การนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ             การค้าประเวณีกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปรียบเทียบระหว่างไทย-ประเทศเนเธอแลนด์ (ย่าน Red Light  Districe)

ประเภทผลงานทางวิชาการ บทความ

ปีที่พิมพ์ 2559 ปีที่ 14

มูลเพิ่มเติม วารสาร “ทีทัศน์ วัฒนธรรม”   สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ                                       

อาจารย์สุพรรณิการ์ ชาคำรณ (ผ้ายคำ) สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

   บทความ  เรื่อง การค้าประเวณีกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปรียบเทียบ   ระหว่างไทย -ประเทศเนเธอแลนด์(ย่าน Red Light Districe) โดยอาจารย์สุพรรณิการ์ ชาคำรณ (ผ้ายคำ) สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยได้กล่าวถึง ประเทศไทยประกาศให้เป็นเมืองท่องเที่ยว ทำให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ได้รับสมญานามใหม่ว่า สยามเมืองเซ็กซ์ ประเทศไทยถูกเพ่งเล็งมากจากหลายๆ ประเทศ ในเรื่องเกี่ยวกับโสเภณีและการค้ามนุษย์ รัฐบาลของประเทศได้ออกพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี แต่การค้าประเวณีเป็นการลักลอบค้าจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแอบแฝงมาในรูปแบบของธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม ผับบาร์ เป็นต้น แต่การค้าประเวณีในต่างประเทศสามารถประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีการจดทะเบียนถูกต้อง โดยเฉพาะกลุ่มทวีปยุโรป ในประเทศเนเธอแลนด์

   เนื้อหาสำคัญในบทความ จะกล่าวถึงการค้าประเวณีในประเทศไทยและประเทศเนเธอแลนด์ จะมีการแสดงออกของสังคมประเทศไทยที่ยังไม่ยอมรับอาชีพนี้ แต่สำหรับประเทศเนเธอแลนด์ เป็นการประกอบอาชีพเปิดเผย สุจริต จดทะเบียนถูกต้อง  ซึ่งแต่ละสังคมและวัฒนธรรมมีความแตกต่างกันเพียงแต่จะนำมาปรับใช้ให้เข้ากับสังคมและวัฒนธรรมของเราได้อย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทางต่อสังคมต่อไป

   ดังนั้น จะเห็นได้ว่า บทความนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องเพศศึกษา เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเยาวชน ครอบครัว ได้ตระหนักถึงการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน เพื่อเรียนรู้และหาวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม และปัญหาโรคติดต่อที่จะตามมาจากการมีเพศพันธ์ก่อนวัยอันควร เป็นต้น และบทความนี้ได้ลงตีพิมพ์แล้วในวารสาร ทีทัศน์ วัฒนธรรมสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีที่พิมพ์ 2559  ปีที่ 14


 

การค้าประเวณีกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปรียบเทียบ

ระหว่างไทยประเทศเนเธอร์แลนด์ (ย่าน Red Light Districe)

