ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ ตีนเป็ดทราย กับ ตีนเป็ดทะเล เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง นิยมปลูกกันมากในสวนในบ้านส่วนตัว ที่ทำงานทั้งเอกชนและของรัฐ รวมทั้งสวนสาธารณะทุกแห่ง จึงพบเห็นกันอยู่เสมอ  เพราะตีนเป็ดทั้ง2ชนิดนี้เป็นพรรณไม้ในวงศ์เดียวกันจึงมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่คล้ายกันมาก แม้จะเป็นคนละชนิดกัน จึงทำให้เกิดความสับสนของผู้พบเห็น อีกทั้งเมล็ดแห้งขนาดใหญ่ที่มีความสวยงาม แต่มีน้ำหนักเบาก็ถูกนำมาใช้ในการประดับและประดิดประดอยเป็นของตกแต่งกันทั่วไป  ก็เกิดความสงสัยกันว่าได้มาจากพืชต้นใด บทความนี้จะไขข้อข้องใจได้ทั้งหมด 

 

ตีนเป็ดทราย

ชื่อวิทยาศาสตร์   Cerbera manghas  L.

ชื่อวงศ์    APOCYNACEAE

ชื่ออื่นๆ  ตีนเป็ดเล็ก เทียนหนู  เนียนหนู ปงปง  ปากเป็ด มะตากอ  รักขาว

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 

ไม้ต้น สูง 5-12 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมากทำให้เรือนยอดกลม เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลอ่อน ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว สีเขียวเข้มเป็นมัน เรียงสลับ ออกรวมกันเป็นกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง  ใบรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ดอกสีขาวออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ใจกลางดอกเป็นสีแดงอมชมพู กลีบดอกเมื่อตูมจะซ้อนกันเวียนเป็นเกลียว รูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า ปลายด้านหนึ่งจะยาวและแหลมกว่าอีกด้านหนึ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ออกดอกตลอดปี  ผลโต รูปกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 ซม. ผิวผลสีเขียว เรียบ เมื่อแก่มีสีแดง เป็นมัน เมล็ดแข็งมีลายเส้นตามยาวโดยรอบเมล็ด  น้ำหนักเบา

 

การขยายพันธุ์  เพาะกล้าจากเมล็ด และกิ่งตอน

 

การใช้ประโยชน์

1.  ปลูกเป็นไม้ประดับสวน เพราะมีความสวยงามทั้งใบ ดอก ผล และทรงพุ่ม

2. เมล็ดแห้งมีน้ำหนักเบา ลวดลายสวยงาม นำมาประดิษฐ์เป็นของใช้ของตกแต่งได้สวยงาม

3.  มีสรรพคุณเป็นสมุนไพรหลายด้านสรรพคุณของตีนเป็ด ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยแก้ลม แก้ลมให้กระจาย ช่วยแก้โลหิตพิการ ใช้เป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน  น้ำมันจากเมล็ดใช้ทามีสรรพคุณแก้หวัด

แก้หลอดลมอักเสบ ช่วยขับผายลม ช่วยแก้อาการบิด ช่วยสมานลำไส้

 

ตีนเป็ดทรายตีนเป็ดทะเล