การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

THE DEVELOPMENT OF E-LEARNING LESSON ON DATA COMMUNICATION AND COMPUTER NETWORKING IN ACADEMY FOR THE 2ND YEAR BACHELOR OF EDUCATION STUDENTS MAJORING IN COMPUTER EDUCATION OF BANSOMDEJCHAOPRAYA RAJABHAT UNIVERSITY

นภา แซ่กั๊ว* รองศาสตราจารย์ ดร.อำนวย เดชชัยศรี** อาจารย์นิธิวดี เพ็งใย***

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2557 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสอดคล้อง ค่าประสิทธิภาพและการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า

1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.47/82.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80

2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

คำสำคัญ: บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์

Abstract

The purposes of this research were 1) to develop e-learning lesson on Data Communication and Computer Networking in Academy for the 2nd Year Bachelor of Education students majoring in Computer Education of Bansomdejchaopraya Rajabhat University 2) to compare

learning achievement between before and after using the developed e-learning lesson and 3) to study the students’ satisfaction towards the developed e-learning lesson. The sample included 80 students in academic year 2014. The research instruments involved e-learning lesson, achievement test, and questionnaire. Data was statistically analyzed in mean, standard deviation, coefficient correlation, efficiency, and t-test.

The findings revealed as follows.

1. The efficiency of e-learning lesson on Data Communication and Computer Networking in Academy measured 81.47/82.75, which was higher than the criteria 80/80.

2. The students’ learning achievement after using the developed e-learning lesson was higher at significance level .05.

3. The students’ satisfaction towards the developed e-learning lesson was generally found at the high level (A= 4.20)

Keyword: e-learning Lesson, Computer Network

1. บทนำ

ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากการศึกษามิใช่จำกัดอยู่เพียงในห้องเรียนหรือในโรงเรียน แต่เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ทุกคนมีโอกาสเรียนรู้ในทุกเรื่องทั้งที่เป็นความรู้วิชาการทั่วไป ความรู้ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย ได้ในทุกที่และทุกเวลา การที่จะให้ทุกคนได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพนั้น เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญ จึงได้กำหนดเป้าหมายและแนวนโยบายในการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการศึกษาและการพัฒนาประเทศ โดยสนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการแสวงหาและเผยแพร่ความรู้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มคุณภาพการศึกษาอย่างทั่วถึง ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตสื่อเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพ รวมทั้งพัฒนาผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ มีการจัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสและทางเลือกในการศึกษาและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545, น.85-88)

ในสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งได้เห็นความสำคัญในการให้นักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองและมีการสนับสนุนให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยพัฒนาระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้ตระหนักถึงความสำคัญข้อนี้ด้วยเช่นกันจึงได้มีการจัดทำแผนระบบสารสนเทศ (Information System Plan) ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ ซึ่งระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็อยู่ในแผนนี้ด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยและนิสิตนักศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา จากระบบบริหารจัดการด้านการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายแบบออนไลน์ (Learning Management System ; LMS) เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทางไกล (สำนักคอมพิวเตอร์, 2552, ออนไลน์)

วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา (Data Communication and Computer Networking in Academy) เป็นหนึ่งในวิชาบังคับของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา การจัดการเรียนการสอนเป็นการเรียนการสอนโดยอาศัยตำราและครูเป็นหลักเสียส่วนใหญ่ ซึ่งผู้เรียนไม่มีโอกาสได้เรียนรู้และแก้ปัญหาด้วยตนเองจากการสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนหลายท่านแล้วนำมาวิเคราะห์ปัญหาพบว่า วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาเป็นวิชาว่าด้วยทฤษฎีซึ่งยากต่อการทำความเข้าใจและภาคปฏิบัติที่ต้องใช้

ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน แต่ด้วยเวลาที่จำกัดใน 1 ภาคการศึกษา ดังนั้น ในหลักสูตรจึงมีเฉพาะพื้นฐานและเนื้อหาที่เป็นส่วนสำคัญ ทำให้นักศึกษาไม่ได้เรียนลึกถึงรายละเอียดจึงขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงส่งผลกระทบต่อการเรียนของผู้เรียนทำให้ผู้เรียนไม่สามารถวิเคราะห์โจทย์และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ขาดความเข้าใจและทักษะในการปฏิบัติงานและเมื่อพิจารณาดูผลการเรียนของนักศึกษา พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลางทั้งในการทดสอบย่อยและการสอบปลายภาค

เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้วิจัยจึงเห็นว่า ควรมีการปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญในการเรียนการสอน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองจากการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาและแก้ปัญหาด้วยตัวของผู้เรียนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น โดยวิธีการที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเข้าในเนื้อหาวิชาดังกล่าวได้ดีขึ้นนั้น ผู้วิจัยเห็นว่าควรจะออกมาในรูปแบบของการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เพราะการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) คือ การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีเครือข่ายและเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์และส่งผ่านองค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ ไปยังผู้เรียนที่อยู่ในสถานที่แตกต่างกันให้ได้รับความรู้ทักษะและประสบการณ์ร่วมกันอย่างมีชีวิตชีวา (มนต์ชัย เทียนทอง, 2545, น.58) ซึ่งผู้วิจัยคาดหวังว่าการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถใช้แก้ปัญหาดังกล่าวได้ จากงานวิจัยพบว่า การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนรู้สามารถทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนมีความสนใจและเกิดความเข้าใจได้ดีกว่าการสอนที่ใช้การบรรยายในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวโดยไม่ใช้สื่อใดๆ (ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2545, น.18) นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-Centered) ได้เป็นอย่างดี เพราะผู้สอนสามารถใช้การเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ในการจัดการเรียนการสอนที่ลดการบรรยายได้ โดยให้ผู้เรียนไปศึกษา ทบทวนและทำความเข้าใจด้วยตนเอง ทั้งยังสามารถใช้การเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Autonomous Learning) ได้ดียิ่งขึ้น

ด้วยเหตุผลและคุณสมบัติต่างๆ ของการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงคิดว่าหากนำเอาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนจะมีส่วนช่วยให้การเรียนรู้เนื้อหาวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาของผู้เรียนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้น ผู้วิจัยจึงประสงค์จะพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา เพื่อเพิ่มโอกาสและทางเลือกในการศึกษา สร้างความน่าสนใจของบทเรียนวิชาทฤษฎี เป็นแหล่งความรู้ที่สามารถศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากเนื้อหาในหลักสูตร หรือทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเอง เป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ในลักษณะที่ผู้เรียนเป็นสำคัญและเป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิชาอื่นๆ ของสาขาวิชาต่อไป

2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

E O1 X O2

3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

3. วิธีการดำเนินงาน

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ใช้แบบแผนการทดลองลักษณะ One Group Pretest – Posttest Design ตามวิธีการทดลอง ดังต่อไปนี้

โดยกำหนดให้

E หมายถึง นักศึกษากลุ่มตัวอย่าง

X หมายถึง บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์

O1 หมายถึง คะแนนผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนก่อนเรียน

O2 หมายถึง คะแนนผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนหลังเรียน

3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 4 ห้องเรียน รวม 160 คน

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 80 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)

3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้มีเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย

1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

3.5 ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ

1. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

ผู้วิจัยได้นำแนวคิดการออกแบบระบบการสอน ADDIE Model (Generic Model) ของ Seels & Glasgow (1998 อ้างถึงใน มนต์ชัย เทียนทอง, 2545, น.131-136) มาเป็นแนวคิดในการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีขั้นตอนและรายละเอียดดังนี้

1) ขั้นวิเคราะห์ (Analysis)

1.1) วิเคราะห์สภาพปัญหา โดยศึกษาสภาพการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา การสังเกต พูดคุย กับนักศึกษา และสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนหลายๆ ท่านแล้วนำมาวิเคราะห์ปัญหา

1.2) วิเคราะห์หลักสูตร โดยวิเคราะห์หลักการ จุดประสงค์การเรียนรู้ โดยสร้างคำอธิบายรายวิชาและตัวชี้วัดที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

1.3) วิเคราะห์เนื้อหารายวิชา รายละเอียดของเนื้อหา เพื่อกำหนดขอบข่ายของเนื้อหา และขอความอนุเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสม

2) ขั้นออกแบบ (Design)

2.1) ออกแบบบทเรียน โดยนำบทเรียนที่ได้จากขั้นตอนแรกมาสร้างเป็นบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา แบบทดสอบ กิจกรรม

2.2) ออกแบบผังงาน (Flowchart) โดยเขียนเป็นแผนภาพบทเรียนให้มีความสัมพันธ์กัน และออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)

2.3) ออกแบบหน้าจอภาพ (Screen) โดยแบ่งพื้นที่หน้าจอให้มีองค์ประกอบเป็นสัดส่วน

3) ขั้นพัฒนา (Development)

3.1) เตรียมวัสดุประกอบบทเรียน หรือสื่อมัลติมีเดียต่างๆ ด้วยโปรแกรมเฉพาะ เช่น ภาพ ภาพเคลื่อนไหว กราฟิก เสียง ตามผังงานและบทดำเนินเรื่อง

3.2) ดำเนินการผลิตบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ตามที่ออกแบบไว้ โดยใช้โปรแกรม Adobe Captivate

3.3) นำบทเรียนที่สร้างขึ้นเข้าสู่ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (LMS) ซึ่งผู้วิจัยเลือกใช้โปรแกรม Moodle

3.4) นำบทเรียนอัพโหลดขึ้น Server จริง เพื่อให้สามารถใช้งานบทเรียนได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

4) ขั้นทดลองใช้ (Implementation)

เป็นการทดลองบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้งานจริงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และตรวจสอบหาข้อผิดพลาดและปัญหาในการใช้งาน

5) ขั้นประเมินผล (Evaluation)

5.1) นำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา พร้อมทั้งแบบประเมินคุณภาพบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เสนอผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค 3 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 3 ท่าน

5.2) นำผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย พบว่า บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพโดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ซึ่งหมายถึง มีความเหมาะสมมากที่สุด

5.3) แก้ไขปรับปรุงบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ตามข้อเสนอแนะ และจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

เป็นข้อสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอน ดังนี้

1) ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร รายวิชาและเนื้อหา สาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัดและจุดประสงค์การเรียนรู้

2) กำหนดตัวชี้วัดที่ต้องการให้เกิดกับนักศึกษาตามโครงสร้างเนื้อหาที่ได้วิเคราะห์มาแล้ว การให้น้ำหนักความสำคัญ การวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ แบ่งเป็น 6 ระดับ ได้แก่ ความจำ (Knowledge) ความเข้าใจ (Comprehend) การประยุกต์ (Application) การวิเคราะห์ (Analysis) การสังเคราะห์ (Synthesis) และการประเมินค่า (Evaluation)

3) สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก

4) นำแบบทดสอบเสนอผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 3 ท่าน พิจารณาความถูกต้องตามหลักวิชาการโดยการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (The Index of Item Objective Congruence; IOC) เพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้

5) นำผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหามาคำนวณหาค่าความสอดคล้อง (IOC) ซึ่งได้ค่าระหว่าง 0.67-1.00 แสดงว่าเป็นข้อสอบที่มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้

6) ปรับปรุงแก้ไขแบบทดสอบ และจำทำเป็นฉบับสมบูรณ์ จำนวน 40 ข้อ

3. แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอน ดังนี้

1) ศึกษาวิธีการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ จากหนังสือ การวัดผลการศึกษา ของ สมนึก ภัททิยธนี (2544, น.36-42) และหนังสือ การวิจัยเบื้องต้น ของ บุญชม ศรีสะอาด (2545, น.63-75)

2) กำหนดกรอบการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้แบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ของลิเคิร์ท (Likert’s Five Rating Scale)

3) ดำเนินการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ และนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบฉบับร่าง ปรับปรุงแก้ไข และเสนอผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรายการประเมิน (IOC)

4) นำผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคมาคำนวณหาค่าความสอดคล้อง (IOC) ซึ่งได้ค่าระหว่าง 0.67-1.00 แสดงว่าเป็นแบบสอบถามที่มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้

5) ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถาม และจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์

4. ผลการวิจัย

ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูล และได้นำเสนอตามหัวข้อดังต่อไปนี้

4.1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

A แทน ค่าเฉลี่ย

S.D. แทน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

n แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง

t แทน ค่าสถิติการแจกแจง

(t-Distribution)

p แทน ระดับนัยสำคัญของ

การทดสอบทางสถิติ

4.2 การวิเคราะห์ข้อมูล

1. การหาประสิทธิภาพของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

3. การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ตารางที่ 1 ประสิทธิภาพของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ แบบทดสอบ

n

คะแนนเต็ม

S.D.

ประสิทธิภาพ

ระหว่างเรียน

80

40

32.59

3.44

E1= 81.47

หลังเรียน

80

40

33.10

3.75

E2= 82.75

จากตารางที่ 1 คะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบระหว่างเรียนเท่ากับ 32.59 คิดเป็นประสิทธิภาพของกระบวนการได้เท่ากับ 81.47 และคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบหลังเรียนเท่ากับ 33.10 คิดเป็นประสิทธิภาพของผลลัพธ์ได้เท่ากับ 82.75 แสดงว่า บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.47/82.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80

ตารางที่ 2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ แบบทดสอบ

n

คะแนนเต็ม

ร้อยละ

S.D.

t

ก่อนเรียน

80

40

11.65

29.13

3.62

39.37*

หลังเรียน

80

40

33.10

82.75

3.75

จากตารางที่ 2 คะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ 11.65 คิดเป็นร้อยละ 29.13 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.62 และคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบหลังเรียนเท่ากับ 33.10 คิดเป็นร้อยละ 82.75 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.75 โดยค่าทีจากการคำนวณมากกว่าค่าทีจากตาราง (39.37 > 1.99) แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

ตารางที่ 3 ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์

รายการประเมิน

S.D.

1. เนื้อหาบทเรียนมีความครอบคลุม สอดคล้องกับ

การเรียนในชั้นเรียน

4.33

0.59

2. มีความสะดวกในการเรียนรู้และทบทวนบทเรียน

4.28

0.69

3. รูปแบบการนำเสนอมีความน่าสนใจ น่าติดตาม

4.18

0.65

4. รูปแบบการนำเสนอมีความสะดวกน่าใช้ และ

เข้าใจง่าย

4.23

0.75

5. รูปแบบการนำเสนอแปลกใหม่แตกต่างจากการ

เรียนในชั้นเรียนปกติ

4.13

0.72

6. มีความรู้สึกเหมือนเรียนอยู่ในห้องเรียนปกติ

4.15

0.75

7. สามารถติดต่อสื่อสารและแสดงความคิดเห็น

ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนนอกเวลาสอนเพิ่มขึ้น

4.14

0.74

8. เป็นสื่อเสริมทักษะการเรียนด้วยตัวเองได้เป็น

อย่างดี

4.34

0.59

9. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ทำให้มีความกระตือรือร้น

ในการเรียนมากขึ้น

4.16

0.74

10. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้

ชัดเจนขึ้น

4.21

0.71

11. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ดีกว่าการเรียนในห้องเรียน

เพียงอย่างเดียว

4.10

0.77

12. โดยภาพรวม ท่านมีความพึงพอใจต่อบทเรียน

อิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับใด

4.35

0.68

13. โครงสร้างของเนื้อหาครอบคลุมจุดประสงค์

การเรียนรู้

4.24

0.62

14. ความเหมาะสมของปริมาณเนื้อหา

4.24

0.66

15. ความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา

4.18

0.74

16. การจัดลำดับขั้นนำเสนอเนื้อหา

4.04

0.74

17. ความชัดเจนของคำสั่งการใช้งานบทเรียน

4.21

0.67

18. สื่อมัลติมีเดียในบทเรียนสามารถสื่อให้เข้าใจ

เนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น

4.06

0.77

19. ความชัดเจนของคำถามและคำตอบของ

แบบทดสอบ

4.21

0.71

20. แบบทดสอบมีความเหมาะสมกับเนื้อหา

4.25

0.82

ค่าเฉลี่ยรวม

4.20

0.71

จากตารางที่ 3 พบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.71 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ข้อที่ 12. โดยภาพรวม ท่านมีความพึงพอใจต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับใด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.68 รองลงมาได้แก่ ข้อที่ 8. เป็นสื่อเสริมทักษะการเรียนด้วยตัวเองได้เป็นอย่างดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59 ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ข้อที่ 16. การจัดลำดับขั้นนำเสนอเนื้อหา โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.74

5. สรุปผลการวิจัย

5.1 สรุปผล

1. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษามีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.47/82.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

3. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

5.2 อภิปรายผล

1. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.47/82.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ในการวิจัยครั้งนี้ มีขั้นตอนการประเมินตรวจสอบคุณภาพบทเรียน โดยการตรวจสอบคุณภาพของบทเรียนด้านเนื้อหา และด้านเทคนิคโดยผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นจึงทำให้บทเรียนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ สอดคล้องกับผลการวิจัยของ สุเมธา ปานพริ้ง (2556) ซึ่งทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่อง การสร้างวีดีทัศน์เพื่อการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยนำบทเรียนที่พัฒนาขึ้นไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ศิลปากร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 36 คน ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 84.13/91.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80 /80 เนื่องจากบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ได้พัฒนาตามกระบวนการเรียนการสอน ได้แก่ การนำเข้าสู่เนื้อหาสาระ การจัดเนื้อหาเสริม การทบทวนความรู้เดิม การออกแบบวิธีการสอนที่ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมเพื่อทบทวนความรู้และเสริมความเข้าใจ การสรุปสาระสำคัญ และการประเมินผล โดยการนำเสนอเนื้อหานั้นเป็นการนำเสนอเนื้อหาแบบ step by step มีลักษณะเป็นมัลติมีเดีย (multimedia) ที่นำเสนอข้อมูลทั้งข้อความ (text) ภาพนิ่ง (image) ภาพเคลื่อนไหว (animate) ภาพวีดีทัศน์ (video) และมีเสียง (audio) อธิบายประกอบ นอกจากนั้น บทเรียนยังมีแบบทดสอบไว้ให้ผู้เรียนฝึกทำเป็นการทบทวนและเสริมการเรียนรู้ และการสรุปสาระสำคัญหลังจากเรียนจบบทเรียน จึงทำให้บทเรียนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

การเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า นักศึกษามีความกระตือรือร้น และสนุกสนานในการเรียนและสนใจเรียนเมื่อได้เรียนรู้เนื้อหาในบทเรียน ผลการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดของ ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2545) กล่าวว่า สื่อคอมพิวเตอร์ สามารถนำเสนอบทเรียนด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งช่วยสร้างความเร้าใจ ทำให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนและมีความเข้าใจบทเรียนเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้อยากเรียนมากขึ้น

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เนื่องจากบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (Pretest) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.65 และ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (Posttest) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 33.10 ทั้งนี้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้น มีการออกแบบและพัฒนาโดยเน้นให้ผู้เรียนได้มีโอกาสโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์ )Interaction) กับบทเรียนตลอดเวลาและหลากหลายรูปแบบ ทำให้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นสนับสนุนการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งในบทเรียนมีแบบทดสอบที่หลากหลายให้ผู้เรียนฝึกทำ เป็นการทบทวนเนื้อหาได้ตามความต้องการของตนเองจึงทำให้บทเรียนที่พัฒนาขึ้นสามารถทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นได้ สอดคล้องกับผลการวิจัยของ สุเมธา ปานพริ้ง (2556) ที่พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนแบบ อีเลิร์นนิงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 ซึ่งถือว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับพึงพอใจมาก สอดคล้องกับผลการวิจัยของ อนิรุทธ์ โชติถนอม (2545) ทำวิจัยเรื่อง การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับรายวิชาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บไซต์สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ระดับรายวิชาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และศึกษาความพึงพอใจของอาจารย์ และนักศึกษาในการใช้งานเว็บไซต์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 10 คน และนักศึกษาวิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิชาเอกระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 100 คน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า อาจารย์และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บไซต์เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับพึงพอใจ (ระดับ 4)

6.ข้อเสนอแนะ

6.1 ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

1. จากผลการวิจัยพบว่า บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แสดงว่าวิธีการสอนโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองได้ดีขึ้น ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทุกฝ่ายควรให้การสนับสนุนส่งเสริมให้มีการนำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้การจัดการเรียนการสอน เพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพมากยิ่งขึ้น

2. จากผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่ได้รับการเรียนการสอนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และมีความเห็นเกี่ยวกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ว่าสามารถทำให้ผู้เรียนมีความสนุกสนานกับการเรียนรู้ สามารถนำไปศึกษาได้ด้วยตนเอง และสามารถแก้ปัญหาการเรียนไม่ทันเพื่อนโดยการทบทวนความรู้หลังจากเรียนจากห้องเรียน ทั้งนี้การเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่จำกัดเฉพาะการเรียนในห้องเรียน สามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาควรนำการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้กับนักเรียนนักศึกษาทุกระดับ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

6.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในครั้งต่อไป

1. การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ มีขั้นตอนการพัฒนาหลายขั้นตอน แต่ละขั้นตอนจะต้องดำเนินการอย่างประณีต ดังนั้น การวิจัยเพื่อพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ผู้วิจัยควรวางแผนการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนอย่างเหมาะสมและจะต้องดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้อย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ออกมาได้ตามระยะเวลาที่กำหนด

2. การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ต้องอาศัยความรู้และทักษะการใช้งานโปรแกรมหลายๆ โปรแกรมมาประกอบกันเพื่อสร้างสื่อมัลติมีเดีย ดังนั้น ผู้วิจัยควรศึกษาการใช้งานโปรแกรมเหล่านั้นให้ชำนาญ เพื่อให้การพัฒนาสื่อสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและมีความสวยงามเป็นที่น่าสนใจแก่ผู้ใช้มากยิ่งขึ้น

3. ควรสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งรายวิชา ดำเนินการทดลองเรียนกับกลุ่มตัวอย่างทั้งภาคเรียน เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมถึงการประเมินระดับความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรืออาจทำการวิจัยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์กับการเรียนการสอนโดยวิธีปกติ

4. ควรสร้างแบบฝึกหัด และแบบทดสอบในบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีลักษณะที่หลากหลาย เช่น คำถามแบบอัตนัย แบบเติมคำตอบสั้นๆ แบบจับคู่ แบบถูก/ผิด แบบคำนวณ เพื่อให้บทเรียนมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น และไม่สร้างความเบื่อหน่ายให้กับผู้เรียน

เอกสารอ้างอิง

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). รูปแบบการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสำหรับการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ในระดับอุดมศึกษา. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

———-. (2545). Designing e-Learning : หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน.

กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน.กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

สำนักคอมพิวเตอร์. (2552). แผนระบบสารสนเทศ (Information System Plan) พ.ศ.2552 – 2556.

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2558. จาก http://bsru.in.th/document/ISplan_BSRU52-56.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545 – 2559. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุเมธา ปานพริ้ง. (2556). การพัฒนาบทเรียน

อีเลิร์นนิง เรื่อง การสร้างวีดิทัศน์เพื่อการเรียนการสอน สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อนิรุทธ์ โชติถนอม. (2545). การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับรายวิชาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

Gagne, Robert, M.Z. (1985). The condition of learning and theory of instuction. (3rd ed). Forida : Saunder Pub.

Wiggins, G., & McTighe, J. (1998). Understanding by design. Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum Development.