การตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดใบมะขามที่ปลูกในประเทศไทย
The Phytochemical Screening, antioxidant activityand total phenolic compounds of extracts of Tamarindus indica Linn leaves cultivated in Thailand.

 

ศุภรัตน์ ดวนใหญ่* เพชรน้ำผึ้ง รอดโพธิ์** อัจฉรา แก้วน้อย* อรุณรัตน์ แซ่อู้**
วิชุดา ฉันวิจิตร**  วิภารัตน์ ปัตถานะ** นุชบา สุวรรณโคตร**

Supharat Duanyai* Petnumpung Rodpo** Atchara Kaewnoi* Arunrat Saeou**
Wichuda Chanwijit** Wiparat Patthana** Nuchaba Sunwannakotr**


 

บทคัดย่อ

               งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดโดยวิธี Folin reagent method และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยวิธี 2,2-Diphenyl-1-picrylhydrazyl radial scavenging capacity assay (DPPH assay) และตรวจสอบองค์ประกอบทางพฤษเคมีเบื้องต้นของสารสกัดใบมะขามไทย  (Tamarindus indica Linn.) ที่เก็บจาก 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ  จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดสุพรรณบุรี และกรุงเทพมหานคร สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล และเอทิล อะซีเตท พบว่า สารสกัดเอทานอลของใบมะขาม แสดงผลการต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงกว่า สารสกัดเอทิลอะซีเตท โดยสารสกัดเอทานอลที่ความเข้มข้น 1,000 ppm มีร้อยละการต้านอนุมูลอิสระของจังหวัดนครสวรรค์สูงที่สุด มีค่าเท่ากับร้อยละ (91.081 ± 0.013; และ IC50 = 79.439 ppm).และสารสกัดเอทานอลของกรุงเทพมหานคร มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงที่สุด มีค่าเท่ากับ 178.34 มิลลิกรัมของกรดแกลิกต่อกรัมสารสกัด  เมื่อนำสารสกัดทั้ง 2 ชนิด มาตรวจสอบองค์ประกอบทางพฤษเคมีเบื้องต้น 7 กลุ่ม ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ แอลคาลอยด์ แทนนิน คาร์ดิแอกไกลโคไซด์ เทอร์พีนอยด์ แอนทราควิโนน และซาโปนิน ผลพบว่า สารสกัดเอทานอลของใบมะขามไทย ไม่พบ กลุ่มสารแอลคาลอยด์ ซาโปนิน และคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ ส่วนสารสกัดเอทิลอะซีเตท ไม่พบกลุ่มสารแอลคาลอยด์ คาร์ดิแอกไกลโคไซด์ และแอน ทราควิโนน

คำสำคัญ : มะขามไทย, สารประกอบฟีโนลิก, การต้านอนุมูลอิสระ

 

Abstract

               This study aimed for determination of phenolic compounds by the Folin-Ciocalteu analysis and the antioxidant activity was evaluated by 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl scavenging capacity (DPPH) method.  The phytochemical screening was measured of the ethanolic and ethyl acetate extracts of leaves of Tamarindus indica Linn. that were harvested from 5 provinces of Thailand; Sisaket, Phetchaburi, Nakhonsawan, Suphanburi and Bangkok.  The results showed that ethanolic extracts have antioxidant activity and total phenolic compounds more than ethyl acetate extracts. The antioxidant activity indicated that ethanolic extract from Nakhonsawan showed highest effect at 1,000 ppm (91.081 ± 0.013; and IC50 = 16.664). For the content of phenolic compounds, the ethanolic extract from Bangkok was found to be 178.34 mgGAE/1g.  However, all extracted were screened for investigate 7 groups of phytochemical compounds; flavonoids, alkaloids, tannins, cardiac glycosides, terpenoids anthraquinones and saponins. The results showed that ethanolic extracts were not found alkaloids, saponin and cardiac glycosides whereas ethyl acetate extracts were not found alkaloids, cardiac glycosides and anthraquinones.

Keywords : Tamarindus indica Linn. phenolic compounds, antioxidant

 


 

View Fullscreen