บทที่ 5

สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

การวิจัย เรื่อง การพัฒนาระบบสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจำกัด ผ่านเว็บไซต์สามารถสรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะการวิจัยได้ดังต่อไปนี้

สรุปผลการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบ เพื่อหาประสิทธิภาพของระบบและเพื่อประเมินความพึงพอใจของสมาชิก พนักงานสหกรณ์ ต่อการใช้ระบบสหกรณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจำกัด ผ่านเว็บไซต์โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นพนักงานสหกรณ์ 8 คนและสมาชิกสหกรณ์ จำนวน 67 คน รวมเป็น 75 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินความพึงพอใจผู้ใช้ระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด ผ่านเว็บไซต์ โดยแบ่งแบบสอบถาม ในการประเมินผลเป็น 3 ส่วน คือ การประเมินผลส่วนของการรับข้อมูล (Input) การประเมินผลส่วนของหน่วยงานประมวลผล (Process) และการประเมินผลส่วนของหน่วยแสดงผล (Output) เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีความพึงพอใจน้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก และมากที่สุด การเก็บข้อมูลผู้วิจัยได้ดำเนินการประสานงานขอหนังสือจากสำนักงานบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ขอความร่วมมือจากผู้บริหารสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด เพื่อแจกแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 75 ชุด เพื่อเก็บและรวบรวมข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถามและเก็บแบบสอบถามคืนด้วยตนเอง ได้แบบสอบถามกลับคืนมา 75 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้ระบบวิเคราะห์ทางสถิติ

ผลการวิจัยพบว่า

1.  ผลการพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของระบบ ผลการประเมินจากการตอบแบบสอบถามของผู้เชี่ยวชาญ ประสิทธิภาพการใช้งานของระบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.56, S.D. = 0.70)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความปลอดภัยของระบบ (Security test) (= 4.78, S.D. = 0.39) รองลงมาคือ ด้านความถูกต้องในการทำงานของระบบ (Functional test) (= 4.75, S.D. = 0.29) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านปรากฏผลดังนี้

    1.1  ด้านความสามารถในการทำงานของระบบ (Functional requirement test) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือความสามารถในการจัดการด้านฐานข้อมูลและความสามารถในการสืบค้นข้อมูล ( = 4.67, S.D. = 0.58) รองลงมาคือความสามารถในการแสดงรายละเอียดของข้อมูล ( = 4.33, S.D. = 0.58) และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความสามารถในการจัดการหมวดหมู่ของข้อมูล ( = 4.00, S.D. = 0)

    1.2  ด้านความถูกต้องในการทำงานของระบบ (Functional test) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75, S.D. = 0.29) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ ความถูกต้องของการแสดงข้อมูลในการสืบค้น และ ความถูกต้องของการรายงานข้อมูลจากการประมวลผล ( = 5.00 , S.D. = 0) รองลงมาคือ ความถูกต้องในการทำงานของระบบในภาพรวม ( = 4.67, S.D. = 0.58)  และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลลงในระบบ ( = 4.33, S.D. = 0.58)

    1.3  ด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานของระบบ (Usability test) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.28, S.D. = 0.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า คะแนนเฉลี่ยสูงสุดมี 5 รายการคือ ความง่ายต่อการใช้งาน ประสิทธิภาพในการออกแบบหน้าจอการทำงาน ประสิทธิภาพของรูปตัวอักษรที่ใช้ การใช้ภาษาสื่อต่อการใช้งานตรงตามวัตถุประสงค์ และประสิทธิภาพของการทำงานของระบบโดยรวม(= 4.33, S.D. = 0.58) และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ประสิทธิภาพในการกำหนดสีของหน้าจอโดยรวม( = 4.00, S.D. = 0)

    1.4 ด้านความปลอดภัยของระบบ (Security test) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.78, S.D. = 0.39)
และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ ประสิทธิภาพในการตรวจสอบการป้อนข้อมูลเข้าในระบบ (= 5.00, S.D. = 0.39) รองลงมาคือ ประสิทธิภาพในการกำหนดสิทธิ์การใช้งานในระดับต่าง ๆ และประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยของระบบ(= 4.67, S.D. = 0.58)

2.  ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้เมื่อพิจารณาเป็นส่วน ๆ จะปรากฏผลดังนี้

    2.1 ผู้ใช้ระบบในส่วนของการรับข้อมูล

1) พนักงานสหกรณ์ ความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.22, S.D. = 0.66) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าบันทึกข้อมูลได้ตรงตามที่ต้องการ (= 4.38, S.D. = 0.52) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือปรับเปลี่ยนข้อมูลได้ตามต้องการ (= 4.25, S.D. = 0.46) การใช้คำที่สื่อให้เกิดความเข้าใจในส่วนของการป้อนข้อมูล (= 4.13, S.D. = 0.83) และระบบป้องกันความผิดพลาดในการป้อนข้อมูล (= 4.13, S.D. = 0.83)

2) สมาชิกสหกรณ์ ความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.30, S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าบันทึกข้อมูลได้ตรงตามที่ต้องการต้องการ (= 4.43, S.D. = 0.53) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือปรับเปลี่ยนข้อมูลได้ตามต้องการ (= 4.30, S.D. = 0.55)  ระบบป้องกันความผิดพลาดในการป้อนข้อมูล (= 4.25, S.D. = 0.61) การใช้คำที่สื่อให้เกิดความเข้าใจในส่วนของการป้อนข้อมูล (= 4.22, S.D. = 0.52)

2.2  ผู้ใช้ระบบในส่วนของหน่วยประมวลผล

1) พนักงานสหกรณ์ ความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.56, S.D. = 0.51) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าระบบสามารถค้นหาข้อมูลได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ (= 4.75, S.D. = 0.46) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ความรวดเร็วในการประมวลผลข้อมูล (= 4.63, S.D. = 0.52) ระบบคำนวณข้อมูลได้อย่างถูกต้อง (= 4.50, S.D. = 0.53) ส่วนระบบช่วยลดความซ้ำซ้อนของการทำงาน (= 4.38, S.D. = 0.52) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

2) สมาชิกสหกรณ์ความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.30, S.D. = 0.54) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าระบบคำนวณข้อมูลได้อย่างถูกต้อง (= 4.40, S.D. = 0.52)มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ระบบสามารถค้นหาข้อมูลได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ (= 4.34, S.D. = 0.59) ระบบช่วยลดความซ้ำซ้อนของการทำงาน (= 4.24, S.D. = 0.52) และความรวดเร็วในการประมวลผลข้อมูล (= 4.22, S.D. = 0.52)

    2.3  ผู้ใช้ระบบในส่วนของหน่วยแสดงผล

1) พนักงานสหกรณ์ ความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.25, S.D. = 0.57) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าผลลัพธ์สามารถนำไปใช้ในงานอื่นๆได้ (= 4.38, S.D. = 0.52) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ระบบช่วยประหยัดเวลาในการจัดทำรายงาน (= 4.38, S.D. = 0.52) มีความสะดวกสบายในการใช้งาน (= 4.25, S.D. = 0.71) และผลลัพธ์ที่ได้มีข้อมูลครบถ้วนถูกต้องและสมบูรณ์ (= 4.00, S.D. = 0.53)

2) สมาชิกสหกรณ์ความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.34, S.D. = 0.58) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าระบบช่วยประหยัดเวลาในการจัดทำรายงาน (= 4.39, S.D. = 0.65) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือมีความสะดวกสบายในการใช้งาน (= 4.33, S.D. = 0.47) ผลลัพธ์ที่ได้มีข้อมูลครบถ้วนถูกต้องและสมบูรณ์ (= 4.31, S.D. = 0.68) และผลลัพธ์สามารถนำไปใช้ในงานอื่นๆได้ (= 4.31, S.D. = 0.53)

 

อภิปรายผลการวิจัย

จากการศึกษางานวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจำกัด ผ่านเว็บไซต์ ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น

ผลการศึกษาการหาประสิทธิภาพของระบบสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจำกัด ผ่านเว็บไซต์ อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด และสอดคล้องกับสมมุติฐานการวิจัย ซึ่งได้พบผลการศึกษาที่สามารถนำมาอภิปรายในแต่ละประเด็นดังนี้

การหาประสิทธิภาพของระบบด้านความสามารถในการทำงานของระบบ โดยรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากในเรื่อง ความสามารถในการจัดการด้านฐานข้อมูลและความสามารถในการสืบค้นข้อมูล

การหาประสิทธิภาพของระบบด้านความถูกต้องในการทำงานของระบบ โดยรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุดในเรื่อง ความถูกต้องของการแสดงข้อมูลในการสืบค้น และ ความถูกต้องของการรายงานข้อมูลจากการประมวลผล

การหาประสิทธิภาพของระบบด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานของระบบ โดยรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากในเรื่อง ความง่ายต่อการใช้งาน ประสิทธิภาพในการออกแบบหน้าจอการทำงาน ประสิทธิภาพของรูปตัวอักษรที่ใช้การใช้ภาษาสื่อต่อการใช้งานตรงตามวัตถุประสงค์และประสิทธิภาพของการทำงานของระบบโดยรวม

การหาประสิทธิภาพของระบบด้านความปลอดภัยของระบบ โดยรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุดในเรื่อง ประสิทธิภาพในการตรวจสอบการป้อนข้อมูลเข้าในระบบ

ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบร้านค้าสหกรณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจำกัด ผ่านเว็บไซต์ อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด และสอดคล้องกับสมมุติฐานการวิจัย ซึ่งได้พบผลการศึกษาที่สามารถนำมาอภิปรายในแต่ละประเด็นดังนี้

การประเมินผลในส่วนของการรับข้อมูล

– ส่วนของพนักงานสหกรณ์โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากในเรื่อง บันทึกข้อมูลได้ตรงตามที่ต้องการปรับเปลี่ยนข้อมูลได้ตามต้องการการใช้คำที่สื่อให้เกิดความเข้าใจในส่วนของการป้อนข้อมูลระบบป้องกันความผิดพลาดในการป้อนข้อมูล

– ส่วนของสมาชิกสหกรณ์โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากในเรื่อง บันทึกข้อมูลได้ตรงตามที่ต้องการ ปรับเปลี่ยนข้อมูลได้ตามต้องการระบบป้องกันความผิดพลาดในการป้อนข้อมูลการใช้คำที่สื่อให้เกิดความเข้าใจในส่วนของการป้อนข้อมูล

การประเมินผลส่วนของการประมวลผล

– ส่วนของพนักงานสหกรณ์ผู้ใช้ระบบโดยรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดในเรื่องระบบสามารถค้นหาข้อมูลได้ผลลัพธ์ที่ต้องการความรวดเร็วในการประมวลผลข้อมูลระบบคำนวณข้อมูลได้อย่างถูกต้อง และระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากในเรื่องระบบช่วยลดความซ้ำซ้อนของการทำงาน

– ส่วนของสมาชิกสหกรณ์ผู้ใช้ระบบโดยรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากในเรื่องระบบคำนวณข้อมูลได้อย่างถูกต้องระบบสามารถค้นหาข้อมูลได้ผลลัพธ์ที่ต้องการระบบช่วยลดความซ้ำซ้อนของการทำงานความรวดเร็วในการประมวลผลข้อมูล

การประเมินผลส่วนของการแสดงผล

ส่วนของพนักงานสหกรณ์ผู้ใช้ระบบโดยรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ในเรื่อง ผลลัพธ์สามารถนำไปใช้ในงานอื่นๆได้ ระบบช่วยประหยัดเวลาในการจัดทำรายงาน มีความสะดวกสบายในการใช้งาน ผลลัพธ์ที่ได้มีข้อมูลครบถ้วนถูกต้องและสมบูรณ์

– ส่วนของสมาชิกสหกรณ์ผู้ใช้ระบบโดยรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ในเรื่อง ระบบช่วยประหยัดเวลาในการจัดทำรายงานมีความสะดวกสบายในการใช้งานผลลัพธ์ที่ได้มีข้อมูลครบถ้วนถูกต้องและสมบูรณ์ผลลัพธ์สามารถนำไปใช้ในงานอื่นๆได้

ซึ่งผลการศึกษาที่ได้นี้ มีความสอดคล้องกับผลงานวิจัยเรื่อง ระบบฐานข้อมูลสำหรับร้านค้าปลีก(ของสันติ พันไธสง, 2554, น.69) พบว่า สามารถทำงานตามความต้องการของพนักงาน เช่น การระบุข้อมูลสินค้า การซื้อสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน ออกรายงานการขายได้ และมีข้อมูลสมาชิกผู้ซื้อสินค้า สร้างความพอใจให้กับผู้ใช้งานได้ในระดับดี ความง่ายในการใช้งาน ความถูกต้องของผลลัพธ์ ความชัดเจนปริมาณข้อมูลที่นำเสนอในแต่ละหน้าจอ ยอมรับประสิทธิภาพการใช้งานอยู่ในระดับดี

 

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิบัติ

1.  ด้านพนักงาน สหกรณ์ สามารถนำข้อมูลที่ได้จากประสิทธิภาพของระบบ ใช้เป็นพื้นฐานในการทำการวิจัยของสหกรณ์ เพื่อประโยชน์ในการวางแผน และปรับปรุงระบบงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งๆ ขึ้นไป

2.  ด้านผู้บริหารของสหกรณ์ สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการพัฒนาระบบนี้ไปใช้ในการพัฒนาสหกรณ์ทั้งด้านสินค้า การบริการของพนักงาน นอกจากนี้ยังสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการขายให้กับสหกรณ์ต่อไป

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

1.  ควรมีการพัฒนาระบบสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด ผ่านเว็บไซต์ ให้สามารถรับชำระด้วยวิธีการโอนเงินและบัตรเครดิตได้

2.  ควรมีการพัฒนาระบบสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด ผ่านเว็บไซต์ ให้มีระบบเก็บสำรองข้อมูล (Backup) ไว้ได้ตลอดเวลา

3.  ควรมีการพัฒนาระบบสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด ผ่านเว็บไซต์ ที่สามารถรองรับภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มผู้เข้าชม