จิตวิทยาการพัฒนาการ

นางสาวปัญจนาฏ วรวัฒนชัย


แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ : จิตวิทยาการพัฒนาการ

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือเพื่อการศึกษาค้นคว้าประกอบการเรียนรู้

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม : จัดพิมพ์โดย ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ISBN 978-616-426-019-4 พิมพ์ที่โรงพิมพ์พลัฏฐกรการพิมพ์ นนทบุรี 11130

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางสาวปัญจนาฏ วรวัฒนชัย

ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : จิตวิทยาพัฒนาการเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ในแต่ละช่วง เริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิจนถึงวันชรา ประกอบด้วยศาสตร์หลายแขนง อาทิเช่น จิตวิทยา มนุษยวิทยา ชีววิทยา และสังคมวิทยา วิธีการศึกษาจิตวิทยาพัฒนาการมี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นปัญหา ขั้นที่ 2 การทบทวนความรู้ ขั้นที่ 3 การสังเกต ขั้นที่ 4 การตั้งสมมุติฐานหรือการตั้งทฤษฎีขึ้นมา ขั้นที่ 5 ทดสอบสมมุติฐาน และขั้นที่ 6 การประยุกต์ใช้

การพัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพที่ติดต่อกันไป เป็นลำดับที่ทุกส่วนต่อเนื่องกันในระยะเวลาและจะก้าวหน้าไปเรื่อยๆ เป็นขั้นๆ เป็นระยะ ทำให้มีลักษณะและความสามารถใหม่ๆ เกิดขึ้น

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : การศึกษาทางด้านพัฒนาการมนุษย์สามารถทำได้ด้วยวิธีการศึกษาระยะยาว ศึกษาแบบภาคตัดขวาง ศึกษาเป็นรายกรณี การทดลอง การสำรวจ การสังเกต สังคมมิติ การสัมภาษณ์ การศึกษาสหสัมพันธ์ ศึกษาข้ามวัฒนธรรม จดบันทึกประจำวัน และการใช้แบบทดสอบ เพราะการพัฒนาการของมนุษย์นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดความสามารถใหม่จากต่ำไปสูง เป็นกระบวนการเริ่มตั้งแต่ก่อนเกิด ระเบียบแบบแผนของการพัฒนาการจะมีลักษณะ ได้แก่ พัฒนาการจะเป็นไปตามแบบแผนเฉพาะ เริ่มจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง เริ่มจากแกนกลางของลำตัวไปสู่อวัยวะส่วนล่างเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละวัยจะมีลักษณะเฉพาะวัย ทุกคนจะมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการ 2 อย่าง คือ วุฒิภาวะกับการเรียนรู้ แต่จะมีสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการ อาทิเช่น สติปัญญา เพศ ต่อมต่างๆ ในร่างกาย อาหาร อากาศบริสุทธิ์และแสงแดด การบาดเจ็บหรือได้รับโรคภัยไข้เจ็บ เชื้อชาติ วัฒนธรรม ลำดับการเกิดและการอบรมเลี้ยงดู ทฤษฎีพัฒนาการที่นำมาประกอบการศึกษาพัฒนาการ ได้แก่ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์ ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของฟรอยด์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสังคมของอิริคสัน ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์กและทฤษฎีงานของตามขั้นพัฒนาการของฮาวิกเฮอร์ส

หลักสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการทารก คือ ความรู้สึกพ่อแม่ต้องมีชีวิตชีวาในการเป็นพ่อแม่ ประกอบด้วย สัญชาตญาณของการเป็นพ่อแม่ วัยเด็กแบ่งเป็นวัยเด็กตอนต้น ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการอิสระสามารถช่วยตัวเองได้ จึงสอนยากเป็นช่วงสำคัญมากที่ต้องเรียนรู้พื้นฐานทางสังคม เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมที่เหมาะสมเพื่อเตรียมเข้าสู่สังคม ชอบอยากรู้อยากเห็น ชอบสำรวจสิ่งรอบตัวมีความคิดสร้างสรรค์ ร่างกายพัฒนาการเจริญเติบโตค่อนข้างเชื่องช้า แต่พัฒนาการทางสติปัญญาเร็วมาก เพราะความอยากรู้อยากเห็น สำหรับพัฒนาการทางอารมณ์ซ้ำซ้อนมาก รุนแรงมาก อารมณ์โกรธจะเกิดบ่อยครั้ง พัฒนาการทางสังคมสามารถช่วยเหลือตนเองได้ แต่มีทัศนคติต่อต้าน เลียนแบบ ก้าวร้าว วัยเด็กตอนกลาง เริ่มเข้าโรงเรียนเรียนรู้กฎเกณฑ์ระเบียบของสังคม ฝึกฝนอบรมให้ประพฤติปฏิบัติตามลักษณะที่พึงประสงค์ของหมู่คณะ ก้าวหน้าในการเรียนรู้ สนใจการทำงานเป็นหมู่คณะแสดงออกความเป็นตัวของตัวเอง มีความสามารถอ่าน เขียน เพิ่มขึ้น แต่ร่างกายเจริญเติบโตช้า วัยเด็กตอนปลายเริ่มมีวุฒิภาวะทางกายหรือเรียกว่า วัยเข้าสู่วัยรุ่น ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ ทัศนคติและพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งมีผลมาจากการที่เด็กได้ปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมกว้างขวางขึ้น สำหรับวัยรุ่นย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ใช้ภาวะร่างกายกับภาวะสุกถึงขีดของร่างกายเป็นเครื่องตัดสิน เป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างความเป็นเด็กความเป็นผู้ใหญ่ จึงเกิดการสับสนในบทบาทและความขัดแย้งกับผู้ใหญ่และเพื่อนร่วมวัย จึงเกิดการตึงเครียดนำไปสู่ปัญหา การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ถ้าแก้ไขไม่ได้จะกลายเป็นเด็กวัยรุ่นที่มีเอกลักษณ์สับสน มีบุคลิกภาพไม่มั่นคง ผู้ใหญ่จึงควรช่วยให้เด็กทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองอย่างชัดเจน จะเกิดความรู้สึกต้องการอุทิศตนให้แก่สังคมได้ ประกอบด้วย วัยรุ่นตอนต้น วัยรุ่นตอนปลาย และวัยผู้ใหญ่เป็นช่วงสุดท้ายของชีวิตที่มียาวนานตั้งแต่ 21 – 60 ปี มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง แต่ลักษณะความเป็นผู้ใหญ่แตกต่างกัน เพราะแต่ละคนมีพัฒนาการทางบุคลิกภพแตกต่างกันจึงยากต่อการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังต้องเผชิญกับฐานะการเปลี่ยนแปลง การเลือกอาชีพ การเลือกคู่ครอง ปัญหาชีวิตครอบครัว การใช้ชีวิตหลังเกษียณ ซึ่งแบ่งเป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้น 20 – 40 ปี มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย เริ่มสูญเสียความสามารถทางการสืบพันธุ์ วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน 40 – 60 ปี ร่างกายและจิตใจเริ่มเปลี่ยนแปลงทางเสื่อมและวัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยชรา 60 ปีหรือ 65 ปี จนถึงสิ้นสุดชีวิต เป็นวัยที่ร่างกาย จิตใจเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว

จุดเด่น / การนำไปใช้ประโยชน์ : จากเนื้อหาของหนังสือจิตวิทยาพัฒนาการนี้ พบว่ามีจุดเด่นหลายแห่ง อาทิเช่น วัยรุ่นตอนต้น จะพยายามทำตัวให้เหมือนผู้ใหญ่ เพราะสภาพแวดล้อมมีผลต่อทัศนคติและความรู้สึกที่รุนแรงมาก จึงแสดงพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจจากบุคคลอื่นๆ ซึ่งเป็นลักษณะพัฒนาการของวัยรุ่นตอนต้นที่เน้นทางสรีระทั้งส่วนสูงและน้ำหนักและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นจะพบว่าด้านพัฒนาการทางอารมณ์ สติปัญญาและสังคม ยังเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้ก้าวสู่วัยผู้ใหญ่ได้อย่างเต็มที่ สำหรับวัยรุ่นตอนปลายนั้นอยู่ระหว่าง 17 -20 ปี เริ่มมีทัศนคติ แบบแผนของชีวิตแน่นอนสามารถปรับตัวเข้ากับปัญหาต่างๆ ได้ ตั้งแต่ การทำงาน การเงิน การเรียน ความสัมพันธ์ทางเพศ แต่ผู้ใหญ่กลับสนใจน้อยลง ดังนั้นลักษณะวัยรุ่นตอนปลาย จึงเป็นเรื่องของพัฒนาการสืบเนื่องมาตั้งแต่วัยรุ่นตอนต้น ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจและทางสังคม เพราะเริ่มมีวุฒิภาวะสมบูรณ์

การนำไปใช้ประโยชน์ : จากเนื้อหาของหนังสือจิตวิทยาพัฒนาการนี้ มหาวิทยาลัยฐานะสถาบันผลิตคนออกสู่สังคมในหลายรูปแบบ ทั้งภาคธุรกิจ ธุรกิจบริการ อาชีพครู อิสระแม้กระทั้งจิตบริการหรือแพทย์ ผู้สอนจำเป็นต้องเรียนรู้จิตวิทยาเกี่ยวกับพัฒนาการผู้เรียนจะได้ปรับประยุกต์กระบวนการสอนให้เหมาะสม ตั้งแต่การมอบหมายงานทั้งกลุ่มและเดี่ยว ซึ่งจะช่วยด้านกระบวนการพัฒนาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจและสังคมด้วย ผู้สอนอย่าเข้มงวดจนเกินไปจนทำให้นิสิตนักศึกษาขาดความมั่นใจในตนเองได้ ยอมรับนับถือความคิดส่วนบุคคลของนิสิตนักศึกษาด้วย มหาวิทยาลัยควรสำรวจว่าผู้สอนบางคนที่ไม่มีวุฒิครูทางการสอนทุกศาสตร์ ควรเรียนหรืออบรมวิชาจิตวิทยาพัฒนาการด้วยจะดีมาก โดยการจัดเป็นคอร์สสั้นๆ  (Mini Course) ใช้เวลา 3 – 5 วัน เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ เพราะการเรียนการสอน Child Coontre ผู้เรียนเป็นสำคัญตามที่ สกอ. และคุรุสภากำหนดไว้ หรือตามที่แผนการศึกษาชาติฉบับปัจจุบันกล่าวไว้

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : นอกจากนี้ สำนักกิจการนิสิตนักศึกษา ควรให้ความสำคัญกับพัฒนาการของนิสิตนักศึกษาและพบว่า วัยของผู้สอนกับนิสิตนักศึกษาใกล้เคียงกันอาจจะทำให้การจัดการเรียนการสอนยาก ยิ่งจำเป็นต้องรีบจัดกิจกรรมพัฒนาผู้สอน ( อาจารย์ใหม่ๆ ) ให้มีความรู้จิตวิทยาการพัฒนาการอย่างมาก อาจเสนอในรูปโครงการเข้าค่ายปรับตัว ปรับสภาพ เรียนรู้ซึ่งกันและกัน

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร