การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 ประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The development of computer-Assisted Instruction on main componentand using computer of grade level 1 for For protom suksa 3 studentsThe Elementary Demonstration  School of Bansomdejchaopraya Rajabhat University

 

จารุวรรณ จันทร์ทรัพย์

Jaruwan    jansub

[email protected]

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหาคุณภาพ หาประสิทธิภาพ  และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 1  ห้องเรียน 41 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) และผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์สูงกว่าก่อนเรียน

ผลการวิจัยสรุปว่า

   1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์ มีคุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดี

   2.  ได้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์ ที่มีคุณภาพดีและมีประสิทธิภาพ 81.89/88.44

   3.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Abstract

       The purposes of this research were to develop, to find the quality, to find efficiency and compare  the  learner’s a achievement of student on  using Computer-Assisted Instruction on main component and using computer. The samples of this research were 41  student By Sample Random Sampling. From Prathomsuksa 3 students of The Elementary Demonstration School of Bansomdej Chaopraya Rajabhat University. The learning’s achieverment and Using computer have the posttest scores higher than those pretest scores.

The findings of the study were as follows:

   1. The quality of efficient computer-Assisted Instruction on main component and using computer was at good level

   2. The efficiency achievement of Computer-Assisted Instruction on Main Component and Using computer was 81.89/88.44.

   3.  The learning achievement of the studentsafter having used the computer-Assisted Instruction on main  component of grade level 1 for  For pratom suksa 3 students nevr significantly significant  different at  0.01  level.

 

1. บทนำ

       ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ ซึ่งประกอบกันเป็น “สารสนเทศ” นั้น สามารถลื่นไหลได้สะดวก รวดเร็ว จนสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ระดับบุคคลขึ้นไปถึงระดับองค์กรอุตสาหกรรม ภาคสังคม ตลอดจนในระดับประเทศและระหว่างประเทศ จนกระทั่งภาวะ “ไร้พรหมแดน” อันเนื่องมาจากอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว ได้เกิดขึ้นในกิจกรรมและวงการต่างๆ และนับเป็นความกลมกลืนสอดคล้องกันอย่างยิ่ง ที่การพัฒนาบุคลากรในสังคมอันประกอบด้วยภาคการศึกษา และการฝึกอบรมเป็นเรื่องราวของการเรียนรู้สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นข้อมูล (Data) ข่าวสาร (Information) ก็ตาม ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเครื่องมือที่สามารถนำประโยชน์มาสู่วงการศึกษา ได้อย่างเหมาะสมหากรู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์และคุ้มค่าต่อการลงทุน (ไพรัช ธัชยพงษ์และพิเชษ ดุรงคเวโรจน์. 2541)

       เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์ที่เป็นเทคโนโลยีระดับสูงอย่างหนึ่งที่นับว่ามีบทบาทอย่างยิ่งได้แก่คอมพิวเตอร์” (Computer) ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกวงการ โดยเฉพาะวงการศึกษาได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นในด้านการบริหาร การบริการ และการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน เป็นต้น

       พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 ได้ให้ความหมายของ “คอมพิวเตอร์” ไว้ว่า”เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์”คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานแทนมนุษย์ในด้านการคำนวณและสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้ เพื่อการเรียกใช้งานครั้งต่อไป รวมทั้งสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ (Symbol) ได้ด้วยความเร็วสูงโดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม นอกจากนี้ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ เช่น การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลไว้ในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้ (ตวงแสง ณ นคร .2542)  คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในวงการศึกษา หรืออาจเรียกว่า คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (Computer-Based Education, Instructional Computer : IC, Computer-Based Instruction : CBI) มีความหมายเหมือนกันคือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษา ไม่ว่าจะ เป็นการจัดการเรียนการสอน การลงทะเบียนการจัดทำบัตรนักศึกษา การจัดทำผลการเรียนการสอนรวมไปจนถึงการออกใบรับรองการจบหลักสูตร

