การศึกษาสภาวะการปลูกสมุนไพรพลูจีนในเขตพื้นที่ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ให้ได้ตามตำรามาตรฐานสมุนไพรไทย

The Study of Growing Conditions of Piper betle (L.) in Huai Duan District, Dontum  Prefecture, Nakhon Pathom Province according to the Thai Herbal Pharmacopoeia 2000 Volume II

 

อภิญญา ไชยคำ*, สุชาดา  มานอก**, อัจฉรา แก้วน้อย**, ศุภรัตน์  ดวนใหญ่**,
เพชรน้ำผึ้ง  รอดโพธิ์***, ชารินันท์ แจงกลาง***

Apinya  Chaiyakam*, Suchada Manok**, Atchara Keawnoi**, Supharat Duanyai**,
Petnumpung Rodpo***, charinan jaengklang***


บทคัดย่อ

               การปลูกสมุนไพรพลูจีนใน 2 สภาวะคือ พรางแสงร้อยละ 50 และปลูกกลางแจ้งใช้ค้างเดียว โดยได้รับแสงอาทิตย์ ร้อยละ 100 ปลูกเป็นระยะเวลา 4 เดือน ในเขตพื้นที่ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม พบว่า ปลูกที่แจ้งใช้ค้างเดียวมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าปลูกพรางร้อยละ 50 โดยผลการตรวจสอบมาตรฐาน พบว่า ลักษณะเด่นทางจุลทรรศน์ของพลูจีนทั้ง 2 สภาวะ พบ oil droplets และ upper epidermis showing stomata เป็นจำนวนมาก ผลการตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมี พบว่า พลูจีนทั้ง 2 สภาวะ มีสารกลุ่มฟีโนลิกเป็นองค์ประกอบ เมื่อทดสอบด้วยเทคนิคทินเลเยอร์โครมาโทกราฟี แสดงสารยูจีนอลอยู่ตำแหน่งที่ 3 มีค่า hRf เท่ากับ 34.545 โดยผลการตรวจเอกลักษณ์ทางเคมีและทางกายภาพ พบว่า สมุนไพรพลูจีนที่ปลูกกลางแจ้งค้างเดี่ยว พบปริมาณสิ่งแปลกปลอม 0.001 โดยน้ำหนัก ความชื้นร้อยละ 4.887±1.260 โดยน้ำหนัก เถ้ารวมร้อยละ 13.966±3.453 โดยน้ำหนัก เถ้าที่ไม่ลายในกรดร้อยละ 5.920±0.488 โดยน้ำหนักผลของการหาปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอลและน้ำอยู่ที่ร้อยละ 15.367±0.665และ 26.500±0.953 โดยน้ำหนักแห้ง และสมุนไพรพลูจีนที่ปลูกพรางแสงร้อยละ 50 พบปริมาณสิ่งแปลกปลอมร้อยละ 0.001 โดยน้ำหนัก ความชื้นร้อยละ 5.330±0.882 โดยน้ำหนัก รวมร้อยละ 18.366±0.189 โดยน้ำหนัก เถ้าที่ไม่ละลายในกรดร้อยละ 13.222±0.648 โดยน้ำหนักผลของการหาปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอลและน้ำอยู่ที่ร้อยละ 12.333±0.378และ 28.867±0.288 โดยน้ำหนักแห้ง จากผลการตรวจสอบเอกลักษณ์ พบว่า สมุนไพรพลูจีนที่ปลูกกลางแจ้งค้างเดี่ยวเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐาน Thai Herbal Pharmacopoeia2000 Volume IIส่วนสมุนไพรพลูจีนที่ปลูกพรางแสงร้อยละ 50 แสดงปริมาณเถ้ารวมและเถ้าที่ไม่ละลายในกรดมากกว่าเกณฑ์ข้อกำหนดมาตรฐานพลูจีนตาม Thai Herbal Pharmacopoeia 2000 Volume II

คำสำคัญ; พลูจีน ตำรามาตรฐานยาสมุนไพร

 

Abstract

               Piper betle (L.) was mono-cultivated by two conditions of plantations, in 50% sunshade and out door at Huai Duan District, Dontum  Prefecture, Nakhon Pathom for 4 months on July 2012-October 2012, found that plant out door had the better growth than in 50% sunshade. The microscopic characteristics of these two conditions of the herb found Oil droplets, Upper epidermis showing stomata. Chemica identification found that phenolic compound was found in Piper betle (L.) leaves. Chromatogram of Piper betle (L.) extract determined by thin-layer chromatography technique showed eugenol at 3th position which possessed hRf as 34.545. The identification of chemical and physical properties of the plant out door conditions of Piper betle (L.) found that the quantity foreign matter was 0.001% by weight; moisture content was 4.887±1.260% by weight, total ash was 15.367±0.665% by weight and acid-insoluble ash was 5.920±0.488% The % yields of the extract with ethanol-soluble and water were 13.966±3.453 and 26.500±0.953 by dry weight respectively. The 50% sunshade plant found that the quantity foreign matter was 0.001% by weight, moisture content was 5.330±0.882% by weight, total ash was 8.366±0.189% by weight and acid-insoluble ash was 13.222±0.648%. The % yield of the extract with ethanol-soluble and water were 12.333±0.378 and 28.867±0.288 by dry weight respectively. The identification of the plant out door condition of Piper betle (L.) found to comply with the requirements in the herbal Piper betle (L.) of Thai Herbal Pharmacopoeia 200 Volume II. The 50% sunshade plant display of total ash and acid-insoluble ash was more than the requirements in the herbal Piper betle (L.) of Thai Herbal Pharmacopoeia 200 Volume II.

Keywords: Piper betle (L.), Thai Herbal Pharmacopoeia 2000 Volume II,

 

View Fullscreen