สุพรรณิการ์ ชาคำรุณ / Supannika Chakamrun


   อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นธุรกิจหนึ่งที่ประกอบไปด้วยธุรกิจมากมายหลายประเภททั้งที่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ธุรกิจที่พัก ธุรกิจการขนส่งธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจร้านขายของที่ระลึก เป็นต้น และธุรกิจที่เกี่ยวข้องทางอ้อม ได้แก่ สินค้าเกษตร งานหัตถกรรม ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจซักรีด เป็นต้นธุรกิจดังกล่าวทำให้การท่องเที่ยวขยายตัวกลายเป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีขนาดใหญ่และทำรายได้ให้กับประเทศเป็นอย่างมากแต่การได้มาซึ่งรายได้นั้นก็นับว่าส่งผลกระทบต่อประเทศชาติเช่นกัน และนอกจากนั้นแล้วสถานการณ์บ้านเมืองภายในประเทศไทยเองมีปัญหาในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ทรัพยากรทางธรรมชาติ ลดน้อยลง ทุกประเทศประสบปัญหาที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับประเทศไทยปัญหาเรื่องการค้าประเวณีเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก จากรายงานสถิติคดีเกี่ยวกับความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบรามการค้าประเวณี พ..๒๕๓๙ ในปี ๒๕๕๗พบว่าผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติฯ ทั่วราชอาณาจักรมีจำนวนคดี ๗๗ คดีมีจำนวนจำเลย ๘๔ ราย เป็นชาย ๓๐ ราย หญิง ๕๔ รายมีจำนวนผู้ต้องโทษ ๘๔ รายเป็นชาย ๓๐ ราย หญิง ๕๔ ราย (สำนักแผนงานและงบประมาณ, ๒๕๕๗ : ๑๔)จากสถิติจะเห็นว่าจำนวนคดีที่เกิดขึ้นมีจำนวนน้อยกว่าที่เป็นอยู่จริงจำนวนมาก จึงนับได้ว่าปัญหาการค้าประเวณีเป็นปัญหาที่หนักหนามาก ทั้งในแง่ของการป้องกันการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาและการลงมือดำเนินการควบคุมและปราบปรามอย่างเด็ดขาดก็ตาม อีกทั้งการค้าประเวณีในปัจจุบันยังเป็นไปในรูปแบบของเครือข่ายที่มีความสัมพันธ์ในด้านธุรกิจข้ามชาติอีกด้วย

ภาพ สรุปเกี่ยวกับความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบรามการค้าประเวณีพ.. ๒๕๓๙ ระหว่างเดือนมกราคม ถึง มิถุนายน (สำนักแผนงานและงบประมาณ (๒๕๕๗ : ๑๐

   การบริการทางเพศมีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในสมัยกรีกและโรมันโบราณซึ่งการค้าประเวณีอยู่ในระเบียบวินัยและอยู่ภายใต้การควบคุมของกฏหมาย สำหรับในประเทศไทยการค้าประเวณีเกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรียกว่า เมียเช่าต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตามกฎหมายตราสามดวง มีการบัญญัติผู้ค้าประเวณีว่าหญิงนครโสเภณีและในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)สถานประกอบการจะมีโคมสีเขียวตั้งไว้ข้างหน้าร้าน เรียกว่า โรงหญิงนครโสเภณี หรือสำนักโคมเขียว การค้าประเวณีมีแพร่หลายมากขึ้น ก่อให้เกิดการแพร่ของกามโรคอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงทรงออกพระราชบัญญัติเพื่อป้องกันและควบคุมโรค โดยให้สถานประกอบการบริการทางเพศต้องจดทะเบียนและมีชื่อโสเภณี รวมทั้งโสเภณีแต่ละคนต้องไปจดทะเบียนกับเจ้าพนักงาน ซึ่งการค้าประเวณีในสมัยนั้นไม่ถือว่าผิดกฎหมายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทางองค์การสหประชาชาติได้มีมติให้กลุ่มสมาชิกต้องปฏิบัติตามมติร่วมกันว่า การค้าประเวณีทำให้ศักดิ์ศรีของมนุษย์ตกต่ำและเป็นต้นเหตุแห่งความเสื่อมทรามต่างๆ ในสังคม เช่น การค้าผู้หญิง การบังคับให้หญิงค้าประเวณีอาชญากรรม และการแพรเ่ ชือ้ กามโรค โดยการออกพระราชบัญญัติ ปรามการค้าประเวณีพ.. ๒๕๐๓ และในปีเดียวกันซึ่งอยู่ในช่วงสงครามเวียดนาม ประเทศไทยได้เป็นฐานทัพของอเมริกา การบริการทางเพศจำเป็นต้องคอยให้บริการแก่ทหารที่มารบในสงครามเวียดนาม แต่เปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบการให้บริการที่ไม่ดูออกไปในแนวที่ผิดกฎหมายเช่น สถานบริการอาบอบนวด บาร์อะโกโก้ โรงน้ำชา หรือเมียเช่า เป็นต้น หลังสงครามสงบการค้าประเวณีก็ยังคงอยู่เรื่อยมา

   ในปี พ.. ๒๕๓๐ ประเทศไทยได้ประกาศให้เป็นท่องเที่ยวไทย ทำให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างมหาศาลโดยเฉพาะการบริการทางเพศทำให้ได้รับสมญานามใหม่ว่า สยามเมืองเซ็กซ์ ประเทศไทยถูกเพ็งเล็งมากเรื่องโสเภณีและการค้ามนุษย์ รัฐบาลจึงประเทศออกพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ..๒๕๓๙ แต่การค้าประเวณีก็ยังคงอยู่และเป็นการลักลอบค้าประเวณีจนถึงปัจจุบันนี้การค้าประเวณีในประเทศไทยเป็นธุรกิจที่แอบแฝงตามร้านผับ บาร์ ร้านอาหาร ธุรกิจศูนย์ออกกำลังกาย ธุรกิจสุขภาพสปา นวดแผนไทยโรงแรม สวนสาธารณะ แหล่งท่องเที่ยวหรือสถานพักผ่อนทั่วไป ซึ่งจะมีรูปแบบทำเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล โดยมีหลากหลายวิธี อาทิ โดยการยืนรอลูกค้าบริเวณริมถนนขายบริการทางเพศผ่านระบบสื่อสารทางอิเล็คทรอนิคส์ สถานบริการทางเพศโดยตรงโดยผู้ขายบริการจะนั่งรอภายในสถานบริการและรอลูกค้าเข้ามาเลือกพร้อมจัดห้องรับรองให้ สถานบริการมีกระจายตามแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นๆ จะเห็นได้ว่าการค้าประเวณีในประเทศไทยก็ไม่ต่างกับประเทศอื่นที่มีการจดทะเบียนธุรกิจบริการทางเพศและประกอบอาชีพโสเภณีที่ถูกต้อง อย่างกลุ่มทวีปยุโรป เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือเดิมชื่อว่าฮอนแลนด์

สำหรับเมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ คือ อัมสเตอร์ดัม ซึ่งระบบการคมนาคมขนส่งนั้นมีประสิทธิภาพทั้งรถไฟ รถราง รถเมโทร รถเมล์ และการสัญจรทางน้ำ แทบไม่ต้องแปลกใจว่าคนเมืองนี้ใช้พลังงานและทรัพยากรกันอย่างคุ้มค่าจริงๆเช่นเดียวกันกับไลฟ์สไตล์ของคนท้องถิ่นที่นี่ เน้นความเรียบง่ายและค่อนข้างติดดินมากกว่าความหรูหราฟุ่มเฟือย ที่ทำให้บรรดานักท่องเที่ยวทั่วโลกมักไม่พลาดกับการมาเยือนและเพื่อมาสัมผัสศิลปะและสถาปัตยกรรมที่งดงามในตอนกลางวัน และสำหรับยามค่ำคืนอัมสเตอร์ดัมก็ไม่เคยหลับไหล โดยเฉพาะย่านเรดไลท์ (Red Light Districe) นั้นมาจากที่ว่าบริเวณที่มีการขายบริการนั้นจะต้องมีการติดไฟนีออนสีแดงไว้ แต่ไม่ใช่ว่าติดไว้หน้าร้านแล้วนั่งรอกันอยู่ข้างในร้านเหมือนในเมืองไทยที่อัมสเตอร์ดัมจะติดไฟไว้ในห้อง(เป็นตู้) แล้วออกมาเต้นเรียกแขกกันในตู้หน้าร้านเลย แล้วหญิงบริการจะใส่ชุดบิกินนีมีทั้งฝรั่งผิวขาว ผิวดำ แบบอ้วนลงพุง แบบอ้วนดำ หรือแบบป้าแก่ๆ มานั่งสูบบุหรี่เพื่อรอแขกใส่ชุดวาบหวิวอยู่เต็มถนนไปหมด เมื่อมีนักท่องเที่ยวคนไหนชอบและพอใจในเรือนร่างและหน้าตา เปิดประตูเจรจาตกลงค่าตอบแทนกันตามใจชอบ (สนนราคาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ ๔๐๕๐ยูโร สำหรับระยะเวลา ๑๕๒๐ นาที) ขณะที่หลายๆ ห้องปิดม่านเอาไว้แสดงว่าไม่ว่างกำลังให้บริการลูกค้าอยู่ (Occupied) ในสภาพยุโรปกฏหมายของประเทศอนุญาตให้มีการค้าบริการทางเพศได้อย่างถูกต้อง แต่จะต้องกำหนดโซนให้ชัดเจนมีอาณาบริการ จะไปตั้งไปทำมาหากินนอกเขตไม่ได้ มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าไปควบคุมและดูแล ซึ่งในย่านนี้มีอยู่ด้วยกันราว ๓๘๐ ตู้ (ห้อง) ประมาณการกันว่ามีหญิงบริการสลับหมุนเวียนกันเช่าเพื่อใช้งานราว ๑,๐๐๐,๒๐๐ คนต่อวัน (ช่วงกลางวันและตอนดึก) โดยถือเป็นพื้นที่ควบคุมที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์อนุญาตให้มีการค้าประเวณีอย่างถูกกฎหมายมาตั้งแต่ปี ค.. ๑๘๑๐ คำเตือนสำหรับนักท่องเที่ยวเมื่อมาในบริเวณนี้คืออย่าถ่ายภาพเหล่าบรรดาหญิงบริการโดยเด็ดขาด ด้วยการตรวจตราผ่านกล้องวงจรปิดหากถ่ายภาพอาจได้พบเจ้าหน้าที่ตำรวจในชุดเครื่องแบบสีฟ้าเดินมาหา พร้อมขอความร่วมมือให้เก็บกล้องและในพื้นที่ไม่ไกลจากนั้น ยังมีร้านค้าให้บริการสินค้าเกี่ยวกับความสุขทางเพศในรูปแบบต่างๆ ให้กับนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่นได้เปิดหูเปิดตา

ภาพ ร้าน Sex Toy Shop ในย่าน Red Light Distric ประเทศเนเธอร์แลนด์

(ที่มา : Dutch Treats. 2011 : Online)

ถึงแม้สองประเทศที่กล่าวมาดูจะแตกต่างกันในเรื่องของการแสดงออกของสังคม แต่ถ้าประเทศไทยทำแบบนี้สังคมไทยก็ยังรับไม่ได้อยู่ดี แต่จะทำยังไงที่ไม่ให้คนต่างชาติมองประเทศไทยเป็นประเทศที่ถูกมองในเรื่องเพศเพียงอย่างเดียว บางอย่างไม่จำเป็นต้องเรียนแบบหรือเอาแบบอย่างของประเทศอื่นมาทั้งหมด แค่นำมาประยุกต์ใช้กับบ้านเราได้อย่างไร บางทีทฤษฎีการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาการสอนแบบเดิมๆสอนให้เรียนรู้การใช้ถุงยางอนามัย การป้องกันยังไงไม่ให้ท้อง ท้องแล้วควรทำอย่างไรแต่ควรที่จะสอนในเรื่องของตัวบทกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติสถานบริการพ..๒๕๐๙ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องเพศเชิงกฏหมายในสถานศึกษาและรวมถึงสถาบันครอบครัวที่ต้องปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีกับสมาชิกในครอบครัว นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม ปัญหาโรคติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธ์ และปัญหาสังคม แต่ในทางอ้อมยังสามารถแก้ปัญหาภาพลักษณ์ของประเทศไทยได้อีกทาง เพราะการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยๆ ส่งผลต่อสถาบันครอบครัวที่ไม่เข้มแข็งและระบบการศึกษาไม่ดีพอ บ่อยครั้งเยาวชนไทยเราถูกมองว่าเป็นวัตถุทางเพศที่นักท่องเที่ยวสามารถหาซื้อได้ง่ายพอๆ กับการซื้อกับข้าวที่เปิดขายกันทั้งวันทั้งคืนทั่วทุกมุมของประเทศแต่ยังมีอะไรที่ให้นึกถึงอีกตั้งเยอะไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

 

นิศา ชัชกุล. (๒๕๕๔). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักแผนงานและงบประมาณ. (๒๕๕๗). รายงานสถิติคดีเกี่ยวกับความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.. ๒๕๓๙ระหว่างเดือนมกราคมมิถุนายน ๒๕๕๗. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ ๑

พฤศจิกายน .. ๒๕๕๗ จาก http://www.m-society.go.th/article_attach/12115/16365.pdf

Traipsing Chronicles. (2011) Dutch Treats. [ออนไลน์]. httpp://sojournersol.blogspot.com/2011/03/dutch-treats.html