       จากประสบการณ์สอนในรายวิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษา ช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ของโรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ของผู้วิจัยนั้น พบว่าในการเรียนการสอนในส่วนของทฤษฏีของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่3 เด็กขาดความสนใจในบทเรียนของครู โดยเฉพาะในส่วนของเนื้อหาเรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเนื้อหาเป็นส่วนของทฤษฏีและอุปกรณ์บางชิ้นก็มีขนาดเล็กไม่สามารถนำออกมาเป็นสื่อการสอนได้ รวมถึงหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นการทำงานภายในซึ่งเวลาอธิบายตามปกติแล้วนักเรียนไม่เกิดการเรียนรู้จึงยากต่อการเข้าใจ จำเป็นต้องมีสื่อประกอบการเรียนรู้ที่มีภาพจำลองสร้างสิ่งหยุดนิ่งให้เคลื่อนไหว(Animation) เพื่ออธิบายระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้เป็นรูปธรรมขึ้น

       ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีบทบาทอย่างมากในการสร้างสรรค์สื่อการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่นำมาสร้างสรรค์สื่อการสอนได้โดยการใช้ สื่อมัลติมีเดีย  ซึ่งจะช่วยให้การออกแบบบทเรียนสนองตอบแนวคิดและทฤษฏีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้นี้เราเรียกว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

       เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอาจเป็นสื่อการสอนที่สามารถแก้ปัญหาการเรียนการสอน เพราะสามารถนำสื่อหลายๆอย่างมาใช้ร่วมกันในลักษณะที่เรียกว่า สื่อประสม (Multimedia) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตอบโต้ และมีปฎิสัมพันธ์กับสื่อโดยตรงได้ และเมื่อนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้กับการศึกษา จึงนิยมเรียกว่าสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา คือ   การผสมผสานสื่อหลากหลายรูปแบบเพื่อนำเสนอผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากปัจจุบันผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้การใช้คอมพิวเตอร์มีความง่ายสำหรับทุกคน ความง่ายต่อการใช้ และประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์นี้เอง เมื่อผนวกเข้ากับการออกแบบโปรแกรมที่ดีที่ตอบสนองต่อแนวคิด การสื่อสาร และทฤษฎีการเรียนรู้ ย่อมส่งผลให้กระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น(มัลติมีเดีย : เว็บไซค์) และช่วยเสริมแรงให้ผู้เรียนและยังทำให้ผู้เรียนสนุกกับการเรียน  ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย จำเจ  นอกจากนี้ คอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่สามารถตอบสนองได้เป็นอย่างดีต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของแต่ละบุคคล

 

2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

   2.1.เพื่อสร้างและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์ ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

   2.2.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

 

3. วิธีดำเนินการวิจัย

   3.1 ขอบเขตที่ใช้ในการวิจัย

   ประชากร คือ นักเรียนช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  จำนวน 2 ห้องเรียน 82  คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา

   กลุ่มตัวอย่าง คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจำนวน 1 ห้องเรียน 41 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โดยได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย

   ตัวแปรที่ศึกษา

   ตัวแปรอิสระ ได้แก่ วิธีใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องส่วนประกอบหลักและการ ใช้งานคอมพิวเตอร์

   ตัวแปรตาม

       1. ประสิทธิภาพ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

       2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์

   3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

       1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร

       2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร

   3.3  การเก็บรวบรวมข้อมูล

       1. นำหนังสือ จากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา นำไปติดต่อกับผู้อำนวยการโรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อขอความอนุเคราะห์ และขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

       2. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปทดสอบก่อนเรียน (Pre –Test ) นักเรียนจะใช้เวลาในการทดสอบ 30 นาที

       3. นำชุดการเรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในวิชาคอมพิวเตอร์เรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์ โดยนักเรียน 1 คน ต่อ 1 เครื่อง                                                                                                           

       4. เรียนและทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน

       5. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้นักเรียนทดสอบหลังเรียน โดยใช้เวลาในการทำข้อสอบ 30 นาที

       6. นำคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบกันโดยใช้สถิติ T-Test แบบ Dependent

 

4. ผลการวิจัย

   4.1 ผู้วิจัยนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วจากการทดลองครั้งที่ 2 ไปทดลองใช้กับนักเรียน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน และนำคะแนนแบบฝึกหัดระหว่างเรียนและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน ไปวิเคราะห์หาแนวโน้มของประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 ผู้วิจัยได้วิเคราะห์โดยการพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ไม่ต่ำกว่า 80/80 มีพบว่าได้ 81.89 / 88.44 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่ามีประสิทธิภาพ

   4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้คอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้

ตารางที่ 1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้คอมพิวเตอร์

** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

5. อภิปรายผล

   5.1.การสร้างบทเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าประสิทธิภาพของบทเรียนเป็น 81.89/88.44 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

   5.2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าการทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนนั้น แต่ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์ เป็นการเรียนที่สอดคล้องกับทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล   ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนจะมีความสามารถในการเรียนรู้ช้าเร็วแตกต่างกัน  ดังนั้น   บทเรียนนี้จะช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกพอใจ  และไม่เกิดความกดดันขณะเรียนเมื่อเรียนไม่ทันผู้อื่น  ทำให้รู้สึกผ่อนคลายในขณะที่เรียน   ส่งผลให้การเรียนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น นอกจากนี้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน   ยังทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้  และให้ความสนใจบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ผู้วิจัยได้ทำการสังเกตระหว่างการทดลองพบว่า   ผู้เรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความสนใจและตั้งใจที่จะเรียนรู้จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เนื่องจากผู้เรียนสามารถทบทวนบทเรียนได้ทันที    เมื่อมีเนื้อหาที่ไม่เข้าใจหรือสงสัย   ผู้เรียนสามารถย้อนกลับมาศึกษาเนื้อหาได้ใหม่   อีกทั้งผู้เรียนยังทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินผลการเรียน   ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสทบทวนทำความเข้าใจในบทเรียนเพิ่มเติม   ทำให้ผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อหน่ายขณะทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบ  ช่วยให้ผู้เรียนตั้งใจทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบมากยิ่งขึ้น

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้

n

x

S.D.

t

Sig

ก่อนเรียน

ผลสัมฤทธิ์

41

41

20.22

25.41

2.12

1.84

17.386**

.000

 

6. ข้อเสนอแนะ

   6.1. การเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ครูผู้สอน ต้องคำนึงถึงพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนด้วย   ผู้เรียนควรมีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์ในระดับเบื้องต้น

   6.2. ในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นอกจากจะอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้ว ครูผู้สอนจะต้องอาศัยการออกแบบด้านศิลป์และจิตวิทยาการรับรู้ จึงสามารถทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีคุณภาพมากขึ้น

   6.3. ในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน   ครูผู้สอนควรศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ   เพิ่มเติมเพื่อใช้สนับสนุนการสร้างสรรค์บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดีย ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

   6.4. เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนครูผู้สอนควรให้นักเรียนได้ศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในช่วงที่มีการจัดการเรียนการสอนในเรื่องดังกล่าว และให้นักเรียนได้ทบทวนบทเรียนอีกครั้งหลังจากนักเรียนได้เรียนในชั้นเรียน   เพื่อเป็นการทบทวนความรู้

   6.5  ควรมีการพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในสาระการเรียนรู้อื่นต่อไป

   6.6 เนื่องจากโรงเรียนต่างๆได้ทำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มาใช้ทำให้นักเรียนในกลุ่มโรงเรียนที่มีความพร้อมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอาจจะไม่ใช่แรงดึงดูดที่ทำให้นักเรียนสนใจจึงควรหาบทเรียนส่วนอื่นๆ มาเพิ่มเติมเพื่อทำให้นักเรียนสนใจมากกว่าเดิม

 

7. กิตติกรรมประกาศ

       งานวิจัยเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้แรงบันดาลใจจากคณะครูอาจารย์เจ้าหน้าที่  นักเรียนโรงเรียนประถมสาธิตเพื่อให้ได้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สามารถนำมาพัฒนานักเรียนให้สมารถเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

 

8. อ้างอิง

ตวงแสง  ณ นคร. (2542).  การใช้สื่อการสอน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง .กรุงเทพฯ. หน้า 78-85.

นิพนธ์  ศุขปรีดี. ( กันยายน 2538 ).  บทบาทของ    คอมพิวเตอร์ต่อการศึกษาไทยในอนาคตไมโครคอมพิวเตอร์ 2 ( กันยายน 2538 ).หน้า 63-65

ไพรัช  ธัชยพงษ์และพิเชษฐ์  ดุรงคเวโรจน์. (2541).เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.     กรุงเทพฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2547).  ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. ราชบัณฑิตยสถานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, ราชกิจจานุเบกษา 2542  ฉบับกฤษฏีกา เล่ม 114.  กรุงเทพฯ.

ศิริ  สาเกทอง. (2527).  การเรียนการสอนคอมพิวเตอร์,” คอมพิวเตอร์ไดเจสท์. 1 : 20 – 24.