บทที่ 5

สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

 

          การศึกษาวิจัยเรื่องบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส มีขั้นตอนการวิจัยสรุปได้ดังนี้

               1. สรุปผลการวิจัย

2. อภิปรายผลการวิจัย

3. ข้อเสนอแนะ

สรุปผลการวิจัย

จากการดำเนินการวิจัยตามขั้นตอน สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

          1. คุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้านเทคนิคผลิตสื่อ มีคุณภาพอยู่ในระดับ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยทั้งฉบับเท่ากับ 4.52  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทั้งฉบับเท่ากับ 0.52

          2. คุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้านเนื้อหา มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยทั้งฉบับเท่ากับ 4.61  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทั้งฉบับเท่ากับ 0.32

3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซสที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพของบทเรียนเท่ากับ 81.33/83.89 จึงสรุปได้ว่าว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ สำหรับประสิทธิภาพก่อนกระบวนการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส (Epreมีค่าเท่ากับ 35.06 และประสิทธิภาพหลังกระบวนการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส (Epostมีค่าเท่ากับ 83.89 เมื่อเปรียบเทียบแล้วมีค่าความแตกต่างเท่ากับ 48.83  ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซสที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพของบทเรียนที่ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรียนสูงขึ้น ดังนั้นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้

การอภิปรายผลการวิจัย

              การวิจัยเรื่อง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส ผลการวิจัยปรากฏว่ามีประสิทธิภาพของบทเรียนเท่ากับ 81.33/83.89 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพหลังกระบวนการเรียน (E2) ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นมีค่าเท่ากับ 83.89 เปรียบเทียบกับประสิทธิภาพระหว่างกระบวนการเรียน(E1) ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่าผลการทำแบบทดสอบระหว่างกระบวนการเรียน(E1)นั้นมีค่าน้อยกว่าผลการทำแบบทดสอบหลังกระบวนการเรียน(E2) ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แสดงว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ สามารถให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ

              จากการทำแบบทดสอบของผู้สอบ ผลคะแนนในภาคทฤษฎี คะแนนเต็ม 20 คะแนน ปรากฏผลคะแนนของผู้สอบอยู่ระหว่าง 13-19 คะแนน และผลคะแนนในภาคปฏิบัติ คะแนนเต็ม 80 คะแนน ปรากฏผลคะแนนของผู้สอบอยู่ระหว่าง 61-75 คะแนนรวมของทั้งสองภาคมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80 ขึ้นไปมีจำนวน 31 คน จากจำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 88.57

              ในส่วนของการประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้านเทคนิคผลิตสื่อ โดยผู้ทรงคุณวุฒินั้น ระดับความคิดเห็นจากการตรวจแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น ได้ค่าเฉลี่ยรวมทั้งฉบับเท่ากับ 4.52  มีคุณภาพอยู่ในระดับ ดีมาก เนื่องจากการจัดบทเรียนนั้น มีการนำเสนอชื่อเรื่องหลักและชื่อเรื่องย่อยของบทเรียนที่น่าสนใจ การควบคุมบทเรียนเช่น การใช้เมาส์ การใช้แป้นพิมพ์ การหน่วงเวลา ใช้งานง่าย มีความสะดวกและคล่องตัวในการใช้บทเรียน คำสั่งที่ใช้บทเรียนมีความชัดเจนไม่คลุมเครือ ง่ายต่อการ    ใช้งาน การออกแบบหน้าจอโดยภาพรวมมีความสวยงาม วิธีการโต้ตอบบทเรียนโดยภาพรวมมีความเหมาะสม ด้านความเหมาะสมของตัวอักษรและสี ใช้รูปแบบตัวอักษรในการนำเสนอที่อ่านง่าย ขนาดตัวอักษรเหมาะสมา สีของตัวอักษร สีของพื้นหลัง และสีของกราฟิก โดยภาพรวมมีความสวยงาม ด้านของแบบฝึกหัด การใช้แบบฝึกหัดภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมีความสะดวกและคล่องตัว และมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำแบบฝึกหัดที่เหมาะสม ในด้านของแบบทดสอบ วิธีการโต้ตอบแบบทดสอบ เช่น การใช้แป้นพิมพ์ การใช้เมาส์คลิก และการเลื่อนเมาส์ ใช้งานง่าย วิธีการรายงานผลคะแนนแต่ละข้อมีความชัดเจน และวิธีการสรุปผลคะแนนรวมท้ายแบบทดสอบน่าสนใจ และมีความเหมาะสม

              การประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้านเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒินั้น ระดับความคิดเห็นจากการตรวจแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น ได้ค่าเฉลี่ยทั้งฉบับเท่ากับ4.61  มีคุณภาพอยู่ในระดับดี เนื่องจากในด้านความเหมาะสมของภาพ ภาษา และเสียงนั้น ภาพที่ใช้ในการนำเสนอเนื้อหามีความเหมาะสม ขนาดของภาพไม่เล็กหรือไม่ใหญ่จนเกินไป ภาพกราฟิกมีความสวยงาม เสียงดนตรีที่ใช้ประกอบมีความเหมาะสม ส่วนเสียงบรรยายไม่ได้ใช้  ด้านเนื้อหาและการดำเนินเรื่องนั้น วัตถุประสงค์มีความสมบูรณ์ เนื้อหาและวัตถุประสงค์มีความสอดคล้องกัน มีปริมาณเนื้อหาในแต่ละเรื่อง อาจมีบางเรื่องมากเกินไป หรือบางเรื่องน้อยเกินไป เนื้อหามีความถูกต้อง มีการนำเสนอเนื้อหาเป็นลำดับขั้น มีความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา และการดำเนินเรื่องน่าสนใจ ด้านแบบฝึกหัดการใช้แบบฝึกหัดภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมีความสะดวกและคล่องตัว คำสั่งที่ใช้ในแบบฝึกหัดมีความชัดเจนดีมาก ด้านแบบทดสอบ คำถามแบบทดสอบภาคทฤษฎีมีความชัดเจนดี มีจำนวนข้อที่เหมาะสม คำสั่งแบบทดสอบภาคปฏิบัติมีความชัดเจนและมีจำนวนข้อที่เหมาะสม

ข้อเสนอแนะ

              จากผลการวิจัย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้

          1. การสร้างบทเรียนในส่วนของการนำเสนอควรใช้ภาพประกอบบทเรียนให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้และความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น

          2. ภาพต่างๆ ที่ใช้นำเสนอ ควรมีความสอดคล้องกับเนื้อหา

3. ควรใส่เสียงบรรยายประกอบบทเรียนเพื่อง่ายต่อการเรียนยิ่งขึ้น

4. ควรใช้ภาพกราฟิกและปุ่มคำสั่ง ที่ตกแต่งหรือออกแบบด้วยโปรแกรมโฟโต้ชอปให้มากกว่านี้ เพราะส่วนใหญ่สร้างจากโปรแกรม Authorware Professional

5. แบบฝึกหัดและแบบทดสอบที่เป็นแบบทดสอบภาคทฤษฎี ควรมีการรวมคะแนนสะสมในแต่ละข้อ เพื่อให้ผู้เรียนทราบผลการเรียนของตัวเอง

6. แบบฝึกหัดและแบบทดสอบที่เป็นแบบทดสอบภาคปฏิบัติ ควรมีแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แสดงให้ผู้เรียนทราบ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบ

ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยครั้งต่อไป

          1. ควรสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในรายวิชาอื่นๆ ที่มีการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติ เช่น วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน, วิชาการนำเสนอข้อมูล และวิชาตารางคำนวณ เป็นต้น

          2. ในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป ควรจะเป็นการสร้างบทเรียนที่สามารถนำเสนอผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต เพื่อให้สามารถเผยแพร่บทเรียนให้แก่ผู้เรียนหรือกลุ่มเป้าหมายได้อย่างครอบคลุม เพื่ออำนวยความสะดวกของผู้เรียนและผู้สอน โดยที่ผู้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้องอยู่พร้อมกัน ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการศึกษาซึ่งจะเป็นการศึกษาอย่างไร้พรมแดนแบบไม่มีเงื่อนไขของเวลาและสถานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง และยังสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนแต่ละคนได้โดยไม่ต้องมานั่งรอเรียนพร้อมๆ กัน ซึ่งอาจจะทำให้ผู้เรียนสนใจหรือเพลิดเพลินในการเรียนที่เรียนด้วยตนเองมากขึ้น และยังเป็นผลให้ผู้เรียนเกิดความรู้ที่ถาวร ซึ่งการจัดการเรียนการสอนแบบนี้จะเป็นการนำไปสู่การเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