รหัสโครงการ 2557A13862009

จรัญ ประจันบาล

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

สนับสนุนโดย สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัย

ในระดับอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

       การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ รวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี การดำเนินการวิจัยใน 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สำรวจ รวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) พัฒนาฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ และ 3) พัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบริเวณอำเภอ    อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ผลการสำรวจพบว่าพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีสภาพเป็น ป่าเบญจพรรณพบชนิดพันธุ์พืชทั้งหมด 206 ชนิด 157 สกุล 75 วงศ์ โดยวงศ์พันธุ์ไม้ที่พบมากที่สุดคือวงศ์ PAPILIONACEAE และวงศ์ RUBIACEAE พบชนิดพันธุ์พืชทั้งสิ้นวงศ์ละ 13 ชนิด รองลงมาคือวงศ์ CAESALPINIACEAE พบ 11 ชนิด วงศ์ EUPHORBIACEAE พบ 10 ชนิด วงศ์ CAPPARIDACEAE และวงศ์ COMBRETACEAE พบวงศ์ละ 8 ชนิด และพบชนิดพันธุ์พืชที่ถูกจัดเป็นพืชหายากหรือเป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทยทั้งหมด 13 ชนิด ประกอบด้วย กะเพราหินปูน เทียนกาญจน์ ผีอีค่อย พุดผา ม่วงไตรบุญ มหาพรหม มะกัก มะลิสยาม หุน อรพิม คำมอกหลวง ธนนไชย แสลงพันกระดูก และพบสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด 129 ชนิด ประกอบด้วยกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวน 9 ชนิด กลุ่มสัตว์เลื้อยคลานจำนวน 10 ชนิด กลุ่มสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำนวน 6 ชนิด กลุ่มสัตว์ปีกจำนวน 67 ชนิด และกลุ่มปลาพบจำนวน 37 ชนิด สำหรับผลการสำรวจ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพพบภูมิปัญญาด้านงานจักสานและงานทอผ้าพื้นเมืองมีจำนวนมากที่สุด โดยข้อมูลทั้งหมดถูกจัดเก็บในฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพที่สามารถสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นสระยายโสม

คำสำคัญ : ความหลากหลายทางชีวภาพ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, อำเภออู่ทอง

Abstract

       The aims of this study are to survey and collect the data of the biodiversity and the local wisdom at Amphoe U-thong, Supanburi province. The research processes were divided into three procedures; 1) survey and collect the data of biodiversity and the local wisdom, 2) develop and setup the database obtained from surveying, and                3) establish the local museum for learning the biodiversity and local wisdom at Amphoe U-thong, Supanburi province. In this study, we found 206 species of plant, which were the mixed deciduous forest, that further classified into 157 genus and 75 families.               The majorities of plant were PAPILIONACEAE, 13 species, and RUBIACEAE,                         13 species while the minorities of plant were CAESALPINIACEAE, 11 species, EUPHORBIACEAE, 10 species, CAPPARIDACEAE, 8 species, and COMBRETACEAE, 8 species. Remarkably, we also found 13 species of the rare plants or endemic plants, including Plectranthus albicalyx S.Suddee, Impatiens kanburiensis T. Shimizu, Boea sp., Gardenia saxatilis Geddes, Tribounia venosa (Barnett) D.J. Middleton, Mitrephora winitii Craib, Spondias bipinnata Airy Shaw & Forman, Jasminum siamense Craib, Cissus craibii Gagnep., Bauhinia winitii Craib, Gardenia sootepensis Hutch., Buchanania siamensis Miq., Bauhinia similis Craib. The vertebrate animals that discovered in this area consist of  129 species, including 9 species of mammal, 10 species of reptile,               6 species of amphibian, 67 species of poultry, and 37 species of fish. In term of the study of the local wisdom that consistent with the utilization from biodiversity resources, the wisdom of basketry and weaving have found mostly. All data from this study were collected in the biodiversity database, which could be ascertained via the internet network of the Sayaisom local museum.

Key word: Biodiversity, Local Wisdom, Amphoe U-thong