ชื่อผลงานทางวิชาการ : การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน (Learning Management in Classroom)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือเรียนวิชา การจัดการเรียนรู้

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พิมพ์ที่ โรงพิมพ์สหธรรมมิก จำกัด กรุงเทพมหานคร

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางจุติมา รัตนพลแสนย์ และคณะ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : การเรียนรู้จัดเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เนื่องจากประสบการณ์และการฝึกหัดและจากสภาพแวดล้อม องค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้ ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคม การเรียนรู้เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งมีทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ อาทิเช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของฟาฟลอฟ สกินเนอร์ ธอรันไดด์ โคท์เลอร์และแบนดูรา

       รูปแบบการจัดการเรียนการสอนมีการจัดหมวดหมู่ของรูปแบบตามลักษณะ วัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบมี 5 หมวด อาทิเช่น เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัยและทักษะพิสัย ฯลฯ เป็นต้น รูปแบบการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัยมี 5 รูปแบบ ได้แก่ การสอนมโนทัศน์ สอนตามแนวคิดของยาเย การสอนโดยการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า สอนเน้นความจำและสอนโดยใช้ผังกราฟฟิค รูปแบบการสอนตามแนวคิดของกานเย มีผลการเรียนรู้ที่มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ผลการเรียนรู้หรือความสามารถด้านต่างๆ ของมนุษย์ เกิดจากทักษะทางปัญญา ภาษาหรือคำพูดและเจตคติ และการเรียนรู้และจดจำของมนุษย์ ทักษะการเคลื่อนไหวและเจตคติ

       รูปแบบการสอน โดยการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า จะเกิดความคิดรวบยอดในสิ่งที่เรียนและสามารถจัดโครงสร้างความรู้ของตนเองได้ และพัฒนาทักษะอุปนิสัยในการคิดและเพิ่มพูนความรู้ รูปแบบการสอนเน้นความจำ ช่วยให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระที่เรียนแล้วสามารถนำไปใช้ได้กับการเรียนรู้สาระอื่น และรูปแบบการสอน โดยใช้ผังกราฟฟิคเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม และสร้างความหมาย ความเข้าใจเนื้อหาข้อมูล พร้อมจัดระเบียบข้อมูลที่เรียนรู้ด้วยผังกราฟฟิคเพื่อง่ายต่อการจำ

       รูปแบบการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้อื่น เกิดการปรับตัว เปลี่ยนเจตคติ ค่านิยมและพฤติกรรมของตนเองให้เป็นไปในทางที่เหมาะสม รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ มุ่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน ช่วยให้เกิดแนวคิดแตกต่างจากเดิมและสามารถนำความคิดใหม่ให้เป็นประโยชน์ได้ สำหรับรูปแบบการเรียนการสอนทางตรงมุ่งให้ผู้เรียนรู้ทั้งเนื้อหา สาระและมโนทัศน์ต่างๆ รวมทั้งฝึกปฏิบัติทักษะต่างๆ

       องค์ประกอบการเขียนแผนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ แหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลและบันทึกผลการจัดการเรียนรู้

       รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้ที่นิยมใช้มี

       การเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ต้องให้ครบ 3 ด้าน ประกอบด้วยคามรู้ (K : Knowledge) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A : Attribute) และด้านทักษะกระบวนการ (P : Process)

       การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ คือ การกระทำให้สมบูรณ์นำหน่วยย่อยๆ ที่สัมพันธ์กันมาผสมผสานกลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียวให้ครบสมบูรณ์ในตัวเอง ลักษณะการบูรณาการ มีบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้กับบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ สำหรับรูปแบบบูรณาการมีหลายรูปแบบ ได้แก่ การสอนบูรณาการแบบทดลองรวมหรือแบบสอดแทรก บูรณาการแบบคู่ขนาน บูรณาการแบบสหวิทยาการ และบูรณาการแบบเชื่อมโยงข้ามวิชา ขั้นตอนการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เริ่มจากการกำหนดหัวเรื่อง ทำเครือข่ายความคิด (Web) หรือผังความคิด (Concept Map) หรือผังกราฟฟิค และจัดเรียงลำดับเนื้อหาและทักษะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องเพื่อนำไปวางแผนการจัดการเรียนรู้

       การเลือกและการใช้สื่อการเรียนรู้ สื่อเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เป็นตัวกลางที่ช่วยให้ผู้ทำได้ดีและประสบความสำเร็จในเวลาที่จำกัด และรูปแบบการสอนโดยการสร้างเรื่องเพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ เจตคติของผู้เรียนในเรื่องที่เรียน และทักษะกระบวนการต่างๆ เช่น ทักษะการคิด ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และทักษะการแก้ปัญหา พร้อมทักษะการสื่อสาร

       รูปแบบการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้สมองทุกส่วน ทั้งซีกซ้ายและซีกขวา ในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง รูปแบบการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือช่วยให้เรียนรู้เนื้อหาสาระต่างๆ ด้วยตนเองและด้วยความร่วมมือและความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ และพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น ทักษะการสื่อสาร ฯลฯ เป็นต้น

       การออกแบบการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะถ่ายทอดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นการทำความเข้าใจ การปรับปรุง การประยุกต์ใช้วิธีการสอนและตัดสินว่าจะใช้วิธีใดที่ดีที่สุดที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์ของความรู้ ทักษะและเจตคติในตัวผู้เรียนเป็นยุทธวิธีการสอนหลักก่อนและจัดเลือกเนื้อหา ให้เป็นสาระการเรียนรู้

ภาพ การวางแผนและการออกแบบการเรียนการสอน

จุดเด่น / ความน่าสนใจของหนังสือ : การออกแบบการเรียนการสอนใหม่ จะมีประสิทธิภาพ ต้องใช้วิธีการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ (Backward Design) โดยเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้ โดยการเชื่อมโยงสอดคล้องกันระหว่างกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์ การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นแรก กำหนดเป้าหมายปลายทาง ขั้นสอง กำหนดการประเมินผล และขั้นสุดท้ายเป็นการออกแบบการเรียนรู้

       การออกแบบการจัดการเรียนรู้ จะต้องพิจารณาสื่อการสอนที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น ต้องพิจารณาของผลการออกแบบด้วย “Where To” W = วิธีใดช่วยให้นักเรียนรู้ว่าจะไปทิศทางใด   H = กระตุ้นและดึงดูดความสนใจ E= จะทำอย่างไรนักเรียนจะมีส่วนร่วม R = จัดกิจกรรมอย่างไรจึงจะทำให้เข้าใจ T = จะออกแบบเรียนรู้อย่างไรและ O = จัดระบบสิ่งที่ตนเรียนรู้จากความเข้าใจ

       แผนการจัดการเรียนรู้ที่ประมวลมาทั้งหมดในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดให้จากแนวการจัดการเรียนรู้ของคู่มือครูหรือกรมวิชาการภายใต้กรอบที่ต้องการให้เกรดการเรียนรู้ โดยการกำหนดจุดประสงค์ วิธีการดำเนินการหรือกิจกรรม ให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ สื่อ การเรียนรู้ และวิธีวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้

       ขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เรียนได้ศึกษาความรู้ เกิดปฏิสัมพันธ์กัน กระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การคิดแก้ไขปัญหา สามารถสร้างองค์ความรู้และเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มี 4 ลักษณะ คือ แบ่งตามทรัพยากรการเรียนรู้ แบ่งตามกระบวนการการพัฒนาความคิดตามทฤษฎีของบรูเนอร์ แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับและแบ่งตามโครงสร้างของสื่อ รูปแบบการเรียนรู้ของมนุษย์มี 3 รูปแบบ ได้แก่ การฟัง การดู และการกระทำ เกณฑ์การเลือกสื่อการเรียนรู้ประกอบด้วยความเหมาะสม ความน่าเชื่อถือได้ ความน่าสนใจ การรวบรวมและความสมดุล คุณภาพด้านเทคนิคและราคา การวางแผนการใช้สื่อการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เริ่มจากการเตรียมตัวผู้สอน เตรียมสภาพแวดล้อม เตรียมความพร้อมผู้เรียน การใช้สื่อและการประเมิลผลการใช้สื่อการเรียนรู้

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : หนังสือเล่มนี้มีสาระที่น่าสนใจ และสามารถนำไปประยุกต์ได้กับวิชาชีพครู ได้แก่ 1. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะวิชาชีพ สามารถนำไปประยุกต์ได้ ตามแผนภาพ ดังนี้

ที่มา : ทิศนา แขมมณี และคณะ

       กระบวนการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ทักษะวิชาชีพนั้นประกอบด้วย กระบวนการเตรียมการด้วยการสร้างความเข้าใจและกำหนดช่วงเวลา สำหรับการจัดการเรียนรู้จะใช้วิธีสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน หรือสอดแทรกและกระบวนการการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะวิชาชีพตามที่วางแผนไว้ ต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมวางแผนด้วย

       ตัวอย่าง แสดงการบูรณาการอาเซียนศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้

สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเป็นหลัก

       การสอนแบบบูรณาการ สามารถนำไปใช้สำหรับการเรียนการสอนได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยผู้สอนอยู่ในระดับขั้นเดียวกัน ควรจะได้มีการประชุมปรึกษาหารือกัน พิจารณาเนื้อหาใดที่ซ้ำซ้อน หรือคล้ายคลึงกัน จะได้นำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการให้แก่ผู้เรียน ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน

       2. การบริหารจัดการชั้นเรียน สามารถส่งเสริมการเรียนการสอนให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น เป็นสิ่งสัมพันธ์กับการจัดเรียนรู้และเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของบทบาทความเป็นผู้นำของครู และเป็นกลยุทธ์ในการวางแผนการเรียนรู้ด้วย ทำให้ครูสามารถสร้างข้อกำหนดและข้นตอนการปฏิบัตินำไปสู่พฤติกรรมที่ชัดเจน หลัก การบริหารจัดการชั้นเรียนประกอบด้วย

       1) ต้องยืดหยุ่นตามความเหมาะสมกับชั้นเรียน

       2) ต้องจัดห้องเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน

       3) ต้องจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี เช่น สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของผู้เรียนมาก

       4) ต้องจัดให้เอื้อต่อหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร