Category Archives: การผลิตบัณฑิตครู

การศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ (Education for Students with Special Needs)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือเรียนวิชา การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางสาวกาญจนา สุทธิเนียม ตำแหน่งอาจารย์ กลุ่มวิชาชีพครู

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : การศึกษาพิเศษเป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายสติปัญญา จิตใจและอารมณ์ ได้เรียนรู้อย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกาย จิตใจและความสามารถ เพื่อพัฒนาความถนัดและอัจฉริยะภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนที่แตกต่างไปจากเด็กปกติและติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง มีการประสานความร่วมมือกับสหวิชาชีพและครอบครัวอย่างใกล้ชิด

       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 กำหนดให้ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทั้งด้านการแพทย์ การจัดการศึกษา อาชีพและบุคคลทั่วไปในสังคม ซึ่งปรัชญาการเรียนร่วมประกอบด้วยพื้นฐาน 3 ประการ คือ ทุกคนย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกันในโอกาสทางการศึกษา ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกันในการอยู่ร่วมกันในสังคม ฯลฯ เป็นต้น หลักในการจัดการศึกษาประกอบด้วย ความยุติธรรมในสังคม การคืนสู่ภาวะปกติสภาพแวดล้อมมีข้อจำกัดน้อยที่สุด และเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพ

       โปรแกรมการศึกษาเฉพาะรายบุคคล มีจุดประสงค์เพื่อจัดการศึกษาให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษตามเป้าหมายสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษสำหรับคนพิการ ขั้นตอนในการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นส่งต่อมี 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมก่อนการส่งต่อ กับ การส่งต่อและวางแผนระยะเริ่มต้น และขั้นตรวจสอบมี 2 ขั้นตอน ได้แก่ การประเมินโดยคณะสหวิทยาการ (Multidisciplinary Assessment) ผู้เชี่ยวชาญหลายด้านและการประชุมเด็กเฉพาะกรณีเพื่อวางแผนปัจจัยและตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการใช้โปรแกรมการศึกษาเฉพาะรายบุคคล ต้องได้รับการสนับสนุนจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และนโยบายระดับชาติ โดยเฉพาะหลักสูตรการศึกษาพิเศษวางแผนโปรแกรมการศึกษาเฉพาะรายบุคคล นอกจากนี้ตัวบ่งชี้ความสำเร็จการใช้โปรแกรมการศึกษาเฉพาะรายบุคคล ต้องมีการประเมินผลเป็นระยะๆ และพิจารณาจาก งบประมาณ นักเรียนปกติที่เรียนร่วม ผู้ปกครอง นักเรียน ครูผู้สอน ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและศึกษานิเทศก์

       บุคคลที่มีความต้องการพิเศษ ประกอบด้วยเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน บกพร่องทางการมองเห็น บกพร่องทางสติปัญญา บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ บกพร่องทางการเรียนรู้ บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ บกพร่องทางด้านการพูดและภาษา เด็กออทิสติก บกพร่องทางพิการซ้ำซ้อนและเด็กปัญญาเลิศ

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : หนังสือวิชาการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ ได้กล่าวถึงบิดาแห่งการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กปัญญาอ่อนและร่างกายพิการ คือ อิทารด์ (ITard) แพทย์ชาวฝรั่งเศส ผู้เชี่ยวชาญทางโรคหู และการให้การศึกษาแก่นักเรียนหูหนวก สำหรับประเทศไทยเริ่มจาก เจเนวีฟ คอลฟิลด์ (Geneview Caulifield) ร่วมกับคนไทย ได้อบรมสั่งสอนเด็กตาพิการและสอนเขียน อ่าน อักษรเบรลล์ โดยการฝึกหัดทำงานการฝีมือในชีวิตประจำวัน ต่อมามีผู้ใจบุญให้การสนับสนุนร่วมมือในการให้การศึกษาเด็กตาบอด โดยการก่อตั้งมูลนิธิชื่อว่า “มูลนิธิช่วยและให้การศึกษาแก่คนตาบอดในประเทศไทย” จัดการศึกษาโดยไม่จำกัดเพศ เชื้อชาติ ศาสนาและระดับชั้นมีหลวงเลขาธิวิจารณ์เป็นประธานมูลนิธิคนแรก ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้จัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กพิการประเภทต่างๆ เช่น เรียนช้า ตาบอด หูหนวก ร่างกายพิการและเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้รับความร่มมือช่วยการสื่อสนับสนุนด้านวิทยากรจากมูลนิธิอเมริกันเพื่อคนตาบอดโพ้นทะเล (American Foundation Overseas for the Blind) ทดลองกับคนตาบอดให้เรียนร่วมกับคนปกติในระดับประถมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร และขยายออกสู่ภูมิภาค เป็นระยะเวลาสั้นๆ

       สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่เป็นเด็กเรียนช้า จัดเป็นชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติในเขตกรุงเทพมหานคร 4 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนพญาไท โรงเรียนวัดชนะสงคราม โรงเรียนวัดนิมมานรดีและโรงเรียนวัดหนัง และขยายต่อไปยังโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์และโรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาส สำหรับต่างจังหวัดที่กาญจนบุรี เลย สุราษฎร์ธานีและนครราชสีมา โดยเฉพาะในพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ พ.ศ. 2556 รวมทั้งแผนพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการให้มีสิทธิเสรีภาพในการศึกษาเท่าเทียมกันกับเด็กปกติทั่วไป ปัจจุบันจึงจัดการศึกษารูปแบบเดียวกัน คือ การศึกษาทั่วไป (Regular Education) การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมเน้นการศึกษาที่มีความสัมพันธ์อย่างยั่งยืนกับการเรียนการสอนของครูที่ต้องคำนึงถึงการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนด้วย ปรัชญาการเรียนร่วมเป็นการที่นักเรียนได้เรียนรู้อยู่ร่วมกัน การจัดการเรียนรู้ต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของคนแต่ละคนได้ ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในบริบททางการศึกษา ขณะเดียวกันได้รับการศึกษาควบคู่กันไปกับการบำบัดฟื้นฟูความสามารถทุกด้าน คำนึงถึงการอยู่ร่วมสังคมกับคนปกติอย่างมีประสิทธิภาพและปรับให้เหมาะสมกับสภาพความเสียเปรียบของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษแต่ละประเภท ต้องทำอย่างต่อเนื่องและควรเน้นเรื่องอาชีพด้วย

       แนวคิดในการจัดการเรียนร่วมประกอบด้วย การนำนักเรียนเข้าสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด เพื่อให้ผู้บกพร่องทางประเภทต่างๆ สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น จัดให้เหมาะสมกับความพิการของแต่ละประเภทอย่างต่อเนื่อง รูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมแบ่งเป็น

       1) การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) จัดในชั้นปกติบางเวลา เช่น วิชาดนตรี พลศึกษา กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี กีฬาสี เป็นต้น แต่ต้องจัดทำแผนเฉพาะบุคคล

       2) การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) เรียนชั้นเดียวกับเด็กปกติ ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกัน

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ ได้แก่

       1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553

       2. พระราชบัญญัติ การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551

       3. พระราชบัญญัติ การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556

       4. พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต พ.ศ. 2550

       5. พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556

       เด็กที่มีความบกพร่องการได้ยิน หมายถึง การสูญเสียการได้ยิน อาจจะหมายถึง หูหนวก สูญเสีย 90 เดซิเบลขึ้นไป หรือประสาทหูเสื่อม ได้ยินไม่ชัด เกิดจากสาเหตุก่อนคลอด ระหว่างคลอดและหลังคลอด ลักษณะอาการและพฤติกรรมการแสดงออกจำแนกได้ 5 ลักษณะ คือ การพูด อาจจะไม่ได้ยินหรือพูดไม่ชัด ขึ้นอยู่กับอายุ ภาษา เรียงคำในประโยคผิด ความสามารถทางสติปัญญา ไม่คุ้นเคยกับความบกพร่องทางการได้ยิน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพราะวิธีการสอน การวัดผลและการปรับตัวเกิดจากการสื่อสาร การจัดการศึกษาผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีวิธีสอน 5 วิธี ได้แก่

          1) วิธีการสอนพูด ต้องพูดกับเด็กให้มากๆ เพราะเป็นทักษะเกี่ยวข้องกับการอ่านริมฝีปากผู้พูด เช่น ฝึกพูดชื่อบุคคลในครอบครัวให้นำภาพพ่อแม่มาให้ดู แล้วชี้ที่ภาพดูภาพแล้วฟัง จึงให้พูดตาม

          2) วิธีสอนแบบรวม ใช้ภาษาพูด ภาษามือ การอ่านริมฝีปาก การใช้เครื่องช่วยฟังและการเขียนกระดานดำประกบกันไปในขณะที่เขียน

          3) การใช้วิธีสอนต่างวิธีพร้อมกันสลับกันไป คือ การใช้พูดมือสะกดหรือภาษามือ การใช้เครื่องมือช่วยฟังและการเขียนกระดานดำ

          4) วิธีสอนแบบรวมหลายวิธี ใช้การสอนพูด ใช้เครื่องช่วยฟัง ภาษามือสะกดด้วยนิ้วมือและการเขียนกระดานดำ

          5) วิธีการสอนแบบระบบรวม สอนฝึกฟัง ฝึกอ่านคำพูด ฝึกการอ่าน ฝึกการเขียน ภาษามือ การสะกดนิ้วและการสังเกตท่าทางมารวมกัน

       เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น ผู้สอนต้องสามารถประเมินความรุนแรงของความบกพร่องจากการมองเห็นเพื่อเป็นพื้นฐานวางแผนการช่วยเหลือ กำหนดเป้าหมายการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก พัฒนาระบบสัมผัสและระบบการเคลื่อนไหว จัดหาอุปกรณ์หรือเทคโนโลยี เช่น ภาพนูน กราฟนูน และต้องประสานกับครอบครัวเด็ก เพื่อวางแผนร่วมกัน

       เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ผู้สอนต้องเข้าใจและยอมรับในตัวเด็ก ครูต้องอดทนและใส่ใจมากกว่าเด็กปกติ โดยใช้หลักการสอนเริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวไปหาสิ่งที่ไกลตัว สอนที่ละขั้นสอนด้วยการลงมือกระทำ คำนึงถึงความพร้อมของแต่ละบุคคลตามระดับสติปัญญาและสอนโดยการแบ่งหมู่ตามตารางสอน ฯลฯ เป็นต้น

       เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพใช้หลักสูตรเหมือนเด็กปกติ ปรับให้เหมาะกับเด็ก ปรับพฤติกรรมให้แสดงอย่างเหมาะสมและให้บริการเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ พิเศษ เป็นต้น ผู้สอนต้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับช่วยหาสื่อเด็กที่มีปัญหาการเคลื่อนไหว และควรโทรตามหรือไปเยี่ยมบ้านสม่ำเสมอ

       เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จะพบปัญหาในการเรียน เช่น ความบกพร่องการฟังและการพูด บกพร่องทางการอ่าน ทางการเขียน ทางคณิตศาสตร์ ทางกระบวนการคิด ครูผู้สอนต้องช่วยเหลือ โดยการให้ทำงานเป็นทีมระหว่างครูและครอบครัว ประสานกับครอบครัวของเด็กสม่ำเสมอ ควรให้เวลากับเด็กประเภทนี้ให้มากกว่าเด็กปกติทั่วไป ใช้กระบวนการเรียนที่บูรณาการกับประสบการณ์และใช้สื่อการสอนส่งเสริมให้ได้ใช้ประสาททั้ง 5 สัมผัส

       เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ เช่น เกเร ก้าวร้าว แยกตัวจากเพื่อน ฯลฯ เป็นต้น สามารถจำแนกกลุ่มปัญหาได้ดังนี้ คือ ปัญหาด้านความประพฤติ ด้านความตั้งใจและสมาธิ ผิดปกติในร่างกายและอารมณ์รุนแรง  ซึ่งเกิดจากปัจจัยทางชีวภาพและปัจจัยทางสังคม การจัดการเรียนการสอนและจัดห้องเรียนเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ทางบวก ต้องตั้งกฎเกณฑ์ในห้องเรียนอย่างชัดเจนเพื่อให้ปฏิบัติตาม และส่งเสริมให้เห็นคุณค่าของตนเอง ฝึกความรับผิดชอบและจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เหมาะสมต่อการเรียนรู้

       เด็กที่มีความบกพร่องทางพิการซ้อน ซึ่งมีหลายลักษณะรวมกันที่มีลักษณะ ปัญหาทางด้านจิตใจ ด้านพฤติกรรม ร่างกายและการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนต้องยึดหลักการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กและบูรณาการการเรียนรู้ สำหรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้สามารถทำได้ด้วยการถ่ายโยงทักษะ การเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม เรียนรู้ผ่านการได้ยิน และปฏิบัติตามคำสั่งและรอคอยการช่วยเหลือ

จุดเด่น/ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : รูปแบบการจัดการศึกษาของการศึกษาพิเศษมีหลายรูปแบบ อาทิเช่น

       1) จัดการเรียนร่วมในชั้นปกติและรับบริการพิเศษ เช่น การสอนเสริมบางวิชา

       2) จัดโรงเรียนพิเศษ เช่น จัดในโรงพยาบาลหรือสถานพักฟื้น

       3) จัดแบบเต็มวันและมีครูเดินสอน ตามตารางสอน

       4) จัดการศึกษาโดยครอบครัว โรงเรียนมีส่วนร่วม ในการดำเนินการยึดโรงเรียนเป็นศูนย์การศึกษาต่างๆ

       5) จัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ยืดหยุ่นทั้งรูปแบบวิธี การวัดและประเมินหลักสูตร ระยะเวลา ฯลฯ เป็นต้น

       ผู้สอนสามารถปรับปรุงการสอนและปรับสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนให้เหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะความพิการของผู้เรียน โดยการใช้การพูดให้ช้าและมากขึ้น ใช้เหตุผลในแต่ละช่วงการสอน ปรับภาษาพูดให้เหมาะสมกับผู้เรียน ฟังผู้เรียนพูด อธิบายให้มาก ควรให้รางวัลด้วยวิธีการชมเชย เพื่อเพิ่มความพยายามและสำหรับการประเมินผลต้องสอดคล้องกับตัวผู้เรียนที่มีความพิการแตกต่างกัน เช่น เด็กออทิสติก เป็นโรคที่มีลักษณะแตกต่างกันมากและอาการมีหลายอย่างและความรุนแรงแตกต่างกัน เทคนิคการสอนในห้องเรียนมี 8 เทคนิค คือ

       1) หลีกเลี่ยงการสอนที่เป็นนามธรรม

       2) หลีกเลี่ยงคำพูดที่ทำให้เข้าใจผิด

       3) การมอบหมายงานต้องไม่ซ้ำซ้อน

       4) เพิ่มศักยภาพการฟังและการมอง ด้วยวิธีการจัดองค์ประกอบ

       5) มองผู้เรียนเชิงบวก สร้างสรรค์และยืดหยุ่น ฯลฯ เป็นต้น

       เด็กปัญญาเลิศจะมีลักษณะที่มีประสาทการรับรู้ว่องไวเป็นพิเศษ มีความอยากรู้อยากเห็นอย่างเข้มข้น มีความสามารถแก้ปัญหาและเข้าใจสิ่งต่างๆ ในระดับสูง มีแรงจูงใจและขยันอดทนและชอบแสวงหาสิ่งท้าทาย ฯลฯ เป็นต้น มีทฤษฎีสติปัญญา 3 ด้าน ของเด็กปัญญาเลิศ ได้แก่ ด้านวิเคราะห์ ด้านสังเคราะห์และด้านปฏิบัติ

       แนวคิดในการจัดการศึกษาเด็กปัญญาเลิศ สามารถทำได้ เช่น ประเมินอย่างถูกต้องและยอมรับในความเป็นเลิศ ผู้สอนต้องมีความสามารถ เทคนิคการสอนได้ และควรจัดโปรแกรมการศึกษาพิเศษให้สอดคล้องกับลักษณะความเป็นเลิศ เนื้อหาที่ใช้สอนต้องมีความเข้มข้นทั้งการอ่าน เขียน คิด ลงมือปฏิบัติและต้องเหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน นอกจากนี้ผู้สอนยังต้องรู้จักการสอนคิดเชิงวิจารณ์ เน้นการสอนคิด รู้จักใช้เหตุผลก่อนตัดสินใจ

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : หนังสือเล่นนี้เนื้อหาเหมาะสมกับการนำไปใช้สอนการศึกษาพิเศษในยุคอาเซียนศึกษา เพราะ

       ประเด็นที่ 1 การเขียนโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคลมี 3 ขั้นตอน คือ การรวบรวมข้อมูล การจัดทำโปรแกรมการศึกษาเฉพาะรายบุคคล และใช้โปรแกรมที่มีความสมบูรณ์แล้วพร้อมจัดกิจกกรม เรียกว่า ขั้นการสอน โดยมีข้อมูลครบถ้วน ดังตัวอย่างโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล

              1) ข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน

วัน……………………….เดือน…………………………………..พ.ศ. …………………………………..

ชื่อนักเรียน…………………………………. นามสกุล………………………………………….. เพศ………………………..

เกิดวันที่ ………………………………….. เดือน……………………………………..พ.ศ. ……………………………………

ชื่อผู้ปกครอง ……………………………………………….ความสัมพันธ์กับนักเรียน…………………………………..

