ชื่อผลงานทางวิชาการ : “รูปแบบการจัดความรู้ในเชิงธุรกิจขนาดใหญ่ ศึกษากรณีโรงงานผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเลขนาดใหญ่ ในจังหวัดสมุทรสาคร”

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่พิมพ์ : 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม : ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารสมาคมนักวิจัย ปีที่ 21 ฉบับที่ 1  มกราคม – เมษายน 2559

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ / ตำแหน่งทางวิชาการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์นงนุช อุณอนันต์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา   

e-mail : nuch3774@gmail.com  Tel. 089 – 0117258

บทนำของผลงาน : วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบตัวแปรของปัจจัยที่เอื้อต่อ

การจัดกระบวนการความรู้ความสำเร็จ อิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อม

และค้นหารูปแบบธุรกิจขนาดใหญ่ ในจังหวัดสมุทรสาคร

กลุ่มตัวอย่าง : จำนวน 300 ใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา ประกอบด้วยค่าร้อยละ

ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน

การวิเคราะห์ : วิเคราะห์จากอิทธิพลเชิงสาเหตุและโมเดลสมการโครงสร้าง

สรุปสาระสำคัญของผลงานวิจัย พบว่า : การวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ ด้านภาวะผู้นำและกลยุทธ์มีมากที่สุด มีการเผยแพร่ความรู้มากที่สุดและประสบความสำเร็จต่อการจัดความรู้ โดยพนักงานพัฒนามากที่สุด สำหรับอิทธิพลความรู้ทางอ้อมสูงมากและโมลเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกันมาก

คำสำคัญ : การจัดการความรู้ธุรกิจขนาดใหญ่ โรงงานผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเล

จุดเด่น / ความน่าสนใจจากผลของผลการวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ : พบว่า

1. การประกอบธุรกิจต่างๆ ต้องมีการแข่งขันสูงจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้ทันสถานการณ์ และต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์

2. การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น มีเป้าหมายรวมตัวกันเพื่อสร้างตลาดและฐานการผลิต จึงมีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตตลอดจน การลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรี

3. ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการประกอบธุรกิจการผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ดี โดยเฉพาะทฤษฎีต่างๆ ในการจัดความรู้ อาทิเช่น ทฤษฎีเกลียวแห่งความรู้ SECI Model หรือ ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็งแห่งความรู้

อื่น ๆ (ตามความเหมาะสม) : จากผลการวิจัย / จุดเด่น พบว่า

1. มหาวิทยาลัยเป็นองค์การที่ประกอบด้วยบุคลากรหลายฝ่ายหลายตำแหน่งงาน ที่มีภาระกิจการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน ผลสำเร็จของงานจึงมีคุณภาพไม่เหมือนกัน ซึ่งสิ่งเหล่านั้นขึ้นอยู่กับ “ ผู้ปฏิบัติ ” เพราะมหาวิทยาลัยเปรียบเสมือนกิจการอย่างหนึ่ง จำเป็นเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้แสดงความคิดเห็นด้วย เพื่อจะได้รับรู้ปัญหาและเรียนรู้ร่วมกัน จึงควรพิจารณารูปแบบพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสมกับภาระงานที่รับผิดชอบ โดยพิจารณาจากพื้นฐานทักษะความรู้ของบุคลากรและวัฒนธรรม องค์การ จะช่วยเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงานและเกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติ

2. ผู้บริหารมหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนากระบวนการทำงานของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

3. ควรสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดการสร้างสรรค์ด้านวัตกรรม เพราะทุนทางปัญญาของมนุษย์เกิดจากความรู้นำมาพัฒนางานและพัฒนาตน

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณูบรรณกร