การนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ การเงินธุรกิจ (Business Finance)

ประเภทผลงานทางวิชาการ ตำรา

ปีที่พิมพ์ 2555

ข้อมูลเพิ่มเติม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตาแหน่งทางวิชาการ

รองศาสตราจารย์ปรียานุช กิจรุ่งโรจน์เจริญ


 

การเงินธุรกิจ (Business Finance)

 

   ตำรา เรื่องการเงินธุรกิจ ผู้แต่ง คือ รองศาสตราจารย์ปรียานุช กิจรุ่งโรจน์เจริญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผู้แต่งได้ แสดงเจตนารมณ์ว่า เป็นตำราเรียนที่เหมาะสาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมบริหารธุรกิจทุกแขนงและโปรแกรมบัญชี โดยได้กล่าวถึงขอบเขตอำนาจงานทางด้านการเงิน การวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อทราบถึงฐานะการเงินในปัจจุบัน การวางแผนทางการเงิน หลักในการบริหารเงินทุนหมุนเวียน หลักในการบริหารและการจัดสรรเงินทุนเพื่อลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวร การจัดแหล่งเงินทุนของธุรกิจ ปัจจัยดอกเบี้ยทางการเงิน การตัดสินใจเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ถาวร นโยบายการจ่ายเงินปันผลและกำไรสะสม โดยแบ่งเนื้อหาในไว้ ทั้งหมด 11บทเนื้อหาแต่ละบทประกอบด้วยข้อมูลเชิงบรรยายและการคำนวณในเนื้อหาบางส่วนพร้อมแบบฝึกหัดเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้ศึกษามีความรู้และความเข้าใจหลักพื้นฐานทางด้านการเงินเพื่อนำไปสู่การบริหารการเงินในธุรกิจได้เป็นอย่างดีมีประสิทธิภาพและสามารถนำความรู้เป็นหลักในการบริหารงานการเงินธุรกิจต่อไป

   ในการดำเนินงานของธุรกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพมีองค์ประกอบหลายด้านได้แก่ด้านการตลาดด้านการเงินและบัญชีด้านการผลิตด้านบุคลากรเป็นต้นองค์ประกอบทุกด้านมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันการดำเนินงานที่สอดคล้องกันจะทำให้การบริหารงานเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

   การบริหารงานทางด้านการเงินธุรกิจ เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะนำไปสู่การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เนื่องจากหลักในการบริหารงานทางการเงิน จะทำให้ทราบถึงแหล่งที่ได้มาของเงินทุน ทั้งแหล่งภายในและแหล่งภายนอก ซึ่งไม่ว่าจะหาจากแหล่งใด ธุรกิจก็ย่อมต้องมีต้นทุนของเงินทุน (Cost of Capital) ซึ่งต้นทุนของเงินทุนนั้นต้องต่ากว่าผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนดังนั้นเงินทุนที่ได้มานั้นผู้บริหารการเงินต้องศึกษาถึงหลักในการจัดสรรเงินทุนเพื่อนำไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนหรือสินทรัพย์ถาวรเพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงที่สุด

   การบริหารการเงินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพนั้นมีหน้าที่งานหลายด้านเกี่ยวข้องเริ่มตั้งแต่การคาดการณ์ความต้องการเงินทุนของธุรกิจการจัดหาเงินทุนการจัดสรรเงินทุนของธุรกิจซึ่งหน้าที่งานดังกล่าวจะต้องเกี่ยวข้องกับหลักในการบริหารเงินสดการจัดทำงบประมาณเงินสดการบริหารลูกหนี้อย่างมีประสิทธิภาพการบริหารสินค้าคงเหลือให้เพียงพอกับความต้องการและการจัดสรรเงินทุนไปใช้ในสินทรัพย์ถาวรโดยการจัดทำงบลงทุนเพื่อประเมินโครงการในอนาคตและ

   การศึกษามูลค่าของเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลาทั้งนี้เนื่องจากการตัดสินใจลงทุนในโครงการหนึ่งโครงการใดนั้นเป็นโครงการที่ใช้เงินทุนจำนวนมากและให้ผลตอบแทนในระยะยาวที่มีผลกระทบต่อเนื่องจากค่าของเงินการตัดสินใจที่ผิดพลาดจะมีผลต่อธุรกิจในระยะยาวในขณะเดียวกันการลงทุนในโครงการดังกล่าวธุรกิจมักก่อหนี้ระยะยาวเพื่อจัดหาเงินมาลงทุนซึ่งส่งผลต่อโครงสร้างของเงินทุนคือสัดส่วนหนี้สินต่อส่วนทุนที่มากเกินไปทำให้ธุรกิจเกิดความเสี่ยง

   หลักการบริหารการเงินที่ดีนั้นผู้บริหารการเงินต้องสามารถกาหนดขนาดของเงินทุนที่ต้องการอย่างเหมาะสมเพื่อหาแหล่งเงินทุนที่ดีที่สุดต้นทุนต่าที่สุดคือหากต้องการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวก็ควรมาจากแหล่งเงินทุนระยะยาวอันได้แก่เงินทุนจากส่วนของผู้ถือหุ้นและเงินกู้ระยะยาวหากลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนก็ควรมาจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นเช่นเงินกู้ยืมระยะสั้นหรือเครดิตทางการค้าดังรูปต่อไปนี้

 

การจัดหาและการจัดสรรเงินทุนของธุรกิจ งบดุล

 

   การจัดสรรเงินทุนให้มีประสิทธิภาพ ก็คือ การบริหารเงินทุนให้สอดคล้องกับแหล่งที่มาของเงินทุน เพื่อป้องกันไม่ให้ธุรกิจเกิดปัญหาเกี่ยวกบสภาพคล่อง (Liquidity) แต่ทำให้ธุรกิจมีความสามารถในการทำกำไร (Profitability) ที่สูงที่สุดด้วย ดังนั้น การจัดการทางด้านการเงินจึงเป็น 5 หัวใจสำคัญที่จะนำธุรกิจไปสู่เป้าหมายสูงสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง ในตำราเล่มนี้ประกอบด้วย 11 บทดังนี้

 

บทที่ 1 ความสำคัญของการเงินในองค์กรธุรกิจ และขอบเขตอำนาจหน้าที่งานทางด้านการเงิน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับเป้าหมายของธุรกิจมูลค่าของธุรกิจวัตถุประสงค์ของการบริหารการเงินของธุรกิจหน้าที่และสายงานของฝ่ายการเงินขอบเขตงานทางการเงินในองค์กรธุรกิจและหน้าที่งานทางด้านการเงิน

   ดังนั้นขอบเขตงานที่สำคัญในการบริหารการเงินในองค์กรธุรกิจก็คือการวางแผนคาดคะเนความต้องการเงินทุนของธุรกิจการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดหาทุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆซึ่งถือเป็นการบริหารเงินทุนที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดคือต้องมีทั้งสภาพคล่องและความสามารถในการทำกำไรที่สมดุลกันภายใต้ความเสี่ยงที่ธุรกิจยอมรับได้อนึ่งเงินทุนที่ธุรกิจจัดหามานั้นควรมีต้นทุนของเงินทุนที่ต่าที่สุด

   ในการบริหารการเงินของธุรกิจนั้น จุดมุ่งหมายหลักก็คือ พยายามทำให้มูลค่าของธุรกิจมีค่าสูงที่สุด ซึ่งจะมีผลให้การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การตัดสินใจทางการเงินที่ดีที่สุด การตัดสินใจทางการเงินจะนำไปสู่การวัดมูลค่าของธุรกิจว่ามีมูลค่าสูงสุดหรือไม่ จะพิจารณาได้จากราคาหุ้นที่สูงที่สุด ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการคือความเสี่ยงและความสามารถในการทำกำไรปัจจัยทั้งสองจะแตกต่างกันในแต่ละธุรกิจอันถูกกำหนดขึ้นจากประเภทของธุรกิจขนาดของธุรกิจชนิดของเครื่องจักรการใช้ประโยชน์จากหนี้และสภาพคล่องของแต่ละธุรกิจนั่นเอง

   หน้าที่งานด้านการเงินของธุรกิจโดยทั่วไปก็คือการรักษาสภาพคล่องของธุรกิจการเพิ่มสมรรถภาพในการทำกำไรการจัดการและบริหารสินทรัพย์และการจัดการและบริหารเงินทุนเพื่อให้ธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์สูงสุด

 

บทที่ 2 การวิเคราะห์งบการเงิน เนื้อหาในบทนี้ประกอบด้วยความหมายของการวิเคราะห์ทางการเงินขั้นตอนการวิเคราะห์งบการเงินเทคนิคและเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงินการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินประเภทของอัตราส่วนทางการเงินข้อจำกัดในการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินการวิเคราะห์แนวโน้มและการวิเคราะห์โดยการย่อส่วน