ที่อยู่ บ้านเลขที่ ……………………………… ซอย ……………………………… ถนน …………………………………..

แขวง/ตำบล ………………………………. เขต/อำเภอ …………………………… จังหวัด …………………………..

              2) ระดับสติปัญญา (IQ) ……………………………………………….…………….………

              3) ข้อมูลทางการแพทย์

       นักเรียน เจ็บป่วย เป็นโรค ………………………………………………………………………………………

       นักเรียนจะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างไรบ้าง ………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………….

       4) ความสามารถของนักเรียน ด้าน

          4.1 ภาษาไทย

                4.1.1 ด้านการฟัง

                4.1.2 ด้านการพูด

                4.1.3 ด้านการอ่าน

                4.1.4 ด้านการเขียน

          4.2 ด้านคณิตศาสตร์

          4.3 การช่วยเหลือตนเอง

          4.4 พฤติกรรม

          4.5 ความสามารถอื่นๆ

       5) ปัญหาของนักเรียน ……………………………………………………………………………………………….

       6) นักเรียนได้รับการตัดสินว่ามีความบกพร่องประเภทใด

       ……………………………………………………………………………………………………………………………

       ……………………………………………………………………………………………………………………………

       7) ควรได้รับการเรียนร่วมในลักษณะใด

       ……………………………………………………………………………………………………………………………

       ……………………………………………………………………………………………………………………………

       8) บริการที่เกี่ยวข้อง ………………………………….…………………………….……….…………..

       9) ภาษาถิ่นของนักเรียน …………………………………………………………………………………………

       10) จุดมุ่งหมายระยะยาว ………………………………………………………………………………………

       11) จุดมุ่งหมายระยะสั้น ………………………………………………………………………………………..

       12) หลักสูตรโดยย่อ (ต้องเรียนอะไรบ้าง ?) …………………………………………………………..

       13) การวัดและประเมินผล …………………………………………………………………………………….

       14) ระยะเวลา ………………………………………………………………………………………………………..

       15) ชื่อคณะกรรมการผู้จัดทำโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล……………………………….

       ………………………………………………………………………………………………………………………………..

ประเด็นที่ 2 ครูผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการสร้างโอกาสให้กับเด็กพิเศษ ส่งเสริมให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและยังเป็นการพัฒนาทักษะทางสังคม ครูผู้สอนจะต้องช่วยหาสื่อและพัฒนาเด็กได้ดังนี้

   1) ให้ความรู้กับเด็กปกติและเด็กที่เรียนร่วมในเรื่องความรู้เกี่ยวกับเด็กที่บกพร่อง อาจจะเป็นการเชิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญมาบรรยายในชั้นเรียน พร้อมใช้ทักษะต่างๆ ที่เหมาะสมกับความบกพร่อง

   2) สร้างโอกาสหรือให้โอกาสเด็กพิเศษทำงานร่วมกับเด็กปกติ เพื่อการปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน

   3) จัดชั้นเรียนให้เหมาะสม และให้เด็กปกติได้ช่วยเหลือเด็กพิเศษด้วย

   4) การจับคู่ Buddy หรือ สนับสนุนการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

   5) ให้เด็กได้ค้นพบศักยภาพตัวเองให้ได้ ผู้สอนต้องส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้เด็กได้มีการพัฒนาในด้านความเชื่อมั่นและความสำเร็จ ฯลฯ เป็นต้น

ประเด็นที่ 3 การจัดทำตารางกิจกรรม กิจกรรมการเรียนรู้มีความสำคัญกับผู้เรียน โดยการจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กปกติทำกิจกรรมร่วมกับเด็กพิการ เช่น ห้องอาหาร ห้องเรียน โรงพลศึกษา ห้องอาบน้ำ ห้องดนตรี สนามเด็กเล่น แล้วจึงระบุกิจกรรมที่มีความหมายสำหรับแต่ละสถานที่ เช่น

ตัวอย่าง การทำตารางเวลาที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างเวลา กิจกรรมและสภาพแวดล้อม

       Reverse Chaining ปฏิบัติกิจกรรมเกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวัน เริ่มจากการผูกเชือกรองเท้า หรือสอนผูกหูกระต่าย

       Co – Activity การให้ความช่วยเหลือ แนะนำเมื่อจำเป็นเท่านั้น หรือโดยการปฏิบัติใช้ Hand Over Hand เป็นการค้นหาหรือการตรวจสอบ ครูอาจยืนด้านหลัง จับข้อมือนักเรียน

       Pre – Teaching ครูนำเสนออุปกรณ์หรือความรู้ ความเข้าใจกับเรื่องที่ไม่คุ้นเคยในบทเรียน

       Self – Verbalization นักเรียนอธิบายในสิ่งที่ตนเองทำในขณะปฏิบัติงาน

       Direction – Giving ชี้นำที่ชัดเจน กะทัดรัด ให้นักเรียนมองเห็นภาพของงานที่สมบูรณ์

       Generation นักเรียนต้องการตัวอย่างที่หลากหลายในการใช้อุปกรณ์ จะช่วยให้เข้าใจเร็วขึ้น

       Use of Anesthetics the tic Movement ฝึกซ้ำๆ ในกิจกรรมที่ปฏิบัติ หรือการเคลื่อนไหวกระตุ้นให้จดจำ

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องอะตอม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์

ธนิษฐา กำเนิดสินธุ์


 

 

การปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานผลิตคอมเพรสเซอร์

Improvement of a Wastewater Treatment System in a Compressor Factory

ดร.กรกฎ เพ็ชร์หัสณะโยธิน และคณะ

View Fullscreen

วัสดุเชิงประกอบพอลิบิวทิลีนซัคซิเนตเสริมแรงด้วยเส้นใยผักตบชวา

Poly (butylene succinate) Composites Reinforced with Water Hyacinth Fiber

อ.ธนพงษ์ เชื่อฉุน และคณะ

View Fullscreen

ผลของการงอกต่อปริมาณอนินทรีย์ฟอสฟอรัส กรดไฟติกและกรดแกมมา-แอมิโนบิวทิริก (กาบา) ของข้าวไทยพันธุ์กข ๔๑

ผลของการงอกต่อปริมาณอนินทรีย์ฟอสฟอรัส กรดไฟติกและ กรดแกมมา-แอมิโนบิวทิรกิ (กาบา) ของข้าวไทยพันธุ์กข 41

Effect of Germination on Inorganic Phosphorous, Phytic Acid and Gamma-aminobutyric Acid (GABA) Contents of RD41 Thai Rice

ธิดา อมร
Tida Amon
สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลยัราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

View Fullscreen

การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน (Learning Management in Classroom)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือเรียนวิชา การจัดการเรียนรู้

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พิมพ์ที่ โรงพิมพ์สหธรรมมิก จำกัด กรุงเทพมหานคร

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางจุติมา รัตนพลแสนย์ และคณะ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : การเรียนรู้จัดเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เนื่องจากประสบการณ์และการฝึกหัดและจากสภาพแวดล้อม องค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้ ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคม การเรียนรู้เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งมีทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ อาทิเช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของฟาฟลอฟ สกินเนอร์ ธอรันไดด์ โคท์เลอร์และแบนดูรา

       รูปแบบการจัดการเรียนการสอนมีการจัดหมวดหมู่ของรูปแบบตามลักษณะ วัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบมี 5 หมวด อาทิเช่น เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัยและทักษะพิสัย ฯลฯ เป็นต้น รูปแบบการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัยมี 5 รูปแบบ ได้แก่ การสอนมโนทัศน์ สอนตามแนวคิดของยาเย การสอนโดยการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า สอนเน้นความจำและสอนโดยใช้ผังกราฟฟิค รูปแบบการสอนตามแนวคิดของกานเย มีผลการเรียนรู้ที่มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ผลการเรียนรู้หรือความสามารถด้านต่างๆ ของมนุษย์ เกิดจากทักษะทางปัญญา ภาษาหรือคำพูดและเจตคติ และการเรียนรู้และจดจำของมนุษย์ ทักษะการเคลื่อนไหวและเจตคติ

       รูปแบบการสอน โดยการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า จะเกิดความคิดรวบยอดในสิ่งที่เรียนและสามารถจัดโครงสร้างความรู้ของตนเองได้ และพัฒนาทักษะอุปนิสัยในการคิดและเพิ่มพูนความรู้ รูปแบบการสอนเน้นความจำ ช่วยให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระที่เรียนแล้วสามารถนำไปใช้ได้กับการเรียนรู้สาระอื่น และรูปแบบการสอน โดยใช้ผังกราฟฟิคเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม และสร้างความหมาย ความเข้าใจเนื้อหาข้อมูล พร้อมจัดระเบียบข้อมูลที่เรียนรู้ด้วยผังกราฟฟิคเพื่อง่ายต่อการจำ

       รูปแบบการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้อื่น เกิดการปรับตัว เปลี่ยนเจตคติ ค่านิยมและพฤติกรรมของตนเองให้เป็นไปในทางที่เหมาะสม รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ มุ่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน ช่วยให้เกิดแนวคิดแตกต่างจากเดิมและสามารถนำความคิดใหม่ให้เป็นประโยชน์ได้ สำหรับรูปแบบการเรียนการสอนทางตรงมุ่งให้ผู้เรียนรู้ทั้งเนื้อหา สาระและมโนทัศน์ต่างๆ รวมทั้งฝึกปฏิบัติทักษะต่างๆ

       องค์ประกอบการเขียนแผนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ แหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลและบันทึกผลการจัดการเรียนรู้

       รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้ที่นิยมใช้มี

       การเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ต้องให้ครบ 3 ด้าน ประกอบด้วยคามรู้ (K : Knowledge) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A : Attribute) และด้านทักษะกระบวนการ (P : Process)

       การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ คือ การกระทำให้สมบูรณ์นำหน่วยย่อยๆ ที่สัมพันธ์กันมาผสมผสานกลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียวให้ครบสมบูรณ์ในตัวเอง ลักษณะการบูรณาการ มีบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้กับบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ สำหรับรูปแบบบูรณาการมีหลายรูปแบบ ได้แก่ การสอนบูรณาการแบบทดลองรวมหรือแบบสอดแทรก บูรณาการแบบคู่ขนาน บูรณาการแบบสหวิทยาการ และบูรณาการแบบเชื่อมโยงข้ามวิชา ขั้นตอนการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เริ่มจากการกำหนดหัวเรื่อง ทำเครือข่ายความคิด (Web) หรือผังความคิด (Concept Map) หรือผังกราฟฟิค และจัดเรียงลำดับเนื้อหาและทักษะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องเพื่อนำไปวางแผนการจัดการเรียนรู้

       การเลือกและการใช้สื่อการเรียนรู้ สื่อเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เป็นตัวกลางที่ช่วยให้ผู้ทำได้ดีและประสบความสำเร็จในเวลาที่จำกัด และรูปแบบการสอนโดยการสร้างเรื่องเพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ เจตคติของผู้เรียนในเรื่องที่เรียน และทักษะกระบวนการต่างๆ เช่น ทักษะการคิด ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และทักษะการแก้ปัญหา พร้อมทักษะการสื่อสาร

       รูปแบบการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้สมองทุกส่วน ทั้งซีกซ้ายและซีกขวา ในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง รูปแบบการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือช่วยให้เรียนรู้เนื้อหาสาระต่างๆ ด้วยตนเองและด้วยความร่วมมือและความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ และพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น ทักษะการสื่อสาร ฯลฯ เป็นต้น

       การออกแบบการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะถ่ายทอดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นการทำความเข้าใจ การปรับปรุง การประยุกต์ใช้วิธีการสอนและตัดสินว่าจะใช้วิธีใดที่ดีที่สุดที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์ของความรู้ ทักษะและเจตคติในตัวผู้เรียนเป็นยุทธวิธีการสอนหลักก่อนและจัดเลือกเนื้อหา ให้เป็นสาระการเรียนรู้

ภาพ การวางแผนและการออกแบบการเรียนการสอน

จุดเด่น / ความน่าสนใจของหนังสือ : การออกแบบการเรียนการสอนใหม่ จะมีประสิทธิภาพ ต้องใช้วิธีการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ (Backward Design) โดยเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้ โดยการเชื่อมโยงสอดคล้องกันระหว่างกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์ การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นแรก กำหนดเป้าหมายปลายทาง ขั้นสอง กำหนดการประเมินผล และขั้นสุดท้ายเป็นการออกแบบการเรียนรู้

       การออกแบบการจัดการเรียนรู้ จะต้องพิจารณาสื่อการสอนที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น ต้องพิจารณาของผลการออกแบบด้วย “Where To” W = วิธีใดช่วยให้นักเรียนรู้ว่าจะไปทิศทางใด   H = กระตุ้นและดึงดูดความสนใจ E= จะทำอย่างไรนักเรียนจะมีส่วนร่วม R = จัดกิจกรรมอย่างไรจึงจะทำให้เข้าใจ T = จะออกแบบเรียนรู้อย่างไรและ O = จัดระบบสิ่งที่ตนเรียนรู้จากความเข้าใจ

       แผนการจัดการเรียนรู้ที่ประมวลมาทั้งหมดในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดให้จากแนวการจัดการเรียนรู้ของคู่มือครูหรือกรมวิชาการภายใต้กรอบที่ต้องการให้เกรดการเรียนรู้ โดยการกำหนดจุดประสงค์ วิธีการดำเนินการหรือกิจกรรม ให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ สื่อ การเรียนรู้ และวิธีวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้

       ขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เรียนได้ศึกษาความรู้ เกิดปฏิสัมพันธ์กัน กระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การคิดแก้ไขปัญหา สามารถสร้างองค์ความรู้และเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มี 4 ลักษณะ คือ แบ่งตามทรัพยากรการเรียนรู้ แบ่งตามกระบวนการการพัฒนาความคิดตามทฤษฎีของบรูเนอร์ แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับและแบ่งตามโครงสร้างของสื่อ รูปแบบการเรียนรู้ของมนุษย์มี 3 รูปแบบ ได้แก่ การฟัง การดู และการกระทำ เกณฑ์การเลือกสื่อการเรียนรู้ประกอบด้วยความเหมาะสม ความน่าเชื่อถือได้ ความน่าสนใจ การรวบรวมและความสมดุล คุณภาพด้านเทคนิคและราคา การวางแผนการใช้สื่อการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เริ่มจากการเตรียมตัวผู้สอน เตรียมสภาพแวดล้อม เตรียมความพร้อมผู้เรียน การใช้สื่อและการประเมิลผลการใช้สื่อการเรียนรู้

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : หนังสือเล่มนี้มีสาระที่น่าสนใจ และสามารถนำไปประยุกต์ได้กับวิชาชีพครู ได้แก่ 1. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะวิชาชีพ สามารถนำไปประยุกต์ได้ ตามแผนภาพ ดังนี้

ที่มา : ทิศนา แขมมณี และคณะ

       กระบวนการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ทักษะวิชาชีพนั้นประกอบด้วย กระบวนการเตรียมการด้วยการสร้างความเข้าใจและกำหนดช่วงเวลา สำหรับการจัดการเรียนรู้จะใช้วิธีสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน หรือสอดแทรกและกระบวนการการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะวิชาชีพตามที่วางแผนไว้ ต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมวางแผนด้วย

       ตัวอย่าง แสดงการบูรณาการอาเซียนศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้

สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเป็นหลัก

       การสอนแบบบูรณาการ สามารถนำไปใช้สำหรับการเรียนการสอนได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยผู้สอนอยู่ในระดับขั้นเดียวกัน ควรจะได้มีการประชุมปรึกษาหารือกัน พิจารณาเนื้อหาใดที่ซ้ำซ้อน หรือคล้ายคลึงกัน จะได้นำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการให้แก่ผู้เรียน ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน

       2. การบริหารจัดการชั้นเรียน สามารถส่งเสริมการเรียนการสอนให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น เป็นสิ่งสัมพันธ์กับการจัดเรียนรู้และเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของบทบาทความเป็นผู้นำของครู และเป็นกลยุทธ์ในการวางแผนการเรียนรู้ด้วย ทำให้ครูสามารถสร้างข้อกำหนดและข้นตอนการปฏิบัตินำไปสู่พฤติกรรมที่ชัดเจน หลัก การบริหารจัดการชั้นเรียนประกอบด้วย

       1) ต้องยืดหยุ่นตามความเหมาะสมกับชั้นเรียน

       2) ต้องจัดห้องเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน

       3) ต้องจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี เช่น สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของผู้เรียนมาก

       4) ต้องจัดให้เอื้อต่อหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น

ชื่อผลงานทางวิชาการ : ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น (Foundation of Philosophy Education)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือประกอบการเรียนวิชา การศึกษา

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : จัดพิมพ์โดย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พิมพ์ที่โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก จำกัด กรุงเทพ.

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางสาวแฝงกมล เพชรเกลี้ยง และคณะ ตำแหน่งอาจารย์ คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : ปรัชญาเป็นวิธีการมองปัญหาหรือความรู้ที่มีอยู่เพราะปรัชญานำมาประยุกต์ก่อนใช้ จึงเป็นการนำแนวความคิดหรือวิธีการรวมทั้งปัญหาพื้นฐานทางปรัชญามาวิเคราะห์วิชาต่างๆ ชัดจนขึ้น การเกิดปรัชญามาจากความแปลกใจ ความประหลาดใจ การหวนคิด มนุษย์มีสัญชาติญาณอยากรู้อยากเห็น ความสงสัยและลังเลใจ ปรัชญามีหลายประเภท โดยการแบ่งเป็น 4 แบบ โดยเฉพาะแบบที่เป็นสากลมากที่สุด อาทิเช่น ปรัชญาบริสุทธิ์และปรัชญาประยุกต์

       ปรัชญาการศึกษา คือ การนำเอาหลักบางประการของปรัชญาแม่บทมาดัดแปลงให้เป็นระบบเพื่อประโยชน์ในการศึกษา ปรัชญาการศึกษามีความสำคัญมากสำหรับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เพราะมนุษย์ต้องเข้าใจเรื่องชีวิตของโลกและสิ่งแวดล้อม นักการศึกษาสามารถแบ่งสาขาปรัชญาออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 3 สาขา ได้แก่ อภิปรัชญา ญาณวิทยาและคุณวิทยา ลัทธิปรัชญาการศึกษาประกอบด้วยปรัชญาการศึกษากลุ่มสารัตถนิยม กลุ่มนิรันตรนิยม กลุ่มพิพัฒนาการนิยม กลุ่มปฏิรูปนิยม กลุ่มอัตถินิยมและกลุ่มพุทธปรัชญาการศึกษา

       ทฤษฎีการศึกษา เป็นสมมติฐานหรือหลักการที่ได้ผ่านการทดสอบมาแล้ว สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลสามารถแบ่งทฤษฎีทางการศึกษาของไทยเป็น 4 กลุ่ม คือ ทฤษฎีการศึกษาที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนา เกี่ยวข้องกับปัญหาและความคิด เกี่ยวข้องกับสังคม และเกี่ยวข้องกับเสรีภาพทางวิชาการ

       วิวัฒนาการของการศึกษาไทยและต่างประเทศซึ่งการศึกษาไทยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน เพราะเชื่อว่าการศึกษาช่วยกำหนดทิศทางของชาติ พัฒนาคนไทยให้มีความพร้อมที่จะเป็นกำลังของชาติมี 3 ยุคสมัย คือ ยุคสุโขทัยจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ยุคสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน

จุดเด่น/ความน่าสนใจของเอกสารประกอบการสอน : วิวัฒนาการของการศึกษาไทยเป็นกระบวนการสร้างและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้มีความสามารถเพื่อพัฒนาประเทศชาติ ในยุค

       1. ยุคสมัยสุโขทัยถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีปราชญ์หลายสาขา เช่น ด้านการก่อสร้าง หัตถกรรม ศิลปกรรม ประติมากรรมและแพทย์แผนโบราณ แบ่งออกเป็นสมัยสุโขทัย พ.ศ. 1781 – พ.ศ. 1921 จัดการศึกษาเป็น 2 ฝ่าย การศึกษาสมัยอยุธยา พ.ศ. 1893 – พ.ศ. 2310 ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามาติดต่อค้าขาย ทำให้การศึกษาเจริญมากขึ้น แบ่งการศึกษาออกเป็น 5 รูปแบบ สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ. 2311 – พ.ศ. 2411 มีลักษณะคล้ายอยุธยา มีการเก็บรวบรวมสรรพตำราจากแหล่งต่างๆ ให้รอดพ้นจากการทำลาย เน้นการทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะวรรณคดี

       2. ยุคสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การศึกษาเริ่มเป็นแบบแผน มีระเบียบแบบแผน จัดตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎร์ทั่วไป รับแนวคิดวิทยาการต่างๆ ของชาติตะวันตกมาใช้ ต้องการบุคคลที่มีความรู้ความสามารถจัดตั้งโรงเรียน รับคนเข้ารับราชการ สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เน้นการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ จัดตั้งกองเสือป่า กองลูกเสือ ปลูกฝังความรักชาติ แปลวรรณคดีต่างประเทศเป็นภาษาไทย วางโครงการศึกษาใหม่ส่งเสริมให้หาเลี้ยงชีพนอกเหนือรับราชการบังคับเด็กทุกคนมีอายุ 7 ปีบริบูรณ์ ย่างเข้าปีที่ 8 ต้องเข้ารับการศึกษาพื้นฐานจนครบอายุ 14 ปีบริบูรณ์ โดยไม่เสียค่าเล่าเรียน สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ยกเลิกการเก็บเงินศึกษาพลีใช้เงินจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติอุดหนุนการศึกษาแทน ปรับปรุงกระทรวงธรรมการให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจ ยุบกรมสามัญศึกษา และยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมีแผนการศึกษาชาติและการศึกษาแห่งชาติเกิดขึ้นหลายฉบับ ทั้งหมดมี 9 ฉบับ อาทิเช่น แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475 มี 3 ส่วน คือ จริยธรรมศึกษา เป็นการอบรมศีลธรรมอันดีงาน พุทธิศึกษาให้มีปัญญาความรู้และพลศึกษา เป็นการฝึกหัดให้เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2479 กำหนดระยะเวลาของการเรียนชั้นประถมศึกษา เพียง 4 ปี เร่งรัดให้สำเร็จการศึกษาภาคบังคับโดยเร็ว และแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479 สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เพิ่ม หัตถกรรม คือ การฝึกหัดอาชีพและการประกอบอาชีพ รวมเป็น 4 ส่วน มีการจัดการศึกษาพิเศษและผู้ใหญ่ด้วย ยกฐานะกองโรงเรียนประชาบาลในกรมสามัญเป็นกรมประชาศึกษา เพื่อจัดการศึกษาพิเศษ และขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น 7 ปี ฯลฯ เป็นต้น

       แนวโน้มการศึกษาไทยในอนาคต เพื่อพัฒนาคนพัฒนาสังคมเป็นพลังขับเคลื่อนและเป็นภูมิคุ้มกันให้คนไทยมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในโลกของการแข่งขันได้อย่างเท่าเทียมกัน แนวโน้มแนวบวกนั้นเกิดหลักสูตรใหม่จำนวนมาก มีหลักสูตรนานาชาติมากขึ้น การศึกษามีความเป็นสากลมากขึ้น ฯลฯ เป็นต้น ส่วนแนวโน้มทางลบ ด้านคุณภาพการจัดการศึกษา การผลิตบัณฑิตล้นตลาดและคุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ

       บทบัญญัติว่าด้วยการศึกษาในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (กฎหมายการศึกษา) จุดมุ่งหมายการจัดการศึกษาของไทยเพื่อพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยมีหลักการการจัดการศึกษา 3 ประการ คือ การศึกษาตลอดชีวิต สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับการศึกษา ประกอบด้วยกฎหมายที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวงและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา กฎหมายรองรับการปฏิรูปการศึกษา คือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 เกิดจากข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 81 ที่กำหนดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สิทธิทางการเรียน สิทธิผู้เรียน ให้ความสำคัญการศึกษานอกระบบและจัดสรรทรัพยากร เน้นความเสมอภาคและจัดสรรค่าเล่าเรียนเป็นรายบุคคล

       วัตถุประสงค์และนโยบายเป็นแผนยุทธศาสตร์ชั้นนำสำหรับการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในแต่ละแผนงานแต่ละโครงการ อาทิเช่น พัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุลเพื่อเป็นรากฐานหลักของการพัฒนา สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้และพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคนและสร้างสังคมคุณภาพภูมิปัญญาและการเรียนรู้ การบริหารแผนไปสู่การปฏิบัติเชื่อมโยงกันตามแนวนโยบาย 11 ประการ เช่น หน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯเป็นต้น

       ระบบการศึกษา การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาในระบบมี 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี ก่อนระดับอุดมศึกษา กับการศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาตรีและระดับปริญญาตรี ส่วนสถานศึกษาที่จัดการศึกษา มี

       1. สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา ฯลฯ เป็นต้น
2. โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนของรัฐ โรงเรียนเอกชนและโรงเรียนที่สังกัดสถาบันพุทธศาสนา หรือศาสนาอื่น
3. ศูนย์การเรียนรู้ ได้แก่ สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน ฯลฯ เป็นต้น

       สำหรับการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้จัดในมหาวิทยาลัย สถาบันวิทยาลัยหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามกฎหมายเกี่ยวกับสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา กฎหมายที่ว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้นๆ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (มาตรา 19) และการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา การฝึกอบรมอาชีพให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ ของเอกชน สถานประกอบการหรือโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (มาตรา20) ซึ่งสถานศึกษาต้องพัฒนากระบวนการการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา (มาตรา30)

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ประกอบด้วย

       หมวดที่ 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ
หมวดที่ 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
หมวดที่ 3 ระบบการศึกษา
หมวดที่ 4 แนวทางการจัดการศึกษา
หมวดที่ 5 การบริหารและการจัดการศึกษา
หมวดที่ 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
หมวดที่ 7 ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
หมวดที่ 8 ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา   และ
หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

การนำไปใช้ประโยชน์และอื่นๆ ตามความเหมาะสม : หนังสือปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น สามารถนำสาระเนื้อหาไปใช้กับการศึกษาทุกวิชาชีพ โดยเฉพาะอาชีพครู เนื่องจาก

       ประเด็นที่ 1 การนำเนื้อหา สาระไปพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย ควรทำเชิงรุกรัฐบาลควรลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มากขึ้น มุ่งการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการวิจัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบัน

       ประเด็นที่ 2 กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศให้ชัดเจนทันต่อสภาพยุคโลกาภิวัฒน์ สร้างความเจริญที่ยั่งยืนควบคู่กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

       ประเด็นที่ 3 กำหนดทิศทางการพัฒนากำลังคนบนความต้องการของประเทศ เช่น การเปิดหลักสูตรต่างๆ ฯลฯ เป็นต้น

       ประเด็นที่ 4 ด้านการพัฒนาครู ให้ความสำคัญบทบาทครูและงานของครูให้มากขึ้น

       ประเด็นที่ 5 พัฒนาหลักสูตร พัฒนาผู้เรียน ควบคู่กับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม พัฒนาทักษะการอ่าน ความคิดวิเคราะห์คิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยการจัดการศึกษาให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน โดยเฉพาะพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีทักษะ มีความสามารถหลากหลาย

       ในส่วนแผนการศึกษาชาติเป็นแผนกลยุทธ์ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาสอดคล้องกันทั้งประเทศ บูรณาการคุณภาพชีวิตทุกๆ ด้าน ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ นโยบาย มาตรการ บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และกฎหมายอื่นๆ ทิศทางในการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ ต้องกำหนดกรอบแนวความคิดและเจตนารมณ์ ดังนี้

          1) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2) ยึดคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา
3) เป็นแผนบูรณาการแบบองค์รวม
4) เป็นแผนที่พัฒนาชีวิตให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

       หลักการและแนวคิดในการพัฒนาที่ยั่งยืน เกิดจากแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ ความต้องการของมนุษย์ ขีดจำกัดของสิ่งแวดล้อมและความยุติธรรมในสังคม ควรนำแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวคิดเชิงพุทธศาสตร์ของท่านพระธรรมปิฎก (ประยุทธ ปยฺตโต) มาปรับใช้ คือ การพัฒนาหรือการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้องอยู่ในภาวะที่สิ่งแวดล้อมรองรับได้ ซึ่งหมายถึง การพัฒนาที่สัมพันธ์กับโลกและสิ่งแวดล้อม เป็นการรักษามรดกโลก และมนุษย์เป็นองค์ประกอบที่เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ซึ่งครอบคลุมและสมดุลกับการพัฒนา 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม มีสาระสำคัญ 4 ส่วน คือ

       ส่วนที่ 1 มิติทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ
ส่วนที่ 2 การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากร
ส่วนที่ 3 การส่งเสริมบทบาทของกลุ่มต่างๆ ที่สำคัญ
ส่วนที่ 4 วิธีการในการดำเนินงาน

แนวทางการจัดการศึกษาที่ยั่งยืนนั้นมีแนวทางดำเนินการ 4 ประการ คือ

       1) การส่งเสริมและการปรับปรุงการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) การทบทวนการศึกษาที่เป็นอยู่ในทุกระดับต้องสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
3) การพัฒนาความเข้าใจสาธารณะ ความตระหนักเรื่องความยั่งยืน และการพัฒนาความก้าวหน้าไปสู่สังคมที่ยั่งยืน
4) การฝึกอบรม ต้องเกิดขึ้นทุกภาคส่วน เพื่อทำให้ทุกภาคส่วนด้านทรัพยากรแรงงานมีความรู้ มีทักษะเพราะสำคัญมากต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

       การจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจำเป็นต้องแทรกอยู่ในหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ในห้องเรียนต้องมีกระบวนการหล่อหลอมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้อง มีความเชื่อมั่นและเห็นประโยชน์สามารถนำหลักการไปประยุกต์ใช้ประจำวัน บูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ตลอดจนสอดแทรกในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

       เครื่องมือสำคัญที่มีบทบาทและอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ ต้องครอบคลุมประเด็น ต่อไปนี้

       1) เครือข่ายองค์ความรู้สร้างสรรค์ของบุคลากรทางการศึกษา
2) การผลิตสื่อออนไลน์ เช่น เกม VDO Clip และสื่ออื่นๆ นำเสนอผ่านอินเตอร์เน็ตให้สอดคล้องกับความสนใจของเด็กและเยาวชน
3) จัดการความรู้ผ่านระบบภายในโรงเรียน ผสมผสานกับบริษัทต่างๆ เข้าด้วยกันแบบบูรณาการทั้งโรงเรียน บ้านและชุมชน
4) กระตุ้นเด็กและเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการผลิตสื่อสีขาวออกสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นกลยุทธ์ในการเข้าถึงเด็ก

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร


 

พืชสมุนไพร: กรณีศึกษาภูมิปัญญาของชุมชนชายทะเลบางขุนเทียน สำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

 

รศ.ดร.วันทนี สว่างอารมณ์


 

พัฒนาพฤติกรรมมนุษย์

ชื่อผลงานทางวิชาการ : พัฒนาพฤติกรรมมนุษย์

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือเรียนวิชาพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558 – 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาวิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งวิชาการ  : นางสาวปัญจนาฎ วรวัฒนชัย ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : หนังสือเล่มนี้มีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจหลายประเด็น โดยเฉพาะเป็นแนวคิดในการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีระบบตามแนวทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีเกณฑ์การแบ่งไว้ อาทิเช่น แนวคิดทวินิยม (Dualism) แนวคิดเอกนิยม (Monism) และมนุษย์ตามหลักพระพุทธศาสนา

       พฤติกรรม หมายถึง การกระทำทุกอย่างของมนุษย์ภายใต้กลไกของความรู้สึกนึกคิดของตนเอง มีหลายประเภท อาทิเช่น พฤติกรรมภายในและพฤติกรรมภายนอก ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมมนุษย์ อาทิเช่น ปัจจัยทางชีวภาพ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ เป็นต้น

       ปัจจัยส่งเสริมความเข้าใจตนเองและผู้อื่น ได้แก่ อัตมโนทัศน์ การเห็นคุณค่าแห่งตนและการเปิดเผยตนเองกระบวนการพัฒนาตนเองเป็นหน้าที่หลักของมนุษย์ ประกอบด้วย แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาตนเอง หลักการพัฒนาตนเองมี 3 แนวทาง ได้แก่ พัฒนาตนเองเชิงการแพทย์ ตามแนวคิดจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม เป็นต้น

       สุขภาพและการปรับตัว การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์มีหลายด้าน อาทิเช่น ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ-การงาน ด้านชีวิตครอบครัวและด้านเพื่อนร่วมงาน เทคนิคการจัดการความเครียดของมนุษย์ มีลักษณะบางประการ อาทิเช่น แยกแยะสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด และแยกแยะผลกระทบของสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด เป็นต้น กลวิธีในการปรับตัวของมนุษย์ ได้แก่ กลไกในการเผชิญปัญหา กลไกป้องกันตนเอง และปฏิกิริยากลบเกลื่อน

       จิตตปัญญาศึกษาและจิตสาธารณะ การเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษา มีการฝึกการใช้ชีวิตทั้งฐานกาย ฐานใจและฐานปัญญา ส่วนจิตสาธารณะเป็นความสำนึกต่อส่วนร่วมเป็นลักษณะหนึ่งของจิตสาธารณะ คือ การตระหนักและคำนึงถึงส่วนระบบร่วมกัน ความสำคัญของจิตสาธารณะ คือ การที่คนมาอยู่ร่วมกันในสังคม ต้องมีความสัมพันธ์ในรูปแบบการพึ่งพากันและวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางปัญญา เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะสามารถทำได้โดยการใช้บทบาทสมมติกับตัวแบบ ฯลฯ เป็นต้น

       การบริหารตนเองเป็นการจัดการกับตนเองให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิต การพัฒนาพฤติกรรมกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมของมนุษย์ มี 3 รูปแบบ ได้แก่ แสดงออกแบบก้าวร้าว ไม่กล้าแสดงออก และกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม

       การติดต่อสื่อสาร คือ กระบวนการถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความต้องการ อารมณ์ ความรู้สึกจากผู้ส่งไปยังผู้รับ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลจะเกิดขึ้นเมื่อมีกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันระหว่าง 2 คนขึ้นไป

       ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์สัมพันธ์มี 2 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทฤษฎีหน้าต่างหัวใจของ โจว – แฮรี่ รูปแบบการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมมีรูปแบบที่ 1 คือ หลีกเลี่ยง รูปแบบที่ 2 แบบพิธีการ รูปแบบที่ 4 การพูดคุยสนทนา รูปแบบที่ 5 เกม และรูปแบบที่ 6 ความใกล้ชิด เทคนิคการสร้างมนุษยสัมพันธ์มีวิธีการดังนี้ การทักทายผู้อื่น ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ ฯลฯ เป็นต้น การสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคลทั่วไปในสังคม คือ สร้างกับคนที่มีอารมณ์อ่อนไหว คนขลาดกลัว คนดื้อรั้นและคนก้าวร้าว

จุดเด่น / ความน่าสนใจของสาระเนื้อหา : การแบ่งเกณฑ์ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ประกอบด้วย

1. แนวคิดทวินิยม ประกอบด้วย กายและจิต มี 3 แนวคิดย่อย คือ ลัทธิปฏิสัมพันธ์ ลัทธิคู่ขนานและลัทธิผลพลอยได้

2. แนวคิดเอกนิยม ประกอบด้วย กายและจิตเป็นสิ่งเดียวกัน สามารถอธิบายรูปแบบของกิจกรรมทางสองได้หมด

3. มนุษย์ตามหลักพุทธศาสนา ร่างกายมีองค์ประกอบ 5 อย่าง คือ ขันธ์ 5 หรือเบญจขันธ์ เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม

       หลักธรรมที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เรียกหลักธรรม 7 ประการ ได้แก่ ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ อัตถัญญุตา รู้จักผล อัตตัญญุตา รู้จักตน ฯลฯ เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นคุณธรรมที่มนุษย์สามารถประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง มนุษย์เรามีการกระทำที่เรียกว่า พฤติกรรม จึงแบ่งพฤติกรรมตามลักษณะได้ 4 ลักษณะ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดจากการเรียนรู้ พฤติกรรมปกติ และพฤติกรรมอปกติ

ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ 4 ปัจจัย เช่น

       ปัจจัยทางชีวภาพ ร่างกายของมนุษย์เกิดการปะทะสัมพันธ์ระหว่างระบบสรีรวิทยาของร่างกายกับสิ่งเร้าภายนอก ปัจจัยทางด้านสังคมเป็นการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น กาลเวลา ฯลฯ เป็นต้น วิธีศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ทำได้โดย การสังเกตการณ์สำรวจ การทดสอบและการวัด ศึกษาสหสัมพันธ์ ศึกษาอัตชีวประวัติและการทดลอง การประเมินพฤติกรรมโดยตรงสามารถทำได้หลายวิธีอาทิเช่น การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมตนเอง บันทึกพฤติกรรมผู้อื่น ประเมินตนเองจากการสังเกตและบันทึก นอกจากนั้นศึกษาพฤติกรรมจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น สิ่งแวดล้อมก่อนเกิด กับหลังเกิด เป็นต้น หลักการในการพัฒนาตนเองมี 3 แนวทาง ได้แก่ พัฒนาตนเองเชิงการแพทย์ อวัยวะของร่างกาย เป็นต้น

       หลักการพัฒนาตนเองตามแนวทางพุทธศาสนาประกอบด้วย 3 ประการ คือ ทมะ สิกขา และภาวนา หลักการพัฒนาชีวิตที่ดีงามถูกต้องมี 7 ประการ คือ เลือกแหล่งความรู้และแบบอย่างที่ดี รู้จักระเบียบชีวิต มีแรงจูงใจสร้างสรรค์ พัฒนาให้เต็มศักยภาพ ปรับเจตคติและค่านิยม มีสติ กระตือรือร้นและรู้จักแก้ปัญหา พึ่ง พาตนเองได้ ขั้นตอนพัฒนาตนเอง

ขั้นที่ 1 การสำรวจ – พิจารณาตนเอง รับรู้สภาพการดำรงชีวิตในปัจจุบัน

ขั้นที่ 2 วิเคราะห์จุดเด่น-จุดบกพร่อง ของตนเองต่อจากขั้นที่ 1

ขั้นที่ 3 การกำหนดปัญหาและพฤติกรรมเป้าหมาย มีสภาพใดควรปรับปรุง เกิดจากสาเหตุใด เช่น ปัญหาเกิดจากความคิด อารมณ์ ความรู้สึก

ขั้นที่ 4 รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน เพื่อเลือกเทคนิคที่จะปรับปรุงต่อไป

ขั้นที่ 5 การเลือกเทคนิค วิธีและการวางแผนปรับปรุงตนเอง อาจใช้การฝึกหัดได้

ขั้นที่ 6 การทดลองปรับปรุงและพัฒนาตนเอง ควรทำเป็นระยะๆ ตามเวลาที่ระบุไว้

ขั้นที่ 7 การประเมินและขยายผลการพัฒนาตนเองวางแผนเตรียมการไว้ล่วงหน้า

       กลวิธีในการปรับตัวของบุคคล ได้แก่ กลไกการเผชิญหน้าหรือการตอบโต้ปัญหาหรือบุคคล เช่น การร้องไห้ หัวเราะ ฯลฯ เป็นต้น กลไกป้องกันตนเอง เป็นวิธีลดความเครียด ความวิตกกังวล ความคับข้องใจ หรือปกป้องตนเอง จะเป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ได้ จึงเป็นความสามารถทางอารมณ์ที่จะช่วยให้การดำเนินงานของชีวิตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : สาระของหนังสือการพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์เล่มนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกคน ทุกอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพครู อาชีพให้บริการ (ธุรกิจ) ฯลฯ เป็นต้น เพราะจะทำให้เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ เพิ่มความสำเร็จบังเกิดประสิทธิผลในงานสูงมาก

       ด้านการให้ความรู้ โดยเฉพาะการให้การศึกษาผู้ใหญ่ จะสามารถปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ วิธีการ แปลความหมายได้ง่ายจากพฤติกรรมที่แสดงออก โดยใช้วิธีศึกษาจิตปัญญา เพื่อมุ่งมั่นให้เกิดการพัฒนาด้านจิตและการคิด เพราะจิตตปัญญา เป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่มุ้งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเอง โดยการพัฒนาจากด้านจิตและความคิดของมนุษย์

       โดยการใช้กิจกรรมจิตปัญญาจะช่วยย้อนพิจารณาถึงประสบการณ์หรือกิจกรรมที่ผ่านมา เพื่อน้อมนำไปสู่ใจ ใคร่ครวญด้วยใจนำไปพัฒนาให้ดีขึ้น จะช่วยให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลง 3 ขั้นตอน เริ่มจากการตระหนักต่อกระบวนการคิด เข้าใจความรู้สึกของตนต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวบุคคลจะปรับเปลี่ยนความคิดจะช่วยให้เกิดมโนทัศน์เป็นแนวทางปฏิบัติ ซึ่งสาระดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการบริหารตนเองได้ และกล้าแสดงออกทางพฤติกรรมอย่างเหมาะสม เช่น การบริหารเวลา การอ่อนน้อมถ่อมตน การคิดเชิงบวก โดยเริ่มจากมองตนเองว่าดี หาข้อดี มองคนอื่นว่าดี มองสิ่งที่เหลืออยู่ไม่ใช่สิ่งที่ขาดหาไป หมั่นบอกตัวเองและใช้ประโยชน์จากคำว่า ขอบคุณ

       สำหรับการนำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด วางแผน เตรียมการติดต่อสื่อสาร ศึกษาอุปนิสัยใจคอ ความต้องการและตำแหน่งของผู้ที่เราจะติดต่อสัมพันธ์ด้วย

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ประเภทผลงานทางวิชาการ : เอกสารประกอบการสอน วิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขากลุ่มวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางจุติมา รัตนพลแสนย์ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และคณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : การพัฒนาหมายถึง การทำให้เจริญงอกงามเกิดการเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่งดีกว่าเดิมอย่างเป็นระบบ เช่น การพัฒนาของสังคมหรือประเทศต้องมีแผนหรือแนวทางของการพัฒนาเพื่อกำหนดทิศทางและควบคุมการดำเนินการพัฒนาให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ การพัฒนาในบริบทของสังคมไทยจำเป็นต้องมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทุกฉบับ

       การศึกษาเป็นปัจจัยสำหรับด้านต่างๆ ทุกด้าน ช่วยในการวางแผนกำลังคนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศได้ตรงตามเป้าหมาย การพัฒนาการศึกษาให้กับประชาชนของประเทศจึงต้องมีแผนหรือแนวทางของการพัฒนาเพื่อกำหนดทิศทาง ประชาชนต้องมีความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยของการบริหารประเทศด้วย

       การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มี 2 แนวทาง คือ แนวอนุรักษ์นิยม พัฒนามนุษย์ให้มีความรู้คู่คุณธรรมและแนวเสรีนิยม พัฒนามนุษย์ให้เป็นผู้มีประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติ กระบวนการพัฒนามี 4 ด้าน คือ ด้านกาย ศีล จิตและปัญญา

       การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นผลมาจากแบบจำลองการพัฒนาในอดีตที่ผ่านมาที่เน้นทางด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยการใช้และกอบโกยประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติขนานใหญ่ ก่อให้เกิดมลภาวะในลักษณะต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมอย่างรุนแรง จึงจำเป็นต้องแสวงหาทางเลือกใหม่ในการพัฒนาโดยการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลักในการพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ การธำรงรักษาสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องคำนึงถึงระบบนิเวศเป็นสำคัญ แนวคิดและแนวทางพัฒนาต่างๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนประกอบด้วย แนวคิดการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : การพัฒนาคุณภาพด้วยคุณธรรมนำความรู้ แนวทางการจัดการศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการพัฒนาตามแนวพระพุทธศาสนา

       บทบาทของการศึกษาประกอบด้วย การศึกษาในบทบาทของกลไกการพัฒนาบุคคล การถ่ายทอดวัฒนธรรมและเครื่องมือสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติ แนวคิดการพัฒนากับการศึกษาไทยในปัจจุบันเพื่อแก้ปัญหาโดยการเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคมและประโยชน์ โดยการปรับบทบาทภาครัฐมาเป็นผู้กำกับนโยบาย แผน มาตรฐานและส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และการกระจายอำนาจการบริหารไปยังสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษาให้มีอิสระ คล่องตัว ฐานะเป็นนิติบุคคล

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : เอกสารประกอบการสอนเล่มนี้มีสาระสำคัญหลายประเด็น คือ

ประเด็นที่ 1 กล่าวถึงมโนทัศน์เกี่ยวกับการพัฒนาซึ่งเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของมนุษย์ ประเทศไทยได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่กล่าวถึงลักษณะเด่นของแต่ละแผน และจุดเน้นของการพัฒนาดังนี้ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (2504-2509) เป็นเครื่องมือรวบรวมประเทศให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศกับการขยายตัวอย่างรวดเร็ว แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 (2510-2514) ให้ความสำคัญกับหลักพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาชนบทอย่างจริงจัง ฯลฯ เป็นต้น

       แผนพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์นั้นเป็นการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยขึ้นอยู่กับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจด้านการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาด้านการศึกษา คือ แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2475 , 2478 , 2503 , 2512 , 2520 , 2535 , 2545 – 2559, 2552 – 2559 พบปัญหาจากการพัฒนาว่าต้นเหตุที่จะขจัดปัญหาการพัฒนาที่ไม่พึ่งประสงค์คือ ต้องเสริมสร้างความเข็มแข็งด้วยการพัฒนามนุษย์เพราะการพัฒนามนุษย์ต่างจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

       การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบยั่งยืน เรียกว่า ยุทธศาสตร์ว่าด้วยการอนุรักษ์โลกโดยมีวัตถุ 3 ประการ คือ การธำรงรักษ์สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการพัฒนาแบบยั่งยืนที่คำนึงถึงระบบนิเวศเป็นสำคัญ โดยเน้นการพัฒนาที่ท้องถิ่นและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม รวมทั้งการพัฒนาที่มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีที่เหมาะสม การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง รูปแบบการพัฒนาที่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ความขาดแคลนหรือเกิดภาวะมลพิษซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Sustainable Development แนวคิดการอนุรักษ์ได้ผนวกเข้ากับการจัดทำแผนพัฒนาประเทศทำให้เกิดแนวทางพัฒนาแบบใหม่ คือ การพัฒนาแบบยั่งยืน กลายเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาทุกสาขา ดังที่ปัจจุบันแนวความคิดในการพัฒนาแบบยั่งยืนเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาทุกสาขา โดยที่แต่ละระบบสามารถพัฒนาไปสู่เป้าหมายของตนเองได้ทั้งนี้เป้าหมายของระบบทางชีววิทยา คือ การนำไปสู่ความหลากหลายของพันธุกรรม (Genetic –Enhancing ) และมีสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นตามแนวความคิดของ Brown และ Barbier กล่าวถึง ลักษณะพึงประสงค์ชัดเจน ประกอบด้วยด้านระบบชีววิทยา ด้านระบบเศรษฐกิจและระบบสังคมแนวคิดและแนวทางพัฒนาต่างๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย พัฒนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : การพัฒนาคุณภาพคนด้วยคุณธรรมนำความรู้ ฯลฯ เป็นต้น สำหรับแนวทางการจัดการศึกษาตามการพัฒนาแนวพุทธศาสนานั้นได้นำหลักธรรมพระพุทธศาสนามาใช้หรือประยุกต์ในการบริหารและพัฒนาผู้เรียน เน้นกรอบการพัฒนาตามหลักไตรสิกขาอย่างบูรณาการ เช่น รูปแบบโรงเรียนวิถีพุทธ เป็นระบบพัฒนาไตรสิกขาด้านปัญญา จิตใจและพฤติกรรม

ประเด็นที่ 2 กล่าวถึงบทบาทของการศึกษากับการพัฒนาว่าการศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นเรื่องชีวิตมนุษย์เพราะเป็นวิถีแห่งการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สามารถสรุปบทบาทของการศึกษาได้ดังนี้ 1) บทบาทของกลไกการพัฒนาบุคคล 2) กลไกถ่ายทอดวัฒนธรรม 3) เป็นเครื่องมือสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติ ปัจจุบันเป็นยุคสังคมแห่งการเรียนรู้จำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมและกำหนดเงื่อนไข ปัจจัยที่เหมาะสม วัตถุประสงค์ในการแบ่งระบบการศึกษา 6 ประการ คือ ให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาค ตลอดช่วงอายุอย่างต่อเนื่อง สามารถเทียบโอนในระหว่างรูปแบบเดียวกันและต่างรูปแบบ ฯลฯ เป็นต้น แนวทางในการจัดการศึกษาในแต่ละรูปแบบมีการศึกษาในระบบ ประกอบด้วย การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับอุดมศึกษา การศึกษานอกระบบไม่แบ่งระดับและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้เรียนรู้ด้วยตนเองเป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ประเด็นที่ 3 แนวคิดการพัฒนากับการศึกษาไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้คำนึงถึงการดำเนินงานตามนโยบายแห่งรัฐ สำหรับแนวทางในการพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้มีการขยายรูปแบบการเรียนการสอนมุ่งให้เด็กเรียนให้รู้ ฝึกคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและเป็นระบบเข้าใจและควบคุมตนเองได้ สร้างและพัฒนาเด็ก เยาวชนให้มีความพร้อมด้านสติปัญญา อารมณ์และศีลธรรม ภายใต้ระบบการศึกษาทั้งปฏิบัติและวิชาการ นอกจากนี้ยังเน้นการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง จนเกิดนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัย สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้กับห่วงโซ่เป็นการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : นอกจากทั้ง 3 ประเด็นข้างต้นนั้น ยังพบว่าหนังสือเล่มนี้มีจุดอื่นๆ ที่สอดคล้องกับสภาพเหตุการณ์ในปัจจุบัน คือ การพัฒนาที่ยั่งยืนกับการจัดการศึกษาในสังคมที่กล่าวถึงกระแสการพัฒนาและสภาพเศรษฐกิจย่อมมีผลทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมาและทวีความรุนแรงมากขึ้น กลายเป็นปัญหาของสังคมในทุกๆ สังคม อาทิเช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาการทารุณแรงงานเด็กและสตรี ปัญหาธุรกิจบริการทางเพศ ท่ามกลางการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว และปัญหาภาวะวัยเจริญพันธุ์และประชากรสูงวัย ดังนั้นการศึกษาจำเป็นต้องมีการพัฒนาที่ยั่งยืนทุกด้าน หลักของการพัฒนาที่ยั่งยืนในการจัดการศึกษาต้องสนับสนุนและส่งเสริมหลักของการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เข้มแข็งเป็นความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม ศักยภาพของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งผลกระทบที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่พบปัญหาอุปสรรคของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนประกอบด้วย อาทิเช่น การยกระดับความตระหนัก การนำเรื่องการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนบรรจุในหลักสูตร และการพัฒนานโยบาย ฯลฯ เป็นต้น

       กลยุทธ์การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการให้มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน กระตุ้นให้ประชาชนเข้าใจเรื่องสำคัญ 2 ประเด็น คือ ความซับซ้อนและพลังความร่วมมือระหว่างประเด็นที่คุกคามความยั่งยืน เป็นต้น

       การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทของไทยมุ่งปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย เพื่อให้เกิดกรเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ทักษะ ความเข้าใจ ทัศนคติ ระบบความเชื่อต่างๆ ตลอดจนพฤติกรรมของบุคคลเพราะเป็นกระบวนการต่อเนื่อง

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร