การพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ตของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The Development of Asset Management System Via Intranet of Computer Office at Bansomdejchaopraya Rajabhat University

ธรรมศักดิ์  จลาสุภ* ดร.อำนวย  เดชชัยศรี** วรุตม์  พลอยสวยงาม***

บทคัดย่อ

  การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และ 2) ประเมินประสิทธิผลของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คนสำหรับการประเมินประสิทธิภาพของระบบฯ และบุคลากรของสำนักคอมพิวเตอร์และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุ จำนวน 48 คน สำหรับการประเมินประสิทธิผลของระบบฯ เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามมาตราประมาณค่า 5 ระดับและแบบตรวจสอบรายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1) ประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์บนเครือข่ายอินทราเน็ตของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูลมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบ และด้านการใช้งานแอพพลิเคชั่น มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

  2) ประสิทธิผลของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านความต้องการของผู้ใช้ระบบ  ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชั่นงานของระบบ และด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

คำสำคัญ: ระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต

Abstract

The purposes of this research were 1) to study the efficiency of asset management system via Intranet of Computer Office at Bansomdejchaopraya Rajabhat University and 2) to assess the effectiveness of the asset management system via Intranet of Computer Office at Bansomdejchaopraya Rajabhat University. The sample included three specialists for efficiency assessment and other forty-eight of Computer Office staff and asset checking staff for effectiveness assessment. Data were collected using 5-point rating scale questionnaire and checklist, and were statistically analyzed in mean and standard deviation.

* นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
** รองศาสตราจารย์พิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
*** อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา


The findings revealed as follows.

1. The efficiency of asset management system via Intranet of Computer Office at Bansomdejchaopraya Rajabhat University was generally found at the highest level. After item analysis, analysis and design of database was rated at the highest mean followed by analysis and design of system and use of application.

2. The effectiveness of the system was generally rated at the highest level. After item analysis, data security was rated at the highest mean followed by users’ need, ) system operation based on its function, and ease of system using.

Keyword: Asset Management System via Intranet

บทนำ

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นสถาบันอุดมศึกษาระดับท้องถิ่น โดยมีนโยบายการบริหาร และพัฒนามหาวิทยาลัย ยึดหลักการในทางปฏิบัติ PPPO จุดมุ่งหมาย (Purpose) หลักการ (Principle) การมีส่วนร่วม (Participation) ส่งผลต่อการสร้างระบบงานและองค์กร (Organization) เป็นจุดมุ่งหมายในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตามกฎหมาย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายปฏิรูปการศึกษา แบ่งเป็น 9 หมวด(สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2558) ทุกหมวดจะชี้นำการปฏิบัติ ปฏิรูปของทุกสถานศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏ กล่าวเป็นข้อ ๆ คือ 1.มหาวิทยาลัยราชภัฏจะปฏิรูปตนเอง 2.โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน 3.ระบบการศึกษาในแนวปฏิรูป 4.แนวการจัดการศึกษา 5.การบริหารและการจัดการศึกษาใน พ.ร.บ.การศึกษา 6.มาตรฐานและการประกันคุณภาพ 7.คุณภาพของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา 8.ความมีอิสระในการหาและการใช้เงิน และ 9.สิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนการศึกษา การบริหาร

    การบริหารจัดการมหาวิทยาลัย  ในด้านการจัดการเรียนการสอน และการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน จึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อใช้ในการบริหารงาน และการจัดการเรียนการสอน

  ปัจจุบัน การจัดหาครุภัณฑ์ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แต่ละปีมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะครุภัณฑ์ทางคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันที่มีขนาดเล็กลง ซึ่งเคลื่อนย้ายสะดวกและ มีประสิทธิภาพเหมาะแก่การนำไปใช้เป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี  โดยตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ กำหนดว่า หลังจากมีการดำเนินการจัดหา และได้รับมอบสิ่งของแล้ว จะต้องทำการลงบัญชีหรือทะเบียนควบคุม และเก็บรักษาให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย ปลอดภัย ครบถ้วนถูกต้องตรงตามบัญชี หรือทะเบียน และในช่วงของทุกสิ้นปีงบประมาณ จะต้องทำการสำรวจครุภัณฑ์ ว่าการรับจ่ายถูกต้อง คงเหลืออยู่ตรงตามทะเบียนหรือไม่ และ    มีสภาพเป็นอย่างไร เช่น พร้อมใช้งาน ชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญหาย เพราะเหตุใด และเสนอต่อหน่วยงานตามลำดับชั้น     แต่เนื่องจากครุภัณฑ์เหล่านี้ต้องมีการสำรวจข้อมูลอยู่เป็นประจำทุกปี โดยในการสำรวจแต่ละครั้งจะต้องใช้เวลาในการติดตาม ตรวจสอบเป็นเวลานาน อีกทั้งยังต้องใช้กำลังคนจำนวนมากเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนมากที่สุด และไม่สามารถทราบได้ว่าครุภัณฑ์แต่ละชิ้นนั้นสิ้นสภาพการใช้งานหรือยัง มีการเคลื่อนย้ายที่ตั้ง หรือมีการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบถือครองหรือไม่ จากความจำเป็นดังกล่าว ครุภัณฑ์ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการบริหารงาน และการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ดังนั้นการบริหารจัดการใช้ครุภัณฑ์ที่ดี ย่อมนำไปสู่การใช้เงินงบประมาณอย่างประหยัด คุ้มค่า  ถ้าพิจารณาจากปัญหาที่สำนักคอมพิวเตอร์พบอยู่ก็คือ ทะเบียนครุภัณฑ์จะอยู่ในรูปของกระดาษ ซึ่งปัญหาของการดำเนินการดังกล่าวมีดังต่อไปนี้ 1.การจัดสถานที่เก็บเอกสาร 2.ปริมาณกระดาษที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเกิดการสิ้นเปลืองทรัพยากร 3.การเพิ่ม แก้ไข บันทึก และการสืบค้นเอกสารทำได้ยาก 4.การออกรายงานทำได้ยาก และ 5.การกลั่นกรองข้อมูลออกมาเป็นสารสนเทศเพื่อนำไปใช้งาน ทำได้ช้า

   เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และลดปัญหาที่เกิดจากการทำงาน ดังปัญหาที่กล่าวแล้วข้างต้น  การพัฒนาระบบตรวจสอบสถานะครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต จะเป็นวิธีที่จะช่วยบริหารจัดการ และลดปัญหาการการติดตามตรวจสอบครุภัณฑ์ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์พัฒนา เพื่อตรวจสอบสถานะครุภัณฑ์ และสามารถบันทึกข้อมูลและเก็บรายละเอียด    ต่าง ๆ เพื่อให้มีความสะดวกรวดเร็ว ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการจัดซื้อ การซ่อมบำรุง และการจำหน่ายครุภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน และรายงานผลการสำรวจครุภัณฑ์ประจำปีต่อไป 

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

2. เพื่อประเมินประสิทธิผลของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จากการทดลองใช้โดยบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุ

สมมติฐานของการวิจัย

1.ระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีประสิทธิภาพในระดับดี

2. ประสิทธิผลของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัย     ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จากการทดลองใช้โดยบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุ อยู่ในระดับ     ดีมาก

ขอบเขตของการวิจัย

ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็น บุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ จำนวน 14 คน และเจ้าหน้าที่สำรวจพัสดุประจำปี จำนวน 200 คน รวมประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ทั้งสิ้น 214 คน

กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ จำนวน 14 คน และเจ้าหน้าที่สำรวจพัสดุประจำปี จำนวน 34 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ทั้งสิ้น 48 คน โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง

ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ตัวแปรตาม ได้แก่ ประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และประสิทธิผลของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  จากการทดลองใช้โดยบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุ

 

วิธีดำเนินการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ

2. แบบประเมินประสิทธิผลของระบบโดยบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุ

ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและการหาคุณภาพของเครื่องมือ

ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมิน ที่นำมาใช้ประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินที่นำมาใช้ประเมินประสิทธิผล ของบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุที่มีต่อระบบตามลำดับดังนี้

1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมากำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย และกำหนดนิยามศัพท์เกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนระบบเครือข่ายอินทราเน็ตของ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

2. กำหนดประเด็น โครงสร้างของเครื่องมือ และขอบเขตเนื้อหาตามกรอบแนวคิดของการวิจัยที่ได้ศึกษา และร่าง  ข้อคำถามให้มีเนื้อหาสาระสอดคล้องกับจุดประสงค์ และนิยามศัพท์เฉพาะและประเด็นสำคัญ เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทาง ในการสร้างข้อคำถาม

3. ศึกษาวิธีสร้างแบบสอบถามจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ โดยเขียนข้อคำถามให้ครอบคลุมเนื้อหาในแต่ละด้านหรือแต่ละตัวแปรที่จะทำการศึกษา เพื่อให้นำมาเป็นแนวทางในการออกแบบสอบถามการประเมินความเหมาะสม ที่จะนำไปใช้ในการตรวจสอบการพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนระบบเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

4. สร้างแบบสอบถามที่นำไปใช้ประเมินประสิทธิภาพ และประเมินประสิทธิผลของการพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนระบบเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ คือ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากที่สุด  มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด แล้วนำแบบสอบถามเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาตรวจสอบความถูกต้องและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

5. นำแบบสอบถามที่นำมาประเมินประสิทธิภาพที่แก้ไขแล้ว เสนอผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอความเห็นชอบและตรวจสอบความถูกต้องตามโครงสร้างเนื้อหา การใช้ภาษา และให้คำแนะนำในการแก้ไขปรับปรุงแบบสอบถามให้ถูกต้องมีความชัดเจน และสมบูรณ์ขึ้น

6. เมื่อปรับปรุงแบบสอบถามที่นำมาประเมินประสิทธิภาพตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content validity) โดยพิจารณานิยามของตัวแปร ขอบเขต และองค์ประกอบของเนื้อหาที่จะทำการวัด โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องแบบ IOC (Item – Objective Congruence Index : IOC) ในทุกข้อคำถามนั้นเท่ากับ 1.00 หากข้อคำถามที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.50 – 1.00 จัดทำการคัดเลือกไว้ และถ้าข้อคำถามที่มีค่า IOC ต่ำกว่า 0.50 จะต้องทำการพิจารณาปรับปรุงหรือไม่คัดเลือกไว้ (ยุทธ ไกยวรรณ์ และกุสุมา ผลาพร่ม, 2553, น.181)

7. นำแบบสอบถามที่ได้จากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญมาแก้ไขปรับปรุงเป็นฉบับที่มีความเที่ยงตรง

8. นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วให้คณะกรรมการควบคุมสารนิพนธ์พิจารณาแล้วนำไปจัดพิมพ์เป็นแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค จำนวน 3 คนบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่สำรวจพัสดุ จำนวน 48 คน ตอบแบบสอบถาม เพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้ของเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น แล้วนำมาวิเคราะห์ความเชื่อถือ (Reliability) ของแบบสอบถามเป็นรายด้านและโดยรวม

การเก็บรวบรวมข้อมูล

มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้

1. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยนำระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เข้าพบผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคเพื่อประเมินผลการทดลอง และตอบแบบประเมินประเมินประสิทธิภาพ ต่อจากนั้นให้บุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่สำรวจพัสดุประจำปีได้ทดลองใช้ และตอบแบบประเมินประสิทธิผล

2. ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นระยะเวลา 60 วัน 

3. ตรวจแบบประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินประสิทธิผลในการใช้งานระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนระบบเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

4. วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและประมาณค่าสถิติจากคะแนนจากแบบประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินประสิทธิผลในการใช้งานระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนระบบเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

การวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติดังนี้

1. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สูตรการคำนวณ ดังนี้

1.1 ค่าเฉลี่ย ใช้สูตร (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2543, น.137)

1.2 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สูตร (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2543, น.137)

2. สถิติค่า IOC ที่ใช้กับผู้เชี่ยวชาญ (ยุทธ ไกยวรรณ์ และกุสุมา ลาพรม, 2553, น.181)


สรุปผลการวิจัยและอภิปรายผล

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบ เพื่อหาประสิทธิภาพของระบบ และเพื่อประเมินประสิทธิผล จากบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุ ที่มีต่อระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ จำนวน 14 คน และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุ จำนวน 34 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ทั้งสิ้น   48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย

1. ระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

2. แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ เรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยแบบประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ มีลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิด ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ มีประสิทธิภาพมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ซึ่งแบบสอบถามได้แบ่งประเด็นในการประเมินผลออกเป็น 3 ด้าน คือ ความเหมาะสมด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ความเหมาะสมด้านการวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูล ความเหมาะสมด้านการใช้งานแอพพลิเคชั่น

3. แบบประเมินประสิทธิผลของระบบโดยบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุ เรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยแบบประเมินประสิทธิผลของระบบมีลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ มีประสิทธิผลมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ซึ่งแบบสอบถามได้แบ่งประเด็นในการประเมินผลออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านความต้องการของผู้ใช้ระบบ (Functional Requirement Test) ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชั่นงานของระบบ (Functional Test) ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test) ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test)    

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของระบบ ผลการประเมินจากการตอบแบบสอบถามของผู้เชี่ยวชาญ ประสิทธิภาพของระบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.69, S.D. = 0.03) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูล (= 4.87, S.D. = 0.32) รองลงมาคือ ด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบ   (= 4.64, S.D. = 0.35) และด้านการใช้งานแอพพลิเคชั่น (= 4.57, S.D. = 0.28) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านปรากฏผลดังนี้

1.1 ด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความถูกต้องในการวิเคราะห์การศึกษา   ความเป็นไปได้ทางด้านการปฏิบัติงาน (= 5.00, S.D. = 0.00) ความถูกต้องของการวิเคราะห์กระบวนการทำงาน (= 5.00, S.D. = 0.00) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ความถูกต้องในการวิเคราะห์การศึกษาความเป็นไปได้ (= 4.67, S.D. = 0.58) ความเหมาะสมในการเลือกแนวทางในการพัฒนาระบบ (= 4.67, S.D. = 0.58) ความถูกต้องของการเขียนแผนภาพกระแสข้อมูล (= 4.67, S.D. = 0.58) ความสอดคล้องระหว่างกระบวนการทำงานของระบบกับแผนภาพกระแสข้อมูล (= 4.67, S.D. = 0.58) ความเหมาะสมของข้อมูลที่แสดงในสารสนเทศ (= 4.67, S.D. = 0.58) ความสอดคล้องของสารสนเทศกับผู้ใช้ (= 4.67, S.D. = 0.58) ความเหมาะสมของรูปแบบการบันทึกข้อมูล (= 4.67, S.D. = 0.58) ความเหมาะสมของการออกแบบสารสนเทศ (= 4.33, S.D. = 1.15) ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การควบคุมความถูกต้องของข้อมูลในระดับการบันทึกข้อมูลดิบ ( = 4.00, S.D. = 0.00)

1.2 ด้านการวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูลโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.87, S.D. = 0.32) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความเหมาะสมในการเลือกใช้แบบจำลองฐานข้อมูล (= 5.00, S.D. = 0.00) ความถูกต้องในการสร้างแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (ER Diagram) (= 5.00, S.D. = 0.00) ความถูกต้องในการวิเคราะห์ คีย์หลักและคีย์รอง (= 5.00, S.D. = 0.00) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ความเหมาะสมของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแฟ้มข้อมูล (= 4.67, S.D. = 0.58)  และความถูกต้องของการลดปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Normalization) (= 4.67, S.D. = 0.58)

1.3 ด้านการใช้งานแอพพลิเคชั่น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.57, S.D. = 0.28) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า สีพื้นหลังมีความเหมาะสมกับหน้าจอ (= 5.00, S.D. = 0.00) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ รูปแบบตัวอักษรง่ายต่อการอ่าน (= 4.67, S.D. = 0.58) ขนาดตัวอักษรมีความเหมาะสมกับหน้าจอ (= 4.67, S.D. = 0.58) สีของตัวอักษรเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม (= 4.67, S.D. = 0.58) แอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลในขั้นการออกแบบ (= 4.67, S.D. = 0.58) ความเหมาะสมของส่วนต่อประสานระหว่างแอพพลิเคชั่นกับผู้ใช้ระบบ (= 4.33, S.D. = 0.58) ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความเหมาะสมในการจัดวางองค์ประกอบภายในหน้าจอ (= 4.00, S.D. = 0.00)

2. ผลการศึกษาระดับประสิทธิผล จากบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุ ที่มีต่อระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อพิจารณา   เป็นส่วน ๆ จะปรากฏผลดังนี้

2.1 ประสิทธิผล ด้านความต้องการของผู้ใช้ระบบ (Functional Requirement Test) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.69, S.D. = 0.04) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ความเหมาะสมในการปรับสถานะการตรวจสอบครุภัณฑ์ (= 4.83, S.D. = 0.38) มีประสิทธิผลอยู่ระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ความเหมาะสมของการทำรายการเพิ่มข้อมูลครุภัณฑ์ ( = 4.77, S.D. = 0.42) ความเหมาะสมในการค้นหาข้อมูลครุภัณฑ์ ( = 4.77, S.D. = 0.42) ความเหมาะสมในการลบข้อมูลครุภัณฑ์ ( = 4.71, S.D. = 0.46) ความเหมาะสมของการทำรายการแก้ไขข้อมูลครุภัณฑ์ ( = 4.69, S.D. = 0.47) ความเหมาะสมของการแสดงข้อมูลครุภัณฑ์  ( = 4.63, S.D. = 0.49) ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผลลัพธ์สามารถนำไปใช้ในระบบงานอื่น ๆ ได้  ( = 4.44, S.D. = 0.50)

2.2 ประสิทธิผล ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชั่นงานของระบบ (Functional Test) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.66, S.D. = 0.06) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ความถูกต้องในการเพิ่มข้อมูลครุภัณฑ์ (= 4.88, S.D. = 0.33) มีประสิทธิผลอยู่ระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ความถูกต้องในการค้นหาข้อมูลครุภัณฑ์ ( = 4.79, S.D. = 0.41) ความถูกต้องในการแก้ไขข้อมูลครุภัณฑ์ภายในระบบ  ( = 4.71, S.D. = 0.46) ความถูกต้องในการจัดเก็บข้อมูลลงฐานข้อมูล ( = 4.69, S.D. = 0.47) ความถูกต้องในการลบข้อมูลครุภัณฑ์ภายในระบบ ( = 4.54, S.D. = 0.50) ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความรวดเร็วในการประมวลผลของระบบ ( = 4.52, S.D. = 0.50) และความน่าเชื่อถือได้ของระบบ (= 4.52, S.D. = 0.50)

2.3 ประสิทธิผล ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.54, S.D. = 0.09) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าความเหมาะสมของโปรแกรมโดยภาพรวม (= 4.83, S.D. = 0.38) มีประสิทธิผล  อยู่ระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้ถ้อยคำบนจอภาพสามารถสื่อสารเข้าใจง่าย ( = 4.69, S.D. = 0.47) ความง่ายต่อการใช้งานระบบ ( = 4.63, S.D. = 0.61) ความเหมาะสมของตำแหน่งช่องกรอกข้อมูล ( = 4.54, S.D. = 0.62) ความเหมาะสมของปริมาณข้อมูลที่นำเสนอในแต่ละหน้าจอ ( = 4.54, S.D. = 0.62) ความเป็นมาตรฐานเดียวกันเดียวกันในการออกแบบหน้าจอภาพ ( = 4.48, S.D. = 0.62) ความเหมาะสมในการใช้สีของตัวอักษรบนจอภาพ ( = 4.35, S.D. = 0.48)  ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความเหมาะสมในการเลือกใช้ชนิด และขนาดตัวอักษรบนจอภาพ ( = 4.29, S.D. = 0.58)

2.4 ประสิทธิผล ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.78, S.D. = 0.03) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าความเหมาะสมของระบบรักษาความปลอดภัย (= 4.83, S.D. = 0.38) มีประสิทธิผลอยู่ระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ความเหมาะสมของการกำหนดกลุ่มผู้ใช้ระบบ ( = 4.77, S.D. = 0.42) ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความเหมาะสมการกำหนดรหัสผู้ใช้งานและรหัสผ่านในการตรวจสอบผู้เข้าใช้งานระบบ(= 4.75, S.D. = 0.44)

อภิปรายผลการวิจัย

จากการศึกษางานวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนระบบเครือข่ายอินทราเน็ตของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น

  1. ประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนระบบเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สรุปได้ว่า มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้ เนื่องมาจากกระบวนการที่นำมาพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนระบบเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านขั้นตอนการดำเนินการหลายขั้นตอน โดยเริ่มตั้งแต่การรวบรวมความต้องการและศึกษาความเป็นไปได้ ศึกษาปัญหาของระบบ เสนอแนวทางและประเมินแนวทางการแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ความเหมาะสมด้านเทคโนโลยี ความเหมาะสมทางด้านปฏิบัติการ ความเหมาะสมด้านการลงทุน จากนั้นจึงเลือกแนวทางที่เหมาะสมที่สุด การวิเคราะห์ระบบงานเดิม การวิเคราะห์ระบบงานใหม่ ศึกษาความเหมาะสมด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ศึกษาความเหมาะสมด้านการวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูล ศึกษาความเหมาะสมด้านการใช้งานแอพพลิเคชั่น ขั้นตอนการออกแบบระบบฐานข้อมูล พัฒนาระบบให้มีความเหมาะสมกับความต้องการใช้งาน และประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นจึงนำไปทดลองบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่สำรวจพัสดุประจำปี ซึ่งผลการวิจัยมีความสอดคล้องกับงานวิจัยหลายท่าน เช่น ตะวัน  จันทร์เจริญ พลวัฒน์  วุฒิไกรมงคล (2550, น.64) อัจฉรา  ศิลปะอนันต์ (2546, น.65) อำนาจวิทย์  หมู่ศิลป์ (2555, น.50) มีการศึกษาระบบงานเดิม ความต้องการของผู้ใช้งาน ศึกษาเอกสารรายงานที่เกี่ยวข้อง และนำผลมาประกอบการวิเคราะห์ระบบใหม่ โดยใช้แผนผังการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram) เป็นเครื่องมือในการออกแบบระบบงาน       สร้างแผนผังความสัมพันธ์ระหว่างเอ็นทิตี้ (ER-Diagram) เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตาราง ใช้ภาษา PHP ในการพัฒนาระบบ โดยเชื่อมต่อฐานข้อมูล MySQL ปรากฏว่าสามารถช่วยลดเวลา ลดขั้นตอน และเอกสาร ได้มีประสิทธิภาพที่ดี

  นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ธนวัฒน์  จงอุษากุล (2553, น.90) ได้ทำวิจัยเรื่อง ระบบสารสนเทศการบริหารจัดการฐานข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยสนับสนุนการใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ฝ่ายการศึกษา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยทำการพัฒนาระบบตามกระบวนการพัฒนาระบบ SDLC (System Development Life Cycle)        6 ขั้นตอน ศึกษาระบบฐานข้อมูล (Database System) กิตติศักดิ์  ศรีบุตตะ หทัยรัตน์  พงษ์ศิริศักดิ์ (2551, น.93-94) ได้ทำวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ กรณีศึกษา บริษัท ไวร์เออ แอนด์ ไวร์เลส จำกัด มีการศึกษาระบบงานเดิม รวบรวมความต้องการของผู้ใช้งาน ออกแบบระบบงานใหม่โดยใช้แผนผังการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram) เป็นเครื่องมือในการออกแบบระบบงาน สร้างแผนผังความสัมพันธ์ระหว่างเอ็นทิตี้ (ER-Diagram) และใช้ภาษา PHP ในการพัฒนาระบบ โดยเชื่อมต่อฐานข้อมูล MySQL ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดี

  2. ประสิทธิผล จากบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่สำรวจพัสดุ  ที่มีต่อการใช้ระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากที่สุด แสดงว่าผู้ที่ได้ทำการทดลองใช้งานเห็นว่าระบบสามารถทำงานได้ตรงตามความต้องการใช้งาน และนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดจากการทำงานได้  ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิกานต์  ประถมบูรณ์ (2549, น.89-90) ระบบสารสนเทศที่พัฒนาได้ตรงความต้องการใช้งาน สามารถทำงานร่วมกันผ่านระบบได้ทันที จะมีประสิทธิผลอยู่ในระดับดีมาก

  ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ให้มีความน่าสนใจในด้าน ต่าง ๆ ดังนี้

  2.1 บุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่สำรวจพัสดุประจำปี ที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบสำรวจครุภัณฑ์ สามารถใช้ระบบดังกล่าวในการสำรวจหรือค้นหาครุภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบสามารถทำงานบนระบบอินทราเน็ต ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (PC) คอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (Note Book) หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Device) ที่มีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายจะสามารถใช้งานระบบดังกล่าวได้ตามสิทธิการเข้าถึงระบบ และสามารถทำการแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูล ได้แก่ สถานะครุภัณฑ์ สถานที่จัดเก็บ การเบิก-ยืม เป็นต้น ให้ข้อมูลมีความถูกต้องให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

  2.2 ระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาถูกออกแบบการใช้งานให้สามารถรองรับการทำงานแบบร่วมกัน (Multi User) ในการปรับปรุงข้อมูลครุภัณฑ์ การตรวจสอบ และค้นหาข้อมูลครุภัณฑ์ ได้เป็นอย่างดี

  2.3 ระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สามารถนำข้อมูลจากระบบมาจัดทำรายงานสำหรับผู้บริหาร ได้แก่ รายงานครุภัณฑ์คงคลัง จำแนกตามรายละเอียดครุภัณฑ์ จำแนกตามกลุ่มครุภัณฑ์ จำแนกตามประเภทครุภัณฑ์ สถานะการใช้งาน เป็นต้น สามารถใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจได้

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิบัติ

1. การบันทึกข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นกระบวนการทำงานใหม่ที่แทนที่จากการเก็บเอกสารเพียงอย่างเดียว ทำให้ผู้ปฏิบัติงานบางคนต้องใช้เวลาในการพิมพ์ และยังไม่เข้าใจในขั้นตอนการทำงาน เห็นควรให้มีการจัดฝึกอบรมและ       ทำความเข้าใจในส่วนคู่มือการใช้งานประกอบเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานมากยิ่งขึ้น

2. ระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ควรคำนึงถึงระบบสำรองข้อมูล เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และเป็นการป้องกันการสูญหายของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

  3. หลังจากระบบมีการใช้งานไประยะหนึ่ง ผู้ดูแลระบบควรมีการสำรวจปัญหา หรือความต้องการใช้งานที่เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการปรับปรุงระบบ หรือการวางแผนการบำรุงรักษาระบบต่อไปในอนาคต

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

1. ควรมีการใช้โปรแกรมที่ช่วยในการออกรายงานที่มีการจัดเรียงข้อมูลที่มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น และสามารถรายงานได้ในรูปแบบกราฟต่าง ๆ

2. ควรมีฟังก์ชั่นการทำงานเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหา หรือตรวจสอบครุภัณฑ์ที่มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ได้แก่ การใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ เช่น เครื่องอ่านบาร์โค๊ต แบบสองมิติ สามมิติ หรือเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency identification)


บรรณานุกรม

กิตติศักดิ์  ศรีบุตตะ หทัยรัตน์  พงษ์ศิริศักดิ์. (2551).*การพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ กรณีศึกษา บริษัท ไวร์เออ แอนด์ ไวร์เลส จำกัด. สาขาวิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ตะวัน  จันทร์เจริญ พลวัฒน์  วุฒิไกร. (2550). การพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ผ่านระบบอินทราเน็ตแบบบริการผ่านเว็บ กรณีศึกษาโรงพยาบาลสุขุมวิท. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธนวัฒน์  จงอุษากุล. (2553).*ระบบสารสนเทศการบริหารจัดการฐานข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยสนับสนุนการใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ฝ่ายการศึกษา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยี สารสนเทศบัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุทธ ไกยวรรณ์ และกุสุมา ผลาพร่ม. (2553). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

ศิกานต์  ประถมบูรณ์. (2549). ระบบสารสนเทศเพื่องานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ กรณีศึกษา สำนักงานศาลปกครอง.โครงงานวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (2558). นโยบายการบริหาร และพัฒนามหาวิทยาลัย.       ค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2558. จาก http://www.bsru.in.th/other/historymanagement.html

อัจฉรา**ศิลปอนันต์. (2546).*การพัฒนาระบบงานวัสดุ ครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต. สารนิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยี สารสนเทศบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อำนาจวิทย์  หมู่ศิลป์. (2555). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ด้วย Quick Response Code กรณีศึกษาสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.