Category Archives: ดนตรี ภาษา ศิลปวัฒนธรรมและนาฏยศิลป์และการแสดง

สำนึกความเป็นไทย

ชวลิต   ผู้ภักดี
นำเสนอ    
ร้อยกรองชุด
“สำนึกความป็นไทย”
ที่
บรรจงประดิษฐ์ขึ้นจากมโนสำนึก
โดย
หวังให้ลูกไทยหลานไทยได้สำนึกที่จะต้องสืบสานประราชปณิธาน
แห่ง
บูรพมหากษ้ตริยาธิราชเจ้าแห่งชนชาติสยาม
ให้ดำรงสืบไปตราบชั่วกาลนิรันดร์

View Fullscreen

แผนบริหารการสอนประจำรายวิชานาฏยศึกษาวิเคราะห์   

แผนบริหารการสอนประจำรายวิชา

รายวิชา นาฏยศึกษาวิเคราะห์                                                                                                                                                        รหัสวิชา 1016302
(Dance Education Analysis)
จำนวนหน่วยกิต – ชั่วโมง 2(1-2-3)
เวลาเรียน (3 x 16 = 48 ชม./ภาคเรียน)
ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอย่างน้อย (3 x 16 = 48 ชม./ภาคเรียน)
คำอธิบายรายวิชา
หลักทฤษฎีกลศาสตร์ กลวิธีและเทคนิคการสอน วิธีบันทึก การวิเคราะห์โครงสร้างท่ารา เทคนิคลีลา นาฏยลักษณ์ เรียนรู้ระบบการเคลื่อนไหวของร่างกายแบบมาตรฐานสากล
จุดมุ่งหมายรายวิชา
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้หลักทฤษฎีกลศาสตร์ กลวิธีและเทคนิคการสอน
2. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการวิเคราะห์ท่าราและวิธีการบันทึกท่ารา
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์การเคลื่อนไหวร่างกายแบบนาฏยศิลป์ไทย
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถถ่ายทอดความรู้ด้านการสอนปฏิบัติแบบตัวต่อตัวได้ตามหลักทฤษฎีนาฏยศึกษาวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง

View Fullscreen
View Fullscreen

มองพระอภัยมณีในเชิงอุปลักษณ์ ตอนผีเสื้อสมุทรเป็น “ยักษ์” จริงหรือ

มองพระอภัยมณีในเชิงอุปลักษณ์ ตอนผีเสื้อสมุทรเป็น “ยักษ์” จริงหรือ

โดย ชวลิต ผู้ภักดี

ภาษาไทยทีควรรู้ ตอน 3 ผ้าขาวม้า

ภาษาไทยทีควรรู้ ตอน 3 ผ้าขาวม้า

โดย ชวลิต ผู้ภักดี

9.ภาษาไทยทีควรรู้ ตอน 3 ผ้าขาวม้า

บทกวีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

บทกวีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

โดย ชวลิต  ผู้ภักดี

8.บทกวีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ผลงานประมวลบทร้อยกรองถวายความอาลัย

ผลงานประมวลบทร้อยกรองถวายความอาลัย

โดย ชวลิต ผู้ภักดี

7.บทกวีถวายอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช

ชื่อกระทรวงกลาโหม

ชื่อกระทรวงกลาโหม

โดย ชวลิต ผู้ภักดี

วิเคราะห์ข้อกังขาถึงสาเหตุที่ชื่อกระทรวงกลาโหม เป็นชื่อที่แปลกไปจากภาษาไทย และเหตุผลที่ต้องตั้งกระทรวงนี้อยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังที่สุดอยู่เพียงกระทรวงเดียวแท้จริงแล้ว!! อันเนื่องมาแต่เหตุผลที่มีมาในแบบฉบับของขอม ที่ครองแคว้นสุวรรณภูมิและใกล้ชิด สืบทอดทั้งความเชื่อขนบ ทำเนียม จารีต ให้เราคนไทยรับมาปรับปรุงใช้ได้อย่างเป็นสุขและยั่งยืนมาจนกาลปัจจุบัน

ท่านสมาชิก K CAL ทุกท่าน วันนี้อ่านบทความสั้นๆ กันสักนิดผู้เขียนได้เขียนขึ้นจากข้อสังเกตของตนเอง ซึ่งคล้ายคลึงกับเรื่องผ้าขาวม้าที่เคยนำเสนอผ่านไปแล้วนั้น เรื่องราวในฉบับนี้ ก็มีลักษณะเดียวกัน คือการเก็บตกจากข่าวทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ ที่นักข่าวของไทยได้เข้าไปทำข่าวเศรษฐกิจบ้าง การเมืองบ้าง และแม้แต่เศษเลยของวัฒนธรรมที่เมืองกัมพูชาประเทศเขมรใกล้บ้านเรานี่เอง

เรื่องสำหรับวันนี้ก็คือ ชื่อกระทรวงหนึ่งในบ้านเมืองเรานี้มีชื่อแปลกอยู่ชื่อหนึ่ง และที่สำคัญคือ ตั้งตระหง่านอยู่หน้าพระบรมมหาราชวังหรือที่เรียกว่าวังหลวงนั้น ผู้เขียนเคยตั้งข้อสงสัยมานานแล้วว่า เพราะเหตุใดจึงตั้งอยู่หน้าพระบรมมหาราชวัง ครั้นไต่ถามท่านผู้รู้ก็ได้รับเพียงคำตอบว่าเพราะเป็นกระทรวงทหารที่มีหน้าที่อารักขาพระมหากษัตริย์ ขึงจำเป็นต้องตั้งอยู่ให้ใกล้ที่สุด

ครั้นถามถึงชื่อกระทรวงก็ไม่มีคำตอบ พยายามอยู่เป็นนานเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยฯ ก็ได้พบแต่เพียงว่า คำว่า “กลา” แต่ไม่พบคำว่า “กลาโหม” ข้อความในคำอธบายที่ปรากฏก็คือ

กลา [กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่๑๖ แห่งดวงเดือน, ดวงเดือน; ระเบียบพิธีของการบูชา เช่น ไปคำนับศาลสุรากลากิจ. (อภัย), ใช้ว่ากะลาก็มี(ป.,ส.)

โหม๑, โหม- [โหมะ] น. การเซ่นแก่เทพยดาของพวกพราหมณ์โดยใช้เนยเผาไฟ; การบูชายัญ,การเซ่ยสรวงทั้งปวง.(ป. , ส.). โหมกรรม น. พิธีเซ่นสรวง.(ส. โหม + กรฺม). โฆมกกูณฑ์ น.พิธีพรามหณ์เกี่ยวแก่การบูชาไฟ.(ส.)

โหม ๒. ก.ระดม เช่น โหมกำลัง โหมไฟ โหมโรง น.การประโคมดนตรีก่อนมหรสพลงโรง ; ชื่อเพลงเรียก เพลงโหมโรงเช้า และเพลงโหมโรงเย็น. โหมหัก ก. จู่โจมเข้าไประดมเข้าไปด้วยกำลังให้แตกหัก ก็ว่า “โหมฮึก ก. ระดมข้ไปด้วยยความคะนอง, ฮึกโหม ก็ว่า.

โหม ๓. น.ผักโหม /ดู ขม ๒(๑)/

สุดท้ายก็ไม่ได้คำตอบ แต่ก็ต้องกราบขอบพระคุณท่านที่อุตส่าห์อธิบาย
ในที่สุดก็บังเอิญ ได้ฟังโดยมิได้ตั้งใจ กว่าจะสำนำได้ว่า โอ คำนี้เราได้ตั้งขอสงสัยมานานก็เกือบจบเรื่องแล้ว ?สำคัญคือจำไม่ได้ว่าข่าวจากช่อง ไดกันแน่ เป็นอันว่า จับความได้ว่า คำว่า “กลา หรือ กฺลา” เป็นคำในภาษาเขมรยุคขอมเป็นใหญ่ ปกครองสุวรรณภูมิที่เมือง แขฺม (ขะแม) ข่าวเล่าว่า คำว่า “กลา หรือ กฺลา” ภาษาขอมแปลว่าห้อง ส่วนคำว่า “โหม” แปลว่า ใส่ หรือ ระดม คือระดมฟืนหรือท่อนซุงใส่เข้าไปให้ไฟลุกโชน ที่เรียกกันว่า “โหมไฟ” ซึ่งไทยเราก็ใช้คำนี้ เช่นกัน ชวนใหสันนิษฐานว่า “โฆม”น่าจะยืมมาจากภาษาขอม หรือเขมรนั่นเอง

เรื่องมีอยู่ว่า สมัยขอมครองสุวรรณภูมิ พระเจ้าแผ่นดินขอมจะปรพพฤติอยู่ในลัทธิธรรมเนียมพรามหณ์ โดยถือว่า กษัตริย์คือ สมมุติเทพที่จะต้องทำพิธีบูชาไฟ ทุกเที่ยวที่ ๑๖ ของเดือน พิธีการบูชาไฟนี้จะจัดขึ้นในห้องที่จัดไว้ในวังเท่านั้น ว่ากันแล้วก็น่าจะใกล้ห้องพระบรรทมนั้นเองทั้งนี้เพื่อสะดวกต่อองค์พระมหากัษตริย์ที่จะต้องทรงกระทำพิธีนี้ด้วยองค์เอง เรียกว่า พิธีบูชากูณฑ์”(ไฟ) ตามจรจีตของขอมการเตรียมไฟใส่ฟืนแต่เดิมนั้น นางใน หรือ นางข้าหลวงเท่านั้นที่ที่จะต้องเป็นพิธีกรในพิธีการ ปฏิบัติการเติมฟืนจะต้องเติมอยู้ตลอดเวลาไม่ให้ไฟมอดหรือดับลงก่อนเสร็จพิธี ยิ่งไฟลุกโชนมากเท่าใดก็ยิ่งเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย และเป็นที่โปรดปรานของพระมหาเทพ หรือเรียกไดด้ว่า ได้เข้าใกล้พระมหาเทพมากที่สุด อันจะทำให้เกิดความรุ่งเรืองรุ่งโรจน์โชติช่วงแรงดังแสงเพลิง ด้วยเหตุนี้ ฟืนดุ้นเล็กย่อมมอดไหม้ได้เร็ว ให้กำลังไฟได้น้อย ดังนั้นจึงต้องให้ทหารฝ่ายหน้า เตรียมท่อนซุงใหญ่ๆ อันจะอยู่ได้นานกว่า ทนทานกว่าจะเสร็จพิธีกรรมครั้งนั้นๆ ซึ่งคำว่าฟืน หรือซุงย่อมหนกหนาเกินแรงกว่านางข้าหลวงมาก นับว่าเป็นงานหนักสำหรับผู้หญิงทีเดียว

คำถามมีอยู่ว่า แล้วทำไมไม่ใช้ทหารซึ่งเป็นผู้ชาย คำตอบก็คือ โดยกฎเกณฑ์นั้น ข้าราชการจะแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย คือ
ข้าราชการฝ่ายใน หมายถึงในบริเวณวังทั้งสิ้น จะเป็นหญิง ข้าราชการชายทั้งปวง เรียกว่า ข้าราชการฝ่ายหน้า มีหน้าที่ปกป้องพระมหากษัตริย์ และฝ่ายใน ซึ่งเป็นหญิงอย่างเต็มแรงแข็งขัน การจะเข้าไปในวังหลวงนั้นต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้า เป็นครั้งคราวหรือเป็นการเฉพาะเท่านั้น ซึ่งไทยเราในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ดี หรือ ปัจจุบันก็ดี ยังถือเป็นจารีตประพฤติปฏิบัติอยู่ หากแต่ว่าค่อยเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เมื่อการณ์เป็นเช่นนั้น หญิงที่ทำหน้าที่ในพิธีบูชากูณฑ์ เป็นงานหนักที่จะต้องแบกหามท่อนซุงเข้าโหมในไฟ จึงโอนมาเป็นหน้าที่ของทหารฝ่าหน้า
ซึ่งเป็นชายนั่นเอง ห้องทำพิธีดังกล่าว จึงถูกเรียกว่า “กลาโหม” อันเป็นห้องที่ต้องใช้ทหารเป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งนอกจากหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ทหารย่อมปกป้องพระมหากัษตริย์ หรืรับใช้ได้อย่างใกล้ชิดอันจะก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อพระองค์ท่านเป็นอเนกประการอีกด้วย ห้องนี้จึงเรียกว่า “กลาโหม” อันเป็นห้องที่เป็นหน้าที่ของทหารโดยเฉพาะมาจนบัดนี้ ด้วยเหตุที่ไทย หรือสยามประเทศของเราได้แบบฉบับมาจากเขมร หรือขอม แต่ครั้งบรรพกาล เราจึงหยิบยืมหรือเลือกใช้พิธีการแบบขอมสืบต่อกันมา ไม้ว่า คำว่าสมมุติเทพ ก็ดี ข้าฝ่าละอองธุลีพระบาท เกล้ากระหม่อม ตลอดจนกฎมณเฑียรบาล พิธีพราหมณ์ ตั้งแต่โองการแช่งน้ำหรือพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
พิธีการเข้าเฝ้า ตลอดจนพิธีอื่นๆ อีกมากมายล้วนได้รับและวิวัฒนาการให้เหมาะสมกับความเป็นไทยแทบทั้งสิ้น กล่าวโดยสรุปก็คือ ข้อสงสัยที่ว่าทำไมกระทรวงกลาโหม ซึ่งเพียงแค่ชื่อก็แปลกกว่ากระทรวงอื่น และที่ตั้งก็อยู่หน้าพระบรมมหาราชวังนั้นเป็นอันยอมรับได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีที่ไปที่มา และต้นสายปลายเหตุที่พอจะรับฟังกันได้ หลุดพ้นจากข้อกังขาโดยประการทั้งปวงนั่นแล

 

ภาษาไทยที่ควรรู้

K cal  โดยชวลิต  ผู้ภักดี  นำเสนอ 

       ภาษาไทยที่หลายๆ ท่านคิดว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ  พูดไปแล้วทุกคนก็รู้ทั้งนั้น  แต่ความจริงแล้วยังมีหลายคำที่ดูเหมือนจะเป็นคำพื้นๆ ที่จะว่ารู้ก็ใช่ จะสงสัยก็เชิง ครั้นจะถามว่า แล้ว

       เจ้าคำที่ว่านั้น เอาที่เข้าใจง่ายเด็กฟังรู้    ผู้ใหญ่ฟังเข้าใจนั้น คืออะไร

         ท่านผู้อ่านลองติดตามเรื่องง่ายๆ คำง่ายๆ ต่อไปนี้ดูทีรึ

View Fullscreen

วัฒนธรรมประเพณีไทย ตอนที่ 1 : จุลกฐินถิ่นไทลื้อ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณีต ม่วงนวล


       บุญ เป็นคําที่พุทธศาสนิกชนคุ้นชินและปฏิบัติอยู่เสมอ ด้วยควํามเชื่อมั่นศรัทธาในหลักธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้ํา กอปรด้วยจิตอันเป็นกุศลส่งผลให้มนุษย์เรา คิดดี ปฎิบัติดี มี ความเอื้อเฟื้อแบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งบุญที่พึงเกิดเป็นปัจจุบันรวมถึงส่งบุญโดยสะพานบุญ ไปยังบุพการี ญาติมิตร และสะสมบุญไว้สําหรับการเดินทางของนาวาชีวิตในภายหน้า บุญจากการได้ ร่วมการทอดกฐิน ถือเป็นบุญใหญ่ที่พุทธศาสนิกชนจะได้ร่วมบุญในช่วงออกพรรษา มหาบุญจุลกฐิน ถิ่นไทลื้อ เป็นความพยามยามที่ชาวไทลื้อผู้หวงแหนวัฒนธรรมการทอผ้ํา เป็นวัฒนธรรมประเพณีไทย ที่ผู้เขียนจะนําเสนอเป็น 3 ตอน กล่ําวคือ ตอนที่ 1 จุลกฐินถิ่นไทลื้อ ตอนที่ 2 วิถีชีวิตไทลื้อบนลายผ้ํา ที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวไทลื้อ และ ตอนที่ 3 ชุมชนเข้มแข็งด้วย HTSC นับว่าเป็นวัฒนธรรมที่ดีงาม สืบทอดต่อกันหลายรุ่น แฝงด้วยคติธรรมและวิถีชีวิตของชาวไทลื้อที่ผูกพันยึดมั่นในพระพุทธศาสนา

View Fullscreen

       บุญ เป็นกุศลกรรมที่ได้รับการบันทึกไว้ในบัญชีบุญ ดังพุทธวจนะในธรรมบท “บุญที่ได้ทําไว้ในโลกนี้ ย่อมต้อนรับผู้ที่จากไป เหมือนญาติที่รักมาจากที่ไกล ฝูงชนย่อมเต็มใจต้อนรับ (Likewise, good deeds well receive the doer Who has gone from here to the next world, As kinsmen receive a dear friend on his return.)5 เป็นความดีงามที่คงอยู่ให้คนรุ่นหลังยังจดจํา และกล่าวถึง ผู้เขียนขอน้อมนําพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้ํา กรมพระปรมานุชิตชิโนรส6 จําก เรื่อง กฤษณาสอนน้องคําฉันท์ (อินทรวิเชียรฉันท์) มาเป็นคติธรรมนำใจ

“พฤษภาสร   อีกกุญชรอันปลดปลง

โททนต์เสน่งคง   สําคัญหมายในกายมี

นรชาติวางวาย   มลายสิ้นทั้งอินทรี

สถิตทั่วแต่ชั่วดี   ประดับไว้ในโลกา

ความดีก็ปรากฏ   กิติยศฤาชา

ความชั่วก็นินทา   ทุรยศยินขจร”

       ชีวิตคนเราไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน ยามสิ้นชีพ เนื้อหนังก็เน่าเปื่อย กระดูกก็ใช้ประโยชน์ อะไรไม่ได้ เหลือไว้แต่คุณงามความดี หรือความเลวร้ํายให้ผู้คนกล่าวขาน


เอกสารอ้างอิง

1. พระครูสุจิณวรคุณ เจ้าอาวาสวัดท่าข้ํามศรีดอนชัย. (2561). ประวัติความเป็นมามหาบุญ จุลกฐินถิ่นไทลื้อ สัมภาษณ์วันที่ 17 มิถุนายน 2561 ณ วัดท่าข้ํามศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อําเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย.

2. พระมหาทองเชิด กตปุญฺโญฺ. (2561). ประเพณีการทอดกฐิน. สัมภาษณ์วันที่ 17 มิถุนายน 2561 ณ วัดท่าข้ํามศรีดอนชัย ตําบลศรีดอนชัย อําเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย.

3. หนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า. หน้า 268.

4. ตัวแทนเยาวชนอําเภอเชียงของ. (2561). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมมหาบุญ จุลกฐินถิ่นไทลื้อ สัมภําษณ์วันที่ 17 มิถุนํายน 2561 ณ วัดท่าข้ามศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อําเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย.

5. เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2537). พุทธวจนะในธรรมบท. (พิมพ์ครั้งที่ 8 ) กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชซิ่ง.

6. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส. (2533). กฤษณาสอนน้องคำฉันท์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

รำลึก องค์บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

รำลึก องค์บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

ชวลิต  ผู้ภักดี

4.รำลึก ร. ๔