ชื่อผลงานทางวิชาการ : การประยุกต์จิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือ ประยุกต์ความรู้ทางจิตวิทยามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม : จัดพิมพ์โดยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จัดจำหน่ายโดย ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิมพ์ที่ โรงพิมพ์พลัฎฐกรการพิมพ์

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางสาวเปรมสุรีย์ เชื่อมทอง ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดสาขาวิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงาน : ธรรมชาติและพัฒนาการของผู้เรียนจำแนกทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม ทางเพศและสติปัญญา องค์ประกอบให้บุคคลแตกต่างกัน อาทิเช่น พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ทฤษฎีพัฒนาการและพัฒนาการของเด็กวัยเรียน ประกอบด้วย ทฤษฎีพัฒนาการของเพียเจต์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์ ทฤษฎีพัฒนาการของฮิริคสัน ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์และทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

       การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึกฝนเกิดขึ้นตลอดชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัย คือ ระบบปราสาท สติปัญญา อายุ ความตั้งใจ แรงจูงใจ อารมณ์ วิธีการเรียน เนื้อหาและสถานการณ์ที่เรียนและเป้าหมาย การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนเป็นกิจกรรมสำคัญที่จะบอกให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องรู้พฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ต้องวัดและประเมินผลตามสภาพความเป็นจริงอย่างต่อเนื่องในด้านความรู้ ความคิด พฤติกรรม วิธีการฝึกทักษะกระบวนการและผลการปฏิบัติจริง โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์และการตรวจผลงาน เป็นต้น สำหรับเนื้อหาเรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนประสิทธิภาพการเรียนรู้ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสภาพแวดล้อมด้านจิตใจ

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : ความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเรียนรู้หรือการสร้างพฤติกรรมใหม่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางด้านสติปัญญา ความคิด ความจำ การแก้ปัญหา ตลอดจนการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์แวดล้อมอย่างเหมาะสมกระบวนการทางจิตวิทยาในการสืบค้นความรู้เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ ดั้งปัญหา ตั้งสมมุติฐาน รวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การประเมินผลและสรุปผลและการนำไปใช้ วิธีการเก็บข้อมูลทางจิตวิทยาที่นิยมใช้ในทางจิตวิทยามีการสังเกต การสัมภาษณ์ ฯลฯ เป็นต้น

       ทฤษฎีพัฒนาการและพัฒนาการของเด็กวัยเรียนของเพียเจต์ เน้นพัฒนาการของมนุษย์ คือ ผลของกระบวนการปรับตัวที่เกิดจากการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมของมนุษย์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบูรเนอร์ อธิบายถึงการเจริญเติบโตทางสติปัญญา 3 ขั้น คือ ขั้นการเอนเนกทีฟ ขั้นพัฒนาการไอโคนิกและขั้นซิมโปลิก ทฤษฎีของเอริคสัน เน้นพัฒนาการด้านจิตสังคมอันเป็นผลมาจากเปลี่ยนแปลงจะเกิดกับบุคลที่ประสบภาวะวิกฤติ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กเพราะเป็นรากฐานของการพัฒนาการทางบุคลิกภาพตอนวัยผู้ใหญ่ บุคลิกภาพของมนุษย์มีผลมาจากผลรวม 5 ปีแรก และทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมตามขั้นตอน แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถทางสติปัญญา ขั้นตอนพัฒนาทางจริยธรรมมี 6 ขั้นตอน อาทิเช่น ขั้นหลบหลีกการถูกลงโทษ ขั้นการแสวงหารางวัล ขั้นการทำตามเพื่อน ฯลฯ เป็นต้น

ตัวอย่าง แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก

ลักษณะ

แนวทางการส่งเสริม

1. ลักษณะทางร่างกาย

– มีความคล่องแคล้ว ว่องไว ไม่อยู่นิ่ง

– ควรจัดกิจกรรมให้มีการเคลื่อนไหวคุยกันได้บ้าง ปล่อยให้เด็กได้พักผ่อนบ่อยๆ และให้มีส่วนร่วมในกิจกรรม

 2. ลักษณะทางอารมณ์

– จะมีความอ่อนไหวง่ายต่อการติเตียนและการเยอะเย้ย ถากถาง ชอบการชมเชยและการยอมรับจะนิยมชื่นชมครู

 – ควรระมัดระวัง หลีกเลี่ยงคำพูดถากถาง ซึ่งจะไปกระทบความรู้สึกของเด็กและเป็นสาเหตุของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อไป

3. ลักษณะทางสติปัญญา

– มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ

 – ในการสอนของครูควรสร้างแรงจูงใจใฝ่รู้ให้แก่เด็กอย่างสม่ำเสมอ

       ลักษณะการเรียนรู้ที่ดีมี 5 ประการ คือ เกิดจากกระบวนการที่สร้างความเข้าใจกับความหมายสิ่งที่รับรู้ การเรียนรู้ที่ดีต้องตั้งอยู่บนรากฐานของสิ่งที่รู้อยู่ก่อน เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นต้น ปัจจัยสำคัญต่อการเรียนรู้ประกอบด้วย ระบบปราสาท สติปัญญา อายุ ความตั้งใจ แรงจูงใจ อารมณ์ เนื้อหาของสิ่งที่รู้ สถานการณ์ที่เรียนรู้และวิธีเรียนที่ถูกต้อง วิธีการส่งเสริมการเรียนรู้แบบพหุปัญหา ได้แก่ ด้านภาษา ด้านตรรกและคณิตศาสตร์ ด้านภาพมิติสัมพันธ์ เป็นต้น

       ทฤษฎีการเรียนรู้และการประยุกต์สู่การสอน ประกอบด้วย ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอรันไดค์ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสัน ทฤษฎีการเรียนรู้ของทอลแมน เป็นต้น ฯลฯ สำหรับการเรียนรู้ตามแนวทางพุทธศาสนา แบ่งผู้เรียนเป็น 3 ระดับ คือ ระดับปริยัติ ระดับปฏิบัติและระดับปฏิเวธ กระบวนการเรียนรู้มี 4 ประเภท คือ ความมีอิสระ เรียนรู้ตามความจริง คิดไตร่ตรองอย่างแยบคาย การมีจิตใจที่เป็นกลาง และทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ 5 ทฤษฎี ดังนี้ ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพและลักษณะนิสัย

จุดเด่นของผลงานทางวิชาการ : หนังสือการประยุกต์จิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้มีจุดเด่นจากเนื้อหา และการนำหลักการของทฤษฎีมาประยุกต์กับกระบวนการบริหารจัดการทางการจัดการเรียนการสอนโดยเฉพาะการจัดสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนประสิทธิภาพการเรียนรู้จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนกับสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการจัดสภาพแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมุ่งเน้นด้านกายภาพและด้านจิตใจทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน สำหรับสภาพแวดล้อมด้านกายภาพประกอบด้วยอาคารสถานที่ สภาพห้องเรียน สื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน และสภาพแวดล้อมด้านจิตใจซึ่งเป็นบรรยากาศของการสร้างความอบอุ่นเป็นมิตร มีความเอื้ออาทรและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างนักเรียนกับครูและบุคลากรในโรงเรียน ทำให้สามารถใช้ชีวิตในการเรียนรู้อย่างมีความสุข

การนำไปใช้กับมหาวิทยาลัย : จากเนื้อหาและจุดเด่นข้างต้นนั้น มหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารจัดว่าเป็นบุคคลสำคัญในการจัดสภาพแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยควรสนับสนุนให้คณาจารย์ทุกคณะวิชาสนใจแก้ปัญหาจากการสอนด้วยวิธีการทำวิจัยชั้นเรียน (Classroom Research) เพื่อแก้ปัญหาและนำผลการวิจัยมาพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนได้และเป็นการพัฒนาครูไปสู่ความเป็นเลิศ มีอิสระทางวิชาการด้วย

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : จากประโยชน์ของการทำวิจัยชั้นเรียนนั้น คณะวิชาทั้ง 5 คณะ ควรนำผลงานการวิจัยชั้นเรียนมาเป็นเครื่องประเมินผลการสอนและประเมินความดีความชอบประจำปีด้วย ซึ่งการนี้ทางสำนักวิจัยหรือคณะวิชาควรจัดสรรงบประมาณการจัดทำวิจัยเรื่องละ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) หรือสาขาวิชาสามารถจัดสรรงบประมาณให้แก่คณาจารย์ที่สังกัดในแต่ละวิชาด้วยก็จะยิ่งทำให้คณาจารย์มีขวัญกำลังใจมากขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอน

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร