Category Archives: การผลิตบัณฑิตครู

อนุกรมเลข – เรขาคณิตที่วางนัยทั่วไป

อนุกรมเลข – เรขาคณิตที่วางนัยทั่วไป

(Generalized Arithmetic – Geometric Series)


กำจร มุณีแก้ว

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมชุดความคิดเกี่ยวกับการสอนของครูประถมศึกษา

การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมชุดความคิดเกี่ยวกับการสอนของครูประถมศึกษา

THE DEVELOPMENT OF PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY MODEL TO IMPROVE ELEMENTARY SCHOOL TEACHERS’ INSTRUCTIONAL MINDSET


รองศาสตราจารย์ ดร.บังอร  เสรีรัตน์ 

อาจารย์สาขาวิชาจิตวิทยา  คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

E-mail : [email protected]

             การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมชุดความคิดเกี่ยวกับการสอนของครูประถมศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน คือการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ฯ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ องค์ประกอบที่ 2 จุดมุ่งหมาย องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการหลักและบทบาทสำคัญ และองค์ประกอบที่ 4 ปัจจัยสนับสนุนการใช้รูปแบบฯ การศึกษางานวิจัยเรื่องนี้จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กระบวนการหลักและบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดชุดความคิดเกี่ยวกับการสอนในกลุ่มประชากรเป้าหมาย  สุดท้ายมีข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่สนใจจะทำวิจัย เพื่อขยายหรือต่อยอดงานวิจัยนี้ออกไปอีก

บังอร  เสรีรัตน์.  (2560)  การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมชุดความคิดเกี่ยวกับการสอนของครูประถมศึกษา  วารสารศรีประทุมปริทัศน์. 17 (1). 

วารสารวิชาการ : วารสารศรีประทุมปริทัศน์

ลิงค์ที่เข้าถึงได้ : 

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้

The Development of Instructional Model to Encourage Transfer of Learning.


รองศาสตราจารย์ ดร.บังอร เสรีรัตน์

อาจารย์สาขาวิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

E-mail : [email protected]

             การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนใหม่ๆ คือรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอนฯที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) แนวคิด 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดกิจกรรม 4) บทบาทผู้สอนและผู้เรียน และ 5) ผลที่ผู้เรียนได้รับ ครูผู้สอนสามารถนำรูปแบบการเรียนการสอนฯนี้ไปปรับประยุกต์ใช้กับผู้เรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นต้นไป เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมการถ่ายโยงการเรียนรู้ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียน เรียนรู้เนื้อหาต่างๆอย่างเข้าใจ และนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้ทั้งในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและการทำงาน สุดท้ายมีข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่สนใจจะทำวิจัย เพื่อขยายหรือต่อยอดงานวิจัยนี้ออกไปอีก

บังอร เสรีรัตน์. (2557) “ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้.”  วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 9 (2).

ลิงค์ที่เข้าถึงได้ : 

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทายกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล

สรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ  การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทาย กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕ โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล

ประเภทผลงานทางวิชาการ  งานวิจัย

ปีที่พิมพ์  ๒๕๕๔

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ   รุจิพันธุ์  โรจนานนท์   มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

ผลการวิจัยพบว่า   ประสิทธิภาพโดยรวมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  การเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทาย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕  โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล  มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ ๙๑.๖๐ / ๘๙.๓๐   ในกระบวนการของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบเน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ  และสามารถทบทวนเนื้อหาได้โดยอิสระตลอดทั้งมีสิ่งจูงใจอยู่ในบทเรียนเช่น เนื้อหากระชับ   เสียงดนตรี   คำบรรยาย ภาพประกอบ  เหมาะกับวัยผู้เรียนไม่ทำให้เบื่อหน่าย เข้าใจง่าย รายละเอียดค้นคว้าได้จาก web-online ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

รศ.ดร.อำนวย    เดชชัยศรี  บรรณากร     MST: คณิต / วิทย์ / เทคโนโลยี


บทนำบทที่ 1บทที่ 2บทที่ 3บทที่ 4บทที่ 5บรรณานุกรมภาคผนวก ขภาคผนวก คไฟล์ประกอบ

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทายกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล

 

รุจิพันธุ์  โรจนานนท์  *

 

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเรื่องการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80(2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเรื่องการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ ปริศนาคำทาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่( 1)บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษ เรื่องการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(3) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐานและ t-test for Dependent  Sample

ผลการวิจัยพบว่าผลการทดลองหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยรวม พบว่า มีค่าเป็น 90.16 /88.10 ตอนที่ 1 ประสิทธิภาพเป็น  90.30 /89.00 ตอนที่ 2  ประสิทธิภาพเป็น  88.60 /86.00 ตอนที่ 3  ประสิทธิภาพเป็น 91.60 /89.30 แสดงว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ทั้ง 3 ตอนมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80 /80

จากการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษ เรื่องเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทายพบว่าประสิทธิภาพ โดยรวมบทเรียน คือ 90.16/88.10ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80และทำให้ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนสามารถอภิปรายผลได้ว่า

1.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการทดลองครั้งนี้เป็นบทเรียนที่สร้างโดยผ่านขั้นตอนการสร้างที่มีระบบ ได้รับการตรวจสอบข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา รวมถึงการดำเนินการทดลองตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา

2.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้เน้นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เปิดโอกาสได้เรียนได้เรียนตามความสามารถของตนเองอย่างอิสระ ผู้เรียนสามารถทบทวนบทเรียนใหม่ได้เมื่อไม่เข้าใจ และใช้เวลาในการเรียนรู้ได้ตามความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนจึงไม่มีความกดดัน หรือความเครียดในขณะเรียน

3.บทเรียนคอมพิวเตอร์มีกิจกรรมที่กำหนดให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน การนำภาพและภาพเคลื่อนไหวประกอบในบทเรียน ใช้คำบรรยายและเสียงดนตรีที่เหมาะสมกับเนื้อหาและวัยของผู้เรียน  ทำให้ผู้สนใจและไม่เกิดความเบื่อหน่าย และเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย การทำแบบฝึกหัดเมื่อทำผิดจะเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง และผู้สามารถทราบคะแนนได้ทันทีส่วนประกอบทั้งหมดนี้ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจและเหมาะสมสำหรับใช้ในการเรียนการสอน

4.ในการศึกษาครั้งนี้ผลการเฉลี่ยจากแบบฝึกหัดระหว่างเรียนโดยรวมแล้ว สูงกว่าผลของคะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบหลังเรียน เด็กทำแบบฝึกหัด จากความจำที่เพิ่งเรียนจบ ทำได้คะแนนสูงกว่าการทำแบบทดสอบที่ต้องเรียนเนื้อหาย่อยแต่และส่วนจบก่อนแล้วจึงประมวลความรู้ตั้งแต่เริ่มเรียนจนจบบทเรียน เนื้อหาที่มากขึ้นและระยะเวลาหลังเรียนนานขึ้นส่งผลต่อความจำของเด็ก ทำให้ค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบทดสอบต่ำกว่าแบบฝึกหัด ซึ่งผลที่ได้สอดคล้องกับผลการวิจัยของนุสรา ทองปอนด์ ( นุสรา ทองปอนด์, 2546 ) เรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียวิชาภาษาอังกฤษโดยใช้บทสนทนาประกอบภาพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่าบทเรียนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 94.90/91.90

 

ขั้นเสนอแนะทั่วไป

ข้อเสนอแนะ

จากการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษ   เรื่องเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทายผู้ศึกษาค้นคว้ามีข้อเสนอแนะดังนี้

1.ควรมีการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นให้แก่นักเรียนในระดับประถมศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทักษะแก่เด็กเพราะคอมพิวเตอร์มีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เด็กควรได้รู้จักอุปกรณ์พื้นฐานเพื่อสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้  เมาส์ คีบอร์ดเรียนรู้การพิมพ์การปิด เปิดเครื่อง

2.นักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 มีความสามารถในการควบคุมตนเองน้อยกว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เด็กจะขาดความสนใจเนื้อหาที่มีรายละเอียดมาก และนานเกินไปทำให้เด็กเลือกที่จะผ่านบทเรียนไปโดยไม่ตั้งใจเรียนควรสร้างบทเรียนให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในบทเรียนหลากหลายกิจกรรมและแบ่งเนื้อหาเป็นตอนย่อยหลายๆตอน จะดึงความสนใจผู้เรียนได้นานทำให้ผลการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

  1. การจัดห้องเรียนเพื่อเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ควรมีระยะห่างระหว่างผู้เรียนแต่ละคนอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการรบกวนซึ่งกันและกันระหว่างเรียนและการแข่งขันกันระหว่างผู้เรียนหากเป็นไปได้ผู้เรียนรู้สึกได้ถึงความเป็นสัดส่วนที่ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว เพื่อที่จะสามารถเรียนด้วยตนเองได้อย่างอิสระ ไม่มีสิ่งแวดล้อมรบกวนสมาธิในการเรียน
  2. ผู้สอนควรนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้เสริมใน การเรียนการสอน เพราะการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 เน้นที่การฝึกทักษะการอ่าน การเขียน และการนำไปใช้ ซึ่งบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อการเรียนการสอน ที่มีคุณสมบัติตอบสนองการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนได้ ทั้งนี้ผู้สอนควรเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนด้วย

 

ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาค้นคว้า

  1. ควรมีการวิจัยและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ในรูปแบบอื่นๆเช่นรูปแบบเกม รูปแบบฝึกทักษะที่มีประสิทธิภาพ เพื่อศึกษาผลของการเรียนรู้
  2. ควรมีการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับรูปแบบการสอนอื่นๆ เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
  3. ควรมีการวิจัยและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในวิชาอื่นๆ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

 

 

 

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง จักรวาลและอวกาศ วิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๔ โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง จักรวาลและอวกาศ วิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๔ โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๔

ชื่อเจ้าของผลงานวิชาการ : พิมลรัตน์ ปัทมโรจน์  มหาบัณฑิตสาชาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์    มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

      ผลการวิจัยพบว่า  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจักรวาลและอวกาศ  วิชาวิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มีประสิทธิภาพ  ๘๒.๘๙ / ๘๕.๘๖  สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งสมติฐาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังกล่าว  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .๐๑ ในการวิจัยกับกลุ่มทดลองย่อยในระยะแรกๆพบปัญหาบางประการเกิดจาก สี   ขนาดของตัวอักษรและคำบรรยายในบทเรียนบางครั้งยังไม่ค่อยชัดเจนต่อมาได้มีการปรับปรุงและทดลองกับกลุ่มใหญ่ปัญหาดังกล่าวหมดไป  และได้มีการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างได้ผลสัมฤทธิ์ดังกล่าวข้างต้น สำหรับรายละเอียดสามารถสืบค้นจากweb-online ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

รศ.ดร.อำนวย   เดชชัยศรี  บรรณากร

MST: คณิต / วิทย์ / เทคโนโลยี

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นทื่ ๑  ประถมศึกษาปีที่ ๓  โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นทื่ ๑  ประถมศึกษาปีที่ ๓  โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๔

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : จารุวรรณ จันทร์ทรัพย์ มหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

       ผลวิจัยของการออกแบบและพัฒนาพบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพดีอยู่ในระดับ ๘๑.๘๙ / ๘๘.๔๔   เมื่อนำมาใช้กับนักเรียนช่วงชั้นที่ ๑   ประถมศึกษาปีที่ ๓โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ปรากฎว่ามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่  ระดับ  .๐๑  เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้   จึงมีข้อเสนอแนะต่อไปว่าการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน   ครูต้องคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ของผู้เรียนควรมีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์ในระดับเบื้องต้นก่อน

       สำหรับการออกแบบในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต้องคำนึงถึงเนื้อหาถูกต้องและการออกแบบต้องคำนึงถึงด้านศิลป์กับจิตวิทยาการเรียนรู้เหมาะสมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้มีการทบทวนจะทำให้บทเรียนมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับรายละเอียดสามารถติดตามใน web-onlineของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

รศ.ดร.อำนวย     เดชชัยศรี   บรรณากร

MST : คณิต / วิทย์ / เทคโนโลยี

การสร้างหนังสืออ่านเสริมภาพการ์ตูนนิทานเสริมคุณธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การสร้างหนังสืออ่านเสริมภาพการ์ตูนนิทานเสริมคุณธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

ประเภทผลงานทางวิชาการ : งานวิจัย

ปีที่วิจัย : ๒๕๕๕

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : พล หิรัณยศิริ มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์     มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

       ถึงแม้ว่าในยุคของดิจิทัลมีสื่อประเภทมัลติมีเดียหลากหลายก็ตาม สิ่งที่พบในสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือที่มีมาแต่โบราณก็ยังใช้ได้สะดวกทุกสถานที่ เก็บรักษาง่าย  มีอายุการใช้งานได้นาน  เป็นสื่อที่ช่วยพัฒนาทักษะในการอ่าน  รวมทั้งช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้เด็กอีกด้วย งานวิจัยเรื่องดังกล่าวนี้ค้นพบว่า หนังสืออ่านเสริมภาพการ์ตูนนิทานเสริมคุณธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔  ได้ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านเนื้อหา และสื่อการเรียน ผลปรากฏว่าด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมากมีระดับคะแนนเฉลี่ย  ๓.๗๕  และด้านสื่อการเรียนอยู่ในระดับดีมีคะแนนเฉลี่ย  ๓.๒๗ นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออ่านเสริมภาพการ์ตูนนิทานเสริมคุณธรรม  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .๐๕  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสืออ่านเสริมภาพการ์ตูนนิทานเสริมคุณธรรมทั้ง ๔ ด้านได้แก่  เนื้อหา   รูปภาพ  ภาษา และประโยชน์ที่ได้รับอยู่ในระดับดีมากโดยมีระดับคะแนนเฉลี่ย ๓.๖๖ ผลของการวิจัยนี้จะเป็นแนวทางในการผลิตหนังสืออ่านเสริมภาพการ์ตูนนิทานเสริมคุณธรรมใช้ประกอบการเรียนทุกวิชาและทุกระดับชั้นเรียนต่อไป รายละเอียดติดตามได้ที่ web-online ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา    

รศ.ดร.อำนวย    เดชชัยศรี   บรรณากร   

MST: คณิต / วิทย์ / เทคโนโลยี

การพัฒนาระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด ผ่านเว็บไซต์

วิโรจน์ ชาญสถิตโกศล


ชื่อเรื่อง การพัฒนาระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด ผ่านเว็บไซต์

ชื่อผู้วิจัย วิโรจน์  ชาญสถิตโกศล

สาขาวิชา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก รองศาสตราจารย์ ดร.อำนวย เดชชัยศรี

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เกียรติขร โสภณาภรณ์

ปีการศึกษา 2559

บทคัดย่อ

   การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด ผ่านเว็บไซต์ 2) เพื่อหาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด ผ่านเว็บไซต์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานของร้านสหกรณ์จำนวน 8 คนและสมาชิกของร้านสหกรณ์ 67 คนรวมทั้งสิ้น 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด 2) แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด 3) แบบประเมินความพึงพอใจ ระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1)  ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบ ในภาพรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความปลอดภัยของระบบ ด้านความถูกต้องในการทำงาน
ของระบบมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านความสามารถในการทำงานของระบบด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานของระบบ

2)  ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด ผ่านเว็บไซต์ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ส่วนของพนักงานสหกรณ์ด้านของการประมวลผลมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ
ด้านการแสดงผล และด้านการรับข้อมูล ส่วนของสมาชิกสหกรณ์ด้านของการแสดงผลมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการรับข้อมูลและการประมวลผล

คำสำคัญ : ระบบสหกรณ์ร้านค้า ประสิทธิภาพ ความพึงพอใจ


 

Title The Development of Systems on Website of

BANSOMDEJCHAOPHRAYA RAJABHAT UNIVERSITY COOPERATIVE

Author Wirote Chanstidkosol

Program Computer and Information Technology

Major Advisor Associate Professor (Adjunct) Dr.Amnuay Deshchaisri

Co – Advisor Kiatikhorn Sobhanabhorn

Academic Year 2016

ABSTRACT

   The research were to objective for The development , efficiency and contentment of      Systems on Website of BANSOMDEJCHAOPHRAYA RAJABHAT UNIVERSITY COOPERATIVE. The sample included 50 customer assistant and customers. This research is a quantitative research.  Tool in use is satisfaction questionnaire to use Systems on Website of BANSOMDEJCHAOPHRAYA RAJABHAT UNIVERSITY COOPERATIVE. Data were collected using 5-point rating scale and statistically analyzed in arithmetic mean, and standard deviation.

   The research findings revealed that. 1) The development of system was generally found at the highest level. After item analysis, all of them could be rate by arithmetic mean in descending order as follows: security, the correct operation, the capabilities and convenient easy-to-use.       2) The results of the study level of satisfaction of user with the development of Systems on Website of BANSOMDEJCHAOPHRAYA RAJABHAT UNIVERSITY COOPERATIVE was generally found at the highest level. After item analysis, all of them could be rate by arithmetic mean in descending order as follows: output, input and the central processing unit.


การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม : ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑​ โรงเรียนสุวรรณาราม

ศุทธนุช ผาสุข

View Fullscreen

การบริหารจัดการประกันคุณภาพการศึกษา

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา

ประเภทผลงานทางวิชาการ : เอกสารประกอบการสอนวิชา การบริหารการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม : พิมพ์ที่โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด กรุงเทพมหานคร

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ: รองศาสตราจารย์ ดร. มณี เหมทานนท์ และคณะ

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : ทฤษฎีรูปแบบและระบบการบริหารการศึกษาที่มีความหมายว่า การจัดการหรือการบริหารเป็นกระบวนการดำเนินงานของคณะบุคคลที่ร่วมมือกันประกอบกิจกรรม โดยนำปัจจัยต่างๆ มาดำเนินการอย่างมีแบบแผนมีประสิทธิภาพและเกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ คน (Man) เงิน (Money) วัสดุ (Materials) วิธีการ (Method) งานของฝ่ายบริหารจำเป็นต้องอาศัยทักษะ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านทักษะเทคนิค ด้านทักษะมนุษย์และทักษะด้านความคิด เพราะการบริหารจัดการเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

ทฤษฎีการบริหารจัดการจำแยกได้ 4 แนวทาง คือ 1. การจัดการตามแนววิทยาศาสตร์ 2. การจัดการแนวมนุษย์สัมพันธ์ 3. การจัดการแนวกระบวนการ และข้อ 4. การจัดการแนวสมัยใหม่ บุคคลสำคัญ ประกอบด้วย Frederick Taylor , Henry Gantt , Frank Gilbert.

การบริหารการศึกษา ต้องอาศัยทรัพยากรและกระบวนการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ การวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนให้เหมาะสมกับงาน การสั่งการ และการควบคุม

การบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นกิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายฝ่ายหลายคนมาร่วมกันดำเนินการ ภารกิจของสถานศึกษาในด้านการบริหารจัดการศึกษาประกอบด้วย สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาได้ทั้ง 3 รูปแบบ (ในระบบ นอกระบบและความอัธยาศัย) เน้นการปฏิรูปการเรียนรู้ ต้องประเมินผลผู้เรียนด้วยวิธีแบบประสมประสานและวิธีที่หลากหลาย มีบทบาทโดยตรงจัดทำสาระของหลักสูตร มีบทบาทโดยตรงในการเรียนรู้และพัฒนาชุมชน ต้องจัดระบบแบบประกันคุณภาพ ระดมทรัพยากรมาใช้จัดการศึกษา ฯลฯ เป็นต้น สำหรับภารกิจหลักของการบริหารจัดการสถานศึกษา คือ การบริหารงานด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคคลและด้านบริหารทั่วไป

หลักการและระบบการประกันคุณภาพการศึกษา คือ กระบวนการควบคุมคุณภาพการทำกิจกรรมหรือการปฏิบัติภารกิจอย่างมีระบบตามแบบแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมีแนวคิดในการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การพัฒนาคุณภาพ 2. การตรวจสอบคุณภาพ และ 3. การประเมินคุณภาพ ในการจัดทำการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ต้องมีระบบวางแผน (Plan) ปฏิบัติตามแผน (Do) ตรวจสอบประเมินผล (Check) และพัฒนาปรับปรุงอยู่เสมอ (Act) ซึ่งเป็นหลักการบริหารคุณภาพครบวงจร PDCA ของเดมมิ่ง (Demming)

สรุปสาระสำคัญ : พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ในข้อสรุปที่ว่าสถานศึกษาจะต้องพัฒนาการจัดการศึกษาของตนและแสดงความรับผิดชอบให้ประจักษ์แก่สังคมว่าสถานศึกษามีประสิทธิภาพ 2 ประเด็นหลัก คือ ผู้เรียนทุกคนมีความรู้ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างแท้จริงและสถานศึกษามีศักยภาพในการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนบรรลุผลตามมาตรฐานอย่างแท้จริง โดยยึดหลักว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด สำหรับหลักการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ให้แยกเป็นระบบการประกันคุณภาพภายในและภายนอก เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้เกี่ยวข้องว่าผู้เรียนทุกคนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ การพัฒนามาตรฐานการศึกษา การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพการศึกษา การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีและการผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

จุดเด่น / ความน่าสนใจจากสาระสำคัญ: การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการที่มีระบบ มีเป้าหมายชัดเจน คือ การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา คุณธรรม ค่านิยม ความคิด ความประพฤติปฏิบัติ ฯลฯ เป็นต้น ดังนั้นในการจัดการศึกษาทุกระดับต้องร่วมมือกัน เพื่อให้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

บทบาทของผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู-อาจารย์และบุคลากรอื่นๆ ผู้ปกครองและชุมชน

การนำไปใช้ประโยชน์ : มหาวิทยาลัยจัดว่าเป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษารูปแบบหนึ่ง จำเป็นต้องสร้างกลยุทธ์เกี่ยวกับความร่วมมือในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและนิสิตนักศึกษา ในรูป

1. การส่งเสริมผู้นำชุมชนรอบๆ มหาวิทยาลัย เพราะเป็นแกนนำในการพัฒนาทุกด้าน โดยการเปิดโอกาสให้เข้าร่วมเป็นกรรมการในมหาวิทยาลัย เช่น กรรมการส่งเสริมกิจกรรมหรือเปิดโอกาสรับคำแนะนำจากชุมชนในทุกๆ เรื่อง

2. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน เพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองได้ หรือเสริมสร้างพลังให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเอง โดยเน้นการมีส่วนร่วม

3. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกด้าน และเชื่อมต่อประสบการณ์ระหว่างบุคคลและชุมชน โดยผ่านกระบวนการกลุ่มและเครือข่ายการเรียนรู้

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : มหาวิทยาลัย ต้องเรียนรู้เข้าใจทรัพยากรชุมชนที่สะสมอยู่แต่ละแห่ง ทั้งที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมทั้งวัฒนธรรม ประเพณี กฎเกณฑ์ แนวปฏิบัติและองค์ความรู้ต่างๆ ในการดำรงชีวิตของคนในชุมชนและสังคม เพื่อนำมาจัดการบริหารจัดการทุกๆ ด้านในมหาวิทยาลัย โดยเน้นกระบวนการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่ด้านบริหารงานบุคคล งานวิชาการ งานวัฒนธรรม และงานด้านการผลิตบัณฑิตด้วย