ชื่อผลงานทางวิชาการ : การจัดการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือเรียนวิชาการศึกษา

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : พิมพ์ที่ บริษัท สหธรรมิก จำกัด กรุงเทพฯ โดยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางจุติมา รัตนพลแสนย์ และคณะ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : การจัดการเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร สืบเนื่องมาจากประสบการณ์และการฝึกหัด เป็นกระบวนการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความสัมพันธ์กัน แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน คือ สิ่งเร้า การสัมผัส การรับรู้ มโนทัศน์และการตอบสนอง องค์ประกอบที่สำคัญต่อการรับรู้มีทางกาย ทางจิตใจและด้านสังคม

     ทฤษฎีการเรียนรู้แบ่งเป็น ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบแสดงอาการการกระทำ ทฤษฎีการเชื่อมโยง กลุ่มทฤษฎีความคิดความเข้าใจหรือทฤษฎีสนาม และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม

     รูปแบบการจัดการเรียนการสอน 5 หมวด ได้แก่ เน้นพัฒนาด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย ด้านทักษะพิสัย ด้านกระบวนการและประสบการณ์

     การออกแบบการเรียนการสอนและการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ คือ การประยุกต์ใช้วิธีสอนโดยครู เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การออกแบบเป็นวิธีการสอนหลักก่อน และเสริมยุทธวิธีรองและต้องรู้จักเลือกเนื้อหา การออกแบบจะเริ่มต้นจากการกำหนดวัตถุประสงค์ ต่อไปออกแบบกิจกรรม และทำการวัดและประเมินผล ในการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ ต้องเตรียมการให้พร้อมก่อนดำเนินการเขียนแผนการสอน ซึ่งประกอบด้วย สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และบันทึกผลการจัดการเรียนรู้

     หลักสูตรบูรณาการมีการผสมผสานสาระตั้งแต่สองกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือสองวิชาขึ้นไป ขั้นตอนการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ ได้แก่ กำหนดหัวเรื่อง ทำเครือข่ายความคิด จัดเรียงลำดับเนื้อหาและทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่อง เพื่อนำไปวางแผนการจัดการเรียนรู้ การเลือกใช้สื่อการเรียนรู้มีบทบาทมากในการจัดการเรียนการสอน สื่อการสอนแบ่งได้ 4 ลักษณะ ได้แก่ สื่อการเรียนรู้ตามทรัพยากรการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้แบ่งตามกระบวนการพัฒนาความคิดตามทฤษฎีของบรูเนอร์ สื่อการเรียนรู้แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้ ที่ผู้เรียนได้รับและสื่อการเรียนรู้แบ่งตามโครงสร้างของสื่อ

     การบริหารจัดการชั้นเรียนเป็นปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้และส่งผลต่อประสิทธิภาพของผู้เรียน หลักการจัดชั้นเรียนต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นความความเหมาะสม สร้างเสริมความรู้ทุกด้านโดยการจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี เช่น สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม

จุดเด่น / ความน่าสนใจของเอกสารประกอบการสอนเล่มนี้ : กล่าวถึง ทฤษฎีการเรียนรู้มี 3 กลุ่มใหญ่ คือ

1. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory) เป็นการทดลองของ    พาพลอฟ (Ivan P.Pavlov) เป็นการกำหนดสิ่งเร้าก่อนวางเงื่อนไข ทดลองกับสุนัข ใช้เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าและสามารถสร้างกฎการเรียนรู้จากทฤษฎี ได้ดังนี้ คือ ต้องมีการเสริมสร้างแรงการลบพฤติกรรม ฟื้นกลับคืนสู่สภาพเดิมตามธรรมชาติ ฯลฯ เป็นต้น

2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบแสดงอาการกระทำ (Operant Conditioning Theory) ของสกินเนอร์ (Burshus F.Skinner) ทดลองกับหนูและนกพิราบ กล่าวถึง พฤติกรรมคือการกระทำของอินทรีย์แสดงออกมาจากสิ่งแวดส้อม

3. ทฤษฎีเชื่อมโยง (Connectionism Theory) ของเอ็ดเวิด ลี ธอร์นไดด์ (Edward Lee Thorndike) เน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง คือ การแก้ปัญหา

4. กลุ่มทฤษฎีความคิด ความเข้าใจหรือทฤษฎีสนาม (Cognitives Field Theory) ทดลองกับลิงซิม แพนซี การเรียนรู้แบบหยั่งรู้หรือหยั่งเห็น

5. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning or Observational Learing or Modeleling Theory) ของอัลเบิร์ต แมนดูรา (Albert Bendura) เชื่อว่าพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากการสังเกตและเลียนแบบบุคคลที่สนใจหรือผู้ใกล้ชิด

     รูปแบบและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนมี 5 หมวด คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นพัฒนาด้านพุทธิสัยมี 5 รูปแบบ เช่น การสอนมโนทัศน์ การสอนเน้นความจำ ฯลฯ เป็นต้น รูปแบบการเรียนการสอนเน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัยมี 3 รูปแบบ เช่น การสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยของบลูม และการสอนใช้บทบาทสมมติ ฯลฯ เป็นต้น รูปแบบการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัยมี 3 รูปแบบ ได้แก่ พัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและปฏิบัติตามองค์ประกอบของทักษะ เป็นต้น รูปแบบการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการมี 4 รูปแบบ คือ สอนแบบสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม และการสอนกระบวนการคิดอุปนัย ฯลฯ เป็นต้น และรูปแบบการสอนที่เน้นการบูรณาการมี 4 รูปแบบๆ ได้แก่ รูปแบบการสอนโดยตรง โดยการสร้างเรื่อง ฯลฯ เป็นต้น

     การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ต้องเริ่มจากการกำหนดวัตถุประสงค์ ออกแบบกิจกรรมและวัดและประเมินผลการออกแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพมากเรียกว่า Backward Design คือ การออกแบบย้อนกลับ 3 ขั้นตอน  คือ กำหนดเป้าหมายปลายทาง กำหนดการประเมินผล และออกแบบการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการสอนที่ช่วยให้ครูสามารถจัดกระบวนการการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของนักเรียน องค์ประกอบของการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้แก่ สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อแหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนการสอนสามารถใช้บูรณาการ คือ การจัดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาในทางศาสตร์จัดเนื้อหาผสมผสานกันเพื่อลดความซ้ำซ้อน เพราะการบูรณาการเป็นการผสมผสาน การเชื่อมโยงทำให้กลมกลืน สมดุลหรือสมบูรณ์ โดยใช้วิธีการบูรณาการแบบหลอมรวมหรือแบบสอดแทรก แบบคู่ขนาน แบบสหวิยาการ และแบบเชื่อมโยงข้ามวิชา เริ่มจากการกำหนดหัวเรื่อง (Theme) ทำเครือข่ายความคิด (Web) หรือยังความคิด (Concept Map) หรือยังกราฟฟิค (Graphic Organisers) จัดเรียงลำดับเนื้อหา ทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปวางแผนการจัดการเรียนรู้และวางแผนการจัดการเรียนรู้

     การเลือกและการใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีบทบาทสำคัญมากกับการจัดการเรียนรู้ นำมาใช้จัดกิจกรรม ซึ่งสื่อการเรียนรู้แบ่งเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ การเรียนรู้ตามทรัพยากรการเรียนรู้ สื่อตามกระบวนการพัฒนาความคิดตามทฤษฎีของบรูเนอร์และสื่อตามลักษณะโครงสร้างของสื่อ หลักการเลือกสื่อใช้สื่อต้องเหมาะสม เชื่อถือได้ น่าสนใจ การรวบรวมและความสมดุล คุณภาพด้านเทคนิคและราคา สำหรับการวางแผนการใช้สื่อต้องเริ่มจากการเตรียมตัวผู้สอน การเตรียมสภาพแวดล้อม การเตรียมความพร้อมผู้เรียน ต้องใช้ตามแผนการเรียน และการประเมินการใช้สื่อการเรียนรู้ และขั้นตอนการใช้สื่อ เริ่มจากการนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรม ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ ขั้นสรุปบทเรียนและขั้นประเมินผู้เรียน

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : หนังสือวิชาการเล่มนี้ สามารถนำเนื้อหาสาระไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ทุกเนื้อหา ทุกรายวิชา โดยเฉพาะเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ที่สำคัญมาก ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนด้วย โดยเฉพาะผู้สอนต้องจัดกระทำทุกอย่าง ในห้องเรียนให้เป็นระบบระเบียบที่ดี เพราะการจัดชั้นเรียน คือ การจัดสภาพห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์และกิจกรรม รวมทั้งวิธีการในการจัดการพฤติกรรมของเด็กด้วย เพื่อรักษาบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เด็กจะเกิดความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนรู้ได้

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร