Category Archives: ด้านการผลิตบัณฑิตทางดนตรี

มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา คว้ารางวัลชนะเลิศ การประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน

มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา คว้ารางวัลชนะเลิศ การประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราเดชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๓ “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม”

ผศ.ดร.ลินดา เกณฑ์มา อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้แจ้งว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓ คณะนักศึกษาสาขาวิชานาฏยศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และวิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ภายใต้ชื่อทีม “นาฏศิลป์ไทยภาคกลาง”คว้ารางวัลชนะเลิศ การประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในรายการ “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” ประจำปี ๒๕๖๓ พร้อมรับเงินรางวัล ๑๐๐,๐๐๐ บาท ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จัดโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งควบคุมและดูแลการฝึกซ้อม โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์รังสรรค์ บัวทอง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐภา นาฏยนาวิน รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัมรินทร์ แรงเพ็ชร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และอาจารย์ยุทธนา อัมระรงค์ อาจารย์ ดร.เอกรัตน์ รุ่งสว่าง อาจารย์ไกรศร จันทน้อย อาจารย์ประจำสาขาวิชานาฏยศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจในความโดดเด่นด้านศิลปวัฒนธรรม

นักศึกษาสาขาวิชาออกแบบกราฟิกและอินโฟร์ คว้ารางวัลชนะเลิศจากรายการชนช้างกราฟิก ปีที่ 5

.
วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 10.30 น.
นางสาวสิริพร ไพบัญญ และนางสาวสุภาวดี วรรณสิงห์ สาขาวิชาออกแบบกราฟิกและอินโฟร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เข้ารับรางวัลชนะเลิศในโครงการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบรุ่นใหม่ (ชนช้างกราฟิก ปีที่ 5) พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท และโล่เกียรติยศ โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล
.
โครงการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบรุ่นใหม่ (ชนช้างกราฟิก ปีที่ 5) เป็นรายการแข่งขันด้านการออกแบบ เพื่อเพิ่มมูลค่าแก่สินค้าและบริการของชุมชน โดยใช้มิติทางวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ของชุมชน รวมทั้งพัฒนาทักษะของคนในชุมชนให้เข้าใจถึงความสำคัญของการออกแบบเบื้องต้น การค้นหาตัวตนของท้องถิ่นและสามารถผลิตได้เอง
.
สำหรับผู้ชนะการแข่งขันอันดับรองลงมาได้แก่
รางวัลรองชนะเลิศอันอับ 1 นางสาวณัฐวดี บุตรศรีและนายณัฐพงศ์ รามมะมะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
.
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นางสาวนัชชา คหาปนะ และนายวิทวัส ดารากัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
.
รางวัลชมเชย 2 รางวัล คือ นางสาวสัชชา แยบกสิกิจ และ นางสาวปภัสรา ขุนวิเศษ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นางสาวนภัสรณ์ นนทโตร และนายอนุสรณ์ วรรณกลาง จากวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

สามารถติดตามรายการชนช้างกราฟิก ออกอากาศทางช่องอัมรินทร์ทีวี ช่อง 34 ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00-13.30

 


 

ชนช้างปีที่ 5 ตอน 2

เบรก 2

เบรก 3


 

Solo dance competition (สรุปบทความวิชาการ)

 

ผู้เขียน   อาจารย์ ดร.ธนกร สรรย์วราภิภู

จากงาน Solo dance competition

วันที่ : ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ / ๑๕.๐๐ น.
สถานที่ : ห้างสรรพสินค้าดิเอ็มควอเธียร์

อาจารย์ฝึกสอน : ดร.ธนกร สรรย์วราภิภู

ผู้ประกวด : นาย ณัฐวุฒิ หลวงขวา
ประเภท : เต้นเดี่ยว (นาฏยศิลป์ร่วมสมัย)

 

รายละเอียดเชิงวิชาการ/ทฤษฎี ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเข้าประกวด


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัย

รูปภาพที่  1 Merce Cunningham
ที่มา: http://media2.fdncms.com

        ความหมายของคำว่านาฏยศิลป์ร่วมสมัย (Contemporary Dance) Maria del Pilar Naranjo Rico นักวิจัยและนักสร้างสรรค์การเต้นชาวโคลัมเบียที่เป็นผู้เขียนหนังสือ The handy e-book of Contemporary Dance History (2011) ที่ให้ข้อมูลได้ชัดเจนในหัวข้อ Merce Cunningham โดยกล่าวไว้ว่า “Merce Cunningham ถือได้ว่าเป็นผู้เปิดประตูของนาฏยศิลป์ร่วมสมัยเพราะเป็นผู้นำเสนอความคิดใหม่เกี่ยวกับการเต้น โดยมุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมของความเป็นไปได้ในการสร้างมิติ ให้งานแสดงนาฏยศิลป์   กระบวนการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัย เทคนิคในการแปลสิ่งที่ต้องการสื่อสารออกมาสู่การ เคลื่อนไหวรวมถึงการใช้ดนตรีในรูปแบบที่ไม่เป็นข้อกำหนด ในการเต้นไปจนถึงหลักปรัชญา (Andre Lepecki. 2012: 44) หากว่ากันตามตรง  Merce  Cunningham คือ นักสร้างสรรค์ การเต้นคนแรกในนาฏยศิลป์ร่วมสมัย เนื่องจากได้ทำการต่อต้านแนวความคิดของนาฏยศิลป์สมัยใหม่และพัฒนาให้  นาฏยศิลป์ร่วมสมัยมีความอิสระมากยิ่งขึ้นซึ่งได้สร้าง หลักการ ไว้ดังนี้

 

  • นามธรรม Merce Cunninghamเชื่อว่าการเคลื่อนไหวคือการขยายความที่เพียงพอ
    แล้วไม่มีความ จำเป็นต้องบอกเรื่องราวหรือสะท้อนอะไร
  • ถูกออกแบบในพื้นที่และเวลาโดยไม่มีเป้าหมายของการสร้างสรรค์เพราะเป้าหมาย นั้นอาจจะเป็น กรอบในการบีบบังคับผลงานทำให้ไม่สามารถเกิดสิ่งใหม่ได้
  • ความนิ่งหรือความเงียบคืออีกหนึ่งสุนทรียภาพ
  • มิติของเพลง
  • ความอิสระไม่กำหนดกรอบซึ่งกันและกันระหว่างเพลงกับนาฏยศิลป์
  • ไม่มีลำดับชั้นของนักเต้น
  • ผู้ชมมีอิสระในการชม
  • ไม่อยู่แต่ภายในโรงละคร สามารถแสดงได้ทุกที่
  • ลำดับของการเต้นจะอยู่บนโครงสร้างที่ไม่สามารถคาดเดา เนื้อหาที่ไม่มั่นคง ไม่จำเป็น ต้องมีตรรกะ
  • เทคนิคของการตีความ ความคิดเชิงปรัชญาที่มีมิติ
  • ความคิดอิสระ

(Maria del Pilar Naranjo Rico.  2016.  Merce Cunningham: online)

นอกจากนั้นมีผู้ให้ความเห็นที่น่าสนใจไว้ว่า “นาฏยศิลป์ร่วมสมัยคือ นาฏยศิลป์ที่ พัฒนาตามช่วงเวลา ตามยุคตามสมัยซึ่งโมเดิร์นแดนซ์เคยเป็นนาฏยศิลป์ร่วมสมัยเช่นกันแต่เมื่อมาถึงปัจจุบันบริบทของสังคมและ
แนวคิดทางศิลปะเปลี่ยนไป นาฏยศิลป์ร่วมสมัยจึงมีแนว คิดที่เปลี่ยนไปจากเดิมแต่สิ่งหนึ่งที่ยังคง
เหมือนเดิมคือ การใช้เครื่องมือและกระบวนการสร้างสรรค์ที่แน่นอน” (วรารมย์ ปัจฉิมสวัสดิ์. สัมภาษณ์: 2559)

จากข้อมูลข้างต้นผู้ศึกษาจึงสรุปว่า นาฏยศิลป์ร่วมสมัย คือ รูปแบบนาฏยศิลป์ที่มี ความอิสระมากโดยมุ่งสู่การตอบคำถามบริบททางสังคมเป็นนาฏยศิลป์ที่ถูกพัฒนามาจากแนว คิดของนาฏยศิลป์สมัยใหม่ มีการนำการแสดงละครหรือเทคโนโลยีเข้ามาปราศจากลำดับขั้นของ นักเต้น สามารถแสดงได้ทุกที่ และควรเกิดจากการทดลองเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สร้างสรรค์ทั้งใน รูปแบบของการเคลื่อนไหว แนวความคิด หรือ องค์ประกอบในการ สร้างสรรค์  มีอิสระในการตี ความทั้งต่อตัวผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้ชม

 

บรรณานุกรม

Maria del Pilar Naranjo Rico. (2011). The handy e-book of Contemporary Dance History. Available from http://www.contemporary-dance.org. [accessed Date of Access 14th July, 2015].

วรารมย์ ปัจฉิมสวัสดิ์. (2559, 7 มีนาคม).  สัมภาษณ์โดย ธนกร สรรย์วราภิภู ที่สถาบัน Dance Center.

 

มบส.คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ1 การแข่งขันเชียร์ลีดดิ้งชิงแชมป์ประเทศไทยครั้งที่ 14 (TNCC 2018) ประเภท CHEER DANCE TEAM

การแข่งขันเชียร์ลีดดิ้งชิงแชมป์ประเทศไทยครั้งที่ 14 (TNCC 2018)

รายชื่อนิสิต นักศึกษา และคณาจารย์ที่เข้าร่วมการประกวดแข่งขัน

(วัน / เวลา / สถานที่) : ๒ ธันวาคม ๒๕๖๑ / ๑๙.๐๐น. / มหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้ฝึกสอน : อาจารย์ ดร.ธนกร สรรย์วราภิภู

ประเภท : ทีม CHEER DANCE TEAM

นางสาว มนัญญา มีวัฒนา
นางสาว ธนาภรณ์ มังกรแก้ว
นาย ทรงภพ วุฒิวิกัยการ
นาย ณัฐวุฒิ หลวงขวา
นาย ณฐ์ชญา ฟ้ากลาง
นางสาว ธรรมสรณ์ บรรดา
นางสาว สุทธิดา สว่างศรี
นางสาว อริสรา ชวนจิตร
นาย สุรชัย นิลขลัง
นาย นครินทร์ เลิศจามีกร
นางสาว อรพิมล ทองทิพย์

 

ประเภท : คู่ CHEER DOUBLE DANCE TEAM

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

นาย ณัฐวุฒิ หลวงขวา
นางสาว ธรรมสรณ์ บรรดา

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4

นางสาว ธนาภรณ์ มังกรแก้ว
นางสาว สุทธิดา สว่างศรี

 


 

ประเภท CHEER DANCE TEAM

🏆 ได้รับรางวัลชนะเลิศ (ที่1) ได้รับถ้วยประทานจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ

และ

ประเภท CHEER DOUBLE DANCE TEAM

🥈 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 (ที่2)
🎖 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4 (ที่5)

 

 


 

ผู้สร้างสรรค์ใช้แนวความคิดของเอ็มมานูเอลคานท์ที่มีอิทธิพลทางด้านการรับรู้สุนทรียะอย่างมากต่อตัวศิลปินและผู้บริโภคผลงานทาง ศิลปะในยุคนั้น ที่มองว่าความเข้าใจทำให้มนุษย์เข้าใจในความงามของวัตถุนั้น ๆ ให้เห็นความงามในแบบที่เป็น และจินตนาการที่จะช่วยส่งเสริมให้มนุษย์ทั้งในการมอง การสัมผัส และสะท้อนความคิดของตนเองออกมาซึ่งเหล่านี้คือกรอบความคิดที่พัฒนาศิลปะสมัยใหม่รวมถึงนาฏศิลป์ตะวันตกสมัยใหม่สามารถเห็นได้ชัดจากนักออกแบบการเต้นที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้บุกเบิกทีในช่วงเวลานี้

          อิสดอร่า ดันแคน  เจ้าของทัศนคติจิตวิญญาณแห่งความอิสระ (Free Spirit) การแสดงเป็นไปอย่างไม่เป็นระบบและมีท่าที่ซ้ำไปซ้ำมาบ่อยครั้ง งานของเธอมีลักษณะที่เรียบง่าย เครื่องแต่งกายการแสดงคล้ายชุดกรีกโบราณ เต้นด้วยเท้าเปล่าซึ่งผู้ชมในสมัยนั้นต่างไม่เคยเห็นมาก่อน ในงานของเธอเป็นการแสดงลีลาการแสดงออกของอารมณ์ อิสดอร่า ดันแคนเป็นผู้ที่เปิดรับในอิสรภาพทางความคิดของสตรีที่มีต่อเรื่องความรักและยังให้การสนับสนุนการเรียกร้องสิทธิสตรีในเรื่องสิทธิการปกครองบุตร ธิดา (นราพงษ์ จรัสศรี. 2548: 109-110)อิสดอร่า ดันแคนถือเป็นผู้บุกเบิกการเต้นสมัยใหม่ทำให้ได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในอเมริกาและแพร่ขยายความนิยมออกไปทั่วยุโรป ท่ามกลางยุคสมัยที่ผู้ชมในฝั่งซีกโลกตะวันตกกำลังเบื่อหน่ายกับการเต้นบัลเล่ต์ (ศิริมงคล นาฏยกุล.2557: 27)

รูปภาพที่ ๑: Isadora Duncan, http://seenthis.net/

          รุท เซนต์เดนนิส  คืออีกผู้หนึ่งที่หลงใหลในวัฒนธรรมของโลกตะวันออก ผลงานการแสดงทั้งหมด จะเน้นการผสมผสานการเต้นในแบบตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกันถือเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นและแสดงแนวความคิดความหลงใหลในตัวตนของศิลปินเอง ถึงแม้ว่าการแสดงในรูปแบบนาฏศิลป์ตะวันออกเธอดูไม่ลึกซึ้งแต่คนดูชื่นชอบในงานของเธอเนื่องจากมีรสชาติของความลึกลับเสมือนมีเวทย์มนต์ และแฝงไปด้วยตัณหาราคะ (นราพงษ์ จรัสศรี. 2548: 111)

รูปภาพที่ ๒ : Ruth St. Denis, http://eastiseverywhere.tumblr.com/

          มาธา เกรแฮม. ผู้คิดค้นเทคนิคการเค้นใหม่การคอนเทรกชั่น (Contraction) และรีลีส (Release) เทคนิคการเต้นที่แตกต่างจากสิ่งที่เคยเป็นมาโดยเน้นที่การหายใจ จนถึงการเล่าเรื่องราวการแสดงโดยถ่ายทอดอารมณ์ผ่านทั้งทางสีหน้าและร่างกาย เพื่อกระตุ้นอารมณ์ความ รู้สึกของผู้ชมให้เข้ามามีส่วนร่วมต่อการแสดงมากยิ่งขึ้น งานส่วนใหญ่จะแสดงออกถึงความรู้สึกทุกข์ทรมานจากภายในซึ่งสะท้อนออกมาให้เห็นในการแสดง ความสุขความสนุกและมีชีวิตชีวา ความเกลียดชัง ความรัก ความริษยา ความคลั่งไคล้ ความรู้สึกที่ปิดบังอีกต่อไปไม่ได้ (นราพงษ์ จรัสศรี. 2548: 111)

รูปภาพที่ ๓: Martha Graham, https://onlineonly.christies.com/

          จากความสำเร็จของนักออกแบบการเต้นสมัยใหม่ทั้ง3คน สะท้อนถึงค่านิยมของผู้บริโภคในยุคสมัยใหม่ที่เกิดความเบื่อหน่ายกับการแสดงนาฏศิลป์ในรูปแบบเดิม การค้นพบและแสดงตัวตนของนักออกแบบทั้ง 3สะท้อนคุณค่าความเป็นธรรมชาติและความเป็นมนุษย์ของตนเอง ให้ผู้บริโภคได้รับรู้ถึงรสนิยมและตัดสินในผลงานของตนเองในรูปแบบเฉพาะตัว หากสังเกตข้อความและบริบทข้างต้นจะพบว่าแนวความคิดยุคสมัยใหม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงกับนาฏศิลป์ตะวันตก นักออกแบบการเต้นค้นหาวิธีที่แสดงถึงความเป็นตนเอง ลักษณะเฉพาะในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่อผู้บริโภค และเทคนิคการเต้นเฉพาะตัวที่ส่งผลในการพัฒนาศาสตร์นาฏศิลป์ตะวันตกจนมาถึงปัจจุบัน

ผู้สร้างสรรค์มุ่งเน้นแนวคิดที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์สำหรับการประกดวเชียร์ลีดดิ้งที่ไม่ซ้ำรูปแบบกับผู้อื่น และมุ่งการมีส่วนร่วมในการแบ่งปันความคิด ประสบการณ์ที่นักแสดงหรือนักเต้นต้องแบ่งปันพร้อมฝึกฝนมากกว่าเทคนิคการเต้นแบบเดิม ๆ สู่ความเชื่อและความรู้สึกภายในที่แสดงออกมา อันจะทำให้การแสดงนั้น ๆ มีคุณค่ามากขึ้นกว่าการร่ายรำด้วยท่วงท่าเพียงเท่านั้น

 


 

 

บรรณานุกรม

เกษม เพ็ญภินันท์.(สัมภาษณ์, 1 มีนาคม 2559)

นราพงษ์ จรัสศรี. (2548). ประวัติศาสตร์นาฏศิลป์ตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริมงคล นาฏยกุล. (2557).นาฏยศิลป์ตะวันตกปริทัศน์.มหาสารคาม: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

นศ.สาขาวิชานาฏยศิลป์ ได้รับทุนการศึกษาเรียนเต้นนาฏยศิลป์ตะวันตกที่ประเทศอิตาลี และทุนจากสถาบันแดนเซนเตอร์ จากการแข่งขัน Solo Dance Competition ในงาน International Dance Festival 2018

 

ผู้เขียน   อาจารย์ ดร.ธนกร สรรย์วราภิภู

 


นายณัฐวุฒิ หลวงขวา นักศึกษาสาขาวิชานาฏยศิลป์ (4ปี) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้รับทุนการศึกษาเรียนเต้นนาฏยศิลป์ตะวันตกที่ประเทศอิตาลี

ชื่อการแข่งขัน ประเภท (เดี่ยว/ทีม) รางวัลที่ได้รับ
Solo Dance Competition เดี่ยว ทุนเล่าเรียนจากประเทศอิตาลี
Solo Dance Competition เดี่ยว ทุนเล่าเรียนจากสถาบันแดนซ์เซนเตอร์

 

การแสดงชุด “กระซิบรัก” คว้ารางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 การประกวดนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ รอบชิงชนะเลิศ ชิงถ้วยพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี



ชื่อการแสดง : กระซิบรัก
ผลงาน : รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1
การประกวดนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ รอบชิงชนะเลิศ ชิงถ้วยพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
จัดโดยมูลนิธิไทย กระทรวงการต่างประเทศ
วันที่ 1 เมษายน 2561
ณ โรงละครแห่งชาติ

ค่ายคอนเสิร์ต “สร้างคนให้ทำคอนเสิร์ตเพื่อให้บังเกิดวิชาชีพไกล”   ปี  2560

ชื่อผลงานทางวิชาการ         ค่ายคอนเสริ์ต “สร้างคนให้ทำคอนเสิร์ตเพื่อให้บังเกิดวิชาชีพไกล”   ปี  2560

ข้อมูลเพิ่มเติม                  การจัดคอนเสริ์ตเพื่อให้บังเกิดวิชาชีพไกล ตามโครงการกิจกรรม ทำดี ตามคำพ่อสอน  จัดแสดงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2560 ณ ห้องประชุมอาคาร 1 ชั้น 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ  อาจารย์ณัฎฐ์ เดชะปัญญา สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

          สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา    โดยการนำของอาจารย์ณัฎฐ์ เดชะปัญญา ได้จัดค่ายคอนเสริ์ตเพื่อให้บังเกิดวิชาชีพไกล  จากค่ายคอนเสิร์ต บ้านสมเด็จฯโชบิส  ซึ่งเป็นคอนเสริ์ตการกุศล ภายใต้โครงการ บ้านสมเด็จฯเอนเตอร์ เป็นผลงานของอาจารย์ นักศึกษา และศิลปินจากภายนอก ในรายวิชาการจัดกิจกรรมพิเศษ โดย มีแนวคิดส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงกระบวนการการจัดงาน ของรูปแบบคอนเสริ์ตการกุศล โดยการทำคำสอนของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ในเรื่องของการ”รับ” และ “ให้” และฝึกปฏิบัติงานด้านการจัดคอนเสิร์ตอย่างเป็นรูปธรรม โดยมิได้มุ่งหวังการแสวงหาซึ่งผลกำไรจากผลประกอบการเป็นหลัก แต่ต้องการผลตอบแทนในเชิงของการได้มาซึ่งประสบการณ์ และทักษะการเรียนรู้ ในการปฏิบัติงานจริงของนักศึกษา ทำให้เกิดการฝึกฝน มีทักษะ มีความสามารถ   และมีศักยภาพ สามารถปฎิบัติงานรูปแบบ Concert & Special Events ในตลาดบันเทิงระดับประเทศ เน้นสร้างผลงานให้เป็นที่รู้จักด้วยการสื่อสารการตลาด ลงสื่อต่างๆ แบบครบวงจร เกิดความรัก ความสามัคคี และยังเป็นการทำงานเพื่ออุทิศตนให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และพร้อมที่จะทำงานจริงในแวดวงธุรกิจบันเทิง อันจะเป็นผลงานส่วนตัวให้กับนักศึกษาในการรับรองความสามารถ สำหรับใช้ในการแสดงผลงานหรือสมัครงาน หลังจบการศึกษาได้…

ดีที่ ๓ – สร้างคนให้ทำคอนเสิร์ตเพื่อให้บังเกิดวิชาชีพไกล
การจัดงานในรูปแบบคอนเสิร์ตการกุศล (โดยนำคำสอนของพ่อหลวงรัชกาลที่ ๙ ในเรื่องของ การ “ รับ และ ให้ ” ) ซึ่งในปีนี้ได้รับเกียรติจากวงบอดี้สแลม  ศิลปินวงร็อคแถวหน้าของประเทศ ในงาน : ทีเด็จฯ3 บอ ดี้ ส แ ล ม  เดอะพาวเวอร์ ออฟ “แ ช ริ่ ง ” คอนเสิร์ต

ศิลปินรับเชิญ : เป๊ก ผลิตโชค

ศิลปินรับเชิญ : วง ภารต้า

พิธีกรรับเชิญ : ดีเจ เลิฟ

 

ดีที่ ๓ – สร้างคนให้ทำคอนเสิร์ตเพื่อให้บังเกิดวิชาชีพไกล

 

ดีที่ ๓  ค่ายคอนเสิร์ต #บ้านสมเด็จฯโชบิส

สามารถติดตามรายเอียดได้ที่

https://www.youtube.com/watch?v=wugkbBNzd5Y

https://www.youtube.com/watch?v=zcrfgxZVQSA&t=532s

https://www.youtube.com/user/BansomdejRecord/videos

ค่ายเพลง “บทเพลงตามรอยพ่ออัครศิลปิน” ปี ๒๕๖๐

ชื่อผลงานทางวิชาการ         ค่ายเพลง  “บทเพลงตามรอยพ่ออัครศิลปิน” ปี 2560

ข้อมูลเพิ่มเติม                   ตามโครงการกิจกรรม ทำดี ตามคำพ่อสอน จัดแสดงเมื่อ  วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2560 ณ อาคาร 1 ชั้น 4มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ  อาจารย์ณัฏฐ์ เดชะปัญญา สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิ บันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง  คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ เจ้าพระยา    โดยการนำของอาจารย์ณัฏฐ์ เดชะปัญญาและทีมงาน ได้จัดค่ายเพลงเพื่อสร้างบทเพลงตามรอยพ่ออัครศิลปิน  “จากค่ายเพลง บ้านสมเด็จฯเรคคอร์ด (ค่ายเพลงแห่งแรกในสถาบันการศึกษา)”ภายใต้สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเรียนการสอน อาจารย์ณัฏฐ์ เดชะปัญญา ได้ถ่ายทอดความรู้ และเทคนิค ในการจัดทำค่ายเพลง  ตัวของศิลปินนักร้อง ได้ฝึกฝน  เรียนรู้ ตลอดจนกระบวนการผลิตศิลปิน / เพลง / มิวสิควิดีโอ   อย่างเป็นรูปธรรมออกสู่สายตาของประชาชนและฝึกปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยมิได้มุ่งหวังการแสวงหาซึ่งผลกำไรจากผลประกอบการเป็นหลัก แต่ต้องการผลตอบแทนในเชิงของการได้มาซึ่งประสบการณ์ และทักษะการเรียนรู้ ในการปฏิบัติงานจริงของนักศึกษา ทำให้เกิดการฝึกฝนทักษะความสามารถ สำหรับการทำงานจริงในแวดวงธุรกิจบันเทิง จะเป็นผลงานส่วนตัวให้กับนักศึกษาในการรับรองความสามารถ สำหรับใช้ในการแสดงผลงานหรือสมัครงาน หลังจบการศึกษาได้…

 

ดีที่ ๒ – สร้างคนให้ทำค่ายเพลงเพื่อสร้างบทเพลงตามรอยพ่ออัครศิลปิน ตามรอยพระยุคลบาทอัครศิลปินสืบไป (ค่ายเพลง #บ้านสมเด็จฯเรคคอร์ด)

 

โดยมีเพลงและเนื้อเพลง / ศิลปิน / มิวสิควิดีโอ และงานจำนวนมาก “สามารถเข้าไปชมได้ในยูทูป”

ติดตามรายละเอียดได้ที่

https://www.youtube.com/user/BansomdejRecord/videos

https://www.youtube.com/watch?v=2ShQl9OBuHI

https://www.youtube.com/watch?v=uVggOdvBUKg

https://www.youtube.com/watch?v=Myeq2j9UNp0

https://www.youtube.com/watch?v=K-n3C0NJVfw

และ http://music.sanook.com/gallery_detail/2383493/content/?v=grid

ค่ายละครเวที : ละครเวทีบ้านสมเด็จฯ “จุดจบแห่งพันธนาการ” ปี 2560

ชื่อผลงานทางวิชาการ         ค่ายละครเวที : ละครเวทีบ้านสมเด็จฯ “จุดจบแห่งพันธนาการ” ปี 2560

