บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเรื่อง การพัฒนาระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด ผ่านเว็บไซต์ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นพนักงานร้านสหกรณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด จำนวน 8 คน และลูกค้าสมาชิก จำนวน 1,360 คน รวมประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ทั้งสิ้น 1,368 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ใช้ประชากรทั้งสิ้น 75 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง มาจากพนักงานสหกรณ์ 8 คน และจากสมาชิกสหกรณ์อีก 67 คนได้จากสมาชิกที่มาใช้บริการรับเงินปันผลของสหกรณ์ทุกๆปีทั้งหมดประมาณ 200 คน (พเยาว์ ทิมประเสริฐ, สัมภาษณ์, 2558) และใช้การกำหนดขนาดของตัวอย่างประชากรจากสูตรของ Taro Yamane โดยมีสูตรดังนี้ (มนต์ชัย เทียนทอง, 2548, น.72)
โดยที่
n = ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
N = จำนวนประชากร (ในที่นี้เท่ากับ 200 คน)
e = ค่าความคลาดเคลื่อน (ในที่นี้ให้ความคลาดเคลื่อน = 90% หรือ 0.1)
นำมาแทนค่าจากสูตรจะได้ดังนี้
รวมประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจะเท่ากับ 75 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ มีดังนี้
1. แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด
2. แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด
3. แบบประเมินความพึงพอใจ ระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด
แบบประเมินการวิจัยระบบสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด
เมื่อผู้วิจัยได้พัฒนาระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัดผ่านเว็บไซต์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อมาจึงได้จัดทำแบบประเมินการวิจัยนี้โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด
แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีขั้นตอนในการสร้างดังนี้
1. นำคู่มือและระบบที่พัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้วมาติดตั้งระบบทดสอบเพื่อหาข้อผิดพลาดของระบบ จากนั้นทำการปรับปรุงแก้ไขให้เรียบร้อย
2. นำคู่มือและระบบที่พัฒนาแล้ว ส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบ ปรับปรุงข้อผิดพลาดของระบบตามข้อเสนอแนะ
3. นำระบบมาทดสอบกับผู้เชี่ยวชาญจากการแต่งตั้ง โดยเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค จำนวน 3ท่าน เพื่อทำการหาประสิทธิภาพของระบบ และนำข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงข้อบกพร่อง จากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินเกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบในส่วนที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่าโดยถือเกณฑ์ ดังนี้
ตารางที่ 1 แสดงตารางระดับเกณฑ์การให้คะแนนของผู้เชี่ยวชาญ
ระดับคะแนน |
หมายถึง |
4 |
คำถามมีความสอดคล้องกับคำนิยามเชิงปฏิบัติการ |
3 |
คำถามต้องปรับปรุงเล็กน้อยจึงสอดคล้องกับคำนิยามเชิงปฏิบัติการ |
2 |
คำถามต้องปรับปรุงมากจึงสอดคล้องกับคำนิยามเชิงปฏิบัติการ |
1 |
คำถามไม่สอดคล้องกับคำนิยามเชิงปฏิบัติการ |
4. เมื่อปรับปรุงแบบสอบถามที่นำมาประเมินประสิทธิภาพตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยพิจารณานิยามของตัวแปร ขอบเขต และองค์ประกอบของเนื้อหาที่จะทำการวัด โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องแบบ CVI (Content Validity Index : CVI) ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหามีค่าระหว่าง 0.00–1.00โดยการแปลความหมายของค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (รศ. พัชนี เชยจรรยา , 2558 , น. 158)
นำแบบสอบถามที่ได้จากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญมาแจกแจงตามความคิดเห็นทั้ง 4 ระดับ และรวมคำถามข้อที่ผู้เชี่ยวชาญทุกคนให้ความเห็นระดับ 3 , 4
CVI = 1.00 หมายความว่า เนื้อหาของคำถามทุกข้อในแบบสอบถามสอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎีของตัวแปร
CVI = 0.00 หมายความว่า เนื้อหาของคำถามทุกข้อในแบบสอบถามไม่สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎีของตัวแปร
ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพ จะต้องไม่น้อยกว่า 0.80
2. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด
ในขั้นตอนนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่นำมาประเมินประสิทธิภาพและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด ผ่านเว็บไซต์ตามลำดับดังนี้
1. ศึกษาวิธีสร้างแบบสอบถามจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ โดยเขียนข้อคำถามให้ครอบคลุมเนื้อหาในแต่ละด้านหรือแต่ละตัวแปรที่จะทำการศึกษา เพื่อให้นำมาเป็นแนวทางในการออกแบบสอบถามการประเมินความเหมาะสม ที่จะนำไปใช้ในการตรวจสอบการพัฒนาระบบสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด ผ่านเว็บไซต์
2. สร้างแบบสอบถามที่นำไปใช้ประเมินความพึงพอใจของการพัฒนาระบบสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด ผ่านเว็บไซต์ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ คือ ประสิทธิภาพมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด
3. นำแบบสอบถามความพึงพอใจเสนอผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอความเห็นชอบและตรวจสอบความถูกต้องตามโครงสร้างเนื้อหา การใช้ภาษา และให้คำแนะนำในการแก้ไขปรับปรุงแบบสอบถามให้ถูกต้อง มีความชัดเจน และสมบูรณ์ขึ้น
4. นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วให้คณะกรรมการควบคุมสารนิพนธ์พิจารณาแล้วนำไปจัดพิมพ์เป็นแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปให้พนักงานและสมาชิกสหกรณ์ จำนวน 50 คน ตอบแบบสอบถามเพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้ของเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น แล้วนำมาวิเคราะห์ความเชื่อถือ (Reliability) ของแบบสอบถามเป็นรายด้านและโดยรวม
ลักษณะของแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้จัดเตรียมนั้น คือ พนักงานและสมาชิกสหกรณ์ ในแต่ละชุดแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินผลส่วนของการรับข้อมูล (Input) คำถามให้เลือกตอบโดยให้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด และคำถามแบบวัดระดับความเป็นจริงโดยใช้มาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ข้อ
ตอนที่ 2 สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินผลส่วนของหน่วยประมวลผล (Process) คำถามให้เลือกตอบโดยให้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด และคำถามแบบวัดระดับความเป็นจริงโดยใช้มาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ข้อ
ตอนที่ 3 สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินผลส่วนของหน่วยแสดงผล (Output) คำถามให้เลือกตอบโดยให้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด และคำถามแบบวัดระดับความเป็นจริงโดยใช้มาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ข้อ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอน ดังนี้
1. ผู้วิจัยได้ทำการขอหนังสือรับรองจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อนำไปขอความอนุเคราะห์เก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยจากผู้บริหารของร้านสหกรณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด
2. ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่นำมาประเมินความพึงพอใจ พร้อมหนังสือขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานสหกรณ์จำนวน 8 คนและสมาชิกสหกรณ์ ที่ใช้บริการรับเงินปันผลประจำ 67 คนรวมเป็นจำนวน 75 ฉบับและเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทุกคนด้วยตนเอง
3. ผู้วิจัยกำหนด วัน เวลา ขอรับแบบสอบถามคืน เป็นแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์จำนวน 75 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100
4. การจัดทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อได้รับแบบสอบถามคืนมาแล้ว ผู้วิจัยได้ดำเนินการต่อ ดังนี้
1. ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามที่ได้รับคืน
2. นำแบบสอบถามที่สมบูรณ์มาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ดังนี้
แบบสอบถามตอนที่ 1 ของพนักงานและสมาชิกสหกรณ์ ข้อ 1 ถึงข้อ 6 หาค่าเฉลี่ยข้อคำตอบเกี่ยวกับการรับข้อมูลโดยแยกออกเป็นส่วนของพนักงานและสมาชิกสหกรณ์
แบบสอบถามตอนที่ 2 ของพนักงานและสมาชิกสหกรณ์ข้อ 1 ถึงข้อ 5 หาค่าเฉลี่ยข้อคำตอบเกี่ยวกับหน่วยประมวลผลโดยแยกออกเป็นส่วนของพนักงานและสมาชิกสหกรณ์
แบบสอบถามตอนที่ 3 ของพนักงานและสมาชิกสหกรณ์ข้อ 1 ถึงข้อ 5 หาค่าเฉลี่ยข้อคำตอบเกี่ยวกับหน่วยแสดงผลโดยแยกออกเป็นส่วนของพนักงานและสมาชิกสหกรณ์
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคำตอบที่เกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด ผ่านเว็บไซต์ ในส่วนที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า โดยถือเกณฑ์ดังนี้
ตารางที่ 2 แสดงตารางระดับเกณฑ์การให้คะแนนและความหมาย
ระดับเกณฑ์การให้คะแนน | ความหมาย | |
เชิงคุณภาพ | เชิงปริมาณ | |
มากที่สุด | 5 | ความพึงพอใจมากที่สุด |
มาก | 4 | ความพึงพอใจมาก |
ปานกลาง | 3 | ความพึงพอใจปานกลาง |
น้อย | 2 | ความพึงพอใจน้อย |
น้อยที่สุด | 1 | ความพึงพอใจน้อยที่สุด |
ค่าเฉลี่ยที่ได้แล้วนำมาแปลงความหมายตามเกณฑ์ ดังนี้
ตารางที่ 3 แสดงตารางระดับความหมายตามเกณฑ์ค่าเฉลี่ย
ค่าเฉลี่ยระหว่าง |
ความหมาย |
4.50 – 5.00 |
มีความพึงพอใจ มากที่สุด |
3.50 – 4.49 |
มีความพึงพอใจ มาก |
2.50 – 3.49 |
มีความพึงพอใจ ปานกลาง |
1.50 – 2.49 |
มีความพึงพอใจ น้อย |
1.00 – 1.49 |
มีความพึงพอใจ น้อยที่สุด |
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติดังนี้
1. คำนวณค่า CVI ความตรงตามเนื้อหาจากสูตร (พัชนี เชยจรรยา, 2558, น.159)
2. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สูตรการคำนวณ ดังนี้
2.1 ค่าเฉลี่ย ใช้สูตร (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2543, น.137)
2.2 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้สูตร (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2543, น.137)