   ดังนั้นการวิเคราะห์ทางการเงินเป็นเครื่องมือของผู้บริหารในการวิเคราะห์ฐานะการเงินที่แท้จริงของธุรกิจซึ่งผลการวิเคราะห์ที่ได้จะทำให้ผู้บริหารการเงินประเมินผลการดำเนินงานและเป็นแนวทางในการวางแผนและตัดสินใจทางการเงินนอกจากนี้การวิเคราะห์ทางการเงินยังเป็นประโยชน์ต่อบุคคลต่างๆได้แก่ผู้ลงทุนเจ้าหนี้ผู้สนใจลงทุนผู้สอบบัญชีรัฐบาลและผู้สนใจอื่นๆ

เทคนิคและเครื่องมือทางการเงินที่ใช้ในการวิเคราะห์มี 3 ลักษณะ

1. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินเป็นการวิเคราะห์โดยใช้สูตรทางการเงินซึ่ง

แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ

1.1 อัตราส่วนวิเคราะห์ความคล่องตัวทางการเงิน

1.2 อัตราส่วนวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์

1.3 อัตราส่วนวิเคราะห์สภาพหนี้สิน

1.4 อัตราส่วนวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรหรือประสิทธิภาพในการบริหารงานของฝ่ายบริหาร

2. การวิเคราะห์แนวโน้ม เป็นการศึกษาข้อมูลในอดีต จนกระทั่งถึงปัจจุบันของอัตราส่วนทางการเงินที่ได้จากการวิเคราะห์

3. การวิเคราะห์โดยการย่อส่วน เป็นการย่อส่วนงบการเงิน คืองบดุลและงบกำไรขาดทุนเป็นอัตราร้อยละเพื่อให้ขนาดเล็กลงง่ายต่อการเปรียบเทียบ

   การวิเคราะห์ทางการเงิน ดังกล่าว เป็นกระจกเงาที่สะท้อนให้เห็นถึง ผลการดำเนินงานอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุมของธุรกิจ อันจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาและแนวโน้มในการดำเนินงานขั้นต่อไปของธุรกิจนั่นเอง

 

บทที่ 3 การวางแผนทางการเงิน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของการวางแผนทางการเงินงบประมาณเงินสดวิธีการจัดทำงบประมาณเงินสดงบประมาณเงินสดสุทธิการพยากรณ์กระแสเงินสดสุทธิหรืองบประมาณเงินสดสุทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดทำงบประมาณเงินสด

   การวางแผนทางการเงิน คือการจัดเตรียมข้อมูลทางการเงินไว้ล่วงหน้าด้วยการพยากรณ์ยอดขายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต และจากยอดขายที่พยากรณ์ ก็จะทำให้ธุรกิจสามารถคาดคะเนปริมาณสินค้าที่ต้องซื้อเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ หรือหากเป็นธุรกิจ อุตสาหกรรม ก็จะต้องคาดคะเนปริมาณการผลิตปริมาณวัตถุดิบ ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายใน การผลิต อันจะนำไปสู่การจัดทำงบประมาณเงินสดในแต่ละงวดเวลา

   การจัดทำงบประมาณเงินสดเป็นการวางแผนการรับเงินสดและการจ่ายเงินสดระหว่างงวด เพื่อการจัดทำงบประมาณเงินสดรับ(จ่าย)สุทธิ ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารการเงินสามารถพยากรณ์ปริมาณเงินสดที่ต้องหามาในกรณีที่กิจการมีเงินสดขาดมือ และวางแผนเพื่อการนำเงินสดไปลงทุนในกรณีที่เงินสดมากเกินความต้องการ การจัดเตรียมการจัดหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมจะทำให้ธุรกิจจัดหาเงินทุนได้ทันและเสียดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่า การดำเนินงานก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น

   นอกจากนี้การวางแผนทางการเงินก็จะเป็นเครื่องมือในการควบคุมการเงินได้โดยนำไปเปรียบเทียบกับผลการปฏิบัติงานจริงความแตกต่างจะชี้ให้เห็นถึงการปฏิบัติงานว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงใดและชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการแก้ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดปัญหานั้นๆ

 

บทที่ 4 การบริหารเงินทุนหมุนเวียน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของเงินทุนหมุนเวียนวัตถุประสงค์ของการบริหารเงินทุนหมุนเวียนการพิจารณาระดับเงินทุนหมุนเวียนที่เหมาะสมประเภทของเงินทุนหมุนเวียนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณเงินทุนหมุนเวียนและส่วนประกอบของเงินทุนหมุนเวียนทัศนคติผู้บริหารต่อระดับความเสี่ยงและการวิเคราะห์เงินทุนหมุนเวียน

เงินทุนหมุนเวียนหมายถึงเงินลงทุนที่ธุรกิจลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนได้แก่

เงินสดหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดลูกหนี้สินค้าคงเหลือ

เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ = สินทรัพย์หมุนเวียนหนี้สินหมุนเวียน

เงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจนั้นเปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่นที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินงานของธุรกิจที่จะขายเสียมิได้แต่หากมีมากเกินไปก็จะสูญเสียกำไรผลตอบแทนที่ควรจะได้รับ

เงินทุนหมุนเวียน แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ

เงินทุนหมุนเวียนถาวรคือสินทรัพย์หมุนเวียนขั้นต่ำที่ต้องดำรงไว้เช่นเงินสดขั้นต่ำ

เงินทุนหมุนเวียนชั่วคราวคือสินทรัพย์หมุนเวียนที่ต้องมีเพิ่มเติมจากส่วนถาวร

   ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดปริมาณและขนาดของเงินทุนหมุนเวียนมีหลายประการได้แก่ประเภทของธุรกิจปริมาณขายนโยบายธุรกิจการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีฤดูกาลฯลฯ

   แหล่งเงินทุนที่นำมาใช้ควรเป็นไปตามหลักการบริหารการเงิน กล่าวคือ เงินทุนหมุนเวียนแบบชั่วคราวควรจัดหามาจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นเงินทุนหมุนเวียนแบบถาวรควรจัดมาจากแหล่งเงินทุนระยะยาวแต่ในทางปฏิบัติอาจพบว่าไม่เป็นไปตามหลักดังกล่าวเนื่องจากทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อระดับความเสี่ยงนั้นแตกต่างกัน

   สิ่งที่ผู้บริหารการเงินจำเป็นต้องศึกษาอีกประการหนึ่งก็คือการได้มาและใช้ไปของเงินทุนหรืองบแสดงแหล่งที่ได้มาและใช้ไปของเงินทุนซึ่งแสดงให้เห็นถึงเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจ

   นอกจากนี้ การศึกษางบกระแสเงินสด จะทำให้ผู้บริหารทราบถึงกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายจากกิจกรรมต่างๆ เป็นการแสดงการเคลื่อนไหวของเงินสดในแต่ละงวด เงินสด

   รับของงวดนั้นมาจากไหนและเงินสดจ่ายนั้นจ่ายเพื่อการใดบ้างทำให้รู้ถึงการเคลื่อนไหวของเงินสดที่เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ

บทที่ 5 การบริหารเงินสดและหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของเงินสดสาเหตุของการถือเงินสดประโยชน์ของการถือเงินสดเพียงพอการบริหารเงินสดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากระบบการจัดเก็บเงินการจุดเก็บเงินจากเช็คที่ส่งทางไปรษณีย์การตั้งศูนย์จัดเก็บเงินระบบเช่าตู้ไปรษณีย์การควบคุมการจ่ายชำระหนี้และการบริหารหลักทรัพย์และความต้องบการของตลาด

   ดังนั้น เงินสด เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่ธุรกิจจำเป็นต้องมีไว้ ตามแนวความคิดของ John Maynard Keynes คือ

– เพื่อการดำเนินงานตาม

– เพื่อเหตุฉุกเฉิน

– เพื่อการเก็งกำไร

   การมีเงินสดให้เพียงพอจะทำให้การดำเนินงานของธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นไม่หยุดชะงักสามารถจ่ายชำระหนี้ได้ในระยะเวลาที่กำหนดและอาจได้รับโอกาสหรือประโยชน์จากการชำระหนี้โดยเอาส่วนลด

   การบริหารเงินสดคือการบริหารให้กิจการมีเงินสดในปริมาณที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงสภาพคล่องและผลตอบแทนที่ควรจะได้รับหากมีเงินสดมากเกินความจำเป็นซึ่งหลักในการบริหารเงินสดที่ดีจะมีผลทำให้

– ธุรกิจมีสภาพคล่อง

– ดำเนินงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

– มีโอกาสในการลงทุนหาผลประโยชน์ได้มากขึ้น

การบริหารเงินสดให้มีประสิทธิภาพนั้น มีอยู่ 3 วิธีด้วยกันคือ

1. การบริหารเงินสดรับและเงินสดจ่ายให้สอดคล้องกัน

2. การบริหารวงจรกระแสเงินสดให้มีประสิทธิภาพ

3. การกำหนดปริมาณเงินสดขั้นต่ำให้เหมาะสม

   ระบบการจัดเก็บเงิน และการเร่งรัดชำระหนี้ จะทำให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุนค่าเสียโอกาสของเงินที่ลอยตัว ที่เกิดจากการดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ อันจะทำให้ธุรกิจได้รับเงินกลับเข้าสู่กิจการได้เร็วขึ้น ซึ่งวิธีการที่นิยมใช้ก็คือ การตั้งศูนย์จัดเก็บเงิน ระบบการเช่าตู้ไปรษณีย์

ส่วนการควบคุมการจ่ายชำระหนี้ก็คือการชะลอการจ่ายชำระหนี้ให้ช้าที่สุดโดยไม่กระทบต่อเครดิตทางการเงินของกิจการ

 

บทที่ 6 การบริหารลูกหนี้ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับสาเหตุของการบัญชีลูกหนี้การค้าค่าใช้จ่ายของการมีบัญชีลูกหนี้การค้าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อขนาดของบัญชีลูกหนี้การค้านโยบายการให้สินเชื่อและการจัดเก็บหนี้การวิเคราะห์สินเชื่อและการจัดเก็บหนี้เฉพาะรายและประสิทธิภาพในการบริหารลูกหนี้

   การทวงถามหนี้ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นใดล้วนแต่เป็นปัญหาของเจ้าหนี้ทั้งสิ้นวิธีการที่ดีที่สุดก็คือการป้องกันไว้แต่แรกด้วยการพิจารณาให้การให้สินเชื่อก่อนที่จะปล่อยสินเชื่อให้กับลูกหนี้แต่ละราย

 

บทที่ 7 การบริหารสินค้าคงเหลือ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารสินค้าคงเหลือวัตถุประสงค์การบริหารสินค้าคงเหลือค่าใช้จ่ายในการมีสินค้าคงเหลือหลักในการบริหารสินค้าคงเหลือและส่วนลดเงินสดที่ได้จากกการซื้อสินค้าครั้งละมากๆ

   สินค้าคงเหลือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่ต้องมีการวางแผนและควบคุมทั้งนี้เนื่องจากปริมาณสินค้าที่ไม่เหมาะสมคือมากไปหรือน้อยเกินไปย่อมมีผลเสียต่อกิจการ

   ดังนั้นการบริหารและควบคุมสินค้าคงเหลือ ก็คือ การให้มีสินค้าคงเหลือในปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการ ไม่มากหรือน้อยเกินไป ซึ่งในการบริหารและควบคุมสินค้าคงเหลือนั้น มีด้วยกัน 4 กรณีคือ

1. การกำหนดปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม, ประหยัดที่สุด = EOQ ซึ่งสามารถคำนวณได้ 3 วิธีคือ

1.1 การทดลองจากปริมาการสั่งซื้อที่แตกต่างกัน

1.2 การพล๊อตกราฟค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ

1.3 การใช้สูตรคณิตศาสตร์ (EOQ)

จุดสั่งซื้อสินค้า (Reoder Point) คือการสั่งซื้อสินค้าครั้งถัดไปเมื่อมีระยะเวลาในการรอคอยสินค้า (Lead time) และปริมาณสินค้าเพื่อความปลอดภัย (Safety stock)

สูตร Reorder point = จำนวนวันที่ใช้ในการผลิต x ปริมาณสินค้าที่ต้องการใช้ต่อวัน + ปริมาณสินค้าที่ปลอดภัย

3. ส่วนลดเงินสดที่ได้รับจากการซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก (quantity discount) คือการพิจารณาเพื่อตัดสินใจซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ขายเสนอให้ส่วนลดหากซื้อสินค้ามากกว่าปริมาณที่ EOQ

หาก ส่วนลดที่ได้ > ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น   ตัดสินใจซื้อมากขึ้นเพื่อเอาส่วนลด

หากส่วนลดที่ได้ < ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ไม่ควรตัดสินใจซื้อเพิ่มขึ้น

4. ระดับสินค้าคงเหลือเพื่อความปลอดภัยเป็นการคำนวณหาปริมาณสินค้าขั้นต่ำเพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าขาดมือโดยศึกษาความน่าจะเป็นของโอกาสที่สินค้าจะขาดมือกับค่าใช้จ่ายรวมที่ต่ำที่สุดเป็นเกณฑ์

บทที่ 8 การจัดหาเงินทุนของธุรกิจ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนภายในกิจการแหล่งเงินทุนภายนอกกิจการแหล่งเงินทุนระยะสั้นระยะกลางระยะยาวและภายนอกกิจการ ดังนั้นการจัดหาเงินทุนระยะยาวของธุรกิจสามารถหาได้จากแหล่งเงินทุนภายในและแหล่งเงินทุนภายนอกกิจการ

* แหล่งเงินทุนภายในเป็นแหล่งเงินทุนที่ได้จากค่าเสื่อมราคาและกำไรสะสม
* แหล่งเงินทุนภายนอกเป็นแหล่งเงินทุนที่หาได้จากตลาดทุนที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์ได้แก่หุ้นสามัญหุ้นบุริมสิทธิหุ้นกู้พันธบัตรธุรกิจหุ้นกู้แปลงสภาพและใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ

หุ้นสามัญ เป็นหุ้นที่นิยมซื้อขายกัน เพราะผู้ถือหุ้นเข้าไปมีส่วนเป็นเจ้าของ ผลการดำเนินงานของบริษัทมีผลต่อราคาตลาดของหุ้นสามัญโดยตรง โดยเฉพาะกำไรต่อหุ้น(EPS) ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล

หุ้นบุริมสิทธิ เป็นหุ้นกึ่งหนี้สินและกึ่งหุ้นสามัญเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับจะกำหนดตายตัวในรูปของจำนวนเงินต่อหุ้นหรืออัตราร้อยละของมูลค่าที่ตราไว้

หุ้นกู้หรือพันธบัตร เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินระยะยาวต่างกันที่หลักประกันมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาการชำระคืนเงินต้นไว้แน่นอนนอกจากนี้ก็อาจมีการกำหนดการไถ่ถอนหุ้นกู้โดยการตั้งกองทุนไถ่ถอนและการเรียกคืนหุ้น

หลักทรัพย์แปลงสภาพได้ เป็นหุ้นกู้หรือหุ้นบุริมสิทธิ ที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของบริษัทได้ตามราคาและระยะเวลาที่กำหนด

ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้น เป็นสิทธิที่ผู้ออกหุ้นกู้ หรือหุ้นบุริมสิทธิให้กับผู้ถือหุ้น ชนิดมีใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของกิจการตามราคาที่กำหนด โดยผู้ซื้อต้องใช้สิทธิภายในระยะเวลาที่กำหนดเช่นกัน

   การจัดหาเงินทุนระยะยาวนั้นสามารถกระทำได้ทั้งในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์ซึ่งจะช่วยระดมเงินออมจากสาธารณชนให้กับธุรกิจที่ต้องการเงินทุน

บทที่ 9 ปัจจัยดอกเบี้ยทางการเงิน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับมูลค่าทบต้นและมูลค่าปัจจุบัน

   ปัจจัยดอกเบี้ยทางการเงิน มีผลกระทบทำให้ค่าของเงินเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ดังนั้น ผู้บริหารการเงินจึงจา เป็นต้องศึกษาผลกระทบดังกล่าวที่มีต่อค่าของเงิน เพื่อใช้ผลกระทบ ดังกล่าวศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เพื่อการลงทุนในระยะยาวของธุรกิจ การพิจารณา ดังกล่าวจา แนกได้เป็น 2 ประเภทคือ

มูลค่าทบต้น คือจำนวนเงินรวมที่ธุรกิจจะได้รับจากการลงทุนจากโครงการ โดยผลตอบแทน ที่ได้รับจากการลงทุนนั้นเป็นแบบต่อเนื่องภายในระยะเวลาที่กำหนด สามารถจำแนกการพิจารณาเป็น 2 กรณีคือ

มูลค่าทบต้นของเงินจ่ายลงทุนครั้งแรกเพียงครั้งเดียว เป็นลักษณะของการคำนวณหามูลค่าของเงินทบต้นซึ่งได้จ่ายลงทุนครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเป็นระยะเวลาหนึ่งด้วยผลตอบแทนที่ได้ตกลงกัน

สูตรการคำนวณ Bn = A x IFn,i (Table A)

มูลค่าทบต้นของเงินจ่ายลงทุนเป็นงวดรายปีต่อเนื่องกัน เป็นลักษณะของการคำนวณหามูลค่าทบต้นของเงินที่ได้จ่ายลงทุนเป็นงวดๆละเท่าๆกันเป็นระยะเวลาต่อเนื่องด้วยอัตราผลตอบแทนที่ได้ตกลงกัน

สูตรการคำนวณ
หรือ

แต่เปิดตำราง n+1 ได้ค่าเท่าใด ลบด้วย 1 เสมอ จึง จะได้ค่าเท่ากับ Table A

มูลค่าปัจจุบัน คือจำนวนที่จ่ายลงทุนในปัจจุบัน เพื่อให้ได้จำนวนเงินรวมกลับมาใน ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ภายใต้ระยะเวลาการลงทุนที่แน่นอน และปัจจัยลดค่าที่กำหนด สามารถจา แนก การพิจารณาเป็น 2 กรณีคือ

มูลค่าปัจจุบันของเงินรับสุทธิที่เข้ามาเพียงครั้งเดียว เป็นการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของ จำนวนเงินที่จ่ายลงทุนเพื่อให้ได้เงินรวม (เงินรับสุทธิ) คือเงินต้นบวกดอกเบี้ยกลับมาในช่วงเวลาหนึ่งในอนาคตเพียงครั้งเดียว

สูตรในการคำนวณ A(PV) = Bn x DFn,I (Table C)

มูลค่าปัจจุบันของเงินรับสุทธิรายปี แบบต่อเนื่อง เป็นการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของเงิน ที่ได้รับเป็นรายปี แบบต่อเนื่อง ด้วยจำนวนเงินรับสุทธิเท่ากัน

จากการคำนวณดังกล่าวสามารถนำไปพิจารณาเพื่อหาปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องเช่น

– อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน

– จำนวนเงินผ่อนชาระในแต่ละงวด

– ระยะเวลาในการผ่อนชำระ ฯลฯ

 

บทที่ 10 งบลงทุน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ ลักษณะสำคัญของงบจ่ายลงทุน ขั้นตอน ในการจัดทำ งบจ่ายลงทุน ปัจจัยที่ต้องคำนึงในการตัดสินใจเลือกโครงการจ่ายลงทุน วิธีการ ประเมินผลเพื่อวิเคราะห์งบจ่ายลงทุน

   งบจ่ายลงทุนเป็นลักษณะการบริหารเงินทุนของธุรกิจที่จะตัดสินใจเลือกลงทุนในงบจ่ายลงทุนใดที่จะให้ประโยชน์สูงสุดกับกิจการซึ่งในการพิจารณาเลือกโครงการจ่ายลงทุนนั้นต้องใช้จำนวนเงินลงทุนมากในขณะที่ผลตอบแทนหรือประโยชน์ที่จะได้รับนั้นจะทยอยได้รับในอนาคตข้างหน้านอกจากนี้มูลค่าของเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาก็จะมีผลเป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องนามาพิจารณาควบคู่กันไป

   การวิเคราะห์งบจ่ายลงทุนนั้นจะต้องอาศัยข้อมูลจากการประมาณการกระแสเงินสดเข้ากระแสเงินสดออกของโครงการและผลตอบแทนขั้นต่ำของโครงการเพื่อนามาเป็นปัจจัยในการวิเคราะห์โครงการจ่ายลงทุน

วิธีการวิเคราะห์โครงการจ่ายลงทุน ที่นิยมใช้กันมี 5 วิธี

1. วิธีจ่ายคืนทุนสุทธิ (PB) เป็นการหาระยะเวลาคืนทุนของโครงการหรือระยะเวลาที่กิจการได้รับผลตอบแทนเท่ากับเงินที่จ่ายลงทุน

2. วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นการหามูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการจากผลต่างของมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดเข้าและมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดออก

NPV = PV ของเงินสดเข้า – PV ของเงินสดออก
หากโครงการจ่ายลงทุนมีค่าเป็นบวก (+) แสดงว่าโครงการดังกล่าวมีกำไรจากการลงทุน
หากโครงการจ่ายลงทุนมีค่าเป็นลบ (-) แสดงว่าโครงการดังกล่าว ขาดทุนจากการ ลงทุน

3. วิธีอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (IRR) เป็นการหาอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของ โครงการ หรือการหา i, IRR ที่ทำให้ PV ของเงินเข้า = PV ของเงินออก

หาก IRR ที่ได้มีค่ามากกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำจึงควรลงทุน
หาก IRR ที่ได้มีค่าน้อยกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำไม่ควรลงทุน

4. วิธีดัชนีกำไร (PI) เป็นการหา Profitability Index ของโครงการจากสูตร

หาก PI มีค่ามากว่า 1 แสดงว่ากิจการมีกำไรจากการลงทุนในโครงการ
หาก PI มีค่าน้อยว่า 1 แสดงว่ากิจการมีผลขาดทุนจากการลงทุนในโครงการ

5. อัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ย (ARR) เป็นการหาอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยของโครงการจากสูตร

วิธีการวิเคราะห์ทั้ง 5 วิธี พบว่า วิธีที่ 2,3,4 คือวิธี NPV, IRR, PI เป็นวิธีที่นำเอา มูลค่า ของเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เข้ามาพิจารณาด้วย จึงทำให้ทั้ง 3 วิธีดังกล่าวข้างต้น เป็นวิธี ที่มีเหตุผลในการวิเคราะห์โครงการมากกว่าวิธีที่ 1 และ 5

 

บทที่ 11 กำไรสะสมและนโยบายการจ่ายเงินปันผล ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของกำไรสะสมกำไรสะสมจัดสรรความหมายของเงินปันผลปัจจัยที่ต้องคำนึงในการกำหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผลนโยบายการจ่ายเงินปันผลขั้นตอนการจ่ายเงินปันผลขั้นตอนการจ่ายเงินปันผลและชนิดของเงินปันผล

   กำไรสะสมคือส่วนเกินที่เกิดจากรายได้หักด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมดหลังจากจ่ายเงินปันผลและสะสมจนกระทั่งถึงปัจจุบันการคำนวณกำไรสะสมนั้นจะคำนวณได้จาก

กำไรสะสมปลายงวด = กำไรสะสมต้นงวด + กำไร(ขาดทุน)สุทธิระหว่างงวดเงินปันผล

กำไรสะสมถือเป็นแหล่งเงินทุนภายในที่สำคัญที่สุดของธุรกิจ โดยถูกจัดสรรตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1202 กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่กิจการจะจ่ายเงินปันผล ต้อง จัดสรรเงินไว้เป็นทุนสำรองอย่างน้อย 5% ของกำไรสุทธิประจำปี จนกว่าทุนสำรองจะเท่ากับ 10% ของทุนเรือนหุ้นหรือมากกว่านั้นแล้วแต่จะตกลงกันไว้ในข้อบังคับของบริษัทนอกจากนั้นธุรกิจก็จะจัดสรรกำไรสะสมตามข้อผูกพันที่ทำไว้เช่นการไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ถึงกำหนดหรือตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เช่นการขยายกิจการ

   การจ่ายเงินปันผลของธุรกิจต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการเช่น

– ข้อจำกัดทางกฎหมายสภาพคล่องของกิจการ

– ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจผลกระทบของภาษีต่อผู้ถือหุ้น

– อัตราการขยายตัวของธุรกิจข้อจำกัดของสัญญากู้ยืม

นโยบายการจ่ายเงินปันผล แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

1. จำนวนเงินปันผลคงที่ต่อหุ้น

2. อัตราการจ่ายเงินปันผลคงที่

3. เงินปันผลขั้นต่ำบวกเงินปันผลพิเศษ

ชนิดของเงินปันผลที่จ่าย

1. จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด
2. จ่ายเงินปันผลเป็นหุ้น
3. การแบ่งหุ้น
4. การจ่ายเงินปันผลอื่นๆ


 

ประวัติผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์ปรียานุชกิจรุ่งโรจน์เจริญ

: อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชีคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

: อาจารย์พิเศษในสถาบันอุดมศึกษาได้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นต้น

: หัวหน้าภาควิชาบริหารธุรกิจ

: รองคณบดีคณะวิทยาการจัดการ

: รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา การศึกษา : บช.. บัญชีบัณฑิต (บัญชีการเงิน) คณะบัญชีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

: บช.. บัญชีมหาบัณฑิต (บัญชีต้นทุน) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หมายเหตุ : สนใจ ติดต่อ โทร. 089-1258379 ราคาเล่มละ 180. บาท