การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จริยธรรมและกฎหมาย ทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The Development Of Computer Assisted Instruction Law And Ethics Of Computer Undergraduate Faculty Of Education Degree At Bansomdejchaopraya Rajabhat University

ณัฐกฤตา แก้วคำ

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรีสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความ พึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จานวน 30 คน ซึ่งคัดเลือกมาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา มีค่าเท่ากับ 82.10/90.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กาหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ:บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, ประสิทธิภาพ, ผลสัมฤทธิ์, ความพึงพอใจ

Abstract

The purposes of this research were 1) to develop and study the efficiency of computer-assisted instruction on “Computer Ethics and Laws at Higher Education Institutes in Computer Education Program of Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University” 2) to compare students’ learning achievement between before and after using the developed CAI and 3) to study the students’satisfaction towards learning through the developed CAI. The sample included 30 students obtained through sample random sampling. The research instruments were 1) CAI 2) achievement test 3) quality assessment of the CAI and 4) questionnaire. Data was statistically analyzed in mean, standard deviation, and t-test.

The findings revealed as follows.

1. The efficiency of the developed CAI measured 82.10/90.33, which was higher than the 80/80 specified criteria.
2. The students’ learning achievement after using the developed CAI was higher at significance level .05.
3. The students’ satisfaction towards learning through the developed CAI was generally found at the high level.

Keyword: CAI, Efficiency, Achievement, Satisfaction


1. บทนำ

   การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กาหนดแนวทางการจัดการศึกษาของชาติ ในมาตรา 22 คือ ให้ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ซึ่งถือว่าผู้เรียนมีความสาคัญในการเรียนรู้กระบวนการจัดการศึกษาจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และในมาตรา 24 กาหนดให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ จะต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทาได้ คิดเป็นและทาเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ,2542,น.9) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในลักษณะดังกล่าว จะให้เกิดประสิทธิภาพได้จึงจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) และเทคโนโลยีทางการศึกษามาประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนในการจัดการศึกษา

   การเรียนการสอนในปัจจุบัน ได้มีการนาเอาเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสนับสนุนทางการศึกษา และมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น การนาเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการศึกษาและนามาปรับใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนนั้น ทาให้เกิดสื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่งขึ้นซึ่งเรียกว่า (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) ซึ่งเป็นวิธีการเรียนการสอนแบบการจัดโปรแกรม โดยการ ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการในการช่วยเชื่อมโยงเนื้อหาและความรู้ไปสู่ผู้เรียน (วุฒิชัย ประสารสอย ,2543, น .10) การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนาเสนอเนื้อหา เรื่องราวเพื่อสอนหรือทบทวน การทาแบบฝึกหัด เกมการศึกษา สถานการณ์จาลอง การสาธิต และการทดสอบวัดผล เป็นต้น ซึ่งการเรียนนั้นจะมีการโต้ตอบกันตลอดเวลา ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง สามารถที่จะแสดงผลลัพธ์ให้กับผู้เรียนได้รับทราบ ทาให้ผู้เรียนรู้สึกตื่นเต้น เร้าใจ อยากรู้ อันจะส่งผลให้การเรียนรู้เป็นไปด้วยความสนุกสนาน (ยืน ภู่สุวรรณ,2531,น.7)

   ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันนี้วิทยาการทางด้านคอมพิวเตอร์ มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และก้าวทันเทคโนโลยีในด้านนี้ จึงถือว่ามีความจาเป็นอย่างมาก ซึ่งสังเกตได้จากการจัดการศึกษาระบบเปิด การเรียนการสอนเป็นรายบุคคลที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น และได้เริ่มเข้ามาทดแทนการเรียนการสอนในรูปแบบเดิม ภายใต้การควบคุมคุณภาพทางวิชาการอย่างเป็นระบบทุกขั้นตอน ด้วยการนาเทคโนโลยีที่นาสมัยต่างๆ เข้ามาปรับใช้ เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีด้านการจัดการ ซึ่งจะถูกนามาประยุกต์ใช้การจัดการศึกษามากขึ้น (มนต์ชัย เทียนทอง,2545,น.3)

   รายวิชา จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา (Law and Ethics of Compute) เป็ นวิชาที่มีความสา คัญอย่างหนึ่ง เนื่องจาก ความเข้าใจ เป็ นวิชาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรี ยนมีความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ความสาคัญทางกฎหมาย จริยธรรม และศีลธรรมในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และการนาความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ให้ถูกต้องตามหลักวิชาชีพเนื่องจากเนื้อหาของรายวิชา จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษานั้น เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับสาคัญๆ ที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้สมบูรณ์อยู่เสมอ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากการออกกฎหมายฉบับปรับปรุงต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน

   จากเหตุผลที่กล่าวมาในข้างต้นนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจไม่เบื่อหน่ายในการเรียน สามารถทบทวนและทาความเข้าใจในบทเรียนด้วยตนเองได้ทุกเวลา และเป็นสื่อที่สามารถโต้ตอบกับผู้เรียนได้ ทาให้ผู้เรียนได้รับแรงเสริมและมีความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น

 

2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

2.1 เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

2.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน

2.3 เพื่อหาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

3. วิธีการดำเนินงาน

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา (Law and Ethics of Computer) รหัสวิชา 1011207 จานวน 151 คน

กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา (Law and Ethics of Computer) รหัสวิชา 1011207 จานวน 30 คนซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรม และกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

3. แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยใช้แบบ

ประเมินมาตราส่วนแบบประมาณค่าตามวิธีการประมาณค่าของ Likert ซึ่งแบ่งเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามแบบของลิเคอร์ท (Likert) บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2531, น.43-98)

4. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาโดยใช้แบบประเมินมาตราส่วนแบบประมาณค่าตามวิธีการประมาณค่าของ Likert ซึ่งแบ่งเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามแบบของลิเคอร์ท (Likert) และมีการวิเคราะห์ของค่าเฉลี่ยเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่ได้จากแบบสอบถามความ พึงพอใจของผู้เรียน ตามแบบของบุญชม ศรีสะอาด(2535,น.162)

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. กาหนดแบบแผนของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest Design (มนต์ชัย เทียนทอง, 2545,น.315)

2. ดำเนินการทดลองใน เดือนเมษายน 2558 โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1) แจ้งกลุ่มตัวอย่างจานวน 30 คน ทราบล่วงหน้าก่อนการทดลอง
2) จัดเตรียมห้องทดลองโดยใช้คอมพิวเตอร์ 30 เครื่อง
3) ผู้วิจัยแนะนาการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และวิธีการเริ่มเรียนบทเรียน วิธีการเรียน การควบคุมบทเรียนลักษณะของ การปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน การนาเข้าสู่เนื้อหาย่อย วิธีการทาแบบทดสอบ และการคิดคะแนน
4) เริ่มการทดลองเครื่องมือกับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ผู้เรียนทาแบบทดสอบก่อนเรียนจากนั้นเริ่มเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จนจบบทเรียนและให้ผู้เรียนทาแบบทดสอบระหว่างเรียน จนครบทั้ง 3 บท ต่อจากนั้นผู้เรียนทาแบบทดสอบหลังเรียน หลังจากนั้นเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ
5) ผู้วิจัยแจกแบบสอบถามความ พึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
6) ผู้วิจัยนาคะแนนที่ได้จากการทาแบบทดสอบระหว่างเรียนท้ายบททุกหน่วยการเรียนรู้และแบบทดสอบหลังเรียนมาวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาโดยใช้สูตร E1/E2
7) ผู้วิจัยนาคะแนนที่ได้จากการทาแบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest) และคะแนนที่ได้จากการทาแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) มาวิเคราะห์ หาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สูตร T-test
8) ผู้วิจัยนาแบบสอบถามความ พึงพอใจของผู้เรียน มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

 

4. สรุปผลการวิจัย

1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาได้คะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน 82.10/90.33 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กาหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ ในสถานศึกษา ที่สร้างขึ้นให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น คะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทาแบบทดสอบหลังเรียน มีค่าเท่ากับ 52.45 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทาแบบทดสอบก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 27.42 ทาให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของผู้เรียน 30 คน ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาโดยมีค่าเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 4.13 แสดงว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

 

5. อภิปรายผล

1. ด้านการหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กาหนดไว้ กล่าวคือ ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ผู้เรียนได้คะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบระหว่างเรียนมีค่าเท่ากับ 82.10 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กาหนด (E1) และคะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 90.33 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กาหนด (E2) เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา คะแนนแบบทดสอบระหว่างเรียนและหลังเรียนที่ผู้เรียนทาได้มีค่าเท่ากับ 82.10/90.33 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กาหนดไว้ สอดคล้องกับงานวิจัยของไพศาล ภาวสุทธิ (2556,น.80-85) ได้ทาการวิจัย การพัฒนาบทเรียนเว็บบล็อกเรื่อง คอมพิวเตอร์กราฟิก สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนบ้านประตูน้าพระพิมล อาเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของบทเรียนเว็บบล็อก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.98/82.84 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กาหนดไว้

2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการทดสอบทางสถิติ t-test ปรากฏว่าค่า t-test ที่ได้จากการคานวณมีค่าเท่ากับ 21.96 มีค่ามากกว่า t-test ที่ได้จากตารางอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าเท่ากับ 1.699 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน หลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาจากผลคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทาแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 52.45 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทาแบบทดสอบก่อนเรียน มีค่าเท่ากับ 27.42 สอดคล้องกับงานวิจัยของมยุลดา ทาสุรินทร์ (2545) ได้ทาการวิจัย เรื่อง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องศิลปะในการจัดแสงผลการวิจัยพบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สูงกว่ากลุ่มที่เรียนจากวิธีการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

3. การศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.11 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.03 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับงานวิจัยของ พนิดา บัวมณี (2549) ได้ทาการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สาหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละอยู่ในระดับดี เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

 

6. ข้อเสนอแนะ

6.1 ข้อเสนอแนะเพื่อการนาผลการวิจัยไปใช้

1.1 ควรมีการใช้ประกอบการเรียนควบคู่ไปกับการสอนของอาจารย์
1.2 การนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา จาเป็นจะต้องมีการอธิบายวิธีการใช้ให้กับผู้เรียนเสียก่อน เพื่อผู้เรียนได้เรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาได้อย่างถูกต้อง
1.3 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา สามารถนาไปใช้ในการเรียนซ่อมเสริมของผู้เรียนที่มีผลการเรียนอ่อนในรายวิชานี้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีประสิทธิผลทางการเรียนเพิ่มขึ้น หรือใช้เพื่อเป็นการทบทวนความรู้เดิม นอกจากนี้ยังช่วยลดภาระการเรียนการสอนซ่อมเสริมของผู้สอนและช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีอิสระ เหมาะสาหรับผู้เรียนที่เรียนไม่ทัน หรือขาดเรียนสามารถเรียนรู้ได้
1.4 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีผู้เรียนหลายคน ควรให้ผู้เรียนใช้หูฟังแทนการใช้ลาโพง เพื่อลดปัญหาเรื่องเสียงที่อาจส่งผลกระทบต่อการเรียนของผู้เรียน อันจะส่งผลให้การเรียนไม่เป็นไปตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

6.2 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับรายวิชาอื่น เพื่อใช้เป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น
2.2 ควรมีการสร้างหรือพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีทางเลือกหลายทางเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรูปแบบที่ตัวเองต้องการได้ เช่น รูปแบบมัลติมีเดีย รูปแบบที่เน้นข้อความและรูปภาพประกอบแบบบรรยายสด เกมหรือการ์ตูนบรรยาย เนื่องจากผู้เรียนมีความแตกต่างกัน
2.3 เสียงบรรยายอาจปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบอื่นๆตามความเหมาะสม เช่น อาจเปลี่ยนเสียงบรรยายให้มีความน่าสนใจมากขึ้นกว่าเดิม

 

เอกสารอ้างอิง

กนก จันทร์ทอง) .2544 ,มกราคม– เมษายน.( บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน.วารสารวิทยบริการสานักวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.12(1), 66 -75.

กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ) .2542 .( พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช2542 ( แก้ไขเพิ่ มเติม2545( . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กิดานันท์ มลิทอง) .2535 .(เทคโนโลยีการศึกษา ร่วมสมัย .กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิติมา ปรีดิลก) .2532) .เอกสารประกอบการสอนการบริหารการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

กิติมา มลิทอง) .2540 .(เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม .ก รุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

———-) . 2544). สื่อการสอนและฝึกอบรม:จากสื่อพื้นฐานถึงสื่อดิจิทัล .กรุงเทพฯ :อรุณการพิมพ์.

กังวล เทียนกัณฑ์เทศน์) .2540 .(การวัด การวิเคราะห์ การประเมินผลทางการศึกษาเบื้องต้น . กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

จิรพรรณ พีรวุฒิ) .2542 .(สื่อการเรียนการสอนทาง พยาบาล .กรุงเทพฯ : โอ เอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.

ชัยยงค์ พรหมวงค์) .2545) .สื่อการสอนระดับ ประถมศึกษา เล่มที่ 2 หน่วยที่ 8-15. ) พิมพ์ ครั้งที่ 20). นนทบุรี : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชูศักดิ์ เพรสคอทท์) .2549 .(สื่อสารศึกษาพัฒนสรร . ชุดการสอนคอมพิวเตอร์ หน่วยที่9. สุโขทัยฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ) .2546) .การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์และบทเรียน บนเครือข่าย .ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม.

ณัฐกร สงคราม .(2553). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ .กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงเดือน สัญญะ. (2555). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์กราฟิกสาหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3สาขาเทคโนโลยีและการ . .สื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

ตวงรัตน์ ศรีวงษ์คล) .2547(. การประเมินผล : เอกสารการสอนวิชาบูรณาการหลักสูตรและ การใช้สื่อ . กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2541). คอมพิวเตอร์ ช่วยสอน .กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ถนอมพร เลาหจรัสแสงและคณะ) .2542). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ : ดวงกมล โพรดักชัน .

———-.) 2545). รูปแบบการเรียนสาหรับการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์กระบวนวิชาภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานในระดับอุดมศึกษา(งานวิจัย ) .เชียงใหม่ : สา นักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .

———-). 2545). designing e-Learning : หลักการ ออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการ สอน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทักษิณา สวนานนท์) .2530) .คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา .กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

นรารัตน์ วรรธนเศรณี) .2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาหรับปรับพื้นฐานความรู้ทางคอมพิวเตอร์ . วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

บุญเกื้อ ควรหาเวช) .2543.(นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : หจก . เอส อาร์ พริ้นติ้ง.

บุญชม ศรีสะอาด) .2537 .(การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

———-) . 2545 .(การวิจัยเบื้องต้น ) .พิมพ์ครั้งที่7) . กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ ) .2531). ระเบียบวิธีการ วิจัยทางสังคมศาสตร์ . กรุงเทพฯ :สามเจริญพานิช.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร . (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย : คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาณิสรา รจิตรบรรจง).2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสริมแบบจาลองสถานการณ์บนอินเตอร์เน็ตในการปรับพื้นฐาน เรื่อง พื้นฐานวงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พนิดา บัวมณี) .2549). เรื่อง การพัฒนาบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สาหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 .สารนิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระพีระวัฒน์ มมเทศา) .2552). การเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง อริยสัจ 4 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรเทพ เมืองแมน) .2544.( การออกแบบและพัฒนา CAI multimedia ด้วย Auto ware. กรุงเทพฯ :เอช . เอ็น.กรุรป.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์) .2543.( สถิติทางสังคมศาสตร์ . )พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ : วังใหม่บลูพริ้นต์.

ไพศาล ภาวสุทธิ) .2556) .การพัฒนาบทเรียนเว็บบล็อก เรื่อง คอมพิวเตอร์กราฟิก สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้าน ประตูน้าพระพิมล อาเภอบางเลน จังหวัด นครปฐม .การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร .

ไพโรจน์ ตีรณธนากุลและไพบูลย์ เกียรติโกมล. (2541,พฤษภาคม). “Creating IMMCAI Package,” วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. ปีที่ 1.

ภัทรา นิคมานนท์) .2532.( ผลและการสร้างการประเมินแบบทดสอบ .กรุงเทพฯ : ทิพย์วิสุทธิ์.

มนต์ชัย เทียนทอง) .2545 .(การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สาหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน .กรุงเทพฯ : ศูนย์ผลิตตาราสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

———-.) 2545(. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย สาหรับฝึกอบรมครู –อาจารย์ และนักฝึ กอบรมเรื่องการสร้าง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน .วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฏีีบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

มยุลดา ทาสุรินทร์) .2545). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ศิลปะในการจัดแสง . วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหาร ลาดกระบัง .

มีธี มุงคุณ) .2551) .การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

ยืน ภู่สุวรรณ) .2531. ( การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน : ไมโครคอมพิวเตอร์ (่บับที่ 36 ) .กรุงเทพฯ : ภาควิชาเทคโนโลยี ทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .

ยุวดี มูลประเสริฐ) .2547 .(การสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เทคโนโลยีสารสนเทศ). กรุงเทพฯ : ม . ป.พ.

ยุภาพร พรมวารี. (2550). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4คณะศึกษาศาสตร์ . .มหาวิทยาลัยรามคาแหง

———-. ) 2554 .(การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ ) . พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ :ศูนย์ผลิตตาราสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

รัตนะ บัวสนธ์ .(2544). การวิจัยและพัฒนาการศึกษา . ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ลดาวัลย์ สวัสดิ์หลง) .2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บด้วยการเรียนรู้ แบบโครงงานเพื่อการเรียนรู้เป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัย พระจอมเกล้าพระนครเหนือ . วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ .

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ) .2539.( เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้ .กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วลัยรัตน์ หลาริ้ว และคณะ) .2552 .(การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การคานวณทางไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 . การศึกษาค้นคว้า ด้วยตนเอง มหาวิทยาลัยณเรศวร.

วารินทร์ รัศมีพรหม .(2542) .การออกแบบและพัฒนาระบบการสอน . ภาควิชาเทคโนโลยี ทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ ประสานมิตร.

วาโร เพ็งสวัสดิ์ .(2551). วิธีวิทยาการวิจัย .กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.

วิทยากร เชียงกูล) .2545 ,กุมภาพันธ์). ปฏิรูปการศึกษา อย่างไร .วารสารมิตรครู, 1(2),16-18.

วีระ ไทยพาณิช ) .ม.ป.ป.(.บทบาทและปัญญาของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน , รวบรวมบทความเทคโนโลยีทางการศึกษา .ศูนย์เทคโนโลยี ทางการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน .

วุฒิชัย ประสารสอย. (2543). บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน : นวัตกรรมเพื่อการศึกษา .กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วน จำกัดวี. เจ.พริ้นติ้ง.

ศิริณา จิตต์จรัส) .2542 .(การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง สัตว์ป่าและการอนุรักษ์สัตว์ป่า รายงานการวิจัย กลุ่มการวิจัยและพัฒนา สานักพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม .เขตการศึกษา1.

สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ . พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ .ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (่บับที่ 2 ) พ.ศ.2545        .กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สมศักดิ์ คงเที่ยง และอัญชลี โพธิ์ทอง) .2542.( การบริหารบุคคลและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ .กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคาแหง.

อัญญรัตน์ นาเมือง) .2553 ,พฤษภาคม-สิงหาคม ). การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย .วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ,2(2) , 112 –121.

อรนุช ลิมตศิริ) .2546) .นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนการสอน .กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง.

อรพันธุ์ ประสิทธิรัตน์) .2530 .(คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน . กรุงเทพฯ : คราฟแมนเพรส.

อริสรา ว่องสวัสดิ์ภักดี) .2546.( บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น . วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหาร ลาดกระบัง .

อรุณี อ่อนสวัสดิ์) .2551(. ระเบียบวิธีวิจัย ) . พิมพ์ครั้งที่1 .(พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Anderson, R.C.& Pearson, D.D.)1984(. A Schema-theoretic view of basic

Process in reading comprehension.In David Peason and Other (eds.).Handbook of reading Research. New York : Lonyman.

Applewhite, Phillp B. (1965). Organization Behavior : New York : Prentice – Hall.

Gagne R,H. (1970). The Condition of Learning. Holt, New York : Rinehart and Winston Inc.

Good, Cater. (1973). Dictionary of Education : New York : McGraw-Hall.

Hall,K.A. (1982). Computer-Based Education ,Encyclopedia of Education Research. New York : Harold E.M.

Hannafin, M.J. and Peck, K.L. (1988).The Design Development and Evaluation of Instructional Software. New York : Macmillan.

Herzberg, Federick. (1959). The Motivation to Work. New York : John Wiley and Sons.Inc.