ลำดับประเภทที่หนึ่ง

 

ลำดับประเภทที่หนึ่ง (First Type of Sequences)

 


 

กำจร มุณีแก้ว*

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพฯ

 

185-1.รศ.กำจร

ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านจำนวน ความสามารถด้านเชาวน์ปัญญากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้สมการแปรเดียว

ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านจำนวน ความสามารถด้านเชาวน์ปัญญากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้สมการแปรเดียว

(Relationship between Numerical Ability, Intelligence Ability and Solving Equation with One Variable Learning Achievement)

 


 

กำจร มุณีแก้ว

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพฯ

 

การพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้อสมการตัวแปรเดียว

กำจร มุณีแก้ว

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพฯ

 

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยบริหารจัดการงานเครื่องมือแพทย์ในโรงพยาบาล

ผศ.ดร.ณัฐดนัย สิงห์คลีวรรณ

View Fullscreen

คอมพิวเตอร์ทางการแพทย์

ผศ.ดร.ณัฐดนัย สิงห์คลีวรรณ

View Fullscreen

ผลของความต่างศักย์ไบแอสต่อโครงสร้างของฟิล์มบางไทเทเนียมออกไซด์ที่เคลือบด้วย วิธีรีแอกทีฟสปัตเตอริงและการเกิดไฮดรอกซีอาปาไทท์

ผลของความต่างศักย์ไบแอสต่อโครงสร้างของฟิล์มบางไทเทเนียมออกไซด์ที่เคลือบด้วยวิธีรีแอกทีฟสปัตเตอริงและการเกิดไฮดรอกซีอาปาไทท์

Influence of Bias Voltage on Structure of Titanium Oxide Thin Film Deposited byReactive Sputtering Method and Hydroxyapatite Formation

นิรันดร์ วิทิตอนันต์1,3* อมรรัตน์ คำบุญ2 ประเสริฐศักดิ์ เกษมอนันต์กูล3 และ สุรสิงห์ ไชยคุณ1,3

Nirun Witit-anun1,3* Amonrat Khambun2 Prasertsak Kasemanankul3 and Surasing Chaiyakun1,3

บทคัดย่อ

ฟิล์ม1บางไทเทเนียมออกไซด์ (TiO2) ถูกเคลือบด้วยวิธีดีซีรีแอกทีฟแมกนีตรอนสปัตเตอริงบนซิลิกอนเวเฟอร์และเหล็กกล้าไร้สนิม 316L เพื่อศึกษาผลของความต่างศักย์ไบแอสต่อโครงสร้างของฟิล์มบางไทเทเนียมออกไซด์และการเกิดไฮดรอกซีอาปาไทท์ โครงสร้างผลึก ความหนา ลักษณะพื้นผิวและองค์ประกอบธาตุทางเคมี ศึกษา ด้วยเทคนิค XRD AFM SEM และ EDX ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าเมื่อความต่างศักย์ไบแอสตํ่าฟิล์มที่เคลือบได้มีเฟสรูไทล์ (110) และเปลี่ยนเป็น (101) เมื่อความต่างศักย์ไบแอสสูงขึ้น ขนาดผลึกอยู่ในช่วง 4.2 – 5.9 นาโนเมตร ความหนาและความหยาบผิวมีค่าอยู่ในช่วง 80 nm ถึง 89 nm และ 0.9 nm ถึง 2.9 nm ตามลำดับ หลังการแช่ชิ้นงานในสารละลาย SBF เป็นเวลา 7 วัน ตรวจพบไฮดรอกซีอาปาไทท์บนผิวหน้าของฟิล์มทั้งหมด ผลการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค EDX พบว่าอัตราส่วนของ Ca/P ของไฮดรอกซีอาปาไทท์บนฟิล์มทั้งหมดมีค่าประมาณ 1.41 – 1.48

ABSTRACT

Titanium oxide thin films (TiO2) have been deposited on Si-wafer and stainless steel 316L by DC reactive magnetron sputtering. The effect of bias voltage on structure of titanium oxide thin films and hydroxyapatite formation was investigated. The crystal structure, thickness, surface morphology and chemical composition were characterized by XRD, AFM, SEM and EDX, respectively. The results show that, the film deposited with low bias voltage has rutile (110) plane and turn to be (101) when bias voltage was increased. The crystal size was about 4.2 to 5.9 nm. The film’s thickness and roughness were in the range of 80 to 89 nm and 0.9 to 2.9 nm, respectively. After immersed samples in SBF solution for 7 days, the hydroxyapatite was observed on all surfaces of TiO2 thin films. The EDX analysis showed that Ca/P ratio of hydroxyapatite on all TiO2 thin films was nearly about 1.41-1.48.

Key Words: Thin film, titanium oxide, substrate bias voltage, hydroxyapatite, DC reactive sputtering.

E-mail: [email protected]


1 ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี 20131
Department of Physics, Faculty of Science, Burapha University, ChonBuri 20131.
2 สาขาฟิสิกส์ คณะวิ ทยาศาสตร์ มหาวิทยาลั ยราชภัฏบุรีรัมย์ จ .บุ รีรัมย์31000
Branches of Physics, Faculty of Science, Buriram Rajabhat University, Buriram 31000.
3 ห้องปฏิบัติการวิจัยพลาสมาสำหรับวิทยาศาสตร์พื้นผิว ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ (ThEP) สบว. สกอ.
Plasma for Surface Sciences Laboratory, Thailand Center of Excellence in Physics (ThEP), PERDO, CHE.

คำนำ

กระดูกเป็นโครงสร้างสำคัญของมนุษย์หากได้รับบาดเจ็บหรือเสียหายจะทำให้ยากต่อการดำรงชีวิตทำให้มีการวิจัยและพัฒนาหาวัสดุเพื่อใช้ในการรักษาหรือซ่อมแซม ทั้งที่เป็น โลหะ (Metal) หรือ โลหะผสม (Alloys) ทั้งนี้วัสดุที่สามารถนำมาฝังในร่างกายมนุษย์นั้นจำเป็นต้องมีสมบัติในการเข้ากันได้ทางชีววิทยากับร่างกายมนุษย์ (human biocompatible property) มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาในลักษณะต่างๆ เช่น ร่างกายอาจต่อต้านสิ่งที่ฝังเข้าไป หรือ วัสดุเกิดความเป็นพิษเนื่องจากการเสื่อมสภาพซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายมนุษย์ในลักษณะต่างๆ

ปัจจุบันวัสดุทางการแพทย์ที่นิยมคือ ไทเทเนียมและไทเทเนียมอัลลอย เนื่องจากผิวของวัสดุนี้มักเกิดชั้นของออกไซด์ซึ่งมีสมบัติในการป้องกันเองตามธรรมชาติ อย่างไรก็ดีชั้นออกไซด์ที่เกิดนี้ก็ยังไม่สามารถทนสภาพแวดล้อมที่รุนแรงทางชีววิทยาได้ (Velten et al., 2002) อีกทั้งยังมีรายงานทางการแพทย์บางฉบับเกี่ยวกับปัญหาการเกิด Hypersensitivity และ Allergic reactions ของไทเทเนียม (Sawase et al., 2001) ซึ่งเป็นข้อจำกัดสำคัญทำให้ การวิจัยเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงสมบัติของวัสดุทางการแพทย์จึงยังคงมีต่อไป ทั้งนี้แนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาคือการเคลือบชั้นออกไซด์บนผิวชิ้นงานโดยตรงแทนการปล่อยให้เกิดเองตามธรรมชาติซึ่งทำได้หลายวิธี แต่ที่น่าสนใจคือวิธีสปัตเตอริง (sputtering) เพราะสามารถคุมอัตราเคลือบและสมบัติของชั้นเคลือบได้ง่าย (Zhao et al., 2005) ชั้นเคลือบที่ได้มีความทนทานและยึดเกาะดี (Wu et al., 2006) จากงานวิจัยของ Kasemanankul et al. (2006) พบว่าสามารถเตรียมสารประกอบไฮดรอกซีอาปาไทท์ (hydroxyapatite) ที่มีโครงสร้างคล้ายกระดูกมนุษย์บนชั้นของฟิล์มบางไทเทเนียมออกไซด์ที่เคลือบบนเหล็กกล้าไร้สนิม 316L ได้ โดยการแช่ชิ้นงานในสารละลาย Simulated Body Fluid (SBF) ซึ่งเป็นสารละลายที่มีองค์ประกอบทางเคมีคล้ายของเหลวในร่ายกายมนุษย์

ทั้งนี้การปรับปรุงผิวไทเทเนียมเพื่อนำมาใช้ในทางการแพทย์แนวหนึ่งคือการเคลือบผิวด้วยเทคนิคสปัตเตอริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลือบด้วยไทเทเนียมออกไซด์ที่มีโครงสร้างผลึกแบบรูไทล์ เนื่องจากเป็นเฟสที่มีความเสถียร (Kasemanankul et al., 2006) โดยการเตรียมฟิล์มไทเทเนียมออกไซด์ให้มีโครงสร้างผลึกในเฟสที่ต้องการนั้นสามารถควบคุมหรือทำได้โดยการเพิ่มพลังงานในขั้นตอนการเตรียมฟิล์ม ทั้งนี้แนวทางหนึ่งที่น่าสนใจคือการให้ความต่างศักย์ไบแอสแก่ชิ้นงานขณะเคลือบ บทความวิจัยนี้เป็นรายงานผลการเตรียมฟิล์มไทเทเนียมออกไซด์ด้วยวิธีดีซีรีแอกทีฟแมกนีตรอนสปัตเตอริงบนแผ่นซิลิกอนและเหล็กกล้าไร้สนิม 316L เพื่อศึกษาผลความต่างศักย์ไบแอสต่อโครงสร้างฟิล์มไทเทเนียมออกไซด์ที่ได้ โดยตอนท้ายได้ทดสอบการเกิดไฮดรอกซีอาปาไทท์ของชิ้นงานที่ผ่านการเคลือบฟิล์มไทเทเนียมออกไซด์โดยแช่ชิ้นงานในสารละลาย SBF แล้วนำไปตรวจสอบโครงสร้างผลึกด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (X-ray Diffraction; XRD) ความหนาและลักษณะพื้นผิว ศึกษาด้วยอะตอมมิคฟอร์ซไมโครสโคป (Atomic Force Microscope; AFM) และ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกนนิง (Scanning Electron Microscope; SEM) ส่วนองค์ประกอบธาตุทางเคมีศึกษาด้วยเทคนิคเอเนอร์จีดิสเพอร์ซีฟสเปกโทรเมตรี (Energy Dispersive Spectrometry: EDS) เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิจัยต่อไป

อุปกรณ์และวิธีการ

ฟิล์มบางไททาเนียมออกไซด์ในงานวิจัยนี้เตรียมจากเครื่องเคลือบระบบรีแอคตีฟแมกนีตรอนสปัตเตอริง (Figure 1) ห้องเคลือบเป็นทรงกระบอก ติดตั้งเป้าไททาเนียม (99.97%) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.4 เซนติเมตร ที่แคโทด ใช้แก๊สอาร์กอน (99.999%) และใช้แก๊สออกซิเจน (99.999%) เป็นสปัตเตอร์แก๊สและแก๊สไวปฏิกิริยา ตามลำดับ ระบบเครื่องสูบสุญญากาศประกอบด้วยเครื่องสูบแบบแพร่ไอมีเครื่องสูบกลโรตารีเป็นเครื่องสูบท้าย วัดความดันด้วยมาตรวัดความดันของ balzers รุ่น TPG300 ด้วยหัววัดแบบพิรานี (TPR010) และ หัววัดแบบ เพนนิ่ง (IKR050) การจ่ายแก๊สในกระบวนการเคลือบควบคุมด้วย mass flow controller ของ MKS รุ่น type247

การเคลือบฟิล์มเริ่มจากนำซิลิกอนเวเฟอร์และเหล็กกล้าไร้สนิม 316L เข้าห้องเคลือบ แล้วลดความดันในห้องเคลือบให้ได้ความดันพื้นเท่ากับ 3.0×10-5 มิลลิบาร์ จากนั้นปล่อยแก๊สอาร์กอนและแก๊สออกซิเจนเข้าห้องเคลือบในอัตราส่วน 1:4 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อนาที (Standard Cubic Centimeters per Minute; sccm) ขณะเคลือบควบคุมความดันรวมให้คงที่เท่ากับ 5.0×10-3 มิลลิบาร์ และใช้กำลังไฟฟ้าคาโทดเท่ากับ 220 วัตต์ พร้อมจ่ายความต่างศักย์ไบแอสให้ฟิล์มแต่ละชุดในช่วง 0 ถึง -150 โวลต์ โดยฟิล์มแต่ละชุดใช้เวลาเคลือบนาน 60 นาที สำหรับการเกิดไฮดรอกซีอาปาไทท์ทดสอบได้โดยนำชิ้นงานเหล็กกล้าไร้สนิม 316L ที่เคลือบด้วยฟิล์มไทเทเนียมออกไซด์แล้วไปแช่ในสารละลาย SBF อุณหภูมิ 37 OC เป็นเวลานาน 7 วัน (Kasemanankul et al., 2006)

ฟิล์มไททาเนียมออกไซด์และไฮดรอกซีอาปาไทท์ที่เตรียมได้ทั้งหมดนำไปศึกษา โครงสร้างผลึกด้วย เทคนิค XRD ขนาดผลึก (crystal size) หาสมการของ Scherrer คือ L = kλ/β cos θ เมื่อ L คือขนาดผลึก, k คือค่าคงที่เท่ากับ 0.94, λ คือความยาวคลื่นรังสีเอกซ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์เท่ากับ1.54056 อังสตรอม, β คือ ความกว้างครึ่งหนึ่งของพีคที่มีค่าความเข้มสูงสุด (FWHM) และ θ คือมุมของรูปแบบการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ ลักษณะพื้นผิว ความหนาและความหยาบผิวศึกษาด้วยเทคนิค AFM สำหรับลักษณะพื้นผิวของไฮดรอกซีอาปาไทท์ ศึกษาด้วย SEM ส่วนองค์ประกอบธาตุทางเคมีของไฮดรอกซีอาปาไทท์ศึกษาด้วย EDS

Figure 1 Feature and diagram of the reactive magnetron sputtering system

ผลและวิจารณ์ผลการทดลอง

โครงสร้างผลึก ความหนาและลักษณะพื้นผิวของฟิล์มไทเทเนียมออกไซด์

Figure 2 เป็นรูปแบบการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ของฟิล์มที่เคลือบได้เมื่อใช้ความต่างศักย์ไบแอสต่างๆ พบว่าฟิล์มที่เคลือบเมื่อใช้ความต่างศักย์ไบแอสเท่ากับ 0 โวลต์ และ -50 โวลต์ มีรูปแบบการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ที่มุม 2θ เท่ากับ 27.5o ซึ่งตรงกับไทเทเนียมออกไซด์เฟสรูไทล์ระนาบ (110) ตามฐานข้อมูล JCPDS เลขที่ 89-4920 ขณะที่ฟิล์มที่เคลือบเมื่อใช้ความต่างศักย์ไบแอสเท่ากับ -100 โวลต์ และ -150 โวลต์ พบรูปแบบการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ที่ มุม 2θ เท่ากับ 36.1 o ซึ่งตรงกับไทเทเนียมออกไซด์เฟสรูไทล์ระนาบ (101) ตามฐานข้อมูล JCPDS เลขที่ 89-4920

จากผลการศึกษาที่ได้แสดงให้เห็นว่าความต่างศักย์ไบแอสมีผลต่อเฟสของฟิล์มที่เตรียมได้ โดยเมื่อใช้ ความต่างศักย์ไบแอสตํ่า (0 โวลต์ และ -50 โวลต์) ขณะเคลือบ พบฟิล์มไทเทเนียมออกไซด์เฉพาะเฟสรูไทล์ระนาบ (110) แต่เมื่อความต่างศักย์ไบแอสสูงขึ้น ( -100 โวลต์ และ -150 โวลต์) พบว่าไทเทเนียมออกไซด์เฟสรูไทล์ระนาบ (110) หายไป แต่เกิดไทเทเนียมออกไซด์เฟสรูไทล์ระนาบ (101) ที่มีความเข้มของรูปแบบการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ค่อนข้างตํ่าแทน เนื่องความต่างศักย์ไบแอสตํ่าจะดึงไอออนพลังงานตํ่าของแก๊สอาร์กอนในพลาสมาลงมาระดมยิง (bombards) อะตอมสารเคลือบบนวัสดุรองรับขณะที่กำลังฟอร์มตัวเป็นชั้นของฟิล์มซึ่งทำให้อะตอมสารเคลือบมีพลังงานและความสามารถในการเคลื่อนที่ (mobility) มากขึ้น ฟิล์มที่เตรียมได้จึงมีความเป็นผลึกมาก สอดคล้องกับงานวิจัยของ Song et al. (2006) แต่เมื่อความต่างศักย์ไบแอสสูงขึ้น ไอออนของแก๊สอาร์กอนในพลาสมาที่ถูกดึงลงมาจะมีพลังงานสูงมากเกินค่าที่เหมาะสมจนแทนที่จะช่วยในการฟอร์มตัวของฟิล์ม กลับกลายเป็นการทำลายโครงสร้างผลึกของไทเทเนียมออกไซด์เฟสรูไทล์ระนาบ (110) ให้เปลี่ยนเป็นไทเทเนียมออกไซด์เฟสรูไทล์ ระนาบ (101) แทน สำหรับขนาดผลึกของฟิล์มไทเทเนียมออกไซด์ที่เคลือบได้พบว่ามีขนาดใกล้เคียงกันทั้งหมด โดยฟิล์มที่เคลือบด้วยความต่างศักย์ไบแอส 0 โวลต์ และ -50 โวลต์ มีขนาดผลึกเท่ากับ 5.6 นาโนเมตร และ 4.2 นาโนเมตร ตามลำดับ ส่วนฟิล์มที่เคลือบด้วยความต่างศักย์ไบแอส -100 โวลต์ และ -150 โวลต์ มีขนาดผลึกเท่ากับ 5.9 นาโนเมตร และ 5.8 นาโนเมตร ตามลำดับ 4สอดคล้องกับงานวิจัย4ของ Uvarov และ Popov (2007)

Figure 2 X-ray diffraction patterns of TiO2 thin films deposited at different bias voltage

Figure 3 Surface morphology of TiO2 thin films deposited at different bias voltage from AFM technique

       จากการทดลองพบว่าฟิล์มที่เคลือบได้มีความหนาและความหยาบผิวมีค่าอยู่ในช่วง 80 – 89 นาโนเมตร และ 0.9 – 2.9 นาโนเมตร ตามลำดับ Figure 3 เป็นลักษณะพื้นผิวฟิล์มจากเทคนิค AFM พบว่าเมื่อความต่างศักย์ไบแอส เท่ากับ 0 โวลต์ ฟิล์มมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กขนาดใกล้เคียงกันกระจายตัวทั่วผิวหน้าฟิล์ม (Figure 3 (a)) เมื่อเคลือบด้วยความต่างศักย์ไบแอส -50 โวลต์ และ -100 โวลต์ ฟิล์มเริ่มมีการรวมตัวกันเป็นก้อนใหญ่ขึ้นในบางบริเวณ (Figure 3 (b) และ (c)) สุดท้ายเมื่อใช้ความต่างศักย์ไบแอส -150 โวลต์ พบว่าพื้นผิวฟิล์มค่อนข้างเรียบเป็นเนื้อเดียวกันเนื่องจากมีการรวมตัวกันอย่างต่อเนื่อง (Figure 3 (d)) สอดคล้องกับงานวิจัยของ Zhang et al. (2007)

การเกิดไฮดรอกซีอาปาไทท์บนผิวหน้าของฟิล์มไทเทเนียมออกไซด์

       การเกิดไฮดรอกซีอปาไทท์ทดสอบได้โดยนำฟิล์มไทเทเนียมออกไซด์ที่เคลือบบนเหล็กกล้าไร้สนิม 316L ไปแช่ในสารละลาย SBF ที่อุณหภูมิ 37 oC นาน 7 วัน แล้ววิเคราะห์ด้วยเทคนิค SEM และ XRD สำหรับ Figure 4 แสดงลักษณะพื้นผิวของไฮดรอกซีอปาไทท์บนผิวหน้าฟิล์มไทเทเนียมออกไซด์ พบว่ามีไฮดรอกซีอปาไทท์เกิดบนผิวหน้าฟิล์มทุกเงื่อนไขการเคลือบ ไฮดรอกซีอปาไทท์ที่เกิดมีลักษณะเป็นชั้นๆ โดยชั้นแรกมีลักษณะเป็นเส้นใยเล็กๆ ที่เกิดอย่างหนาแน่นและต่อเนื่องกันเป็นแผ่นปิดผิวของฟิล์ม ส่วนชั้นที่สองไฮดรอกซีอปาไทท์มีลักษณะเป็นก้อนที่เกิดจากเส้นใยเล็กๆ โดยการเกิดมีลักษณะที่ซ้อนทับกันขึ้นไปเรื่อยๆ จนมีลักษณะสูงและใหญ่เหมือนพุ่มไม้ โดยมีการยึดเกาะกันอย่างดีบนชั้นแรก ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Kasuga et al. (2002)

       Figure 5 แสดงรูปแบบการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์จากเทคนิค XRD ของไฮดรอกซีอปาไทท์ที่เกิดขึ้นบนผิวหน้า ของฟิล์มไทเทเนียมออกไซด์ที่เคลือบด้วยความต่างศักย์ไบแอสต่าง ๆ พบรูปแบบการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ที่มุม 2θ เท่ากับ 26o และ 32o ซึ่งตรงกับรูปแบบการเลี้ยวเบนของสารประกอบไฮดรอกซีอปาไทท์ตามฐานข้อมูล JCPDS หมายเลข 9-0432 ส่วนรูปแบบการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ที่มุม 2θ เท่ากับ 43.5o คือเหล็กกล้าไร้สนิม 316L ซึ่งใช้เป็นวัสดุรองรับในการเคลือบ

       ในส่วนการศึกษาองค์ประกอบธาตุทางเคมีของไฮดรอกซีอปาไทท์ที่เกิดขึ้นบนฟิล์มไทเทเนียมออกไซด์ จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค EDS ได้ผลดังแสดงใน Figure 6 พบว่าไฮดรอกซีอปาไทท์ที่เกิดขึ้นมีองค์ประกอบ ของแคลเซียม (Ca) และ ฟอสฟอรัส (P) ในอัตราส่วนของ Ca/P มีค่าประมาณ 1.41 – 1.48 ปกติกระดูกมนุษย์มีสัดส่วนของ Ca/P ประมาณ 1.67 (Kasemanankul et al., 2006)

Figure 4 Morphology of hydroxyapatite on TiO2 thin films deposited at different bias voltage from SEM technique

Figure 5 X-ray diffraction patterns of hydroxyapatite (HAp) on TiO2 thin films deposited at different bias voltage

Figure 6 Chemical composition of hydroxyapatite on TiO2 thin films deposited at different bias voltage from EDX technique

สรุป

ฟิล์มบางไทเทเนียมออกไซด์เคลือบด้วยวิธีดีซีรีแอกทีฟแมกนีตรอนสปัตเตอริงบนซิลิกอนเวเฟอร์และเหล็กกล้าไร้สนิม 316L เมื่อแปรค่าความต่างศักย์ไบแอสในช่วง 0 โวลต์ ถึง -150 โวลต์ พบว่า เมื่อความต่างศักย์ไบแอสตํ่าฟิล์มที่ได้มีเฟสรูไทล์ระนาบ (110) และเปลี่ยนเป็นระนาบ (101) เมื่อความต่างศักย์ไบแอสสูงขึ้น ขนาดผลึกมีค่าอยู่ในช่วง 4.2 – 5.9 นาโนเมตร ลักษณะพื้นผิวของฟิล์มที่เคลือบได้เปลี่ยนไปตามความต่างศักย์ไบแอส ความหนาและความหยาบผิวของฟิล์มมีค่าอยู่ในช่วง 80 – 89 นาโนเมตร และ 0.9 – 2.9 นาโนเมตร ตามลำดับ หลังการแช่ชิ้นงานในสารละลาย SBF เป็นเวลา 7 วัน ตรวจพบไฮดรอกซีอาปาไทท์บนผิวหน้าของฟิล์มทุกเงื่อนไขการเคลอืบ ผลการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค EDS พบว่าอัตราส่วนของ Ca/P ของไฮดรอกซีอาปาไทท์บนฟิล์มทั้งหมดมีค่าประมาณ 1.41 – 1.48

เอกสารอ้างอิง

Kasemanankul, P., Sricharoon, P., Boonamnuayvitaya, V. and Witit-anun, N. 2006. Apatite Formation on TiOx Thin Films Coated on 316L Stainless Steel by an Unbalance Magnetron Sputtering, pp.118-121. In Proceeding of the 6th Asian BioCeramics Symposium (ABC 2006). 7-10 November 2006, Sofitel Central Plaza. Bangkok, Thialand

Kasuga, T., Kondo, H. and Nogami, M. 2002. Apatite formation on TiO2 in simulated body fluid. Crystal Growth. 235: 235-240.

Sawase, T. Wennerberg, A., Baba, K., Tsuboi, Y., Sennerby, L., Johansson, C.B. and Albrektsson, T. 2001. Application of oxygen ion implantation to titanium surfaces: effects on surface characteristics, corrosion resistance and bone response. Clinical Implant Dentistry and Related Researach. 3: 221-229.

Song, P.K., Irie, Y. and Shigesato, Y. 2006. Crystallinity and photocatalytic activity of TiO2 films deposited by reactive sputtering with radio frequency substrate bias. Thin Solid Films. 496: 121–125.

Uvarov, V. and Popov, I. 2007. Metrological characterization of X-ray diffraction methods for determination of crystallitesizein nano-scale materials. Materials Characterization. 58: 883-891.

Velten, D., Biehl, V., Aubertin, F., Valeske, B.,Possart , W. and Breme , J. 2002. Preparation of TiOBiomedical Materials. 59: 18-28. 2 layers on cp-Ti and Ti6Al4V by thermal and anodic oxidation and by sol-gel coating techniques and their characterization.

Wu, K.R., Wang, J.J., Liu, W.C., Chen, Z.S. and Wu, J.K. 2006. Deposition of graded TiO2 films featured both hydrophobic and photo-induced hydrophilic properties. Applied Surface Science. 252: 5829-5838.

Zhang, M., Lin, G., Dong, C. and Wen, L. 2007. Amorphous TiO2 films with high refractive index deposited by pulsed bias arc ion plating. Surface and Coatings Technology. 201: 7252 – 7258.

การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์โดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์โดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์

สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The Development of Analysis Thinking Ability in Scientific

by Concept Map for Undergraduate Student in Bansomdejchaopraya Rajabhat University

นันทนัช วัฒนสุภิญโญ

คณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ปีการศึกษา 2558

(งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา)

ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์

โดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ สาหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้วิจัย นางสาวนันทนัช วัฒนสุภิญโญ

ระดับการศึกษา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) ฟิสิกส์

สาขาวิชา วิทยาศาสตร์

คณะ ครุศาสตร์

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ปีการศึกษา 2558

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในการวิจัยนี้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ สาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีและเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ โดยมีแบบแผนวิจัยแบบสุ่ม ทดสอบก่อนและหลังเรียน เพื่อเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มทดลองที่ใช้วิธี สอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ และรูปแบบการสอนปกติในกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จานวน 2 ห้องเรียน จานวน 76 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดาเนินการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ โดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ รายวิชาฟิสิกส์แผนใหม่สาหรับครูวิทยาศาสตร์ มีค่าประสิทธิภาพเป็น 89.26/89.27 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล คือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีค่าของความยากง่าย (p) เท่ากับ 0.22-0.64 ค่าอานาจจาแนก (r) เท่ากับ 0.48-0.73 และค่าความเชื่อมั่น (rtt –KR 20) เท่ากับ 0.95

ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาที่เรียนโดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนโดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คาสาคัญ: การคิดวิเคราะห์/ แผนผังมโนทัศน์

Abstract

The objectives of this study were to develop of Analysis Thinking Ability in Scientific by Concept Map for Undergraduate Student. A randomized control group pretest-posttest design was used to compare the two fourth year student classrooms, seventy six student in Faculty of Education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University, which were the sample groups followed by Concept Map approach in Modern Physics for Science Teachers subjects and the traditional approach. Research instruments consisted of: lesson plan efficiency and analysis thinking test. The findings revealed that the : lesson plan had efficiency higher than a defined criteria 89.26/89.27. The level of difficulty, item discrimination and reliability coefficient (rtt –KR 20) of the analysis thinking test were 0.36-0.64, 0.48-0.73, and 0.95 respectively.

The research finding showed that after sample groups followed by Concept Map approach received higher pre-tests scores at the .01 level of significance and received higher scores than in the traditional approaches at .01 level of significance.

Keyword: Analysis Thinking/ Concept Map

บรรณานุกรม

เกียรติพงษ์ บุญจิตร. (2552). คู่มือ Photoshop CS4 Professional Guide ฉบับสมบูรณ์.
นนทบุรี : ไอดีซี อินโฟ ดิสทริบิวเตอร์ เซ็นเตอร์ จำกัด.
______. (2553). Photoshop Photo Process Techniques. นนทบุรี :
ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด.

ณัฐพงค์ ฐิมานะกุล และรักษ์ศักดิ์ สิทธิวิไล. (2550). กล้องดิจิตอล. กรุงเทพมหานคร : เสริมวิทย์
อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด.

ทัศยาภรณ์ เกื้อหนุน. (2551). เทคนิคภาพสวยด้วย Photoshop. กรุงเทพมหานคร : โปรวิชั่น.
ทิว เดียร์. (2552). ถ่ายภาพสวยด้วยกล้องดิจิตอล. นนทบุรี : ไอดีซี อินโฟ ดิสทริบิวเตอร์
เซ็นเตอร์ จำกัด.

ธนัชสร จิตต์เนื่อง. (2552). แต่งภาพดิจิตอลสวยทันใจด้วย Photoshop CS4. กรุงเทพมหานคร :
เสริมวิทย์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี่ จำกัด.

นาทนิภา วารีเวช. (2550). The Digital SLR Guide รอบรู้เรื่องกล้อง DSLR. กรุงเทพมหานคร :
เอเชียเพรส.

ประสิทธิ์ จันเสเถียร. (2551). คู่มือการใช้กล้องดิจิตอล SLR ภาษาไทย Nikon D90 ฉบับสมบูรณ์.
กรุงเทพมหานคร : อิเมจ โฟกัส.

ปิยะฉัตร แกหลง. (2551). เริ่มต้นกับ DSLR. กรุงเทพมหานคร : โปรวิชั่น.

รัชตา ซึ้งสุนทร. (2552). The Adobe Photoshop CS4 Book for Digital Photographers
(คัมภีร์ตกแต่งภาพดิจิตอลระดับมืออาชีพ). กรุงเทพมหานคร : ฟิวเจอร์ เกมเมอร์.

วีรนิจ ทรรทรานนท์. (2548). Best Guide of Digital Camera. กรุงเทพมหานคร : ซัคเซส มีเดีย.

______. (2552). ถ่ายภาพสวยด้วย DSLR กับนายตากล้อง. กรุงเทพมหานคร : เอ็มไอเอส.

______. (2553). ใช้กล้องให้คุ้มค่า DSLR เที่ยวไปถ่ายไปกับนายตากล้อง.
กรุงเทพมหานคร : เอ็มไอเอส.

______. (ม.ป.ป.). เทคนิคการถ่ายภาพทิวทัศน์. กรุงเทพมหานคร : เอ็มไอเอส.

______. (ม.ป.ป.). เทคนิคการถ่ายภาพบุคคล. กรุงเทพมหานคร : เอ็มไอเอส.

ศุภสิทธิ์ นาคเสน. (2545). เลือกซื้อและใช้กล้องดิจิตอลอย่างมืออาชีพ. นนทบุรี : อินโฟเพรส.

สมาน เฉตระการ. (2551). การถ่ายภาพเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : เทคนิค พริ้นท์ติ้ง.

อรวินท์ เมฆพิรุณ. (2551). กล้องดิจิตอลและการแต่งภาพ. กรุงเทพมหานคร : โปรวิชั่น.

อรวินท์ เมฆพิรุณ และวศิน เพิ่มทรัพย์. (2548). คู่มือเลือกซื้อและใช้งานกล้องดิจิตอล ฉบับมืออาชีพ.
กรุงเทพมหานคร : โปรวิชั่น.

อำนวยพร บุญจำรัส. (2553). The Art of Photography ศิลปะแห่งการถ่ายภาพ. กรุงเทพมหานคร :
ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Ang, Tom. (2008). Digital Photography Masterclass. NY : DK Publishing.

Kelby, Scott. (2006). The Digital Photography Book Volume 1. CA : Peachit Press.

______. (2008). The Digital Photography Book Volume 2. CA : Peachit Press.

______. (2009). The Digital Photography Book Volume 3. CA : Peachit Press.

Miotke, Jim. (2005). The Betterphoto Guide to Digital Photography. NY :
Watson-Guptill Publications.

Sheppard, Rob. (2007). Digital Photography : Top 100 Simplified Tip & Tricks. NJ :
Wiley Publishing,Inc.

เว็บไซต์

“การดูแลทำความสะอาดกล้องถ่ายภาพ.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://www.thecameracity.com/article_inside.php?articles_id=184

“การ์ดหน่วยความจำแบบแฟลช และอัตราความเร็ว X.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://www.kingston.com/thailand/flash/x/default.asp

“เจาะลึกการ์ดหน่วยความจำ สำหรับอุปกรณ์ยุคดิจิตอล ตอนที่1.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://tech.mthai.com/views_2_pc-digital-camera-software_69_690_1

“ภาพกล้องและอุปกรณ์.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://avon-th.com/foto/gallery/CaMeRa/ccd-5.jpg
http://blog.digitalcontentproducer.com/briefingroom/32gb-card-low-res.jpg
http://gigdigital.tarad.com/shop/g/gigdigital/img-lib/spd_2005073010250_b.jpg
http://image.made-in-china.com/2f0j00pMetHnGEOkrb/Ni-CD-AA-600mah-
Rechargeable-Battery.jpg
http://img.alibaba.com/photo/268248037/25mm-camera-lens-nd-filter.jpg
http://i.walmartimages.com/i/p/00/05/03/32/14/0005033214057_500X500.jpg
http://kamera-gue.web.id/wp-content/uploads/2009/11/canon-g10-tele.jpg
http://keith340.files.wordpress.com/2009/06/00137_sony-16gb-memory-stick.jpghttp://media.digikey.com/photos/SanDisk%20Photos/MFG_SDCFH%20SERIES.jpg
http://photorumors.com/wp-content/uploads/2009/09/CCD-FF-SuperHAD-II-.jpghttp://tacticalthai.com/tacticalengine/_filesmgr/ecommerce/057d1_nikon_enel3e_pro.jpg
http://viewfinder.tarad.com/shop/v/viewfinder/img-lib/spd_20080521225517_b.jpg
http://www.bestmemorymall.com/images/sony_2_gb_memory_stick_pro_duo.jpg
http://www.buycoms.com/buyers-guide/digital-camera-Fujifilm-Finepix-S9600-vs-Canon-PowerShot-S5-IS/images/Canon-PowerShot-S5-IS-1.jpg
http://www.camera2hand.net/images/topic_images/pd3663_1.jpghttp://www.camera2you.com/img/p/111-443-large.jpg
http://www.digitalland1.com/shop/d/digitalland/img-lib/spd_20070515111648_b.jpg
http://www.dpreview.com/reviews/canong2/Images/accs_420ex.jpg
http://www.fotoinfomag.com/images/stories/hotproduct/nikon/nikon351p8.jpg
http://www.getprice.com.au/images/uploadimg/539/350__1_af95ee1911e2910d427edd94c87c7988.jpg
http://www.kefk.net/Fotografie/Objektive/Anbieter/Nikon/F-Bajonett/Modelle/70-200/AF-S.VR.NIKKOR/Abbildungen/L-018-02.jpg
http://www.klongdigital.com/images_webboard3/id_44371_2.jpg
http://www.krunker.com/wp-content/uploads/2009/02/cfe-angle-32gb-highresthumb.jpg
http://www.magmareport.com/uploads/pics/main/files/Chip/Year%202009/June/Reviews/Samsung%20WB500/Samsung%20WB500%20(2).jpg
http://www.masb.com.my/images/Product%20MMCmobile%201GB%200510.jpg
http://www.mum22.com/pook/klongtalk/images/stories/klongtalkPic/28.JPG
http://www.nikon.co.th/products/1011/5e393cb0a2/ML-L3.jpg
http://www.oknation.net/blog_data/804/804/images/801DwithImedion-50K.jpg
http://www.panoramic-imaging.com/images/products/227-1.jpg
http://www.photographyblog.com/images/sized/images/uploads/sdxc-302×399.jpg
http://www.photokina-show.com/news_images/00440_foveon_x3_sensor.jpg
http://www.pixview.net/images/stories/news/nikon/18-105mm/afs_50_g_s.jpg
http://www.sandisk.com/media/117605/1gb_typem_xd-picture_card_hires.jpg
http://www.shutterphoto.com/forums/attachment.php?attachmentid=10991&stc=1&d=1215014506
http://www.shutterphoto.com/review/canon/eos450d/BG-E5%20W.jpg
http://www.sigmaphoto.com/client/images/products/EX_DG_MC_UV_Filter.png
http://www.technicchan.ac.th/~web/UserFiles/Image/linux/p7660797n1.jpg
http://www.thaimtb.com/webboard/15/07776-8.jpg
http://www.thomasdistributing.com/shop/images/2-AA-alkaline.jpg
http://www.tracyandmatt.co.uk/blogs/media/blogs/tracyandmatts_blog/sandisk-2gb-sdcard.jpg
http://www.ubergizmo.com/photos/pretec4gbmmcplus_small.jpg
http://www.vajira.ac.th/kt/images/article/20061025113742ak0Fk.jpg
http://www.vayotradecenter.com/vayo_1/img_product/small/1260155383-0.jpg
http://www.velbon.cn/big/catalog/cx/image/cx540.jpg
http://www.viewfindercamera.com/shop/v/viewfinder/imglib/spd_20060907135019_b.jpg
http://www.weloveshopping.com/shop/tairoob/DB-2828.jpg

“เรามาทำความรู้จักกับการ์ดหน่วยความจำชนิดต่างๆ กันดีกว่า.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://hitech.sanook.com/computer/news_07892.php

“CCD VS CMOS .” [Online]. Available : http://www.klongdigital.com

“Dead/Hot Pixel Test.” [Online]. Available :
htt://www.starzen.com.com/imaging/deadpixeltest.htm

“Image Sensor.” [Online]. Available : http:// www.madeejaa.com

“Image stabilization systems.” [Online]. Available : http://www.vcharkarn.com

(บทที่ 8) การตกแต่งและพิมพ์ภาพด้วย Adobe Photoshop CS4

Photoshop CS4 เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการตกแต่งภาพที่ถ่ายจากกล้องดิจิทัล เช่น ปรับขนาดปรับความสว่าง ปรับความคมชัด ใส่เอฟเฟ็กต์ลงไปเพื่อให้ภาพดูแปลกตา หรือตกแต่งใบหน้าของตัวแบบที่ถ่าย ทำให้ภาพที่ถ่ายมามีความสมบูรณ์สวยงามมากยิ่งขึ้น เมื่อตกแต่งเสร็จแล้วยังสามารถสั่งพิมพ์ภาพผ่าน Photoshop CS4 ได้ในทันที

ส่วนประกอบของหน้าจอ Photoshop CS4

ส่วนประกอบที่สำคัญมีดัง

  • เมนูบาร์ (Menu Bar) ประกอบด้วยคำสั่งต่างๆ ที่ใช้ในการจัดไฟล์ภาพ เช่น เมนู File ก็จะรวมคำสั่งต่างๆ เช่น Open , Save , Exit เป็นต้น
  • ออปชั่นบาร์ (Option Bar) เป็นรูปแบบคำสั่งเสริมให้กับการใช้งานของเครื่องมือต่างๆ เช่น ถ้าใช้เครื่องมือ Brush ออปชั่นบาร์ก็จะเป็นที่กำหนดขนาดหัวแปลง เป็นต้น
  • กล่องเครื่องมือ (Tool Box) เป็นที่รวมของเครื่องมือที่จำเป็นต่อการทำงาน
  • ชุดพาเนล (Panel Group) เป็นหน้าต่างใช้ปรับแต่งรายละเอียดเพิ่มเติมให้กับไฟล์ภาพ
  • หน้าต่างแสดงไฟล์ (File Pane) แสดงไฟล์งานที่ทำการตกแต่ง
  • แถบสถานะ (Status Bar) แสดงขนาดของไฟล์ภาพ เปอร์เซ็นต์ของการซูมภาพ และ แสดงการทำงานของเครื่องมือต่างๆ

การเปิดไฟล์ภาพ

การเปิดไฟล์ภาพเข้ามาทำงานใน Photoshop CS4 ถ้าเราเปิดดูภาพด้วยโปรแกรม Bridge อยู่ก็ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ภาพที่ต้องการนั้นเลย ภาพก็จะไปเปิดโปรแกรม Photoshop และเข้าไปอยู่ใน Photoshop โดยอัตโนมัติ

เมื่ออยู่ในโปรแกรม Photoshop ก็สามารถนำภาพเข้ามาได้ตามขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 คลิกเลือกคำสั่ง File > Open จะปรากฏกรอบ Open ขึ้นมา
ขั้นที่ 2 คลิกเลือกไดรฟ์หรือโฟลเดอร์ที่เก็บภาพไว้
ขั้นที่ 3 คลิกเลือกไฟล์ภาพที่ต้องการ
ขั้นที่ 4 คลิกปุ่ม Open
ขั้นที่ 5 ภาพที่เลือกจะเข้ามาอยู่ในโปรแกรม Photoshop

การบันทึกไฟล์ภาพ

เมื่อตกแต่งภาพเสร็จแล้วก็ต้องบันทึกไฟล์ภาพเก็บไว้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

    ขั้นที่ 1 คลิกเลือกคำสั่ง File > Save As บางคนใช้คำสั่ง File > Save ซึ่ง 2 คำสั่งนี้ให้ผลต่างกัน ถ้าใช้ File > Save จะเป็นการบันทึกภาพที่ตกแต่งแล้วแทนที่ภาพต้นฉบับเดิม ทำให้ภาพต้นฉบับเดิมหายไป แต่ถ้าเลือกคำสั่ง File > Save As จะเป็นการบันทึกโดยตั้งชื่อให้กับไฟล์ภาพที่ตกแต่งแล้วใหม่ทำให้ภาพต้นฉบับยังอยู่ ดังนั้นในที่นี้จะใช้คำสั่ง File > Save As เมื่อเลือกแล้วจะปรากฏกรอบ Save As ขึ้นมา

    ขั้นที่ 2 ตั้งชื่อไฟล์ใหม่ที่จะทำการบันทึก

    ขั้นที่ 3 ระบุโฟลเดอร์ที่ต้องการจัดเก็บไฟล์ในฟิลด์ Save in

   ขั้นที่ 4 เลือกรูปแบบไฟล์ที่จะบันทึกซึ่งมีมากหลายรูปแบบ ถ้าเราตกแต่งภาพแล้วแต่คิดว่าเราอาจจำเป็นต้องนำภาพนั้นมาตกแต่งอีกในภายหลัง ก็ให้เลือกบันทึกนามสกุลไฟล์เป็น*.PSD ซึ่งเป็นไฟล์งานของ Photoshop เมื่อบันทึกไว้แล้ว นำมาเปิดใช้งานใหม่ก็จะยังคงแสดงรูปแบบไฟล์งาน ที่ทำการบันทึกไว้เหมือนเดิมทุกประการ ทำให้สามารถตกแต่งเพิ่มเติมใหม่ได้อีก แต่หากทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้วและต้องการบันทึกเป็นไฟล์ภาพ ให้เลือกบันทึกนามสกุลเป็น *.JPG โปรแกรมจะบันทึกไฟล์ภาพที่ตกแต่งเสร็จแล้วเป็นเลเยอร์เดียว จะกลับมาแก้ไขแต่ละเลเยอร์ไม่ได้

    ขั้นที่ 5 คลิกในเช็คบ็อกซ์ เพื่อเพิ่มเติมค่าต่างๆ ซึ่งจะมีให้เติมแตกต่างกันตามลักษณะรูปแบบนามสกุลไฟล์ที่บันทึก

    ขั้นที่ 6 คลิกปุ่ม Save

    ขั้นที่ 7 ถ้า Save แบบ *.JPG จะขึ้นกรอบ JPEG Options ให้เลือกใส่ค่าคุณภาพของภาพที่ต้องการ

    ขั้นที่ 8 คลิกปุ่ม OK

 

(บทที่ 7) การโอนและจัดการไฟล์ภาพด้วย Adobe Bridge CS4

    หลังจากการถ่ายภาพเสร็จสิ้นลง ขั้นตอนต่อมาคือการโอนข้อมูลไฟล์ภาพจากกล้องหรือจากการ์ดหน่วยความจำ เข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์และจัดการกับไฟล์ภาพเหล่านั้น ซึ่งมีโปรแกรมช่วยในการโอนและจัดการไฟล์ภาพหลายโปรแกรม ในที่นี้จะนำเสนอด้วยโปรแกรม Adobe Bridge CS4ซึ่งเป็นโปรแกรมเสริมจากการติดตั้งในชุด Creative Suite CS4

ส่วนประกอบสำคัญของ Adobe Bridge CS4

แถบเครื่องมือพื้นฐาน

    เราสามารถจัดการกับไฟล์ภาพต่างๆ และเลือกใช้ Workspace ของ Adobe Bridge CS4 โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานต่างๆ ต่อไปนี้

การเลือก Workspace เพื่อการใช้งาน

    Workspace เป็นพื้นที่ทำงานเพื่อดูภาพใน Adobe Bridge CS4 สามารถเลือกได้หลายรูปแบบตามความต้องการใช้งาน ดังนี้

    ESSENTIALS : แสดงภาพและพาเนลที่จำเป็นทั้งหมด

    FILMSTRIP : แสดงภาพและภาพตัวอย่างในแนวนอนเหมาะสำหรับการเปรียบเทียบภาพ

 

    METADATA : แสดงภาพพร้อมข้อมูลจำเพาะของภาพ

    OUTPUT : ใช้สร้าง Output ให้ภาพที่เลือกว่าจะ Export เป็น PDF หรือ WEB GALLERY

    KEYWORDS : แสดงภาพพร้อมกับคีย์เวิร์ด

    PREVIEW : แสดงภาพและภาพตัวอย่างในแนวตั้ง เหมาะสำหรับการเปรียบเทียบ

    LIGHT TABLE : แสดงภาพโดยซ่อนพาเนลทั้งหมด

    FOLDERS : แสดงภาพและพาเนล FOLDERS เท่านั้น เพื่อให้สามารถคลิกเลือกภาพจากแหล่งอื่นได้ง่ายขึ้น

การโอนไฟล์ภาพไว้ในคอมพิวเตอร์ด้วย Adobe Bridge CS4

    โปรแกรม Adobe Bridge CS4 ขอเรียกสั้นๆ ว่า Bridge การนำไฟล์ภาพมาไว้ในคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม Bridge มีขั้นตอนดังนี้

    ขั้นที่ 1 อันดับแรกให้เปิดโปรแกรม Bridge ขึ้นมาก่อนแล้วต่อกล้องที่ช่อง USB หรือเสียบการ์ดหน่วยความจำ ที่ช่อง Card Reader ของคอมพิวเตอร์ (อาจเสียบที่ Card Reader จากภายนอกก็ได้) จากนั้นคลิกที่ไอคอน Get Photos from Camera หรือคลิกที่เมนู File > Get Photo fromCamera

    ขั้นที่ 2 การคลิกที่ไอคอน Get Photos from Camera จะเป็นการเปิดกรอบ Photo Downloader ขึ้นมาในรูปแบบ Standard Dialog ให้คลิกเลือก แหล่งข้อมูลไฟล์ภาพจากเมนูป็อปอัพใต้ Get Photos from จะปรากฏภาพเพียงหนึ่งภาพทางด้านบนซ้าย แต่มองภาพไม่ชัดให้ลองเปลี่ยน มาเป็นรูปแบบ Advanced Dialog ตามขั้นที่ 3

    ขั้นที่ 3 คลิกที่ปุ่ม Advanced Dialog ตรงมุมด้านซ้ายล่าง ก็จะเปลี่ยนมาเป็น Advanced Dialog โดยมีภาพพรีวิวแบบทัมบ์เนลทางซ้ายทุกภาพและมีตัวเลือกสำคัญๆ อยู่ทางขวา ค่าที่กำหนดให้ (ดีฟอลต์) โปรแกรมจะโหลดภาพทุกภาพที่อยู่ในกล้องหรือในการ์ดที่แสดงเป็นทัมบ์เนลให้เห็นนี้เข้าคอมพิวเตอร์ทั้งหมด แต่ถ้าไม่ต้องการภาพไหนให้เอาเครื่องหมาย / ตรงเช็คบ็อกซ์ของภาพนั้นออกไปและถ้าต้องการภาพเพียงบางภาพเท่านั้นให้คลิกปุ่ม Uncheck All ซึ่งอยู่ทางด้านล่างซ้ายแล้วกดคีย์ Ctrl ค้างไว้พร้อมกับคลิกบนภาพที่ต้องการโหลด ภาพที่ถูกเลือกจะปรากฏเป็นโฮไลต์ เมื่อเลือกภาพได้ตามต้องการแล้วให้คลิกทำเครื่องหมาย / ในเช็คบ็อกซ์ของภาพใดก็ได้ที่เลือกไว้ จะทำให้ภาพที่ทำไฮไลต์ไว้มีเครื่องหมาย / ทุกภาพ แสดงว่าภาพถูกเลือกแล้ว

    ขั้นที่ 4 เมื่อเลือกภาพได้แล้ว ให้ระบุว่าจะโหลดเอาภาพเหล่านี้ไปเก็บไว้ที่ไหน ซึ่งโดยปกติแล้ว ภาพจะถูกเก็บไว้ในโฟลเดอร์ My Pictures แต่ถ้าต้องการเก็บภาพไว้ที่อื่น ให้คลิกปุ่ม Browse แล้วเลือกว่าจะเก็บไว้ที่ใด

    ขั้นที่ 5 เมื่อเลือกที่เก็บภาพได้แล้วโปรแกรมจะสร้างโฟลเดอร์ ขึ้นมาเก็บภาพโดยตั้งชื่อโฟลเดอร์เป็นวันที่ถ่ายภาพ ถ้าเราต้องการตั้งชื่อโฟลเดอร์ใหม่ ให้มีความหมาย เกี่ยวข้องกับภาพที่ถ่าย ให้เลือกเมนูป็อปอัพตรง Create Subfolder(s) เป็น Custom Name แล้วตั้งชื่อใหม่ตามต้องการ

    ขั้นที่ 6 ชื่อของไฟล์ภาพที่โหลดมาจะเป็นชื่อตามที่กล้องตั้งให้ ซึ่งสื่อความหมายไม่ค่อยชัดเจน ถ้าจะตั้งชื่อใหม่ Photo Downloader สามารถช่วยให้เราตั้งชื่อไฟล์ภาพใหม่ได้ โดยคลิกตรงเมนูป็อปอัพ Rename Files แล้วเลือกรูปแบบการตั้งชื่อที่ต้องการ

    ขั้นที่ 7 ถ้าเลือกรูปแบบตั้งชื่อเป็น Custom Name ก็จะมีฟิลด์ข้อความปรากฏขึ้นมาใต้เมนูป็อปอัพ ให้พิมพ์ชื่อที่ต้องการลงไป ส่วนฟิลด์ที่อยู่ข้างขวาให้ใส่ค่าตัวเลขที่ต้องการให้เริ่มจัดลำดับภาพลงไป ซึ่งใต้ฟิลด์ที่กรอกชื่อลงไปนั้น จะแสดงตัวอย่างของชื่อตามเงื่อนไขที่เราตั้งไว้ให้เห็นและมีเช็คบ็อกซ์ให้เลือกอีกว่า จะเก็บชื่อเดิมของภาพเอาไว้หรือไม่ ก็ควรเลือกไว้เพราะไม่แน่ว่าเราอาจต้องใช้ภายหลังก็ได้

    ขั้นที่ 8 ในส่วนของ Advanced Options จะมีเช็คบ็อกซ์เลือกไว้ให้เปิดโปรแกรม Bridge ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ เช็คบ็อกซ์ถัดมาใช้สำหรับแปลงไฟล์ RAW ซึ่งมีอยู่หลายฟอร์แมตตามยี่ห้อของกล้องให้เป็นไฟล์ DNG เพื่อให้สามารถนำมาใช้กับ Photoshop CS4 ได้ทันที เช็คบ็อกซ์ถัดมาคือ Delete Original File เช็คบ็อกซ์ตัวนี้ไม่ควรเลือกเพราะเป็นการสั่งให้ลบภาพทั้งหมดออกจากการ์ดหน่วยความจำเมื่อโอนย้ายภาพไปไว้ในคอมพิวเตอร์แล้ว เหตุที่ไม่ควรเลือกเพราะถ้าหากไฟล์ที่เรานำไปไว้ในคอมพิวเตอร์เกิดเสียหายขึ้นมาเราจะไม่มีไฟล์ภาพต้นฉบับไว้ใช้ เช็คบ็อกซ์ตัวสุดท้ายคือSave Copies to เพื่อให้โปรแกรมสำเนาไฟล์ภาพไปยังไดรฟ์อื่น ๆ ที่อยู่นอกเครื่องคอมพิวเตอร์โดยคลิกที่เช็คบ็อกซ์ Save Copies to แล้วคลิกปุ่ม Browse เลือกไดรฟ์ที่ต้องการเก็บสำเนาภาพ

    ขั้นที่ 9 ถัดลงมาเป็นส่วนของ Apply Metadata ใช้สำหรับใส่ข้อมูลเพิ่มเติมให้กับภาพ เช่น ชื่อผู้ถ่าย หรือข้อมูลลิขสิทธิ์ โดยคลิกในฟิลด์ Creator แล้วพิมพ์ชื่อผู้ถ่าย ต่อไปคลิกที่ฟิล์ด Copyright แล้วพิมพ์ข้อมูลลิขสิทธิ์ลงไป ข้อมูลเหล่านี้จะติดไปพร้อมกับภาพเมื่อภาพถูกโหลดเข้าคอมพิวเตอร์

    ขั้นที่ 10 เมื่อกำหนดค่าต่างๆ ที่ต้องการเสร็จแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม Get Photos ซึ่งอยู่ตรงมุมล่างขวา โปรแกรมก็จะโหลดภาพเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ขณะโหลด เราสามารถมองเห็นภาพที่กำลังถูกโหลดด้วย

    ขั้นที่ 11 เมื่อโหลดไฟล์ภาพเสร็จแล้ว จะปรากฏภาพในลักษณะทัมบ์เนลแสดงอยู่ใน Bridge ซึ่งทำให้เราสามารถจัดการภาพเหล่านี้ได้สะดวกขึ้น ดังจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป

การดูภาพแบบเต็มจอในโหมด Full Screen

    Full Screen เป็นโหมดแสดงภาพเต็มจอปกติ และในขณะดูภาพแบบเต็มจอเรายังสามารถย่อ-ขยาย ดูภาพในสัดส่วน 100-800 % ได้อีกด้วย มีขั้นตอนดังนี้

    ขั้นที่ 1 คลิกเลือกภาพแล้วไปที่เมนู View>Full Screen Preview หรือกดปุ่ม <Space Bar> ภาพจะแสดงออกมาเต็มจอ

    ขั้นที่ 2 คลิกเม้าส์บนภาพจะเป็นการขยายภาพ 100%

    ขั้นที่ 3 เลื่อน Mouse Wheel ที่ตัวเมาส์ เพื่อขยายภาพเป็น 800%

    ขั้นที่ 4 เมื่อขยายภาพสามารถใช้เมาส์ลากภาพเพื่อแสดงให้เห็นแต่ละส่วนของภาพได้

    ขั้นที่ 5 ขณะแสดงภาพในโหมด Full Screen ถ้าจะดูภาพต่อๆ ไป หรือย้อนกลับไปดูภาพเดิมให้กดปุ่มลูกศรที่แป้นคีย์บอร์ด ซ้าย-ขวา

    ขั้นที่ 6 เมื่อต้องการกลับเข้าสู่โหมดปกติให้กด ปุ่ม <Esc>

การดูภาพแบบ Slideshow

    การแสดงภาพแบบ Slideshow ใน Bridge มีเอฟเฟ็กต์การแสดงภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจหลายแบบ มีขั้นตอนดังนี้

    ขั้นที่ 1 ให้คลิกที่เมนู View>Slideshow ภาพก็จะแสดง Slideshow ตามค่าที่ตั้งมาแบบ ดีฟอลต์ หรือตามค่าที่เราตั้งไว้หลังสุด ที่มีการปรับตั้งค่า แต่ถ้าเราต้องการปรับเปลี่ยนตั้งค่าใหม่ ให้ทำตามขั้นที่ 2

    ขั้นที่ 2 การปรับตั้งค่าการแสดงแบบ Slideshow ให้คลิกที่เมนู View>Slideshow>Options จะปรากฏกรอบ Slideshow Options มาให้

    ขั้นที่ 3 ในกรอบ Slideshow Option ด้านบนสุดจะเป็นส่วนของ Display Options สำหรับคนที่ใช้ 2 หน้าจอ หากคลิกเลือกที่เช็คบ็อกซ์แรกจะเป็นการสั่งปิดหน้าจอหนึ่งไปเพื่อให้สไลด์ แสดงอยู่เพียงหน้าจอเดียวสำหรับเช็คบ็อกซ์ Repeat Slideshow หากเลือกจะทำให้แสดงสไลด์วนซ้ำไปเรื่อยๆ ถัดมาเป็นเช็คบ็อกซ์ Zoom Back And Forth หากเลือกจะทำให้ภาพค่อยๆ เลื่อนเข้ามาหาหน้าจอและเลื่อนออกไปช้าๆ ทำให้ภาพสไลด์ดูเหมือนเคลื่อนไหวได้

    ขั้นที่ 4 ส่วนต่อมาเป็น Slide Option เป็นตัวเลือกเกี่ยวกับการแสดงผลของสไลด์ เช่น ระยะเวลาที่ต้องการให้ภาพปรากฏอยู่บนจอ โดยคลิกเลือกที่เมนูป็อปอัพตรง Slides Duration ว่าจะให้ภาพแสดงอยู่กี่วินาที หรือจะเลือกเป็นแบบ Manual เมื่อต้องการเปลี่ยนภาพเองด้วยการกดลูกศรที่แป้นคีย์บอร์ด และถ้าต้องการกำหนดรายละเอียดของภาพแบบต่างๆให้คลิกเลือกที่เมนูป็อปอัพตรง Caption ถัดมาเป็นการกำหนดตำแหน่งและขนาดของภาพในการแสดง Slideshow ถ้าเลือก Centered ภาพจะอยู่กลางจอโดยมีพื้นสีเทาเป็นกรอบภาพ ถ้าเลือก Scaled to Fit ภาพจะพอดีกับความสูง(ถ้าเป็นภาพแนวตั้ง) หรือพอดีกับความกว้าง(ถ้าเป็นภาพแนวนอน) ตัวเลือกนี้ภาพบางขนาดจะมีสีเทาแสดงขึ้นมาเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเลือก Scaled to Fill ภาพจะขยายขึ้นจนเต็มจอทั้งภาพแนวตั้งและแนวนอน

    ขั้นที่ 5 ส่วนสุดท้ายคือ Transition Options เป็นส่วนที่ให้กำหนดรูปแบบการเปลี่ยนภาพ โดยคลิกเลือกที่เมนูป็อปอัพตรง Transition ซึ่งมีให้เลือกหลายรูปแบบ ส่วนตัวเลื่อน Transition Speed เป็นตัวกำหนดความเร็วขณะเปลี่ยนภาพโดยแดรกเมาส์ลากไปยังตำแหน่ง Faster หรือ Slowerตามต้องการ

    ขั้นที่ 6 คลิกที่ ปุ่ม Play จะเริ่มแสดงภาพแบบสไลด์โชว์ตามค่าที่ตั้งไว้

    ขั้นที่ 7 ขณะแสดงภาพถ้าต้องการหยุดภาพชั่วคราวให้กดที่ปุ่ม <Spacebar> และถ้าต้องการแสดงภาพต่อให้กดที่ปุ่ม <Spacebar> ซ้ำ เมื่อคลิกเมาส์ไปที่ภาพที่กำลังแสดงอยู่จะเป็นการซูมขยายภาพ 100 % นอกจากนี้ยังสามารถเลื่อน Mouse Wheel เพื่อซูมขยายภาพได้ถึง 800 % ขณะที่เรากำลังซูมขยายภาพ การแสดงภาพแบบ Slideshow จะหยุดทำงานชั่วคราว ถ้าต้องการให้แสดงภาพแบบ Slideshow ต่อให้กดที่ปุ่ม <Spacebar>

    ขั้นที่ 8 ถ้าต้องการออกจาก Slideshow ให้กดปุ่ม <Esc>

การหมุนภาพ

    การหมุนภาพใน Bridge เป็นการหมุนภาพเฉพาะทัมบ์เนลเท่านั้น ตัวภาพจริงไม่ได้ถูกหมุนตามไปด้วย การหมุนภาพสามารถหมุนภาพได้ 2 วิธี คือการหมุนเฉพาะภาพทัมบ์เนล และการหมุนภาพจริง มีขั้นตอนดังนี้

    การหมุนภาพเฉพาะทัมบ์เนล

    ขั้นที่ 1 ให้คลิกภาพที่ทัมบ์เนลก่อน

    ขั้นที่ 2 คลิกที่ไอคอนรูปลูกศรตรงมุมขวาบนของ Bridge ให้หมุนตามเข็มหรือทวนเข็มนาฬิกา

    ขั้นที่ 3 ภาพทัมบ์เนลก็จะหมุนตามที่เราต้องการ

    การหมุนภาพจริง

    การหมุนภาพทัมบ์เนล ภาพตัวจริงจะไม่ถูกหมุนไปด้วยพิสูจน์ได้โดยลองเปิดดูภาพทัมบ์เนลในโฟลเดอร์ที่เก็บภาพ จะพบว่าภาพจริงยังไม่ถูกหมุนเลย

    การทำให้ภาพตัวจริงหมุนเหมือนภาพทัมบ์เนลที่หมุนไว้แล้ว

    ขั้นที่ 1 ให้ดับเบิ้ลคลิกภาพทัมบ์เนลที่หมุนไว้แล้วใน Bridge ภาพจะถูกเปิดขึ้นมาด้วยโปรแกรม Photoshop โดยจะปรากฏเป็นภาพที่ถูกหมุนไว้แล้วตามคำสั่งใน Bridge

    ขั้นที่ 2 จากนั้นให้คลิกเลือกเมนู File>Save จะขึ้นกรอบให้เลือกตั้งค่าคุณภาพของภาพ เมื่อเลือกแล้วให้คลิก OK เพื่อให้ภาพอยู่ในสภาพที่หมุนไว้แล้วตลอดไป

    ขั้นที่ 3 เมื่อเปิดดูภาพทัมบ์เนลในโฟลเดอร์ที่เก็บภาพจะพบว่าภาพจริงถูกหมุนแล้ว

การเข้าถึงไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่เก็บภาพ

    การเข้าถึงไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่เก็บภาพ สามารถเข้าถึงได้โดยใช้พาเนล FAVORITES และ FOLDERS

    พาเนล FAVORITES เป็นที่เก็บโฟลเดอร์ที่เราใช้งานบ่อยๆ เราสามารถเข้าสู่ไฟล์ภาพโดยคลิกไปที่โฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ภาพนั้นๆในพาเนล FAVORITES ภาพก็จะถูกแสดงออกมาเในรูปแบบทัมบ์เนล วิธีการนำโฟลเดอร์ที่ใช้งานบ่อยๆ มาไว้ในพาเนล FAVORITES มีขั้นตอนดังนี้

    ขั้นที่ 1 คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการใน CONTENT แล้วแดรกเมาส์ไปวางไว้ในพาเนล FAVORITES

    ขั้นที่ 2 โฟลเดอร์จะเข้าไปอยู่ในพาเนล FAVORITES ถ้าคลิกเม้าส์ที่โฟลเดอร์นั้น ภาพทั้งหมดจะถูกแสดงออกมาในรูปแบบทัมบ์เนลที่ CONTENT

    ขั้นที่ 3 เมื่อไม่ต้องการใช้งานโฟลเดอร์นี้ ให้คลิกขวาที่โฟลเดอร์แล้วเลือก Remove from Favorites

    พาเนล FOLDERS การใช้งานจะเหมือนกับโปรแกรมพื้นฐานทั่วๆไป จะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้

    การคัดกรองภาพ

    การคัดกรองภาพ เป็นการคัดเลือกภาพที่มีอยู่เป็นจำนวนมากให้เหลือเฉพาะภาพที่ต้องการเราสามารถค้นหาภาพและคัดเลือกภาพที่ต้องการได้หลายวิธีดังนี้

    การคัดกรองภาพด้วยวิธี Rating

    เป็นการจัดระดับคุณภาพหรือความต้องการให้กับภาพที่ถ่ายโดยการให้ดาว 5 , 4 , 3 , 2 , 1 ดวงภาพที่ได้ดาว 5 ดวง ก็จะเป็นภาพที่มีคุณภาพอยู่ในระดับสูงที่สุดหรือตรงกับความต้องการของผู้ถ่ายมากที่สุด ส่วนภาพที่มีดาวน้อยลงไปก็จะถูกจัดว่ามีคุณภาพหรือตรงกับความต้องการของผู้ถ่ายน้อยลงตามลำดับ วิธีการจัด Rating มีดังนี้

        ขั้นที่ 1 เปิดภาพขึ้นมาใน Bridge ภาพจะปรากฏเรียงไว้ตามลำดับตัวอักษรของชื่อไฟล์ภาพ เราสามารถเปลี่ยนวิธีการเรียงภาพใหม่โดยคลิกที่คำว่า Sort by Filename ในแถบเครื่องมือพื้นฐานจะปรากฏเมนูป็อปอัพขึ้นมาให้คลิกเลือกวิธีการเรียงลำดับภาพตามที่เราต้องการ

        ขั้นที่ 2 เลือกดูภาพที่เราต้องการ อาจดูภาพด้วยโหมด Full Screen Preview โดยคลิกเลือกภาพที่ต้องการแล้วกดที่ปุ่ม Spacebar จะทำให้ภาพเต็มจอและเมื่อกด Spacebar ซ้ำอีกภาพก็จะกลับไปเหมือนเดิม

        ขั้นที่ 3 ใส่ดาวให้กับภาพมี 5 ระดับ 5,4,3,2,1 ดวง ซึ่งเมื่อคลิกภาพจะปรากฏจุดใต้ภาพ 5 จุด ให้แดรกเมาส์ไปที่จุดเหล่านั้น จุดจะกลายเป็นรูปดาวตามจำนวนที่เราต้องการจุดละ 1 ดวง

        ขั้นที่ 4 เมื่อต้องการให้แสดงภาพตามที่เราเลือกไว้ ก็เพียงแต่คลิกปุ่มดาวที่แถบเครื่องมือมือพื้นฐาน จะปรากฏเมนูป็อปอัพขึ้นมาให้คลิกเครื่องหมาย / เพื่อแสดงภาพตามจำนวนดาวที่
เราต้องการ เช่น ถ้าต้องการให้แสดงภาพเฉพาะ 5 ดาว ให้คลิกปุ่มดาวที่แถบเครื่องมือพื้นฐาน แล้วคลิกเลือก Show 5 Stars ก็จะปรากฏภาพเฉพาะ 5 ดาว แสดงออกมาที่กรอบ Content และถ้าต้องการให้กลับมาเหมือนเดิมให้คลิกเอาเครื่องหมาย / ออก การแสดงภาพก็จะกลับมาเหมือนเดิม

การคัดกรองภาพด้วยการสร้าง Label

    การคัดกรองภาพด้วยการสร้าง Label เป็นการป้ายแถบสีตรงจุดใต้ภาพ เพื่อระบุให้ทราบข้อมูลต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ว่าแถบสีใดหมายความว่าอย่างไร เช่น แถบสีแดง หมายถึงภาพที่ถูกเลือก เป็นต้น ขั้นตอนการสร้างแถบสีมีดังนี้

    ขั้นที่ 1 คลิกเลือกภาพที่ต้องการสร้าง Label

    ขั้นที่ 2 คลิกเมนู Label แล้วเลือกลักษณะงานที่ต้องการ เช่น เลือก Select

    ขั้นที่ 3 ลักษณะแถบสีที่เกิดขึ้นจากการสร้าง

 

    ขั้นที่ 4 เมื่อสร้างแถบสีแล้วต้องการลบแถบสี ให้คลิกที่ภาพที่ต้องการลบแถบสี แล้วคลิกที่เมนู Label จากนั้นคลิกเลือก No Labelแถบสีจะหายไป

    ขั้นที่ 5 เราสามารถตั้งชื่อเพื่อแสดงความหมาย ของแถบสีต่างๆได้โดยคลิกปุ่ม Ctrl+K จะปรากฏกรอบPreferences แล้วคลิกที่หมวด Labelsทางซ้ายมือ จากนั้นเข้าไปตั้งชื่อให้กับแถบสีต่างๆ ใหม่ได้

    ขั้นที่ 6 การค้นหาภาพที่ใส่แถบสีไว้ ให้คลิกปุ่มดาวที่แถบเครื่องมือพื้นฐาน แล้วคลิกเลือก Show Labeled Items Only ก็จะแสดงภาพที่สร้างแถบสีไว้ทั้งหมดขึ้นมา

    การคัดกรองภาพด้วยพาเนล FILTER

    พาเนล FILTER ใช้คัดกรองภาพถ่ายจากข้อมูลจำเพาะ เช่น วันที่ถ่าย ความเร็วชัตเตอร์ การเปิดรูรับแสง ภาพแนวตั้ง ภาพแนวนอน ฯลฯ เป็นต้น ขั้นตอนมีดังนี้

    ขั้นที่ 1 คลิกเปิดพาเนล FILTER จะปรากฏเงื่อนไขต่างๆ ที่ใช้คัดกรองขึ้นมา

 

    ขั้นที่ 2 คลิกเลือกเงื่อนไข สำหรับคัดกรองภาพเช่น คลิกที่ Orientation แล้วคลิกว่า จะเลือกเฉพาะภาพแนวนอน (Landscape) หรือแนวตั้ง (Portrait)

    ขั้นที่ 3 จากขั้นตอนที่ 2 เมื่อคลิกเลือกภาพแนวตั้งภาพจะถูกคัดกรอง ให้แสดงเฉพาะภาพแนวตั้งเท่านั้น

    การคัดกรองภาพด้วยพาเนล COLLECTIONS

    เป็นการคัดกรองภาพโดยการสร้าง Collections ใหม่ให้กับไฟล์ภาพ เมื่อจะใช้งานก็เพียงแค่คลิกที่ COLLECTIONS ที่สร้างไว้ก็จะปรากฏภาพที่ต้องการ การสร้าง Collections ทำได้ 2 ลักษณะคือ การนำภาพที่คลิกเลือกมาสร้างเป็น Collections ใหม่ และอีกวิธีหนึ่งคือการสร้าง Collections ตามเงื่อนไขที่กำหนดเพื่อเลือกเฉพาะภาพที่ต้องการเท่านั้น ขั้นตอนมีดังนี้

        การนำภาพที่คลิกเลือกมาสร้างเป็น Collections ใหม่มีขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 ให้คลิกที่คำว่า ESSENTIALS บนแถบเครื่องมือพื้นฐาน
ขั้นที่ 2 คลิกที่โฟลเดอร์ที่ต้องการดูภาพ จะปรากฏภาพขึ้นมาให้เลือกใน CONTENT จากนั้นกดคีย์ Ctrl + คลิกภาพที่ต้องการหรือกดคีย์ Ctrl + A เพื่อเลือกภาพทั้งหมด
ขั้นที่ 3 คลิกที่ปุ่ม New Collections ของพาเนล COLLECTIONS ที่อยู่ทางซ้ายของหน้าต่างโปรแกรม จะมีกรอบถามเราว่าต้องการนำภาพที่เลือกใส่ไว้ใน Collections ที่สร้างไว้หรือไม่ ให้คลิก Yes
ขั้นที่ 4 เมื่อคลิก “Yes” Bridge จะสร้าง Collections ใหม่ไว้ในพาเนล COLLECTIONS โดยยังไม่ตั้งชื่อ พร้อมแสดงภาพออกมาในเราสามารถคลิกเข้าไปตั้งชื่อใหม่ได้
ขั้นที่ 5 การเปิดดูภาพใน Collections ที่สร้างไว้คราวต่อ ๆ ไป ก็เพียงแค่คลิกตรงชื่อ Collections ที่สร้างไว้ ก็จะปรากฏภาพในCollections นั้นแสดงออกมาใน CONTENT

 

    การสร้าง Collections ตามเงื่อนไข มีขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 คลิกที่ปุ่ม New Smart Collections ที่อยู่คู่กับ New Collections
ขั้นที่ 2 กำหนดเงื่อนไขเพื่อเลือกภาพตามต้องการ เช่น เลือกค่า ISO
ขั้นที่ 3 กรอกค่า ISO ที่ต้องการลงไป แล้วคลิก Save
ขั้นที่ 4 เมื่อคลิก Save โปรแกรม Bridge จะสร้าง Collections ใหม่ไว้ในพาเนล COLLECTIONS โดยยังไม่ไม่ตั้งชื่อ เราสามารถคลิกเข้าไปตั้งชื่อใหม่ได้ และจะแสดงเฉพาะภาพตามค่า ISO ที่ต้องการออกมา

การเปิดดูข้อมูลและเพิ่มข้อมูลให้กับไฟล์ภาพ

ขณะที่ถ่ายภาพกล้องจะฝังข้อมูลบางอย่างลงในภาพเรียกว่าข้อมูล EXIF เช่น ยี่ห้อและรุ่นของกล้องที่ใช้ถ่าย เลนส์ที่ใช้ ความเร็วชัตเตอร์ ขนาดรูรับแสง ฯลฯ เป็นต้น เราสามารถดูข้อมูลเหล่านี้ผ่าน Bridge และเพิ่มข้อมูลลงไปได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้ถ่าย ข้อมูลลิขสิทธิ์ และ Bridge ยังแสดงข้อมูลจำเพาะเกี่ยวกับตัวภาพได้อีกด้วย เช่น ขนาดภาพ จำนวนพิกเซล โหมดสี ฯลฯ เป็นต้น เราสามารถเปิดดูและเพิ่มข้อมูลภาพโดยใช้พาเนล METADATA มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 คลิกเลือก Workspace แบบ ESSENTIALS
ขั้นที่ 2 คลิกภาพที่ต้องการดูข้อมูลจะปรากฏภาพในส่วนของ Preview ใต้ภาพลงมาจะมี
พาเนล METADATA ให้คลิกที่พาเนล METADATA จะพบภาพจำลองหน้าจอ LCD ของกล้องแสดงอยู่ตรงด้านบนซ้ายของพาเนล ในหน้าจอนี้จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการถ่ายภาพ เช่น ขนาดรูรับแสงความเร็วชัตเตอร์ ค่า ISO โหมดการวัดแสง ส่วนด้านบนขวาของพาเนลจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับไฟล์ภาพเช่น ความกว้างและความยาวของภาพ ขนาดของไฟล์ ความละเอียดของภาพ เป็นต้น ถัดลงมาด้านล่างจะเป็นส่วนของ File Properties เป็นส่วนที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับภาพอย่างละเอียด

 

ขั้นที่ 3 ลากแถบตัวเลื่อนลงมาถึงส่วน IPTC Core เราสามารถเพิ่มเติมข้อมูลต่าง ๆ ลงในส่วนของ IPTC Core เช่น ชื่อผู้ถ่าย ข้อมูลในการติดต่อ โดยคลิกที่ไอคอนสามเหลี่ยมใกล้ ๆ กับคำว่า IPTC Core จะปรากฏฟิลด์ให้เติมข้อมูล ฟิลด์ใดมีรูปดินสออยู่แสดงว่าเพิ่มเติมข้อมูลได้
ขั้นที่ 4 การเพิ่มข้อมูลทำได้โดยคลิกที่ฟิลด์นั้นๆ เช่น Creator ก็พิมพ์ชื่อผู้ถ่ายลงไปและกดคีย์ Tab เพื่อเลื่อนไปยังฟิลด์ถัดไป เมื่อพิมพ์ข้อมูลได้ตามต้องการแล้วให้กดคีย์ Enter หรือคลิกที่เครื่องหมาย/ ด้านล่างของพาเนล
ขั้นที่ 5 ถ้าต้องการเพิ่มข้อมูลให้ภาพครั้งละหลาย ๆ ภาพ ให้กดคีย์ Ctrl + A เพื่อเลือกภาพทั้งหมด หรือกดคีย์ Ctrl + คลิกเลือกภาพที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่ดินสอด้านขวาของฟิลด์ข้อมูลที่ต้องการใส่ลงในภาพ และพิมพ์ข้อมูลลงไปตามต้องการ เสร็จแล้วกดคีย์ Enter


ขั้นที่ 6 ลากแถบตัวเลื่อนลงมาจะถึงส่วนของ Camera Data (EXIF) เป็นข้อมูลที่กล้องสร้างขึ้นมาขณะกดชัตเตอร์ถ่ายภาพ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ ใช้สำหรับดูข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้

การค้นหาภาพด้วยพาเนล KEYWORDS

    ถ้าเราต้องการคัดกรองค้นหาภาพ ตามประเภทของภาพที่ถ่ายออกมา เช่น ภาพดอกไม้ภาพบุคคล ภาพทิวทัศน์ สามารถใช้พาเนล KEYWORDS ซึ่งอยู่คู่กับพาเนล METADATA ค้นหาได้ขั้นตอนมีดังนี้

ขั้นที่ 1 คลิกที่ Workspace ESSENTIALS แล้วคลิกที่พาเนล KEYWORDS จะพบตัวอย่างประเภทของ Keywords ที่กำหนดไว้ให้ ถ้าต้องการสร้าง Keywords ใหม่ให้ทำตามขั้นที่ 2
ขั้นที่ 2 คลิกที่ปุ่ม ด้านล่างขวาของพาเนลแล้วกรอกชื่อ Keywords ที่ต้องการลงไปแล้วกดคีย์ Enter เมื่อตั้งชื่อเสร็จ Keywords ใหม่ (เมืองโบราณ) จะเพิ่มขึ้นมาจากที่มีอยู่เดิม เราสามารถลบออกได้โดยคลิกขวาที่ Keywords นั้น แล้วคลิก Delete
ขั้นที่ 3 คลิกเลือกภาพที่ต้องการเก็บไว้ใน Keywords ที่สร้างขึ้น โดยกดคีย์ Ctrl + คลิกภาพที่ต้องการ
ขั้นที่ 4 คลิกใส่เครื่องหมาย / ใน Keywords ที่สร้างขึ้น
ขั้นที่ 5 เมื่อต้องการค้นหาภาพจาก Keywords ให้กรอกชื่อ Keyword (เมืองโบราณ) ที่มุมบนขวา แล้วกดคีย์ Enter

ขั้นที่ 6 ภาพที่มี Keywordsตรงกันจะแสดงออกมาทั้งหมด
ขั้นที่ 7 ถ้าต้องการลบภาพใดออกจาก Keywords ให้คลิกที่ภาพนั้นแล้วเอาเครื่องหมาย / ที่Keywords ออก
ขั้นที่ 8 เมื่อเปิดดูโดยกรอกชื่อ Keyword (เมืองโบราณ) ที่มุมบนขวาแล้วกดคีย์ Enter ก็จะพบว่าภาพที่ลบ Keywordแล้วหายไป

การลบภาพหรือโฟลเดอร์ออกจาก Bridge

การลบภาพหรือโฟลเดอร์ออกจาก Bridge มีขั้นตอน 2 ขั้น

ขั้นที่ 1 คลิกเลือกภาพหรือโฟลเดอร์ที่ต้องการลบแล้วกดคีย์ Delete โปรแกรมจะยังไม่ลบแต่จะแสดงกรอบถามเราว่าจะแยกภาพไว้ใน Reject หรือต้องการลบเลย

1.1 ถ้าเราเพียงแต่ต้องการแยกภาพไว้ใน Reject ให้คลิกที่ Reject จะปรากฏข้อความ Reject สีแดงใต้ภาพ
1.2 เราสามารถซ่อนภาพ Reject ไม่ให้แสดง โดยคลิกที่รูปดาวในเครื่องมือพื้นฐานให้แสดงเฉพาะภาพที่เราต้องการได้ เช่น ให้แสดงเฉพาะภาพที่ไม่ได้ใส่ Rating ก็คลิกที่รูปดาวแล้วเลือก Show Unrated Item Only
1.3 ถ้าเราต้องการลบภาพเหล่านั้นเลยให้คลิก Delete ก็จะเข้าสู่ขั้นที่ 2 และถ้าเรากำหนดเป็น Reject ภาพไว้ แล้วจะยกเลิก Reject ให้เข้าไปที่เมนู Label>Increase>Rating ภาพจะกลับมาเหมือนเดิม

ขั้นที่ 2 เมื่อคลิก Delete ในข้อ 1.3 แล้วก็ยังมีกรอบข้อความขึ้นมาถามอีกว่า เราแน่ใจที่จะลบภาพนี้ทิ้งลงในถังขยะหรือ ถ้าต้องการลบทิ้งให้คลิก OK ภาพก็จะถูกลบทิ้งไปไว้ในถังขยะ ถ้าเราจะข้ามขั้นที่ 1 สู่ขั้นที่ 2 เลย เมื่อคลิกภาพหรือโฟลเดอร์ที่ต้องการลบแล้วให้กดคีย์ Ctrl+Delete หรือคลิกขวาที่ภาพหรือโฟลเดอร์ที่ต้องการลบแล้วคลิก Delete ก็จะเข้าสู่ขั้นที่ 2 ทันที

การใช้งานคำสั่งอัตโนมัติร่วมกับ Photoshop

    ในขณะทำงานอยู่ใน Bridge เมื่อดับเบิ้ลคลิกไปที่ภาพใด ก็จะเป็นการเปิดภาพนั้นเข้าสู่โปรแกรม Photoshop CS4 ทันที นอกจากนี้ยังมีคำสั่งอื่น ๆ อีกภายใน Bridge เช่น คำสั่งเกี่ยวกับ
การปรับขนาดภาพ การต่อภาพพาโนรามา ซึ่งเมื่อใช้คำสั่งเหล่านี้ โปรแกรม Photoshop CS4 ก็จะถูกเปิดใช้เพื่อจัดการภาพทันที รายละเอียดมี ดังนี้

การปรับขนาดภาพ

ในการทำงานกับภาพถ่ายใน Photoshop อาจต้องมีการปรับขนาดภาพให้เหมาะกับงานที่ทำซึ่งเราสามารถปรับขนาดภาพผ่าน Bridge ไปสู่ Photoshop ได้ดังนี้

ขั้นที่ 1 เลือกไฟล์ภาพที่ต้องการ แล้วคลิกเมนู Tool>Photoshop>Image Processor

 ขั้นที่ 2 คลิก Select Folder เพื่อเลือกโฟลเดอร์เก็บภาพ
ขั้นที่ 3 กำหนดความสูงและความกว้างที่ต้องการ
ขั้นที่ 4 กำหนดคุณภาพของภาพสูงสุดเป็น 12 แล้วคลิก Run ก็จะได้ภาพตามขนาดที่เราต้องการอยู่ในโฟลเดอร์ที่เลือกไว้

 การต่อภาพพาโนรามา

ภาพพาโนรามาเป็นภาพที่ถ่ายให้มองเห็นในมุมกว้างมาก ๆ โดยใช้วิธีถ่ายภาพที่อยู่ในระดับเดียวกันหลายๆ ภาพ มาจัดเรียงกันให้เป็นภาพในแนวยาว เราสามารถเรียกใช้คำสั่งนี้ผ่าน Bridge ได้ โดยคลิกที่เมนู Tools > Photoshop > Photomerge ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในบทต่อไป

สรุป

Adobe Bridge CS4 เป็นโปรแกรมเสริมจากการติดตั้งในชุด Creative Suite CS4 ที่ใช้จัดการกับไฟล์ภาพจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการโอนข้อมูลไฟล์ภาพจากกล้อง หรือจากการ์ดหน่วยความจำเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ ช่วยในการค้นหาภาพได้รวดเร็วขึ้น การจัดหมวดหมู่ภาพ หรือแม้แต่การต่อภาพแบบพาโนรามา

เนื้อหาในบทได้กล่าวถึง ส่วนประกอบสำคัญของ Adobe Bridge CS4 แถบเครื่องมือพื้นฐานการเลือก Workspace เพื่อการใช้งาน ซึ่งมีอยู่ 8 ประเภทได้แก่ ESSENTIALS, FILMSTRIP,METADATA, OUTPUT, KEYWORDS, PREVIEW, LIGHT TABLE, FOLDERS ต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน และกล่าวถึง การโอนไฟล์ภาพไว้ในคอมพิวเตอร์ด้วย Adobe Bridge CS4 การดูภาพแบบเต็มจอในโหมด Full Screen การดูภาพแบบ Slideshow การหมุนภาพซึ่งมีทั้ง การหมุนภาพเฉพาะทัมบ์เนล และการหมุนภาพจริง การเข้าถึงไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่เก็บภาพ การคัดกรองภาพซึ่งมีรูปแบบการคัดกรองที่สำคัญ 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การคัดกรองภาพด้วยวิธี Rating 2) การคัดกรองภาพด้วยการสร้าง Label 3) การคัดกรองภาพด้วยพาเนล FILTER 4) การคัดกรองภาพด้วยพาเนลCOLLECTIONS การเปิดดูข้อมูลภาพ เช่น ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์เท่าไร เปิดรูรับแสงกว้างแค่ไหนการเพิ่มข้อมูลให้กับไฟล์ภาพ เช่น ชื่อผู้ถ่ายภาพ หมายเลขโทรศัพท์ การค้นหาภาพด้วยพาเนลKEYWORDS การลบภาพหรือโฟลเดอร์ออกจาก Bridge การใช้งานคำสั่งอัตโนมัติร่วมกับ Photoshop

Adobe Bridge CS4 จึงมีความสำคัญช่วยในการจัดการไฟล์ภาพต่าง ๆ ที่ถ่ายมาให้เป็นระบบสะดวกแก่การค้นหาดูภาพ และสามารถคลิกส่งภาพจาก Adobe Bridge CS4 เข้าสู่โปรแกรม Adobe Photoshop CS4 ได้ในทันทีเพื่อปรับแต่งภาพต่อไป