ตีนเป็ดสองชนิดทำของประดิษฐ์ได้สวยงาม

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ ตีนเป็ดทราย กับ ตีนเป็ดทะเล เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง นิยมปลูกกันมากในสวนในบ้านส่วนตัว ที่ทำงานทั้งเอกชนและของรัฐ รวมทั้งสวนสาธารณะทุกแห่ง จึงพบเห็นกันอยู่เสมอ  เพราะตีนเป็ดทั้ง2ชนิดนี้เป็นพรรณไม้ในวงศ์เดียวกันจึงมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่คล้ายกันมาก แม้จะเป็นคนละชนิดกัน จึงทำให้เกิดความสับสนของผู้พบเห็น อีกทั้งเมล็ดแห้งขนาดใหญ่ที่มีความสวยงาม แต่มีน้ำหนักเบาก็ถูกนำมาใช้ในการประดับและประดิดประดอยเป็นของตกแต่งกันทั่วไป  ก็เกิดความสงสัยกันว่าได้มาจากพืชต้นใด บทความนี้จะไขข้อข้องใจได้ทั้งหมด 

 

ตีนเป็ดทราย

ชื่อวิทยาศาสตร์   Cerbera manghas  L.

ชื่อวงศ์    APOCYNACEAE

ชื่ออื่นๆ  ตีนเป็ดเล็ก เทียนหนู  เนียนหนู ปงปง  ปากเป็ด มะตากอ  รักขาว

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 

ไม้ต้น สูง 5-12 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมากทำให้เรือนยอดกลม เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลอ่อน ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว สีเขียวเข้มเป็นมัน เรียงสลับ ออกรวมกันเป็นกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง  ใบรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ดอกสีขาวออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ใจกลางดอกเป็นสีแดงอมชมพู กลีบดอกเมื่อตูมจะซ้อนกันเวียนเป็นเกลียว รูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า ปลายด้านหนึ่งจะยาวและแหลมกว่าอีกด้านหนึ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ออกดอกตลอดปี  ผลโต รูปกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 ซม. ผิวผลสีเขียว เรียบ เมื่อแก่มีสีแดง เป็นมัน เมล็ดแข็งมีลายเส้นตามยาวโดยรอบเมล็ด  น้ำหนักเบา

 

การขยายพันธุ์  เพาะกล้าจากเมล็ด และกิ่งตอน

 

การใช้ประโยชน์

1.  ปลูกเป็นไม้ประดับสวน เพราะมีความสวยงามทั้งใบ ดอก ผล และทรงพุ่ม

2. เมล็ดแห้งมีน้ำหนักเบา ลวดลายสวยงาม นำมาประดิษฐ์เป็นของใช้ของตกแต่งได้สวยงาม

3.  มีสรรพคุณเป็นสมุนไพรหลายด้านสรรพคุณของตีนเป็ด ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยแก้ลม แก้ลมให้กระจาย ช่วยแก้โลหิตพิการ ใช้เป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน  น้ำมันจากเมล็ดใช้ทามีสรรพคุณแก้หวัด

แก้หลอดลมอักเสบ ช่วยขับผายลม ช่วยแก้อาการบิด ช่วยสมานลำไส้

 

ตีนเป็ดทรายตีนเป็ดทะเล

การขยายและการอนุรักษ์พันธุ์ม่วงไตรบุญ เพื่อเป็นพันธุ์ไม้เศรษฐกิจในอู่ทอง

การขยายและการอนุรักษ์พันธุ์ม่วงไตรบุญ เพื่อเป็นพันธุ์ไม้เศรษฐกิจในอู่ทอง (Tribounia venosa (Barnett) D.J. Middleton) เพื่อเป็นพันธุ์ไม้เศรษฐกิจในอู่ทอง Propagation and conservation of Tribounia venosa (Barnett) D.J. Middleton landrace Muang – Triboun to economic crop at Authong district

ไข่ดาว…กลีบดอกขาวนาสรเหลือง

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ ไม้พุ่มดอกหอมต้นนี้ใครเห็นดอกก็จะสะดุดตาทันที เนื่องจากดอกแบนใหญ่ขนาดฝ่ามือหน้าตาคล้ายไข่ดาว มองเห็นแต่ไกลเพราะดอกชูช่อสวยนอกทรงพุ่มคราวละหลายดอก ผู้เขียนได้รับคำถามถึงชื่อดอกไม้ต้นนี้อยู่เสมอ เมื่อยืนยันว่าชื่อ”ไข่ดาว”จริงๆ ก็จะชื่นชมว่าตั้งชื่อได้เหมาะสมมาก ความสวยงามของดอกอยู่ที่กลีบดอกเป็นสีขาวบริสุทธิ์ส่วนเกสรเพศผู้นับร้อยอันเป็นสีเหลืองอยู่ตรงกลางดอก เห็นควรนำมาเผยแพร่ให้รู้จักกันให้กว้างขวางมากขึ้น

ไข่ดาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ Oncoba spinosa Forsk.

ชื่อสามัญ Fried egg tree, Oncoba

ชื่อวงศ์ FLACOURTIACEAE

ถิ่นกำเนิด แอฟริกาเขตร้อน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มรอเลื้อย ลักษณะพุ่มไม่แน่นอนเนื่องจากแตกกิ่งก้านยื่นยาวออกไปไม่มีระเบียบ สูงได้ถึง 5 เมตร ลำต้นมีหนามยาวจำนวนมากและมีช่องอากาศตามกิ่ง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 3.5-14 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยง ขอบใบจักซี่ฟันถี่ ใบอ่อนมีสีน้ำตาลแดง ดอกขนาดใหญ่ ออกเดี่ยว ตามซอกใบที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวบริสุทธิ์ มี 8-10 กลีบ ก้านดอกยาว 1-2 ซม. ดอกบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 7-8 ซม. มีกลิ่นหอมอ่อนๆในช่วงอากาศค่อนข้างเย็น กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ ติดทนที่ขั้วผล เกสรเพศผู้สีเหลืองเป็นเส้นเล็กจำนวนมาก รวมกันอยู่กลางดอก  ทำให้ดูคล้ายไข่ดาว ผลมีเนื้อ ทรงกลม มีสันเล็กน้อย เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ซม. ผลแก่สีน้ำตาลแดง เปลือกแข็ง มีสันตื้นๆหลายสัน เมล็ดมีจำนวนมาก รูปไข่ สีน้ำตาลดำ เกลี้ยง ยาว 6-7 มม.แทรกอยู่ในเนื้อผลสีดำ

 

การขยายพันธุ์

1. เพาะกล้าจากเมล็ด โดยแคะเมล็ดออกมาจากเนื้อผล แม้เปอร์เซ็นต์ความงอกจะต่ำแต่ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ได้ต้นไข่ดาว

2. การตอนกิ่ง ควรใช้ฮอร์โมนช่วยเร่งการออกราก

 

หมายเหตุ

1.ไข่ดาวมีถิ่นกำเนิดในแอฟริกา

2.ต้นไข่ดาวเป็นไม้ปลูกง่าย โตเร็ว ในเมืองไทยเรามีปลูกเป็นไม้ประดับแต่ไม่แพร่หลายเนื่องจากทรงพุ่มไม่แน่นอน มีหนามตามลำต้นและกิ่งก้าน ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้เป็นรูปทรงที่ต้องการ และตัดหนามออกเพื่อป้องกันอันตราย

3. ต้นไข่ดาวเหมาะสำหรับปลูกในสวนสาธารณะ โดยจำกัดพื้นที่ให้เจริญเติบโตอย่างอิสระ เพื่อให้เห็นความเป็นธรรมชาติของไม้ดอกสวยงามต้นนี้

 

อ้างอิง

หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ  ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลองคณะเกษตร กำแพงแสน  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม

องค์การสวนพฤกษศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี. 2544. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4. โอ.เอส.พริ้นติ้งส์เฮาส์, กรุงเทพฯ. 151 หน้า.

นักศึกษาสาขาวิชาผู้ประกอบการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับรางวัลจากการแข่งขันนวัตกรรมอาหารในเมือง “Thailand Innovation Urban Food Challenge”

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ขอแสดงความยินดีกับ
นักศึกษาสาขาวิชาผู้ประกอบการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ได้รับรางวัลจากการแข่งขันนวัตกรรมอาหารในเมือง
“Thailand Innovation Urban Food Challenge”

รายละเอียดเพิ่มเติม :
วันที่ 13 กันยายน 2560
ประเภทเดี่ยว
ณ ลาน Eden ชั้น 1 Central World กรุงเทพฯ
จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, สถาบันอาหาร, กระทรวงอุตสาหกรรม  และ สมาคมเชฟประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชชนนี

—–
1 เหรียญเงิน จาก
นายธนาคาร โศภิณวงศ์วิวัฒน์ คะแนนรวม 80

—–
2 เหรียญทองแดง จาก
นายรามรักษ์ เที่ยงตรง คะแนนรวม 70.5
นายวีรภัส อยู่ศูนย์ตรง คะแนนรวม 72.3

การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ เรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพชรนครเขื่อนขันธ์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัมนาบทเรียนบนเว็บ เรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพ็ชรนครเขื่อนขันธ์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ  เขต ๑

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่พิมพ์ : 2553

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นฤภัทร  กุชวัฒนะ  ครุศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผลการวิจัยนี้พบว่า    บทเรียนบน  WEB  เรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖  มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ ๘๑.๖๗ / ๘๑.๑๑  สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้    ๘๐ /๘๐       การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ  พบว่าคะแนนของกลุ่มหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๑

สามารถศึกษารายละเอียดได้จาก Web-Online ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

รศ.ดร.อำนวย    เดชชัยศรี   บรรณากร  

SMT: วิทย์ / คณิต /  เทคโนโลยี

การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียน ภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ชื่อเรื่อง         การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ชื่อผู้วิจัย         ศรัณย์รัชต์  ศุภรณ์พานิช

สาขาวิชา        หลักสูตรและการสอน

ปีการศึกษา     2556

สาระโดยย่อ

       การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ   การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น  3 ส่วน คือ

       ส่วนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการสอน

       1. ศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร แนวคิด เกี่ยวกับการออกแบบรูปแบบการสอน

       2. ศึกษา วิเคราะห์ แนวคิดพื้นฐานของการเรียนการสอนและทฤษฎีการเรียนรู้ของเพียเจต์ ทฤษฎีกระบวนการกลุ่ม  ปรัชญาพิพัฒนนิยม และการเรียนแบบร่วมมือ รวมทั้งการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์

       3. สังเคราะห์ เชื่อมโยง องค์ประกอบของรูปแบบการสอนในข้อ1 และแนวคิดตามหลักการของ

       ปรัชญาและทฤษฎีในข้อ 2  นำมาสังเคราะห์ให้เป็นรูปแบบการสอนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ  เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์   นำรูปแบบการสอนฉบับร่างนี้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความสอดคล้องภายในระหว่างองค์ประกอบต่างๆ แล้วนำมาแก้ไข

       ส่วนที่ 2   การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบการสอนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ  แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ นำแผนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสม และความสอดคล้อง  ส่วนแบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์  ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรง  หลังจากนี้หาคุณภาพของแบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์  โดยการหาค่าความยากง่าย   ค่าอำนาจจำแนก   และค่าความเชื่อมั่น

       ส่วนที่ 3  การทดลองใช้รูปแบบการสอน  กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคมรัชมังคลาภิเษกภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556  แผนคณิต-อังกฤษ 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์   แผนการจัดการเรียนรู้  จำนวน 4  แผนการเรียนรู้      สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย 

       ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที  ( t-test )

       ผลการวิจัย

       1. รูปแบบการสอนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย

4 องค์ประกอบ

              1) ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ โดยการปฏิบัติจริง

              2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ 

              3) กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบมี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเสนอประเด็น ขั้นที่ 2 ขั้นร่วมมือทำ ขั้นที่ 3 ขั้นทดสอบความจำ  ขั้นที่ 4 ขั้นกลุ่มสัมพันธ์  ขั้นที่ 5 ขั้นปรับปรุงแก้ไข

              4) ผลที่ผู้เรียนได้รับตามรูปแบบ ผู้เรียนมีความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์

       2. นักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการสอนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือมีความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

 

คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการสอน แนวคิดสร้างสรรค์ความรู้ การเรียนแบบร่วมมือการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการ  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการ  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

พงศ์รัศมิ์  เฟื่องฟู 1*   สมภพ  แซ่ลี้ 1

ปรวีณ์  โชติพิทยสุนนท์1    นันทพร  ชื่นสุพันธรัตน์1

กฤษฏา  สังขมงคล1    วีรภัทร  เผ่าพงศ์ประเสริฐ2

1สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ( ค.บ.5 ปี) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  กรุงเทพฯ

2สาขาวิชาคณิตศาสตร์   คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  กรุงเทพฯ

*Corresponding  author email  address: [email protected]


 

       การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ  (1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  เรื่องอสมการ  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  75/75   (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  และ (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  กับเกณฑ์ร้อยละ  70  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2557  โรงเรียนสวนอนันต์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1จังหวัดกรุงเทพมหานคร  จำนวน 18 คน  ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม 

       เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย   ประกอบด้วย  (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่องอสมการ  จำนวน 3 แผน  รวม 8 คาบ(2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  เรื่องอสมการ  สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 3 ชุด และ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้  เรื่องอสมการ  เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก  จำนวน  20 ข้อ  มีค่าความยากตั้งแต่ 0.30 ถึง 0 .65  มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่  0.20 ถึง 0.60  และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.819  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ค่าที ( t-test )

ผลการวิจัยพบว่า 

       (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  เรื่องอสมการ  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  มีค่าประสิทธิภาพ (E1 / E2 )  เท่ากับ85.65 / 81.40  ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ  75/75    

       (2) ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 

       (3) ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 81.40  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ  70 ที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 

———————————————————————

  

ตัวแบบสารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่า เพื่อการบริหารและการประมวลผลงานทะเบียน ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตกรุงเทพมหานคร

ตัวแบบสารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่าเพื่อการบริหารและการประมวลผลงานทะเบียนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตกรุงเทพมหานคร

The   Six  Sigma  Quality Information Models  for  Administering  and Processing  in Registration  of Rajabhat  Universities, Bangkok

 

ปวิช  ผลงาม*  สมชัย  ชินะตระกูล**

จารึก  ชูกิตติกุล**  วจี  ชูกิตติกุล** 

*สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

**คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี


      ปวิช  ผลงาม. (2556).  ตัวแบบสารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่า  เพื่อการบริหารและ การประมวลผล

                                           งานทะเบียนในมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตกรุงเทพมหานคร.   

                                           วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์.  13(2): 131- 142

       วารสารวิชาการ          ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์

       ลิงค์ที่เข้าถึงได้            http://sci.bsru.ac.th/sciweb/eMagazine-13-2.php

พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

ชื่อผลงานทางวิชาการ : พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

ประเภทผลงานทางวิชาการ : เอกสารประกอบการสอน รายวิชาพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นายพิบูลย์ วิฑูรย์ปัญญากุล ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : ศึกษากฎหมายพระธรรมนูญศาลยุติธรรม อำนาจศาลและอำนาจในการพิจารณา พิพากษาคดี รวมทั้งระบบตุลาการและกฎหมาย การจัดตั้งศาลแขวงและพิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง

       พระธรรมนูญศาลยุติธรรม เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติที่บัญญัติถึงศาลและผู้พิพากษา ซึ่งเป็นสถาบันหลักที่ใช้อำนาจตุลาการในการพิจารณาพิพากษาคดีระหว่างประชาชนกับพลเมือง ทั้งนี้เพราะการใช้อำนาจตุลากรโดยศาลหรือผู้พิพากษาเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิ เสรีภาพและทรัพย์สินของประชาชน จึงต้องมีขอบเขตหรือหลักเกณฑ์การฟ้องคดีต้องพิจารณากฎหมายทั้งสองควบคู่กัน

       การแบ่งชั้นของศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญมี 3 ขั้น คือ ศาลขั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

       ตำแหน่งประมุขและรองประมุขในศาลยุติธรรม ตามที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 8 วรรคแรก กล่าวว่า ให้มีประธานศาลฎีกา ประจำศาลฎีกาหนึ่งคน ประธานศาลอุทธรณ์ภาค ประจำศาลอุทธรณ์ภาคศาลละหนึ่งคน และให้มีอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรีและศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้น กำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น ศาลละหนึ่งคน ฯลฯ เป็นต้น

       อำนาจหน้าที่ของผู้พิพากษารับผิดชอบราชการงานของศาล พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 11 บัญญัติไว้ว่าประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ต้องรับผิดชอบในราชการของศาลให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและให้มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

       1. นั่งพิจารณาและพิพากษาคดีใดๆ ของศาลนั้นหรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้วมีอำนาจนำความเห็นแย้งได้

       2. สั่งคำร้องคำขอต่างๆ ที่ยื่นต่อคนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ว่าด้วยวิธีพิจารณาความ

       3. ระมัดระวังการใช้ระเบียบวิธีการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นโดยกฎหมายหรือโดยประการอื่นให้เป็นไปโดยถูกต้อง เพื่อการพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดไปโดยเร็ว

       4. ให้คำแนะนำแก่ผู้พิพากษาในศาลนั้นในข้อขัดข้อง เนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา

       5. ร่วมมือกับเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในบรรดากิจการอันเกี่ยวกับการจัดวางระเบียบและการดำเนินงานส่วนธุรการของศาล

       6. ทำรายงานการคดีและกิจการของศาลส่งตามระเบียบ

       7. มีอำนาจหน้าที่อื่นที่กฎหมายกำหนด

       อธิบดีผู้พิพากษาภาค ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 13 บัญญัติไว้ว่า ให้อธิการบดีผู้พิพากษาภาค ภาคละหนึ่งคนจำนวนเก้าภาค มีสถานที่ตั้งและเขตอำนาจตามที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษากับให้มีรองอธิบดีผู้พิพากษาภาค ภาคละสามคน ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในทางราชการ คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม โดยความเห็นชอบของประธานศาลฎีกาจะกำหนดให้มีรองอธิบดีผู้พิพากษาภาคมากกว่าสามคน แต่ไม่เกินหกคนก็ได้

       อำนาจหน้าที่ของอธิบดีผู้พิพากษาภาคและรองอธิบดีผู้พิพากษาภาค มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

       1. สั่งให้หัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมรายงานเกี่ยวกับคดีหรือรายงานกิจการอื่นของศาลที่อยู่ในเขตอำนาจของตน

       2. ในกรณีจำเป็นจะสั่งให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งในศาลที่อยู่ในเขตอำนาจของตนไปช่วยทำงานชั่วคราวมีกำหนดไม่เกินสามเดือน ในอีกศาลหนึ่งโดยความยินยอมของผู้พิพากษานั้นก็ได้ แล้วรายงานไปยังประธานศาลฎีกาทันที

       ศาลชั้นต้นที่เป็นศาลแขวง ตามพระธรรมนูญศาล มาตรา 17 บัญญัติไว้ว่า ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีและมีอำนาจทำการไต่สวนหรือมีคำสั่งใดๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งในมาตรา 24 บัญญัติว่า ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอำนาจดังต่อไปนี้

       1. ออกหมายเรียก หมายอาญาหรือหมายสั่งให้ส่งคนมาจากหรือไปยังจังหวัดอื่น

       2. ออกคำสั่งใดๆ ซึ่งไม่ใช้เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพากษาแห่งคดี

พระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 25 บัญญัติไว้ว่า ในศาลขั้นต้นผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจเกี่ยวแก่คดี ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

       1. ไต่ศาลและวินิจฉัยชี้ขาด คำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดีทั้งปวง

       2. ไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย

       3. ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา

       4. พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพากษาหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพากษาหรือจำนวนเงินดังกล่าว อาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

       5. พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ละลงโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง เกินอัตราที่กล่าวไม่ได้

       ศาลชำนัญพิเศษ เป็นศาลชั้นต้นจัดตั้งขึ้นโดยอาศัยกฎหมายที่บัญญัติโดยเฉพาะ ซึ่งขณะนี้มีกฎหมายให้จัดตั้งศาลยุติธรรมอื่นซึ่งถือว่าเป็นศาลชั้นต้น รวม 5 ศาล ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลายและศาลภาษีอากร

       ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค มีอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ ได้แก่ อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 204 และมาตรา 208 ตลอดจนมาตราอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้น ซึ่งจะต้องส่งไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค ภาคใดภาคหนึ่งตามที่มีเขตอำนาจ อำนาจหน้าที่ของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค มีอำนาจทั่วไปภายในเขตอำนาจของศาล ดังนี้

       1. พิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น

       2. พิพากษายืนความ แก้ไข กลับหรือยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตที่ศาลชั้นต้นส่งขึ้นมาศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

       3. วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคที่กฎหมายบัญญัติ

       4. วินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่น

       ศาลฎีกาเป็นศาลเดียวเท่านั้นที่ไม่ต้องบัญญัติว่าด้วยเขตศาลฎีกา มีเขตครอบคลุมทั่วราชอาณาจักร ศาลฎีกามีอำนาจรับคดี 3 ประเภท ได้แก่ คดีที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เสนอต่อศาลฎีกาโดยตรง คดีที่มีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ต้องเสนอต่อศาลฎีกาโดยตรงและคดีที่อุทธรณ์มาจากศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามปกติ คดีที่ศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วคู่ความไม่มีสิทธิ์ที่จะทูลเกล้าถวายฎีกาคัดค้านนั้นต่อไป ศาลฎีกามีอำนาจรับคดี 3 ประเภท ได้แก่ คดีที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เสนอต่อศาลฎีกาโดยตรง คดีที่มีกฎหมายอื่นบัญญัติให้เสนอต่อศาลฎีกาโดยตรงและคดีที่อุทธรณ์มาจากศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามปกติ

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : เอกสารประกอบการสอนเล่มนี้ได้กล่าวถึง องค์คณะผู้พิพากษา หมายถึง จำนวนผู้พิพากษาที่กฎหมายกำหนดให้ประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแต่ละเรื่อง โดยกฎหมายกำหนดให้ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาคและศาลฎีกาจะต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน เป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีแต่ละเรื่อง แต่ในศาลขั้นต้นนั้นบางกรณีกฎหมายกำหนดให้ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 1 คน และบางกรณีกำหนดให้ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน เพื่อประกอบเป็นองค์คณะ จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแต่ละเรื่องได้ โดยให้ถือลักษณะคดีแต่ละประเภทเป็นเกณฑ์ในการกำหนดจำนวน ผู้พิพากษาเพื่อประกอบเป็นองค์คณะ โดยคดีแพ่งถือจำนวนทุนทรัพย์เป็นเกณฑ์ ส่วนคดีอาญานั้นถืออัตราโทษชั้นสูงในแต่ละคดีเป็นเกณฑ์ในการกำหนดจำนวนผู้พิพากษา การพิจารณาพิพากษาคดีอาญาในศาลชั้นต้นนั้นจะต้องแยกพิจารณาออกเป็น 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ ขั้นไต่สวนมูลฟ้องกับการชี้สองสถานหรือสืบพยาน ขั้นพิจารณาและขั้นพิพากษา

มาตรา 25 อำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวในศาลขั้นต้นวรรคแรก ในศาลขั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจเกี่ยวกับคดี ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้น ดังนี้

       1. ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดีทั้งปวง

       2. ไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย

       3. ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา

       4. พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง

       การจ่าย การโอน และการเรียกคืนสำนวน ตามที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 32 บัญญัติไว้ว่า ให้ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล หรือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีในแต่ละศาลแล้วแต่กรณี รับผิดชอบในการจ่ายสำนวนคดีให้แก่องค์คณะผู้พิพากษาให้ศาลหรือในแผนกคดีนั้นๆ โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรม การออกระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรมตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงความเชี่ยวชาญและความเหมาะสมขององค์คณะคณะผู้พิพากษาที่จะรับผิดชอบสำนวนคดีนั้น รวมทั้งปริมาณคดีที่องค์คณะผู้พิพากษาแต่ละองค์คณะรับผิดชอบ สำหรับเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจจะก้าวล่วงได้ ในที่นี้ในมาตรา 8 หมายถึงเหตุใดๆ ที่ทำให้ผู้พิพากษาในองค์คณะนั้นไม่อาจนั่งพิจารณาคดีหรือร่วมทำคำพิพากษาคดีนั้นต่อไปได้

ส่วนเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล้วงได้มีความหมาย 7 เหตุ ดังนี้

       1. กรณีที่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้น พ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่

       2. กรณีที่ผู้พิพากษา ซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้น ถูกคัดค้านและถอนตัวไป

       3. กรณีที่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้น ไม่อาจปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณาหรือทำคำพิพากษาในคดีนั้นได้

       4. กรณีผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีอาญาตามมาตรา 25 (5) แล้วเห็นว่าควรพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือน หรือปรับเกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราดังกล่าว

       5. กรณีผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาแล้วเห็นว่าควรพิพากษายกฟ้อง แต่คดีนั้นมีอัตราโทษตามที่กฎหมายกำหนดเกินกว่าอัตราโทษตามมาตรา 25 (5)

       6. กรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งคดีแพ่งเรื่องใดของศาลนั้นจะต้องกระทำโดยองค์คณะซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาหลายคนและผู้พิพากษาในองค์คณะนั้นมีความเห็นแย้งกันจนหาเสียงข้างมากมิได้

       7. กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีแพ่งตามมาตรา 25 (4) ไปแล้ว ต่อมาปรากฏว่าราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องเกินกว่าอำนาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียว

จุดเด่น / ความน่าสนใจของเอกสารประกอบการสอน ฉบับนี้ : มีหลายประเด็นอาทิ เช่น

       ประเด็นที่ 1 ความเป็นมาของผู้พิพากษาในประเทศไทย ตั้งแต่การปกครองประเทศสยามแต่โบราณ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึง ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีไว้ทำนองเดียวกันสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นำแบบพิจารณาพิพากษาคดีแบบอินเดียผสมกับแบบไทย ใช้บุคคลสองจำพวกเป็นพนักงานตุลาการจำพวกหนึ่งเป็นพราหมณ์ชาวต่างประเทศ เชี่ยวชาญทางนิติศาสตร์เรียกว่าลูกขุน ณ ศาลหลวง มี 12 คน หัวหน้าเป็นพระมหาราชครูปุโรหิตมีหน้าที่ชี้บทกฎหมาย แต่ยังบังคับไม่ได้ อำนาจบังคับอยู่ที่เจ้าพนักงานที่เป็นคนไทย ลูกขุนเป็นผู้พิจารณาฟ้องว่าควรรับหรือไม่ ถ้าควรรับจะชี้แจงสองสถานแล้วส่งไปยังศาลกระทรวงที่มีอำนาจพิจารณา ตุลาการจึงทำการสืบพยานตามคำลูกขุน เสร็จแล้วส่งสำนวนไปยังลูกขุนชี้ขาดเพราะเหตุใด ตุลาการจะนำคำพิพากษาส่งไปยังผู้รับๆ จะปรับลงโทษแล้วส่งให้ตุลาการบังคับคดี ดังนั้นผู้พิพากษาสมัยเดิม เรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง ต้องมีความรู้ทางนิติศาสตร์

       ส่วนในหัวเมืองเจ้าเมืองมีอำนาจสิทธิขาดทุกประการในการพิจารณาพิพากษาคดี นับว่าเป็นการเริ่มต้นยุคใหม่ของการเริ่มเป็นผู้พิพากษาและได้ถือปฏิบัติในทำนองนี้ตลอดมาจนบัดนี้ แต่คุณสมบัติผู้สมัครสอบคัดเลือกได้เปลี่ยนแปลงไปบ้าง

       ประเด็นที่ 2 การดำรงตำแหน่งผู้พิพากษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 บุคคลผู้ประสงค์จะเข้ารับข้าราชการเป็นผู้พิพากษาเป็นได้ 3 ทาง คือ

       2.1 สมัครสอบคัดเลือก ต้องอายุไม่ต่ำกว่า 24 ปี บริบูรณ์

       2.2 สมัครทดสอบความรู้ ต้องอายุไม่ต่ำกว่า 24 ปี บริบูรณ์

       2.3 สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ต้องอายุไม่ต่ำกว่า 34 ปี บริบูรณ์

       ผู้ที่จะเข้าสอบเป็นผู้พิพากษาโดย 3 ทางดังกล่าวแล้วตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มาตรา 26 กำหนดว่าจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เช่น ต้องมีสัญชาติไทยโดยกำเนิด ไม่เป็นผู้ถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เป็นต้น และสำหรับผู้สมัครสอบคัดเลือกตามข้อ 1 ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายดังต่อไปนี้

       1. เป็นนิติศาสตร์บัณฑิต หรือสอบไล่ได้ปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.ต. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี

       2. สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษา กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

       3. ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นจ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือพนักงานคุมประพฤติของศาลยุติธรรม พนักงานอัยการ นายทหารเล่าพระธรรมนูญ ทนายความ หรือประกอบวิชาอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายตามที่ ก.ต. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีทั้งวิชาชีพนั้นๆ ด้วย

       ประเด็นที่ 3 ดะโต๊ะยุติธรรมและผู้พิพากษาสมทบ เมืองปัตตานีเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประธานนับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ ในรัชสมัยรัชกาล ที่ 1 ได้แบ่งเมืองปัตตานีเป็น 7 หัวเมือง ด้วยเหตุผลทางการเมือง ต่อมารัชสมัยรัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปการปกครองในประเทศไทย โดยจัดแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลเทศาภิบาล 7 หัวเมือง คือ ปัตตานี รามัน หนองจิก ยะหริ่ง ยะลา สายบุรีและระแงะ มีกฎข้อบังคับปกครองทั้ง 7 หัวเมือง ร.ศ. 120 ข้อ 32 ใช้พระราชกำหนดกฎหมายทั้งปวงในความอาญาและความแพ่งในบริเวณนี้ คนนับถือศาสนาอิสลามเป็นโจทก์จำเลย หรือเป็นจำเลยให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแก่คดี (ซึ่งเกี่ยวกับความแพ่งเรื่องผัวเมียและมรดก) และในการพิจารณาให้มีโต๊ะกาลี (หรือคะโต๊ะยุติธรรมในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นผู้รู้กฎหมายอิสลามเป็นผู้พิพากษาตามกฎหมายอิสลาม ส่วนจังหวัดสตูล ซึ่งเป็น 1 ใน 4 จังหวัดภาคใต้ไม่รวมอยู่ในบริเวณ 7 หัวเมืองดังกล่าว แต่ขึ้นอยู่กับมณฑลไทรบุรี เพิ่งใช้กฎหมายอิสลามบังคับคดีแพ่งเกี่ยวด้วยครอบครัวและมรดก เมื่อ พ.ศ. 2460 ตามตราสารกระทรวงยุติธรรม ลงวันที่ 24 กันยายน 2460

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : การห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

(1) หลักเกณฑ์การจำกัดสิทธิอุทธรณ์ (มาตรา 22)

 

หลัก :

ข้อยกเว้น:

แผนภูมิแสดงหลักเกณฑ์การห้ามอุทธรณ์คำพิพากษาของศาล

ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแขวงในปัญหาข้อเท็จจริง

เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

1. จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก

2. จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลย แต่ศาลรอการลงโทษไว้

3. ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้ หรือ

4. จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท

(2) ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัญหาข้อเท็จจริงกับปัญหาข้อกฎหมาย

ปัญหาข้อเท็จจริง

ปัญหาข้อกฎหมาย

1. ปัญหาว่ามีเหตุการณ์หรือการกระทำอาจเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งต้องวินิจฉัยจากพยานสำนวน

2. ปัญหาการโต้เถียงดุลพินิจของศาล

     ก. ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน

     ข. ดุลพินิจในการลงโทษ

     ค. ดุลพินิจในการดำเนินกระบวนการพิจารณา

1. ปัญหาตามข้อเท็จจริงซึ่งทั้งเป็นยุติแล้วนั้น ต้องตามตัวบทกฎหมายมาตราใด ที่เรียกว่า “ปัญหา การหารือบท”

2. ปัญหาการโต้เถียงว่าศาลดำเนินคดีโดยผิดกฎหมาย

     ก. ศาลฟังพยานโดยผิดกฎหมาย

     ข. ศาลลงโทษจำเลยผิดต่อกฎหมาย

     ค. ศาลดำเนินกระบวนการพิจารณาผิดกฎหมาย

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

สันติภาพศึกษา

ชื่อผลงานทางวิชาการ : สันติภาพศึกษา

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือประกอบการเรียนการสอนวิชาสันติภาพศึกษา

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2555

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : ศรีมงคล เทพเรณู ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สังกัดคณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : สันติภาพพิจารณาได้ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรก หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของสันติภาพ (Education about peace) และอีกลักษณะหนึ่ง หมายถึง การศึกษาเพื่อดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสันติภาพ (Peace Activities) หรือสันติภาพ หมายถึง การพัฒนาหรือการขจัดความอยุติธรรม ความเสื่อมของระดับชั้นทางสังคมและเศรษฐกิจ การขจัดความอิจฉาริษยา ไม่ไว้วางใจกัน หรือหมายถึง การจัดหาปัจจัยทางสังคมที่จำเป็น เช่น อาหาร การศึกษา การดูแลสุขภาพ การจ้างงานหรือการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยสงครามและผู้อพยพที่ยากจน

       จากรูปแบบและเนื้อหาสาระของสันติภาพเน้นที่ปัญหาและการอยู่รอดของมนุษย์เป็นสำคัญและเน้นความร่วมมือ การอยู่ร่วมกันเป็นหลักสำคัญของการศึกษา ดังนั้นควรปลูกฝังนิสิต / นักศึกษาในด้านการค้นหาและทำความเข้าใจกับความขัดแย้งในชีวิต และความสามารถในการร่วมมือกันให้เกิดความตระหนัก ซาบซึ้งในความแตกต่างทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมครอบคลุมไปถึงปัญหาการลดอาวุธนิวเคลียร์ด้วย ดังนั้นการศึกษาเพื่อสันติภาพ หมายถึง การศึกษาที่แสดงวิสัยทัศน์ในทางต่อต้านสงคราม พยายามที่จะหลีกเลี่ยงความคิดที่ว่าสงครามเป็นเรื่องปกติธรรมดาและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทั้งยังพยายามสร้างความเชื่อว่ายังมีชีวิตที่ไม่รุนแรงในการยุติความขัดแย้ง

       การมีส่วนร่วมขององค์ประกอบทุกประการในสังคม เรื่องการศึกษาเพื่อสันติภาพ วัฒนธรรมเพื่อสันติภาพในปัจจุบัน ได้แก่ ครอบครัว บุคคล โรงเรียน มหาวิทยาลัย ศาสนาและรัฐ ได้มีส่วนร่วม สันติภาพทั้งภายในและภายนอกจะเกิดจากเงื่อนไขสำคัญ คือ ทัศนคติที่เชื่อมั่นในวัฒนธรรมที่ว่ามนุษย์สามารถพัฒนาได้ แต่กระแสความขัดแย้งและความรุนแรงในภูมิภาคต่างๆ ของโลกก็เกิดขึ้นเสมอความรุนแรง ได้แก่ ความต้องการมีชีวิตอยู่ ต้องการความเป็นอยู่ที่ดี ต้องการเสรีภาพและต้องการอัตลักษณ์หรือความหมายของชีวิต ระดับความขัดแย้งมี 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับองค์กรและระดับประเทศ ผลของความขัดแย้งกำหนดโดยพลวัตรของปฏิสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายต่างๆ ความรุนแรงที่นำไปสู่ความขัดแย้งทางสังคมในปัจจุบัน คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

       ประวัติความเป็นมาของการศึกษาปรัชญาสันติภาพในโลกตะวันตก แบ่งเป็นระยะๆ ได้แก่ ระยะที่หนึ่ง คือ การศึกษาสันติภาพเชิงลบและการศึกษาสันติภาพในแง่มุมของการศึกษาสงครามในบริบทวิทยาศาสตร์ ระยะที่สอง คือ ระยะที่สันติภาพถูกนำมารวมไว้กับการพัฒนา มีการพัฒนาด้านต่างๆ เกิดขึ้น ระยะที่สาม คือ ระยะที่ผู้คนเริ่มให้ความสำคัญกับการลดอาวุธให้ความสำคัญเรื่องเพศเท่าเทียมกัน ระยะที่จะก้าวสู่อนาคต คือ ตั้งแต่ปัจจุบันเป็นต้นไป ปัจจุบันมีการขยายกรอบการศึกษาครอบคลุมแนวความคิดที่หลากหลายในมุมของสังคมวิทยา

       จุดเริ่มต้นของทฤษฎีสันติภาพ เป็นทฤษฎีที่ยอมรับว่าสงครามในฐานะมาตรการหนึ่งในการรักษาสันติภาพการแสวงหาคุณูปการจากทฤษฎีเพราะมีประโยชน์ต่อการสร้างทฤษฎีสันติภาพ จึงจำเป็นต้องศึกษาทฤษฎีสงครามให้เข้าใจ เพราะทฤษฎีสันติภาพมีลักษณะบางอย่างสอดคล้องกับทฤษฎีสงครามในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับวิธีการของทฤษฎีสันติภาพ 3 ประเด็น ได้แก่ สันติภาพไม่ใช่การยุติสงคราม การทำสงครามเป็นการศึกษาเฉพาะเรื่องกลยุทธ์วิธีการเท่านั้น และสงครามเป็นเรื่องของการกระทำในสภาพการขัดแย้ง เครื่องมือสำหรับการสร้างสันติภาพ สามารถจำแนกตามภารกิจ ดังนี้ การทูตแบบถาวร วิธีการจัดการกับความขัดแย้งแบบไม่เป็นทางการ มาตรการทางการทหาร มาตรการทางเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนาทางการเมืองและมาตรการทางการบริหารจัดการ มาตรการความยุติธรรมและกฎหมายและมาตรการการสื่อสารและการศึกษา

       สังคมนิยมเป็นความหวังใหม่แห่งสันติภาพ แสดงออกมา 2 ลักษณะ คือ แสดงออกทางความสิ้นหวัง กับปฏิกิริยาของประชาชนมีแนวโน้มจะส่งเสริมการเกิดกระแสมิจฉาทิฐิและโมหะจริต ยึดมั่นในแนวคิดของตนโดยไม่สนใจใคร การจัดระเบียบทางเศรษฐกิจเพื่อสันติภาพ เกิดจากการประชุมสำคัญที่เกิดขึ้นโดยกลุ่มนักวิชาการและนักธุรกิจ มีข้อสรุป 2 ประเด็น ได้แก่ จุดจำกัดของการเจริญเติบโต (The Limits to Growth) กับจุดเปลี่ยนของมนุษย์ (Mankind at the Turning Paint) ทางกฎหมายและการเมืองให้ความสำคัญของสันติภาพและต้องการให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น กรณีเกิดข้อพิพาททางกฎหมาย อาจใช้ระบบและบุคลากรที่เป็นทางการ ทางกฎหมายและทนาย เช่น ศาล ฯลฯ เป็นต้น กระบวนการการสร้างสันติวิธีมี 2 ขั้นตอน คือ พยายามป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นพยายามแก้ไขความขัดแย้งและรักษา เยียวยาภายหลังความขัดแย้งสิ้นสุดลง

       สภาพการณ์และสันติภาพของประเทศไทย พบว่าเกิดความรุนแรงทั้งเปิดเผยและไม่เปิดเผย สันติภาพในประเทศไทยจะนึกถึงความขัดแย้งหรือการปะทะกันระหว่างชาติ ประเทศไทยเกิดแรงเหวี่ยงทางสังคมไทย (Social Momentum) เกิดจากปัจเจกชนนิยมการยึดมั่น ถือมั่น การปรับตัวของปัจเจกชนมี 5 แบบ ได้แก่ พวกทำตาม (ปฏิบัติตาม) พวกแหวกแนว พวกเจ้าระเบียบ พวกหนี้โลกและพวกขบถ ทั้งหมดนี้เป็นผลทำให้เกิดปัญหาความล้าหลังของวัฒนธรรมซึ่งเกิดจากวัฒนธรรมอื่นแตกต่างจากวัฒนธรรมเดิม เกิดภาวการณ์ปฏิบัติไม่ถูกต้อง เช่น ปัญหาอาชญากรรม ฯลฯ เป็นต้น การวิเคราะห์สภาพอาชญากรรมในประเทศไทย เช่น สาเหตุอาชญากรรมที่เกิดจากภาวะความตึงเครียด เกิดจากการถี่ตรงและด้านประชากร การศึกษา เป็นต้น ฯลฯ

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : ทฤษฎีสันติภาพและสันติวิธี ได้แก่

       1. ทฤษฎีสันติภาพของอาดัม เคิร์ล เสนอวิธีศึกษาสันติภาพ โดยการพิจารณาความสัมพันธ์ที่ไม่สันติและความสัมพันธ์ที่สันติ

       2. ทฤษฎีสันติภาพของโยฮัน กัลตุง ได้เสนอทางเลือกใหม่ให้กับสังคม คือ สิ่งที่เรียกว่าสันติภาพเชิงโครงสร้าง โดยได้ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับสันติภาพ เพราะเป็นสันติภาพในสังคมให้ศึกษาในแง่ของศาสนาและพื้นฐานความต้องการของมนุษย์ เช่น ต้องการดำรงชีวิต ต้องการความเป็นอยู่ที่ดี เป็นต้น

       3. ทฤษฎีสันติภาพของท่านพุทธทาสภิกขุ ให้ความสำคัญของสันติภาพ เพราะครอบครัวต้องการสันติภาพ จำแนกสันติภาพเป็นระดับบุคคล ระดับสังคมและระดับโลก ประกอบด้วยด้านสังคม ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัตถุ และด้านจิตใจ จะเห็นว่าจากทักษะเรื่องสันติภาพของพระธรรมปิฎก มุ่งเน้นการสร้างสันติภาพจากภายในอันเป็นหลักสำคัญทางพระพุทธศาสนา ให้สำรวจกิเลสของมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องภายในและเป็นบ่อเกิดจากการขาดสันติภาพภายในจิตใจ

       แนวความคิดของสมาคมนักการศึกษานานาชาติเพื่อสันติภาพของโลก (NGO ของUN) วิเคราะห์สันติภาพออกเป็น 9 ระดับ ได้แก่ สันติภาพภายในบุคคล ระหว่างบุคคล หมู่คณะ และภายในเผ่าพันธุ์ ฯลฯ เป็นต้น ดังนั้นจากทฤษฎีสันติภาพข้างต้นนั้น การสร้างสันติภาพ คือ การปรับเปลี่ยนความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์และสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสันติภาพ การสร้างสันติภาพทำให้โลกมีความปลอดภัย เพราะฉะนั้นการศึกษาสันติภาพ จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยทางจิตวิทยาเข้ามามีส่วนร่วม เพราะธรรมชาติในการสร้างมนุษย์ให้มีความแตกต่าง เนื่องจากจิตวิทยา คือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมหรืออาการกระทำต่างๆ ของมนุษย์และสัตว์ เกี่ยวกับพฤติกรรมปรุงแต่ง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านั้นจะถูกการควบคุมและจำกัดโดยสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว มนุษย์มีความเชื่อ คือความเชื่อมโยงโดยอัตนัยของบุคคลระหว่างที่หมายของความเชื่อกับลักษณะคุณสมบัติ

       การสร้างสันติภาพ แบ่งตามความเชื่อหรือหลักการปฏิเสธความรุนแรง 6 ประเภท โดยเฉพาะประเภทที่ 2 ตกลงประนีประนอม ซึ่งมีลักษณะดังนี้

ลักษณะของความรุนแรง ระดับความรุนแรง
ระดับโลก ระดับประเทศ ระดับสังคม ระดับบุคคล
ความรุนแรงทางตรง สงครามปกตินิเคลียร์ละเมิดสิทธิมนุษยชน สงครามกลางเมือง การต่อต้าน การฆ่าตัวตาย
ความรุนแรงทางโครงสร้าง ความยากจน ความไม่เท่าเทียมกัน ความเอาเปรียบ ความไม่เท่าเทียมกันในระดับประเทศ ความยากจน การหมดกำลังใจ
ความรุนแรงทางวัฒนธรรม การข่มเหงทางวัฒนธรรม การเอาเปรียบทางเชื้อชาติ การแบ่งชนชั้น การเอาเปรียบซึ่งกันและกัน การรู้สึกแบ่งแยก
ความรุนแรงทาง สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ สงครามเคมี สงครามนิวเคลียร์ การใช้ทรัพยากรดิน สิ่งแวดล้อมในประเทศ ป่าไม้ สิ่งแวดล้อมชุมชน ป่าไม้ ภูเขา การบริโภคเกินความจำเป็น

       แนวทางการส่งเสริมสันติภาพตามแนวท่านพุทธทาสภิกขุ จัดว่าเป็นทางเลือกสำหรับมนุษย์ 2 ส่วน คือ ปัจเจกบุคคลกับส่วนของสังคม

       แนวทางส่งเสริมปัจเจกบุคคล คือ ส่งเสริมให้มีการศึกษาดีถูกต้องสมบูรณ์ ทั้งด้านวิชาชีพ ศีลธรรมที่ถูกต้อง ส่วนทางด้านส่งเสริมทางสังคม ให้มีระบบเศรษฐกิจที่ถูกต้องมีการศึกษาที่ถูกต้อง สำหรับด้านเศรษฐกิจการเมืองหรือเศรษฐศาสตร์เป็นความพยายามของมนุษย์ที่จะค้นหา สร้างรูปแบบ การดำเนินชีวิต แม้แต่การปรองดอง (Hamony) ทั้งกายและใจ ในปัจจุบันที่มีการค้นพบวิถีชีวิตแบบใหม่ที่เน้นด้านคุณธรรมในการสร้างความมั่นคง พิทักษ์ประโยชน์ เกิดกระแสการค้นคว้าวิถีชีวิตด้านการผลิตแบบใหม่ เรียกว่า “สังคมนิยม” ที่มีผลมาจากการแสดงออกทางสิ้นหวังกับกระแสมิจฉาทิฐิ โมหะจริต ยึดมั่นในความคิดของตนจึงเกิดการต่อต้านและต้องการเอกภาพในวิธีการและแนวทางการดำเนินชีวิตในประเทศสังคมนิยม

       ปัญหาสันติภาพเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้พยายามหาทางวิธีการ มาตรการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยความปรารถนาสร้างสรรค์สังคมสันติสุขพร้อมๆ กัน จึงเกิดความพยายามใช้แนวทางต่อสู้แบบสันติวิธี 3 อย่าง ได้แก่ สันติวิธีในการสร้างประชาธิปไตยและเสรีภาพ และคนกลุ่มใดชอบใช้ความรุนแรง ฯลฯ เป็นต้น จึงมีการมอบรางวัลโนเบล คือ บุคคลที่มีผลงานในทางบุกเบิกความสัมพันธ์ที่ดีในการอยู่ร่วมกัน โดยให้มีสันติภาพเกิดขึ้นมีการปรองดองแบบประชาธิปไตย มีสิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกัน อาทิเช่น ฌอง อองรี ดูนองค์  (Jean Henri Dunant) ผู้ก่อตั้งสภากาชาดและการประชุมเจนีวาสิทธิมนุษยชน นางอองซาน ซูจี ต่อสู้ไม่รุนแรงในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนและบารัค โอบามา ใช้ความเข้มแข็งในการสร้างความเข้มแข็งให้กับการทูตระหว่างประเทศและความร่วมมือระหว่างผู้คนทั่วโลก ฯลฯ เป็นต้น

       สภาพการณ์และสันติภาพของประเทศไทยเป็นวิธีการไม่ใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น ต่อสิ่งอื่น ต่อตนเอง และต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นความรุนแรงทางโครงสร้าง พบว่าระบบการศึกษาของไทย ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษามีลักษณะแบ่งชนชั้น โดยวัฒนธรรมไทยบางส่วนก็เป็นเรื่องการเกิดสันติภาพยากมาก เพราะสังคมไทยแบ่งคนที่มีอำนาจมีอิทธิพลเหนือคนอื่น

จากปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องมีการปรับตัวใหม่ การปรับตัวของปัจเจกชนมี 5 แบบ ได้แก่ พวกทำตาม (ปฏิบัติตาม) พวกแหวกแนว พวกเจ้าระเบียบ พวกหนี้โลกและพวกขบถ

พฤติกรรมเบี่ยงเบน

เป้าหมายทางวัฒนธรรม

บรรทัดฐานของสังคม

พวกทำตาม

+

+

พวกแหกแนว

+

พวกเจ้าระเบียบ

+

พกหนีโลก

พวกขบถ

+ / –

+ / –

       ประเทศไทยความเบี่ยงเบนต่างๆ เป็นผลของปัญหาความขัดแย้ง ล้าหลังของวัฒนธรรม เกิดภาวการณ์ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ปฏิบัติไม่ได้และไม่ปฏิบัติตามระเบียบ จึงเกิดปัญหา เช่น ปัญหาอาชญากรรม ฯลฯ เป็นต้น สาเหตุการเกิดอาชญากรรมบนพื้นฐานการดำรงชีวิตในปัจจุบัน เช่น การพัฒนาประเทศจากสังคมชนบทไปสู่สังคมเมือง พัฒนาอาชีพจากภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรม การวิเคราะห์สภาพอาชญากรรมในประเทศไทย ได้แก่

       1. สาเหตุอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากภาวะตึงเครียด

       2. เกิดจากการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมและการสมาคมกับกลุ่มแตกแยก

       3. เกิดการตีตรา

       4. ทางด้านประชากรการศึกษา

จุดเด่น/ความน่าสนใจของหนังสือ : จากเนื้อหาสาระของหนังสือที่กล่าวถึง

       ประเด็นที่ 1 ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็วในเอเชีย ประเทศขาดการบริหารจัดการที่ดีทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องขอกู้เงินจากกองทุน IMF (กองทุนระหว่างประเทศ เงื่อนไขสำคัญ รัฐบาลต้องสร้างหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการภาครัฐให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรม จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นแนวคิดธรรมาภิบาล จากเหตุผล

       1. อันเนื่องมาจากความจำเป็นจากสาเหตุปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ

       2. รัฐบาลไทยต้องรับแนวคิดจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย

ทั้ง 2 กรณีนำไปสู่การผสมผสานผลประโยชน์ที่หลากหลายและขัดแย้งกัน โดยมีองค์ประกอบจำเป็นต้องมี 4 มิติ จะต้องเชื่อมโยงระหว่างทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้แก่

       1. Accountability คือ ความรับผิดชอบและมีเหตุผลที่อธิบายได้

       2. Paricipation คือ ต้องมีการมีส่วนร่วมของประชาชน

       3. Predictability คือ จะต้องมีการคาดการณ์ได้

       4. Transparency คือ จะต้องมีความโปร่งใส

       ธรรมาภิบาลตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี จึงเรียกว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งมีหลักการพื้นฐานสำคัญ 6 กรอบ ได้แก่ หลักนิติธรรม (Rule of Law) หลักคุณธรรม (Ethics) หลักความโปร่งใส (Transparency) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักความสำนึกรับผิดชอบ (Accountability) และหลักความคุ้มค่า (Value of Money)

       สถาบันพระปกเกล้า เสนอว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้สร้างระบบริหารกิจการบ้านเมือง (Good Governance) โดยมีเป้าหมาย 3 ประการ ประกอบด้วย

       1. การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ เพื่อให้งานภาครัฐมีคุณภาพ ได้มาตรฐานตามที่ประชาชนต้องการมีความโปร่งใส ในการตัดสินใจและในกระบวนการทำงาน

       2. การปรับเปลี่ยนบทบาทการทำงานของภาครัฐ เน้นงานหน้าที่หลัก คือ การกำหนดนโยบาย บังคับใช้กฎหมาย ให้ความเสมอภาค เป็นธรรม บริหารอย่างอิสระและประชาชนมีส่วนร่วม

       3. การบริหารแบบพหุภาคี คือ การบริหารที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย ตัดสินใจหรือร่วมปฏิบัติงานโดยไม่ผูกขาดหรือรวมศูนย์อำนาจ

       ดังนั้นในการสร้างธรรมรัฐให้เกิดขึ้นในสังคมไทยต้องให้หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบและหลักความคุ้มค่า องค์ประกอบของการมีธรรมาภิบาลสำคัญ 9 ประการตามความหมายของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของประชาชน กฎหมายที่ยุติธรรม ความเปิดเผยโปร่งใส การมีฉันทานุมัติร่วมในสังคม กลไกการเมืองที่ชอบธรรม ความเสอมภาค ประสิทธิภาพและประสิทธิผล พันธะความรับผิดชอบต่อสังคมและความมีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์

       ประเด็นที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของโลกมีผลนำไปสู่การทำรัฐประหารของฝ่ายขวา เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเมืองภายในภูมิภาคต่างๆ คือ ชัยชนะของกลุ่มคอมมิวนิสต์ การถอนทหารอเมริกันออกจาภูมิภาค ได้สร้างปัญหาเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ เกิดภัยคุกคามการเมืองจากค่ายคอมมิวนิสต์ จึงเป็นแรงกดดันและเกิดการแยกขั้วระหว่างฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา และวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในตะวันออกกลาง ทำให้การเมืองขาดประสิทธิภาพ จึงมีการนำเทคโนโลยี โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์มาใช้ทำงานตามลักษณะการทำงานและนำไปประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ เช่น การศึกษา กราฟฟิค การค้าปลีก พลังงาน กำหมาย การขนส่ง การเงิน เกษตรกรรม รัฐบาล ที่อยู่อาศัย สุขภาพและการแพทย์ หุ่นยนต์ วิทยาศาสตร์ การสื่อสาร การฝึกอบรมและงานเอกสาร เป็นต้น

       ประเด็นที่ 3 กฎหมายลิขสิทธิ์ที่ทุกคนควรทราบ ลิขสิทธิ์ คือ ทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่งที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์ถือสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว รูปแบบของการละเมิดลิขสิทธิ์ อาจเกิดจาก

       1. การทำสำเนาโดยผู้ใช้

       2. การติดตั้งซอฟแวร์ลงในฮาร์ดดิสก์

       3. การปลอมแปลงสินค้า

       4. การละเมิดลิขสิทธิ์

       5. การขายลิขสิทธิ์ผิดประเภท

       ทั้ง 5 รูปแบบจัดเป็นประเภทการละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม

       ประเด็นที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย เป็นโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ พัฒนาบุคลากรทางด้านสารสนเทศและปฏิรูปภาครัฐ โดยใช้เทคโนโลยีสาสนเทศ ประเทศไทยประกาศใช้กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการกำหนดภารกิจที่สำคัญ 3 ประการ คือ

       1. การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติที่เสมอภาค

       2. การลงทุนในด้านการศึกษาที่ดีของพลเมืองและบุคลากรด้านสารสนเทศ

       3. การปรับปรุงบทบาทภาครัฐเพื่อบริการที่ดีขึ้นและสร้างรากฐานอุตสาหกรรมสารสนเทศที่แข็งแกร่ง

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : จากเนื้อหาสาระของหนังสือสันติภาพศึกษา พบว่า ยังมีบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สันติภาพศึกษา เริ่มจากการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน เพื่อสร้างจิตสำนึกใหม่ มีการจัดการศึกษาที่มุ่งมั่นไปที่การสืบค้น สำรวจภายในตัวเอง การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ โดยตรงและการฟังด้วยใจที่เปิดกว้าง ซึ่งจะนำไปสู่การตระหนักหยั่งรู้ความเปิดกว้าง ความเคารพในความเป็นมนุษย์และการยอมรับในความแตกต่าง

       ความจำเป็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ การเรียนรู้ด้วยใจอย่างใครครวญ โดยมีแนวทางการให้การศึกษา ดังนี้

       1. Citicality-Based คือ สอนให้มองโลกในแง่ดี ให้มีความคิดวิจารณญาณ รู้จักวิเคราะห์หาเหตุผล

       2. Creativity-Based คือ สอนให้พัฒนาตนเองให้เต็มที่ตามศักยภาพ รู้จักสร้างสรรค์สิ่งใหม่

       3. Productivity-Based คือ สอนให้มองที่ผลงาน ให้รู้จักสร้าง ผลิต คิดอะไรใหม่ๆ

       4.Responsibility-Based คือ สอนให้รู้จักตนเอง เสียสละ ให้ผลักดันสังคมให้ก้าวหน้า ด้วยมือของตนเอง

       การเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษา มีการฝึกการใช้ชีวิตทั้งฐานกาย ฐานใจและฐานปัญญา เช่น ฝึกทั้งการโต้แย้ง มองอย่างพินิจพิจารณา ตามหลักศาสนา เปรียบเหมือนต้นไม้แตกกิ่งก้านหลายสาขา กิจกรรมจิตตปัญญามี 4 ขั้นตอน คือ ย้อนพิจารณาถึงประสบการณ์หรือกิจกรรมที่ผ่านมาการน้อมนำสู่ใจ การใครครวญด้วยใจและการนำไปพัฒนาให้ดีขึ้น สำหรับการฝึกให้มีจิตสาธารณะนั้น สอนให้เกิดความสำนึกต่อส่วนร่วมซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของจิตสาธารณะ การแสดงออกของพฤติกรรมจิตสาธารณะมี 3 องค์ประกอบ คือ การหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจหรือการกระทำที่ทำให้เกิดความชำรุดเสียหายต่อส่วนรวมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม การถือหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาของส่วนรวมในวิสัยที่สามารถทำได้และการเคารพสิทธิในการใช้ขอส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม

       ความสำคัญของการมีจิตตสาธารณะเพื่อสร้างสันติภาพ การที่คนมาอยู่รวมกันเป็นสังคม ย่อมต้องมีความสัมพันธ์ในรูปแบบการพึ่งพากัน การพัฒนาจิตสาธารณะต้องเกิดจากการฝึกอบรมตั้งแต่วันเด็ก และพัฒนาไปเรื่องๆ จนถึงเป็นผู้ใหญ่ ทำได้โดยการพัฒนาพฤติกรรม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

       จากแผนภาพนี้แสดงว่า การเปลี่ยนพฤติกรรมภายนอก ส่งผลต่อกระบวนการทางปัญญาที่มีผลต่อพฤติกรรม สามารถเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงได้และมาจากการเปลี่ยนแปลงทางปัญญา

       ในการพัฒนาจิตสาธารณะสู่สันติภาพการศึกษาสามารถทำได้หลายวิธี อาทิเช่น

       1. การใช้แบบสมมติกับตัวแบบ

       2. การใช้สถานการณ์จำลองผสานกับเทคนิคการประเมินผลจากสภาพจริง

       3. การใช้ตัวแบบสัญลักษณ์ผ่านสื่อ หนังสือเรียนเชิงวรรณกรรม

       4. การสอนตัวแบบผ่านภาพการ์ตูน

       5. การใช้วีดีทัศน์ ละครหุ่นเชิดเป็นตัวแบบ

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร