ฝาง : สมุนไพรหลายร้อยสรรพคุณ

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ

“ฝาง” เป็นสมุนไพรที่เป็นที่ยอมรับของแวดวงนักการแพทย์แผนไทยมานาน สรรพคุณของ

“ฝาง”นั้น หากสรุปออกมาจะพบว่าสามารถแก้หรือบรรเทาโรคของมนุษย์ได้ทุกระบบในร่างกาย ทั้งของบุรุษและสตรี ตำราแพทย์แผนไทยทุกเล่มจะมีสูตรยาสมุนไพรนับร้อยสูตรที่มีฝางเป็นส่วนผสม อาจบอกได้ว่า “ฝาง”เป็นสมุนไพรครอบจักรวาล  เชื่อว่าหลายคนรู้จัก “น้ำยาอุทัย”ที่นำมาเจือน้ำดื่มแก้กระหายที่มีมานมนานนั้นมีส่วนผสมของ “แก่นฝาง”ด้วย นอกจากนั้น “ฝาง”ยังถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นเครื่องบรรณาการระหว่างประเทศ และเป็นสินค้าออกของไทยด้วย แสดงว่า “ฝาง”มีความสำคัญมานานในอดีต

บทความทางวิชาการเรื่องนี้ มุ่งให้รู้จักสรรพคุณของ “ฝาง” และเห็นภาพโดยละเอียดของฝางทุกส่วนประกอบ รวมทั้งภาพการนำเอาแก่นฝางมามาใช้ประโชน์ด้วย

 

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Caesalpinia sappan L.

ชื่อสามัญ  Sappan  , Sappan tree

ชื่อวงศ์ FABACEAE  (CAESALPINIACEAE)

ชื่ออื่น ๆ ขวาง  ฝางแดง หนามโค้ง ฝางส้ม ฝางเสน เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้พุ่ม ทรงพุ่มแผ่กว้าง สูง 4 – 8 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งและโค้งสั้น ๆ อยู่ทั่วไป แก่นเนื้อไม้เป็นสีแดงเข้มหรือส้มแดง ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นออกเรียงสลับ แกนช่อใบยาวประมาณ 20-40 ซม. ใบย่อย 8-15 คู่ ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน มีขนาดกว้างประมาณ 5-10 มม.ยาว 8-20 มม. แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ใบเกลี้ยงหรือมีขนบ้างประปรายทั้งสองด้าน ก้านใบมีขนาดสั้นมากหรือไม่มี หูใบยาวประมาณ 3-4 มม. หลุดร่วงได้ง่าย ดอกออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ยาว20-30 ซม. ออกตามปลายกิ่งหรือตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. ขอบกลีบดอกย่น ออกดอกในช่วงต้นฤดูฝนเป็นต้นไป ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ฝักแบนแข็งเป็นจะงอยแหลมสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีขนาดกว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-8 ซม. โคนฝักแคบกว่าปลายฝัก มีเมล็ด 2-4 เมล็ด เมล็ดรูปรี กว้าง 0.8-1 ซม.

หมายเหตุ หากแก่นเนื้อไม้เป็นสีแดงเข้มจะมีรสขมหวานเรียกว่า “ฝางเสน” แต่ถ้าแก่นเนื้อไม้เป็นสีเหลืองส้มจะมีรสฝาดขื่นเรียกว่า “ฝางส้ม”

สรรพคุณของฝาง  มีมากมายหลายประการ เช่น

1. แก่นเนื้อไม้เป็นยาแก้ธาตุพิการ

2. เมล็ดแห้งนำไปต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูงหรืออาจบดเป็นผงกินก็ได้

3. เปลือกลำต้นและเนื้อไม้ ต้มรับประทานเป็นยารักษาวัณโรค

4. แก่นฝาง แก่นไม้แดง รากเดื่อหอมอย่างละเท่ากัน ต้มกินเป็นยาบำรุงร่างกายทั้งบุรุษและสตรี

5. แก่นฝางตากแห้งผสมกับสมุนไพรอื่น นำมาต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย

6. แก่นฝาง ต้มกับเถาวัลย์เปรียง และรากเตยอย่างละเท่ากัน แก้กษัย

7. แก่นฝางมีรสฝาด ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิตและใช้ปรุงเป็นยาบำรุงโลหิตของสตรี

8. แก่นฝางช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก แก้เส้นเลือดอุดตัน จุกเสียดแน่นและเจ็บหน้าอก

9. แก่นฝางช่วยแก้โลหิต แก้ไข้กำเดา แก้กำเดา ทำให้โลหิตเย็น

10. แก่นฝางใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ไข้ตัวร้อน แก้ไข้ตัวร้อน

11. แก่นฝางแก้ไข้ทับระดู

12. น้ำต้มแก่นฝางเสนช่วยแก้อาการร้อนใน แก้กระหายน้ำได้ดี

13. แก่นฝางมีสรรพคุณแก้เสมหะ ขับเสมหะ

14. แก่นฝางช่วยแก้อาการไอ แก้หวัด

15. แก่นฝางช่วยแก้ปอดพิการ

16. แก่นฝางช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน

17. แก่นช่วยแก้บิด

18. แก่นใช้เป็นยาสมานลำไส้

19. แก่นนำมาต้มกินเป็นยารักษาโรคนิ่วร่วมกับสมุนไพรอื่น

20. แก่นช่วยแก้ปัสสาวะขุ่นข้น

21. แก่นช่วยแก้โลหิตออกทางทวารหนักและทวารเบา ช่วยแก้โลหิตตกหนัก

22. แก่นฝางใช้เข้าตำรับยาบำรุงโลหิต ฟอกโลหิตในกลุ่มยาสตรี ทำให้เลือดดี ช่วยขับโลหิตระดูของสตรี

23. แก่นฝางช่วยลดอาการปวดมดลูกของสตรีหลังการคลอดบุตร

24. แก่นฝางช่วยคุมกำเนิด

25. แก่นฝางช่วยแก้ดีและโลหิต

26. แก่นฝางช่วยขับหนอง ขับหนองในฝีอักเสบ

27. แก่นฝางช่วยแก้คุดทะราด

28. แก่นฝางช่วยรักษามะเร็งเพลิง

29. แก่นและเปลือกฝางใช้เป็นยาฝาดสมานและรักษาแผล

30. แก่นฝางใช้เป็นยาทารักษาโรคผิวหนังบางชนิดและฆ่าเชื้อโรคได้

31. แก่นฝางช่วยแก้น้ำกัดเท้า ช่วยฆ่าเชื้อและสมานแผล

32. แก่นฝางใช้เป็นยาแก้ปวด แก้บวม ปวดบวม แก้ฟกช้ำดำเขียว แก้ช้ำใน

33. แก่นฝางช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

34. กิ่งนำมาตัดเป็นท่อน ๆ นำไปตากแห้ง แล้วนำไปต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดหลังปวดเอว

35. เนื้อไม้ใช้เป็นส่วนผสมหลักในตำรับยาบำรุงหลังการคลอดบุตรของสตรี

36. เนื้อไม้ผสมกับปูนขาวแล้วบดทาหน้าผากสตรีหลังการคลอดบุตรจะช่วยทำให้เย็นศีรษะลดอาการเจ็บปวด

37.ฝางช่วยรักษา โรคประดง โรคไต ไข้หวัด แก้ไอ หอบหืด ขับปัสสาวะ บำรุงโลหิตของสตรี

 

ประโยชน์ของฝางโดยสรุป มีดังนี้

1. ชาวเมี่ยนจะใช้กิ่งแก่นำไปต้มกินเป็นน้ำชา

2. เป็นน้ำดื่มสมุนไพรฝาง ช่วยบรรเทาอาการร้อนใน แก้เสมหะ บำรุงโลหิต แก้เลือดกำเดา

3. แก่นไม้เมื่อนำมาต้มกับน้ำดื่มผสมกับใบเตยหรือผลมะตูม จะช่วยให้มีสีสันสวยงาม

4. น้ำต้มจากแก่นฝางแดงจะให้สีแดงที่เรียกว่า Sappanin ใช้เป็นส่วนผสมหลักของน้ำยาอุทัย

5. ใช้เป็นสีผสมอาหาร และนิยมนำมาย้อมสีผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าขนสัตว์

6. ส่วนฝางส้มจะนำมาต้มสกัดสาร Haematexylin ใช้ย้อมสีนิวเคลียสของเซลล์

7. ทำเป็นสีทาตัวสำหรับงานเทศกาลในอินเดีย

8. ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเนื้อไม้ของต้นฝางถือเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ

9. ไม้ฝางถูกใช้เป็นเครื่องบรรณาการอย่างหนึ่ง รวมทั้งเคยเป็นสินค้าผูกขาดของรัฐด้วย

10. ภูมิปัญญาชาวบ้านจะใช้แก่นของต้นฝางเสี้ยมให้แหลม ตอกลงบนต้นขนุนจนถึงเนื้อไม้ จะไปกระตุ้นให้ขนุนติดลูกบริเวณที่ตอกลงไป

11. เนื้อไม้ฝางทำเป็นเครื่องเรือนชั้นดี ตกแต่งชักเงาได้ดี โดยสีของเนื้อไม้จะออกแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม

12.ปลูกเป็นไม้ประดับหรือปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา ดอกดกสีเหลืองสดสวยสดุดตา

อ้างอิง    ขอขอบคุณข้อมูลเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)