การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3
ชื่อผู้วิจัย : พิษณุ  พรหมวาทย์
สาขาวิชา : หลักสูตรและการสอน
ปีการศึกษา : 2557


 

สาระโดยย่อ

               การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์การวิจัย  1)  เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนว    ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียน ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ดำเนินการวิจัย   5 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1   การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ศึกษาสภาพปัจจุบัน การจัดการศึกษา คุณภาพและปัญหาการจัดการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหา และแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษา แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ขั้นที่ 2   การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้จากขั้นที่ 1             สร้างรูปแบบการเรียนการสอน

ขั้นที่ 3   การสร้างเครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน  และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์  ผู้วิจัยใช้แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

ขั้นที่ 4   การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดท่าบันเทิงธรรม จังหวัดนนทบุรี จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที

ขั้นที่ 5   การประเมินรูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3

 

ผลการวิจัย

  • ได้รูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาความ

ฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมี 5 องค์ประกอบ    คือ

(1) หลักการ/แนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอนฯ
(2) ขอบข่ายการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ผ่านกิจกรรมแนะแนว มีขอบข่าย 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการศึกษา ด้านการงานและอาชีพ  ด้านชีวิตและสังคม
(3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอนฯ  เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองในด้านความฉลาดทางอารมณ์ ใน 3 ด้าน คือ ด้านดี ประกอบด้วย การควบคุมตนเอง เห็นใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบ ด้านเก่ง ประกอบด้วยการมีแรงจูงใจ การตัดสินใจแก้ปัญหาและสัมพันธภาพ ด้านสุข ประกอบด้วย ความภูมิใจในตนเอง ความพอใจในชีวิต และความสงบสุขทางใจ
(4) กระบวนการจัดการเรียนการสอนมี 6 ขั้น ได้แก่

1. ขั้นตระเตรียม (Prepare)
2. ขั้นตระหนักตน (Realize the self)
3. ขั้นเติมเต็ม (Fulfill)
4. ขั้นตรึกตรอง (Reflect)
5. ขั้นตกแต่ง (Decorate)
6. ขั้นติดตาม (Follow)

(5)  ผลที่ผู้เรียนจะได้รับ  ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ 3 ด้าน คือ ด้านเก่ง ด้านดี และด้านสุข

  • หลังได้รับการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ผู้เรียนมีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ: กิจกรรมแนะแนว จิตตปัญญาศึกษา ความฉลาดทางอารมณ์

The Future Management of  Thai  Musical  Study

Supatra  Vilailuck1,

Supunnee  Leauboonshoo1  &  Sudarat  Janlekha2

1College  of  Music, Mahasarakham  University, Khamriang Sub-Distric, Kantarawichai Distric, Maha  Sarakham  44150,Thailand

2 Faculty  of  Humanities and  Social  Sciences,  Bansomdejchaopraya Rajabhat  University, 

  1061 Soi Isaraphab 15,  Isaraphab Rd., Dhonburi, Bangkok 10600. Thailand

   Correspondence: Supatra  Vilailuck , 1College  of  Music, Mahasarakham  University,

   Khamriang  Sub-Distric, Kantarawichai  Distric, Maha  Sarakham  44150,Thailand

   E-mail: svilailuck [email protected]

การวิจัยเรื่อง The Future Management of Thai Musical Study เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบกับเทคนิคเดลฟาย เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาดนตรีไทยในปัจจุบัน และแนวโน้มสภาพการจัดการศึกษาดนตรีไทยในช่วงปีการศึกษา 2013 ถึงปี 2022 ในมิติต่างๆ ได้แก่ด้านหลักสูตร ด้านผู้สอน ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านผู้เรียน ศึกษารายละเอียดของเรื่องในวารสาร Asian Culture and History

   Supatra  Vilailuck  and  Supunnee  Leauboonshoo,  Sudarat  Janlekha. (2015 )

                              “The Future  Management of  Thai  Musical  Study.”   Asian  Culture  and

                               History. V0l. 7( 1 ). pp. 119 – 124.

วารสารวิชาการ        Asian  Culture  and History

ลิงค์ที่เข้าถึงได้          http://www.ccsenet.org/journal/index.php/ach/article/view/38501

ผลิตภัณฑ์เจลต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดอรพิม

 

ผลิตภัณฑ์เจลต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดอรพิม

Gel products antioxidant extracted from Lysiphyllum winitii (Craib) de Wit

 

เพชรน้ำผึ้ง รอดโพธิ์*** ตรองหทัย   นาคแพน* สุคันธา  กล่อมเกลี้ยง*
ศุภรัตน์ ดวนใหญ่**  อาวุธ หงษ์ศิริ*** อัจฉรา แก้วน้อย**

Petnumpung Rodpo*** Tronghatai Nakpan* Sukhantha Klomkliang*
Supharat Duanyai** Arwut hongsiri*** Atchara Kaewnoi**

 


 

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เจลจากสารสกัดเปลือกต้นอรพิม (Lysiophyllum winitii (Craib) de Wit) โดยนำเปลือกต้นอรพิมมาสกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ 3 ชนิด คือ เอทานอล น้ำ และเฮกเซน จากนั้นนำมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละการต้านอนุมูลอิสระด้วย วิธี DPPH assay โดยใช้กรดแอสคลอบิก (Ascorbic acid) ที่ความเข้มข้น 10 ppm เป็นสารมาตรฐาน ผลพบว่า ที่ความเข้มข้น 1,000 ppm ของสารสกัด มีเพียงสารสกัดเอทานอลที่มีค่าร้อยละการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าสารมาตรฐานเท่ากับ 93.295 ± 0.008 ขณะที่สารสกัดน้ำและสารสกัดเฮกเซนมีค่าเท่ากับ 91.245 ± 0.16 และ 67.638 ± 1.38 ตามลำดับ และการทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP assay พบว่าสารสกัดด้วยน้ำ แสดงฤทธิ์การต้านอนุมูลสูงสุด โดยสารสกัดจากน้ำให้ค่า FRAP value มากที่สุด เท่ากับ 0.648 ± 0.051 mM จากนั้นจึงเลือกสารสกัดเอทานอล และน้ำมาพัฒนาตำรับเจล เพราะมีค่าร้อยละการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าร้อยละ 90 และนำมาทดสอบความคงตัวโดยวิธี Heating Cooling cycle เป็นเวลา 6 รอบ ผลพบว่า ตำรับ F4 ที่มีสารสกัดอรพิมด้วยน้ำ มีความคงตัวทางกายภาพสูงที่สุด และมีความคงตัวทางเคมีโดยพิจารณาจากค่าร้อยละการต้านอนุมูลอิสระ คงเหลือเท่ากับ 11.75

คำสำคัญ : อรพิม คิ้วนาง เจลอรพิม

 

Abstract

               The purpose of this research was to development gel products from the Bark of Orapim. (Lysiophyllum winitii (Craib) de Wit). By using three organic solvents; ethanol, DI water and hexane. Then analysis percent radical scavenging with DPPH assay by using Ascorbic acid at 10 ppm. As the standard substance. The results showed that at the concentration 1,000 ppm of the extracted only ethanol extracts with % radical scavenging were 93.295 ± 0.008 higher than the standard substance while the DI water extracts and hexane extract were equal. 91.245 ± 0.16 and 67.638 ± 1.38 respectively and water extracts had antioxidant activites calculated in FRAP value 0.648 ± 0.051 mM by FRAP assay.So choose ethanol extract. And the gel developed gel. Because the percent radical scavenging value is higher than 90% and tested for stability by the Heating cooling cycle method for 6 cycles. The result is that F4 formulated with DI water extract. Has the highest physical stability. The chemical % radical scavenging value was 22.21 ± 0.018, the lowest decrease of 11.75% and the total phenolic compound remind 0.05 mg GAE/mg of sample extracts.

Keyword : oraphim, khio nang, gel from Orapim

 

View Fullscreen

การตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดใบมะขามที่ปลูกในประเทศไทย

 

การตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดใบมะขามที่ปลูกในประเทศไทย
The Phytochemical Screening, antioxidant activityand total phenolic compounds of extracts of Tamarindus indica Linn leaves cultivated in Thailand.

 

ศุภรัตน์ ดวนใหญ่* เพชรน้ำผึ้ง รอดโพธิ์** อัจฉรา แก้วน้อย* อรุณรัตน์ แซ่อู้**
วิชุดา ฉันวิจิตร**  วิภารัตน์ ปัตถานะ** นุชบา สุวรรณโคตร**

Supharat Duanyai* Petnumpung Rodpo** Atchara Kaewnoi* Arunrat Saeou**
Wichuda Chanwijit** Wiparat Patthana** Nuchaba Sunwannakotr**


 

บทคัดย่อ

               งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดโดยวิธี Folin reagent method และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยวิธี 2,2-Diphenyl-1-picrylhydrazyl radial scavenging capacity assay (DPPH assay) และตรวจสอบองค์ประกอบทางพฤษเคมีเบื้องต้นของสารสกัดใบมะขามไทย  (Tamarindus indica Linn.) ที่เก็บจาก 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ  จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดสุพรรณบุรี และกรุงเทพมหานคร สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล และเอทิล อะซีเตท พบว่า สารสกัดเอทานอลของใบมะขาม แสดงผลการต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงกว่า สารสกัดเอทิลอะซีเตท โดยสารสกัดเอทานอลที่ความเข้มข้น 1,000 ppm มีร้อยละการต้านอนุมูลอิสระของจังหวัดนครสวรรค์สูงที่สุด มีค่าเท่ากับร้อยละ (91.081 ± 0.013; และ IC50 = 79.439 ppm).และสารสกัดเอทานอลของกรุงเทพมหานคร มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงที่สุด มีค่าเท่ากับ 178.34 มิลลิกรัมของกรดแกลิกต่อกรัมสารสกัด  เมื่อนำสารสกัดทั้ง 2 ชนิด มาตรวจสอบองค์ประกอบทางพฤษเคมีเบื้องต้น 7 กลุ่ม ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ แอลคาลอยด์ แทนนิน คาร์ดิแอกไกลโคไซด์ เทอร์พีนอยด์ แอนทราควิโนน และซาโปนิน ผลพบว่า สารสกัดเอทานอลของใบมะขามไทย ไม่พบ กลุ่มสารแอลคาลอยด์ ซาโปนิน และคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ ส่วนสารสกัดเอทิลอะซีเตท ไม่พบกลุ่มสารแอลคาลอยด์ คาร์ดิแอกไกลโคไซด์ และแอน ทราควิโนน

คำสำคัญ : มะขามไทย, สารประกอบฟีโนลิก, การต้านอนุมูลอิสระ

 

Abstract

               This study aimed for determination of phenolic compounds by the Folin-Ciocalteu analysis and the antioxidant activity was evaluated by 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl scavenging capacity (DPPH) method.  The phytochemical screening was measured of the ethanolic and ethyl acetate extracts of leaves of Tamarindus indica Linn. that were harvested from 5 provinces of Thailand; Sisaket, Phetchaburi, Nakhonsawan, Suphanburi and Bangkok.  The results showed that ethanolic extracts have antioxidant activity and total phenolic compounds more than ethyl acetate extracts. The antioxidant activity indicated that ethanolic extract from Nakhonsawan showed highest effect at 1,000 ppm (91.081 ± 0.013; and IC50 = 16.664). For the content of phenolic compounds, the ethanolic extract from Bangkok was found to be 178.34 mgGAE/1g.  However, all extracted were screened for investigate 7 groups of phytochemical compounds; flavonoids, alkaloids, tannins, cardiac glycosides, terpenoids anthraquinones and saponins. The results showed that ethanolic extracts were not found alkaloids, saponin and cardiac glycosides whereas ethyl acetate extracts were not found alkaloids, cardiac glycosides and anthraquinones.

Keywords : Tamarindus indica Linn. phenolic compounds, antioxidant

 


 

View Fullscreen

การศึกษาสภาวะการปลูกสมุนไพรพลูจีนในเขตพื้นที่ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ให้ได้ตามตำรามาตรฐานสมุนไพรไทย

การศึกษาสภาวะการปลูกสมุนไพรพลูจีนในเขตพื้นที่ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ให้ได้ตามตำรามาตรฐานสมุนไพรไทย

The Study of Growing Conditions of Piper betle (L.) in Huai Duan District, Dontum  Prefecture, Nakhon Pathom Province according to the Thai Herbal Pharmacopoeia 2000 Volume II

 

อภิญญา ไชยคำ*, สุชาดา  มานอก**, อัจฉรา แก้วน้อย**, ศุภรัตน์  ดวนใหญ่**,
เพชรน้ำผึ้ง  รอดโพธิ์***, ชารินันท์ แจงกลาง***

Apinya  Chaiyakam*, Suchada Manok**, Atchara Keawnoi**, Supharat Duanyai**,
Petnumpung Rodpo***, charinan jaengklang***


บทคัดย่อ

               การปลูกสมุนไพรพลูจีนใน 2 สภาวะคือ พรางแสงร้อยละ 50 และปลูกกลางแจ้งใช้ค้างเดียว โดยได้รับแสงอาทิตย์ ร้อยละ 100 ปลูกเป็นระยะเวลา 4 เดือน ในเขตพื้นที่ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม พบว่า ปลูกที่แจ้งใช้ค้างเดียวมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าปลูกพรางร้อยละ 50 โดยผลการตรวจสอบมาตรฐาน พบว่า ลักษณะเด่นทางจุลทรรศน์ของพลูจีนทั้ง 2 สภาวะ พบ oil droplets และ upper epidermis showing stomata เป็นจำนวนมาก ผลการตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมี พบว่า พลูจีนทั้ง 2 สภาวะ มีสารกลุ่มฟีโนลิกเป็นองค์ประกอบ เมื่อทดสอบด้วยเทคนิคทินเลเยอร์โครมาโทกราฟี แสดงสารยูจีนอลอยู่ตำแหน่งที่ 3 มีค่า hRf เท่ากับ 34.545 โดยผลการตรวจเอกลักษณ์ทางเคมีและทางกายภาพ พบว่า สมุนไพรพลูจีนที่ปลูกกลางแจ้งค้างเดี่ยว พบปริมาณสิ่งแปลกปลอม 0.001 โดยน้ำหนัก ความชื้นร้อยละ 4.887±1.260 โดยน้ำหนัก เถ้ารวมร้อยละ 13.966±3.453 โดยน้ำหนัก เถ้าที่ไม่ลายในกรดร้อยละ 5.920±0.488 โดยน้ำหนักผลของการหาปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอลและน้ำอยู่ที่ร้อยละ 15.367±0.665และ 26.500±0.953 โดยน้ำหนักแห้ง และสมุนไพรพลูจีนที่ปลูกพรางแสงร้อยละ 50 พบปริมาณสิ่งแปลกปลอมร้อยละ 0.001 โดยน้ำหนัก ความชื้นร้อยละ 5.330±0.882 โดยน้ำหนัก รวมร้อยละ 18.366±0.189 โดยน้ำหนัก เถ้าที่ไม่ละลายในกรดร้อยละ 13.222±0.648 โดยน้ำหนักผลของการหาปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอลและน้ำอยู่ที่ร้อยละ 12.333±0.378และ 28.867±0.288 โดยน้ำหนักแห้ง จากผลการตรวจสอบเอกลักษณ์ พบว่า สมุนไพรพลูจีนที่ปลูกกลางแจ้งค้างเดี่ยวเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐาน Thai Herbal Pharmacopoeia2000 Volume IIส่วนสมุนไพรพลูจีนที่ปลูกพรางแสงร้อยละ 50 แสดงปริมาณเถ้ารวมและเถ้าที่ไม่ละลายในกรดมากกว่าเกณฑ์ข้อกำหนดมาตรฐานพลูจีนตาม Thai Herbal Pharmacopoeia 2000 Volume II

คำสำคัญ; พลูจีน ตำรามาตรฐานยาสมุนไพร

 

Abstract

               Piper betle (L.) was mono-cultivated by two conditions of plantations, in 50% sunshade and out door at Huai Duan District, Dontum  Prefecture, Nakhon Pathom for 4 months on July 2012-October 2012, found that plant out door had the better growth than in 50% sunshade. The microscopic characteristics of these two conditions of the herb found Oil droplets, Upper epidermis showing stomata. Chemica identification found that phenolic compound was found in Piper betle (L.) leaves. Chromatogram of Piper betle (L.) extract determined by thin-layer chromatography technique showed eugenol at 3th position which possessed hRf as 34.545. The identification of chemical and physical properties of the plant out door conditions of Piper betle (L.) found that the quantity foreign matter was 0.001% by weight; moisture content was 4.887±1.260% by weight, total ash was 15.367±0.665% by weight and acid-insoluble ash was 5.920±0.488% The % yields of the extract with ethanol-soluble and water were 13.966±3.453 and 26.500±0.953 by dry weight respectively. The 50% sunshade plant found that the quantity foreign matter was 0.001% by weight, moisture content was 5.330±0.882% by weight, total ash was 8.366±0.189% by weight and acid-insoluble ash was 13.222±0.648%. The % yield of the extract with ethanol-soluble and water were 12.333±0.378 and 28.867±0.288 by dry weight respectively. The identification of the plant out door condition of Piper betle (L.) found to comply with the requirements in the herbal Piper betle (L.) of Thai Herbal Pharmacopoeia 200 Volume II. The 50% sunshade plant display of total ash and acid-insoluble ash was more than the requirements in the herbal Piper betle (L.) of Thai Herbal Pharmacopoeia 200 Volume II.

Keywords: Piper betle (L.), Thai Herbal Pharmacopoeia 2000 Volume II,

 

View Fullscreen

การควบคุมมาตรฐานสมุนไพรบัวบกในเขตพื้นที่ ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ตามตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย

 

การควบคุมมาตรฐานสมุนไพรบัวบกในเขตพื้นที่ ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ตามตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย

Quality Control of Centella asiatica (L.) Urb. from Huai Duan District, Dontum Prefecture, Nakhon Pathom Province according to the Supplement to Thai Herbal Pharmacopoeia 2004

 

ศิริพร ปัททุม*, สุชาดา  มานอก**, อัจฉรา แก้วน้อย**, ศุภรัตน์  ดวนใหญ่**,
เพชรน้ำผึ้ง  รอดโพธิ์***, อรุณรัตน์ แซ่อู้***

Siriporn Puttum*, Atchara Keawnoi**, Supharat Duanyai**, Suchada Manok**,
Petnumpung Rodpo***, Arunrat Saeou***


 

บทคัดย่อ

               การตรวจเอกลักษณ์สมุนไพรบัวบกในเขตพื้นที่พื้นที่ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมตามตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย โดยผลการตรวจสอบ พบว่า ลักษณะเด่นทางจุลทรรศน์ของบัวบก epidermis showing stoma, vascular bundle and rosette aggregate crystals, unicellular trachoma, scalarform and pitted vessels และ collenchymas ผลการตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมีพบสารกลุ่มฟีโนลิกและไตรเทอร์ปีนไกลโคไซค์ เมื่อทำการทดสอบด้วยวิธีเทคนิคทินเลเยอร์โครมาโทกราฟี พบสาร asiaticoside และ asiatic acid ตรงตำแหน่งที่ 4,5 มีค่า hRf เท่ากับ 30.909, 58.182 ตามลำดับ ผลการตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมี-ฟิสิกส์และกายภาพ พบปริมาณสิ่งแปลกปลอมน้อยกว่า 2.00 โดยน้ำหนัก ความชื้นอยู่ที่ช่วงร้อยละ 6.980±0.517 ถึง 11.997±1.253 โดยน้ำหนัก เถ้ารวมอยู่ที่ช่วงร้อยละ 7.343±4.623 ถึง 9.821±1.812 โดยน้ำหนัก และเถ้าที่ไม่ละลายในกรดร้อยละ 0.416±0.076  ถึง 0.533±0.160  โดยน้ำหนัก ปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 95 และปริมาณสารสกัดด้วยน้ำมีค่าอยู่ที่ช่วง17.266±0.378 ถึง 17.666±2.470 และ 32.233±1.594 ถึง 34.600±2.773 โดยน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ จากผลการตรวจสอบเอกลักษณ์ พบว่า สมุนไพรบัวบกที่ปลูกในเขตพื้นที่ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานสมุนไพรบัวบกตาม Supplement to Thai Herbal Pharmacopoeia 2004

คำสำคัญ  บัวบก, ไตรเทอร์ปีนไกลโคไซค์, ตำบลห้วยด้วน

 

Abstract

               Identification of Centella asiatica (L.) Urb. Cultured in Huai Duan District, Dontum Prefecture, Nakhon Pathom Province according to the Supplement to  Thai Herbal Pharmacopoeia 2004 was performed. The microscopic characteristics of the herb revealed epidermis showing stoma, vascular bundle and rosette aggregate crystals, unicellular trachoma, scalarform and pitted vessels and collenchymas. Chemical Identification found that Phenolic and triterpene glycoside were found in Centella asiatica (L.) Urb. Extract determined by thin-layer chromatography technique showed asiaticoside and asiatic acid at 4 th and 5 th position which possessed hRf as 30.909 and 58.182. respectively. The Identification of chemical and physical properties of Centella asiatica (L.) Urb. Found that the quantity of foreigh matter was less than 2.00% by weight, moistuer content was in the range of 6.980 ± 0.517% to 11.997± 1.253% by weight, total ash was in the range of 7.343 ± 4.623% to 9.821 ± 1.812% by weight and acid-insoluble ash was in the range of  0.416± 0.076% to 0.533 ± 0.160% by weight. The % yield of extract with 95% ethanol and water were 17.666± 2.470 to 17.266 ± 0.378 and 34.600 ± 2.773 and 32.233 ± 1.594 by dry weight respectively. The Identification of Centella asiatica (L.) Urb. Cultured in Huai Duan District, Dontum Prefecture, Nakhon Pathom Province found to comply with the requirements in the herbal Centella asiatica (L.) Urb.. of Supplement to Thai Herbal Pharmacopoeia 2004.

 Keyword (s)  Centella asiatica (L.) Urb., Triterpene glycoside, Huai Duan District

 

View Fullscreen

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการถนอมอาหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน สังกัดกรุงเทพมหานคร

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการถนอมอาหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน สังกัดกรุงเทพมหานคร

ประเภทผลงานวิชาการ : งานวิจัย

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๔

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : ดวงพร ภู่ทอง   มหาบัณฑิตสาขาวิชาการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์    มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

       ผู้วิจัยได้ข้อสรุปจากการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า สื่อคอมพิวเตอร์สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลต่อการรับรู้และเรียนรู้ได้ บางเรื่องก็สามารถฝึกทักษะซ้ำๆได้จนกว่าจะผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การถนอมอาหาร  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔  โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน   สังกัดกรุงเทพมหานคร  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐    และศึกษาหาผลสัมฤทธ์ทางการเรียนจากการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังกล่าว

       สรุปผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการถนอมอาหาร  ได้ทดลองกับกลุ่มทดลอง ๓ ขั้นตอน ได้แก่  รายบุคคล  กลุ่มย่อย  กลุ่มใหญ่ พบว่า คะแนนทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน(E1)มีค่าเท่ากับ ๘.๓๓ และคะแนนทำแบบทดสอบหลังเรียน(E2)๘๓.๗๘ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้  นอกจากนี้ยังพบว่า คุณภาพเครื่องมือของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้านโครงสร้างเทคนิคอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก  มีค่าเฉลี่ย  ๔.๖๐  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๐๙ สำหรับคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้านเนื้อหา   ผลการวิจัยคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย ๔.๕๐ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๐๘       (สำหรับรายละเอียดของงานวิจัยสามารถสืบค้นได้จาก Web-online มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา)

รศ.ดร.อำนวย    เดชชัยศรี    บรรณากร

MST :  คณิต / วิทย์ / เทคโนโลยี

ตัวแบบสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ซิกซ์ซิกม่า

ตัวแบบสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ซิกซ์ซิกม่า 

The   Model  for  Six  Sigma  Software  Development

นัยนพัศ  อินจวงจิรกิตต์*  สมชัย  ชินะตระกูล**

จารึก  ชูกิตติกุล**  วจี  ชูกิตติกุล** 

*สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

**คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี


 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย  เพื่อสร้างและประเมินการยอมรับตัวแบบเชิงแนวคิด

สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์คุณภาพซิกซ์ซิกม่าที่มีชื่อรียกว่า ตัวแบบพาดิท  และคู่มือการใช้งาน

       ขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์ซิกซ์ซิกม่าของตัวแบบพาดิทประกอบด้วย 5 ขั้นตอน  ผลการวิจัย   ทำให้ได้นวัตกรรมใหม่ทางเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ  ได้แก่ตัวแบบพาดิท  สำหรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อให้ได้คุณภาพระดับซิกซ์ซิกม่า  พร้อมคู่มือการใช้งาน

       ศึกษารายละเอียดได้ในวารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์

      นัยนพัศ  อินจวงจิรกิตต์. (2556).  ตัวแบบสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ซิกซ์ซิกม่า.

                                           วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ 13(2): 118 – 130

       วารสารวิชาการ            ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์

       ลิงค์ที่เข้าถึงได้              http://sci.bsru.ac.th/sciweb/eMagazine-13-2.php

จันทน์หอม…ไม้มงคลในพระราชพิธี

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่กำลังจะมาถึงในปลายเดือนตุลาคม 2560 นั้น สื่อสารมวลชนทุกแขนงต่างก็ออกข่าวเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของพระราชพิธี หนึ่งในความสำคัญของงานพระราชพิธีนี้ที่จะขาดเสียไม่ได้คือ การนำไม้จันทน์หอมมาสร้างพระรองประดับพระโกศ พระบรมศพ รวมทั้งใช้ทำฟืนหรือดอกไม้จันทน์ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ ผู้เขียนเห็นสมควรนำความรู้เรื่อง “จันทน์หอม”มาเผยแพร่ให้รู้จักกันพร้อมภาพที่ถ่ายมาจากต้นจริง

 

ไม้จันทน์หอม
ไม้มงคลที่กำลังเป็นที่สนใจในช่วงเวลานี้ นั่นคือไม้จันทน์หอม เพราะเป็นไม้มงคลที่จะนำไปใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

 

ทำไมถึงใช้ไม้จันทน์หอมในพระราชพิธี
เหตุผลที่ใช้ไม้จันทน์หอมในพระราชพิธี เพราะว่า ไม้จันทน์หอมเป็นไม้มีค่าหายาก จัดเป็นไม้มงคลชั้นสูง ที่ถูกนำไปใช้ในงานพระราชพิธีนับตั้งแต่สมัยโบราณยุคพุทธกาล โดยพบประวัติการใช้ไม้จันทน์หอมในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องนับแต่ยุคประวัติศาสตร์ตอนต้นสมัยอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ยังพบประวัติที่ระบุในจดหมายเหตุว่า ไม้จันทน์หอมเป็นเครื่องหมายบรรณาการที่สำคัญในช่วงเวลาดังกล่าวอีกด้วย
และด้วยเหตุที่เนื้อไม้จันทน์หอมมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เนื้อไม้แข็ง มีความละเอียด จึงนิยมนำไม้จันทน์หอมมาสร้างพระรองประดับพระโกศ พระบรมศพ รวมทั้งใช้ทำฟืนหรือดอกไม้จันทน์ในพิธีพระราชทานเพลิงศพมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล เพื่อเป็นเชิงสัญลักษณ์ที่แสดงว่า ไม่ว่าไม้จันทน์หอมจะเป็นหรือตาย ก็ยังคงมีความหอม เปรียบเหมือนคนที่ตอนมีชีวิตอยู่นั้นได้ทำความดีไว้มากมาย แต่เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้ว ความดีนั้นก็ยังคงอยู่ ขณะเดียวกัน ความหอมของไม้จันทน์หอมยังช่วยรักษาศพไม่ให้มีกลิ่นเหม็น เนื่องจากในสมัยก่อนยังไม่มีการฉีดยา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม้จันทน์หอมเป็นไม้หายากและมีราคาแพง จึงนำมาใช้เฉพาะในงานพระศพของราชวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น ภายหลังกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงได้คิดค้นให้ใช้ไม้จันทน์หอมทำเป็นแผ่นบาง ๆ มัดเป็นช่อเรียกว่าดอกไม้จันทน์ เพื่อให้ผู้ที่มาร่วมงานศพได้นำไปวางที่เผาศพและนิยมใช้จนถึงปัจจุบัน

 

พิธีตัดไม้จันทน์หอม
พิธีตัดไม้จันทน์หอมจะประกอบไปด้วยการบวงสรวง ก่อนจะใช้ขวานทองจามไปที่ต้นไม้ที่ถูกคัดเลือกไว้แล้วในเชิงสัญลักษณ์แต่ยังไม่ได้เป็นการตัดจริง โดยจะต้องรอให้ทางช่างสิบหมู่ออกแบบกำหนดลักษณะไม้ที่ต้องการเสร็จสิ้นก่อน จึงจะทำการตัดจริงได้ อีกทั้งต้นไม้จันทน์หอมที่เลือกจะต้องเป็นต้นที่ตายพรายซึ่งหมายถึงยืนต้นตายเองตามธรรมชาติ โดยพิจารณาจากลักษณะไม้ที่มีเนื้อหอม เนื้อไม้แกร่ง เปลาตรง คุณภาพดี ซึ่งก่อนตัดก็ต้องทำพิธีขอจากรุกขเทวดาโดยพราหมณ์อ่านโองการและตัดตามฤกษ์ดี
ไม้จันทน์หอมที่จะใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นไม้ในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถูกคัดเลือกไว้ 4 ต้นด้วยกัน จากทั้งหมด 19 ต้น คือต้นไม้จันทน์หอมลำดับที่ 10, 11, 14 และ 15 ซึ่งได้รับการคัดเลือกจาก นายจำลอง ยิ่งนึก ผู้อำนวยการกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง และนายฉัตรชัย ปิ่นเงิน หัวหน้างานโหรพราหมณ์ ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ฝ่ายปกครอง ตลอดจนหน่วยงานเกี่ยวข้อง และทุกต้นยืนต้นตายตามธรรมชาติ มีกลิ่นหอม ลักษณะต้นไม้เปลาตรง ขนาดความโตตั้งแต่ 142-203 เซนติเมตรและสูง11-15เมตร โดยมีกำหนดฤกษ์ตัด เวลา 14.09-14.39 น. ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ซึ่งมีการตั้งโต๊ะเครื่องบวงสรวง ตลอดจนเครื่องสังเวยต่าง ๆ โดยหลั่งน้ำเทพมนต์เจิมบริเวณต้นไม้จันทน์หอม และลงขวานทองที่ต้นไม้จันทน์หอม ต้นที่ 15 เป็นปฐมฤกษ์ ก่อนจะตัดต้นที่เหลืออีก 3 ต้นพร้อมกัน

 

จันทน์หอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Mansonia gagei Drumm.

ชื่อวงศ์ STERCULIACEAE

ชื่ออื่น จันทน์ จันทน์ชะมด จันทน์ขาว จันทน์พม่า

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 10 – 20 เมตร  เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบสีเทาอมขาว เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง กิ่งก้านอ่อน มักห้อยลง  ใบเดี่ยว เรียงสลับ มักออกใบถี่ที่ปลายยอด แผ่นใบรูปรี แกมรูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่กลับ กว้าง 3 – 6 เซนติเมตร ยาว 8 – 14 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนใบเว้า เบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเป็นคลื่นห่าง ๆ  ดอกเล็กสีขาวออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ ตามปลาย กิ่งและตามง่ามใบ  ผลรูปกระสวย มีปีกบางรูปทรงสามเหลี่ยมสามปีก กว้าง 0.5 – 0.7 เซนติเมตร ยาว 1 – 1.5 เซนติเมตร มีปีก ปีกกว้าง 1 – 1.5 เซนติเมตร ยาว 2.5 – 3 เซนติเมตร

 

การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

หมายเหตุ

1. จันทน์หอมเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดนครปฐม

2. ต้นจันทน์หอมที่วัดนรนาถสุนทริการาม ที่เทเวศร์มีขนาดใหญ่ สูงราว 12 เมตร อยู่ข้างพระอุโบสถ์ ผู้สนใจสามารถไปชมได้

 

ประโยชน์

1.เนื้อไม้ กระพี้ สีขาว แก่นสีน้ำตาลเข้ม ใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า เครื่องกลึง เครื่อง แกะสลัก ทำหวี ดอกไม้จันทน์ ธูป น้ำมัน

2.ไม้ที่ตายเองจะมีกลิ่นหอม หอมที่ได้จากการกลั่นชิ้นไม้ ใช้ปรุงเครื่องหอมและเครื่อง สำอาง ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ

3.เนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้กระหายน้ำและอ่อนเพลีย

 

อ้างอิง 

1.ส่วนเพาะชำกล้าไม้สำนักส่งเสริมการปลูกป่ากรมป่าไม้
   อุทยานแห่งชาติกุยบุรีสำนักอุทยานแห่งชาติ

2. หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันที่ 2 มกราคม 2560

3. Kapook.com

มะเขือต้น

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ ผู้เขียนได้รับคำถามอยู่เสมอจากผู้รักต้นไม้เกี่ยวกับ “มะเขือต้น” จนเมื่อวันก่อนไปพบมะเขือต้นพรรณไม้ดอกสวยต้นนี้ที่วังตะไคร้ ก็ได้โอกาสบรรยายให้ความรู้แก่นักศึกษาที่พาไปศึกษานอกสถานที่ให้ เป็นความรู้ใหม่สำหรับเยาวชน จึงถือโอกาสนำความรู้เรื่องนี้มาเผยแพร่แก่ผู้สนใจ

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum wrightii  Benth

ชื่อวงศ์ SOLANACEAE

ชื่อสามัญ Potato tree

ชื่ออื่น มะเขือยักษ์  มะเขือดอก  มะเขือประดับ

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-8 เมตร มีหนามห่างๆ แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่มกลมสวยงาม กิ่งเปราะฉีกขาดง่าย  ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ รูปไข่ เรียงสลับ กว้าง 15-20 ซม. ยาวถึง 20-25 ซม. ขอบใบเว้าลึกเป็นพูหลายพู ปลายใบแหลม โคนใบทู่ ไม่สมมาตร ผิวใบมีขนสากทั้งสองด้าน เส้นกลางใบและก้านใบ มีหนามห่าง ดอก สีม่วงแล้วจางเป็นสีขาว ออกเป็นช่อสั้น จากกิ่งใกล้ปลายยอด ยาว 7-10 ซม. ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-7 ซม. กลีบรองดอก โคนเชื่อมกัน ปลายเว้าลึกเป็น 5 แฉก กลีบดอก เชื่อมกันคล้ายรูปปากแตร ปลายกลีบเว้าเป็น 5 แฉก ขอบกลีบย่น เกสรผู้ 5 อัน อับเรณูสีเหลือง ยาวประมาณ 1.5 ซม. ผล รูปทรงกลม สีเขียวสด ขนาด 3.5-4.5 ซม. มีกลีบเลี้ยงติดคาที่ขั้วผลกินไม่ได้ ผลสุกสีเขียวคล้ำ เนื้อเหลว มีเมล็ดขนาด 0.1 ซม.จำนวนมากกว่า 100 เมล็ด

 

การกระจายพันธุ์ เป็นไม้ต่างประเทศมีถิ่นกำเนิด ในประเทศเปรูในทวีปอเมริกาใต้ นำมาปลูกที่สวนพฤกษศาสตร์ฯ จังหวัดเชียงใหม่ เจริญเติบโตได้ดี ออกดอกและติดผลตลอดปี

 

ประโยชน์

1. ดอกสวยเพราะกลีบดอกมีสีม่วงสดเมื่อแรกบานแล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงอ่อนและขาวในช่อเดียวกัน ออกดอกตลอดปี จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

2. ใบดกหนาทึบให้ร่มเงาดีมาก เหมาะสำหรับปลูกประดับในสวนสาธารณะ  เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะสวยงาม

 

การขยายพันธุ์ เพาะกล้า และ ตอนกิ่ง

 

การปลูก นำผลสุกมาแยกเอาเมล็ด เพาะกล้าในภาชนะรวม เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 3-5 ใบ ให้ย้ายปลูกในภาชนะเดี่ยว เมื่อต้นกล้าสูงราว 20 ซม. นำไปปลูกลงดิน ในสภาพที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง รดน้ำใส่ปุ๋ยเหมือนพืชทั่วไปจะออกดอกเมื่ออายุประมาณ 8-10 เดือน

 

อ้างอิง

องค์การสวนพฤกษศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี. 2546.  สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 7 . โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮาส์. กรุงเทพฯ. 347 หน้า.