นันทวดี เนียมนุ้ย, มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์.

บทคัดย่อ

       เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดเป็นสารเสพติดประเภทหนึ่งที่ไม่ผิดกฎหมายและไม่ถูกต่อต้านจากสังคม ทั้งที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคมากมาย นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีรายงานการดื่มแอลกอฮอล์และมีแนวโน้มสูงขึ้น วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาความชุก ปัจจัยแวดล้อม และระดับความรุนแรงในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาจากทุกคณะและทุกชั้นปี จำนวน 450 คน พบความชุกของการบริโภคร้อยละ 62.9 โดยเพศชายพบความชุกร้อยละ 74.4 สูงกว่าเพศหญิงซึ่งพบความชุกร้อยละ 56.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value < 0.05) ปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างเพศชายมีค่ามัธยฐานของปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เท่ากับ 42.8 กรัมต่อวัน เพศหญิงเท่ากับ 19.3 กรัมต่อวัน นักศึกษาชายที่มีปริมาณการดื่มจัดอยู่ในระดับที่เสี่ยงรุนแรงมากพบร้อยละ 36.0 ส่วนนักศึกษาหญิงพบร้อยละ 36.1 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ข้อมูลแหล่งจำหน่ายที่อยู่รอบสถานศึกษาและที่พักอาศัย และมีความเห็นว่าจะมีการบริโภคมากขึ้นในเทศกาลต่างๆ อาทิ ปีใหม่ สงกรานต์ การฉลองวันเกิด กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 67.1 ถูกเพื่อนให้บริโภคในครั้งแรก และมีเหตุผลหลักในการบริโภคคือเพื่อความสนุกสนานและการเข้าสังคม ผลจากการศึกษานี้จะเป็นข้อมูลสำคัญในการหาวิธีการรณรงค์ป้องกันเพื่อลดจำนวนการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามกลุ่มเป้าหมายต่อไป

Abstract

       Alcoholic drink has been categorized as an additive substance. In Thailand, consumption of alcohol is legal and generally socially accepted even though it has many adverse effect to consumers. The consumption in undergraduate student has been reported and tended to increase. The objectives of this study were to examine the prevalence of alcohol consumption, environmental factors and drinking behavior of students in a Rajabhat University, Bangkok. A cross-sectional survey was conducted and self-reported questionnaire was used to collect data. Four hundred and fifty samples were participated. The result indicated that the prevalence of drinking was 62.9%. The prevalence in male (74.4%) was more significant than in female (56.0%) (p value < 0.05). The median values of consumption were 42.8 and 19.3 grams per day in males and females, respectively. The proportion of male classified in a very high risk consumption level was 36.0 percent and the proportion of female was 36.1 percent. Most participants had known that there were many alcohol shops available around the university and their places. The common reasons of drinking were to have fun and to socialize with friends. 67.1 percent of consumers had first drinking experienced because of peer pressure. The number of consumption was increased during celebrating parties such as New Year and birthday. The results from this study would be very useful information to seek the appropriate anti-alcoholic program suited to undergraduate students.

นันทวดี เนียมนุ้ย, มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์.ความชุกและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์.2557; 14(1), 178-189.