ชื่อผลงานทางวิชาการ : พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

ประเภทผลงานทางวิชาการ : เอกสารประกอบการสอน รายวิชาพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นายพิบูลย์ วิฑูรย์ปัญญากุล ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : ศึกษากฎหมายพระธรรมนูญศาลยุติธรรม อำนาจศาลและอำนาจในการพิจารณา พิพากษาคดี รวมทั้งระบบตุลาการและกฎหมาย การจัดตั้งศาลแขวงและพิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง

       พระธรรมนูญศาลยุติธรรม เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติที่บัญญัติถึงศาลและผู้พิพากษา ซึ่งเป็นสถาบันหลักที่ใช้อำนาจตุลาการในการพิจารณาพิพากษาคดีระหว่างประชาชนกับพลเมือง ทั้งนี้เพราะการใช้อำนาจตุลากรโดยศาลหรือผู้พิพากษาเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิ เสรีภาพและทรัพย์สินของประชาชน จึงต้องมีขอบเขตหรือหลักเกณฑ์การฟ้องคดีต้องพิจารณากฎหมายทั้งสองควบคู่กัน

       การแบ่งชั้นของศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญมี 3 ขั้น คือ ศาลขั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

       ตำแหน่งประมุขและรองประมุขในศาลยุติธรรม ตามที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 8 วรรคแรก กล่าวว่า ให้มีประธานศาลฎีกา ประจำศาลฎีกาหนึ่งคน ประธานศาลอุทธรณ์ภาค ประจำศาลอุทธรณ์ภาคศาลละหนึ่งคน และให้มีอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรีและศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้น กำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น ศาลละหนึ่งคน ฯลฯ เป็นต้น

       อำนาจหน้าที่ของผู้พิพากษารับผิดชอบราชการงานของศาล พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 11 บัญญัติไว้ว่าประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ต้องรับผิดชอบในราชการของศาลให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและให้มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

       1. นั่งพิจารณาและพิพากษาคดีใดๆ ของศาลนั้นหรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้วมีอำนาจนำความเห็นแย้งได้

       2. สั่งคำร้องคำขอต่างๆ ที่ยื่นต่อคนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ว่าด้วยวิธีพิจารณาความ

       3. ระมัดระวังการใช้ระเบียบวิธีการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นโดยกฎหมายหรือโดยประการอื่นให้เป็นไปโดยถูกต้อง เพื่อการพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดไปโดยเร็ว

       4. ให้คำแนะนำแก่ผู้พิพากษาในศาลนั้นในข้อขัดข้อง เนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา

       5. ร่วมมือกับเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในบรรดากิจการอันเกี่ยวกับการจัดวางระเบียบและการดำเนินงานส่วนธุรการของศาล

       6. ทำรายงานการคดีและกิจการของศาลส่งตามระเบียบ

       7. มีอำนาจหน้าที่อื่นที่กฎหมายกำหนด

       อธิบดีผู้พิพากษาภาค ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 13 บัญญัติไว้ว่า ให้อธิการบดีผู้พิพากษาภาค ภาคละหนึ่งคนจำนวนเก้าภาค มีสถานที่ตั้งและเขตอำนาจตามที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษากับให้มีรองอธิบดีผู้พิพากษาภาค ภาคละสามคน ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในทางราชการ คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม โดยความเห็นชอบของประธานศาลฎีกาจะกำหนดให้มีรองอธิบดีผู้พิพากษาภาคมากกว่าสามคน แต่ไม่เกินหกคนก็ได้

       อำนาจหน้าที่ของอธิบดีผู้พิพากษาภาคและรองอธิบดีผู้พิพากษาภาค มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

       1. สั่งให้หัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมรายงานเกี่ยวกับคดีหรือรายงานกิจการอื่นของศาลที่อยู่ในเขตอำนาจของตน

       2. ในกรณีจำเป็นจะสั่งให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งในศาลที่อยู่ในเขตอำนาจของตนไปช่วยทำงานชั่วคราวมีกำหนดไม่เกินสามเดือน ในอีกศาลหนึ่งโดยความยินยอมของผู้พิพากษานั้นก็ได้ แล้วรายงานไปยังประธานศาลฎีกาทันที

       ศาลชั้นต้นที่เป็นศาลแขวง ตามพระธรรมนูญศาล มาตรา 17 บัญญัติไว้ว่า ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีและมีอำนาจทำการไต่สวนหรือมีคำสั่งใดๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งในมาตรา 24 บัญญัติว่า ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอำนาจดังต่อไปนี้

       1. ออกหมายเรียก หมายอาญาหรือหมายสั่งให้ส่งคนมาจากหรือไปยังจังหวัดอื่น

       2. ออกคำสั่งใดๆ ซึ่งไม่ใช้เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพากษาแห่งคดี

พระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 25 บัญญัติไว้ว่า ในศาลขั้นต้นผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจเกี่ยวแก่คดี ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

       1. ไต่ศาลและวินิจฉัยชี้ขาด คำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดีทั้งปวง

       2. ไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย

       3. ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา

       4. พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพากษาหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพากษาหรือจำนวนเงินดังกล่าว อาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

       5. พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ละลงโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง เกินอัตราที่กล่าวไม่ได้

       ศาลชำนัญพิเศษ เป็นศาลชั้นต้นจัดตั้งขึ้นโดยอาศัยกฎหมายที่บัญญัติโดยเฉพาะ ซึ่งขณะนี้มีกฎหมายให้จัดตั้งศาลยุติธรรมอื่นซึ่งถือว่าเป็นศาลชั้นต้น รวม 5 ศาล ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลายและศาลภาษีอากร

       ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค มีอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ ได้แก่ อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 204 และมาตรา 208 ตลอดจนมาตราอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้น ซึ่งจะต้องส่งไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค ภาคใดภาคหนึ่งตามที่มีเขตอำนาจ อำนาจหน้าที่ของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค มีอำนาจทั่วไปภายในเขตอำนาจของศาล ดังนี้

       1. พิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น

       2. พิพากษายืนความ แก้ไข กลับหรือยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตที่ศาลชั้นต้นส่งขึ้นมาศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

       3. วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคที่กฎหมายบัญญัติ

       4. วินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่น

       ศาลฎีกาเป็นศาลเดียวเท่านั้นที่ไม่ต้องบัญญัติว่าด้วยเขตศาลฎีกา มีเขตครอบคลุมทั่วราชอาณาจักร ศาลฎีกามีอำนาจรับคดี 3 ประเภท ได้แก่ คดีที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เสนอต่อศาลฎีกาโดยตรง คดีที่มีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ต้องเสนอต่อศาลฎีกาโดยตรงและคดีที่อุทธรณ์มาจากศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามปกติ คดีที่ศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วคู่ความไม่มีสิทธิ์ที่จะทูลเกล้าถวายฎีกาคัดค้านนั้นต่อไป ศาลฎีกามีอำนาจรับคดี 3 ประเภท ได้แก่ คดีที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เสนอต่อศาลฎีกาโดยตรง คดีที่มีกฎหมายอื่นบัญญัติให้เสนอต่อศาลฎีกาโดยตรงและคดีที่อุทธรณ์มาจากศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามปกติ

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : เอกสารประกอบการสอนเล่มนี้ได้กล่าวถึง องค์คณะผู้พิพากษา หมายถึง จำนวนผู้พิพากษาที่กฎหมายกำหนดให้ประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแต่ละเรื่อง โดยกฎหมายกำหนดให้ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาคและศาลฎีกาจะต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน เป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีแต่ละเรื่อง แต่ในศาลขั้นต้นนั้นบางกรณีกฎหมายกำหนดให้ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 1 คน และบางกรณีกำหนดให้ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน เพื่อประกอบเป็นองค์คณะ จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแต่ละเรื่องได้ โดยให้ถือลักษณะคดีแต่ละประเภทเป็นเกณฑ์ในการกำหนดจำนวน ผู้พิพากษาเพื่อประกอบเป็นองค์คณะ โดยคดีแพ่งถือจำนวนทุนทรัพย์เป็นเกณฑ์ ส่วนคดีอาญานั้นถืออัตราโทษชั้นสูงในแต่ละคดีเป็นเกณฑ์ในการกำหนดจำนวนผู้พิพากษา การพิจารณาพิพากษาคดีอาญาในศาลชั้นต้นนั้นจะต้องแยกพิจารณาออกเป็น 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ ขั้นไต่สวนมูลฟ้องกับการชี้สองสถานหรือสืบพยาน ขั้นพิจารณาและขั้นพิพากษา

มาตรา 25 อำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวในศาลขั้นต้นวรรคแรก ในศาลขั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจเกี่ยวกับคดี ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้น ดังนี้

       1. ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดีทั้งปวง

       2. ไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย

       3. ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา

       4. พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง

       การจ่าย การโอน และการเรียกคืนสำนวน ตามที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 32 บัญญัติไว้ว่า ให้ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล หรือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีในแต่ละศาลแล้วแต่กรณี รับผิดชอบในการจ่ายสำนวนคดีให้แก่องค์คณะผู้พิพากษาให้ศาลหรือในแผนกคดีนั้นๆ โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรม การออกระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรมตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงความเชี่ยวชาญและความเหมาะสมขององค์คณะคณะผู้พิพากษาที่จะรับผิดชอบสำนวนคดีนั้น รวมทั้งปริมาณคดีที่องค์คณะผู้พิพากษาแต่ละองค์คณะรับผิดชอบ สำหรับเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจจะก้าวล่วงได้ ในที่นี้ในมาตรา 8 หมายถึงเหตุใดๆ ที่ทำให้ผู้พิพากษาในองค์คณะนั้นไม่อาจนั่งพิจารณาคดีหรือร่วมทำคำพิพากษาคดีนั้นต่อไปได้

ส่วนเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล้วงได้มีความหมาย 7 เหตุ ดังนี้

       1. กรณีที่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้น พ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่

       2. กรณีที่ผู้พิพากษา ซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้น ถูกคัดค้านและถอนตัวไป

       3. กรณีที่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้น ไม่อาจปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณาหรือทำคำพิพากษาในคดีนั้นได้

       4. กรณีผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีอาญาตามมาตรา 25 (5) แล้วเห็นว่าควรพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือน หรือปรับเกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราดังกล่าว

       5. กรณีผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาแล้วเห็นว่าควรพิพากษายกฟ้อง แต่คดีนั้นมีอัตราโทษตามที่กฎหมายกำหนดเกินกว่าอัตราโทษตามมาตรา 25 (5)

       6. กรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งคดีแพ่งเรื่องใดของศาลนั้นจะต้องกระทำโดยองค์คณะซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาหลายคนและผู้พิพากษาในองค์คณะนั้นมีความเห็นแย้งกันจนหาเสียงข้างมากมิได้

       7. กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีแพ่งตามมาตรา 25 (4) ไปแล้ว ต่อมาปรากฏว่าราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องเกินกว่าอำนาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียว

จุดเด่น / ความน่าสนใจของเอกสารประกอบการสอน ฉบับนี้ : มีหลายประเด็นอาทิ เช่น

       ประเด็นที่ 1 ความเป็นมาของผู้พิพากษาในประเทศไทย ตั้งแต่การปกครองประเทศสยามแต่โบราณ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึง ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีไว้ทำนองเดียวกันสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นำแบบพิจารณาพิพากษาคดีแบบอินเดียผสมกับแบบไทย ใช้บุคคลสองจำพวกเป็นพนักงานตุลาการจำพวกหนึ่งเป็นพราหมณ์ชาวต่างประเทศ เชี่ยวชาญทางนิติศาสตร์เรียกว่าลูกขุน ณ ศาลหลวง มี 12 คน หัวหน้าเป็นพระมหาราชครูปุโรหิตมีหน้าที่ชี้บทกฎหมาย แต่ยังบังคับไม่ได้ อำนาจบังคับอยู่ที่เจ้าพนักงานที่เป็นคนไทย ลูกขุนเป็นผู้พิจารณาฟ้องว่าควรรับหรือไม่ ถ้าควรรับจะชี้แจงสองสถานแล้วส่งไปยังศาลกระทรวงที่มีอำนาจพิจารณา ตุลาการจึงทำการสืบพยานตามคำลูกขุน เสร็จแล้วส่งสำนวนไปยังลูกขุนชี้ขาดเพราะเหตุใด ตุลาการจะนำคำพิพากษาส่งไปยังผู้รับๆ จะปรับลงโทษแล้วส่งให้ตุลาการบังคับคดี ดังนั้นผู้พิพากษาสมัยเดิม เรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง ต้องมีความรู้ทางนิติศาสตร์

       ส่วนในหัวเมืองเจ้าเมืองมีอำนาจสิทธิขาดทุกประการในการพิจารณาพิพากษาคดี นับว่าเป็นการเริ่มต้นยุคใหม่ของการเริ่มเป็นผู้พิพากษาและได้ถือปฏิบัติในทำนองนี้ตลอดมาจนบัดนี้ แต่คุณสมบัติผู้สมัครสอบคัดเลือกได้เปลี่ยนแปลงไปบ้าง

       ประเด็นที่ 2 การดำรงตำแหน่งผู้พิพากษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 บุคคลผู้ประสงค์จะเข้ารับข้าราชการเป็นผู้พิพากษาเป็นได้ 3 ทาง คือ

       2.1 สมัครสอบคัดเลือก ต้องอายุไม่ต่ำกว่า 24 ปี บริบูรณ์

       2.2 สมัครทดสอบความรู้ ต้องอายุไม่ต่ำกว่า 24 ปี บริบูรณ์

       2.3 สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ต้องอายุไม่ต่ำกว่า 34 ปี บริบูรณ์

       ผู้ที่จะเข้าสอบเป็นผู้พิพากษาโดย 3 ทางดังกล่าวแล้วตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มาตรา 26 กำหนดว่าจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เช่น ต้องมีสัญชาติไทยโดยกำเนิด ไม่เป็นผู้ถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เป็นต้น และสำหรับผู้สมัครสอบคัดเลือกตามข้อ 1 ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายดังต่อไปนี้

       1. เป็นนิติศาสตร์บัณฑิต หรือสอบไล่ได้ปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.ต. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี

       2. สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษา กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

       3. ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นจ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือพนักงานคุมประพฤติของศาลยุติธรรม พนักงานอัยการ นายทหารเล่าพระธรรมนูญ ทนายความ หรือประกอบวิชาอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายตามที่ ก.ต. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีทั้งวิชาชีพนั้นๆ ด้วย

       ประเด็นที่ 3 ดะโต๊ะยุติธรรมและผู้พิพากษาสมทบ เมืองปัตตานีเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประธานนับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ ในรัชสมัยรัชกาล ที่ 1 ได้แบ่งเมืองปัตตานีเป็น 7 หัวเมือง ด้วยเหตุผลทางการเมือง ต่อมารัชสมัยรัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปการปกครองในประเทศไทย โดยจัดแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลเทศาภิบาล 7 หัวเมือง คือ ปัตตานี รามัน หนองจิก ยะหริ่ง ยะลา สายบุรีและระแงะ มีกฎข้อบังคับปกครองทั้ง 7 หัวเมือง ร.ศ. 120 ข้อ 32 ใช้พระราชกำหนดกฎหมายทั้งปวงในความอาญาและความแพ่งในบริเวณนี้ คนนับถือศาสนาอิสลามเป็นโจทก์จำเลย หรือเป็นจำเลยให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแก่คดี (ซึ่งเกี่ยวกับความแพ่งเรื่องผัวเมียและมรดก) และในการพิจารณาให้มีโต๊ะกาลี (หรือคะโต๊ะยุติธรรมในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นผู้รู้กฎหมายอิสลามเป็นผู้พิพากษาตามกฎหมายอิสลาม ส่วนจังหวัดสตูล ซึ่งเป็น 1 ใน 4 จังหวัดภาคใต้ไม่รวมอยู่ในบริเวณ 7 หัวเมืองดังกล่าว แต่ขึ้นอยู่กับมณฑลไทรบุรี เพิ่งใช้กฎหมายอิสลามบังคับคดีแพ่งเกี่ยวด้วยครอบครัวและมรดก เมื่อ พ.ศ. 2460 ตามตราสารกระทรวงยุติธรรม ลงวันที่ 24 กันยายน 2460

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : การห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

(1) หลักเกณฑ์การจำกัดสิทธิอุทธรณ์ (มาตรา 22)

 

หลัก :

ข้อยกเว้น:

แผนภูมิแสดงหลักเกณฑ์การห้ามอุทธรณ์คำพิพากษาของศาล

ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแขวงในปัญหาข้อเท็จจริง

เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

1. จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก

2. จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลย แต่ศาลรอการลงโทษไว้

3. ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้ หรือ

4. จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท

(2) ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัญหาข้อเท็จจริงกับปัญหาข้อกฎหมาย

ปัญหาข้อเท็จจริง

ปัญหาข้อกฎหมาย

1. ปัญหาว่ามีเหตุการณ์หรือการกระทำอาจเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งต้องวินิจฉัยจากพยานสำนวน

2. ปัญหาการโต้เถียงดุลพินิจของศาล

     ก. ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน

     ข. ดุลพินิจในการลงโทษ

     ค. ดุลพินิจในการดำเนินกระบวนการพิจารณา

1. ปัญหาตามข้อเท็จจริงซึ่งทั้งเป็นยุติแล้วนั้น ต้องตามตัวบทกฎหมายมาตราใด ที่เรียกว่า “ปัญหา การหารือบท”

2. ปัญหาการโต้เถียงว่าศาลดำเนินคดีโดยผิดกฎหมาย

     ก. ศาลฟังพยานโดยผิดกฎหมาย

     ข. ศาลลงโทษจำเลยผิดต่อกฎหมาย

     ค. ศาลดำเนินกระบวนการพิจารณาผิดกฎหมาย

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร