ชื่อผลงานทางวิชาการ : สันติภาพศึกษา

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือประกอบการเรียนการสอนวิชาสันติภาพศึกษา

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2555

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : ศรีมงคล เทพเรณู ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สังกัดคณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : สันติภาพพิจารณาได้ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรก หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของสันติภาพ (Education about peace) และอีกลักษณะหนึ่ง หมายถึง การศึกษาเพื่อดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสันติภาพ (Peace Activities) หรือสันติภาพ หมายถึง การพัฒนาหรือการขจัดความอยุติธรรม ความเสื่อมของระดับชั้นทางสังคมและเศรษฐกิจ การขจัดความอิจฉาริษยา ไม่ไว้วางใจกัน หรือหมายถึง การจัดหาปัจจัยทางสังคมที่จำเป็น เช่น อาหาร การศึกษา การดูแลสุขภาพ การจ้างงานหรือการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยสงครามและผู้อพยพที่ยากจน

       จากรูปแบบและเนื้อหาสาระของสันติภาพเน้นที่ปัญหาและการอยู่รอดของมนุษย์เป็นสำคัญและเน้นความร่วมมือ การอยู่ร่วมกันเป็นหลักสำคัญของการศึกษา ดังนั้นควรปลูกฝังนิสิต / นักศึกษาในด้านการค้นหาและทำความเข้าใจกับความขัดแย้งในชีวิต และความสามารถในการร่วมมือกันให้เกิดความตระหนัก ซาบซึ้งในความแตกต่างทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมครอบคลุมไปถึงปัญหาการลดอาวุธนิวเคลียร์ด้วย ดังนั้นการศึกษาเพื่อสันติภาพ หมายถึง การศึกษาที่แสดงวิสัยทัศน์ในทางต่อต้านสงคราม พยายามที่จะหลีกเลี่ยงความคิดที่ว่าสงครามเป็นเรื่องปกติธรรมดาและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทั้งยังพยายามสร้างความเชื่อว่ายังมีชีวิตที่ไม่รุนแรงในการยุติความขัดแย้ง

       การมีส่วนร่วมขององค์ประกอบทุกประการในสังคม เรื่องการศึกษาเพื่อสันติภาพ วัฒนธรรมเพื่อสันติภาพในปัจจุบัน ได้แก่ ครอบครัว บุคคล โรงเรียน มหาวิทยาลัย ศาสนาและรัฐ ได้มีส่วนร่วม สันติภาพทั้งภายในและภายนอกจะเกิดจากเงื่อนไขสำคัญ คือ ทัศนคติที่เชื่อมั่นในวัฒนธรรมที่ว่ามนุษย์สามารถพัฒนาได้ แต่กระแสความขัดแย้งและความรุนแรงในภูมิภาคต่างๆ ของโลกก็เกิดขึ้นเสมอความรุนแรง ได้แก่ ความต้องการมีชีวิตอยู่ ต้องการความเป็นอยู่ที่ดี ต้องการเสรีภาพและต้องการอัตลักษณ์หรือความหมายของชีวิต ระดับความขัดแย้งมี 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับองค์กรและระดับประเทศ ผลของความขัดแย้งกำหนดโดยพลวัตรของปฏิสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายต่างๆ ความรุนแรงที่นำไปสู่ความขัดแย้งทางสังคมในปัจจุบัน คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

       ประวัติความเป็นมาของการศึกษาปรัชญาสันติภาพในโลกตะวันตก แบ่งเป็นระยะๆ ได้แก่ ระยะที่หนึ่ง คือ การศึกษาสันติภาพเชิงลบและการศึกษาสันติภาพในแง่มุมของการศึกษาสงครามในบริบทวิทยาศาสตร์ ระยะที่สอง คือ ระยะที่สันติภาพถูกนำมารวมไว้กับการพัฒนา มีการพัฒนาด้านต่างๆ เกิดขึ้น ระยะที่สาม คือ ระยะที่ผู้คนเริ่มให้ความสำคัญกับการลดอาวุธให้ความสำคัญเรื่องเพศเท่าเทียมกัน ระยะที่จะก้าวสู่อนาคต คือ ตั้งแต่ปัจจุบันเป็นต้นไป ปัจจุบันมีการขยายกรอบการศึกษาครอบคลุมแนวความคิดที่หลากหลายในมุมของสังคมวิทยา

       จุดเริ่มต้นของทฤษฎีสันติภาพ เป็นทฤษฎีที่ยอมรับว่าสงครามในฐานะมาตรการหนึ่งในการรักษาสันติภาพการแสวงหาคุณูปการจากทฤษฎีเพราะมีประโยชน์ต่อการสร้างทฤษฎีสันติภาพ จึงจำเป็นต้องศึกษาทฤษฎีสงครามให้เข้าใจ เพราะทฤษฎีสันติภาพมีลักษณะบางอย่างสอดคล้องกับทฤษฎีสงครามในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับวิธีการของทฤษฎีสันติภาพ 3 ประเด็น ได้แก่ สันติภาพไม่ใช่การยุติสงคราม การทำสงครามเป็นการศึกษาเฉพาะเรื่องกลยุทธ์วิธีการเท่านั้น และสงครามเป็นเรื่องของการกระทำในสภาพการขัดแย้ง เครื่องมือสำหรับการสร้างสันติภาพ สามารถจำแนกตามภารกิจ ดังนี้ การทูตแบบถาวร วิธีการจัดการกับความขัดแย้งแบบไม่เป็นทางการ มาตรการทางการทหาร มาตรการทางเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนาทางการเมืองและมาตรการทางการบริหารจัดการ มาตรการความยุติธรรมและกฎหมายและมาตรการการสื่อสารและการศึกษา

       สังคมนิยมเป็นความหวังใหม่แห่งสันติภาพ แสดงออกมา 2 ลักษณะ คือ แสดงออกทางความสิ้นหวัง กับปฏิกิริยาของประชาชนมีแนวโน้มจะส่งเสริมการเกิดกระแสมิจฉาทิฐิและโมหะจริต ยึดมั่นในแนวคิดของตนโดยไม่สนใจใคร การจัดระเบียบทางเศรษฐกิจเพื่อสันติภาพ เกิดจากการประชุมสำคัญที่เกิดขึ้นโดยกลุ่มนักวิชาการและนักธุรกิจ มีข้อสรุป 2 ประเด็น ได้แก่ จุดจำกัดของการเจริญเติบโต (The Limits to Growth) กับจุดเปลี่ยนของมนุษย์ (Mankind at the Turning Paint) ทางกฎหมายและการเมืองให้ความสำคัญของสันติภาพและต้องการให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น กรณีเกิดข้อพิพาททางกฎหมาย อาจใช้ระบบและบุคลากรที่เป็นทางการ ทางกฎหมายและทนาย เช่น ศาล ฯลฯ เป็นต้น กระบวนการการสร้างสันติวิธีมี 2 ขั้นตอน คือ พยายามป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นพยายามแก้ไขความขัดแย้งและรักษา เยียวยาภายหลังความขัดแย้งสิ้นสุดลง

       สภาพการณ์และสันติภาพของประเทศไทย พบว่าเกิดความรุนแรงทั้งเปิดเผยและไม่เปิดเผย สันติภาพในประเทศไทยจะนึกถึงความขัดแย้งหรือการปะทะกันระหว่างชาติ ประเทศไทยเกิดแรงเหวี่ยงทางสังคมไทย (Social Momentum) เกิดจากปัจเจกชนนิยมการยึดมั่น ถือมั่น การปรับตัวของปัจเจกชนมี 5 แบบ ได้แก่ พวกทำตาม (ปฏิบัติตาม) พวกแหวกแนว พวกเจ้าระเบียบ พวกหนี้โลกและพวกขบถ ทั้งหมดนี้เป็นผลทำให้เกิดปัญหาความล้าหลังของวัฒนธรรมซึ่งเกิดจากวัฒนธรรมอื่นแตกต่างจากวัฒนธรรมเดิม เกิดภาวการณ์ปฏิบัติไม่ถูกต้อง เช่น ปัญหาอาชญากรรม ฯลฯ เป็นต้น การวิเคราะห์สภาพอาชญากรรมในประเทศไทย เช่น สาเหตุอาชญากรรมที่เกิดจากภาวะความตึงเครียด เกิดจากการถี่ตรงและด้านประชากร การศึกษา เป็นต้น ฯลฯ

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : ทฤษฎีสันติภาพและสันติวิธี ได้แก่

       1. ทฤษฎีสันติภาพของอาดัม เคิร์ล เสนอวิธีศึกษาสันติภาพ โดยการพิจารณาความสัมพันธ์ที่ไม่สันติและความสัมพันธ์ที่สันติ

       2. ทฤษฎีสันติภาพของโยฮัน กัลตุง ได้เสนอทางเลือกใหม่ให้กับสังคม คือ สิ่งที่เรียกว่าสันติภาพเชิงโครงสร้าง โดยได้ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับสันติภาพ เพราะเป็นสันติภาพในสังคมให้ศึกษาในแง่ของศาสนาและพื้นฐานความต้องการของมนุษย์ เช่น ต้องการดำรงชีวิต ต้องการความเป็นอยู่ที่ดี เป็นต้น

       3. ทฤษฎีสันติภาพของท่านพุทธทาสภิกขุ ให้ความสำคัญของสันติภาพ เพราะครอบครัวต้องการสันติภาพ จำแนกสันติภาพเป็นระดับบุคคล ระดับสังคมและระดับโลก ประกอบด้วยด้านสังคม ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัตถุ และด้านจิตใจ จะเห็นว่าจากทักษะเรื่องสันติภาพของพระธรรมปิฎก มุ่งเน้นการสร้างสันติภาพจากภายในอันเป็นหลักสำคัญทางพระพุทธศาสนา ให้สำรวจกิเลสของมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องภายในและเป็นบ่อเกิดจากการขาดสันติภาพภายในจิตใจ

       แนวความคิดของสมาคมนักการศึกษานานาชาติเพื่อสันติภาพของโลก (NGO ของUN) วิเคราะห์สันติภาพออกเป็น 9 ระดับ ได้แก่ สันติภาพภายในบุคคล ระหว่างบุคคล หมู่คณะ และภายในเผ่าพันธุ์ ฯลฯ เป็นต้น ดังนั้นจากทฤษฎีสันติภาพข้างต้นนั้น การสร้างสันติภาพ คือ การปรับเปลี่ยนความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์และสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสันติภาพ การสร้างสันติภาพทำให้โลกมีความปลอดภัย เพราะฉะนั้นการศึกษาสันติภาพ จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยทางจิตวิทยาเข้ามามีส่วนร่วม เพราะธรรมชาติในการสร้างมนุษย์ให้มีความแตกต่าง เนื่องจากจิตวิทยา คือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมหรืออาการกระทำต่างๆ ของมนุษย์และสัตว์ เกี่ยวกับพฤติกรรมปรุงแต่ง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านั้นจะถูกการควบคุมและจำกัดโดยสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว มนุษย์มีความเชื่อ คือความเชื่อมโยงโดยอัตนัยของบุคคลระหว่างที่หมายของความเชื่อกับลักษณะคุณสมบัติ

       การสร้างสันติภาพ แบ่งตามความเชื่อหรือหลักการปฏิเสธความรุนแรง 6 ประเภท โดยเฉพาะประเภทที่ 2 ตกลงประนีประนอม ซึ่งมีลักษณะดังนี้

ลักษณะของความรุนแรง ระดับความรุนแรง
ระดับโลก ระดับประเทศ ระดับสังคม ระดับบุคคล
ความรุนแรงทางตรง สงครามปกตินิเคลียร์ละเมิดสิทธิมนุษยชน สงครามกลางเมือง การต่อต้าน การฆ่าตัวตาย
ความรุนแรงทางโครงสร้าง ความยากจน ความไม่เท่าเทียมกัน ความเอาเปรียบ ความไม่เท่าเทียมกันในระดับประเทศ ความยากจน การหมดกำลังใจ
ความรุนแรงทางวัฒนธรรม การข่มเหงทางวัฒนธรรม การเอาเปรียบทางเชื้อชาติ การแบ่งชนชั้น การเอาเปรียบซึ่งกันและกัน การรู้สึกแบ่งแยก
ความรุนแรงทาง สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ สงครามเคมี สงครามนิวเคลียร์ การใช้ทรัพยากรดิน สิ่งแวดล้อมในประเทศ ป่าไม้ สิ่งแวดล้อมชุมชน ป่าไม้ ภูเขา การบริโภคเกินความจำเป็น

       แนวทางการส่งเสริมสันติภาพตามแนวท่านพุทธทาสภิกขุ จัดว่าเป็นทางเลือกสำหรับมนุษย์ 2 ส่วน คือ ปัจเจกบุคคลกับส่วนของสังคม

       แนวทางส่งเสริมปัจเจกบุคคล คือ ส่งเสริมให้มีการศึกษาดีถูกต้องสมบูรณ์ ทั้งด้านวิชาชีพ ศีลธรรมที่ถูกต้อง ส่วนทางด้านส่งเสริมทางสังคม ให้มีระบบเศรษฐกิจที่ถูกต้องมีการศึกษาที่ถูกต้อง สำหรับด้านเศรษฐกิจการเมืองหรือเศรษฐศาสตร์เป็นความพยายามของมนุษย์ที่จะค้นหา สร้างรูปแบบ การดำเนินชีวิต แม้แต่การปรองดอง (Hamony) ทั้งกายและใจ ในปัจจุบันที่มีการค้นพบวิถีชีวิตแบบใหม่ที่เน้นด้านคุณธรรมในการสร้างความมั่นคง พิทักษ์ประโยชน์ เกิดกระแสการค้นคว้าวิถีชีวิตด้านการผลิตแบบใหม่ เรียกว่า “สังคมนิยม” ที่มีผลมาจากการแสดงออกทางสิ้นหวังกับกระแสมิจฉาทิฐิ โมหะจริต ยึดมั่นในความคิดของตนจึงเกิดการต่อต้านและต้องการเอกภาพในวิธีการและแนวทางการดำเนินชีวิตในประเทศสังคมนิยม

       ปัญหาสันติภาพเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้พยายามหาทางวิธีการ มาตรการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยความปรารถนาสร้างสรรค์สังคมสันติสุขพร้อมๆ กัน จึงเกิดความพยายามใช้แนวทางต่อสู้แบบสันติวิธี 3 อย่าง ได้แก่ สันติวิธีในการสร้างประชาธิปไตยและเสรีภาพ และคนกลุ่มใดชอบใช้ความรุนแรง ฯลฯ เป็นต้น จึงมีการมอบรางวัลโนเบล คือ บุคคลที่มีผลงานในทางบุกเบิกความสัมพันธ์ที่ดีในการอยู่ร่วมกัน โดยให้มีสันติภาพเกิดขึ้นมีการปรองดองแบบประชาธิปไตย มีสิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกัน อาทิเช่น ฌอง อองรี ดูนองค์  (Jean Henri Dunant) ผู้ก่อตั้งสภากาชาดและการประชุมเจนีวาสิทธิมนุษยชน นางอองซาน ซูจี ต่อสู้ไม่รุนแรงในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนและบารัค โอบามา ใช้ความเข้มแข็งในการสร้างความเข้มแข็งให้กับการทูตระหว่างประเทศและความร่วมมือระหว่างผู้คนทั่วโลก ฯลฯ เป็นต้น

       สภาพการณ์และสันติภาพของประเทศไทยเป็นวิธีการไม่ใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น ต่อสิ่งอื่น ต่อตนเอง และต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นความรุนแรงทางโครงสร้าง พบว่าระบบการศึกษาของไทย ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษามีลักษณะแบ่งชนชั้น โดยวัฒนธรรมไทยบางส่วนก็เป็นเรื่องการเกิดสันติภาพยากมาก เพราะสังคมไทยแบ่งคนที่มีอำนาจมีอิทธิพลเหนือคนอื่น

จากปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องมีการปรับตัวใหม่ การปรับตัวของปัจเจกชนมี 5 แบบ ได้แก่ พวกทำตาม (ปฏิบัติตาม) พวกแหวกแนว พวกเจ้าระเบียบ พวกหนี้โลกและพวกขบถ

พฤติกรรมเบี่ยงเบน

เป้าหมายทางวัฒนธรรม

บรรทัดฐานของสังคม

พวกทำตาม

+

+

พวกแหกแนว

+

พวกเจ้าระเบียบ

+

พกหนีโลก

พวกขบถ

+ / –

+ / –

       ประเทศไทยความเบี่ยงเบนต่างๆ เป็นผลของปัญหาความขัดแย้ง ล้าหลังของวัฒนธรรม เกิดภาวการณ์ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ปฏิบัติไม่ได้และไม่ปฏิบัติตามระเบียบ จึงเกิดปัญหา เช่น ปัญหาอาชญากรรม ฯลฯ เป็นต้น สาเหตุการเกิดอาชญากรรมบนพื้นฐานการดำรงชีวิตในปัจจุบัน เช่น การพัฒนาประเทศจากสังคมชนบทไปสู่สังคมเมือง พัฒนาอาชีพจากภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรม การวิเคราะห์สภาพอาชญากรรมในประเทศไทย ได้แก่

       1. สาเหตุอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากภาวะตึงเครียด

       2. เกิดจากการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมและการสมาคมกับกลุ่มแตกแยก

       3. เกิดการตีตรา

       4. ทางด้านประชากรการศึกษา

จุดเด่น/ความน่าสนใจของหนังสือ : จากเนื้อหาสาระของหนังสือที่กล่าวถึง

       ประเด็นที่ 1 ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็วในเอเชีย ประเทศขาดการบริหารจัดการที่ดีทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องขอกู้เงินจากกองทุน IMF (กองทุนระหว่างประเทศ เงื่อนไขสำคัญ รัฐบาลต้องสร้างหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการภาครัฐให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรม จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นแนวคิดธรรมาภิบาล จากเหตุผล

       1. อันเนื่องมาจากความจำเป็นจากสาเหตุปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ

       2. รัฐบาลไทยต้องรับแนวคิดจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย

ทั้ง 2 กรณีนำไปสู่การผสมผสานผลประโยชน์ที่หลากหลายและขัดแย้งกัน โดยมีองค์ประกอบจำเป็นต้องมี 4 มิติ จะต้องเชื่อมโยงระหว่างทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้แก่

       1. Accountability คือ ความรับผิดชอบและมีเหตุผลที่อธิบายได้

       2. Paricipation คือ ต้องมีการมีส่วนร่วมของประชาชน

       3. Predictability คือ จะต้องมีการคาดการณ์ได้

       4. Transparency คือ จะต้องมีความโปร่งใส

       ธรรมาภิบาลตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี จึงเรียกว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งมีหลักการพื้นฐานสำคัญ 6 กรอบ ได้แก่ หลักนิติธรรม (Rule of Law) หลักคุณธรรม (Ethics) หลักความโปร่งใส (Transparency) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักความสำนึกรับผิดชอบ (Accountability) และหลักความคุ้มค่า (Value of Money)

       สถาบันพระปกเกล้า เสนอว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้สร้างระบบริหารกิจการบ้านเมือง (Good Governance) โดยมีเป้าหมาย 3 ประการ ประกอบด้วย

       1. การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ เพื่อให้งานภาครัฐมีคุณภาพ ได้มาตรฐานตามที่ประชาชนต้องการมีความโปร่งใส ในการตัดสินใจและในกระบวนการทำงาน

       2. การปรับเปลี่ยนบทบาทการทำงานของภาครัฐ เน้นงานหน้าที่หลัก คือ การกำหนดนโยบาย บังคับใช้กฎหมาย ให้ความเสมอภาค เป็นธรรม บริหารอย่างอิสระและประชาชนมีส่วนร่วม

       3. การบริหารแบบพหุภาคี คือ การบริหารที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย ตัดสินใจหรือร่วมปฏิบัติงานโดยไม่ผูกขาดหรือรวมศูนย์อำนาจ

       ดังนั้นในการสร้างธรรมรัฐให้เกิดขึ้นในสังคมไทยต้องให้หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบและหลักความคุ้มค่า องค์ประกอบของการมีธรรมาภิบาลสำคัญ 9 ประการตามความหมายของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของประชาชน กฎหมายที่ยุติธรรม ความเปิดเผยโปร่งใส การมีฉันทานุมัติร่วมในสังคม กลไกการเมืองที่ชอบธรรม ความเสอมภาค ประสิทธิภาพและประสิทธิผล พันธะความรับผิดชอบต่อสังคมและความมีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์

       ประเด็นที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของโลกมีผลนำไปสู่การทำรัฐประหารของฝ่ายขวา เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเมืองภายในภูมิภาคต่างๆ คือ ชัยชนะของกลุ่มคอมมิวนิสต์ การถอนทหารอเมริกันออกจาภูมิภาค ได้สร้างปัญหาเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ เกิดภัยคุกคามการเมืองจากค่ายคอมมิวนิสต์ จึงเป็นแรงกดดันและเกิดการแยกขั้วระหว่างฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา และวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในตะวันออกกลาง ทำให้การเมืองขาดประสิทธิภาพ จึงมีการนำเทคโนโลยี โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์มาใช้ทำงานตามลักษณะการทำงานและนำไปประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ เช่น การศึกษา กราฟฟิค การค้าปลีก พลังงาน กำหมาย การขนส่ง การเงิน เกษตรกรรม รัฐบาล ที่อยู่อาศัย สุขภาพและการแพทย์ หุ่นยนต์ วิทยาศาสตร์ การสื่อสาร การฝึกอบรมและงานเอกสาร เป็นต้น

       ประเด็นที่ 3 กฎหมายลิขสิทธิ์ที่ทุกคนควรทราบ ลิขสิทธิ์ คือ ทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่งที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์ถือสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว รูปแบบของการละเมิดลิขสิทธิ์ อาจเกิดจาก

       1. การทำสำเนาโดยผู้ใช้

       2. การติดตั้งซอฟแวร์ลงในฮาร์ดดิสก์

       3. การปลอมแปลงสินค้า

       4. การละเมิดลิขสิทธิ์

       5. การขายลิขสิทธิ์ผิดประเภท

       ทั้ง 5 รูปแบบจัดเป็นประเภทการละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม

       ประเด็นที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย เป็นโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ พัฒนาบุคลากรทางด้านสารสนเทศและปฏิรูปภาครัฐ โดยใช้เทคโนโลยีสาสนเทศ ประเทศไทยประกาศใช้กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการกำหนดภารกิจที่สำคัญ 3 ประการ คือ

       1. การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติที่เสมอภาค

       2. การลงทุนในด้านการศึกษาที่ดีของพลเมืองและบุคลากรด้านสารสนเทศ

       3. การปรับปรุงบทบาทภาครัฐเพื่อบริการที่ดีขึ้นและสร้างรากฐานอุตสาหกรรมสารสนเทศที่แข็งแกร่ง

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : จากเนื้อหาสาระของหนังสือสันติภาพศึกษา พบว่า ยังมีบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สันติภาพศึกษา เริ่มจากการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน เพื่อสร้างจิตสำนึกใหม่ มีการจัดการศึกษาที่มุ่งมั่นไปที่การสืบค้น สำรวจภายในตัวเอง การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ โดยตรงและการฟังด้วยใจที่เปิดกว้าง ซึ่งจะนำไปสู่การตระหนักหยั่งรู้ความเปิดกว้าง ความเคารพในความเป็นมนุษย์และการยอมรับในความแตกต่าง

       ความจำเป็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ การเรียนรู้ด้วยใจอย่างใครครวญ โดยมีแนวทางการให้การศึกษา ดังนี้

       1. Citicality-Based คือ สอนให้มองโลกในแง่ดี ให้มีความคิดวิจารณญาณ รู้จักวิเคราะห์หาเหตุผล

       2. Creativity-Based คือ สอนให้พัฒนาตนเองให้เต็มที่ตามศักยภาพ รู้จักสร้างสรรค์สิ่งใหม่

       3. Productivity-Based คือ สอนให้มองที่ผลงาน ให้รู้จักสร้าง ผลิต คิดอะไรใหม่ๆ

       4.Responsibility-Based คือ สอนให้รู้จักตนเอง เสียสละ ให้ผลักดันสังคมให้ก้าวหน้า ด้วยมือของตนเอง

       การเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษา มีการฝึกการใช้ชีวิตทั้งฐานกาย ฐานใจและฐานปัญญา เช่น ฝึกทั้งการโต้แย้ง มองอย่างพินิจพิจารณา ตามหลักศาสนา เปรียบเหมือนต้นไม้แตกกิ่งก้านหลายสาขา กิจกรรมจิตตปัญญามี 4 ขั้นตอน คือ ย้อนพิจารณาถึงประสบการณ์หรือกิจกรรมที่ผ่านมาการน้อมนำสู่ใจ การใครครวญด้วยใจและการนำไปพัฒนาให้ดีขึ้น สำหรับการฝึกให้มีจิตสาธารณะนั้น สอนให้เกิดความสำนึกต่อส่วนร่วมซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของจิตสาธารณะ การแสดงออกของพฤติกรรมจิตสาธารณะมี 3 องค์ประกอบ คือ การหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจหรือการกระทำที่ทำให้เกิดความชำรุดเสียหายต่อส่วนรวมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม การถือหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาของส่วนรวมในวิสัยที่สามารถทำได้และการเคารพสิทธิในการใช้ขอส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม

       ความสำคัญของการมีจิตตสาธารณะเพื่อสร้างสันติภาพ การที่คนมาอยู่รวมกันเป็นสังคม ย่อมต้องมีความสัมพันธ์ในรูปแบบการพึ่งพากัน การพัฒนาจิตสาธารณะต้องเกิดจากการฝึกอบรมตั้งแต่วันเด็ก และพัฒนาไปเรื่องๆ จนถึงเป็นผู้ใหญ่ ทำได้โดยการพัฒนาพฤติกรรม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

       จากแผนภาพนี้แสดงว่า การเปลี่ยนพฤติกรรมภายนอก ส่งผลต่อกระบวนการทางปัญญาที่มีผลต่อพฤติกรรม สามารถเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงได้และมาจากการเปลี่ยนแปลงทางปัญญา

       ในการพัฒนาจิตสาธารณะสู่สันติภาพการศึกษาสามารถทำได้หลายวิธี อาทิเช่น

       1. การใช้แบบสมมติกับตัวแบบ

       2. การใช้สถานการณ์จำลองผสานกับเทคนิคการประเมินผลจากสภาพจริง

       3. การใช้ตัวแบบสัญลักษณ์ผ่านสื่อ หนังสือเรียนเชิงวรรณกรรม

       4. การสอนตัวแบบผ่านภาพการ์ตูน

       5. การใช้วีดีทัศน์ ละครหุ่นเชิดเป็นตัวแบบ

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร