บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

 

การวิจัยครั้งนี้ ได้วิเคราะห์ข้อมูลหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา การจัดการข้อมูลเบื้องต้น  เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส มีผลการวิจัยดังนี้

1. ผลการวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบ

2. ผลการวิเคราะห์คุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

3. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของคะแนนก่อนเรียนและคะแนนหลังเรียน

ผลการวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบ

1. ผลการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC)

          นำแบบทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไปให้ผู้เชี่ยวชาญการวัดประเมินผลเป็นผู้ประเมินค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ของข้อสอบแต่ละข้อกับวัตถุประสงค์ของข้อสอบที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องเฉลี่ย 0.5 ขึ้นไป ผลการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.00 ทั้งสองแบบทดสอบ ภาคทฤษฎีมีจำนวนข้อสอบทั้งหมด 20 ข้อ  ภาคปฏิบัติแบ่งออกเป็น 3 หน่วยการฝึกปฏิบัติเป็นข้อสอบที่สามารถนำไปพัฒนาและตรวจสอบในขั้นต่อไปได้ ซึ่งดูรายละเอียดในภาคผนวก ค.

2. ผลการหาค่าระดับความยากง่าย (P)

          นำผลสอบที่ได้จากการทดสอบนักเรียนที่ผ่านการเรียนรายวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น รหัสวิชา ง30203 มาแล้วจำนวน 20 คน มาวิเคราะห์เพื่อหาค่าความยากง่ายของข้อสอบรายข้อ ข้อสอบที่มีค่าความยากง่าย(P) อยู่ระหว่าง 0.25-0.75 เป็นข้อที่นำมาใช้ได้ ซึ่งได้แบบทดสอบที่ตรงตามเกณฑ์จำนวน 20 ข้อ ดังรายละเอียดภาคผนวก ข.

3. ผลการหาค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ

          นำผลสอบที่ได้จากการทดสอบนักเรียนที่ผ่านการเรียนรายวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น รหัสวิชา ง30203 มาแล้วจำนวน 20 คน มาวิเคราะห์เพื่อหาค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบรายข้อ โดยทำการเลือกข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.2-0.3 เป็นข้อที่นำมาใช้ได้ ซึ่งได้แบบทดสอบที่ตรงตามเกณฑ์จำนวน 20 ข้อ ดังรายละเอียดภาคผนวก ข.

4. ผลการหาค่าความเชื่อมั่น(Reliability)

          การคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบใช้วิธีการหาความเชื่อมั่นโดยใช้สูตร KR-20 ของ Kuder Richardson ผลการคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบภาคทฤษฎีเท่ากับ 0.86 และ ผลการคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบภาคปฏิบัติเท่ากับ 0.83 ดังรายละเอียดภาคผนวก ข. แสดงว่าแบบทดสอบทั้งสองมีความเชื่อมั่นสามารถนำไปใช้ทดสอบเพื่อวัดผลได้

ผลการวิเคราะห์คุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

          การวิเคราะห์คุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ประเมิน แบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ คุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้านเทคนิคการผลิตสื่อ แสดงรายละเอียดดังตารางที่ 3 และ คุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้านเนื้อหา แสดงรายละเอียดดังตารางที่ 4

ตารางที่ 3 แสดงผลการวิเคราะห์คุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้านเทคนิคการผลิตสื่อ

รายการ

S.D.

ความหมาย

1. การจัดบทเรียน

1.1 การนำเสนอชื่อเรื่องหลักของบทเรียน

1.2 การนำเสนอชื่อเรื่องย่อยของบทเรียน

1.3 ความยากง่ายของการควบคุมบทเรียน เช่น การใช้เมาส์ การใช้แป้นพิมพ์ การหน่วงเวลา

1.4 ความสะดวกและความคล่องตัวของการใช้บทเรียน

1.5 การออกแบบหน้าจอ โดยภาพรวม

1.6 วิธีการโต้ตอบบทเรียน โดยภาพรวม

,

4.33

4.00

4.00

4.33

4.67

4.00

,

0.58

0.00

1.00

0.58

0.58

0.00

,

ดี

ดี

ดี

ดี

ดีมาก

ดี

รวม

4.22

0.46

ดี

2. ความเหมาะสมของตัวอักษรและสี

2.1 รูปแบบตัวอักษรที่ใช้ในการนำเสนอ

2.2 ขนาดของตัวอักษรที่ใช้

2.3 สีของตัวอักษร โดยภาพรวม

2.4 สีของพื้นหลัง โดยภาพรวม

2.5 สีของภาพและกราฟิก โดยภาพรวม

.

5.00

4.67

4.67

4.67

4.67

 .

0.00

0.58

0.58

0.58

0.58

 .

ดีมาก

ดีมาก

ดีมาก

ดีมาก

ดีมาก

รวม

 4.73 0.46 ดีมาก
3. แบบฝึกหัด

3.1 ความสะดวกและคล่องตัวในการใช้ แบบฝึกหัด ภาคทฤษฏี………………………………….

3.2 ความสะดวกและคล่องตัวในการใช้ แบบฝึกหัด ภาคปฏิบัติ………………………………….

3.3 สิ่งอำนวยความสะดวกในการทำแบบฝึกหัด

4.33

4.67

4.67

0.58

0.58

0.58

 .

ดี

ดีมาก

ดีมาก

รวม

 4.56  0.58  ดีมาก
4. แบบทดสอบ

4.1 วิธีการโต้ตอบแบบทดสอบ เช่น การใช้ แป้นพิมพ์ การใช้เมาส์คลิก การเลื่อนเมาส์

4.2 วิธีการรายงานผลคะแนนแต่ละข้อของแบบทดสอบ

4.3 วิธีการสรุปผลคะแนนรวมท้ายแบบทดสอบ

.  

4.33

4.67

4.67

.  

0.58

0.58

0.58

 . 

ดี

ดีมาก

ดีมาก

 รวม   4.56   0.58   ดีมาก
รวมทั้งฉบับ

4.52

0.52

ดีมาก

 

              จากตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์คุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้านเทคนิคการ   ผลิตสื่อ พบว่าภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ค่าเฉลี่ยรวมทั้งฉบับเท่ากับ 4.52 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.52  เมื่อพิจารณาแยกออกเป็นแต่ละด้านพบว่า ด้านที่ 1 การจัดบทเรียน มีคุณภาพอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.22 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46 และรายการย่อยพบว่า รายการย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.67 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.58 คุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก คือ 1.5) การออกแบบหน้าจอ โดยภาพรวม  รายการย่อยที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมาเท่ากับ 4.33 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.58  คุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี มี 2 รายการย่อยคือ 1.1) การนำเสนอชื่อเรื่องหลักของบทเรียน และ 1.4) ความสะดวกและความคล่องตัวของการใช้บทเรียน ส่วนรายการย่อยที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.00 และ 1.00 คุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี มี 3 รายการย่อย คือ 1.2) การนำเสนอชื่อเรื่องย่อยของบทเรียน 1.3) ความยากง่ายของการควบคุมบทเรียน เช่นการใช้เมาส์ การใช้แป้นพิมพ์ การหน่วงเวลา และ 1.6) วิธีโต้ตอบบทเรียน โดยภาพรวม

              ด้านที่ 2 ความเหมาะสมของตัวอักษรและสี  มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก  ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.73 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมเท่ากับ  0.46 และรายละเอียดย่อยพบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 5.00 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.00 คุณภาพอยู่ในระดับดีมาก มี 1 รายการ คือ 2.1) รูปแบบตัวอักษรที่ใช้ในการนำเสนอ รายการย่อยที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมาเท่ากับ 4.67 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.58 คุณภาพอยู่ในระดับดีมาก มี 4 รายการย่อย คือ 2.2) ขนาดของตัวอักษรที่ใช้  2.3) สีของตัวอักษร โดยภาพรวม  2.4) สีของพื้นหลัง โดยภาพรวม  2.5) สีของภาพและกราฟิก โดยภาพรวม

              ด้านที่ 3 แบบฝึกหัด มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.56 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.58 และรายการย่อยพบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 4.67 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.58  คุณภาพอยู่ระดับดีมาก มี 2 รายการย่อย คือ 3.2) ความสะดวกและความคล่องตัวในการใช้แบบฝึกหัดภาคปฏิบัติ และ 3.3) สิ่งอำนวยความสะดวกในการทำแบบฝึกหัด รายการย่อยที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมาเท่ากับ 4.33 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.58 คุณภาพอยู่ในระดับดี มี 1 รายการคือ 3.1) ความสะดวกและคล่องตัวในการใช้แบบฝึกหัด ภาคทฤษฎี

              ด้านที่ 4 แบบทดสอบ มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.56 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.58 และรายการย่อยพบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 4.67 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.58 คุณภาพอยู่ระดับดีมาก มี 2 รายการย่อย คือ 4.2) วิธีการรายงานผลคะแนนแต่ละข้อของแบบทดสอบ และ 4.3) วิธีการสรุปผลคะแนนรวมท้ายแบบทดสอบ รายการย่อยที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมาเท่ากับ 4.33 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.58 คุณภาพอยู่ในระดับดี มี 1 รายการคือ 4.1) วิธีการโต้ตอบแบบทดสอบ เช่นการใช้แป้นพิมพ์ การใช้เมาส์คลิก การเลื่อนเมาส์

ตารางที่ 4 แสดงผลการวิเคราะห์คุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้านเนื้อหา

รายการ

 

S.D.

ความหมาย

1. ความเหมาะสมของภาพ ภาษา เสียง

1.1 ความเหมาะสมของภาพที่ใช้นำเสนอเนื้อหา

1.2 ขนาดของภาพที่ใช้ประกอบบทเรียน

1.3 ภาพกราฟิกที่ใช้ประกอบบทเรียน

1.4 เสียงดนตรีที่ใช้ประกอบบทเรียน

4.67

4.00

4.67

4.00

0.58

1.00

0.58

0.00

ดีมาก

ดี

ดีมาก

ดี

รวม

4.33

0.54

ดี

2. เนื้อหาและการดำเนินเรื่อง

2.1 ความสมบูรณ์ของวัตถุประสงค์

2.2 ความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับวัตถุประสงค์

2.3 ปริมาณของเนื้อหาในแต่ละเรื่อง

2.4 ความถูกต้องของเนื้อหา

2.5 ลำดับขั้นตอนในการนำเสนอเนื้อหา

2.6 ความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา

2.7 ความน่าสนใจในการดำเนินเรื่อง

.

4.67

4.67

4.00

5.00

4.33

4.00

4.00

.

0.58

0.58

0.00

0.00

0.58

0.00

0.00

.

ดีมาก

ดีมาก

ดี

ดีมาก

ดี

ดี

ดี

รวม

4.38

0.25

ดี

3. แบบฝึกหัด

3.1 ความสะดวกและคล่องตัวในการใช้แบบฝึกหัด ภาคทฤษฏี………………………………….

3.2 ความสะดวกและคล่องตัวในการใช้แบบฝึกหัด ภาคปฏิบัติ………..………………………..

3.3 ความชัดเจนของคำสั่งในแบบฝึกหัด…………

.

5.00

4.67

5.00

.

0.00

0.58

0.00

.

ดีมาก

ดีมาก

ดีมาก

รวม

4.89

0.19

ดีมาก

4. แบบทดสอบ

4.1 ความชัดเจนของคำถามแบบทดสอบภาคทฤษฎี

4.2 จำนวนข้อของแบบทดสอบภาคทฤษฎี

4.3 ความชัดเจนของคำสั่งแบบทดสอบภาคปฏิบัติ

4.4 จำนวนข้อของแบบทดสอบภาคปฏิบัติ

.

5.00

4.67

5.00

4.67

.

0.00

0.58

0.00

0.58

.

ดีมาก

ดีมาก

ดีมาก

ดีมาก

รวม

 4.83  0.29  ดีมาก

รวมทั้งฉบับ

4.61 

 0.32  ดีมาก

จากตารางที่ 4ผลการวิเคราะห์คุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้านเนื้อหา พบว่า ภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ค่าเฉลี่ยรวมทั้งฉบับเท่ากับ 4.61 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.32   เมื่อพิจารณาแยกออกเป็นแต่ละด้านพบว่า ด้านที่ 1 ความเหมาะสมของภาพ ภาษา เสียง มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.33 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมเท่ากับ 0.54 และรายละเอียดรายการย่อยพบว่า รายการย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.67 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก  มี 2 รายการ คือ 1.1) ความเหมาะสมของภาพที่ใช้นำเสนอเนื้อหา และ 1.3) ภาพกราฟิกที่ใช้ประกอบบทเรียน รายการย่อยที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมาเท่ากับ 4.00 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.00 และ 0.00 มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี มี 2 รายการ คือ 1.2) ขนาดของภาพที่ใช้ประกอบบทเรียน และ 1.4) เสียงดนตรีที่ใช้ประกอบบทเรียน

              ด้านที่ 2 เนื้อหาและการดำเนินเรื่อง มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.38 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมเท่ากับ 0.25 และรายละเอียดรายการย่อยพบว่า รายการย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 5.00 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.00 มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก  มี 1 รายการ คือ 2.4) ความถูกต้องของเนื้อหา รายการย่อยที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมาเท่ากับ 4.67 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ0.58 มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก  มี 2 รายการ คือ 2.1) ความสมบูรณ์ของวัตถุประสงค์ และ 2.2) ความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับวัตถุประสงค์ รายการย่อยที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี มี 1 รายการ คือ 2.5) ลำดับขั้นตอนในการนำเสนอเนื้อหา ส่วนรายการย่อยที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 4.00ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.00  มีคุณภาพอยู่ในระดับดี มี 3 รายการ คือ 2.3) ปริมาณของเนื้อหาในแต่ละเรื่อง  2.6) ความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา และ 2.7) ความน่าสนใจการดำเนินเรื่อง

              ด้านที่ 3 แบบฝึกหัด  มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.89 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมเท่ากับ 0.19 และรายละเอียดรายการย่อยพบว่า รายการย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 5.00 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.00 มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มี 2 รายการ คือ 3.1) ความสะดวกและคล่องตัวในการใช้แบบฝึกหัด ภาคทฤษฎี และ 3.3) ความชัดเจนของคำสั่งในแบบฝึกหัด รายการย่อยที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมาเท่ากับ 4.67 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก  มี 1 รายการ คือ 3.2) ความสะดวกและคล่องตัวในการใช้แบบฝึกหัด ภาคปฏิบัติ

              ด้านที่ 4 แบบทดสอบ มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.83 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมเท่ากับ 0.29 และรายละเอียดรายการย่อยพบว่า รายการย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 5.00 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.00 มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มี 2 รายการ คือ 4.1) ความชัดเจนของคำถามแบบทดสอบภาคทฤษฏี  4.3) ความชัดเจนของคำสั่งแบบทดสอบภาคปฏิบัติ รายการย่อยที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมาเท่ากับ 4.67 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก  มี 2 รายการ คือ 4.2) จำนวนข้อของแบบทดสอบภาคทฤษฏี และ 4.4) จำนวนข้อของแบบทดสอบภาคปฏิบัติ

ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของคะแนนก่อนเรียนและคะแนนหลังเรียน

1. ผลการหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

              สมมติฐานการวิจัย ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่อง การสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส ที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสอน การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียน ได้กระทำกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 35 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 4 โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โดยให้กลุ่มตัวอย่างเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น หลังจากนั้นก็ได้ทำการทดสอบใช้เวลา 100 นาที ผลการทดสอบแสดงดังตารางที่ 5

ตารางที่ 5 แสดงผลการหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

รายการ

จำนวนผู้เรียน

คะแนนเต็ม

คะแนนรวม

Xi

ประสิทธิภาพ

คะแนนทำแบบฝึกหัดท้าย หน่วยการเรียน (E1)

35

100

2843

81.23

คะแนนทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (E2)

35

100

2936

83.89

              จากตารางที่ 5 ผลการหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ค่าประสิทธิภาพของคะแนนทำแบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียน(E1) มีค่าเท่ากับ 81.33 และค่าประสิทธิภาพของคะแนนทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (E2) มีค่าเท่ากับ 83.89 พบว่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคือ 81.33/83.89 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80 ตรงกับสมมติฐานที่ตั้งไว้คือประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น ใช้ในการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ระดับ 80/80 ขึ้นไป ซึ่งดูรายละเอียดในภาคผนวก ค.

ตารางที่ 6 แสดงผลการทดสอบหลังจากที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ภาคทฤษฏี

S.D.

ภาคทฤษฏี

ภาคปฏิบัติ

S.D.

ภาคปฏิบัติ

จำนวน

ผู้ผ่านเกณฑ์ 80%

จำนวน

ผู้ไม่ผ่านเกณฑ์ 80%

16.03

1.36

67.86

3.65

31

4

              จากตารางที่ 6 ผลการทดสอบหลังจากที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิธีหาค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเป็นรายบุคคล ซึ่งต้องทำแบบทดสอบให้ผ่านคือ คะแนนรวมของทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ต้องทำได้ร้อยละ 80 ขึ้นไป โดยแยกเป็นคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบภาคทฤษฎี 20 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบภาคปฏิบัติ 80 คะแนน ผลปรากฏว่า มีผู้ทำแบบทดสอบ สอบผ่าน จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 88.57  ไม่ผ่านจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 11.43  คะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบภาคทฤษฎีเท่ากับ 16.03 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบทดสอบภาคทฤษฎีเท่ากับ 1.36 และ คะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบภาคปฏิบัติเท่ากับ 67.86  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบทดสอบภาคปฏิบัติเท่ากับ 1.36 ซึ่งดูรายละเอียดในภาคผนวก ค.

2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของคะแนนก่อนเรียนและคะแนนหลังเรียน

              ตารางที่ 7 แสดงค่าความแตกต่างระหว่างคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

จำนวน คน

ค่าเฉลี่ย

()

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

(S.D.)

t

Sig. (2-tailed)

ก่อนเรียน

35

35.06

3.26

-79.32

.00

หลังเรียน

35

83.89

3.99

หมายเหตุ t.df   ** p < .05

              จากตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของนักเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งยอมรับสมมุติฐานการวิจัย ซึ่งดูรายละเอียดในภาคผนวก ค.