ชื่อผลงานทางวิชาการ : “การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนชาวไทยพวนเพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ จังหวัดนครนายก”
คำสำคัญ : การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ประเภท : วิจัยเพื่อพัฒนา
ผู้วิจัย : อ.ดร.ลักษณา เกยุราพันธ์
ปีที่พิมพ์ : 2559
วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาสภาพการณ์ ประวัติ สร้าง พัฒนา รูปแบบ ทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม และปรับปรุงการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงพหุวัฒนธรรมชุมชนชาวไทยพวน จังหวัดนครนายก
การวิเคราะห์ข้อมูล : วิเคราะห์จากเอกสาร (Documentary Analysis) โดยเน้นการวิเคราะห์จากเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า : สภาพการณ์การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนไทยพวน มีสภาพแวด ล้อมและทรัพยากรหลากหลายพร้อมที่จะส่งเสริมการเรียนรู้และมีผู้นำชุมชนที่รับผิดชอบ ซึ่งรูปแบบการจัดกิจกรรมนั้น ได้มีการพัฒนา เรียกว่า Th CLCAPC Model สามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม เป็นการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์
จุดสำคัญที่ได้รับ : รูปแบบการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ที่พัฒนาขึ้น เรียกว่า
Th CLCAPC Model ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ
คือTh=Thai Phuan (ชาวไทยพรวน)
C=Creation (การสร้างสรรค์)
L=Learning (การเรียนรู้)
C=Conservation (การอนุรักษ์)
A=Awareness (ความตระหนัก)
P=Participation of Community (การมีส่วนร่วมของชุมชน)
C=Cutural Tourism Activity (กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรม)
ประโยชน์ที่ได้รับ : ผลจากการวิจัยพบว่า
1. มหาวิทยาลัยควรสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประชาชน ชุมชน นิสิต นักศึกษา มีการจัดทำโครงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยเน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะประชาคมอาเซียน เพราะรอบๆ มหาวิทยาลัย ประกอบด้วยหลายชนชาติ อาทิเช่น มอญ ลาว อาหรับ(แขก) จีน ฯลฯ ตั้งแต่บรรพบุรุษ
2. คณาจารย์ทั้ง 4 คณะ โดยเฉพาะคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะครุศาสตร์ ควรจัดการวิจัยสังคมศาสตร์เชิงคุณภาพ เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเน้น “ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ” หรือ “ ชุมชนบางไส้ไก่ ” โดยใช้รูปแบบ Th CLCAPC Model
รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร