บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย

การวิจัยเรื่อง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามหัวข้อดังต่อไปนี้

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

4. การวิเคราะห์ข้อมูล

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1. ประชากร

ประชากรที่ใช้การวิจัยครั้งนี้ คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง จำนวน 8 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 280 คน

2. กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 4 กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง จำนวน 35 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา การจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

2.1 แบบทดสอบภาคทฤษฎี ประกอบด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน
2.2 แบบทดสอบภาคปฏิบัติ ประกอบด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน

การสร้างเครื่องมือในการวิจัย

การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการสร้างเครื่องมือต่างๆ ดังนี้

1. สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส

ในส่วนของการสร้างบทเรียน มีขั้นตอนดังนี้

 

1.1 ศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา วิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น

1.2 ศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่ได้ในส่วนของเนื้อหาของวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น ที่เกี่ยวกับการสร้างฟอร์ม และเนื้อหาของโปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส 2003 เพื่อนำมากำหนดเป็นโครงสร้างของเนื้อหาและแนวทางการพัฒนาบทเรียน ในการสร้างเครื่องมือในครั้งนี้ ใช้โปรแกรมนิพนธ์บทเรียน Authorware Professional เป็นเครื่องมือในการพัฒนาบทเรียน

1.3 เขียนวัตถุประสงค์การดำเนินงานเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการวัด ที่เกี่ยวกับการสร้างข้อมูล และเนื้อหาของโปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส ในการเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางกำหนดการออกแบบหน้าจอบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และกำหนดแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

1.4 ออกแบบหน้าจอโดยพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่รูปแบบ และขนาดของตัวอักษรที่ใช้ในส่วนของการควบคุมการเรียน ส่วนของพื้นที่การใช้งานบนจอภาพ ส่วนของคำแนะนำต่างๆ และส่วนอื่นๆ เมื่อออกแบบแล้วนำไปทดลองจริงกับเครื่องคอมพิวเตอร์บนจอคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน

1.5 ออกแบบผังงาน(Flow Chart) และเขียนบทดำเนินเรื่อง(storyboard) ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาออกแบบตามหัวเรื่องที่กำหนด

1.6 สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยเนื้อหาของวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น รหัสวิชา ง30203   ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง  ที่เกี่ยวกับการสร้างฟอร์มโดยใช้ และเนื้อหาของโปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส 2003 ซึ่งเนื้อหาของบทเรียนที่จะมาสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการวิจัยในครั้งนี้แบ่งออกเป็น หน่วยการเรียน และหน่วยการฝึก มีลำดับหัวข้อดังต่อไปนี้

หน่วยการเรียน

หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการข้อมูล
หน่วยการเรียนที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูล
หน่วยการเรียนที่ 3 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลและการจัดการแฟ้มข้อมูล
หน่วยการเรียนที่ 4 การพัฒนาระบบ
หน่วยการเรียนที่ 5 การสร้างฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล
หน่วยการเรียนที่ 6 ตารางข้อมูล
หน่วยการเรียนที่ 7 การป้อนและการปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูล,การเรียงลำดับและการค้นหาข้อมูล
หน่วยการเรียนที่ 8 แบบสอบถาม
หน่วยการเรียนที่ 9 ฟอร์ม
หน่วยการเรียนที่ 10 รายงาน
หน่วยการเรียนที่ 11 แมโครและโมดูล

หน่วยการฝึก

หน่วยการฝึกที่ 1 การสร้างฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล
หน่วยการฝึกที่ 2 ตารางข้อมูล
หน่วยการฝึกที่ 3 การป้อนและการปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูล,การเรียงลำดับและการค้นหาข้อมูล
หน่วยการฝึกที่ 4 แบบสอบถาม
หน่วยการฝึกที่ 5 ฟอร์ม
หน่วยการฝึกที่ 6 รายงาน
หน่วยการฝึกที่ 7 แมโครและโมดูล

หน่วยการเรียนและหน่วยการฝึกมีวัตถุประสงค์ดังนี้

หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการข้อมูล
วัตถุประสงค์ คือ

1.1 สามารถบอกความสำคัญและลักษณะของข้อมูลได้
1.2 สามารถจำแนกการจัดการข้อมูลได้
1.3 สามารถอธิบายการแทนข้อมูลและหน่วยข้อมูลในคอมพิวเตอร์ได้
1.4 ให้นักเรียนได้มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบแฟ้มข้อมูล

หน่วยการเรียนที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูล
วัตถุประสงค์ คือ

1.1 สามารถบอกนิยามของฐานข้อมูลได้
1.2 สามารถอธิบายส่วนประกอบของฐานข้อมูลได้
1.3 สามารถบอกข้อมูลโครงสร้างและรูปแบบได้
1.4 สามารถบอกประโยชน์ของการประมวลผลข้อมูลได้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลและการจัดการแฟ้มข้อมูล
วัตถุประสงค์ คือ

1.1 สามารถอธิบายส่วนประกอบของแฟ้มข้อมูลได้
1.2 สามารถบอกประเภทของฐานข้อมูลได้
1.3 สามารถบอกความหมายและชนิดของเอนทิตี้ได้
1.4 สามารถเข้าใจระบบฐานข้อมูลในโปรแกรมประยุกต์ได้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การพัฒนาระบบ
วัตถุประสงค์ คือ

1.1 สามารถเข้าใจการวิเคราะห์ระบบ
1.2 สามารถเข้าใจการออกแบบระบบ
1.3 สามารถเข้าใจการสร้างระบบ
1.4 สามารถเข้าใจการทดสอบระบบและแก้ไขระบบ
1.5 สามารถเข้าใจการนำระบบไปใช้งาน
1.6 สามารถเข้าใจการบำรุงรักษาระบบ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การสร้างฐานข้อมูลและระบบการจัดการฐานข้อมูล
วัตถุประสงค์ คือ

สามารถอธิบายส่วนประกอบของระบบการจัดการฐานข้อมูล

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ตารางข้อมูล

วัตถุประสงค์ คือ

1.1 สามารถเข้าใจการออกแบบตาราง
1.2 สามารถบอกชนิดของข้อมูลในตารางได้
1.3 สามารถเข้าใจการจัดการข้อมูลในตาราง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การป้อนและการปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูล,การเรียงลำดับและการค้นหาข้อมูล
วัตถุประสงค์ คือ

1.1 สามารถเข้าใจวิธีการป้อนข้อมูลใหม่เข้าฐานข้อมูล
1.2 สามารถเข้าใจวิธีการปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูล

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 แบบสอบถาม
วัตถุประสงค์ คือ

สามารถบอกชนิดของแบบสอบถามได้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 ฟอร์ม
วัตถุประสงค์ คือ

1.1 สามารถอธิบายการสร้างฟอร์มโดยใช้ตัวช่วยสร้างได้
1.2 สามารถอธิบายกล่องเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างฟอร์มได้
1.3 สามารถเข้าใจการกำหนดรูปแบบของฟอร์ม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 รายงาน
วัตถุประสงค์ คือ

10.1 สามารถอธิบายการสร้างรายงานได้
10.2 สามารถบอกความหมายของนิพจน์ต่างๆ  ได้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 แมโครและโมดูล
วัตถุประสงค์ คือ

11.1 สามารถบอกประโยชน์ของแมโครได้
11.2 สามารถอธิบายการสร้างแอคชันได้
11.3 สามารถบอกความหมายของอาร์กิวเมนต์แอคชันได้
11.4 สามารถอธิบายการทำงานแบบโมดูลได้

หน่วยการฝึกที่ 1  การสร้างฐานข้อมูลและระบบการจัดการฐานข้อมูล
วัตถุประสงค์ คือ

สามารถสร้างฐานข้อมูลที่กำหนดให้ได้

หน่วยการฝึกที่ 2 ตารางข้อมูล
วัตถุประสงค์ คือ

1.1 สามารถสร้างตารางในมุมมองออกแบบได้
1.2 สามารถป้อนข้อมูลลงในตารางได้
1.3 สามารถกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูลได้
1.4 สามารถแก้ไขความสัมพันธ์ของข้อมูลได้
1.5 สามารถทดสอบความสัมพันธ์ของข้อมูลได้

หน่วยการฝึกที่ 3  การป้อนและการปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูล,การเรียงลำดับและการค้นหาข้อมูล
วัตถุประสงค์ คือ

1.1 สามารถป้อนข้อมูลใหม่เข้าฐานข้อมูลได้
1.2 สามารถปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูลได้

หน่วยการฝึกที่ 4 แบบสอบถาม
วัตถุประสงค์ คือ

 

1.1 สามารถสร้างแบบสอบถามอย่างง่ายได้
1.2 สามารถสร้างแบบสอบถามในมุมมองออกแบบได้
1.3 สามารถสร้างแบบสอบถามแบบแท็บไขว้ได้
1.4 สามารถสร้างแบบสอบถามเพื่อค้นรายการที่ซ้ำได้
1.5 สามารถสร้างแบบสอบถามการค้นหาข้อมูลที่ไม่เข้าคู่ได้

หน่วยการฝึกที่ 5 ฟอร์ม
วัตถุประสงค์ คือ

1.1 สามารถสร้างฟอร์มในมุมมองออกแบบหรือสร้างฟอร์มโดยใช้ตัวช่วยสร้างได้
1.2 สามารถวางเขตข้อมูลลงในฟอร์มได้
1.3 สามารถจัดรูปแบบข้อความ,วางภาพ,ใส่ป้ายชื่อลงในฟอร์มได้
1.4 สามารถสร้างฟอร์มในตัวควบคุมแท็บได้
1.5 สามารถเชื่อมโยงฟอร์มหลายมิติได้
1.6 สามารถแทรกและแก้ไขแผนภูมิในฟอร์มได้

หน่วยการฝึกที่ 6  รายงาน
วัตถุประสงค์ คือ

6.1 สามารถสร้างรายงานโดยตัวช่วยสร้างรายงานได้
6.2 สามารถสร้างรายงานในมุมมองออกแบบได้
6.3 สามารถสร้างป้ายผนึกได้

หน่วยการฝึกที่ 7 แมโครและโมดูล
วัตถุประสงค์ คือ

 

7.1 สามารถสร้างแมโครได้
7.2 สามารถสร้างเพิ่มแอคชั่นในแมโครได้
7.3 สามารถสร้างนิพจน์ได้
7.4 สามารถรันแมโครอัตโนมัติได้
7.5 สามารถสร้างทางลัดได้
7.6 สามารถสร้างโมดูลได้

นำเนื้อหาทั้งหมดมาสร้างเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเน้นการนำเสนอให้เกิดความน่าสนใจ เข้าใจง่าย ตรงตามวัตถุประสงค์ ในลักษณะการสอนจริงบนโปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซสซึ่งในแต่ละหน่วยการเรียนและหน่วยฝึกนั้น จะมีแบบฝึกหัดทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทบทวนความรู้ความสามารถ

1.7 นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นไปปรึกษาอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ และอาจารย์ผู้คุมวิทยานิพนธ์ร่วม เพื่อดูข้อบกพร่องและนำมาปรับปรุงแก้ไข
1.8 ทำการทดลองระดับรายบุคคล  ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง ปีการศึกษา 2550 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 6 คน
1.9 นำมาปรับปรุงและกลับไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คน
1.10 นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาปรับปรุงอีกครั้งหนึ่งแล้วนำไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง ปีการศึกษา 2550 จำนวน 35 คน

แผนภูมิที่ 7 แสดงขั้นตอนการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

2. สร้างแบบประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

1. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางการสร้างแบบประเมิน
2. สร้างแบบประเมิน จำนวน 2 ชุด

ชุดที่ 1 แบบประเมินคุณภาพบทเรียน โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคนิคการผลิตสื่อ เพื่อประเมินความเหมาะสมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น

ชุดที่ 2 แบบประเมินคุณภาพของบทเรียน โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านเนื้อหา เพื่อประเมินความเหมาะสมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น

ลักษณะของแบบทดสอบทั้งสองชุด จะมีลักษณะเป็นแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีเกณฑ์ดังนี้

5 หมายถึง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก
4 หมายถึง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีคุณภาพอยู่ในระดับดี
3 หมายถึง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง
2 หมายถึง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้
1 หมายถึง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีคุณภาพอยู่ในระดับควรปรับปรุง

เกณฑ์ในการแปลความหมาย

ระดับ 4.50-5.00 หมายถึง มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก
ระดับ 3.50-4.49 หมายถึง มีคุณภาพอยู่ในระดับดี
ระดับ 2.50-3.39 หมายถึง มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง
ระดับ 1.50-2.49 หมายถึง มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้
ระดับ 1.00-1.49 หมายถึง มีคุณภาพอยู่ในระดับควรปรับปรุง

3. นำแบบประเมินที่ได้ไปปรึกษาอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ และอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ร่วม และให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ที่มีประสบการณ์ทางด้านเนื้อหา, เทคโนโลยี และสถิติวัดผล ได้พิจารณาความเที่ยงตรงด้วย ดัชนีความสอดคล้อง (IOC)

4. ปรับปรุงแก้ไขแบบประเมิน ตามคำแนะนำที่ได้จากอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ และอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ร่วม จากนั้นจัดพิมพ์แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์เพื่อนำไปเก็บข้อมูลต่อไป

แผนภูมิที่ 8 แสดงขั้นตอนการสร้างแบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

3.  สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่จัดขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ แบบทดสอบภาคทฤษฎี และแบบทดสอบภาคปฏิบัติ

3.1 สร้างแบบทดสอบภาคทฤษฎี มีขั้นตอนการสร้างดังต่อไปนี้

1. ศึกษาเอกสาร และวิธีการสร้างแบบทดสอบภาคทฤษฎี
2. วิเคราะห์เนื้อหา และวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อสร้างแบบทดสอบภาคทฤษฎี
3. สร้างแบบทดสอบภาคทฤษฎี เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20  ข้อ กำหนดคะแนนข้อที่ตอบถูกเป็น 1 คะแนน และข้อที่ตอบผิดหรือตอบมากกว่าหนึ่งในข้อเดียวกัน หรือไม่ตอบ ให้ 0 คะแนน แล้วนำไปปรึกษาอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ และอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ร่วม

              นำแบบทดสอบภาคทฤษฎีไปหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา(content validity) โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเนื้อหา จำนวน 3 ท่าน พิจารณาความสอดคล้องของแบบทดสอบกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ โดยกำหนดเกณฑ์ดังนี้

คะแนน 1 สำหรับแบบทดสอบที่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
คะแนน 0 สำหรับแบบทดสอบที่ไม่แน่ใจว่ามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
คะแนน -1 สำหรับแบบทดสอบที่แน่ใจว่าไม่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้

              บันทึกผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละข้อ นำไปหาดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ แล้วคัดเลือกแบบทดสอบที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป ไปใช้เป็นแบบทดสอบ

4. นำแบบทดสอบภาคทฤษฎีมาปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่อง แล้วนำเสนออาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ และอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ร่วม ตรวจและแก้ไขอีกครั้ง
5. นำแบบทดสอบภาคทฤษฎีที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับนักเรียนที่ผ่านการเรียนรายวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น รหัสวิชา ง30203  มาแล้ว จำนวน 20 คน
6. นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์หาความยากง่าย (P) และค่าอำนาจ(D) เป็นรายข้อ โดยใช้เทคนิค 50% คัดเลือกแบบทดสอบที่มีค่าความยากง่าย 0.2 – 0.8 และค่าอำนาจจำแนก 0.2 ขึ้นไป เพื่อนำไปใช้งานจริง จำนวน 20 ข้อ
7. หาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบภาคทฤษฎีทั้งฉบับ โดยใช้สูตร KR-20 ของ Kuder Richardson (รวีวรรณ  ชินะตระกูล. 2540 : 162 )
8. จัดเก็บแบบทดสอบไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์

แผนภูมิที่ 9 แสดงขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคทฤษฎี

3.1 สร้างแบบทดสอบภาคปฏิบัติ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

 

1. ศึกษาเอกสารและวิธีการสร้างแบบทดสอบภาคปฏิบัติ
2. วิเคราะห์เนื้อหา และวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อสร้างแบบทดสอบภาคปฏิบัติ
3. สร้างแบบทดสอบภาคปฏิบัติ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบทดสอบเชิงวิเคราะห์ โดยจะกำหนดสถานการณ์ต่างๆ ขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้ทำสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซสให้ถูกต้อง และสมบูรณ์มากที่สุด
4. นำแบบทดสอบภาคปฏิบัติที่สร้างขึ้นไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเนื้อหา หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบภาคปฏิบัติกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
5. ปรับปรุงแก้ไขแบบทดสอบตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ
6. นำแบบทดสอบที่ได้ปรับปรุงแก้ไขไปทดลองใช้กับนักเรียนที่ผ่านการเรียนมาแล้ว จำนวน 6 คน และนำคะแนนที่ได้มาหาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใช้วิธีของ Hoyt (ล้วน  สายยศ และอังคณา  สายยศ. 2539 : 220-223)
7. นำแบบทดสอบไปใช้ และจัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์

แผนภูมิที่ 10 แสดงขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคปฏิบัติ

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูล รายละเอียดดังนี้

1. ผู้วิจัยจัดทำหนังสือขออนุญาต และขอความอนุเคราะห์จากงานบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถึงผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง

2. แจ้งให้กลุ่มตัวอย่างทราบล่วงหน้าก่อนทำการทดลอง

3. ติดตั้งโปรแกรมบทเรียนที่สร้างขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 35 ชุด ณ ห้องคอมพิวเตอร์ 1 โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง โดยนัดหมายกลุ่มตัวอย่างจำนวน 35 คน เพื่อทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา การจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซสที่สร้างขึ้น โดยชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของการใช้บทเรียน และการฝึกปฏิบัติ หลังจากนั้นให้กลุ่มตัวอย่างทดสอบก่อนเรียนในคอมพิวเตอร์และศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามลำพัง โดยเรียนเนื้อหาในแต่ละเรื่องพร้อมกับฝึกปฏิบัติจริงบนโปรแกรมไมโครซอฟต์ แอกเซส ตามแบบฝึกปฏิบัติที่สร้างไว้ แล้วทำแบบฝึกวัดการปฏิบัติ ถ้าไม่ผ่านก็สามารถไปฝึกปฏิบัติหรือย้อนกลับไปเรียนในส่วนของเนื้อหาได้ เมื่อทำแบบวัดผลการปฏิบัติผ่านก็ไปเรียนเนื้อหาใหม่ในเรื่องต่อไปจนครบทุกเรื่อง โดยมีครูประจำวิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 คน คอยให้คำแนะนำในส่วนที่ผู้เรียนไม่เข้าใจ

4. จัดให้มีการทดสอบวัดความรู้ความสามารถของผู้เรียนหลังจากเรียนจบ โดยได้จัดทำแบบทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังต่อไปนี้

ตอนที่ 1 ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบภาคทฤษฎีบนเครื่องคอมพิวเตอร์ อยู่ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบทดสอบ จำนวน 20 ข้อ กำหนดเวลา 40 นาที ผลคะแนนจากการทำแบบทดสอบคำนวณโดยคอมพิวเตอร์ คิดเป็นร้อยละ บันทึกผลคะแนนโดยครูผู้สอน

ตอนที่ 2  ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบภาคปฏิบัติ แบบทดสอบ จำนวน 1 ข้อ กำหนดเวลา 60 นาที ในการทำแบบทดสอบภาคปฏิบัติ ให้กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติจริงในโปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส หลังจากนั้นนำงานของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 35 คน ที่บันทึกลงในแผ่นซีดีบันทึกข้อมูลไปตรวจให้คะแนน โดยใช้แบบประเมินการทดสอบภาคปฏิบัติ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ

              การที่กำหนดเวลาในการทำแบบทดสอบภาคทฤษฎี 40 นาที ซึ่งน้อยกว่าการทำแบบทดสอบภาคปฏิบัติ ซึ่งกำหนดเวลาในการทำแบบทดสอบ 60 นาที นั้น เนื่องมากจากการทำแบบทดสอบภาคปฏิบัติต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์ตัวอย่างสถานการณ์ที่กำหนดให้ และต้องการสร้างตารางฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซสให้ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ตรงตามแบบประเมินการทดสอบภาคปฏิบัติให้มากที่สุดนั่นเอง

              หลังจากนั้นนำคะแนนทั้งสองภาค มาทำการเปรียบเทียบสัดส่วนคะแนนในการวัดผลคิดเป็นร้อยละ โดยให้คะแนนภาคทฤษฎี 20 คะแนน และคะแนนปฏิบัติ 80 คะแนน เมื่อรวมคะแนนทั้ง 2 ภาค ผู้ที่ได้คะแนนรวมร้อยละ 80 นับเป็นจำนวนผู้ที่สอบผ่านเกณฑ์การสอบผ่าน นำคะแนนไปหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อไป

              สำหรับการแบ่งสัดส่วนคะแนนในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้แบ่งคะแนนตามเกณฑ์ของครูผู้สอนวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง การที่แบ่งคะแนนในภาคทฤษฎีเพียง 20 คะแนน และภาคปฏิบัติถึง 80 คะแนนนั้น เนื่องจากผู้วิจัยต้องการที่จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการฝึกปฏิบัติ ซึ่งจะต้องใช้ความรู้และความเข้าใจในทุกๆ ส่วนที่ได้เรียนในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาประยุกต์ใช้ในการทำแบบทดสอบภาคปฏิบัตินั่นเอง

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. สถิติที่ใช้วิเคราะห์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

1.1 หาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ โดยใช้สูตรดังนี้(บุญเชิด  ภิญโญอนันตพงษ์. 256  : 88-90)

(3.1)

IOC = หาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบภาคทฤษฎีกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้

∑𝑅 = ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิด้านเนื้อหา

N = จำนวนของผู้ทรงคุณวุฒิ

1.2 หาความยากง่ายของแบบทดสอบ(ล้วน  ทองยศ และอังคณา  สายยศ. 2538 : 210-211 )

(3.2)

เมื่อ P  = ค่าความยากง่าย

       R  =  จำนวนคนที่ทำข้อนั้นถูก

       N  =  จำนวนคนที่ทำข้อนั้นทั้งหมด

ขอบเขตของค่า P และความหมาย

0.80 – 1.00 เป็นแบบทดสอบที่ง่ายมาก
0.60 – 0.79 เป็นแบบทดสอบที่ค่อนข้างง่าย(ใช้ได้)
0.40 – 0.59 เป็นแบบทดสอบที่ยากง่ายพอเหมาะ(ดี)
0.20 – 0.39 เป็นแบบทดสอบที่ค่อนข้างยาก(ใช้ได้)
0.00 – 0.19 เป็นแบบทดสอบที่ยากมาก

1.3 หาอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ(ล้วน  ทองยศ และ อังคณา  สายยศ. 2538 : 210 – 211)

(3.3)

เมื่อ D = ค่าอำนาจจำแนก

       RU = จำนวนคนที่ทำข้อนั้นถูกในกลุ่มเก่ง

       RL = จำนวนคนที่ทำข้อนั้นถูกในกลุ่มอ่อน

       N = จำนวนผู้เรียนในกลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อน

ขอบเขตของค่า D และความหมาย

0.40 ขึ้นไป อำนาจจำแนกสูง คุณภาพดีมาก
0.30-0.39 อำนาจจำแนกปานกลาง คุณภาพดี
0.20-0.29 อำนาจจำแนกค่อนข้างต่ำ คุณภาพพอใช้ได้
0.00-0.19 อำนาจจำแนกต่ำ คุณภาพใช้ไม่ได้

1.4 หาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบภาคทฤษฎีทั้งฉบับ โดยใช้สูตร KR-20 ของ Kuder Richardson (รวีวรรณ  ชินะตระกูล. 2540 : 162 ) มีสูตรดังนี้

(3.4)

เมื่อ rtt = ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ

         n = จำนวนข้อของแบบทดสอบ

         p = สัดส่วนของผู้เรียนที่ตอบถูก

         q = สัดส่วนของผู้เรียนที่ตอบผิด

      s2= ความแปรปรวนของคะแนนทั้งหมด

(3.5)

ระดับค่าเฉลี่ย และความหมาย

ระดับ 5 หมายถึง มีคุณภาพอยู่ในระดับ ดีมาก
ระดับ 4 หมายถึง มีคุณภาพอยู่ในระดับ ดี
ระดับ 3 หมายถึง มีคุณภาพอยู่ในระดับ ปานกลาง
ระดับ 2 หมายถึง มีคุณภาพอยู่ในระดับ พอใช้
ระดับ 1 หมายถึง มีคุณภาพอยู่ในระดับ ควรปรับปรุง

2.2 หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (รวีวรรณ  ชินะตระกูล.2540 : 204) คือ

(3.6)

เมื่อ S  =  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง

       x =  ข้อมูลแต่ละจำนวน

       f  =  ความถี่

       n =  จำนวนข้อมูลทั้งหมด

       ∑ ผลรวม

3. สถิติที่ใช้วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

3.1  หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้สูตร (ชัยยงค์  พรหมวงศ์ และคณะ. 2521 : 122)

(3.7)

เมื่อ E1 = ประสิทธิภาพของกระบวนการ

      ∑= คะแนนรวมของแบบฝึกหัด

         A = คะแนนเต็มของแบบฝึกหัด

         N = จำนวนผู้เรียน

(3.8)

เมื่อ E2 = ประสิทธิภาพของผลลัพธ์

     ∑= คะแนนรวมของผลลัพธ์หลังเรียน

       B = คะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน

       N = จำนวนผู้เรียน

4.  สถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐาน

4.1 ใช้สถิติ t-test Dependent เพื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้สูตร (บุญชม  ศรีสะอาด. 2535 : 109-110)

สูตร  ; df = N – 1      (3.9)

โดย t = ค่าสถิติที่จะใช้เปรียบเทียบค่าวิกฤต เพื่อทราบความมีนัยสำคัญ

      D = ค่าผลต่างระหว่างคู่คะแนน

       n = จำนวนกลุ่มตัวอย่างหรือคู่คะแนน