Category Archives: แพทย์แผนไทย เทคนิคการแพทย์ และ เภสัชกรรมไทย

การตรวจคัดกรองสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย

 

การตรวจคัดกรองสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย

 

พัฒน์ศรี  ศรีสุวรรณ    ธนัญญา คู่พิทักษ์ขจร+      ปฤษฐพร  กิ่งแก้ว+
ศิตาพร  ยังคง+             ลี่ลี    อิงศรีสว่าง¤             เดช   เกตุฉ่ำ§
ศรีเพ็ญ  ตันติเวสส+       ยศ   ตีระวัฒนานนท์+

 

                  การวิจัยเรื่องนี้เป็นการค้นหาความเสี่ยง  หรือโรคในประชากรสุขภาพดี  เพื่อป้องกัน  ลดความเสี่ยง  หรือภาวะแทรกซ้อนจากโรค  วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อจัดลำดับความสำคัญ   ประเมิน และเสนอมาตรการตรวจคัดกรองสุขภาพที่มีประสิทธิผล คุ้มค่า  และเหมาะสมในบริบทของประเทศไทย เพื่อนำเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์  ผลการวิจัยพบว่ามาตรการตรวจคัดกรองสุขภาพที่เสนอให้อยู่ในสิทธิประโยชน์มีจำนวน  14  มาตรการ ศึกษารายละเอียดของเรื่องในวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข

 

พัฒน์ศรี  ศรีสุวรรณ และคณะ. ( 2556 ).  การตรวจคัดกรองสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย.  วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 7 ( 4 ):505 – 515.
      

วารสารวิชาการ           วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข
ลิงค์ที่เข้าถึงได้             http://hdl.handle.net/11228/3985

      

View Fullscreen

ผลิตภัณฑ์เจลต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดอรพิม

 

ผลิตภัณฑ์เจลต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดอรพิม

Gel products antioxidant extracted from Lysiphyllum winitii (Craib) de Wit

 

เพชรน้ำผึ้ง รอดโพธิ์*** ตรองหทัย   นาคแพน* สุคันธา  กล่อมเกลี้ยง*
ศุภรัตน์ ดวนใหญ่**  อาวุธ หงษ์ศิริ*** อัจฉรา แก้วน้อย**

Petnumpung Rodpo*** Tronghatai Nakpan* Sukhantha Klomkliang*
Supharat Duanyai** Arwut hongsiri*** Atchara Kaewnoi**

 


 

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เจลจากสารสกัดเปลือกต้นอรพิม (Lysiophyllum winitii (Craib) de Wit) โดยนำเปลือกต้นอรพิมมาสกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ 3 ชนิด คือ เอทานอล น้ำ และเฮกเซน จากนั้นนำมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละการต้านอนุมูลอิสระด้วย วิธี DPPH assay โดยใช้กรดแอสคลอบิก (Ascorbic acid) ที่ความเข้มข้น 10 ppm เป็นสารมาตรฐาน ผลพบว่า ที่ความเข้มข้น 1,000 ppm ของสารสกัด มีเพียงสารสกัดเอทานอลที่มีค่าร้อยละการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าสารมาตรฐานเท่ากับ 93.295 ± 0.008 ขณะที่สารสกัดน้ำและสารสกัดเฮกเซนมีค่าเท่ากับ 91.245 ± 0.16 และ 67.638 ± 1.38 ตามลำดับ และการทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP assay พบว่าสารสกัดด้วยน้ำ แสดงฤทธิ์การต้านอนุมูลสูงสุด โดยสารสกัดจากน้ำให้ค่า FRAP value มากที่สุด เท่ากับ 0.648 ± 0.051 mM จากนั้นจึงเลือกสารสกัดเอทานอล และน้ำมาพัฒนาตำรับเจล เพราะมีค่าร้อยละการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าร้อยละ 90 และนำมาทดสอบความคงตัวโดยวิธี Heating Cooling cycle เป็นเวลา 6 รอบ ผลพบว่า ตำรับ F4 ที่มีสารสกัดอรพิมด้วยน้ำ มีความคงตัวทางกายภาพสูงที่สุด และมีความคงตัวทางเคมีโดยพิจารณาจากค่าร้อยละการต้านอนุมูลอิสระ คงเหลือเท่ากับ 11.75

คำสำคัญ : อรพิม คิ้วนาง เจลอรพิม

 

Abstract

               The purpose of this research was to development gel products from the Bark of Orapim. (Lysiophyllum winitii (Craib) de Wit). By using three organic solvents; ethanol, DI water and hexane. Then analysis percent radical scavenging with DPPH assay by using Ascorbic acid at 10 ppm. As the standard substance. The results showed that at the concentration 1,000 ppm of the extracted only ethanol extracts with % radical scavenging were 93.295 ± 0.008 higher than the standard substance while the DI water extracts and hexane extract were equal. 91.245 ± 0.16 and 67.638 ± 1.38 respectively and water extracts had antioxidant activites calculated in FRAP value 0.648 ± 0.051 mM by FRAP assay.So choose ethanol extract. And the gel developed gel. Because the percent radical scavenging value is higher than 90% and tested for stability by the Heating cooling cycle method for 6 cycles. The result is that F4 formulated with DI water extract. Has the highest physical stability. The chemical % radical scavenging value was 22.21 ± 0.018, the lowest decrease of 11.75% and the total phenolic compound remind 0.05 mg GAE/mg of sample extracts.

Keyword : oraphim, khio nang, gel from Orapim

 

View Fullscreen

การตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดใบมะขามที่ปลูกในประเทศไทย

 

การตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดใบมะขามที่ปลูกในประเทศไทย
The Phytochemical Screening, antioxidant activityand total phenolic compounds of extracts of Tamarindus indica Linn leaves cultivated in Thailand.

 

ศุภรัตน์ ดวนใหญ่* เพชรน้ำผึ้ง รอดโพธิ์** อัจฉรา แก้วน้อย* อรุณรัตน์ แซ่อู้**
วิชุดา ฉันวิจิตร**  วิภารัตน์ ปัตถานะ** นุชบา สุวรรณโคตร**

Supharat Duanyai* Petnumpung Rodpo** Atchara Kaewnoi* Arunrat Saeou**
Wichuda Chanwijit** Wiparat Patthana** Nuchaba Sunwannakotr**


 

บทคัดย่อ

               งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดโดยวิธี Folin reagent method และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยวิธี 2,2-Diphenyl-1-picrylhydrazyl radial scavenging capacity assay (DPPH assay) และตรวจสอบองค์ประกอบทางพฤษเคมีเบื้องต้นของสารสกัดใบมะขามไทย  (Tamarindus indica Linn.) ที่เก็บจาก 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ  จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดสุพรรณบุรี และกรุงเทพมหานคร สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล และเอทิล อะซีเตท พบว่า สารสกัดเอทานอลของใบมะขาม แสดงผลการต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงกว่า สารสกัดเอทิลอะซีเตท โดยสารสกัดเอทานอลที่ความเข้มข้น 1,000 ppm มีร้อยละการต้านอนุมูลอิสระของจังหวัดนครสวรรค์สูงที่สุด มีค่าเท่ากับร้อยละ (91.081 ± 0.013; และ IC50 = 79.439 ppm).และสารสกัดเอทานอลของกรุงเทพมหานคร มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงที่สุด มีค่าเท่ากับ 178.34 มิลลิกรัมของกรดแกลิกต่อกรัมสารสกัด  เมื่อนำสารสกัดทั้ง 2 ชนิด มาตรวจสอบองค์ประกอบทางพฤษเคมีเบื้องต้น 7 กลุ่ม ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ แอลคาลอยด์ แทนนิน คาร์ดิแอกไกลโคไซด์ เทอร์พีนอยด์ แอนทราควิโนน และซาโปนิน ผลพบว่า สารสกัดเอทานอลของใบมะขามไทย ไม่พบ กลุ่มสารแอลคาลอยด์ ซาโปนิน และคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ ส่วนสารสกัดเอทิลอะซีเตท ไม่พบกลุ่มสารแอลคาลอยด์ คาร์ดิแอกไกลโคไซด์ และแอน ทราควิโนน

คำสำคัญ : มะขามไทย, สารประกอบฟีโนลิก, การต้านอนุมูลอิสระ

 

Abstract

               This study aimed for determination of phenolic compounds by the Folin-Ciocalteu analysis and the antioxidant activity was evaluated by 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl scavenging capacity (DPPH) method.  The phytochemical screening was measured of the ethanolic and ethyl acetate extracts of leaves of Tamarindus indica Linn. that were harvested from 5 provinces of Thailand; Sisaket, Phetchaburi, Nakhonsawan, Suphanburi and Bangkok.  The results showed that ethanolic extracts have antioxidant activity and total phenolic compounds more than ethyl acetate extracts. The antioxidant activity indicated that ethanolic extract from Nakhonsawan showed highest effect at 1,000 ppm (91.081 ± 0.013; and IC50 = 16.664). For the content of phenolic compounds, the ethanolic extract from Bangkok was found to be 178.34 mgGAE/1g.  However, all extracted were screened for investigate 7 groups of phytochemical compounds; flavonoids, alkaloids, tannins, cardiac glycosides, terpenoids anthraquinones and saponins. The results showed that ethanolic extracts were not found alkaloids, saponin and cardiac glycosides whereas ethyl acetate extracts were not found alkaloids, cardiac glycosides and anthraquinones.

Keywords : Tamarindus indica Linn. phenolic compounds, antioxidant

 


 

View Fullscreen

การศึกษาสภาวะการปลูกสมุนไพรพลูจีนในเขตพื้นที่ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ให้ได้ตามตำรามาตรฐานสมุนไพรไทย

การศึกษาสภาวะการปลูกสมุนไพรพลูจีนในเขตพื้นที่ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ให้ได้ตามตำรามาตรฐานสมุนไพรไทย

The Study of Growing Conditions of Piper betle (L.) in Huai Duan District, Dontum  Prefecture, Nakhon Pathom Province according to the Thai Herbal Pharmacopoeia 2000 Volume II

 

อภิญญา ไชยคำ*, สุชาดา  มานอก**, อัจฉรา แก้วน้อย**, ศุภรัตน์  ดวนใหญ่**,
เพชรน้ำผึ้ง  รอดโพธิ์***, ชารินันท์ แจงกลาง***

Apinya  Chaiyakam*, Suchada Manok**, Atchara Keawnoi**, Supharat Duanyai**,
Petnumpung Rodpo***, charinan jaengklang***


บทคัดย่อ

               การปลูกสมุนไพรพลูจีนใน 2 สภาวะคือ พรางแสงร้อยละ 50 และปลูกกลางแจ้งใช้ค้างเดียว โดยได้รับแสงอาทิตย์ ร้อยละ 100 ปลูกเป็นระยะเวลา 4 เดือน ในเขตพื้นที่ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม พบว่า ปลูกที่แจ้งใช้ค้างเดียวมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าปลูกพรางร้อยละ 50 โดยผลการตรวจสอบมาตรฐาน พบว่า ลักษณะเด่นทางจุลทรรศน์ของพลูจีนทั้ง 2 สภาวะ พบ oil droplets และ upper epidermis showing stomata เป็นจำนวนมาก ผลการตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมี พบว่า พลูจีนทั้ง 2 สภาวะ มีสารกลุ่มฟีโนลิกเป็นองค์ประกอบ เมื่อทดสอบด้วยเทคนิคทินเลเยอร์โครมาโทกราฟี แสดงสารยูจีนอลอยู่ตำแหน่งที่ 3 มีค่า hRf เท่ากับ 34.545 โดยผลการตรวจเอกลักษณ์ทางเคมีและทางกายภาพ พบว่า สมุนไพรพลูจีนที่ปลูกกลางแจ้งค้างเดี่ยว พบปริมาณสิ่งแปลกปลอม 0.001 โดยน้ำหนัก ความชื้นร้อยละ 4.887±1.260 โดยน้ำหนัก เถ้ารวมร้อยละ 13.966±3.453 โดยน้ำหนัก เถ้าที่ไม่ลายในกรดร้อยละ 5.920±0.488 โดยน้ำหนักผลของการหาปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอลและน้ำอยู่ที่ร้อยละ 15.367±0.665และ 26.500±0.953 โดยน้ำหนักแห้ง และสมุนไพรพลูจีนที่ปลูกพรางแสงร้อยละ 50 พบปริมาณสิ่งแปลกปลอมร้อยละ 0.001 โดยน้ำหนัก ความชื้นร้อยละ 5.330±0.882 โดยน้ำหนัก รวมร้อยละ 18.366±0.189 โดยน้ำหนัก เถ้าที่ไม่ละลายในกรดร้อยละ 13.222±0.648 โดยน้ำหนักผลของการหาปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอลและน้ำอยู่ที่ร้อยละ 12.333±0.378และ 28.867±0.288 โดยน้ำหนักแห้ง จากผลการตรวจสอบเอกลักษณ์ พบว่า สมุนไพรพลูจีนที่ปลูกกลางแจ้งค้างเดี่ยวเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐาน Thai Herbal Pharmacopoeia2000 Volume IIส่วนสมุนไพรพลูจีนที่ปลูกพรางแสงร้อยละ 50 แสดงปริมาณเถ้ารวมและเถ้าที่ไม่ละลายในกรดมากกว่าเกณฑ์ข้อกำหนดมาตรฐานพลูจีนตาม Thai Herbal Pharmacopoeia 2000 Volume II

คำสำคัญ; พลูจีน ตำรามาตรฐานยาสมุนไพร

 

Abstract

               Piper betle (L.) was mono-cultivated by two conditions of plantations, in 50% sunshade and out door at Huai Duan District, Dontum  Prefecture, Nakhon Pathom for 4 months on July 2012-October 2012, found that plant out door had the better growth than in 50% sunshade. The microscopic characteristics of these two conditions of the herb found Oil droplets, Upper epidermis showing stomata. Chemica identification found that phenolic compound was found in Piper betle (L.) leaves. Chromatogram of Piper betle (L.) extract determined by thin-layer chromatography technique showed eugenol at 3th position which possessed hRf as 34.545. The identification of chemical and physical properties of the plant out door conditions of Piper betle (L.) found that the quantity foreign matter was 0.001% by weight; moisture content was 4.887±1.260% by weight, total ash was 15.367±0.665% by weight and acid-insoluble ash was 5.920±0.488% The % yields of the extract with ethanol-soluble and water were 13.966±3.453 and 26.500±0.953 by dry weight respectively. The 50% sunshade plant found that the quantity foreign matter was 0.001% by weight, moisture content was 5.330±0.882% by weight, total ash was 8.366±0.189% by weight and acid-insoluble ash was 13.222±0.648%. The % yield of the extract with ethanol-soluble and water were 12.333±0.378 and 28.867±0.288 by dry weight respectively. The identification of the plant out door condition of Piper betle (L.) found to comply with the requirements in the herbal Piper betle (L.) of Thai Herbal Pharmacopoeia 200 Volume II. The 50% sunshade plant display of total ash and acid-insoluble ash was more than the requirements in the herbal Piper betle (L.) of Thai Herbal Pharmacopoeia 200 Volume II.

Keywords: Piper betle (L.), Thai Herbal Pharmacopoeia 2000 Volume II,

 

View Fullscreen

การควบคุมมาตรฐานสมุนไพรบัวบกในเขตพื้นที่ ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ตามตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย

 

การควบคุมมาตรฐานสมุนไพรบัวบกในเขตพื้นที่ ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ตามตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย

Quality Control of Centella asiatica (L.) Urb. from Huai Duan District, Dontum Prefecture, Nakhon Pathom Province according to the Supplement to Thai Herbal Pharmacopoeia 2004

 

ศิริพร ปัททุม*, สุชาดา  มานอก**, อัจฉรา แก้วน้อย**, ศุภรัตน์  ดวนใหญ่**,
เพชรน้ำผึ้ง  รอดโพธิ์***, อรุณรัตน์ แซ่อู้***

Siriporn Puttum*, Atchara Keawnoi**, Supharat Duanyai**, Suchada Manok**,
Petnumpung Rodpo***, Arunrat Saeou***


 

บทคัดย่อ

               การตรวจเอกลักษณ์สมุนไพรบัวบกในเขตพื้นที่พื้นที่ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมตามตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย โดยผลการตรวจสอบ พบว่า ลักษณะเด่นทางจุลทรรศน์ของบัวบก epidermis showing stoma, vascular bundle and rosette aggregate crystals, unicellular trachoma, scalarform and pitted vessels และ collenchymas ผลการตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมีพบสารกลุ่มฟีโนลิกและไตรเทอร์ปีนไกลโคไซค์ เมื่อทำการทดสอบด้วยวิธีเทคนิคทินเลเยอร์โครมาโทกราฟี พบสาร asiaticoside และ asiatic acid ตรงตำแหน่งที่ 4,5 มีค่า hRf เท่ากับ 30.909, 58.182 ตามลำดับ ผลการตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมี-ฟิสิกส์และกายภาพ พบปริมาณสิ่งแปลกปลอมน้อยกว่า 2.00 โดยน้ำหนัก ความชื้นอยู่ที่ช่วงร้อยละ 6.980±0.517 ถึง 11.997±1.253 โดยน้ำหนัก เถ้ารวมอยู่ที่ช่วงร้อยละ 7.343±4.623 ถึง 9.821±1.812 โดยน้ำหนัก และเถ้าที่ไม่ละลายในกรดร้อยละ 0.416±0.076  ถึง 0.533±0.160  โดยน้ำหนัก ปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 95 และปริมาณสารสกัดด้วยน้ำมีค่าอยู่ที่ช่วง17.266±0.378 ถึง 17.666±2.470 และ 32.233±1.594 ถึง 34.600±2.773 โดยน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ จากผลการตรวจสอบเอกลักษณ์ พบว่า สมุนไพรบัวบกที่ปลูกในเขตพื้นที่ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานสมุนไพรบัวบกตาม Supplement to Thai Herbal Pharmacopoeia 2004

คำสำคัญ  บัวบก, ไตรเทอร์ปีนไกลโคไซค์, ตำบลห้วยด้วน

 

Abstract

               Identification of Centella asiatica (L.) Urb. Cultured in Huai Duan District, Dontum Prefecture, Nakhon Pathom Province according to the Supplement to  Thai Herbal Pharmacopoeia 2004 was performed. The microscopic characteristics of the herb revealed epidermis showing stoma, vascular bundle and rosette aggregate crystals, unicellular trachoma, scalarform and pitted vessels and collenchymas. Chemical Identification found that Phenolic and triterpene glycoside were found in Centella asiatica (L.) Urb. Extract determined by thin-layer chromatography technique showed asiaticoside and asiatic acid at 4 th and 5 th position which possessed hRf as 30.909 and 58.182. respectively. The Identification of chemical and physical properties of Centella asiatica (L.) Urb. Found that the quantity of foreigh matter was less than 2.00% by weight, moistuer content was in the range of 6.980 ± 0.517% to 11.997± 1.253% by weight, total ash was in the range of 7.343 ± 4.623% to 9.821 ± 1.812% by weight and acid-insoluble ash was in the range of  0.416± 0.076% to 0.533 ± 0.160% by weight. The % yield of extract with 95% ethanol and water were 17.666± 2.470 to 17.266 ± 0.378 and 34.600 ± 2.773 and 32.233 ± 1.594 by dry weight respectively. The Identification of Centella asiatica (L.) Urb. Cultured in Huai Duan District, Dontum Prefecture, Nakhon Pathom Province found to comply with the requirements in the herbal Centella asiatica (L.) Urb.. of Supplement to Thai Herbal Pharmacopoeia 2004.

 Keyword (s)  Centella asiatica (L.) Urb., Triterpene glycoside, Huai Duan District

 

View Fullscreen

ลูกชิต : ผลผลิตจากต้นตาว

ลูกชิด : ผลผลิตจากต้นตาว

ผศ.วิชัย ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ 

“ลูกชิด” เป็นของกินคู่กับน้ำแข็งไสและไอศกรีมเป็นที่รู้จักดีกันของทุกคนทุกเพศทุกวัย แต่มีน้อยคนที่จะรู้จักที่มาของมัน คนในหลายท้องถิ่นเช่นคนในภาคตะวันเฉียงเหนือจะเรียกลูกชิดว่า “ลูกจาก” ก็เรียกต่อๆกันมาหลายชั่วอายุโดยไม่มีการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไข อาจจะไม่ทราบว่าลูกชิดกับลูกจากนั้นมีที่มาจากคนละต้นกัน  ลูกชิดได้มาจากต้นตาว ส่วนลูกจากได้มาจากต้นจาก หน้าตาก็แตกต่างกันมาก แม้รสชาติจะคล้ายกัน อย่างไรก็ตามพืชทั้งสองชนิดนี้ต่างก็อยู่ในวงศ์เดียวกัน คือวงศ์มะพร้าว หรือ PALMAE นั่นเอง บทความนี้มุ่งให้ความรู้เรื่อง“ต้นตาว”ที่มาของลูกชิดและประโยชน์หลายประการของต้นตาวและลูกชิด ซึ่งมีอีกหลายชื่อ เช่น ลูกตาว ลูกต๋าว ลูกเหนา ลูกชก และส่งเสริมให้ช่วยกันปลูกเพื่อการอนุรักษ์ เนื่องจากในปัจจุบันมีจำนวนต้นตาวลดน้อยลงอย่างมาก สาเหตุมาจากการที่ป่าถูกทำลายอย่างต่อเนื่องและไม่มีการปลูกเพื่อทดแทน ต้นที่ตายไป ต้นตาวจึงมีโอกาสสูญพันธุ์ เพราะต้นตาวสามารถออกดอกติดผลได้เพียงครั้งเดียวในชีวิตประมาณ4-5 ปีแล้วก็จะยืนต้นตาย การปลูกทดแทนจะต้องใช้เวลาประมาณ 8-12 ปีตั้งแต่เริ่มปลูกจึงจะออกดอกติดผลครั้งเดียวดังได้กล่าวไว้

 

ตาว

ชื่อสามัญ  Sugar palm, Aren, Arenga palm, Black-fiber palm, Gomuti palm, Kaong, Irok

ชื่อวิทยาศาสตร์  Arenga pinnata (Wurmb) Merr.

ชื่อวงศ์ ARECACEAE  ชื่อเดิม PALMAE

ชื่ออื่นๆ ชิด   ต๋าว มะต๋าว ฉก ชก ต้นชก เต่าเกียด

การกระจายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า ลาว อินโดนีเซีย และอินเดีย สำหรับในประเทศไทยนั้นจะพบขึ้นตามป่าในเขตจังหวัดภาคเหนือเป็นหลัก เช่น น่าน พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ และตาก ส่วนจังหวัดในภาคตะวันตกและภาคใต้นั้นพอมีบ้างแต่ไม่หนาแน่น ในปัจจุบันมีจำนวนต้นตาวลดน้อยลงอย่างมาก สาเหตุมาจากการที่ป่าถูกทำลายและไม่มีการปลูกเพื่อทดแทน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นปาล์มแบบต้นเดี่ยวที่มีอายุยืนลักษณะคล้ายต้นตาล ลำต้นตรงสูงชะลูด มีหลายขนาด มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางต้นราว 35-65 ซม. ใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับกันบนทาง แต่ละทางมีความยาวประมาณ 6-10 เมตร ทางใบยาวประมาณ 6-10 เมตร ประมาณ 50 ทางต่อต้น มีใบย่อยประมาณ 80-130 ใบต่อทาง ใบมีลักษณะเช่นเดียวกับใบมะพร้าว แต่จะใหญ่และแข็งกว่า ใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนและแหลม ส่วนโคนใบเป็นรูปเงี่ยงใบหอก ขอบเรียบ ผิวหนา หลังใบเป็นสีเขียวเข้มมันวาว ส่วนใต้ใบมีสีขาวนวล เมื่อใบแก่จะห้อยจนปิดคลุมลำต้น  มีระบบรากฝอยเหมือนพืชวงศ์ปาล์ม ดอกออกเป็นช่อเชิงลดขนาดใหญ่ โดยดอกจะมีทั้งดอกเพศผู้และดอกสมบูรณ์เพศอยู่บนต้นเดียวกันแต่อยู่คนละช่อดอก โดยช่อดอกเพศผู้จะยาวประมาณ 1-2 เมตร ส่วนช่อดอกสมบูรณ์เพศจะยาวกกว่าช่อดอกเพศผู้ ออกดอกตามซอกใบ ห้อยยาวลงได้มากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ออกดอกจนเป็นผลสุกแก่จนร่วงหล่น อาจจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี  ดอกมีสีขาวขุ่น ผลเป็นกลุ่มเบียดติดแน่นบนทะลาย ผลเป็นรูปไข่สีเขียว มีขนาดประมาณ 3-4 ซม. เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มจนถึงสีดำ ส่วนเมล็ดมีสีขาวขุ่น มีลักษณะนิ่มและอ่อน มี 2-3 เมล็ด เมล็ดอ่อนมีสีขาว ส่วนเมล็ดแก่มีสีดำ เปลือกของเมล็ดจะกลายเป็นกะลาบาง ๆ แข็ง ๆ มีสีดำ ส่วนเนื้อในของเมล็ดก็คือ “ลูกชิด” โดยต้นตาวจะให้ผลในช่วงอายุ 8-12 ปี

ข้อควรระวัง ผลตาวมีน้ำยาง ถ้าถูกผิวหนังจะคัน การเก็บผลออกจากทะลายจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ควรสวมเสื้อแขนยาวหรือสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดใส่ถุงมือใส่แว่นกันน้ำยางเข้าตา
การเก็บผลตาว จะเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนถึงเดือนมีนาคม ให้ตัดเฉพาะทะลายที่แก่ ไม่โค่นทั้งต้น การเก็บแต่ละครั้งผู้เก็บต้องไปนอนค้างแรมอยู่ในป่าอย่างน้อย 2-3 คืน ในช่วงที่ฝนหยุดตก ส่วนในช่วงที่มีฝนจะหยุดการดำเนินการ เพราะไม่มีฟืนใช้ต้มลูกตาว เมื่อผลตาวต้มพอสุกแล้ว ก็ตัดขั้วผลแล้วหนีบเมล็ดออกโดยใช้เครื่องมือผลิตเองที่มีคันยกเพื่อออกแรงกดลงให้เมล็ดหลุดออกมา นำเมล็ดไปล้างน้ำให้สะอาดนำไปขายให้พ่อค้าคนกลางไปส่งโรงงานลูกชิดหรือนำมาต้มสุกหรือเชื่อมรับประทานได้

การส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์ตาว

ต้นตาว ต้องใช้เวลาประมาณ 8-12 ปี จึงจะเริ่มออกดอกที่มีเกสรดอกแรก จากนั้นจึงเริ่มออกงวงและติดผล การออกงวงและติดผลของตาวนั้น จะเริ่มออกจากส่วนบนของต้น คือ บริเวณใต้ก้านทางหรือก้านล่างสุด โดยจะทยอยออกงวงรอบคอต้น ตาวหนึ่งต้นจะใช้เวลาออกงวงทั้งหมดประมาณ 2-3 ปี นับตั้งแต่งวงแรกที่อยู่ส่วนบนของต้น ไล่ลงมาจนโคนต้นด้านล่างที่ติดกับพื้นดิน เมื่อถึงงวงสุดท้าย ชีวิตของตาวก็จะจบลงไปเช่นเดียวกัน ดังนั้นชีวิตของตาวต้นหนึ่งจึงจะมีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 8-12 ปี ขึ้นอยู่กับว่าตาวต้นนั้นจะเริ่มออกงวงแรกเมื่อใด เมื่อออกงวงแรกแล้วอีก 4-5 ปี ตาวต้นนั้นก็จะตายจากไป

จะเห็นว่าต้นตาวสามารถออกดอกติดผลได้เพียงครั้งเดียวก็จะตายการปลูกทดแทนจะใช้เวลาตั้งแต่เริ่มปลูกจนออกดอกประมาณ 8-12 ปี ฉะนั้นจึงควรหันมาช่วยกันปลูกต้นตาวเสริมไว้ได้ตลอดเวลา ไม่ต้องรอให้ต้นแก่ตายไปก่อนแล้วจึงปลูก สำหรับต้นพันธุ์ตาวเพื่อนำมาปลูกนั้นสามารถขอคำปรึกษาได้จากสำนักงานเกษตรจังหวัดที่ระบุไว้ข้างบนได้

ประโยชน์ของตาว

1. เนื้อในเมล็ดผลตาว เรียกว่า ลูกชิดกินได้สดๆ หรืออาจนำไปเชื่อมน้ำตาล เพื่อให้ได้รสอร่อยขึ้นสามารถนำมาแปรรูปทำเป็นลูกชิดแช่อิ่ม ลูกชิดปี๊บ ลูกชิดกระป๋อง ลูกชิดอบแห้ง ซึ่งนำไปทำขนมได้หลายชนิด เช่น ใส่ในไอศกรีม หวานเย็น น้ำแข็งไส รวมมิตร  ส่วนแหล่งผลิตลูกชิดที่สำคัญตั้งอยู่ที่จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นโรงงานแปรรูปลูกชิตแห่งเดียวในเขตพื้นที่ภาคเหนือ

2. หน่ออ่อนและเนื้อข้างในลำต้นก็สามารถนำมาใช้ประกอบอาหารเช่นการทำเป็นแกงหรือใส่ข้าวเบือน เป็นต้น

3. ใบใช้มุงหลังคากั้นฝาบ้าน ก้านใบนำมาเหลารวมทำไม้กวาด เส้นใยที่ลำต้นใช้ทำแปรง

4. งวงตาวหรือดอกตาวสามารถนำมาใช้ทำเป็นน้ำตาลคล้ายกับน้ำตาลโตนดได้ ก้านช่อดอกมีน้ำหวาน อาจนำมาใช้ทำเป็นไวน์ผลไม้หรือน้ำส้มได้

5. ลำต้นสามารถนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือใช้ทำเป็นอุปกรณ์การเกษตรได้

6. ก้านทางใบนำมาใช้ทำฟืนสำหรับก่อไฟ

ขอบคุณ    วิกิพีเดีย   

ประสะไพล : ยาไทยหลังคลอด

ชายศักดิ์  ถนนแก้ว, ปิลันธนา เลิศสถิตธนกร

*สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย, หลักสูตร วท.ม.เภสัชกรรมไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 1061 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600

บทคัดย่อ

        ประสะไพล เป็นตำรับยาสมุนไพรที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ จัดเป็นยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา  ส่วนประกอบมีไพลหนัก 81 ส่วน และมีส่วนประกอบของสมุนไพรอื่นๆ คือ ผิวมะกรูด ว่านน้ำ กระเทียม หัวหอม พริกไทย ดีปลี ขิง ขมิ้นอ้อย เทียนดำ เกลือสินเธาว์ หนักสิ่งละ 8 ส่วน และการบูรหนัก 1 ส่วน ข้อบ่งใช้ แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ  แก้ปวดประจำเดือน และขับน้ำคาวปลาในหญิงหลังคลอด ในด้านของแพทย์แผนไทยมีการใช้ยาประสะไพลเพื่อฟื้นฟูหญิงหลังคลอดมาตั้งแต่สมัยโบราญ เพราะยาประสะไพลเป็นยาที่มีรสร้อน จะช่วยให้ ร่างกายอบอุ่น น้ำนมไหลดี  ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย  และช่วยปรับสมดุลให้กับร่างกาย  ยิ่งไปกว่านั้นประสะไพลยังมีคุณสมบัติในการช่วยให้มดลูกคลายตัวและลดการอักเสบได้  ด้วยยาประสะไพลเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยฟื้นฟูหญิงหลังคลอดได้ดี ดังนั้นยาประสะไพลจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของตำรับยาสมุนไพรที่ควรนำไปใช้ในสถานบริการสาธารณสุขเพื่อฟื้นฟูหญิงหลังคลอด และควรได้รับการพัฒนาต่อไปในอนาคต

คำสำคัญ : ประสะไพล/ไพล/ยาสมุนไพร/หญิงหลังคลอด

 

Abstract

        Prasaplai is herbal drug in the National List of Essential Medicines. It been used to cure Gynaecology diseases. This recipe consists of 81 parts of Zingiber Cassumunar Roxb. and 1 part of camphor. The other herbs are Citrus hystrix DC.peel, Acorus calamus L., Allium sativum L., Allium ascalonicum, Piper nigrum L., Piper retrofractum Vahl., Zingiber officinale Roscoe., Curcuma zedoaria Rose  ,Nigella sativa Linn, rock salt, 8 parts per each herb. The indication of Prasaplai are dysmenorrhea relief and excretion of amniotic fluid in post partum mother.

Thai Traditional Medical Doctors have used Prasaplai for health promotion in post partum mothers. Because Prasaplai is hot medicine. It cause worm to the body. Cause milk breast is good flow, Help to excretion the waste, and cause balance to the body. Moreover Prasaplai cause the Uterus is relax and reduce inflammation also. On account of Prasaplai can health promotion in post partum mothers be successful. Therefore Prasaplai is a choice of herbal drug that should to use in the Health facilities. In order to health promotion in post partum mothers and was developed in the future.

Keyword : Prasaplai/Zingiber Cassumunar Roxb./herbal drug/post partum mother.

Selection and Spread of Artemisinin-Resistant Alleles in Thailand Prior to the Global Artemisinin Resistance Containment Campaign

Eldin Talundzic1,2*, Sheila Akinyi Okoth2, Kanungnit Congpuong3,4, Mateusz M. Plucinski1, Lindsay Morton1, Ira F. Goldman1,
Patrick S. Kachur1, Chansuda Wongsrichanalai5, Wichai Satimai3, John W. Barnwell1, Venkatachalam Udhayakumar1

1 Malaria Branch, Division of Parasitic Diseases and Malaria, Center for Global Health, Centers for Disease Control and Prevention, Atlanta, Georgia, United States of America, 2 Atlanta Research and Education Foundation, Atlanta VA Medical Center, Atlanta, Georgia, United States of America, 3 Bureau of Vector Borne Diseases, Ministry of Public Health, Nonthaburi, Thailand, 4 Bansomdej-chaopraya Rajabhat University, Bangkok, Thailand, 5 Independent Scholar, Bangkok, Thailand * [email protected]

Abstract

The recent emergence of artemisinin resistance in the Greater Mekong Subregion poses a major threat to the global effort to control malaria. Tracking the spread and evolution of artemisinin-resistant parasites is critical in aiding efforts to contain the spread of resistance. A total of 417 patient samples from the year 2007, collected during malaria surveillance studies across ten provinces in Thailand, were genotyped for the candidate Plasmodium falciparum molecular marker of artemisinin resistance K13. Parasite genotypes were examined for K13 propeller mutations associated with artemisinin resistance, signatures of positive selection, and for evidence of whether artemisinin-resistant alleles arose independently across Thailand. A total of seven K13 mutant alleles were found (N458Y, R539T, E556D, P574L, R575K, C580Y, S621F). Notably, the R575K and S621F mutations have previously not been reported in Thailand. The most prevalent artemisinin resistance-associated K13 mutation, C580Y, carried two distinct haplotype profiles that were separated based on geography, along the Thai-Cambodia and Thai-Myanmar borders. It appears these two haplotypes may have independent evolutionary origins. In summary, parasites with K13 propeller mutations associated with artemisinin resistance were widely present along the Thai-Cambodia and Thai-Myanmar borders prior to the implementation of the artemisinin resistance containment project in the region.

Prevalence of porcine reproductive and respiratory syndrome virus detection in aborted fetuses, mummified fetuses and stillborn piglets using quantitative polymerase chain reaction

Em-on OLANRATMANEE1), Piya WONGYANIN2), Roongroje THANAWONGNUWECH3) and Padet TUMMARUK4)*

1) Faculty of Veterinary Medicine, Rajamangala University of Technology Tawan-ok, Chonburi 20110, Thailand

2) Department of Medical Technology, Faculty of Science and Technology, Bansomdejchaopraya Rajabhat University, Bangkok 10600, Thailand

3) Department of Pathology, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand

4) Department of Obstetrics, Gynaecology and Reproduction, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand

ABSTRACT

       The objective of the present study was to investigate the prevalence of porcine reproductive and respiratory syndrome (PRRS) virus detection in aborted fetuses (n=32), mummified fetuses (n=30) and stillborn piglets (n=27) from 10 swine herds in Thailand using quantitative polymerase chain reaction (qPCR). Pooled organs and umbilical cord from each fetus/piglet were homogenized and subjected to RNA extraction and cDNA synthesis. The qPCR was carried out on the ORF7 of the PRRS viral genome using fluorogenic probes for amplified product detection. The results revealed that 67.4% (60/89) of the specimens contained PRRS virus. The virus was found in 65.6% (21/32) of aborted fetuses, 63.3% (19/30) of mummified fetuses and 74.1% (20/27) of stillborn piglets (P=0.664). Genotype 1, genotype 2 and mixed genotypes of PRRS virus were detected in 19.1% (17/89), 25.8% (23/89) and 22.5% (20/89) of the specimens, respectively (P=0.316). PRRS virus antigen was retrieved from both non-PRRS-vaccinated herds (68.2%, 45/66) and PRRS-vaccinated herds (65.2%, 15/23) (P=0.794). These findings indicated that these specimens are important sources of the PRRS viral load and the viral shedding within the herd. Thus, intensive care on the routine management of dead fetuses and stillborn piglets in PRRS virus-positive herds should be emphasized.

KEY WORDS: mummy, PRRS, qPCR, reproduction, swine

J. Vet. Med. Sci. 77(9): 1071–1077, 2015

ความชุกและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร

นันทวดี เนียมนุ้ย, มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์.

บทคัดย่อ

       เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดเป็นสารเสพติดประเภทหนึ่งที่ไม่ผิดกฎหมายและไม่ถูกต่อต้านจากสังคม ทั้งที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคมากมาย นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีรายงานการดื่มแอลกอฮอล์และมีแนวโน้มสูงขึ้น วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาความชุก ปัจจัยแวดล้อม และระดับความรุนแรงในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาจากทุกคณะและทุกชั้นปี จำนวน 450 คน พบความชุกของการบริโภคร้อยละ 62.9 โดยเพศชายพบความชุกร้อยละ 74.4 สูงกว่าเพศหญิงซึ่งพบความชุกร้อยละ 56.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value < 0.05) ปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างเพศชายมีค่ามัธยฐานของปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เท่ากับ 42.8 กรัมต่อวัน เพศหญิงเท่ากับ 19.3 กรัมต่อวัน นักศึกษาชายที่มีปริมาณการดื่มจัดอยู่ในระดับที่เสี่ยงรุนแรงมากพบร้อยละ 36.0 ส่วนนักศึกษาหญิงพบร้อยละ 36.1 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ข้อมูลแหล่งจำหน่ายที่อยู่รอบสถานศึกษาและที่พักอาศัย และมีความเห็นว่าจะมีการบริโภคมากขึ้นในเทศกาลต่างๆ อาทิ ปีใหม่ สงกรานต์ การฉลองวันเกิด กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 67.1 ถูกเพื่อนให้บริโภคในครั้งแรก และมีเหตุผลหลักในการบริโภคคือเพื่อความสนุกสนานและการเข้าสังคม ผลจากการศึกษานี้จะเป็นข้อมูลสำคัญในการหาวิธีการรณรงค์ป้องกันเพื่อลดจำนวนการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามกลุ่มเป้าหมายต่อไป

Abstract

       Alcoholic drink has been categorized as an additive substance. In Thailand, consumption of alcohol is legal and generally socially accepted even though it has many adverse effect to consumers. The consumption in undergraduate student has been reported and tended to increase. The objectives of this study were to examine the prevalence of alcohol consumption, environmental factors and drinking behavior of students in a Rajabhat University, Bangkok. A cross-sectional survey was conducted and self-reported questionnaire was used to collect data. Four hundred and fifty samples were participated. The result indicated that the prevalence of drinking was 62.9%. The prevalence in male (74.4%) was more significant than in female (56.0%) (p value < 0.05). The median values of consumption were 42.8 and 19.3 grams per day in males and females, respectively. The proportion of male classified in a very high risk consumption level was 36.0 percent and the proportion of female was 36.1 percent. Most participants had known that there were many alcohol shops available around the university and their places. The common reasons of drinking were to have fun and to socialize with friends. 67.1 percent of consumers had first drinking experienced because of peer pressure. The number of consumption was increased during celebrating parties such as New Year and birthday. The results from this study would be very useful information to seek the appropriate anti-alcoholic program suited to undergraduate students.

นันทวดี เนียมนุ้ย, มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์.ความชุกและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์.2557; 14(1), 178-189.