Category Archives: การผลิตบัณฑิตครู

การจัดการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การจัดการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือเรียนวิชาการศึกษา

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : พิมพ์ที่ บริษัท สหธรรมิก จำกัด กรุงเทพฯ โดยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางจุติมา รัตนพลแสนย์ และคณะ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : การจัดการเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร สืบเนื่องมาจากประสบการณ์และการฝึกหัด เป็นกระบวนการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความสัมพันธ์กัน แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน คือ สิ่งเร้า การสัมผัส การรับรู้ มโนทัศน์และการตอบสนอง องค์ประกอบที่สำคัญต่อการรับรู้มีทางกาย ทางจิตใจและด้านสังคม

     ทฤษฎีการเรียนรู้แบ่งเป็น ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบแสดงอาการการกระทำ ทฤษฎีการเชื่อมโยง กลุ่มทฤษฎีความคิดความเข้าใจหรือทฤษฎีสนาม และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม

     รูปแบบการจัดการเรียนการสอน 5 หมวด ได้แก่ เน้นพัฒนาด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย ด้านทักษะพิสัย ด้านกระบวนการและประสบการณ์

     การออกแบบการเรียนการสอนและการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ คือ การประยุกต์ใช้วิธีสอนโดยครู เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การออกแบบเป็นวิธีการสอนหลักก่อน และเสริมยุทธวิธีรองและต้องรู้จักเลือกเนื้อหา การออกแบบจะเริ่มต้นจากการกำหนดวัตถุประสงค์ ต่อไปออกแบบกิจกรรม และทำการวัดและประเมินผล ในการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ ต้องเตรียมการให้พร้อมก่อนดำเนินการเขียนแผนการสอน ซึ่งประกอบด้วย สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และบันทึกผลการจัดการเรียนรู้

     หลักสูตรบูรณาการมีการผสมผสานสาระตั้งแต่สองกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือสองวิชาขึ้นไป ขั้นตอนการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ ได้แก่ กำหนดหัวเรื่อง ทำเครือข่ายความคิด จัดเรียงลำดับเนื้อหาและทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่อง เพื่อนำไปวางแผนการจัดการเรียนรู้ การเลือกใช้สื่อการเรียนรู้มีบทบาทมากในการจัดการเรียนการสอน สื่อการสอนแบ่งได้ 4 ลักษณะ ได้แก่ สื่อการเรียนรู้ตามทรัพยากรการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้แบ่งตามกระบวนการพัฒนาความคิดตามทฤษฎีของบรูเนอร์ สื่อการเรียนรู้แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้ ที่ผู้เรียนได้รับและสื่อการเรียนรู้แบ่งตามโครงสร้างของสื่อ

     การบริหารจัดการชั้นเรียนเป็นปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้และส่งผลต่อประสิทธิภาพของผู้เรียน หลักการจัดชั้นเรียนต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นความความเหมาะสม สร้างเสริมความรู้ทุกด้านโดยการจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี เช่น สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม

จุดเด่น / ความน่าสนใจของเอกสารประกอบการสอนเล่มนี้ : กล่าวถึง ทฤษฎีการเรียนรู้มี 3 กลุ่มใหญ่ คือ

1. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory) เป็นการทดลองของ    พาพลอฟ (Ivan P.Pavlov) เป็นการกำหนดสิ่งเร้าก่อนวางเงื่อนไข ทดลองกับสุนัข ใช้เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าและสามารถสร้างกฎการเรียนรู้จากทฤษฎี ได้ดังนี้ คือ ต้องมีการเสริมสร้างแรงการลบพฤติกรรม ฟื้นกลับคืนสู่สภาพเดิมตามธรรมชาติ ฯลฯ เป็นต้น

2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบแสดงอาการกระทำ (Operant Conditioning Theory) ของสกินเนอร์ (Burshus F.Skinner) ทดลองกับหนูและนกพิราบ กล่าวถึง พฤติกรรมคือการกระทำของอินทรีย์แสดงออกมาจากสิ่งแวดส้อม

3. ทฤษฎีเชื่อมโยง (Connectionism Theory) ของเอ็ดเวิด ลี ธอร์นไดด์ (Edward Lee Thorndike) เน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง คือ การแก้ปัญหา

4. กลุ่มทฤษฎีความคิด ความเข้าใจหรือทฤษฎีสนาม (Cognitives Field Theory) ทดลองกับลิงซิม แพนซี การเรียนรู้แบบหยั่งรู้หรือหยั่งเห็น

5. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning or Observational Learing or Modeleling Theory) ของอัลเบิร์ต แมนดูรา (Albert Bendura) เชื่อว่าพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากการสังเกตและเลียนแบบบุคคลที่สนใจหรือผู้ใกล้ชิด

     รูปแบบและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนมี 5 หมวด คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นพัฒนาด้านพุทธิสัยมี 5 รูปแบบ เช่น การสอนมโนทัศน์ การสอนเน้นความจำ ฯลฯ เป็นต้น รูปแบบการเรียนการสอนเน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัยมี 3 รูปแบบ เช่น การสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยของบลูม และการสอนใช้บทบาทสมมติ ฯลฯ เป็นต้น รูปแบบการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัยมี 3 รูปแบบ ได้แก่ พัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและปฏิบัติตามองค์ประกอบของทักษะ เป็นต้น รูปแบบการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการมี 4 รูปแบบ คือ สอนแบบสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม และการสอนกระบวนการคิดอุปนัย ฯลฯ เป็นต้น และรูปแบบการสอนที่เน้นการบูรณาการมี 4 รูปแบบๆ ได้แก่ รูปแบบการสอนโดยตรง โดยการสร้างเรื่อง ฯลฯ เป็นต้น

     การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ต้องเริ่มจากการกำหนดวัตถุประสงค์ ออกแบบกิจกรรมและวัดและประเมินผลการออกแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพมากเรียกว่า Backward Design คือ การออกแบบย้อนกลับ 3 ขั้นตอน  คือ กำหนดเป้าหมายปลายทาง กำหนดการประเมินผล และออกแบบการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการสอนที่ช่วยให้ครูสามารถจัดกระบวนการการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของนักเรียน องค์ประกอบของการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้แก่ สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อแหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนการสอนสามารถใช้บูรณาการ คือ การจัดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาในทางศาสตร์จัดเนื้อหาผสมผสานกันเพื่อลดความซ้ำซ้อน เพราะการบูรณาการเป็นการผสมผสาน การเชื่อมโยงทำให้กลมกลืน สมดุลหรือสมบูรณ์ โดยใช้วิธีการบูรณาการแบบหลอมรวมหรือแบบสอดแทรก แบบคู่ขนาน แบบสหวิยาการ และแบบเชื่อมโยงข้ามวิชา เริ่มจากการกำหนดหัวเรื่อง (Theme) ทำเครือข่ายความคิด (Web) หรือยังความคิด (Concept Map) หรือยังกราฟฟิค (Graphic Organisers) จัดเรียงลำดับเนื้อหา ทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปวางแผนการจัดการเรียนรู้และวางแผนการจัดการเรียนรู้

     การเลือกและการใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีบทบาทสำคัญมากกับการจัดการเรียนรู้ นำมาใช้จัดกิจกรรม ซึ่งสื่อการเรียนรู้แบ่งเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ การเรียนรู้ตามทรัพยากรการเรียนรู้ สื่อตามกระบวนการพัฒนาความคิดตามทฤษฎีของบรูเนอร์และสื่อตามลักษณะโครงสร้างของสื่อ หลักการเลือกสื่อใช้สื่อต้องเหมาะสม เชื่อถือได้ น่าสนใจ การรวบรวมและความสมดุล คุณภาพด้านเทคนิคและราคา สำหรับการวางแผนการใช้สื่อต้องเริ่มจากการเตรียมตัวผู้สอน การเตรียมสภาพแวดล้อม การเตรียมความพร้อมผู้เรียน ต้องใช้ตามแผนการเรียน และการประเมินการใช้สื่อการเรียนรู้ และขั้นตอนการใช้สื่อ เริ่มจากการนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรม ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ ขั้นสรุปบทเรียนและขั้นประเมินผู้เรียน

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : หนังสือวิชาการเล่มนี้ สามารถนำเนื้อหาสาระไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ทุกเนื้อหา ทุกรายวิชา โดยเฉพาะเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ที่สำคัญมาก ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนด้วย โดยเฉพาะผู้สอนต้องจัดกระทำทุกอย่าง ในห้องเรียนให้เป็นระบบระเบียบที่ดี เพราะการจัดชั้นเรียน คือ การจัดสภาพห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์และกิจกรรม รวมทั้งวิธีการในการจัดการพฤติกรรมของเด็กด้วย เพื่อรักษาบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เด็กจะเกิดความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนรู้ได้

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ (Human Resource Management in the Public Sector)

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ (Human Resource Management in the Public Sector)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือ

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นายพยนต์ เอี่ยมสำอาง ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRM) เป็นการจัดการทรัพยากรคน เพราะมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง สามารถปฏิบัติงานจนก่อให้เกิดผลงานสร้างสรรค์ต่อสังคมได้มากมาย เริ่มตั้งแต่การสรรหา การคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การพัฒนา การประเมินผลการปฏิบัติงาน การจัดสวัสดิการและการให้พ้นจากการปฏิบัติงาน ผู้บริหารพนักงานจะต้องทำงานร่วมกันทั้งสองฝ่ายต่างมีความสำคัญและสัมพันธ์กัน ผู้บริหารจะต้องสนับสนุนการทำงานเต็มศักยภาพ

       ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีหลักการ รูปแบบและวิธีการบริหารที่แตกต่างกันไปในแต่ละสังคม ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการพัฒนาทางวิชาการ ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์อาจจำแนกออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ระบบคุณธรรมและระบบอุปถัมภ์

       สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี แนวคิดทฤษฎีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ แนวคิดการจัดการยุคคลาสสิค มี 3 แนวคิด คือ การจัดแบบวิทยาศาสตร์ แบบกระบวนการและแบบระบบราชการ ส่วนแนวคิดการจัดการยุคพฤติกรรมศาสตร์มีหลายประเภท เช่น แบบมนุษย์สัมพันธ์ แบบสังคมศาสตร์ และแบบพฤติกรรมศาสตร์ เป็นต้น กระบวนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์มีขั้นตอนสำคัญดังนี้ การกำหนดทิศทางขององค์การ การคาดการณ์อุปสงค์กำลังคน การคาดการณ์อุปทานกำลังคน และการกำหนดความต้องการทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น เทคนิคการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วย เทคนิคเดลฟาย เทคนิคการพยากรณ์แนวโน้ม เทคนิคการพยากรณ์จากหน่วยงานภายในองค์กรและการสร้างภาพจำลอง กำลังแรงงาน

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : ผู้บริหารและพนักงานจะต้องทำงานร่วมกันทั้งสองฝ่ายมีความสำคัญและสัมพันธ์กัน ผู้บริหารจะต้องสนับสนุนการทำงานเต็มศักยภาพ โดยมีเหตุผลสนับสนุน ดังนี้ คือ ช่วยให้พนักงานพัฒนาตนเองเต็มที่มีความสุขจากการทำงาน องค์การเจริญก้าวหน้า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารงาน สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์การต้องสรรหาคนที่มีคุณภาพที่เหมาะสมกับงานและพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ พนักงานสามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเป็นกระบวนการเชื่อมโยงหลายส่วนระหว่างเป้าหมายของบุคคลกับเป้าหมายขององค์การไปสู่ทิศทางเดียวกัน

       วัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสรรหาเลือกสรรบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ความประพฤติดี ใช้ประโยชน์ของบุคคลให้เกิดประโยชน์สูงสุดรักษาไว้เพื่อให้อยู่กับองค์การนานๆ และเพิ่มพัฒนาสมรรถภาพอย่างต่อเนื่อง สรุปบริหารเพื่อให้ได้คนเก่ง คนดีและมีความสามารถเข้ามาทำงาน การบริหารราชการแผ่นดินของไทยต้องมีบุคลากรคือ ข้าราชการเป็นผู้บริหารและผู้ปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 มาตรา 5 กล่าวว่า การแบ่งราชการออกเป็นส่วนๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ให้กำหนดตำแหน่งและเงินเดือน โดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงานของส่วนราชการนั้นๆ ไว้ด้วยการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ดังนั้นการบริหารงานบุคคลในระบบราชการไทยต้องมีกฎหมายรองรับประกอบด้วย ประเภทของราชการ มีข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ ได้แก่ ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ข้าราชการทหาร ข้าราชการส่วนท้องถิ่น สำหรับพนักงานราชการ คือ บุคคลได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างได้รับค่าตอบแทนจากงบประมาณของส่วนราชการ ได้แก่ พนักงานราชการทั่วไปกับพนักงานราชการแบบพิเศษและตำแหน่งของพนักงานราชการจำแนกตามลักษณะงานและผลผลิตของงาน คือ กลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิค กลุ่มงานบริหารทั่วไป กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะและกลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ

       ความแตกต่างระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของรัฐกับเอกชนในด้านต่างๆ อาทิเช่น ด้านกฎหมาย ด้านการใช้กำลังคน การเลือกสรรคน ความมั่นคงในตำแหน่งและความรับผิดชอบต่อประชาชน ข้าราชการประจำกับข้าราชการการเมือง หมายถึง บุคคลที่ปฏิบัติงานของรัฐ มีโอกาสก้าวหน้าจนกว่าจะออกจากงาน ซึ่งลักษณะสำคัญของข้าราชการประจำมี 5 ประการ คือ การมีหลักประกันความมั่นคง อยู่ภายใต้กฎแห่งความสามารถการมีโอกาสเท่าเทียมกัน มีความเป็นกลางในทางการเมืองและมีองค์กรกลางจัดระเบียบและควบคุม

       ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จำแนกเป็น 2 รูปแบบ คือ ระบบคุณธรรม (Merit System) จำแนกได้ 4 ประการ ได้แก่ หลักความเสมอภาค (Equality of Opportunity) หลักความสามารถ (Competence) หลักความมั่นคง (Security on Ienure) และหลักความเป็นกลางทางการเมือง (Polical Neutrality) และระบบอุปถัมภ์ (Patronage System)

       การใช้ระบบคุณธรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทำให้องค์การได้คนที่มีความรู้ ความสามารถเข้ามาปฏิบัติงานและบุคลากรก็จะได้รับการปฏิบัติที่ดีจากผู้บริหารด้วยความเป็นธรรมตามหลักเกณฑ์ที่แน่นอน กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การกำหนดความต้องการทรัพยากรมนุษย์ การตอบสนองความต้องการของทรัพยากรมนุษย์และการธำรงรักษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพราะฉะนั้นกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการธำรงรักษาพัฒนาจนถึงการพ้นตำแหน่ง นโยบายการบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องเป็นไปตามกฎหมาย ได้แก่ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 – 2559)

       ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีการนำแนวคิดทฤษฎีขององค์การมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่แนวการจัดการแนวคลาสสิค หรือสมัยเดิม การจัดการแนวพฤติกรรมศาสตร์ การจัดการเชิงปริมาณและการจัดการสมัยใหม่ ฯลฯ เป็นต้น

       ความสำคัญของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญ ได้แก่ ความสำคัญต่อองค์การและความสำคัญต่อผู้บริหาร วัตถุประสงค์ของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ 5 ประการ คือ เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่ต้องการให้จำนวนที่ต้องการพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ให้สามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆ ขององค์การได้ และเพื่อใช้ประโยชน์จากบุคลากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ฯลฯ เป็นต้น ความจำเป็นที่ต้องการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ดังนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมืองระดับโลก การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมและค่านิยมและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ความสำเร็จในการจัดทำแผนทรัพยากรมนุษย์มีปัจจัยสำคัญกำหนดความสำเร็จไว้ดังนี้ คือ ความมุ่งมั่นและเอาใจใส่ของผู้บริหารระดับสูง งานข้อมูล การมีส่วนร่วมของหน่วยงานในองค์การและการรายงาน ติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ เทคนิคการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ อาทิเช่น เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) เทคนิคการพยากรณ์แนวโน้ม (Tread Technique) เทคนิคการพยากรณ์จากหน่วยงานภายในองค์การและเทคนิคการสร้างภาพจำลองกำลังแรงงาน (Model)

       การบรรจุและแต่งตั้ง ภายหลังการสรรหาและคัดเลือกบุคคลได้แล้ว เป็นการออกคำสั่งอย่างเป็นทางการว่าจะรับบุคคลใดเป็นพนักงาน ควบคู่ไปกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง จึงเป็นการมอบหมายภารกิจเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ตามคำบรรยายลักษณะงานให้พนักงานใหม่สอดคล้องตรงกับความรู้ ความสามารถของบุคคลนั้น ขณะเดียวกันผู้ได้รับการบรรจุแล้วควรปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบตามหน้าที่ของตนและควรมีพัฒนาตนเองตลอดเวลา หลักของการแต่งตั้งข้าราชการจะต้องคำนึงถึงหลักประกันความมั่นคง (Security of Lenure) หลักความเสมอภาค (Rule of Competence) หลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality) และหลักความเสมอภาคในโอกาส (Equality of Opportunity)

       การเลื่อนตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนไทยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับข้าราชการแต่ละประเภท โดยมีพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เป็นเสมือนพระราชบัญญัติกลางที่กฎหมายบริหารงานบุคคลฝ่ายพลเรือนยึดเป็นแนวและมาตรฐาน โดนยึด ก.พ. เป็นบรรทัดฐานการเลื่อนตำแหน่งมีหลายวิธี อาทิเช่น การสอบแข่งขัน การสอบคัดเลือก โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ความประพฤติ ประวัติการรับราชการและความเหมาะสมกับตำแหน่งเป็นเกณฑ์

จุดเด่น / ความน่าสนใจจากสาระสำคัญ : องค์การเมื่อสรรหาคัดเลือกและบรรจุแต่งตั้งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้าปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกับตำแหน่งที่เหมาะสม แต่ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลกระทบต่อกระบวนการดำเนินงานในทุกตำแหน่ง จึงต้องมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานด้วยวิธีการฝึกอบรม

       การฝึกอบรม หมายถึง การเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ ความชำนาญและเปลี่ยนแปลงเจตคติ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขข้อบกพร่องในการทำงาน โดยเฉพาะตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบสูง การฝึกอบรมถือว่าเป็นงานส่วนหนึ่งของฝ่ายบริหาร ซึ่งต้องดำเนินการอย่างไม่หยุดยั้ง การฝึกอบรมมีหลายประเภท อาทิเช่น การฝึกอบรมปฐมนิเทศ การฝึกอบรมการทำงาน การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ระดับผู้บังคับบัญชาและการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ระดับนักบริหาร เป็นต้น สำหรับวิธีการฝึกอบรมมี 3 วิธี ได้แก่ วิธีการบอกกล่าว (Telling Method) เช่น การบรรยาย (Lecture) การประชุมอภิปราย (Conference) การศึกษากรณีตัวอย่าง (Case Study) และการสัมมนา (Seminar) วิธีการกระทำ (Doing Method) เช่น การระดมสมอง (Brainstorming) การทดลองเรียนงาน (Understudies) การสอนแนะ (Coaching) และการประชุมกลุ่มซินดิเคท (Syndicate) และวิธีการแสดง (Showing Method) เช่น การสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) การสาธิต (Demonstration) และการศึกษาดูงานนอกสถานที่ (Field Trip)

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : หนังสือเล่มนี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในองค์การของรัฐ วิสาหกิจ ธุรกิจ แม้แต่ธุรกิจหรือกิจการต่างๆ ที่มีบุคลากรปฏิบัติงาน ที่เป็นระบบนายจ้าง ลูกจ้าง โดยเฉพาะการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่ง การพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง การพิจารณาปรับปรุงสมรรถภาพของผู้ปฏิบัติงานให้ดีขึ้น การพิจารณาความดีความชอบประจำปี จะสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง จะต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรแต่ละคนก่อนว่า มีความรู้ความสามารถหรือคุณลักษณะที่เหมาะสมกับตำแหน่งหรือไม่ พิจารณาจากผลงานที่ผ่านมาว่าได้มาตรฐานเหมาะสมกับตำแหน่งหรือไม่ ฉะนั้นการประเมินผลงานจึงมีความสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งเป็นองค์การของรัฐ บุคลากรมีทั้งข้าราชการ พนักงาน บุคลากรและเจ้าหน้าที่ หลักในการประเมินผลการปฏิบัติงานถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารทุกระดับ ต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการประเมินเป็นอันดับแรก ต้องเลือกใช้เครื่องมือที่ถูกต้องเหมาะสมต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหารด้วย ต้องแจ้งผลการประเมินให้พนักงานทุกคนทราบและต้องทำอย่างเป็นกระบวนการต่อเนื่อง

       กระบวนการในการประเมินผลการปฏิบัติงานมีขั้นตอนสำคัญ 5 ขั้นตอน คือ กำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน กำหนดแบบและลักษณะงานที่จะประเมิน กำหนดตัวผู้ประเมินและทำการอบรมผู้ทำการประเมิน กำหนดวิธีการประเมินและการวิเคราะห์และการนำผลที่ได้จากการประเมินไปใช้

       ในปัจจุบันพบว่า การประเมินผลการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย มีปัญหาสามารถสรุปได้ว่า เกิดจากตัวผู้ประเมินขาดการตัดสินใจ เช่น ความผิดพลาดอันเนื่องมาจากความคล้ายคลึงกับตน ความผิดพลาดจากการเปรียบเทียบ และผู้ประเมินมีความโน้มเอียงในการกำหนดแบ่งระดับการประเมิน เช่น การให้คะแนนต่ำ สูง ปานกลาง จึงไม่สามารถแยกคนดีและไม่ดียากและความผิดพลาดจากการให้คะแนน ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ความผิดพลาดยังเกิดจากเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินและพฤติกรรมการเมืองในการประเมินผลการปฏิบัติงาน

       แนวทางแก้ไขสามารถกระทำได้ เช่น ถ้าเกิดจากตัวผู้ประเมิน ควรจัดให้เกิดการอบรมผู้ประเมินก่อน เป็นต้น นอกจากนั้นแก้ไขที่ระบบและเกณฑ์การประเมินของหน่วยงานควรเป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้อง ต้องมีมาตรฐานเชื่อถือได้สำหรับ เครื่องมือการประเมิน ควรเลือกใช้เครื่องมือการประเมินของหน่วยงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ต้องผสมผสานกับข้อมูลข่าวสารที่ใช้ในการประเมิน ควรจัดให้มีคลังข้อมูล (Data Warehouse) เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศและพฤติกรรมทางการเมืองนั้น ช่วยทำให้เกิดความแม่นยำและยุติธรรมโดยฝึกอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมิน

       ความมุ่งหมายสำคัญอีกประการหนึ่งของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การให้บุคลากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดหรือให้ผู้ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กรโดยใช้ความรู้ความสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในความเป็นจริงปัจจุบันนี้พบบุคลากรจะมีความรู้ความสามารถเพียงใดก็ตามจะมีปัญหาเรื่องความประพฤติ ซึ่งการควบคุมความประพฤติของบุคลากร โดยส่วนใหญ่ได้แก่ กฎหมาย หากผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษและยังถูกควบคุมความประพฤติ โดยวินัยของข้าราชการอีกด้วยเพราะวินัยขององค์การราชการนั้น หมายถึง ระเบียบแบบแผนและข้อบังคับ ซึ่งใช้เป็นหลักในการปฏิบัติงานราชการ จึงสรุปว่า ข้าราชการต้องสนับสนุนการปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญด้วยบริสุทธิ์ใจ สุภาพเรียบร้อย เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา อุทิศเวลาให้แก่ราชการ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ประพฤติชั่ว รักษาและปฏิบัติตามธรรมเนียมของราชการและต้องรักษาความลับของทางราชการ

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

วิธีการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์

ชื่อผลงานทางวิชาการ : วิธีการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์

ประเภทผลงานทางวิชาการ : เอกสารประกอบการสอน วิชาวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นายสุรศักดิ์ โตประสี ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : การวิจัยเป็นเรื่องของการศึกษา การค้นคว้าหาคำตอบอย่างละเอียดรอบคอบต่อประเด็นคำถามที่กำหนดขึ้นไว้ก่อน โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องหรือไม่ ลักษณะสำคัญ คือ การมุ่งหาคำตอบตั้งจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์มีระเบียบแบบแผนและมีการวิเคราะห์ข้อมูล ฯลฯ เป็นต้น แนวคิดพื้นฐานในการวิจัย หมายถึง ความเชื่อหรือความเชื่ออันเป็นพื้นฐานของการวิจัยมี 2 แนวทาง คือ ปรัชญาปฏิฐานนิยมและปรัชญาในกลุ่มคัดค้านปฏิฐานนิยม

       ลักษณะของความรู้ที่จริงมี 3 ระดับ คือ ข้อเท็จจริง ความจริง ความเป็นจริง ซึ่งต้องมีจรรยาบรรณของการวิจัย เช่น ต้องซื่อสัตย์ มีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ ต้องมีพันธกรณีหรือข้อตกลงทำไว้ก่อนและต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาที่ทำการวิจัย การจำแนกประเภทของการวิจัย ได้แก่ จำแนกตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย จำแนกตามประโยชน์ของการใช้ จำแนกตามลักษณะวิชาและจำแนกตามวิธีการรวบรวมข้อมูล ฯลฯ เป็นต้น

       การจำแนกตามชนิดของข้อมูล ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณที่มุ่งศึกษาที่เป็นปริมาณ สามารถแจงนับได้อาศัยเทคนิคทางสถิติมาวิเคราะห์ เช่น ค่าเฉลี่ย ฯลฯ เป็นต้น ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เป็นคุณลักษณะไม่สามารถแจงนับได้ เป็นการวิเคราะห์เชิงข้อมูลเชิงคุณลักษณะ เช่น การตีความ เป็นต้น

       กระบวนการวิจัยมี 8 ขั้นตอน เช่น กำหนดหัวข้อวิจัย ทบทวนวรรณกรรมและกำหนดตัวแปร กำหนดวัตถุประสงค์และตั้งสมมติฐาน ออกแบบงานวิจัย ฯลฯ เป็นต้น

จุดเด่น / ความน่าสนใจของเอกสารประกอบการสอนเล่มนี้ : ได้เขียนรายละเอียดในการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ ในการกำหนดหัวข้อวิจัยหรือการกำหนดปัญหาในการวิจัย ต้องพิจารณาให้ชัดเจน เพราะปัญหา/ข้อสงสัยจะนำไปสู่การหาคำตอบ เทคนิคการกำหนดปัญหามี 2 ประการ คือ นักวิจัยมักขาดความรู้ทางด้านทฤษฎีหรือวิชาการของเรื่องเรียกว่าขาด Theoretical Reference และขาดความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงของเรื่องที่จะวิจัย เรียกว่าขาด Empirical Reference สำหรับการประเมินค่าของปัญหาการวิจัย ควรพิจารณาว่าปัญหาเร่งด่วน จำเป็นเพราะต้องการแก้ไขและหาคำตอบ มีความเป็นไปได้ว่าวิจัยแล้วสามารถบรรลุความสำเร็จในการหาคำตอบ และปัญหานั้นผู้วิจัยมีความถนัดสามารถวิจัยให้สำเร็จคุ้มค่าภายใต้ทรัพยากรที่มี ฯลฯ เป็นต้น สำหรับการกำหนดหัวข้อให้มีความเป็นกลาง กำหนดขอบเขตการวิจัยให้ชัดเจน เป็นต้น และควรเขียนวัตถุประสงค์เป็นประโยคบอกเล่าไม่ใช้คำถาม สำหรับการทบทวนวรรณกรรม คือ การค้นคว้าศึกษา รวบรวมประมวลและสังเคราะห์ผลงานทางวิชาการ เพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัย โดยเฉพาะแนวคิด ฯลฯ เป็นต้น ประกอบด้วย หนังสือ หนังสืออ้างอิง วารสาร จุลสาร วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ฯลฯ เป็นต้น

       การวิจัยตัวแปรจัดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเป็นประเด็นต้องศึกษาหาคำตอบ การศึกษารูปแบบตัวแปรของความสัมพันธ์พบว่าตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามมีทิศทางสัมพันธ์กันทั้งทางบวกและลบ เพราะตัวแปรคือ สิ่งต่างๆ หรือสัญญาลักษณ์ต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ที่ปรากฏในประเด็นที่ต้องศึกษา การวัดและคุณสมบัติที่ดีของการวัด คือ การแปรสภาพความคิดหรือตัวแปรซึ่งลักษณะเป็นนามธรรม การวัดเป็นสิ่งสำคัญของการวิจัยมีประโยชน์ อาทิ เช่น มีความสามารถในการเปรียบเทียบการควบคุม การนำเอาวิธีทางสถิติมาใช้ และความมีวัตถุวิสัยของการวิจัย ซึ่งการวัดต้องมีคุณสมบัติที่ดี คือ ความถูกต้องในเชิงเนื้อหาและโครงสร้าง เป็นต้น เพราะการวัดเป็นกระบวนการแปรสภาพความคิดหรือตัวแปรที่มีลักษณะเป็นนามธรรม

       กรอบแนวคิดและสมมุติฐานในการวิจัยเป็นภาพรวมของการวิจัยที่ระบุขอบเขตและความสัมพันธ์ของตัวแปร สามารถสร้างกรอบแนวคิดได้หลายระดับ ซึ่งมี 3 ประเภท ได้แก่ แบบพรรณนาความ แบบสมการและแบบแผนภาพ สำหรับสมมติฐานการวิจัย คือ ข้อเสนอ เงื่อนไขหรือหลักการที่สมมติฐานขึ้นเพื่อระบุความสัมพันธ์กันเชิงเหตุผล เพื่อทดสอบข้อเท็จจริง เกณฑ์การตั้งสมมติฐาน ประกอบด้วย นิรนัย (Declucibility) ทดสอบได้ (Testability) มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสามารถค้นพบ สรุปได้ เหมาะสมไม่กว้างหรือแคบเกินไป เป็นต้น

       ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง หมายถึง กลุ่มหรือหน่วยงานที่ศึกษาหรือหน่วยในการวิเคราะห์ ประชากรมี 2 ประเภท คือ ประชากรที่นับได้ กับประชากรที่มีจำนวนอนันต์ (มากจนไม่สามารถนับได้) สำหรับกลุ่มตัวอย่าง คือ ส่วนหนึ่งของประชากรที่เลือกมาศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ดีมีลักษณะใกล้เคียงประชากรมากที่สุด มีความเป็นตัวแทนของประชากรและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างให้เหมาะสม โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น คือ สุ่มแบบง่าย กับการสุ่มแบบเป็นระบบ การสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น มีวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ แบบเจาะจง แบบโควตาและแบบบอกต่อหรือบอลหิมะ

       การเก็บรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นขั้นตอนที่สำคัญ มีข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ การสำรวจข้อมูลภาคสนามด้วย การสัมภาษณ์ สนทนากลุ่มและสังเกตการณ์จริงในพื้นที่ กับการทดลองเพื่อควบคุมตัวแปร กับการใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลผ่านการวิเคราะห์ประมวลมาแล้ว เช่น รายงานการประชุม สถิติที่รวบรวมไว้ ประวัติบุคคล หนังสือพิมพ์ วารสารและผลงานทางวิชาการจัดเป็นบุคคลหรือหน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในแนวทางเชิงปริมาณ 2 ประเภท คือ การใช้แบบสอบถามกับการใช้แบบทดสอบ สำหรับสถิติในการวิจัย คือ การให้ค่าต่างๆของลักษณะที่รวบรวมหรือคำนวณจากกลุ่มตัวอย่างแสดงเป็นสัญลักษณ์ คือ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) ค่าความแปรปรวน (X2) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) และค่าสัดส่วน (P)

       การเขียนรายงานการวิจัยต้องถูกต้องและเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งข้อมูลต้องตรงกับวัตถุประสงค์การวิจัย ใช้ภาษาให้ถูกต้อง ฯลฯ เป็นต้น สำหรับรูปแบบการเขียนทำได้โดยการนำเสนอโดยบทความ เสนอรูปแบบตารางเสนอโดยกราฟหรือแผนภูมิ โครงสร้างการเขียนรายงานวิจัยประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อเรื่องและส่วนอ้างอิง

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : เอกสารประกอบการสอนเล่มนี้มีประโยชน์มากสำหรับนักวิจัยทางสังคมศาสตร์ นิสิต นักศึกษาเพราะมีการนำเสนอตัวอย่างไว้ตั้งแต่ตัวอย่างการพิมพ์หน้าบทคัดย่อและหน้าปกใน ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ตัวอย่างการพิมพ์สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ เริ่มจากขนาดของกระดาษ การจัดหน้า การลำดับเลขหน้า

นอกจากนี้ยังเสนอแนะนักวิจัยตั้งแต่เริ่มการเขียนโครงการวิจัยเกี่ยวกับสภาพจริง เรียกว่า “คำถามเชิงวิจัย” ส่วนประกอบเค้าโครงสารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ เริ่มจาก ชื่อเรื่อง ชื่อผู้ทำวิจัย บทที่ 1 (บทนำ) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ สมมุติฐาน(ถ้ามี) ขอบเขตการวิจัย ฯลฯ เป็นต้น บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (แนวคิดและทฤษฎี) บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัยและบรรณานุกรม

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องสีของวัตถุกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  สีของวัตถุ  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่    โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่ทำการวิจัย : 2555

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : เจษฎา  วรรณวิมลกุล  ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

       การวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่องสีของวัตถุ   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕      ผลการวิจัยพบว่าบทเรียนมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ  ๘๑ .๕๐ / ๘๐.๕๐ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐ / ๘๐    และพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนน ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑   รายละเอียดติดตามได้ทาง  web-online มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

รศ.ดร.อำนวย   เดชชัยศรี   บรรณากร

SMT: วิทย์ / คณิต / เทคโน

ปัญหาสังคม

ปัญหาสังคม

Problems and Society

นางลักษณา เกยุราพันธ์


แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ : ปัญหาสังคม (Problems and Society)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือประกอบการเรียนการสอน ปัญหาสังคม

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางลักษณา เกยุราพันธ์ คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : หนังสือประกอบการเรียนการสอนวิชาปัญหาสังคมนี้ เป็นเนื้อหาที่เน้นปัญหาสังคมที่เกิดจากแนวคิดหรือทัศนคติจากความบกพร่องของสถาบันสังคม ในด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจและสังคม การศึกษาและวัฒนธรรม ปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบต่อสังคมทำให้หน่วยงานจำเป็นต้องให้ความร่วมมือเร่งแก้ปัญหาเพื่อลดความรุนแรง ดังนั้นการนำหนังสือเล่มนี้มาใช้ประกอบการเรียนการสอนจะทำให้ทราบถึงปฏิกิริยาที่แตกต่างกันของบุคคลเมื่อเกิดปัญหาก็จะส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : ปัญหาสังคมเป็นสถานการณ์ที่สมาชิกของสังคมไม่พึงปรารถนาหรือเห็นว่าจะเป็นอันตรายต่อสมาชิก ถ้าปล่อยทิ้งไว้และคนส่วนใหญ่พิจารณาแล้วว่าเป็นสภาวะที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นและเมื่อปัญหาเกิดขึ้นจำเป็นต้องให้ความร่วมมือกันในหมู่สมาชิกของสังคมที่จะช่วยกันขจัดการแก้ไขป้องกันและมีการแสดงออกในรูปแบบของการกระทำที่แตกต่าง สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสังคม ได้แก่ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เกิดจากการเสียระเบียบทางสังคมและเกิดจากพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคม

ปัญหาสังคมมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ปัญหาสังคมอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีกับปัญหาเรื่องของพฤติกรรมการเบี่ยงเบนจากปกติและความไม่เป็นระเบียบในสังคม เมื่อเกิดปัญหาก็จะมีผลกระทบตามมา เช่น ผลเสียทางเศรษฐกิจ ผลเสียทางสังคมและผลที่เกิดแก่ผู้เกี่ยวข้องกับการสร้างปัญหาสังคม เช่น การเสื่อมเสียเกียรติยศ จากสาเหตุการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบันนั้น พบว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเป็นอุตสาหกรรมการผลิต การเป็นเจ้าของธุรกิจ การอพยพเคลื่อนย้าย เมืองและสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ค่านิยมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีวิทยาการสมัยใหม่

วิธีการแก้ไขปัญหาทางสังคมมี 5 ประการ กล่าวคือ

1. ใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับพยาธิทางสังคม จำเป็นต้องกำหนดโครงสร้างเพื่อพฤติกรรมหน้าที่ต่างๆ ในสังคม เช่น การผลิตสมาชิกใหม่แต่ละสถาบันต้องปรับตัวเข้าหากัน เช่น สถาบันครอบครัวต้องปฏิบัติตามโครงสร้าง 2. ทฤษฎีการเสียระเบียบหรือความไม่เป็นระเบียบทางสังคม เกิดจากการรวมตัวอย่างมีกฎเกณฑ์และแน่นอนตามที่สังคมคาดหวังให้สมาชิกปฏิบัติตามสังคมนั้นๆ 3. ทฤษฎีเกี่ยวกับความขัดแย้งในคุณค่า พฤติกรรมเบี่ยงเบนอาจเป็นเพียงสถานการณ์ที่ไม่สอดคล้องกับคุณค่าที่กลุ่มยึดถือ แก้ไขโดยการเห็นพ้องต้องกัน การต่อรองหรือการใช้อำนาจ หรือการทำตามที่ตนเห็นสมควร 4. ทฤษฎีพฤติกรรมเบี่ยงเบน ก่อให้เกิดการกระทำผิดมีผลกระทบต่อสังคมโดยตรง เช่น การลักขโมย

สังคมจึงควรให้โอกาสให้ผู้เรียน รู้ระเบียบวินัย ความประพฤติที่ดีงามเพื่อให้เป็นที่สังคมทั้งระบบสังคมยอมรับไม่เข้มงวดเกินไป เปิดโอกาสอันชอบธรรมและเป้าหมายต่างๆ อย่างทั่วถึงจนสามารถสำเร็จได้ และทฤษฎีตีตรา เชื่อว่าการกระทำใดจะเป็นการเบี่ยงเบนขึ้นอยู่กับสังคมที่บุคคลเป็นสมาชิก ดังนั้นควรมีวิธีการแก้ไขปัญหาและป้องกันได้ เช่น การอบรมสั่งสอนและถ่ายทอดวัฒนธรรม การลงโทษ การให้การศึกษา ใช้คำสอนทางศาสนา หน่วยงานแนะแนวและให้คำปรึกษา

หน่วยงานที่ตั้งขึ้นเพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม การประกันสังคม การประชาสงเคราะห์ ครอบครัว และการใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการแก้ปัญหามี 2 วิธีใหญ่ คือ การแก้ปัญหาแบบย่อย และการแก้ไขแบบเท่าทัน สำหรับการแก้ปัญหาสังคมตามแนวคิดทฤษฎี ประกอบด้วยแนวคิดทฤษฎีแนว  Consensus , แนวคิดทฤษฎีแนว Structural – Function , แนวคิดทฤษฎี Conflict , แนวคิดจากทฤษฎี Symbolic Interactionism และแนวคิดทฤษฎี Neoconservative

จุดเด่น / การนำไปใช้ประโยชน์ : พบว่าหนังสือปัญหาสังคมเล่มนี้มีจุดเด่นหลายประการ อาทิเช่น พฤติกรรมและความต้องการของวัยรุ่นขึ้นอยู่กับค่านิยม ซึ่งแต่ละคนยึดถือเป็นแนวปฏิบัติและยึดถือตามกระแสนิยมตอบสนองความต้องการของตัวเอง กลุ่มมีอิทธิพลเพราะต้องการยอมรับในสังคม ต้องการมั่นคงในชีวิต ต้องการเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ

ประโยชน์ / คุณค่าของหนังสือ : มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ผลิตบัณฑิตที่เป็นวัยรุ่นตอนกลางและวัยผู้ใหญ่ จึงมีพฤติกรรมต้องการความรัก ต้องการความสนุกสนาน ต้องการความเป็นอิสระ ต้องการได้รับการยกย่อง มีความสนใจในเรื่องเพศและเพื่อนต่างเพศ ต้องการรวมกลุ่ม ต้องการยอมรับจากผู้ใหญ่ ต้องการแบบอย่างที่ดี ต้องการประสบการณ์ใหม่ๆ ความรู้สึกรุนแรง ต้องการมีอนาคตและต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง ดังนั้นคณาจารย์และผู้บริหารมหาวิทยาลัยทุกระดับ ต้องให้ความสำคัญวัยรุ่น เพราะมหาวิทยาลัยมีบทบาทพัฒนาทัศนคติและพฤติกรรม ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นโดยตรง สิ่งที่คณาจารย์ต้องรีบดำเนินการ ควรให้การยอมรับความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล เปิดโอกาสให้เข้ากลุ่มพบปะสังสรรค์ สอนเรื่องเพศตามความเป็นจริงให้เป็นเรื่องธรรมดา ให้คำแนะนำที่ถูกต้องให้เสรีภาพตามความเหมาะสม ให้รู้จักใช้สิทธิและหน้าที่สร้างความซื่อสัตย์ สร้างระเบียบวินัย การเป็นแบบอย่างที่ดี ปลูกฝังการช่วยเหลือตนเอง ส่งเสริมให้ใช้สติปัญญาและสอนให้รู้จักหลักการประหยัด

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : มหาวิทยาลัยควรจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเน้นด้านป้องกันแก้ไขปัญหาเด็กวัยรุ่นในการกระทำผิด จัดทำค่ายเรียนรู้จากครอบครัวสู่มหาวิทยาลัย เปิดโอกาสให้ครอบครัวมาเข้าร่วมกิจกรรมกับนิสิตนักศึกษาในค่ายนั้นๆ เพราะสถาบันครอบครัวมีการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา การให้กำลังใจ การใกล้ชิดวัยรุ่นอาจจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งเบื้องต้นของวัยรุ่นได้ระดับหนึ่ง

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร


จิตวิทยาการพัฒนาการ

จิตวิทยาการพัฒนาการ

นางสาวปัญจนาฏ วรวัฒนชัย


แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ : จิตวิทยาการพัฒนาการ

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือเพื่อการศึกษาค้นคว้าประกอบการเรียนรู้

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม : จัดพิมพ์โดย ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ISBN 978-616-426-019-4 พิมพ์ที่โรงพิมพ์พลัฏฐกรการพิมพ์ นนทบุรี 11130

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางสาวปัญจนาฏ วรวัฒนชัย

ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : จิตวิทยาพัฒนาการเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ในแต่ละช่วง เริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิจนถึงวันชรา ประกอบด้วยศาสตร์หลายแขนง อาทิเช่น จิตวิทยา มนุษยวิทยา ชีววิทยา และสังคมวิทยา วิธีการศึกษาจิตวิทยาพัฒนาการมี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นปัญหา ขั้นที่ 2 การทบทวนความรู้ ขั้นที่ 3 การสังเกต ขั้นที่ 4 การตั้งสมมุติฐานหรือการตั้งทฤษฎีขึ้นมา ขั้นที่ 5 ทดสอบสมมุติฐาน และขั้นที่ 6 การประยุกต์ใช้

การพัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพที่ติดต่อกันไป เป็นลำดับที่ทุกส่วนต่อเนื่องกันในระยะเวลาและจะก้าวหน้าไปเรื่อยๆ เป็นขั้นๆ เป็นระยะ ทำให้มีลักษณะและความสามารถใหม่ๆ เกิดขึ้น

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : การศึกษาทางด้านพัฒนาการมนุษย์สามารถทำได้ด้วยวิธีการศึกษาระยะยาว ศึกษาแบบภาคตัดขวาง ศึกษาเป็นรายกรณี การทดลอง การสำรวจ การสังเกต สังคมมิติ การสัมภาษณ์ การศึกษาสหสัมพันธ์ ศึกษาข้ามวัฒนธรรม จดบันทึกประจำวัน และการใช้แบบทดสอบ เพราะการพัฒนาการของมนุษย์นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดความสามารถใหม่จากต่ำไปสูง เป็นกระบวนการเริ่มตั้งแต่ก่อนเกิด ระเบียบแบบแผนของการพัฒนาการจะมีลักษณะ ได้แก่ พัฒนาการจะเป็นไปตามแบบแผนเฉพาะ เริ่มจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง เริ่มจากแกนกลางของลำตัวไปสู่อวัยวะส่วนล่างเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละวัยจะมีลักษณะเฉพาะวัย ทุกคนจะมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการ 2 อย่าง คือ วุฒิภาวะกับการเรียนรู้ แต่จะมีสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการ อาทิเช่น สติปัญญา เพศ ต่อมต่างๆ ในร่างกาย อาหาร อากาศบริสุทธิ์และแสงแดด การบาดเจ็บหรือได้รับโรคภัยไข้เจ็บ เชื้อชาติ วัฒนธรรม ลำดับการเกิดและการอบรมเลี้ยงดู ทฤษฎีพัฒนาการที่นำมาประกอบการศึกษาพัฒนาการ ได้แก่ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์ ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของฟรอยด์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสังคมของอิริคสัน ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์กและทฤษฎีงานของตามขั้นพัฒนาการของฮาวิกเฮอร์ส

หลักสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการทารก คือ ความรู้สึกพ่อแม่ต้องมีชีวิตชีวาในการเป็นพ่อแม่ ประกอบด้วย สัญชาตญาณของการเป็นพ่อแม่ วัยเด็กแบ่งเป็นวัยเด็กตอนต้น ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการอิสระสามารถช่วยตัวเองได้ จึงสอนยากเป็นช่วงสำคัญมากที่ต้องเรียนรู้พื้นฐานทางสังคม เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมที่เหมาะสมเพื่อเตรียมเข้าสู่สังคม ชอบอยากรู้อยากเห็น ชอบสำรวจสิ่งรอบตัวมีความคิดสร้างสรรค์ ร่างกายพัฒนาการเจริญเติบโตค่อนข้างเชื่องช้า แต่พัฒนาการทางสติปัญญาเร็วมาก เพราะความอยากรู้อยากเห็น สำหรับพัฒนาการทางอารมณ์ซ้ำซ้อนมาก รุนแรงมาก อารมณ์โกรธจะเกิดบ่อยครั้ง พัฒนาการทางสังคมสามารถช่วยเหลือตนเองได้ แต่มีทัศนคติต่อต้าน เลียนแบบ ก้าวร้าว วัยเด็กตอนกลาง เริ่มเข้าโรงเรียนเรียนรู้กฎเกณฑ์ระเบียบของสังคม ฝึกฝนอบรมให้ประพฤติปฏิบัติตามลักษณะที่พึงประสงค์ของหมู่คณะ ก้าวหน้าในการเรียนรู้ สนใจการทำงานเป็นหมู่คณะแสดงออกความเป็นตัวของตัวเอง มีความสามารถอ่าน เขียน เพิ่มขึ้น แต่ร่างกายเจริญเติบโตช้า วัยเด็กตอนปลายเริ่มมีวุฒิภาวะทางกายหรือเรียกว่า วัยเข้าสู่วัยรุ่น ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ ทัศนคติและพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งมีผลมาจากการที่เด็กได้ปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมกว้างขวางขึ้น สำหรับวัยรุ่นย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ใช้ภาวะร่างกายกับภาวะสุกถึงขีดของร่างกายเป็นเครื่องตัดสิน เป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างความเป็นเด็กความเป็นผู้ใหญ่ จึงเกิดการสับสนในบทบาทและความขัดแย้งกับผู้ใหญ่และเพื่อนร่วมวัย จึงเกิดการตึงเครียดนำไปสู่ปัญหา การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ถ้าแก้ไขไม่ได้จะกลายเป็นเด็กวัยรุ่นที่มีเอกลักษณ์สับสน มีบุคลิกภาพไม่มั่นคง ผู้ใหญ่จึงควรช่วยให้เด็กทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองอย่างชัดเจน จะเกิดความรู้สึกต้องการอุทิศตนให้แก่สังคมได้ ประกอบด้วย วัยรุ่นตอนต้น วัยรุ่นตอนปลาย และวัยผู้ใหญ่เป็นช่วงสุดท้ายของชีวิตที่มียาวนานตั้งแต่ 21 – 60 ปี มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง แต่ลักษณะความเป็นผู้ใหญ่แตกต่างกัน เพราะแต่ละคนมีพัฒนาการทางบุคลิกภพแตกต่างกันจึงยากต่อการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังต้องเผชิญกับฐานะการเปลี่ยนแปลง การเลือกอาชีพ การเลือกคู่ครอง ปัญหาชีวิตครอบครัว การใช้ชีวิตหลังเกษียณ ซึ่งแบ่งเป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้น 20 – 40 ปี มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย เริ่มสูญเสียความสามารถทางการสืบพันธุ์ วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน 40 – 60 ปี ร่างกายและจิตใจเริ่มเปลี่ยนแปลงทางเสื่อมและวัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยชรา 60 ปีหรือ 65 ปี จนถึงสิ้นสุดชีวิต เป็นวัยที่ร่างกาย จิตใจเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว

จุดเด่น / การนำไปใช้ประโยชน์ : จากเนื้อหาของหนังสือจิตวิทยาพัฒนาการนี้ พบว่ามีจุดเด่นหลายแห่ง อาทิเช่น วัยรุ่นตอนต้น จะพยายามทำตัวให้เหมือนผู้ใหญ่ เพราะสภาพแวดล้อมมีผลต่อทัศนคติและความรู้สึกที่รุนแรงมาก จึงแสดงพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจจากบุคคลอื่นๆ ซึ่งเป็นลักษณะพัฒนาการของวัยรุ่นตอนต้นที่เน้นทางสรีระทั้งส่วนสูงและน้ำหนักและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นจะพบว่าด้านพัฒนาการทางอารมณ์ สติปัญญาและสังคม ยังเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้ก้าวสู่วัยผู้ใหญ่ได้อย่างเต็มที่ สำหรับวัยรุ่นตอนปลายนั้นอยู่ระหว่าง 17 -20 ปี เริ่มมีทัศนคติ แบบแผนของชีวิตแน่นอนสามารถปรับตัวเข้ากับปัญหาต่างๆ ได้ ตั้งแต่ การทำงาน การเงิน การเรียน ความสัมพันธ์ทางเพศ แต่ผู้ใหญ่กลับสนใจน้อยลง ดังนั้นลักษณะวัยรุ่นตอนปลาย จึงเป็นเรื่องของพัฒนาการสืบเนื่องมาตั้งแต่วัยรุ่นตอนต้น ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจและทางสังคม เพราะเริ่มมีวุฒิภาวะสมบูรณ์

การนำไปใช้ประโยชน์ : จากเนื้อหาของหนังสือจิตวิทยาพัฒนาการนี้ มหาวิทยาลัยฐานะสถาบันผลิตคนออกสู่สังคมในหลายรูปแบบ ทั้งภาคธุรกิจ ธุรกิจบริการ อาชีพครู อิสระแม้กระทั้งจิตบริการหรือแพทย์ ผู้สอนจำเป็นต้องเรียนรู้จิตวิทยาเกี่ยวกับพัฒนาการผู้เรียนจะได้ปรับประยุกต์กระบวนการสอนให้เหมาะสม ตั้งแต่การมอบหมายงานทั้งกลุ่มและเดี่ยว ซึ่งจะช่วยด้านกระบวนการพัฒนาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจและสังคมด้วย ผู้สอนอย่าเข้มงวดจนเกินไปจนทำให้นิสิตนักศึกษาขาดความมั่นใจในตนเองได้ ยอมรับนับถือความคิดส่วนบุคคลของนิสิตนักศึกษาด้วย มหาวิทยาลัยควรสำรวจว่าผู้สอนบางคนที่ไม่มีวุฒิครูทางการสอนทุกศาสตร์ ควรเรียนหรืออบรมวิชาจิตวิทยาพัฒนาการด้วยจะดีมาก โดยการจัดเป็นคอร์สสั้นๆ  (Mini Course) ใช้เวลา 3 – 5 วัน เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ เพราะการเรียนการสอน Child Coontre ผู้เรียนเป็นสำคัญตามที่ สกอ. และคุรุสภากำหนดไว้ หรือตามที่แผนการศึกษาชาติฉบับปัจจุบันกล่าวไว้

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : นอกจากนี้ สำนักกิจการนิสิตนักศึกษา ควรให้ความสำคัญกับพัฒนาการของนิสิตนักศึกษาและพบว่า วัยของผู้สอนกับนิสิตนักศึกษาใกล้เคียงกันอาจจะทำให้การจัดการเรียนการสอนยาก ยิ่งจำเป็นต้องรีบจัดกิจกรรมพัฒนาผู้สอน ( อาจารย์ใหม่ๆ ) ให้มีความรู้จิตวิทยาการพัฒนาการอย่างมาก อาจเสนอในรูปโครงการเข้าค่ายปรับตัว ปรับสภาพ เรียนรู้ซึ่งกันและกัน

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

ความคิดเห็นของนิสิตสาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการ

ความคิดเห็นของนิสิตสาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการ

นายสุรศักดิ์ เครือหงษ์


แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ : ความคิดเห็นของนิสิตสาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการ

ประเภทผลงานทางวิชาการ : งานวิจัย ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นายสุรศักดิ์ เครือหงษ์ สาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อความมุ่งหมายศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษา วิชาพลศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการ มีกลุ่มตัวอย่าง 196 คน แจกแจงความถี่ โดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความแตกต่าง โดยการทดสอบค่า T-Test

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : ผลการทดสอบปรากฏว่า ความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน วิชาพลศึกษาและนันทนาการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

จุดเด่นของการวิจัย : ผลการวิจัยมีจุดเด่นหลายประการ อาทิเช่น

ประเด็นที่หนึ่ง : นิสิตที่แสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลจากความรู้สึก ความเข้าใจที่มีต่อสิ่งใดเกิดขึ้นจากการไตร่ตรองหรือความเข้าใจที่ตนเองมีอยู่ด้วยการพูดหรือการเขียน โดยมีพื้นฐานความรู้และประสบการณ์และเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความคิดเห็น และนิสิตนักศึกษาก็กำลังศึกษาอยู่ในสาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการด้วย

ประเด็นที่สอง : ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบความคิดเห็นของนิสิตไว้ 5 ด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านครูผู้สอน ด้านวัสดุอุปกรณ์ สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการวัดและประเมินผล

จากจุดเด่นทั้ง 2 ประเด็น แสดงว่าการแสดงความคิดเห็นมีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ องค์ประกอบด้านความรู้ และองค์ประกอบด้านความรู้สึก นอกจากนี้ความคิดเห็นอาจจะเกิดจากอิทธิพลจากกลุ่มต่างๆ เช่น สถานศึกษา ครูผู้สอน ฯลฯ เป็นต้น สำหรับหลักสูตรเป็นศาสตร์ เป็นทฤษฎี หลักการและการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ก็มีอิทธิพลต่อความรู้สึกความคิดเห็นเช่นกัน

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : มหาวิทยาลัยควรนำกระบวนการวิจัยสอบถามความคิดเห็นของนิสิตในทุกๆ สาขาวิชาของมหาวิทยาลัย จะได้นำผลมาปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรประยุกต์วิธีการจัดการเรียนการสอนการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยด้วย

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการศึกษาไทย

การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการศึกษาไทย

Curriculum Development & Education Management

นายจิตตวิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา และคณะ


แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการศึกษาไทย (Curriculum Development & Education Management)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือใช้ประกอบการเรียนวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการศึกษาไทย

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 255๘

ข้อมูลเพิ่มเติม : จัดพิมพ์โดยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พิมพ์ที่บริษัท 21 เซนจูรี่ จำกัด กรุงเทพฯ

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นายจิตตวิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา และคณะ ตำแหน่งอาจารย์คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญของการจัดการศึกษาทุกระดับ เพราะเป็นตัวกำหนดหรือกรอบของแนวปฏิบัติที่จะทำให้การจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมาย หลักสูตรในฐานะที่เป็นวิชาและเนื้อหาสาระที่จัดให้ผู้เรียน เป็นเอกสาร เป็นกิจกรรม เป็นมวลประสบการณ์และเป็นจุดมุ่งหมายปลายทางของการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ในตัวหลักสูตร 4 องค์ประกอบ มี 3 ประเภท คือ หลักสูตรเนื้อหาวิชา หลักสูตรแกนและหลักสูตรกิจกรรม หลักสูตรที่ดีต้องสอดคล้องกับความสนใจ ความต้องการของผู้เรียนและหลักสูตรพัฒนาการด้านพุทธพิสัย ทักษะพิสัยและจิตพิสัย

   ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อนักพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีจะบอกให้ทราบปรากฏการณ์ต่างๆ ของหลักสูตรที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และยังช่วยจัดระเบียบข้อมูลจำนวนมากที่ได้จากการวิจัย ทฤษฎีหลักสูตรมี 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design Theories) กับทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering Theories)

   ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างหลักสูตรการศึกษาไทยมี 3 ส่วน คือ การกำหนดจุดประสงค์ เป็นสิ่งคาดหวังในระดับโรงเรียนและสามารถวัดได้ แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัยและทักษะพิสัย เกณฑ์การเลือกเนื้อหาเน้นความเป็นประโยชน์ ความสนใจของผู้เรียน และการพัฒนาการของมนุษย์ ด้านการพัฒนาหลักสูตรโดยเฉพาะกระบวนการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร ได้แก่ พื้นฐานด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและด้านสังคม การจัดการศึกษาไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน จัดเป็น 2 รูปแบบ คือ การจัดการแบบโบราณกับการจัดการศึกษาแบบใหม่หรือการจัดการศึกษาแบบปัจจุบัน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาตรา 15 ได้กำหนดการจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ ได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : หนังสือการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการศึกษาไทย มีสาระเนื้อหาที่สำคัญตั้งแต่ คำว่าหลักสูตรมาจากภาษาอังกฤษว่า Curriculum สรุปว่าหลักสูตร คือ สิ่งที่สร้างขึ้นในลักษณะของรายวิชาซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระที่จัดเรียงลำดับความยาก ง่าย หรือเป็นขั้นตอน และเป็นประสบการณ์ทางการเรียนที่วางแผนล่วงหน้า เพื่อมุ่งหวังให้เด็กได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ต้องการ

   หลักสูตรเป็นหัวใจสำคัญการจัดการศึกษา เพราะหลักสูตรเป็นเครื่องมือในการแปลงจุดมุ่งหมายและนโยบายทางการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ ดังนั้นหลักสูตรจึงจัดเป็นตัวกำหนดในการจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมาย ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ตามที่สังคมต้องการ

   คำศัพท์เกี่ยวกับหลักสูตร ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) คือ การจัดทำเนื้อหาใหม่กับปรับหลักสูตรเดิมใหม่ ฯลฯ เป็นต้น หลักสูตรมีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะเนื้อหา จำนวนชั่วโมงสอนแต่ละวิชา วิธีการจัดการเรียนการสอน หรือนำหลักสูตรไปใช้และวิธีการประเมินผล หลักสูตรสามารถจำแนกได้ 3 ประเภท คือ หลักสูตรเนื้อหารายวิชา (Subject Curriculum) หลักสูตรแกน (Core Curriculum) และหลักสูตรกิจกรรม (Activity Curriculum) การจัดประเภทของหลักสูตรขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของนักวิชาการแต่ละท่าน โดยการจำแนกตามบริบทและตามเป้าหมายของการจัดการศึกษาของแต่ละกลุ่ม

   หลักสูตรเนื้อหาวิชา เป็นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชา สาระและความรู้ของวิทยาการต่างๆ เป็นหลักในการจัดการเรียนรู้ หลักสูตรหมวดวิชาแบบกว้างมีการผสมผสานความรู้โดยรวมวิชาต่างๆ ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันมารวมกัน เช่น หลักสูตรการศึกษาไทย หลักสูตรสัมพันธ์จัดทำเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนความสัมพันธ์ของรายวิชาที่เกี่ยวข้องกัน เอาเนื้อหาของรายวิชาต่างๆ สอดคล้องกันเชื่อมโยงกัน หลักสูตรแบบแกน เป็นแกนร่วมกันจากเนื้อหา ความรู้และประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนเข้าด้วยกัน

   หลักสูตรเอกัตบุคคล จัดทำเพื่อสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน ส่งเสริมความรับผิดชอบของผู้เรียน สามารถทำกิจกรรมได้หลากหลายเพราะยึดหลักปรัชญาสวภาพนิยม ส่วนหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ หลักสูตรที่เน้นผู้เรียน เช่น วิชาภาษาไทย จัดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนทุกคนทุกกลุ่ม ครูสามารถสอนได้หลายรูปแบบ นอกจากนั้นยังมีหลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม เน้นกิจกรรมกระบวนการทางสังคมและการดำรงชีวิต ยึดปรัชญาพิพัฒนาการนิยมและปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูให้คำปรึกษา สอดคล้องกับหลักสูตรประสบการณ์หรือหลักสูตรแบบกิจกรรมและประสบการณ์ หลักสูตรกระบวนการและหลักสูตรเกณฑ์ความสามารถ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดประสบการณ์เรียนรู้สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียนในด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และเจตพิสัย เพื่อพัฒนาผู้เรียนและสังคม

   การสร้างหลักสูตรแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการออกแบบ (Design Theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering Theories) ทฤษฎีการสร้างหลักสูตรของนักการศึกษาต่างประเทศ ได้แก่ Roph W. Tylor เสนอว่าหลักสูตรมาจาก 3 แหล่งคือ ทางสังคม ทางผลเรียนและทางผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหา หลักสูตรรอง Hilda Taba เสนอรูปแบบหลักสูตร 4 ส่วน คือ จุดประสงค์เลือกประสบการณ์ จักหลักสูตรและเรียงลำดับเนื้อหาและหลักสูตรของ U. Galen Saylor , William Alexander and Arthur J. Lewis เสนอกระบวนการจัดทำหลักสูตรควรตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับเป้าหมายและจุดประสงค์ กับผู้เรียนและลักษณะทางสังคม

   ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรให้พิจารณาจาก

1) พื้นฐานด้านปรัชญา ประกอบด้วย ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม ปรัชญาสารัตถนิยม ปรัชญาพิพัฒนนิยม และปรัชญาปฏิรูปนิยม

2) พื้นฐานด้านจิตวิทยา เกี่ยวกับความแตกต่างของผู้เรียนทั้งด้านวุฒิภาวะทางร่างกาย สังคมและจิตใจ

3) พื้นฐานด้านความต้องการและความสนใจของผู้เรียน สืบเนื่องมาจากสภาพแวดล้อม สภาพการเรียนของนักเรียนและความมุ่งหมาย

4) พื้นฐานทางด้านสังคม คือ การอนุรักษ์ถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมไปสู่คนรุ่นหลังและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมให้เข้ากับด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

   หลักการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย กระบวนการพัฒนา 4 ขั้นตอน คือ เป้าหมาย / วัตถุประสงค์และความครอบคลุมการออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้และการประเมินผลหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้เป็นการนำไปปฏิบัติเป็นงานที่มีขอบเขตกว้างขวาง โดยยึดหลักสำคัญ ดังนี้

1. ต้องวางแผนเตรียมการ

2. ต้องมีองค์คณะบุคคลส่วนกลางหรือท้องถิ่น

3. การนำหลักสูตรไปใช้อย่างเป็นระบบตามขั้นตอน

4. ต้องมีปัจจัยสำคัญ คือ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เอกสาร

5. ครู คือ บุคลากรที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้ ฯลฯ เป็นต้น

จุดเด่น / ความน่าสนใจจากสาระสำคัญของหนังสือ : จากเนื้อหาและข้อมูลพบว่า หนังสือเล่มนี้มีจุดเด่น / ความน่าสนใจมาก อาทิเช่น การสร้างหลักสูตรที่เป็นพื้นฐานด้านสังคมดีมาก เพราะการศึกษาทำหน้าที่อนุรักษ์วัฒนธรรมของสังคมไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน เพราะขึ้นอยู่กับโครงสร้างของสังคม ค่านิยมคนในสังคม ธรรมชาติของคนในสังคม การชี้นำสังคมในอนาคต ลักษณะของสังคมตามความคาดหวังและศาสนาและวัฒนธรรม

   การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งของประเทศในการพัฒนาประชาชนให้เป็นพลเมืองดี มีคุณภาพ มีศักยภาพ และยังช่วยคาดการณ์ล่วงหน้า เพื่อจัดการศึกษาในอนาคต เช่น การศึกษาของไทยเริ่มตั้งแต่โบราณ ในรัชสมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้อน เป็นต้น โดยเฉพาะการศึกษาแผนใหม่ถึงปัจจุบันเริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นคนปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่จึงเป็นแผนการศึกษาฉบับแรกของไทย โดยเฉพาะในสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ ซึ่งปรากฏอยู่ในกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทำให้มองเห็นวิสัยทัศน์การศึกษาไทยที่เชื่อมโยงกับภารกิจ ค่านิยมและความเชื่อเข้าด้วยกัน สาระของวิสัยทัศน์ คือ คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพเป็นคนดี มีความสุข มีภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันในเวทีโลก

   พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามมาตรา 4, มาตรา 6, มาตรา 8, มาตรา 9, มาตรา 10, มาตรา 16, มาตรา 17, มาตรา 24, มาตรา 47 – 51 และมาตรา 53

การนำไปใช้ประโยชน์ : หนังสือเล่มนี้สามารถนำไปใช้สอนวิชาชีพครู โดยเฉพาะวิชาการศึกษาทั่วไปด้วย เพราะผู้ที่จะเป็นครูจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องหลักสูตร การจัดการศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่เป็นครูก็สามารถนำไปใช้กับการปฏิบัติงานประจำวันการสอน การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม แม้แต่ผู้ที่จะศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา สายวิชาชีพครู

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้กำหนดระบบการศึกษาไว้ 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาอัธยาศัย การศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษาปกติเรียน 6 ปี และระดับมัธยมศึกษา 2 ระดับ คือ มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย

   หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีแนวคิดและหลักการจัดดังนี้ คือ เกี่ยวกับการพัฒนาการเด็ก การเล่นของเด็ก เป็นต้น หลักการจัดต้องสร้างหลักสูตรให้เหมาะสม จัดสภาพแวดล้อมเอื้อเฟื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก สอนแบบบูรณาการการเรียนรู้ ประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กและความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับผู้เลี้ยงเด็ก

โครงสร้างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี )

โครงสร้างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 3 – 5 ปี
ช่วงอายุ 3 – 5 ปี ประสบการณ์สำคัญ สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้

– ด้านร่างกาย
– ด้านอารมณ์และจิตใจ
– ด้านสังคม
– ด้านสติปัญญา

  • เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
  • เรื่องราวเกี่ยวกับบุคลและสิ่งแวดล้อม
  •  ธรรมชาติรอบตัว สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก

ระยะเวลาเรียน

ขึ้นอยู่กับอายุเด็กที่ดูแลและความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน

กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน

นายสิงห์ สิงห์ขจร


แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ : กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน

ประเภทผลงานทางวิชาการ : เอกสารประกอบการสอน วิชากฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2556

ข้อมูลเพิ่มเติม : คณะวิทยาการจัดการ ผลงานทางวิชาการ

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นายสิงห์ สิงห์ขจร ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกของมนุษย์ ปรัชญา กฎหมาย กฎหมายเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ในประเทศไทย กฎหมายสื่อสารมวลชน และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน ความเป็นธรรมและความเป็นกลางในงานนิเทศศาสตร์และจิตวิญญาณของนักนิเทศศาสตร์

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : สิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 กำหนดสิทธิ ดังนี้ สิทธิในครอบครัวและความเป็นส่วนตัว สิทธิอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในการศึกษาฝึกอบรม สิทธิในการรับบริการทางด้านสาธารณสุขอย่างเสมอภาคและได้มาตรฐาน และสิทธิที่จะได้รับข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐ ฯลฯ เป็นต้น

สิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการนำเสนอข่าว หรือความคิดเห็นใดๆ ต่อสาธารณะ ซึ่งเป็นหัวใจของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย เพราะสื่อมวลชน หมายถึง สื่อที่จะสามารถนำสารจากผู้ส่งสารไปสู่ผู้รับสาร ที่ประกอบด้วยคนจำนวนมากอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเดียวหรือใกล้เคียงกัน ปัจจุบันนี้สื่อมวลชนเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นของสังคมมาก จึงต้องรับผิดชอบต่อสังคม บทบาทของสื่อมวลชนมี 5 ประการ ได้แก่ บทบาทในฐานะผู้แจ้งข่าวสาร สุนัขเฝ้าบ้าน การเป็นตัวกลาง การเป็นตัวเชื่อมและการเป็นผู้เฝ้าประตู

สิทธิของสื่อมวลชน ประกอบด้วย สิทธิที่จะแสวงหาข่าวสาร สิทธิในการพิมพ์ สิทธิในการวิพากษ์วิจารณ์ ดังนั้นสื่อมวลชนจึงมีหน้าที่ต่อสาขาวิชาชีพ หน้าที่ต่อตนเอง หน้าที่ต่อผู้อื่นและหน้าที่ต่อคุณธรรม สำหรับในประเทศไทยรัฐธรรมนูญได้บัญญัติสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนไว้ในมาตรา 45 , 46 , 47 และ 48 การศึกษากฎหมายเป็นการศึกษาสิ่งที่เป็นนามธรรม เป็นระดับความคิดบริสุทธิ์ชั้นสูง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับความยุติธรรมศึกษา ดังนั้น การศึกษากฎหมาย เหมือนการศึกษาปรัชญา ซึ่งมี 4 สาขา อาทิเช่น อภิปรัชญา คือ การศึกษาความเป็นจริงว่ากฎหมายคืออะไร ซึ่งแบ่งได้ 5 ประการ ได้แก่ กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับต้องมาจากรัฎฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุด บังคับใช้ทั่วไปจนกว่ามีการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงและมีสภาพบังคับด้วย

กฎหมายที่นิยมใช้อยู่มี 2 ประเภท คือ กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายทั่วๆ ไป ใช้ความคุมความประพฤติและกำหนดสิทธิหน้าที่ต่างๆ ของพลเรือนไว้กับกฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายบัญญัติถึงกระบวนการ / วิธีการบังคับให้ดำเนินการไปตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 หมวดที่ 3 กล่าวถึงสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย ตั้งแต่มาตรา 45 – 48 โดยในส่วนของสิ่งพิมพ์ มีบัญญัติไว้ในมาตรา 45 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น มาตรา 46 พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าว แสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจหรือเจ้าของกิจการ แต่ต้องไม่ขัดต่อจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพและมีสิทธิจัดตั้งองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิ เสรีภาพและความเป็นธรรม รวมทั้งมีกลไกควบคุมกันเองขององค์กรวิชาชีพ มาตรา 47 คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม ทรัพยากรสื่อสารและชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ และมาตรา 48 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคมมิได้ ไม่ว่าในนามของตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นแทน

กฎหมายสื่อสารมวลชน ประกอบด้วย กฎหมายเกี่ยวกับข้องกับวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และวิทยุโทรคมนาคม กฎหมายเกี่ยวข้องกับสารสนเทศและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์

จุดเด่น / ความน่าสนใจและประโยชน์ : เอกสารประกอบการสอนวิชากฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน เล่มนี้มีจุดเด่นหลายประเด็น อาทิเช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศที่กล่าวถึง หลักการสำคัญในพระราชบัญญัติว่าด้วย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยเฉพาะความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีสาระดังนี้ การเข้าถึงระบบที่มีมาตรการป้องกัน การเปิดเผยมาตรการป้องกันระบบ การเข้าถึงข้อมูลที่มีมาตรการป้องกันและการดักรับรู้ข้อมูลผู้อื่น ฯลฯ เป็นต้น จุดเด่นประเด็นที่ 2 กล่าวถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์มี 91 มาตรา แบ่งเป็น 7 หมวดใหญ่ ๆ เช่น หมวดที่ 1 เป็นเรื่องของคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดีทัศน์แห่งชาติ ชุดใหญ่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ฯลฯ เป็นต้น ประเด็นที่ 3 กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสื่อสารมวลชน เช่น มาตรา 56 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและการเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงาน ฯลฯ เป็นต้น ประเด็นที่ 4 ในหนังสือเล่มนี้ยังประกอบไปด้วย กรณีศึกษาหลายด้าน อาทิเช่น นายชาติไทยแต่งเพลงลูกทุ่งขึ้นหนึ่งเพลง ขณะเดินทางไปประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา ดังนั้นนายชาติไทยเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงนี้ แม้ยังไม่ได้เผยแพร่ เป็นต้น

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : เนื้อหาสาระของเอกสารประกอบการสอน วิชากฎหมายและจริยธรรมสื่อมวลชน ยังมีประโยชน์ต่อผู้สนใจที่จะนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องสื่อมวลชนมาใช้กับสถาบันอุดมศึกษาได้ดีมาก เพราะในมหาวิทยาลัยมีการผลิตบัณฑิตหลายอาชีพ เช่น แพทย์แผนไทย ศิลปะทั้งดนตรี นาฏศิลป์ แม้แต่สายวิชาการศึกษา จำเป็นต้องเรียนรู้เพราะเป็นวิชาชีพที่ต้องมีผลงาน วิชาการนำไปประยุกต์เป็นสินค้าได้ ดังนั้นเมื่อไม่เรียนรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องจะเกิดปัญหาภายหลังได้ และผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ ควรเรียนรู้หลักจริยธรรมสำหรับแต่ละอาชีพด้วย ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับจริยธรรมนั้นมีอยู่ในเอกสารเล่มนี้ด้วย

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

พัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่อง การสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง

ชื่อผลงานทางวิชาการ :พัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้นเรื่อง  การสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เเอกเซส  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง

ประเภทผลงานทางวิชาการ  : งานวิจัย

ปีที่ทำวิจัย : ๒๕๕๑

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : ปราณี  วิศวพิพัฒน์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง การสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส   มีการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนมัธยมศึกษาวัดดาวคนอง  ใช้กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓  จำนวน  ๓๕  คน  ปรากฏประสิทธิภาพของบทเรียนอยู่ในระดับ  ๘๑ .๓๓ / ๘๓.๘๙  สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  ๘๐ / ๘๐   สรุปได้ว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ

       งานวิจัยมีความละเอียดละออและดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัยอย่างชัดเจน  สามารถศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดได้ที่  Web-Online ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

รศ.ดร.อำนวย    เดชชัยศรี   บรรณากร    MST : คณิต / วิทย์ / เทคโนโลยี