารถดำเนินการทำวิจัยในชั้นเรียนได้ และหมายถึงจะไม่สามารถนำความสามารถนี้ไปใช้ได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา

            ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นอาจารย์ผู้สอนซึ่งปฏิบัติหน้าที่นิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัยตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการผลิตครูให้มีสมรรถนะทางการวิจัยและตระหนักถึงปัญหาที่นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีปัญหาในการดำเนินการฝึกปฏิบัติการวิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนตามสภาพจริงควบคู่ไปกับการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาโดยนักศึกษา

มีโอกาสได้ศึกษาเอกสารข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนด้วยตนเองได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนได้รับการช่วยเหลือด้วยกระบวนการฝึกปฏิบัติที่ได้รับการนิเทศอย่างเหมาะสมซึ่งผู้วิจัยเชื่อว่ารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยจะช่วยพัฒนาให้นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัยมีสมรรถนะทางการวิจัยที่จะสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูปฐมวัยในอนาคตต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย

2. เพื่อศึกษาสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและความพึงพอใจจากการใช้รูปแบบของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย

วิธีการดำเนินการวิจัย

การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นการดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีขั้นตอนดังนี้

           ขั้นตอนที่ 1 สร้างรูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ด้วยการดำเนินการ 3 ขั้นคือ

                ขั้นที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สังเคราะห์ ข้อค้นพบที่ได้ นำมากำหนดเป็นองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนระดับปฐมวัย โดยสอบถามอาจารย์และอาจารย์พี่เลี้ยงจำนวน 49 คน

                ขั้นที่ 2 เขียนโครงร่างรูปแบบ โดยกำหนดองค์ประกอบเป็น 8 ส่วน ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบ หลักการของรูปแบบ ลักษณะสำคัญของรูปแบบ วัตถุประสงค์ โครงสร้างเนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนรู้ การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ และสภาพบ่งชี้การบรรลุเป้าหมาย กำหนดเนื้อหาสาระเป็น 3 ด้านคือ

                1. สมรรถนะด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

                2. สมรรถนะด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

                3. สมรรถนะด้านเจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนกำหนดขอบเขตเนื้อหาจัดลาดับความต่อเนื่องของเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบ

ชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 7 ชุดได้แก่

                ชุดที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

                ชุดที่ 2 การกำหนดปัญหาการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

                ชุดที่ 3 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการกำหนดนวัตกรรมสำหรับการแก้ปัญหา

                ชุดที่ 4 การวางแผนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและการเขียนโครงร่างการวิจัย

                ชุดที่ 5 การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาและการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

                ชุดที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล

                ชุดที่ 7 การสรุปผลการวิจัยและการเขียนรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนกำหนดกระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบด้วยการกำหนดวิธีการจัดกิจกรรม และวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ให้สอดคล้องกับเนื้อหา ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนคือ

                ขั้นที่ 1 การให้ความรู้ก่อนการลงมือปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (Informing = I)

                ขั้นที่ 2 การวางแผนการวิจัย (ResearchPlan = R)

                ขั้นที่ 3 การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist = P)

                ขั้นที่ 4 การนิเทศแบบให้คำชี้แนะ (Coaching=C)

                ขั้นที่ 5 การฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (Practice = P)

กำหนดวิธีการประเมินผลคือ

1) ประเมินสมรรถนะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนก่อนและหลังการทดลองด้วยการประเมินตนเองของนักศึกษา

2) ประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านความรู้ก่อนและหลังการทดลองด้วยการทดสอบ

3) ประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนหลังการทดลองด้วยการประเมินจากการทำใบงานในแต่ละชุดและประเมินจากรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

4) ประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านเจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนก่อนและหลังการทดลองด้วยการประเมินตนเองของนักศึกษา

           กำหนดสภาพบ่งชี้การบรรลุเป้าหมาย คือ หลังเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง มีสมรรถนะทางการวิจัยสูงขึ้นทั้งโดยรวมและรายด้านโดยมีผลการประเมิ นการทำใบงานและรายงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนอยู่ในระดับดีขึ้นไปขั้นที่ 3 เขียนร่างชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 3 ชุด คือ ชุดที่ 1 ชุดที่ 2 และ ชุดที่ 3 โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนขั้นที่ 4 ทดลองประเมิน

โครงร่างรูปแบบด้วยการศึกษาจากนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษา

ปฐมวัย จำนวน 3 คน โดยทดลองจัดกิจกรรมตามขั้นตอนของรูปแบบ 5 ขั้นตอนและใช้

ร่างชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 3 ชุดที่ผู้วิจัยเขียนไว้

           ขั้นตอนที่ 2 สร้างเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ ด้วยการดำเนินการ 2 ขั้นคือ

                ขั้นที่ 1 สร้างเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน โดย 1) สร้างคู่มือการใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 2) สร้างชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 3) สร้างเครื่องมือประเมินผลการใช้รูปแบบซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนได้แก่แบบประเมินสมรรถนะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการ

ในชั้นเรียน แบบประเมินการทำใบงานในชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนแบบประเมินรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และสร้างเครื่องมือประเมินความพึงพอใจ คือ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย 4) สร้างเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบและคุณภาพของเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ

                ขั้นที่ 2 หาคุณภาพเครื่องมือประเมินผลการใช้รูปแบบ (เครื่องมือแต่ละชุดมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.8-1.00, แบบประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมีค่าความเชื่อมั่น ( α ) เท่ากับ .98, แบบทดสอบความรู้มีค่าความเชื่อมั่น (KR 20) เท่ากับ .98)

           ขั้นตอนที่ 3 ทดลองนำร่อง และตรวจสอบคุณภาพรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้วยการดำเนินการ 2 ขั้นคือ

                ขั้นที่ 1 ทดลองนำร่องเพื่อหาคุณภาพของรูปแบบกับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 20 คน โดยกำหนดแบบแผนการทดลอง 2 ลักษณะคือ

                1) การประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน สมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านความรู้และด้านเจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน กำหนดแบบแผนการทดลองด้วยการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest – Posttest Design) 2) การประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติ การในชั้นเรียนด้านทักษะการวิจัย ใช้แบบแผนการทดลองแบบวัดผลเฉพาะหลังการ ทดลอง (One – Group Posttest only Design) โดยดำเนินการทดลองตามขั้นตอนการ จัดกิจกรรมของรูปแบบ 5 ขั้นตอนแล้วประเมินคุณภาพของรูปแบบจากการทดลองใช้จากนั้นนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะที่ได้มาแก้ไขและปรับปรุงรูปแบบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

                ขั้นที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน และชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องขององค์ประกอบด้านต่าง ๆ โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณา 2 ลักษณะคือค่าคะแนนเฉลี่ยความเหมาะสม และค่าดัชนีความสอดคล้องตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบทุกส่วนมีความเหมาะสม

อยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.60–4.80) โดยมีความสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ (IOC เท่ากับ 1.00) 2) จุดประสงค์การเรียนรู้กับเนื้อหาและการประเมินผลที่กำหนดไว้ในชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนฉบับร่างมีความสอดคล้องกัน (IOC เท่ากับ 1.00)

           ขั้นตอนที่ 4 ทดลองใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูขั้นปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา

                ขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ในปีการศึกษา 2557 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 31 คน โดยกำหนดแบบแผนการทดลองเช่นเดียวกับขั้นทดลองนำร่อง ดำเนินการทดลองตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบด้วยกิจกรรม 5 ขั้นตอนแล้วประเมินคุณภาพของรูปแบบจากการทดลองใช้

           ขั้นตอนที่ 5 ปรับปรุงและจัดทำรูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยฉบับสมบูรณ์โดยนำข้อมูลที่ได้จากตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบในขั้นทดลองใช้รูปแบบมาปรับปรุงรูปแบบให้สมบูรณ์และจัดทำรูปแบบที่ได้ปรับปรุงแล้วเพื่อใช้ในการสำเนาและเผยแพร่ต่อไป

ผลการวิจัย

           1. ผลการพัฒนารูปแบบ ได้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยที่เสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาการศึกษาปฐมวัย 3 ด้าน คือ 1)ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 2) ทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และ 3) เจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ส่วนมีขอบเขตเนื้อหาเป็นชุดฝึกปฏิบัติการ

วิจัยในชั้นเรียน จำนวน 7 ชุด ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนและกำหนดแนวทางการประเมินสมรรถนะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยกำหนดสภาพบ่งชี้การบรรลุเป้าหมายคือหลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตัวอย่างมีสมรรถนะทางการวิจัยสูงขึ้นทั้งโดยรวมและรายด้านและมีผลการประเมินการทำใบงานและรายงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนอยู่ในระดับดีขึ้นไป

           ผลจากการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือประเมินผลการใช้รูปแบบพบว่ามีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และผลการทดลองนำร่อง พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีสมรรถนะทางการวิจัยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และด้านเจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีผลการประเมินสมรรถนะด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่ประเมินจากแบบฝึกหัดในใบงานแต่ละชุดวิชาอยู่ในระดับดีถึงดีมาก โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมทุกชุด อยู่ในระดับดีมาก และมีผลคะแนนรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คนประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องขององค์ประกอบของรูปแบบและชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนพบว่าทั้งสองรายการมีความเหมาะสมและความสอดคล้อง

           2. ผลการใช้รูปแบบ พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย มีสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและด้านเจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีสมรรถนะทางการปฏิบัติการในชั้นเรียน ด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีผลการประเมินทักษะการวิจัยที่ประเมินจากแบบฝึกหัดใน

ใบงานแต่ละชุดวิชาอยู่ในระดับดีถึงดีมาก ( X = 72.58% – 100%) และมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมทุกชุดอยู่ในระดับดีมาก ( X = 86.96%) มีผลการประเมินสมรรถนะในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่ประเมินจากคะแนนรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( X = 86.83%) และมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( X = 4.51)

อภิปรายผลการวิจัย

           รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนระดับปฐมวัยเป็นรูปแบบที่เสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัยและนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบในระดับมากที่สุดสามารถอภิปรายผลได้ว่า

           1. การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของรูปแบบมีกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย ที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ และอยู่ในสภาวการณ์ที่พวกเขาได้มีโอกาสเรียนรู้และฝึกปฏิบัติด้วยตนเองในชั้นเรียนจริง และผลงานการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ทำให้นักศึกษาสนใจที่จะเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการวิจัยซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ที่ว่าผู้ใหญ่มีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์ที่จำเป็น และสนใจว่าการเรียนรู้จะทำให้เกิดความพึงพอใจอย่างไร (Knowles; Holton;&Swanson. 2005: 39) ในการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมด 5 ขั้นตอนเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของนักศึกษาที่เป็นผู้ใหญ่ และอยู่ในบริบทที่ฝึกประสบการณ์ในชั้นเรียนจริง ส่งผลให้นักศึกษามีสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน คือ 1) นักศึกษามีชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนที่สามารถศึกษาค้นคว้าได้ตลอดเวลาที่ต้องการศึกษา 2) นักศึกษาได้

มีโอกาสเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นักศึกษาได้ถ่ายโยงความรู้ เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและวิธีการจัดกิจกรรมแบบต่าง ๆ ทำให้นักศึกษาได้รับความรู้ในบางเรื่องเพิ่มเติมจากเพื่อน 3) การวางแผนและการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน เป็นกิจกรรมที่นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งการดำเนินการทั้งในขั้นการวางแผนการวิจัยและขั้นการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนนักศึกษาต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเองต้องศึกษาค้นคว้าเพื่อดำเนินการวางแผนและปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ทำให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณตรง ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ (Experiential Learning) ที่มีแนวคิดสำคัญที่ถือว่าประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นทรัพยากรหลักของการเรียนรู้ จึงเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนประสบการณ์ไปสู่ความรู้ (Kolb, 1984: 384) การนิเทศแบบให้คำชี้แนะโดยอาจารย์พี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์ให้คำปรึกษาตรวจแก้ไขงานและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการวางแผนการวิจัยและการปฏิบัติการวิจัยในแต่ละขั้นตอนช่วยให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นกระบวนการเรียนรู้ของรูปแบบดังที่กล่าวมาจึงเป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างเสริมสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนได้

           2. ชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนช่วยให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น เพราะในชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนมีเนื้อหาสาระครอบคลุมกระบวนการทำวิจัยตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งนักศึกษาสามารถศึกษาได้ทุกช่วงเวลา และใบงานที่เป็นแบบฝึกหัดในแต่ละชุดก็เป็นแนวทางให้นักศึกษาทำวิจัยได้ง่ายขึ้น ชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนจึงช่วยให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยเพิ่มมาก ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของสุนทรา โตบัว (2554: 1) ที่ศึกษาพบว่านิสิตวิชาชีพครูที่เรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองมีสมรรถนะวิจัยอยู่ในระดับดีถึงดีเยี่ยม

ข้อเสนอแนะ

           1. ข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิบัติ

                1.1 การนำกิจกรรมการเรียนรู้ของรูปแบบไปใช้ควรมีการปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนใช้กำกับดูแลให้นักศึกษาดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนและชี้แจงให้อาจารย์พี่เลี้ยงเข้าในบทบาทในการนิเทศแบบชี้แนะ

                1.2 การใช้ชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนควรให้นักศึกษาได้ศึกษาและทำแบบฝึกหัดในใบงานแต่ละชุดส่งตามระยะเวลาที่กำหนดแต่สามารถยืดหยุ่นได้เช่นในกรณีที่นักศึกษาบางคนทำงานเสร็จเร็วก็สามารถศึกษาเอกสารในชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยชุดต่อไปได้ก่อนเวลาที่กำหนดไว้

                1.3 การนิเทศแบบชี้แนะอาจารย์นิเทศก์และครูพี่เลี้ยงควรศึกษาคู่มือรูปแบบและชุดฝึกปฏิบัติการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนให้เข้าใจก่อนและสามารถให้คำปรึกษาโดยใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายเช่นการเข้าพบเพื่อปรึกษาการโทรศัพท์การใช้สื่อสังคมออนไลน์

           2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

                2.1 ควรมีการศึกษาและพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนกับนักศึกษาครูในสาขาอื่นๆให้หลากหลายเพิ่มมากขึ้น

                2.2 ควรมีการศึกษาและพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครูด้านอื่นๆ

                2.3 ควรมีการศึกษาและพัฒนารูปแบบการสอนที่เหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยหรือการวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ..2542 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ..2545 พร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ..2556. (2556, 4 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130. หน้า 6

เทื้อน ทองแก้ว. (2556). สมรรถนะ (Competency) : หลักการและแนวปฏิบัติ. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2556 จาก http://www.competency.mju.ac.th/doc/22141.doc.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพรทิพย์ แข่งขัน. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการ พัฒนาครู. กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาการศึกษา.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การบริหารและการนิเทศการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์.

สุนทรา โตบัว. (2554). “การพัฒนาสมรรถนะวิจัยของนิสิตวิชาชีพครูด้วยชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง”. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา,วันที่ 6 – 7 กรกฎาคม 2554, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2557). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Knowles, M.S., Holton, E.F., & Swanson, R.A. (2005). The adult learner: the defnitive classic in adult education and human resource development. 6 th edition, Boston: Elesvier.

Kolb, David A. (1984). Experiential learning : experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, N.J. : Pretice-Hall.

การประเมินผลหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา  คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การประเมินผลหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา  คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The  Curriculum  Evaluation  on  Bachelor Degree  of  Education  Program  in  Music   Education  Faculty  of  Education, Bansomdejchaopraya  Rajabhat  University

สุพัตรา   วิไลลักษณ์*

วิโฬฏฐ์   วัฒนานิมิตกูล**

                              *สาขาวิชาดนตรีศึกษา  คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

             **สาขาวิชาบริหารการจัดการศึกษา  คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

*Corresponding  author.  E- mail: [email protected]

บทคัดย่อ

   การวิจัยเรื่องการประเมินผลหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา   มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ  ) เพื่อประเมินหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา   โดยใช้รูปแบบซิปป์  ( CIPP  Model )  ในด้านบริบท  ( Context  Evaluation )  ด้านปัจจัยนำเข้า  ( Input  Evaluation )   ด้านกระบวนการ ( Process  Evaluation )  และด้านผลผลิต  ( Product   Evaluation )  ๒) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา  คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา   โดยใช้การสอบถามและสัมภาษณ์ความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง  ประกอบด้วยอาจารย์สาขาสาขาวิชาดนตรีศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา   จำนวน  ๑๕  คน   นิสิตหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา  ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่๒/๒๕๕๘    จำนวน  ๓๓๗  คน  และผู้ใช้บัณฑิตซึ่งเป็นครูพี่เลี้ยงในสถานศึกษาที่นิสิตหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา  ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ  ในภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๘    จำนวน  ๕๖  คน  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล   ได้แก่ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์เนื้อหา         

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ผลการประเมินหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา  คณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในภาพรวม   อาจารย์   นิสิตและผู้ใช้บัณฑิตมีความคิดเห็นว่า   หลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  ผลการประเมินด้านบริบท  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  การกำหนดวิชาเอกเป็น วิชาเอกดนตรีไทย  และ วิชาเอกดนตรีตะวันตก   มีความเหมาะสม  ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก   รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  อาจารย์มีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่สอน  ผลการประเมินด้านกระบวนการ  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก   รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  การวัดและประเมินผลมีความเหมาะสม กับเนื้อหาวิชา   ผลการประเมินด้านผลผลิตมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก     รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  ผลการปฏิบัติงานของบัณฑิต/ ผู้เรียนมีคุณภาพ

๒. ผลการศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี

ศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  มีดังนี้

๒.๑  ด้านบริบทพบว่า  จำนวนหน่วยกิตในหลักสูตรมีมากเกินไป  รายวิชาบางวิชามีการกำหนดรายวิชา  จำนวนวิชา  เนื้อหาวิชาไม่เหมาะสม  การกำหนดแผนการศึกษาไม่เหมาะสม   จึงควรปรับลดจำนวนหน่วยกิต  และพัฒนา /ปรับปรุงรายวิชา  รวมทั้งแผนการศึกษาให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น    ด้านปัจจัยนำเข้า  พบว่า  เครื่องดนตรีมีไม่เพียงพอต่อจำนวนนิสิต  ห้องซ้อมและห้องปฏิบัติการดนตรีมีไม่เพียงพอ  อาจารย์ผู้สอนควรมีความเฉพาะทางและหลากหลาย  เพื่อการเรียนปฏิบัติแบบตัวต่อตัว  จึงมีการสร้างความร่วมมือกับวิทยาลัยการดนตรี   เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งในส่วนของเครื่องดนตรี   ห้องซ้อมห้องปฏิบัติการดนตรี และอาจารย์ผู้สอน  เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   และจัดซื้อจัดหาเครื่องดนตรีให้มีความเพียงพอต่อจำนวนนิสิต   รวมทั้งจัดจ้างอาจารย์พิเศษ หรือวิทยากรที่มีความเฉพาะทางเพิ่มขึ้น  ด้านกระบวนการพบว่า  การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูไม่เป็นระบบ ขาดความชัดเจนในการปกิบัติ  จึงควรมีการกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติของนิสิตที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู รวมทั้งชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงานให้นิสิตทราบล่วงหน้า  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การปฏิบัติ   ด้านผลผลิตพบว่า  นิสิตไม่สำเร็จการศึกษาตามกำหนดเวลา  จึงควรมีการจัดแผนการศึกษา  และชี้แนวทางการศึกษาให้แก่นิสิตทราบล่วงหน้า  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมแก่นิสิต   รวมทั้งควรมีการศึกษาปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้นิสิตไม่สำเร็จการศึกษาตามกำหนดเวลา  เพื่อการแก้ปัญหาได้อย่าตรงประเด็น

คำสำคัญ:  การประเมินหลักสูตร   หลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา

Abstract

The  purpose  of   this  research  were  to  evaluate  bachelor  of  Education  Curriculum  in  Music  Education  Program  of  Faculty  of  Education  at  Bansomdejchaopraya  Rajabhat  University  through  CIPP Model  in  four  components:  context,  input,  process  and  product,  and  to  investigate  the  problems  and  approach  to  development   of  the  assessed  were  .  The  data  were  collected  by  using  questionnaire  and  interview  the  people  who  involved  in  the  curriculum  using  for  their  opinions  on  the  matter.  They  were  15  teaching  staff  in  Music  Education , Faculty  of  Education,  Bansomdejchaopraya  Rajabhat  University,  337  undergraduate  students  majoring  in  Music Education,  Faculty  of  Education,  Bansomdejchaopraya  Rajabhat  University  and  56  employers,  or  mentors  at  the  school  where  pre –service  teachers  were  working  in  the  2nd  semester  of  academic  year  2015.  Data  was  statistically  analyzed  in  percentage,  mean,  and  standard  deviation.  Also, content  analysis was   employed  in  this  study.  The  findings  revealed  as  follows.

1. In  the  overview, the  Bachelor  of  Education  Curriculum  in Music  Education  Program  of  Faculty  of  Education  at  Bansomdejchaopraya  Rajabhat  University  was evaluated  by teaching  staff,  students,  and employer  at  the  high  level.

     1.1  Context  was  found  at  the high  level.  The  highest  mean  was  reported  in  specification  of  majoring program as “Thai Music”  and  “Western Music”.

     1.2  Input  was  found  at  the high  level.  The  highest  mean  was  reported  in  the teachers’ knowledge  and  proficiency related to  their capacity.

     1.3  Process was  found  at  the high  level.  The  highest  mean  was  reported  in congruence among  measurement, evaluation, and course contents.

    1.4  Product was  found  at  the high  level.  The  highest  mean  was  reported  in  outcome of  pre – service performance/ learners’ quality

2. The problems and approach to development of  the assessed curriculum involved the followings.

     2.1  Regarding context, the  course  credits were  exceeding: the  specification of  some courses,

in  terms of  numbers  and contents, as  well  as the  educational  plan  was  inappropriate. Henceforth, these domains, including  credits, courses,  and  educational  plan  should  be  revised for  better  appropriateness.

                  2.2  Regarding input,  the  music  instruments, music  rehearsal  room, and  laboratory  were  insufficient, compared  to  the  existing  numbers  of  learners. Teachers’ areas  of  specialization should  be  ing the music  College  for  resource  sharing, e.g., music  instruments, music  rehearsal  room, laboratory,

music instruments, and  employment of  equivalent  teaching staff,  or  specialists were suggested.

  2.3  Regarding process, pre-service  teacher  training  was not  systematic and  lacked  clarity in  implementation. The  suggestions  included  specification of  requirements and  qualifications of  pre-service  teachers, and  explanation of  training processes  in  advance for  practical  preparation.

                 2.4  Regarding product,   the students’ graduation was  delayed. The educational  plan  should  be  provided, including the explanation  to  the  students  in advance for  their preparation. Also, the causes  of  delayed  graduation  should  be  examined  for  accurate  problem  solving.

Keyword:  The  Curriculum  Evaluation,  Bachelor  Degree of  Education,   Program  in Music  Education

 

  

การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย

การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย

Designing  Traditional Thai  Music Teacher  Training Course toEnhance Vocal Attribute on Basic  of Traditional Thai  Music Standards

สุพัตรา   วิไลลักษณ์

                              สาขาวิชาดนตรีศึกษา  คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

           การวิจัยเรื่องการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   เป็นการวิจัยและพัฒนา  มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ  ) ศึกษาคุณลักษณะปัจจุบัน  และความต้องการในการเสริมสร้างคุณลักษณะของครูดนตรีไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   ๒)  สร้างหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   โดยมีการดำเนินการวิจัย    ขั้นตอน  คือ

            ขั้นตอนที่ ๑ การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เป็นการศึกษาคุณลักษณะปัจจุบัน  และความต้องการในการเสริมสร้างคุณลักษณะของครูดนตรีไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   กลุ่มตัวอย่าง  คือครูสอนดนตรีไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ที่สังกัดในสถาบันการศึกษาที่มีการจัดการศึกษาถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ  และปริมณฑล   จำนวน  ๒๒๒  คน  (สถาบันการศึกษาละ    คน )   เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  คือแบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย  และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

               ขั้นตอนที่ ๒  การสร้างหลักสูตร  เป็นการสร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับผลการศึกษาคุณลักษณะปัจจุบัน  และความต้องการในการเสริมสร้างคุณลักษณะของครูดนตรีไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   ประกอบกับข้อมูลตามขอบเขตของเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๓  นำโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน    ท่าน ประเมินความเหมาะสม ความสอดคล้องของโครงร่างหลักสูตร  และประเมินความเที่ยงตรงของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลหลักสูตรฝีกอบรม  ผลการการประเมิของผู้เชี่ยวชาญพบว่า  ทุกองค์ประกอบของหลักสูตรมีความเหมาะสม  สอดคล้องกัน  รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลหลักสูตรฝีกอบรม  มีความเหมาะสม เที่ยงตรง

              ขั้นตอนที่ ๓  การทดลองใช้หลักสูตร  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง  คือครูดนตรีไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ที่สังกัดในสถาบันการศึกษาที่มีการจัดการศึกษาถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ  และปริมณฑล จำนวน  ๑๕  คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่

  ๑)  แบบสอบถามความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทย   เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   ๒) แบบประเมินคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย  ก่อนและหลังการฝึกอบรม  ๓) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย  และ ๔) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการฝึกอบรมครูดนตรีไทย  เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติทดสอบที  ( t – test )  2 กลุ่มสัมพันธ์กัน  ผลการทดลองพบว่า  การกำหนดระยะเวลาการฝึกอบรม ได้มีการปรับเปลี่ยนให้มีความยืดหยุ่นในแต่ละเนื้อหาของแต่ละหน่วยย่อย  ระยะเวลาสำหรับการทดลองใช้ในหน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  ควรปรับให้เหลือ ๒0  ชั่งโมง  และปรับเพิ่มกิจกรรมในการขับร้องร่วมกับวงดนตรีไทย  

              ขั้นตอนที่ ๔ การประเมินผลหลักสูตร  พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจ    และมีคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยเพิ่มมากขึ้นหลังจากเข้ารับการอบรม    และมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยโดยภาพรวมในระดับมากที่สุด ( =  ๔.๖๐   SD. = .๕๔ )  รวมทั้งมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยโดยภาพรวมในระดับมาก  ( =  ๔.๔๖   SD. = .๖๑

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ครูดนตรีไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีคุณลักษณะปัจจุบันด้านการขับร้องตามเกณฑ์

มาตรฐานดนตรีไทยทั้งภาคทฤษฎี  และภาคปฏิบัติในระดับปานกลาง  ( = ๓.๑๔  SD. = .๙๓  และ  = ๒.๙๗   SD. = ๑.๐๑  ตามลำดับ) และมีความต้องการในการพัฒนาคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในระดับมาก   ( = ๓.๙๔   SD. = .๘๕  และ  = ๓.๙๕   SD. = .๘๕  ตามลำดับ )

๒)  หลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   ที่สร้างขึ้นประกอบด้วยสภาพปัญหาและความจำเป็น  หลักการของหลักสูตร  เป้าหมายของหลักสูตร  จุดมุ่งหมายของหลักสูตร    เนื้อหาของหลักสูตร    กิจกรรมและระยะเวลา  สื่อการฝึกอบรม   ผู้เข้ารับการอบรม   แนวทางการฝึกอบรม    การประเมินผลและเครื่องมือที่ใช้   หลักสูตรมี    หน่วยการเรียนรู้ คือ  หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑  หลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยภาคทฤษฎี  ประกอบด้วย    หน่วยย่อย  ได้แก่  ประวัติการขับร้อง   องค์ประกอบด้านกายภาพของผู้ขับร้อง   ประวัติศิลปินต้นแบบที่สำคัญ  ระบบการขับร้อง  แบบแผนการเรียนรู้และแบบแผนกระบวนการฝึกฝน / ฝึกซ้อม  การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือเสริมสร้างพัฒนาการ   แบบแผนและจรรยาบรรณวิชาชีพ  และศัพท์สังคีต   หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  หลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยภาคปฏิบัติ  ประกอบด้วย 

หน่วยย่อย  ได้แก่  การฝึกหัดขับร้องเพลงตับมโหรีเรื่องนางนาคสองชั้น การฝึกหัดขับร้องเพลงสุดสงวนเถา  และการฝึกหัดขับร้องเพลงพระอาทิตย์ชิงดวงสองชั้น    

———————————————————

  

สุพัตรา  วิไลลักษณ์. (2557).  การสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมครูดนตรีไทย เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้อง ตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย.   ศิลปกรรมสาร.  9(1) :  171 – 192.

ความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระย

วรินธร สีเสียดงาม และสุพัตรา วิไลลักษณ์

   ศึกษาความคิดเห็นของนิสิต และ อาจารย์ที่ปรึกษาที่มีต่อบทบาหน้าที่ของอาจารย์ทีปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาหน้าที่และบทบาท ตลอดจนการสร้างปฏิสัมพันธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาที่พึงมีต่อนิสิต  โดยใช้ประชากรที่เป็นนิสิตทั้งสิ้นจำนวน 336 คน และอาจรย์ที่ปรึกษาทั้งสิ้นจำนวน 9 คน

 

ความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

โดย

วรินธร สีเสียดงาม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพัตรา วิไลลักษณ์

ประจำสาขาวิชาดนตรีตะวันตก

วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 


 

ความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The Opinions of Students and Teachers Towards Advisory Roles of Teachers in Music Education Programme, Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University.

วรินธร สีเสียดงาม *

สุพัตรา วิไลลักษณ์

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษา ที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  2) เพื่อนำเสนอแนวทางที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา ในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตชั้นปีที่ 1-4 และอาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา รวม 345 คน

   ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาทั้ง 4 ด้านเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2)  แนวทางที่มีต่อหน้าที่บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ขอเสนอออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ ด้านวิชาการ อาจารย์ที่ปรึกษาให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของหลักสูตร ช่วยให้นิสิตลงเรียนได้ครบถ้วนตามหลักสูตร และแนะนำกำหนดเป้าหมายในการเรียนก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ด้านการพัฒนานิสิต อาจารย์ที่ปรึกษาควรประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นิสิต กิริยามารยาท ความรับผิดชอบ การรู้หน้าที่ของตนเอง ส่งเสริมให้มีทัศนคติที่ดีต่อสาขา และคนรอบข้าง ด้านการปฏิสัมพันธ์กับนิสิต อาจารย์ที่ปรึกษาควรมีอัธยาศัยดี มีการพบปะสนทนาสร้างความเป็นกันเอง ให้ความมั่นใจกับนิสิตเมื่อมาขอคำปรึกษา รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ  ด้านการให้ความช่วยเหลือ อาจารย์ที่ปรึกษาควรติดตามนิสิตที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลอย่างใกล้ชิด มีการเรียกพบนิสิต ช่วยเหลือหาข้อมูล หรือแก้ปัญหาให้นิสิต เมื่อต้องประสานงาน ติดต่อกับหน่วยงานอื่นๆ

คำสำคัญ: บทบาทหน้าที่, อาจารย์ที่ปรึกษา, ดนตรีศึกษา

Abstract

   This study aimed to 1) investigate the opinions of students and advisors towards the roles of advisors in Music Education Program, Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University, and 2) provide guidelines on the roles of advisors in Music Education Program, Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University. The sample group of the study was comprised of the first-to-forth-year students and the lecturers of Music Education Program, Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University in total of 345 participants.

   The findings revealed that firstly in the aspect of the roles of advisors in Academic Affairs, Student Development, Interaction with Students, and Student Assistance, students were satisfied with the roles of advisors in the high level in every aspect. Secondly, guidelines for the roles of advisors were categorized into 4 aspects: in the aspect of Academic Affairs, advisors were able to explain the structures of curriculum, and advisors could help students enroll their courses correctly and advise them how to set their goals before internship and for their future. For Student Development, advisors should be good role models for students in the aspects of personality, manner, responsibility, and self-recognition. Also, advisors should possess good attitudes towards the program and people. In the aspect of Interaction with Students, advisors should create a good atmosphere, such as friendliness, and confidence to students when needing consulting. Advisors critically gave knowledge, advice and guidelines for solving problems. Finally in the aspect of Student Assistance, advisors should care for all students they had been assigned closely, call students for meeting when there was a problem or when they encountered difficulties individually to find out the solution of a problem, and cooperate with otsher organizations in order to help solve problems of students.

Keywords: Role, Teachers, Music Education

 

บทนำ

   การศึกษาของประเทศไทย มีจุดมุ่งหมาย คือเป็นกระบวนการที่ทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน สร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้ในระดับ อุดมศึกษาเรื่องของการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดในกระบวนการจัดการศึกษาทั้งในระบบ และนอกระบบการศึกษา

   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษา เป็นแหล่งให้การศึกษาทั้งทางวิชาการและวิชาชีพขั้นสูง มีการศึกษาทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ กระบวนการจัดการศึกษานั้นต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาอย่างเต็มที่ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข แต่ผู้เรียนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ต้องเผชิญปัญหาต่างๆ มากมาย เช่นเดียวกับผู้เรียนในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในด้านการเงิน การเลือกรายวิชาเรียน การใช้ชีวิตในสถาบัน การปรับตัว การเตรียมตัวสู่อาชีพ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษาจึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ เพราะสามารถช่วยพัฒนาผู้เรียน และเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้เรียนมากที่สุด

   สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ เป็นสาขาวิชาหนึ่งของคณะครุศาสตร์ ที่มีหน้าที่หลักในการพัฒนานิสิตให้มีความรู้ ความสามารถ รวมไปถึงการเป็นแบบอย่างที่ดี สามารถออกไปพัฒนาเยาวชนของชาติ ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนิสิต ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากร จะมีบทบาทในการพัฒนานิสิตให้มีคุณภาพ ซึ่งอาจารย์นอกจากมีภารกิจหลักในการสอนแล้ว บทบาทสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ที่เป็นทั้งอาจารย์ ผู้ให้คำปรึกษา ดูแลความประพฤติ ให้กำลังใจ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนอย่างเป็นระบบทันกับการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมไปถึงปัญหาส่วนตัวและกิจกรรมต่างๆ ในการปฏิบัติบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษานั้นมีความสำคัญต่อนิสิตเป็นอย่างมาก เนื่องจากอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ให้ข้อมูลและคำแนะนำได้ทั้งด้านบุคลิกภาพ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านคุณธรรม ความประพฤติด้านความรู้ และประสบการณ์ อาจารย์ที่ปรึกษาต้องทำให้นิสิตเกิดความไว้วางใจได้ มีเหตุผลที่ดี มีความรับผิดชอบ จึงทำให้นิสิตอยากเข้าพบ และอยากเข้ารับคำปรึกษา เพื่อช่วยเหลือให้นิสิตประสบผลสำเร็จทางการศึกษา ซึ่งจะทำให้บัณฑิตที่จบไปมีคุณภาพและส่งผลต่อคุณภาพโดยส่วนรวมของมหาวิทยาลัยอีกด้วย

   ถึงแม้บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาจะมีความสำคัญ แต่ก็ยังพบปัญหาการดำเนินงานให้คำปรึกษาแก่นิสิต ได้แก่ นิสิตในความดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา 1 คนมีมากเกินไป เวลาของนิสิตและอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ตรงกัน อีกทั้ง นิสิตละเลยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้วิจัยจึงเล่งเห็นความสำคัญของบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ว่ามีส่วนอย่างมากในการพัฒนานิสิตในสาขาได้เรียนอย่างมีความสุขมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งงานอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นภารกิจที่สำคัญของอาจารย์อีกงานหนึ่งนอกจากงานสอนเพราะช่วยให้นิสิตมีประสิทธิภาพสามารถสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ ต่อบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา จึงได้ทำการวิจัยในเรื่องนี้เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาให้ดียิ่งขึ้น

 

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษา ที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของ          อาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

2. เพื่อนำเสนอแนวทาง ที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา ในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้ทราบความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษา ที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

2. ได้แนวทางในการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา ในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

ขอบเขตของการวิจัย

1. ขอบเขตด้านเนื้อหา

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาเฉพาะบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา ในความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษา ในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อได้ความคิดเห็นจะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อเสนอแนวทางและพัฒนาบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อประโยชน์ต่อนิสิตในสาขาวิชาดนตรีศึกษา           คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งการศึกษาบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ

1.1 บทบาทหน้าที่ด้านวิชาการ

1.2 บทบาทหน้าที่ด้านการพัฒนานิสิต

1.3 บทบาทหน้าที่ด้านการปฏิสัมพันธ์กับนิสิต

1.4 บทบาทหน้าที่ด้านการให้ความช่วยเหลือ

2. ขอบเขตด้านประชากร

2.1 นิสิตชั้นปีที่ 1-4 สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2558 จำนวนทั้งหมด 336 คน

2.2 อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย          ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่มีหน้าที่ให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวนทั้งหมด 9 คน

 

ระเบียบวิจัย

   งานวิจัยเรื่องนี้ เป็นงานวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) ประเภทการศึกษาสำรวจ (Survey Studies) เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม (Questionnaire) จำนวน 2 ฉบับ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของนิสิต และ แบบสอบถามความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งในแบบสอบถามแต่ละฉบับ แบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist)

ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ตอบ ที่มีต่อบทบาทหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษา มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ ตามแบบของไลเคิร์ท (Likert’s scale)

ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ตอบ มีต่อบทบาทหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษา มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist)  และมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ ตามแบบของไลเคิร์ท (Likert’s scale)

 

ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ

1. ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา การสร้างแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ ตามแบบของ       ไลเคิร์ท (Likert’s scale)

2. สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นในส่วนของบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาทั้ง 2 ฉบับที่ใช้ในการวิจัย

3.  นำเครื่องมือที่สร้างไปตรวจสอบความตรง (Validity) ของแบบสอบถาม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญการวิจัยตรวจสอบ และนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องและครอบคลุมเนื้อหาของข้อคำถาม

 

การวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยจะดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ในการคำนวณหาค่า ดังนี้

1. การวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย (M) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)

2. การวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 2 และตอนที่ 3 โดยการหาค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)

 

ผลการวิจัย

ผลการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ตอนดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลสถานภาพทั่วไปของนิสิตและอาจารย์

ผู้ตอบแบบสอบถามในการวิจัยในครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 345 คน แบ่งเป็น นิสิตชั้นปีที่ 1-4 สาขาวิชาดนตรีศึกษา จำนวน 336 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 9 คน นิสิตส่วนใหญ่เป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 34.23 ส่วนอาจารย์ที่ปรึกษาส่วนใหญ่เป็นอาจารย์วิชาเอกดนตรีตะวันตก คิดเป็นร้อยละ 55.56 โดยอาจารย์มีประสบการณ์ในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษามาแล้ว เฉลี่ย 4 ปี

ตอนที่ 2 ความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์เกี่ยวกับกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในปัจจุบัน

จากการวิเคราะห์ข้อมูลบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในปัจจุบันตามความคิดเห็นของนิสิตและอาจารย์ที่ปรึกษา สรุปผลได้เป็นภาพรวมตามบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาออกเป็น 4 ด้าน คือ

1. บทบาทหน้าที่ด้านวิชาการ

นิสิตมีความคิดเห็นว่าอาจารย์ที่ปรึกษาในด้านนี้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (M= 4.19, SD = 0.78) ซึ่งทุกรายการนิสิตให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณารายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การให้คำแนะนำนิสิตก่อนเตรียมตัวฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (M= 4.35, SD = 0.72) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของด้านนี้คือ การแนะนำการลงทะเบียน online และปฏิทินวิชาการ ให้นิสิตทราบอย่างชัดเจน (M = 3.97, SD = 0.85)

ส่วนอาจารย์ที่ปรึกษามีความคิดเห็นในด้านนี้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (M = 4.38, SD = 0.68)  เมื่อพิจารณารายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และมีระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ การให้คำปรึกษากับนิสิตในด้านการปรับปรุงผลการเรียนให้ดีขึ้น (M = 4.67, SD = 0.50) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของด้านนี้ คือ การให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักสูตรละแผนการเรียน (M = 4.11, SD = 0.93)

2. บทบาทหน้าที่ด้านการพัฒนานิสิต

นิสิตมีความคิดเห็นว่าอาจารย์ที่ปรึกษาในด้านนี้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (M= 4.30, SD = 0.73) ซึ่งทุกรายการนิสิตให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อบรมนิสิตให้รู้จักหน้าที่ และความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อผู้อื่น (M= 4.43, SD = 0.68) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของด้านนี้คือ การจัดทำสมุดบันทึกให้นิสิตกรอกข้อมูลด้านการเรียน กิจกรรม และสภาพส่วนตัว (M= 4.06, SD = 0.80)

ส่วนอาจารย์ที่ปรึกษามีความคิดเห็นในด้านนี้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (M = 4.48, SD = 0.65)  เมื่อพิจารณารายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และมีระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ อาจารย์ที่ปรึกษาส่งเสริมนิสิตให้มีทัศนคติที่ดีต่อสาขาวิชาดนตรีศึกษา (M = 4.78, SD = 0.41) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของด้านนี้ คือ การจัดทำสมุดบันทึกให้นิสิตกรอกข้อมูลด้านการเรียน กิจกรรม และสภาพส่วนตัว (M = 4.00, SD = 0.85)

3. บทบาทหน้าที่ด้านการปฏิสัมพันธ์กับนิสิต

นิสิตมีความคิดเห็นว่าอาจารย์ที่ปรึกษาในด้านนี้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (M= 4.32, SD = 0.74) ซึ่งทุกรายการนิสิตให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อาจารย์ที่ปรึกษามีวิจารณญาณในการแก้ไขปัญหาต่างๆ (M= 4.40, SD = 0.63) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของด้านนี้คือ การพบปะพูดคุยกับนิสิตอย่างเป็นกันเองในโอกาสต่างๆทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย (M= 4.23, SD = 0.83)

ส่วนอาจารย์ที่ปรึกษามีความคิดเห็นในด้านนี้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากสุด (M = 4.78, SD = 0.41)  เมื่อพิจารณารายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อาจารย์ที่ปรึกษาให้ความรู้และคำปรึกษาด้วยความเต็มใจ  (M = 5.00, SD = 0.00) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของด้านนี้ คือ อาจารย์ที่ปรึกษาเข้าร่วมกิจกรรมกับนิสิตในความดูแลอย่างสม่ำเสมอ (M = 4.33, SD = 0.50)

4. บทบาทหน้าที่ด้านการให้ความช่วยเหลือ

นิสิตมีความคิดเห็นว่าอาจารย์ที่ปรึกษาในด้านนี้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (M= 4.28, SD = 0.76) โดยทุกรายการนิสิตให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อาจารย์ที่ปรึกษาพบนิสิต เมื่อพบว่ามีเรื่องเกี่ยวข้องกับนิสิต (M= 4.32, SD = 0.68) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของด้านนี้คือ อาจารย์ที่ปรึกษาพบนิสิต เมื่อพบว่ามีเรื่องเกี่ยวข้องกับนิสิต (M= 4.22, SD = 0.68)

ส่วนอาจารย์ที่ปรึกษามีความคิดเห็นในด้านนี้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (M = 4.31, SD = 0.64)  เมื่อพิจารณารายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อาจารย์ที่ปรึกษาพบนิสิต เมื่อพบว่ามีเรื่องเกี่ยวข้องกับนิสิต (M = 4.44, SD = 0.53) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของด้านนี้ คือ อาจารย์ที่ปรึกษาเสนอข่าวสารต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยให้นิสิตทราบ (M = 4.11, SD = 0.78)

ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ แนวทางในการพัฒนาต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา ในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

   จากผลการวิจัย ผู้วิจัยขอเสนอแนวทางในการพัฒนาบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งควรมีการเตรียมความพร้อมให้อาจารย์ที่ปรึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โดยสามารถแบ่งออกเป็นด้านต่างๆ ได้ดังนี้

1. ด้านวิชาการ อาจารย์ที่ปรึกษานั้นสามารถให้ความรู้ความเข้าใจ อธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของหลักสูตร แผนการเรียน การวางแผนการศึกษาที่ชัดเจน ตามความสนใจ หรือความถนัด ขั้นตอนการลงทะเบียนในระบบของแต่ละภาคเรียนจนครบหลักสูตรการศึกษา รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาในการเรียนวิชาต่างๆ เมื่อนิสิต นักศึกษาเกิดปัญหา เป็นช่วยให้นิสิต นักศึกษาลงเรียนได้ครบถ้วนตามหลักสูตร และการแนะนำนิสิต นักศึกษาให้รู้จักกำหนดเป้าหมายในการเรียนก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และการประกอบอาชีพในอนาคต

2. ด้านการพัฒนานิสิต อาจารย์ที่ปรึกษาควรประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นิสิต นักศึกษา ในด้านบุคคลิกภาพ กิริยามารยาท ความรับผิดชอบ การรู้หน้าที่ของตนเอง การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน ส่งเสริมให้มีทัศนคติที่ดีต่อสาขา และคนรอบข้าง ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้นิสิต นักศึกษาเกิดการพัฒนาทักษะการใช้ชีวิต และการดำรงชีวิตในภายภาคหน้า

3. ด้านการปฏิสัมพันธ์กับนิสิต อาจารย์ที่ปรึกษาควรสร้างบรรยากาศเป็นกันเองให้ความเป็นกัลยาณมิตร มีอัธยาศัยดี ยิ้มแย้มอยู่เสมอ มีการพบปะสนทนาสร้างความคุ้นเคย ความเป็นกันเอง ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิต นักศึกษา เรื่องความมั่นใจกับผู้เรียนเมื่อมาขอคำปรึกษา โดยมีวิจารณญาณในการให้ความรู้ คำปรึกษา รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ และพร้อมเป็นผู้รับฟังที่ดีเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ อีกทั้งอาจารย์ที่ปรึกษาต้องรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้เรียนเพื่อให้คำปรึกษาคำแนะนำเป็นไปอย่างราบรื่นระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและนิสิต นักศึกษา

4. ด้านการให้ความช่วยเหลือ อาจารย์ที่ปรึกษาควรติดตามนิสิต นักศึกษาที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลอย่างใกล้ชิด มีการเรียกพบนิสิต นักศึกษาเมื่อพบว่ามีปัญหาหรือมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิสิตบุคคลนั้นๆ และช่วยเหลือหาข้อมูล หรือแก้ปัญหาให้นิสิตนักศึกษา เมื่อต้องประสานงาน ติดต่อกับหน่วยงานอื่นๆ

 

อภิปรายผลการวิจัย

1. นิสิต และอาจารย์ของสาขาวิชาดนตรีศึกษา มีความคิดเห็นต่อบทบาทหน้าที่ของการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งด้านวิชาการ ด้านการพัฒนานิสิต ด้านการปฏิสัมพันธ์นิสิต และด้านการช่วยเหลือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับ ณัฐมน พันธชาตร ที่พบว่า บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาตามความต้องการของนักศึกษา 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับความต้องการในระดับมาก คือ บทบาทด้านวิชาการ บทบาทด้านวิชาชีพ บทบาทด้านการพัฒนานักศึกษา บทบาทด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษา บทบาทด้านการบริการและสวัสดิการ อาจเป็นเพราะ นิสิตต้องการให้สาขาวิชาช่วยเหลือนิสิตนักศึกษาให้ได้รับความรู้และความช่วยเหลืออย่างดีที่สุด อาจารย์ที่ปรึกษาจึงมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญให้มีโอกาสประสบผลสำเร็จในการศึกษามากยิ่งขึ้น

2. ด้านการปฏิสัมพันธ์กับนิสิตที่อาจารย์ที่ปรึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด อาจเป็นเพราะอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษาให้ความเป็นกันเอง ให้ความเป็นกัลยาณมิตร มีอัธยาศัยดี มีความเป็นกันเองกับนิสิต โดยให้ความรู้และคำปรึกษาด้วยความเต็มใจ มีวิจารณญาณในการแก้ไขปัญหา และให้นิสิตได้แสดงออกทางความคิดเห็นได้อย่างอิสระ สอดคล้องกับ ณรุทธ์ สุทธจิตต์ อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ และปัทมศิริ ธีรานุรักษ์ จาชัยนิวัฒน์ ที่เห็นด้วยว่า เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น และเป็นกันเองเพื่อให้นิสิตกล้าเข้าพบและปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา

3. ปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานของอาจารย์ที่ปรึกษา เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า เรื่องของอาจารย์ที่ปรึกษามีงานสอนมากเกินไป จึงทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ให้คำปรึกษาได้อย่างเต็มที่นั้น นิสิตให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง และอาจารย์ที่ปรึกษาให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก อาจจะเป็นปัญหาที่สำคัญของการปฏิบัติบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา จึงทำให้การจัดเวลาที่พบกันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นยาก สอดคล้องกับ สุมาลัย วงศ์เกษม กล่าวว่า ปัญหาของอาจารย์ที่ปรึกษาการมีภาระอื่นมาก จึงทำให้ปฏิบัติงานไม่ได้อย่างเต็มที่ ทำให้ไม่มีเวลาพบนักศึกษา และไม่สามารถช่วยเหลือนักศึกษาได้อย่างทั่วถึง

 

ข้อเสนอแนะการวิจัย

1. สาขาวิชาดนตรีศึกษา ควรมีการจัดประชุมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคของบทบาทและหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อนำข้อมูลจากการวิจัยครั้งนี้มาใช้เป็นแนวทางดำเนินระบบอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกัน และจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นของระบบอาจารย์ที่ปรึกษา

2. การจัดทำคู่มือของบทบาทและหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาของสาขาวิชาดนตรีศึกษา เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาทราบถึงบทบาทในด้านต่างๆ เช่น ด้านวิชาการ ด้านการพัฒนานิสิต ด้านการปฏิสัมพันธ์ และด้านการช่วยเหลือ

 

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

1. ควรมีการทำวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบความคาดหวัง กับการปฏิบัติจริงของอาจารย์ที่ปรึกษาต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา

2. ควรมีการทำวิจัยเรื่อง การประเมินการปฏิบัติงานของระบบอาจารย์ที่ปรึกษาของสาขาวิชาดนตรีศึกษา สาขาวิชาอื่น หรือระดับคณะ

3. ควรมีการทำวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานอาจารย์ที่ปรึกษา เช่น ภาระงานของอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวนนิสิต นักศึกษาที่อาจารย์ที่ปรึกษาต้องดูแล

 

การสนับสนุนทุนวิจัย

งานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากกองทุนของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประจำปีงบประมาณ 2559 ซึ่งผู้วิจัยขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

 

บรรณานุกรม

คณะครุศาสตร์. คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2557.

ณัฐมน พันธชาตร. การศึกษาบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา: กรณีศึกษา วิทยาลัยราชพฤกษ์.สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2552.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์ อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ และปัทมศิริ ธีรานุรักษ์ จารุชัยนิวัฒน์.ความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ที่ปรีกษาเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทุนวิจัยคณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.

ธงชัย วงศ์เสนา. บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา.วารสารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 4, 4 (2552): 36-37.

ประเสริฐศรี ธรรมวิหาร. การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังและสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2546.

พิชิต ทองประยูร. บทบาทและสภาพของการปฏิบัติงานอาจารย์ที่ปรึกษาตามความคิดเห็นของนักศึกษาและปัญหาการปฏิบัติงานที่ปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, 2547.

พนิดา ประเทือง. บทบาทที่เป็นจริงและที่คาดหวังของอาจารย์ที่ปรึกษาในทักศนะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา. กองพัฒนานักศึกษา. สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2555.

สุมาลัย วงศ์เกษม. บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.” ทุนวิจัยจากสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2546.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2542.