ข้อมูลเพิ่มเติม                 การจัดทำค่ายละครเวที    ตามโครงการกิจกรรม ทำดี ตามคำพ่อสอน  จัดแสดง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2560

ณ ห้องประชุม  อาคาร ๑ ชั้น ๔  มหาวิทยาลัยราชภัฏ

บ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ  อาจารย์ณัฏ เดชะปัญญา สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง   คณะวิทยาการจัดการ     โดยการนำของอาจารย์ณัฎฐ์

เดชะปัญญา และทีมงานละครเวทีบ้านสมเด็จฯ ได้จัดค่ายละครเวที     เรื่อง  “จุดจบแห่งมีที่มาจากแนวคิดเริ่มต้นของโครงการกิจกรรม ทำดี ตามคำพ่อสอน” จัดแสดงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20  เมษายน 2560 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา รายได้ในการจัดงาน  มอบเป็นทุนกิจกรรมการศึกษาให้กับนักศึกษาที่เรียนดีมีคุณธรรมแต่ขาดทุนทรัพย์  (โดยมีผู้ชมประมาณ  3,000 คน)  และฝึกปฏิบัติงานด้านการจัดค่ายละครอย่างเป็นรูปธรรม โดยมิได้มุ่งหวังการแสวงหาซึ่งผลกำไรจากผลประกอบการเป็นหลัก แต่ต้องการผลตอบแทนในเชิงของการได้มาซึ่งประสบการณ์ และทักษะการเรียนรู้ ในการปฏิบัติงานจริงของนักศึกษา ทำให้เกิดการฝึกฝนทักษะความสามารถ สำหรับการทำงานจริงในแวดวงธุรกิจบันเทิง อันจะเป็นผลงานส่วนตัวให้กับนักศึกษาในการรับรองความสามารถ สำหรับใช้ในการแสดงผลงานหรือสมัครงาน หลังจบการศึกษาได้…

ดีที่ ๑ – สร้างคนให้ทำละครด้วยคำสอนของพ่อนำใจ

ดีที่ ๑ นี้ อาจารย์ณัฏฐ์ เดชะปัญญา ได้ถ่ายทอดความรู้ วิธีการ และฝึกซ้อมศึกษา “จากค่าย ละครเวทีบ้านสมเด็จฯ” ในรายวิชา การแสดงเพื่อธุรกิจบันเทิง ให้นักศึกษาได้เรียนรู้การแสดงและกระบวนการผลิตละครเวทีอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ซึ่งได้รับเกียรติจาก คุณสราวุธ มาตรทอง นำแสดง รับบทเป็น “ชายปริศนา” เพื่อเป็นต้นแบบของนักแสดงมืออาชีพ และเพื่อการพัฒนาด้านการแสดงของนักศึกษาในเรื่อง The End has No End จุดจบแห่งพันธนาการ (โดยนำคำสอนของพ่อหลวงรัชกาลที่ ๙ ในเรื่องของการ“ให้อภัย”มาใช้ในบทละคร) จนกระทั่งนักศึกษา สามารถนำองค์ความรู้ ผลงาน ที่ได้รับการถ่ายทอดในห้องเรียน นำไปสู่กระบวนการการปฏิบัติสู่สังคมภายนอกได้อย่างน่าภาคภูมิใจ

 

ดี 1 ค่ายละครเวที #ละครเวทีบ้านสมเด็จฯ


 

ติดตามรายละเอียดได้ที่

https://www.facebook.com/bankanlakon/

และ https://www.youtube.com/user/BansomdejRecord/videos

https://www.youtube.com/watch?v=CiY3SJk82Mk

https://www.youtube.com/watch?v=8JdcJHt0lNw&t=38s

BSRU DANCIN’ MAN ตัวแทนจากสาขาวิชานาฏยศิลป์ (4ปี) แขนงวิชาเอกนาฏยศิลป์สากล คว้าแชมป์ประเภท CHEER DANCE TEAM และประเภทอื่นอีก 6 ถ้วยรางวัล

การแข่งขันเชียร์ลีดดิ้งชิงแชมป์ประเทศไทยครั้งที่ ๑๑ 

ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ณ ตึกนันทนาการ มหาวิทยาลัยรังสิต

 

ทีม BSRU DANCIN’MANของนิสิตแขนงวิชาเอกนาฏยศิลป์สากล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ออกแบบท่าเต้นทั้งหมดโดย อาจารย์วิทวัส กรมณีโรจน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชานาฏยศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นผู้ควบคุม ออกแบบท่าเต้นและฝึกซ้อม

 

๑. ถ้วยรางวัลชนะเลิศ ประทานจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในการแข่งขันเชียร์ลีดดิ้งชิงแชมป์ประเทศไทย ประเภทเต้นประกอบพู่ (Cheer Dance) ระดับอุดมศึกษา

๒. ถ้วยรางวัลชนะเลิศ จากสมาพันธ์กีฬาเชียร์ลีดดิ้งแห่งประเทศไทยและสมาคมเชียร์ลีดดิ้งแห่งประเทศไทย ในการแข่งขันเชียร์ลีดดิ้งชิงแชมป์ประเทศไทย ประเภทเต้นประกอบพู่ (Cheer Dance) ระดับอุดมศึกษา

รายชื่อนิสิต ดังต่อไปนี้

  1. นาย วีระศิลป์ มาลี
  2. นาย กิตติศักดิ์ สาระแสน
  3. นาย อับดุลมาตีฟ สะมะแอ
  4. นางสาว ณัฐริกา คุ้มถิ่นแก้ว
  5. นาย อรรถพล สุริราช
  6. นางสาว ธรรมสรณ์ บรรดา
  7. นาย ณัฐวุฒิ หลวงขวา
  8. นาย ทรงภพ วุฒิวิกัยการ
  9. นางสาว ธนาภรณ์ มังกรแก้ว
  10. นางสาว สุทธิดา สว่างศรี
  11. นาย สุกฤษฎิ์ มูลชัย
  12. นางสาว มนัญญา มีวัฒนา

๓. ถ้วยรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ จากสมาพันธ์กีฬาเชียร์ลีดดิ้งแห่งประเทศไทยและสมาคมเชียร์ลีดดิ้งแห่งประเทศไทย ในการแข่งขันเชียร์ลีดดิ้งชิงแชมป์ประเทศไทย ประเภทเต้นคู่ประกอบพู่ (Double Cheer Dance) ระดับอุดมศึกษา

รายชื่อนิสิต ดังต่อไปนี้

  1. นาย อับดุลมาตีฟ สะมะแอ
  2. นาย ณัฐวุฒิ หลวงขวา

 


๔. ถ้วยรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ จากสมาพันธ์กีฬาเชียร์ลีดดิ้งแห่งประเทศไทยและสมาคมเชียร์ลีดดิ้งแห่งประเทศไทย ในการแข่งขันเชียร์ลีดดิ้งชิงแชมป์ประเทศไทย ประเภทเต้นคู่ประกอบพู่ (Double Cheer Dance) ระดับอุดมศึกษา

รายชื่อนิสิต ดังต่อไปนี้

  1. นาย วีระศิลป์ มาลี
  2. นาย กิตติศักดิ์ สาระแสน

๕. ถ้วยรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๔ จากสมาพันธ์กีฬาเชียร์ลีดดิ้งแห่งประเทศไทยและสมาคมเชียร์ลีดดิ้งแห่งประเทศไทย ในการแข่งขันเชียร์ลีดดิ้งชิงแชมป์ประเทศไทย ประเภทเต้นคู่ประกอบพู่ (Double Cheer Dance) ระดับอุดมศึกษา

รายชื่อนิสิต ดังต่อไปนี้

  1. นาย อภิวัฒน์ เลื่อมไธสง
  2. นางสาว พีรยา แซ่น้า

๖. ถ้วยรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๕ จากสมาพันธ์กีฬาเชียร์ลีดดิ้งแห่งประเทศไทยและสมาคมเชียร์ลีดดิ้งแห่งประเทศไทย ในการแข่งขันเชียร์ลีดดิ้งชิงแชมป์ประเทศไทย ประเภทเต้นคู่ประกอบพู่ (Double Cheer Dance) ระดับอุดมศึกษา

รายชื่อนิสิต ดังต่อไปนี้

  1. นาย เสริมศักดิ์ ไชยงาม
  2. นาย ณฐ์ชญา ฟ้ากลาง

นิสิตที่เป็นนักกีฬาตัวสำรอง ทีมงานเบื้องหลัง เครื่องแต่งกาย แต่งหน้า ทำผมและสวัสดิการต่างๆ

  1. นาย วัชรพล กลั่นเอี่ยม
  2. นางสาว วันวิสา ชังช่างเรือ
  3. นาย รังสรรค์ สุวรรณสกนธ์
  4. นาย อมรศักดิ์ ภาสุระธีระ

สนับสนุนโดยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย, ศูนย์ความเป็นเลิศตามอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของมหาวิทยาลัย และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา