บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

       ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในวงการศึกษาของไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 โดยจัดให้มีการเรียนการสอนกลุ่มวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีในทุกช่วงชั้น  ซึ่งในการจัดการเรียนของโรงเรียนมัธยมวัดดาวคนองก็ได้มีการเรียนการสอนกลุ่มวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีในทุกช่วงชั้น  สำหรับรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์จะทำการสอนในห้องคอมพิวเตอร์ 1 และห้องคอมพิวเตอร์ 2 จะมีการเรียนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ทุกช่วงชั้น สัปดาห์ละ 2 คาบ/ห้อง

สำหรับการสอนรายวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น รหัสวิชา ง30203 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง ซึ่งบรรจุอยู่ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ  ในกลุ่มวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงชั้นที่ 3  ดังนั้นเพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจหลักการทำงานของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ และสามารถสร้างฐานข้อมูลและความสัมพันธ์ของฐานข้อมูลได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นนั้น จึงได้มีการนำโปรแกรมไมโครซอฟต์แอคเซส 2003 มาใช้ในการประกอบการเรียนการสอนด้วยวิธีการต่างๆ มากมาย เช่น ครูผู้สอน หนังสือ และแผ่นซีดี     เป็นต้น แต่จากการทดลองสอนด้วยวิธีการต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น พบว่ายังมีข้อจำกัดอยู่มาก เนื่องจากวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เป็นวิชาที่มีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ  ซึ่งผู้เรียนจะต้องนำความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการศึกษาในภาคทฤษฎี เช่น ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฐานข้อมูล และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาฝึกปฏิบัติด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส โดยเริ่มต้นจากการสร้างตารางและกำหนดคุณสมบัติต่างๆ ของตารางเพื่อที่จะจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูล  อนรรฆนงค์  คุณมณี (2547 : 42-44)  แล้วนำตารางแต่ละตารางที่สร้างขึ้นมาสร้างความสัมพันธ์ในแบบต่างๆ ซึ่งมี 3 รูปแบบ ดังนี้คือ

1. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง( one to one)
2. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม(one to many)
3. ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม(many to many)

       ปัญหาที่พบจากการสอบถามครูผู้สอนวิชาดังกล่าวคือ นักเรียนยังไม่สามารถที่จะสร้าง    ตารางและกำหนดคุณสมบัติต่างๆ ของตาราง รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบดังกล่าวในระบบฐานข้อมูลและแบบฟอร์มต่างๆได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากวิธีการสอนที่ผ่านมาทั้งหมด มุ่งที่จะให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และความทรงจำเกี่ยวกับเนื้อหาและวิธีการเป็นส่วนใหญ่ แต่ขาดกระบวนการนำเสนอเพื่อให้นักเรียนเกิดความสามารถในการฝึกปฏิบัติได้จริง ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปแกรมไมโครซอฟต์แอกเซสขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และสามารถฝึกปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามระดับความสามารถของแต่ละบุคคล และสามารถตอบสนองความต้องการของแต่ละบุคคลในส่วนที่ยากแก่การทำความเข้าใจ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนที่มีระดับความที่แตกต่างกัน ได้เรียนรู้ ทบทวนเนื้อหา ทำให้เกิดความรู้และความเข้าใจตามความสามารถของแต่ละบุคคล อันจะนำไปสู่การการเรียนรู้และสามารถฝึกปฏิบัติที่มีระดับคุณภาพดียิ่งขึ้น

       จากความสำคัญของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความต้องการบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟแอกเซสขึ้น โดยมุ่งเน้นในการปฏิบัติให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างฟอร์ม และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในตารางข้อมูลในฐานข้อมูลโดยใช้โปแกรมไมโครซอฟท์แอกเซสและนำไปปฏิบัติจริงได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์การวิจัย

1.เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้นเรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน มัธยมวัดดาวคนอง ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

สมมุติฐานการวิจัย

1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น ใช้ในการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ระดับ 80/80 ขึ้นไป
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

ขอบเขตการวิจัย

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

       รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา มีดังนี้

1.1 ประชากร ที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง จำนวน 8 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 280 คน
1.2  กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 4 กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง  จำนวน 35 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย

2. ตัวแปรที่ศึกษา

2.1 ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ได้แก่บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา การจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส
2.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา การจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส

3. เนื้อหาที่ใช้ในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

       เนื้อหาที่ใช้ในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีดังนี้

1. การสร้างฟอร์มโดยใช้ตัวช่วยสร้าง
2. การสร้างฟอร์มในมุมออกแบบ
3. การวางเขตข้อมูลลงในฟอร์ม
4. การจัดรูปแบบข้อความ
5. กล่องเครื่องมือ
6. การวางภาพ
7. การกำหนดรูปแบบของฟอร์ม
8. การใส่ป้ายชื่อลงในฟอร์ม
9. การเชื่อมโยงหลายมิติ

4.ระยะเวลาในการทดลอง

       ระยะเวลาที่ใช้ในดำเนินการทดลอง คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โดยใช้เวลาในการเรียนสัปดาห์ละ 2  คาบ รวมทั้งสิ้น  20  สัปดาห์  รวมทั้งหมด 40 คาบ

 

นิยามศัพท์เฉพาะ

       1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง เนื้อหา  บทเรียน สื่อ กิจกรรมการเรียน การสอนที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส 2003 มาสร้างในคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาใช้ในประกอบการเรียนการสอน การทบทวน การทำแบบฝึกหัด การวัดผล ในรูปแบบของสื่อประสม

       2. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส ซึ่งไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ 80/80 (E1/E2)

              80 ตัวแรก(E1) หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียน ระหว่างเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

              80 ตัวหลัง(E2) หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้จากการทำแบบทดสอบท้ายบทเรียน หลังจากเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนครบทุกบทเรียน

       3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบ ที่ครอบคลุมวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม และเนื้อหาวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น รหัสวิชา ง30203                เรื่อง การสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส

       4. นักเรียน หมายถึง นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง ที่เรียนวิชา การจัดการข้อมูลเบื้องต้น

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ

1. ได้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส
2. นักเรียนได้เรียนรู้ วิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส
3. เป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในรายวิชาอื่นต่อไป

 

กรอบแนวคิดในการวิจัย

       ในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซสครั้งนี้ผู้วิจัยได้สรุปกรอบแนวคิดในการวิจัยดังต่อไปนี้

ตัวแปรอิสระ

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา การจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส

ตัวแปรตาม

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา การจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์ แอกเซส

แผนภูมิที่ 1 แสดงกรอบแนวคิดในการวิจัยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่องการสร้างฟอร์ม โดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส