ชื่อผลงานทางวิชาการ : วิธีการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์

ประเภทผลงานทางวิชาการ : เอกสารประกอบการสอน วิชาวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นายสุรศักดิ์ โตประสี ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : การวิจัยเป็นเรื่องของการศึกษา การค้นคว้าหาคำตอบอย่างละเอียดรอบคอบต่อประเด็นคำถามที่กำหนดขึ้นไว้ก่อน โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องหรือไม่ ลักษณะสำคัญ คือ การมุ่งหาคำตอบตั้งจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์มีระเบียบแบบแผนและมีการวิเคราะห์ข้อมูล ฯลฯ เป็นต้น แนวคิดพื้นฐานในการวิจัย หมายถึง ความเชื่อหรือความเชื่ออันเป็นพื้นฐานของการวิจัยมี 2 แนวทาง คือ ปรัชญาปฏิฐานนิยมและปรัชญาในกลุ่มคัดค้านปฏิฐานนิยม

       ลักษณะของความรู้ที่จริงมี 3 ระดับ คือ ข้อเท็จจริง ความจริง ความเป็นจริง ซึ่งต้องมีจรรยาบรรณของการวิจัย เช่น ต้องซื่อสัตย์ มีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ ต้องมีพันธกรณีหรือข้อตกลงทำไว้ก่อนและต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาที่ทำการวิจัย การจำแนกประเภทของการวิจัย ได้แก่ จำแนกตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย จำแนกตามประโยชน์ของการใช้ จำแนกตามลักษณะวิชาและจำแนกตามวิธีการรวบรวมข้อมูล ฯลฯ เป็นต้น

       การจำแนกตามชนิดของข้อมูล ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณที่มุ่งศึกษาที่เป็นปริมาณ สามารถแจงนับได้อาศัยเทคนิคทางสถิติมาวิเคราะห์ เช่น ค่าเฉลี่ย ฯลฯ เป็นต้น ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เป็นคุณลักษณะไม่สามารถแจงนับได้ เป็นการวิเคราะห์เชิงข้อมูลเชิงคุณลักษณะ เช่น การตีความ เป็นต้น

       กระบวนการวิจัยมี 8 ขั้นตอน เช่น กำหนดหัวข้อวิจัย ทบทวนวรรณกรรมและกำหนดตัวแปร กำหนดวัตถุประสงค์และตั้งสมมติฐาน ออกแบบงานวิจัย ฯลฯ เป็นต้น

จุดเด่น / ความน่าสนใจของเอกสารประกอบการสอนเล่มนี้ : ได้เขียนรายละเอียดในการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ ในการกำหนดหัวข้อวิจัยหรือการกำหนดปัญหาในการวิจัย ต้องพิจารณาให้ชัดเจน เพราะปัญหา/ข้อสงสัยจะนำไปสู่การหาคำตอบ เทคนิคการกำหนดปัญหามี 2 ประการ คือ นักวิจัยมักขาดความรู้ทางด้านทฤษฎีหรือวิชาการของเรื่องเรียกว่าขาด Theoretical Reference และขาดความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงของเรื่องที่จะวิจัย เรียกว่าขาด Empirical Reference สำหรับการประเมินค่าของปัญหาการวิจัย ควรพิจารณาว่าปัญหาเร่งด่วน จำเป็นเพราะต้องการแก้ไขและหาคำตอบ มีความเป็นไปได้ว่าวิจัยแล้วสามารถบรรลุความสำเร็จในการหาคำตอบ และปัญหานั้นผู้วิจัยมีความถนัดสามารถวิจัยให้สำเร็จคุ้มค่าภายใต้ทรัพยากรที่มี ฯลฯ เป็นต้น สำหรับการกำหนดหัวข้อให้มีความเป็นกลาง กำหนดขอบเขตการวิจัยให้ชัดเจน เป็นต้น และควรเขียนวัตถุประสงค์เป็นประโยคบอกเล่าไม่ใช้คำถาม สำหรับการทบทวนวรรณกรรม คือ การค้นคว้าศึกษา รวบรวมประมวลและสังเคราะห์ผลงานทางวิชาการ เพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัย โดยเฉพาะแนวคิด ฯลฯ เป็นต้น ประกอบด้วย หนังสือ หนังสืออ้างอิง วารสาร จุลสาร วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ฯลฯ เป็นต้น

       การวิจัยตัวแปรจัดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเป็นประเด็นต้องศึกษาหาคำตอบ การศึกษารูปแบบตัวแปรของความสัมพันธ์พบว่าตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามมีทิศทางสัมพันธ์กันทั้งทางบวกและลบ เพราะตัวแปรคือ สิ่งต่างๆ หรือสัญญาลักษณ์ต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ที่ปรากฏในประเด็นที่ต้องศึกษา การวัดและคุณสมบัติที่ดีของการวัด คือ การแปรสภาพความคิดหรือตัวแปรซึ่งลักษณะเป็นนามธรรม การวัดเป็นสิ่งสำคัญของการวิจัยมีประโยชน์ อาทิ เช่น มีความสามารถในการเปรียบเทียบการควบคุม การนำเอาวิธีทางสถิติมาใช้ และความมีวัตถุวิสัยของการวิจัย ซึ่งการวัดต้องมีคุณสมบัติที่ดี คือ ความถูกต้องในเชิงเนื้อหาและโครงสร้าง เป็นต้น เพราะการวัดเป็นกระบวนการแปรสภาพความคิดหรือตัวแปรที่มีลักษณะเป็นนามธรรม

       กรอบแนวคิดและสมมุติฐานในการวิจัยเป็นภาพรวมของการวิจัยที่ระบุขอบเขตและความสัมพันธ์ของตัวแปร สามารถสร้างกรอบแนวคิดได้หลายระดับ ซึ่งมี 3 ประเภท ได้แก่ แบบพรรณนาความ แบบสมการและแบบแผนภาพ สำหรับสมมติฐานการวิจัย คือ ข้อเสนอ เงื่อนไขหรือหลักการที่สมมติฐานขึ้นเพื่อระบุความสัมพันธ์กันเชิงเหตุผล เพื่อทดสอบข้อเท็จจริง เกณฑ์การตั้งสมมติฐาน ประกอบด้วย นิรนัย (Declucibility) ทดสอบได้ (Testability) มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสามารถค้นพบ สรุปได้ เหมาะสมไม่กว้างหรือแคบเกินไป เป็นต้น

       ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง หมายถึง กลุ่มหรือหน่วยงานที่ศึกษาหรือหน่วยในการวิเคราะห์ ประชากรมี 2 ประเภท คือ ประชากรที่นับได้ กับประชากรที่มีจำนวนอนันต์ (มากจนไม่สามารถนับได้) สำหรับกลุ่มตัวอย่าง คือ ส่วนหนึ่งของประชากรที่เลือกมาศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ดีมีลักษณะใกล้เคียงประชากรมากที่สุด มีความเป็นตัวแทนของประชากรและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างให้เหมาะสม โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น คือ สุ่มแบบง่าย กับการสุ่มแบบเป็นระบบ การสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น มีวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ แบบเจาะจง แบบโควตาและแบบบอกต่อหรือบอลหิมะ

       การเก็บรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นขั้นตอนที่สำคัญ มีข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ การสำรวจข้อมูลภาคสนามด้วย การสัมภาษณ์ สนทนากลุ่มและสังเกตการณ์จริงในพื้นที่ กับการทดลองเพื่อควบคุมตัวแปร กับการใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลผ่านการวิเคราะห์ประมวลมาแล้ว เช่น รายงานการประชุม สถิติที่รวบรวมไว้ ประวัติบุคคล หนังสือพิมพ์ วารสารและผลงานทางวิชาการจัดเป็นบุคคลหรือหน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในแนวทางเชิงปริมาณ 2 ประเภท คือ การใช้แบบสอบถามกับการใช้แบบทดสอบ สำหรับสถิติในการวิจัย คือ การให้ค่าต่างๆของลักษณะที่รวบรวมหรือคำนวณจากกลุ่มตัวอย่างแสดงเป็นสัญลักษณ์ คือ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) ค่าความแปรปรวน (X2) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) และค่าสัดส่วน (P)

       การเขียนรายงานการวิจัยต้องถูกต้องและเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งข้อมูลต้องตรงกับวัตถุประสงค์การวิจัย ใช้ภาษาให้ถูกต้อง ฯลฯ เป็นต้น สำหรับรูปแบบการเขียนทำได้โดยการนำเสนอโดยบทความ เสนอรูปแบบตารางเสนอโดยกราฟหรือแผนภูมิ โครงสร้างการเขียนรายงานวิจัยประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อเรื่องและส่วนอ้างอิง

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : เอกสารประกอบการสอนเล่มนี้มีประโยชน์มากสำหรับนักวิจัยทางสังคมศาสตร์ นิสิต นักศึกษาเพราะมีการนำเสนอตัวอย่างไว้ตั้งแต่ตัวอย่างการพิมพ์หน้าบทคัดย่อและหน้าปกใน ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ตัวอย่างการพิมพ์สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ เริ่มจากขนาดของกระดาษ การจัดหน้า การลำดับเลขหน้า

นอกจากนี้ยังเสนอแนะนักวิจัยตั้งแต่เริ่มการเขียนโครงการวิจัยเกี่ยวกับสภาพจริง เรียกว่า “คำถามเชิงวิจัย” ส่วนประกอบเค้าโครงสารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ เริ่มจาก ชื่อเรื่อง ชื่อผู้ทำวิจัย บทที่ 1 (บทนำ) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ สมมุติฐาน(ถ้ามี) ขอบเขตการวิจัย ฯลฯ เป็นต้น บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (แนวคิดและทฤษฎี) บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัยและบรรณานุกรม

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร