การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ เรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพชรนครเขื่อนขันธ์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1

The Web-Based Instruction Development on The Knowledge of Bangyor District for Primary school 6 Students at Phetnakarnkuankhan School – Net Group Samutprakan Educational Area Office 1

นฤภัทร  กุชวัฒนะ

เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา   ครุศาสตรมหาบัณทิต  

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

E-mail : [email protected]


 

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนาบทเรียนบนเว็บ เรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพชรนครเขื่อนขันธ์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80   2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บที่พัฒนาขึ้น  3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนบนเว็บ เรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนวัดป่าเกด จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบไปด้วย บทเรียนบนเว็บ เรื่อง รอบรู้ตำบลบางยอ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินคุณภาพบนเรียนบนเว็บเรื่อง รอบรู้ตำบลบางยอ  แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนบนเว็บเรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และ t-test ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนบนเว็บ เรื่อง รอบรู้ตำบลบางยอ สำหรับเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพชรนครเขื่อนขันธ์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ  81.67/81.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์  80/80 ที่กำหนดไว้  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ เรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพชรนครเขื่อนขันธ์ พบว่าคะแนนของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่  .01  และความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บเรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพชรนครเขื่อนขันธ์  พบว่า มีความพึงพอใจระดับมาก

คำสำคัญ:  การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ, บทเรียนบนเว็บ, ตำบลบางยอ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ

Abstract

       This research aimed to 1) develop a web-based instruction on “The Knowledge of Bangyor  District”  for Primary school  6 students  at   Phetnakornkuankhan  school-Net Group with the efficiency of 80/80 2) compare students  achievement  before  and after  learning  the  web-based  instruction  lesson  and  3) to study  the  satisfaction  of  students  after  using  this  “The Knowledge of Bangyor District” on  webpage. The  sample  used  in  the  research  was  30 students  of  Primary  school 6 students  at  WatPaked school by Cluster Sampling. The  research tools consisted of a web-based  instruction lesson on “The Knowledgebof Bangyor District”, an achievement test,  a quality assessment  for a web-based instruction lesson  and questionnaires were used for analyzing     the students satisfaction of the web-based  instruction.  The  statistics  used  were  mean,  standard deviation, percentage and t-test. The  research result was found that a web-based  instructional lesson on “The Knowledge of  Bangyor  District” for Primary school 6 student at  Phetnakornkuankhan school- Net  Group  had  an  efficiency  of  81.67/81.11  that  was  higher  than  the  setting  criterion  80/80.  The  result  of  students  achievement  was  found  that  the  scores  of  post-test  were  higher  than  pre-test  statistically  singnificant  difference  at .01. The satisfaction of students whom used “The Knowledge of  Bangyor District” on  webpage  was  at  high  level.

Keywords: Web-Based Instruction Development, Web-Based Instruction,  Bangyor District, achievement, satisfaction

1. บทนำ

       การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้  สังคมแห่งการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาให้คนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เปิดโอกาสให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา พัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง [1]

       ธรรมชาติของกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นวิชาที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและทางสังคม มุ่งให้ผู้เรียนศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน จังหวัดและภาค ที่อยู่อาศัยในประเทศไทยกับของภูมิภาคอื่นในโลก รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และมีคุณลักษณะต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคม  โดยสถานศึกษาต้องร่วมมือกับชุมชน  นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาในท้องถิ่นของตนเอง  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องราวของท้องถิ่น ภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความรัก ตระหนักในความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น [2]

       เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเจริญก้าวหน้า จึงมีการนำเอาสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่หลากหลายทั้งรูปแบบและเนื้อหามาใช้ในการออกแบบการเรียนการสอน เพื่อปฏิรูปการศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนแทนที่ครูจะมีบทบาทสำคัญเพียงอย่างเดียว [16]  โดยนักการศึกษา ครู ผู้บริหารสถานศึกษา  ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้นำอินเทอร์เน็ตเข้าไปใช้ในระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บเพื่อสร้างแรงจูงใจทำให้ผู้เรียนรู้สึกตื่นเต้น และไม่เกิดความเบื่อหน่าย ซึ่งการเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการใช้เว็บเพื่อนำเสนอบทเรียนในลักษณะสื่อหลายมิติของวิชาทั้งหมด หรือใช้เพียงการเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการสอนก็ได้ การเรียนการสอนผ่านเว็บมีข้อดีตรงที่สามารถปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยได้ง่าย และผู้เรียนสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารที่ตนเองต้องการ จึงถือเป็นวิธีการที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้และช่วยขจัดปัญหาเรื่องอุปสรรคของการเรียนการสอนทางด้านเวลาและสถานที่ด้วย [3]

       นักเรียนแต่ละคน มีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านความรู้พื้นฐาน ร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา ความสนใจตลอดจนความเป็นอยู่ที่มีความแตกต่างกัน ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ต่าง ๆ กัน ส่งผลให้นักเรียนบางคนไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนได้  ในการเรียนรู้นั้นทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกัน แต่อาจต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ที่ต่างกัน ส่งผลให้นักเรียนที่มีความสามารถในการเรียนรู้ต่ำมีผลสัมฤทธิ์ที่ต่ำไปด้วย เพื่อเป็นการแก้ปัญหา  ครูผู้สอนจึงต้องหาวิธีช่วยเหลือนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

       จากความสำคัญดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะนำเอาเทคโนโลยีที่อาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาช่วยจัดการเรียนการสอน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในการเรียนมากขึ้น โดยการพัฒนาบทเรียนบนเว็บ เรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพชรนครเขื่อนขันธ์  เพื่อนำผลที่ได้มาเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาบทเรียนบนเว็บในเรื่องอื่น ๆ ให้มีคุณภาพต่อไป

2. บทความวิจัยที่เกี่ยวข้อง

       ภาวนา  เห็นแก้ว  [12] ได้ทำการวิจัยเรื่องผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเว็บ เรื่องเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  พบว่า  1) บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเว็บ เรื่องเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีประสิทธิภาพ 91.6/94.7  เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ทางเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ของนักเรียนที่เรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเว็บกับการสอนปกติ แตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะปฏิบัติของนักเรียนที่เรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเว็บกับการสอนปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4) ความรับผิดชอบของนักเรียนที่เรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเว็บกับการสอนปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ความรับผิดชอบของนักเรียนที่เรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเว็บก่อนและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  6)นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเว็บ

       ธนวัฒน์  ทองเนื้อนุ่ม [8] ได้ทำการวิจัยเรื่องการสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชากายวิภาคศาสตร์  ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชากายวิภาคศาสตร์ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 93.80/90.95 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชากายวิภาคศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

       อุษา  บุญชู   [17] ได้ทำการวิจัยเรื่องการสร้างโปรแกรมช่วยพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ผลการวิจัยพบว่า  1)ได้โปรแกรมช่วยพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่มีลักษณะมัลติมีเดีย สามารถเก็บบันทึกชื่อและผลงานของผู้ใช้โปรแกรม ผู้ใช้สามารถฝึกสร้างหลักสูตรท้องถิ่นหลังจากศึกษาเนื้อหาและแสดงหลักสูตรที่สร้างได้ทั้งทางจอภาพและทางเครื่องพิมพ์ โปรแกรมสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ให้ผลข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้ใช้โปรแกรม ผู้ใช้สามารถเข้าหรือออกจากโปรแกรมได้ตามต้องการ  2) ผลการประเมินโปรแกรมโดยแบบประเมินประสิทธิภาพ 5 ระดับ พบว่า มีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูง คือมีค่าเฉลี่ย 4.20 นอกจากนั้นยังพบว่าประสิทธิภาพของหลักสูตรที่ประเมินด้วยผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับสูงมีค่าเฉลี่ย 4.40

       จุฑารัตน์  เพชรรัตน์ [4] ได้ทำการวิจัยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการใช้โปรแกรม PowerPoint จากบทเรียนบนเว็บ พบว่า บทเรียนบนเว็บเรื่อง การใช้โปรแกรม PowerPoint ที่มีประสิทธิภาพ 84.56/83.78 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

       ณรงค์ศักดิ์  สายแสง  [6] ได้ทำการวิจัยเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเว็บเรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนซอยแอนเนกซ์ กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเว็บ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 90/90  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ ระหว่างกลุ่มที่มีผลการเรียนสูงกับกลุ่มที่มีผลการเรียนต่ำ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะปฏิบัติ ระหว่างกลุ่มที่มีผลการเรียนสูงกับกลุ่มที่มีผลการเรียนต่ำ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเว็บอยู่ระดับมาก

       แบนกูรา  [18] ได้ทำการวิจัยเรื่องการศึกษาอัตราการสอบผ่านและการจบ ระหว่างการสอนแบบดั้งเดิม และการสอนโดยผ่าน Web ที่ College In North Tennessee  ผลการศึกษาพบว่า 1) ในวิชาที่ลงเรียนเหมือนกัน มีจำนวนนักเรียนหญิงที่ลงเรียนผ่านเว็บมากกว่านักเรียนชาย โดยเฉลี่ยแล้ว 2 ใน 3 ของนักเรียนที่ลงเรียนวิชาผ่าน Web ทั้งนี้พบความแตกต่างในอัตราผ่านและจบระหว่างการสอนแบบดั้งเดิมและผ่าน Web ซึ่งพบว่าการสอนแบบดั้งเดิมมีอัตราทั้งสองด้านสูงกว่า  2) เกรดเฉลี่ยในวิชาเดียวกัน การสอนแบบดั้งเดิมมีค่าเฉลี่ยที่ตั้งไว้สูงกว่าแบบผ่าน Web ในสาขาวิชาที่เรียนแตกต่างกันนั้น ไม่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจบในการสอนแบบดั้งเดิม ในขณะที่พบความแตกต่างนี้ในการสอนผ่าน Web 3) ความแตกต่างสำหรับอัตราค่าเฉลี่ยผ่านสำหรับวิชาที่ลงเรียนผ่านการสอนแบบดั้งเดิม และพบว่าในการสอนแบบดั้งเดิม มีค่าเกรดเฉลี่ยที่ต่างกันในสาขาการเรียนที่ต่างกัน 4) อายุไม่มีผลต่ออัตราการจบในการเรียนการสอนแบบผ่าน Web  แต่มีผลต่อความต่างในการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม

       จูลี่ [19] ได้ศึกษาความเข้าใจของนักศึกษาระดับบัณทิตศึกษาในการเรียนการสอนบนเว็บ ในการเตรียมความพร้อมบุคลากรการศึกษาพิเศษ  ผลการวิจัยพบว่า การเรียนการสอนบนเว็บ เป็นวิธีที่สะดวกสำหรับนักเรียนที่จะศึกษาต่อ และการเรียนการสอนบนเว็บส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ดีขึ้น เปิดโอกาสมากขึ้นสำหรับผู้เรียนและการมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์ผู้สอน

3. วัตถุประสงค์การวิจัย

       เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเว็บ  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทเรียนบนเว็บ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนบนเว็บเรื่องรอบรู้ตำบลบางยอสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

4. วิธีดำเนินการวิจัย

       4.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

       ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา   2553 ของกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพชรนครเขื่อนขันธ์  สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 รวม  12  โรงเรียน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการจับฉลาก เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดป่าเกด จำนวน 30  คน

       4.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

              4.2.1 บทเรียนบนเว็บ เรื่อง รอบรู้ตำบลบางยอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

              4.2.2 แบบประเมินคุณภาพบทเรียน บทเรียนบนเว็บ เรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ

              4.2.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

              4.2.4 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนบนเว็บเรื่อง รอบรู้ตำบลบางยอ

       4.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล

       ผู้วิจัยนำบทเรียนบนเว็บเรื่อง รอบรู้ตำบล บางยอ ที่พัฒนาขึ้นและมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มา  ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

              4.3.1 เตรียมสถานที่ในการทดลอง คือห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนวัดป่าเกด  สำนักเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จำนวน 1 ห้อง คอมพิวเตอร์จำนวน 30 เครื่อง ตรวจสอบระบบเครือข่ายให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

              4.3.2 ชี้แจงให้กลุ่มตัวอย่างทราบถึงวัตถุประสงค์ของการทดลอง และอธิบายถึงวิธีการใช้บทเรียนบนเว็บ การเรียนเนื้อหาในแต่ละตอน และการทำแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

              4.3.3  ดำเนินการทดลอง

              1) ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) บทเรียนบนเว็บเรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ

              2) กลุ่มตัวอย่างเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บเรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ จำนวน 4 หน่วย หลังจากเรียนจบบทเรียนแต่ละหน่วยให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดท้ายหน่วยก่อนที่จะขึ้นหน่วยใหม่ ทำจนครบทุกหน่วย

              3) กลุ่มตัวอย่างทำแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (Post-test)

              4) ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนบนเว็บเรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ

              4.3.4 นำผลการทดสอบและแบบสอบถามที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างไปวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บเรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ

5. ผลการวิจัย

       1. ผลการหาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเว็บเรื่อง รอบรู้ตำบลบางยอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพชรนครเขื่อนขันธ์ พบว่า การทำแบบทดสอบระหว่างเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.33  คะแนน จากคะแนนเต็ม 20  คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.67 (E1) และการทำแบบทดสอบหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.33 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ 81.11 (E2) แสดงว่าบทเรียนบนเว็บมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.67/81.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80

       2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ เรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ

ตารางที่ 1  ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

คะแนน

n

S.D.

t

sig

ก่อนเรียน

หลังเรียน

30

30

11.13

24.47

3.70

2.62

23.82**

0.0

0

** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

       จากตารางที่ 1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบทเรียนบนเว็บ เรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพชรนครเขื่อนขันธ์ เปรียบเทียบนักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  11.13 คะแนน และแบบทดสอบหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  24.47 คะแนน แสดงว่า  นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ เรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

       3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนบทเรียนบนเว็บ เรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพชรนครเขื่อนขันธ์ พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ เรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ มีความพึงพอใจต่อการเรียนบทเรียนบนเว็บ ในระดับมาก โดยรวมคิดเป็นคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.17  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนชอบเรียนบทเรียนบนเว็บ มีระดับความคิดเห็นค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 4.60

6. อภิปรายผลการวิจัย

       จากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้พัฒนาสื่อและหาประสิทธิภาพให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโดยใช้บทเรียนบนเว็บเรื่องรอบรู้ตำบลบางยอของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพชรนครเขื่อนขันธ์ และได้วัดความพึงพอใจเกี่ยวกับการเรียนบทเรียนบนเว็บ โดยปรากฏผลการวิจัยดังนี้

       1.  ผลการหาประสิทธิภาพ การพัฒนาบนเรียนบนเว็บ เรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพชรนครเขื่อนขันธ์  โดยนำไปทดลองกับกลุ่มภาคสนาม จำนวน 30 คน เมื่อพิจารณาแล้วพบว่า ผลการเรียนรู้ของนักเรียน จากการทำแบบทดสอบระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน มีประสิทธิภาพ 81.67 / 81.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80  เนื่องมาจากบทเรียนบนเว็บผ่านการหาประสิทธิภาพตามกระบวนการมาเป็นลำดับขั้นตอน  ผ่านการตรวจ ได้รับข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และผู้เชี่ยวชาญ และทดลองใช้กับนักเรียนตามขั้นตอน  ซึ่งเป็นขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนตามรูปแบบการสอนของ ADDIE Model [12] ประกอบด้วยการวิเคราะห์ (Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนา(Development) การทดลองใช้(Implementation) และการประเมินผล(Evaluation) ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่า มีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ที่จะนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้ นอกจากนี้สื่อการสอนบนเว็บที่ได้ทำการพัฒนาขึ้นนี้ ยังสามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สมใจ นรินทร์นอก  [15] ได้ทำการศึกษาเรื่อง การสร้างบทเรียนบนเว็บเพจเรื่อง เกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดม่วงหวาน จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า  บทเรียนบนเว็บเพจที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด และสอดคล้องกับงานวิจัยของ  นิศากร  เจริญดี [11] ได้ทำการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีแบบการเรียนต่างกัน โดยใช้บทเรียนบนเว็บวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 ผลการวิจัยพบว่า การเรียนบนเว็บที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.58/82.17  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์  80/80   

       2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บเรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพชรนครเขื่อนขันธ์  โดยเปรียบเทียบคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้  สอดคล้องกับงานวิจัยของ วิรฉัตร บานเย็น [13] ได้ทำการศึกษา เรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการสอนบนเว็บ เรื่อง การเลือกตั้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนปากเกร็ด  จำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนจากบทเรียนสำหรับสอนบนเว็บเรื่องเลือกตั้งสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 และสอดคล้องกับงานวิจัยของนิพนธ์      คชชะ [10] ได้ทำการศึกษาเรื่องการออกแบบบทเรียนบนเว็บวิชา โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม จำนวน 30 คน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่านักเรียนที่เรียนจากบทเรียนบนเว็บมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 

       ทั้งนี้เนื่องจากบทเรียนบนเว็บเรื่องรอบรู้ตำบลบางยอเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่นหรือท้องถิ่นบริเวณใกล้เคียงของนักเรียน ทำให้ตัวสื่อสามารถเข้าถึงตัวนักเรียนได้ง่ายขึ้น ประกอบกับบทเรียนบนเว็บเป็นวิธีการสอนที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  ใช้ง่าย ทันสมัย ซึ่งสอดคล้องกับถนอมพร [7] กล่าวถึงการเรียนการสอนบนเว็บว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีปัจจุบันกับกระบวนการออกแบบการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาในเรื่องข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลา ทั้งยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามจังหวะของตน (self-paced)  เนื่องจากเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนรู้ของตนในด้านของลำดับการเรียนได้ ตามพื้นฐานความรู้ ความถนัด และความสนใจของตน  การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับครูผู้สอน มีการเอื้อต่อการโต้ตอบที่หลากหลาย ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น  มีการสร้างแบบทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียน สอดคล้องกับริชชีและฮอฟแมน [20]  กล่าวถึงการออกแบบบทเรียนบนเว็บเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ในการทดสอบความรู้ (Testing)เพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนได้รับความรู้ผู้ออกแบบสามารถออกแบบ แบบทดสอบแบบออนไลน์ อาจจัดให้มีการทดสอบระหว่างเรียนหรือทดสอบท้ายบทเรียน ทั้งนี้ควรสร้างข้อสอบให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของบทเรียน ข้อสอบ คำตอบและข้อมูลย้อนกลับควรอยู่ในกรอบเดียวกันและแสดงต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บเรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ จะมีประสิทธิผลที่ดีต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ขั้นตอน การออกแบบ และ การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ รวมทั้งความรู้ในด้านเทคนิคการสร้างการเขียนเว็บ การจัดองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อช่วยให้การพัฒนาบนเรียนบนเว็บมีคุณภาพ   อีกทั้งได้รับการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดีมาก  และผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างอยู่ในระดับดีมาก  มีการทดลองใช้กับนักเรียนตามขั้นตอน ก่อนนำไปทดลองใช้จริง  ดังนั้น เมื่อนำบทเรียนบนเว็บเรื่องรอบรู้ตำบลบางยอมาทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ  จึงทำให้นักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

       3. การศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อบทเรียนบนเว็บเรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ พบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนบนเว็บอยู่ ในระดับมาก   ซึ่งสอดคล้องกับ ชนากานต์  สายหมี [5]  ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บ เรื่อง ยาเสพติด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนผ่านเว็บ เรื่องยาเสพติด     อยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.62  และสอดคล้องกับ              ธัญมัย  แฉล้มเขตต์ [9] ได้ทำการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอาหารและโภชนาการ โดยใช้บทเรียนบนเว็บกับการเรียนการปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2  พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนบนเว็บมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 ซึ่งอยู่ในระดับมาก

6. สรุปผลการวิจัย

       ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้

       1. การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ เรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพชรนครเขื่อนขันธ์  ที่ออกแบบขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80

       2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01

       3. ความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บเรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพชรนครเขื่อนขันธ์   มีความพึงพอใจต่อการเรียนบนเว็บในระดับมาก

       สรุปได้ว่า การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ เรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพชรนครเขื่อนขันธ์  มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในส่วนของหลักสูตรท้องถิ่น สำหรับนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพชรนครเขื่อนขันธ์ได้เป็นอย่างดี

7. ข้อเสนอแนะ

       7.1 ข้อเสนอแนะทั่วไป

       จากการที่ผู้วิจัยได้พัฒนาบทเรียนบนเว็บเรื่องรอบรู้ตำบลบางยอ  สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายเพชรนครเขื่อนขันธ์   ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้

              1. การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ อาจเพิ่มวีดีทัศน์  เสียงบรรยาย และ กราฟิก  ลงในบทเรียนบนเว็บ ตามความเหมาะสมของผู้เรียน  เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียนมากขึ้น

              2. การเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ  ครูผู้สอนควรคำนึงความรู้พื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน  ผู้เรียนควรมีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์ระดับเบื้องต้น

       7.2 ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

              1. ควรมีการพัฒนาบทเรียนบนเว็บ ในเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับท้องถิ่น เช่น  เมืองพระประแดง  ถิ่นเมืองมอญ  และสมุทรปราการบ้านฉัน  เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียน มีเข้าใจความเป็นมาของท้องถิ่นได้ง่ายขึ้น

              2. ควรศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจระหว่างบทเรียนบนเว็บกับสื่อมัลติมีเดียหรือเกมออนไลน์ กับผู้เรียนในระดับประถมศึกษาให้มากขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อ เพื่อการเรียนรู้ต่อไป

       8. กิตติกรรมประกาศ

       การวิจัยนี้ สำเร็จได้ด้วยดี เพราะความช่วยเหลือและความกรุณาอย่างดียิ่งของรองศาสตราจารย์ดร.ศักดิ์คเรศ  ประกอบผล รองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.อำนวย  เดชชัยศรี และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความรู้  คำปรึกษา และข้อแนะนำ  ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้

       9. เอกสารอ้างอิง

[1] กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

[2] กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ.(2545).  หนังสือสาระมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 .กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

[3]  เกตุกนก  กัณฐสุทธิ์.  (2549). รายงานการวิจัย เรื่องการศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการเรียนซ่อมเสริมวิชาภาษาไทยด้วยการเรียนการสอนผ่านเว็บของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม). [ ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :http://eldc.swu.ac.th/thai/reseach1. htm.

[4] จุฑารัตน์  เพชรรัตน์.  (2547).  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การใช้โปรแกรม Power Point  จากการเรียนการสอนผ่านเว็บ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

[5] ชนากานต์  สายหมี.  (2547).  การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บ เรื่องยาเสพติด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.  วิทยานิพนธ์ปริญญาโท  มหาวิทยาลัยศิลปากร.

[6] ณรงค์ศักดิ์  สายแสง.  (2548).  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเว็บเรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนซอยแอนเนกซ์ กรุงเทพมหานคร.  วิทยานิพนธ์ปริญญาโท  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

[7]  ถนอมพร  เลาหจรัสแสง.  (2544).  การสอนบนเว็บ(Web based Instruction) นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการเรียนการสอน. วารสารศึกษาศาสตร์สาร,  28(1), 87-94. 

[8]  ธนวัฒน์  ทองเนื้อนุ่ม.  (2548).  การสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชากายวิภาคศาสตร์. รวมบทคัดย่อวิทยานิพนธ์มหาบัณทิต. 157.

[9]  ธัญมัย  แฉล้มเขตต์.  (2549).  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอาหารและโภชนาการ โดยใช้บทเรียนบนเว็บกับการเรียนปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท  มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[10]  นิพนธ์  คชชะ.  (2550).  การออกแบบบทเรียนบนเว็บ วิชาโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

[11]  นิศากร  เจริญดี.  (2550).  การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีแบบการเรียนต่างกันโดยใช้บทเรียนบนเว็บ วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 2. ปริญญาโท  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

[12]  ภาวนา  เห็นแก้ว.  (2545).  ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเว็บ เรื่องเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[13]  วิรฉัตร  บายเย็น.  (2549).  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการสอนบนเว็บ เรื่องการเลือกตั้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปากเกร็ด.  วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัย  เกษตรศาสตร์.

[14]  สมควร  เทียมมล.  (2551).  การออกแบบระบบการสอน[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www. krutechnic.com /pdf/elearning/e4.pdf.

[15]  สมใจ  นรินทร์นอก.  (2548).  การสร้างบทเรียนบนเว็บเพจเรื่อง เกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

[16]  สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). คู่มือฝึกอบรม ICT  เพื่อการเรียนการสอน.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

[17]  อุษา  บุญชู.  (2546).  การสร้างโปรแกรมช่วยพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยบูรพา.

[18]  Bangurah, Franklin M.  (2004).  A study of completion and passing rates between traditional and Web-based instruction at a two-year public community college in northeast Tennessee. Ed, NEW YORK UNIVERSITY.

[19]  Julie C. Korir Bore.  (2008).  Perceptions of Graduate Students on the Use of Web-based Instruction in Special Education Personnel Preparation. University of Texas of the Permian Basin.

[20]  Ritchie, D. C., and Hoffman, B.(1997). Incorporating instructional designprinciples with the World Wide Web. In B.H. Khan (Ed.)  Web-based Instruction. Englewood Cliffs, New  Jersey  Educational  Technology  Publications.