บทความทางวิชาการ เรื่อง  การบริหารเงินทุนหมุนเวียน ของรองศาสตราจารย์ปรียานุช กิจรุ่งโรจน์เจริญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา นี้ เปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่น  ที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินงานของธุรกิจที่ผู้บริหารจะละเลยไม่ได้ หลักในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยพิจารณาสภาพคล่อง ระดับของความเสี่ยงและกำไรในระดับที่ยอมรับได้ กล่าวคือการจัดสรรเงินเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ใดก็ตาม  โดยหลักทางการเงิน พบว่า หากลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน จะมีผลทำให้สภาพคล่องต่ำ ความเสี่ยงสูง  กำไรสูง  แต่หากลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์ถาวร จะมีผลทำให้สภาพคล่องสูง  ความเสี่ยงต่ำ กำไรต่ำ ซึ่งหลักในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทั้งด้านส่วนประกอบและปริมาณที่เหมาะสม โดยพิจารณาระดับของความเสี่ยง (risk) และผลตอบแทนหรือกำไร(profit) ในระดับที่เหมาะสม กล่าวคือการจัดสรรเงินเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ใดก็ตาม  โดยหลักทางการเงิน พบว่า หากลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน จะมีผลทำให้สภาพคล่องต่ำ ความเสี่ยงสูง  กำไรสูง  แต่หากลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์ถาวร จะมีผลทำให้สภาพคล่องสูง  ความเสี่ยงต่ำ กำไรต่ำ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นการบริหารให้มีประสิทธิภาพในประเภทและขนาดที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป เพราะหากมีมากเกินไปก็จะทำให้กิจการสูญเสียกำไรจากการลงทุน   ในขณะเดียวกัน หากธุรกิจมีสินทรัพย์หมุนเวียนน้อยเกินไป ก็จะทำให้ธุรกิจมีปัญหาด้านการดำเนินงาน  ดังนั้น การบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องอาศัยดุลยพินิจในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนว่าจะอยู่ในระดับใดที่เหมาะสม จึงจะทำให้ธุรกิจมีกำไร และสภาพคล่อง ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้

ดังนั้นการบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องอาศัยดุลยพินิจในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนว่าจะอยู่ในระดับใดที่เหมาะสม จึงจะทำให้ธุรกิจมีกำไร และสภาพคล่อง ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้   ในขณะที่การบริหารเงินทุนหมุนเวียนได้ 3 ลักษณะ คือเงินทุนหมุนเวียนเป็นศูนย์ (zero position)  เงินทุนหมุนเวียนเป็นบวก (positive position)  และเงินทุนหมุนเวียนเป็นบวก (positive position)  เเต่ละลักษณะจะมีผลต่อสภาพคล่องสูง   ความเสี่ยงต่ำ และความสามารถในการทำกำไร ที่แตกต่างกัน ในขณะที่ธุรกิจแต่ละประเภท จะมีความต้องการในการใช้เงินทุนหมุนเวียน และส่วนประกอบของสินทรัพย์หมุนเวียนแตกต่างขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อความเสี่ยง   ประเภทของธุรกิจขนาดและปริมาณขายของนโยบายของธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ภาวการณ์แข่งขันทางการตลาดและ สภาวะแวดล้อม การจัดการและการบริหารเงินทุนหมุนเวียนของกิจการจะขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารการเงินของผู้บริหารแต่ละคน โดยผู้บริหารที่ระมัดระวัง (Conservative) ผู้บริหารที่กล้าเสี่ยง (Aggressive)และผู้บริหารที่ยึดสายกลาง (average)ทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อความเสี่ยงจะทีผลทำให้กิจการแต่ละแห่งมีการจัดการหรือการบริหารเงินทุนที่แตกต่างกันออกไป   นอกจากนี้กิจการควรมีการวิเคราะห์ระดับเงินทุนหมุนเวียนเป็นระยะๆ เพื่อให้ทราบว่ามีกำไร จากการลงทุนที่คุ้มค่าหรือไม่ ดังรายละเอียดของบทความที่ปรากฏ


รศ.ปรียานุช  กิจรุ่งโรจน์เจริญ*

บทนำ

       การที่ธุรกิจจะสามารถดำเนินงานและอยู่รอดได้ในยุคปัจจุบันนั้น  จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพ  เนื่องจากเงินทุนหมุนเวียนของกิจการเปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องจักรที่จะช่วยให้ธุรกิจดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ติดขัด มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอสําหรับการใช้จ่ายในแต่ละวัน และสามารถชําระหนี้ได้เมื่อถึงกําหนด  ผู้บริหารการเงินต้องให้ความสนใจและควบคุมและติดตามการบริหารเงินทุนหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง    เนี่องจากการจัดการหรือการบริหารเงินทุนหมุนเวียน  จะมีผลต่อสภาพคล่อง ความเสี่ยงและความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ

       เงินทุนหมุนเวียน (Working capital) หมายถึง เงินทุนที่ธุรกิจจัดสรรไปลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมดหักด้วยหนี้สินหมุนเวียนทั้งหมด หรือเรียกว่าเงินทุนหมุนเวียนสุทธิ  (Net working capital)    ซึ่งผู้เขียนขออธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจกับ สินทรัพย์หมุนเวียน และหนี้สินหมุนเวียนดังนี้

       สินทรัพย์หมุนเวียน (Current assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ธุรกิจสามารถเปลี่ยนให้เป็นเงินสดได้ภายในรอบระยะเวลาการดำเนินงานปกติหรือภายในระยะเวลา 1 ปี ได้แก่ เงินสด เงินฝากธนาคาร หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ ตั๋วเงินรับ หรือที่นักบัญชีเรียกว่าสินทรัพย์สภาพคล่อง

       หนี้สินหมุนเวียน (Current liability)  หมายถึง หนี้สินที่มีระยะเวลาการชําระคืนภายใน 1 ปี ได้แก่ เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร   เงินกู้ยืมระยะสั้น   เจ้าหนี้การค้า  ตั๋วเงินจ่าย   ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายและรายได้รับล่วงหน้า

       การที่สินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนเป็นสินทรัพย์ที่มีความคล่องตัวสูง มีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทําให้ผู้บริหารจำเป็นต้องใส่ใจและดูแลอย่างใกล้ชิด หากเพิกเฉยหรือละเลยอาจส่งผลกระทบถึงสภาพคล่องของกิจการ และกำไรจนอาจทําให้ธุรกิจล้มละลายได้การบริหารเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital Management) จึงเป็น การบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยทั่วไปกิจการจะมีสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนไม่น้อย กว่าครึ่งหนึ่งของสินทรัพย์ทั้งหมด  นอกจากนี้ยังพบว่า  การขยายตัวและการเจริญเติบโตของธุรกิจ  ทำให้ความต้องการในจำนวนเงินลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น

       หลักในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทั้งด้านส่วนประกอบและปริมาณที่เหมาะสม โดยพิจารณาระดับของความเสี่ยง (risk) และผลตอบแทนหรือกำไร(Profit) ในระดับที่เหมาะสม กล่าวคือการจัดสรรเงินเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ใดก็ตาม  โดยหลักทางการเงิน พบว่า หากลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน จะมีผลทำให้สภาพคล่องต่ำ ความเสี่ยงสูง  กำไรสูง  แต่หากลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์ถาวร จะมีผลทำให้สภาพคล่องสูง  ความเสี่ยงต่ำ กำไรต่ำ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นการบริหารให้มีประสิทธิภาพในประเภทและขนาดที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป เพราะหากมีมากเกินไปก็จะทำให้กิจการสูญเสียกำไรจากการลงทุน เช่น การถือเงินสดมากเกินความจำเป็นจะทำให้ธุรกิจเสียโอกาสในการลงทุนที่ให้กำไรสูงกว่า   หรือการมีลูกหนี้ที่เก็บไม่ได้จำนวนมาก  ก็จะทำให้เกิดเงินทุนจมในตัวลูกหนี้และความเสี่ยงต่อการเกิดหนี้สูญมากขึ้น เกิดค่าใช้จ่ายในการเก็บหนี้มากขึ้น  และหากกิจการมีสินค้าคงเหลือมาก  ก็จะทำให้เกิดเงินทุนจมในสินค้า สินค้าอาจเสื่อมสภาพหรือล้าสมัยจนไม่สามารถขายได้ และเกิดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้ามากขึ้นในขณะเดียวกัน หากธุรกิจมีสินทรัพย์หมุนเวียนน้อยเกินไป ก็จะทำให้ธุรกิจมีปัญหาด้านการดำเนินงาน เช่น การถือเงินสดน้อยเกินไป ก็จะมีผลทำให้การดำเนินงานติดขัดไม่ราบรื่น เพราะมีเงินสดไม่เพียงพอในการจ่ายชำระหนี้  ไม่เพียงพอต่อการจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานหรือหากกิจการเก็บหนี้ให้เร็วขึ้นด้วยการเร่งรัดชำระหนี้ อาจมีผลทำให้ทำให้ยอดขายลดลง เพราะลูกค้าเปลี่ยนการตัดสินใจไปซื้อสินค้าจากรายอื่นที่ให้เครดิตนานกว่า  และหากมีสินค้าคงเหลือน้อยเกินไปอาจทำให้สินค้าขาดมือจนทำให้ส่วนแบ่งตลาดลดลง

       ดังนั้นการบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องอาศัยดุลยพินิจในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนว่าจะอยู่ในระดับใดที่เหมาะสม จึงจะทำให้ธุรกิจมีกำไรและสภาพคล่อง ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้  และโดยทั่วไปพบว่า ปัญหาในเรื่องของการขาดเงินทุนหมุนเวียน หรือสภาพคล่องของธุรกิจ เกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ เช่น การไม่สามารถเก็บหนี้จากลูกหนี้ได้ตามกำหนดเวลา สินค้าจำหน่ายไม่ได้ ทำให้เงินจมในสินค้า ผลกระทบตามมาก็คือกิจการขาดเงินทุนหมุนเวียนที่จะชำระหนี้สินและใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งธุรกิจอาจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการหาแหล่งเงินจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาจ่ายชำระหนี้ให้ทันกำหนด เช่น การหาแหล่งเงินทุนระยะสั้น เช่น การกู้ยืมเงินจากธนาคาร วิธีการดังกล่าวสามารถจ่ายชำระหนี้ได้ทันตามกำหนดก็จริง  แต่จะไม่สามารถทำให้สภาพคล่องของกิจการดีขึ้นแต่อย่างใด แต่ในทางกลับกันจะทำให้กิจการมีปัญหาสภาพคล่องมากขึ้นกว่าเดิม  ทั้งนี้เพราะการหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาชำระหนี้นั้น จะมีผลทำให้อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน(Current Ratio)เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ลดลง ดังตัวอย่างบริษัท ก.

       จากข้างต้น  หากกิจการมีหนี้สินระยะสั้นที่ถึงกำหนดชำระ (เจ้าหนี้การค้า) 200 บาท และกิจการจัดหาเงินทุนจากการก่อหนี้ระยะสั้นจำนวน 400 บาท เพื่อนำไปชำระหนี้เจ้าหนี้การค้าเดิม จะมีผลทำให้งบดุล และ Current ratio ปรากฏดังนี้

       แต่ถ้ากิจการสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน (เงินสด) ด้วยวิธีการเร่งรัดชำระหนี้ และนำเงินที่ได้ไปจ่ายชำระหนี้แทน จะมีผลทำให้งบดุลและ Current ratio ปรากฏดังนี้

       จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า การก่อหนี้ใหม่เพื่อนำไปจ่ายชำระหนี้เดิมนั้น จะมีผลทำให้สภาพคล่องของกิจการลดลง วิธีที่จะทำให้อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนดีขึ้นก็คือ พยายามเปลี่ยนสภาพสินทรัพย์หมุนเวียนคือลูกหนี้การค้าด้วยการเร่งรัดชำระหนี้ และพยายามขายสินค้าที่มีอยู่ให้เร็วขึ้น ก็จะทำให้กิจการได้เงินสด และนำไปจ่ายชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้การค้าให้ทันตามกำหนดเวลา  เช่นนี้จึงจะทำให้กิจการมีสภาพคล่องที่แท้จริง ซึ่งแหล่งเงินทุนหมุนเวียนที่สำคัญที่ผู้บริหารของธุรกิจมักจะไม่ได้พิจารณาก็คือ เครดิตการค้า ซึ่งถือเป็นแหล่งเงินทุนอัตโนมัติที่ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย เพราะเป็นแหล่งเงินทุนที่เกิดจากธรรมเนียมปกติทางการค้า  เครดิตการค้า จึงเป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้นที่สามารถลดภาระในการจัดหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจได้อย่างมาก นอกจากนี้หากผู้ขายสามารถเร่งรัดชำระหนี้และเก็บหนี้ได้ทันกับระยะเวลาที่ถึงกำหนดการชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่ตกลงกันไว้  ก็จะทำให้กิจการมีเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น

       จะเห็นได้ว่า การบริหารเงินทุนหมุนเวียน ก็คือการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน ให้เกิดความสมดุลกันระหว่าง สภาพคล่อง ความสามารถในการทำกำไร และความเสี่ยงซึ่งจากการบริหารดังกล่าว สามารถจำแนกการบริหารเงินทุนหมุนเวียนได้ 3 ลักษณะ ดังนี้

       1. เงินทุนหมุนเวียนเป็นศูนย์ (zero position) เป็นการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่สินทรัพย์หมุนเวียนเท่ากับหนี้สินหมุนเวียน  ผลคือ จะทำให้กิจการมีสภาพคล่อง กำไรและความเสี่ยงในระดับปานกลาง

เงินทุนหมุนเวียน(สุทธิ) =   สินทรัพย์หมุนเวียนหนี้สินหมุนเวียน  = 

       2. เงินทุนหมุนเวียนเป็นบวก (positive position) เป็นการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่มีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน มีผลทำให้กิจการมีสภาพคล่องสูง   ความเสี่ยงต่ำ และความสามารถในการทำกำไรลดลง

เงินทุนหมุนเวียน(สุทธิ) =   สินทรัพย์หมุนเวียนหนี้สินหมุนเวียน  =  +(บวก)

       3. เงินทุนหมุนเวียนเป็นลบ(negative position)เป็นการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่มีสินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียน  มีผลทำให้กิจการมีสภาพคล่องต่ำ  ความเสี่ยงสูงขึ้น  แต่กำไรสูงกว่า

เงินทุนหมุนเวียน(สุทธิ) =   สินทรัพย์หมุนเวียนหนี้สินหมุนเวียน  =  -(ลบ)

ตัวอย่าง งบดุลของบริษัท  การจัดการธุรกิจ จำกัด เพื่อแสดงให้เห็นถึงการบริหารเงินทุนของกิจการ

การจัดทำงบดุลตามวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เงินทุนที่ธุรกิจจัดหามาจากแหล่งต่าง ๆ

งบดุล

บริษัท การจัดการธุรกิจ จำกัด

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

       จากตัวอย่างเป็นการจัดทำงบดุลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ คือเป็นการจัดวางรายการทางการเงิน ให้อยู่ในรูปที่สามารถวิเคราะห์เงินทุนหมุนเวียน ที่ธุรกิจจัดหามาจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาลงทุนในสินทรัพย์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น นั่นคือแหล่งเงินทุนของธุรกิจ จะมาจาก 2 แหล่ง ด้วยกัน

1. แหล่งเงินทุนภายใน อันได้แก่ กำไรสะสม ซึ่งเป็นผลกำไรที่สะสมมาหลังจากจ่ายเงินปันผล

2. แหล่งเงินทุนจากภายนอก ได้แก่ แหล่งเงินทุนที่ธุรกิจยืมจากภายนอก หรือแหล่งเงินทุนที่ระดมจากภายนอก ซึ่งอาจเป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้น, แหล่งเงินทุนระยะปานกลาง และแหล่งเงินทุนระยะยาว

       จากการวิเคราะห์งบดุลของบริษัทจัดการธุรกิจ เงินทุนที่ธุรกิจหามาจากแหล่งเงินทุนต่างๆ ก็จะถูกจัดสรรเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ของธุรกิจตามความจำเป็นและเหมาะสม  โยกิจการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะสั้น จำนวน 73,000 บาท เพื่อจัดสรรไปลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนบางส่วน ฉะนั้นสินทรัพย์หมุนเวียนที่เหลือจำนวน 145,000 – 73,000 = 72,000 บาท คือเงินทุนหมุนเวียนสุทธิ ที่ต้องจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะยาว เนื่องจากแหล่งเงินทุนที่หามาจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นนั้นไม่เพียงพอ  อีกทั้งสินทรัพย์ถาวรและเงินลงทุนระยะยาวที่เหลืออีก  354,000 บาท  ที่กิจการต้องจัดหาเงินทุนมาเพื่อลงทุนนั้น ก็จัดหามาจากแหล่งเงินทุนระยะยาว  คือ เงินทุนระยะยาว +  ส่วนของผู้ถือหุ้น

      ดังนั้น สินทรัพย์ส่วนที่ต้องลงทุนโดยการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะยาว = สินทรัพย์หมุนเวียนจำนวน 72,000 บาท + เงินลงทุนระยะยาวและสินทรัพย์ถาวร จำนวน 354,000 บาท = 72,000 + 354,000  =426,000  บาทซึ่งจะเห็นได้ว่า กิจการได้จัดหาแหล่งเงินทุนระยะยาว คือ เงินกู้ยืม  ระยะยาว และส่วนของผู้ถือหุ้น =77,000 + 349,000 =  426,000 บาท เท่ากับสินทรัพย์ที่ต้องลงทุนพอดี

       จะเห็นได้ว่าบริษัท การจัดการธุรกิจ จำกัด  บริหารเงินทุนในลักษณะเป็นบวก(positive position) มีลักษณะการบริหารเงินทุนที่ค่อนข้างมีความระมัดระวัง คือการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่จัดหาเงินจากแหล่งเงินทุนระยะสั้น เพื่อลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนเพียงบางส่วน และจะนำเงินทุนระยะยาวไปลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนบางส่วนด้วย อันจะทำให้ธุรกิจมีสภาพคล่องสูง ความเสี่ยงต่ำ กำไรก็จะลดลง

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณและส่วนประกอบของเงินทุนหมุนเวียน

       ธุรกิจแต่ละประเภท จะมีความต้องการในการใช้เงินทุนหมุนเวียน และส่วนประกอบของสินทรัพย์หมุนเวียนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับนโยบายและความต้องการในการรักษาสภาพคล่องและความสามารถในการทำกำไร  นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่

       1. ทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อความเสี่ยง   การจัดโครงสร้างเงินทุนหมุนเวียนของกิจการจะขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารการเงินของผู้บริหารแต่ละคน โดยผู้บริหารที่ระมัดระวัง (Conservative) จะมองว่า การลงทุน ด้วยการก่อหนี้ทําให้กิจการมีต้นทุนทางการเงิน และมีความเสี่ยงที่จะทําให้กิจการ ขาดสภาพคล่องได้ หากไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามกําหนด ในขณะที่ผู้บริหารที่กล้าเสี่ยง (Aggressive) กลับมองว่า การลงทุนด้วยการก่อหนี้เป็นโอกาสในการสร้างกำไรให้กับกิจการได้มากกว่า  เพราะต้นทุน ทางการเงินที่เกิดจากการจ่ายดอกเบี้ยนั้น สามารถนําไปลดหย่อนภาษีได้เมื่อกิจการมีกําไร

       2. ประเภทของธุรกิจ ธุรกิจแต่ละประเภทไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ธุรกิจให้บริการ มีวิธีการดำเนินงานที่แตกต่างกัน ทำให้ความต้องการเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจแตกต่างกัน หรือแม้กระทั่งธุรกิจประเภทเดียวกันที่มีลักษณะต่างกัน ก็ยังมีความต้องการในเงินทุนหมุนเวียนต่างกัน เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรมรถยนต์กับธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ธุรกิจอุตสาหกรรมผู้ผลิตย่อมใช้เงินทุนหมุนเวียนจำนวนมากกว่าสำหรับสินค้าและลูกหนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับตัวแทนจำหน่ายซึ่งใช้เงินทุนหมุนเวียนไม่มากนัก หรือธุรกิจที่ให้บริการจะใช้เงินทุนหมุนเวียนลูกหนี้เท่านั้น ไม่ต้องลงทุนในสินค้าคงเหลือ เนื่องจากไม่มีสินค้าที่ต้องจำหน่าย

       3. ขนาดและปริมาณขายของธุรกิจ โดยปกติแล้วพบว่าปริมาณความต้องการเงินทุนหมุนเวียนของแต่ละธุรกิจ มักเป็นสัดส่วนเดียวกับยอดขาย ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่มียอดขายมากย่อมมีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนมาก ไม่ว่าจะเป็นเงินสด ลูกหนี้ หรือสินค้าคงเหลือ ส่วนธุรกิจขนาดเล็กที่มีปริมาณขายน้อยกว่า ก็ย่อมมีความต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนน้อยกว่า เว้นแต่จะมีผลกระทบจากภายนอกที่ทำให้ยอดขายสูงขึ้น เช่นฤดูกาลที่ทำให้ยอดขายสินค้าสูงขึ้น ก็ย่อมต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนสูงขึ้น

       4. นโยบายของธุรกิจ นโยบายของธุรกิจที่แตกต่างกันย่อมมีผลต่อความต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนไม่เท่ากัน เช่น นโยบายการให้สินเชื่อแก่ลูกค้า นโยบายการเก็บสินค้าขั้นต่ำเพื่อความปลอดภัย (Safety stock) นโยบายการเก็บเงินสดขั้นต่ำ เป็นต้น นโยบายของแต่ละธุรกิจอาจแตกต่างกัน ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินทุนหมุนเวียนและส่วนประกอบสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น ธุรกิจที่กำหนดระยะเวลาการให้สินเชื่อแตกต่างกัน ย่อมมีเงินทุนหมุนเวียนในลูกหนี้ที่แตกต่างกัน เป็นต้น

       5. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี่ย่อมมีผลต่อระดับการผลิตของแต่ละอุตสาหกรรม การผลิตโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ย่อมสามารถผลิตสินค้าได้ในปริมาณมากกว่าอุตสาหกรรมที่ใช้กรรมวิธีการผลิตแบบเดิม ดังนั้นการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ ย่อมกระทบต่อปริมาณวัตถุดิบและปริมาณสินค้า  ซึ่งเป็นเงินทุนหมุนเวียนที่ต้องการใช้มากขึ้น

       6. ภาวะการแข่งขันทางการตลาด ภาวะการแข่งขันทางการตลาด ทำให้ผู้ผลิตและผู้ขายต้องมีนโยบายในการเพิ่มยอดขาย เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาด เช่น การให้สินเชื่อแก่ลูกค้าจาก 30 วันเป็น 45 วัน ซึ่งมีผลทำให้ต้องใช้เงินลงทุนในลูกหนี้เพิ่มขึ้น การแจกของแถมแก่ลูกค้าก็มีผลทำให้กิจการต้องลงทุนในสินค้าที่จะเป็นของแถมเพิ่มขึ้น

       7. สภาวะแวดล้อม สภาวะแวดล้อมอันได้แก่เศรษฐกิจ การเมือง นโยบายและข้อบังคับของรัฐบาลที่เปลี่ยนแปลงไป ย่อมมีผลกระทบต่อความต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนของ กิจการ เช่นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ประชาชนขาดอำนาจซื้อ

       การจัดโครงสร้างเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ จะขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารการเงินทุนหมุนเวียน ของผู้บริหารแต่ละคน     เนื่องจากทัศนคติของฝ่ายบริหารต่อระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันย่อมมีผลต่อการจัดโครงสร้างเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ(ปริมาณและส่วนประกอบ) ดั้งนั้น ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงลักษณะทัศนคติของฝ่ายบริหารต่อระดับความเสี่ยง ซึ่งจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะคือ

       1. ผู้บริหารที่ชอบความเสี่ยง (aggressive) ผู้บริหารลักษณะนี้มักจะใช้เงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นมาลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนชั่วคราวทั้งหมด และบางส่วนก็จะลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวรด้วย ทั้งนี้เพราะแหล่งเงินทุนระยะสั้นมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการจัดหาต่ำกว่าแหล่งเงินทุนระยะยาว  แต่แหล่งเงินทุนระยะสั้นมีข้อจำกัด ในเรื่องของระยะเวลาในการชำระหนี้ ที่ต้องชำระหนี้ภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งหากธุรกิจไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ทัน  ก็จะทำให้ธุรกิจเกิดความเสี่ยงในการรักษาสภาพคล่อง ที่จะต้องจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะยาวมาจ่ายชำระหนี้ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นกว่าเดิมดังนั้น หากผู้บริหารมีระดับความเสี่ยงสูง ก็มักจะนำเงินทุนระยะสั้นบางส่วนไปลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนถาวร โดยคาดว่าจะมีผลทำให้กำไรสูงขึ้น แต่กิจการก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นด้วย เนื่องจากสภาพคล่องต่ำ

       2. ผู้บริหารที่ยึดหลักความปลอดภัย (conservative) เป็นผู้บริหารที่ระมัดระวัง ไม่ค่อยกล้าเสี่ยง ยึดความปลอดภัยเป็นหลัก เพราะแหล่งเงินทุนระยะสั้นแม้ว่าต้นทุนของเงินทุนจะต่ำ แต่มีความเสี่ยงสูงหากไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามระยะเวลา ดังนั้น ผู้บริหารลักษณะนี้มักจะนำเงินทุนที่ได้จากแหล่งเงินทุนระยะยาวมาลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวร และในสินทรัพย์หมุนเวียนชั่วคราวบางส่วนด้วย วิธีการนี้จะทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงต่ำมากหรืออาจไม่มีเลย เนื่องจากแหล่งเงินทุนระยะยาวมีระยะเวลาการชำระหนี้ที่นานกว่า

       3. ผู้บริหารที่ยึดสายกลาง (average) เป็นผู้บริหารที่ยึดหลักของการจัดทำกำไรและระดับความเสี่ยงที่สมดุลกัน คือเงินทุนที่จะจัดหามาเพื่อลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภท ควรจัดหามาจากแหล่งเงินทุนที่สอดคล้องกัน กับระยะเวลาการใช้งานของสินทรัพย์นั้นๆ โดยผู้บริหารจะจัดหาเงินทุนระยะยาว เพื่อลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวร และจัดหาเงินทุนระยะสั้นสำหรับลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนชั่วคราว  ผู้บริหารที่ยึดสายกลางจะทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงปานกลาง และกำไรที่ได้รับก็จะอยู่ในระดับปานกลาง

       สิ่งที่จะต้องพิจารณาในการเงินทุนของกิจการ ก็คือ เงินทุนได้มาจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นและระยะยาวปริมาณมากน้อยเพียงใด และมีการจัดสรรเพื่อนำไปลงทุนในสัดส่วนที่เหมาะสมหรือไม่ โดยทั่วไป เงินทุนที่จัดหามาจากแหล่งเงินทุนระยะสั้น เช่น เงินกู้ระยะสั้น เจ้าหนี้การค้า ควรนำไปลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน ได้แก่ ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ ในขณะที่เงินทุนที่ได้มา จากแหล่งเงินทุนระยะยาว เช่น เงินกู้ระยะยาว การออกจำหน่ายหุ้นทุนก็ควรนำไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวรได้แก่ ที่ดิน อาคาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับหลักการบริหารการเงิน อย่างไก็ดีในทางปฏิบัติ การบริหารสัดส่วนเงินทุนของกิจการมักขึ้นอยู่กับการคาดคะเนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในช่วงนั้นๆ และทัศนคติของผู้บริหารระดับความเสี่ยง หลักของการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับการกําหนดระดับของเงินทุนหมุนเวียนและการเลือกที่จะนําเงินทุนจากแหล่งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อมาใช้ในสัดส่วนที่เหมาะสม  โดยจะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกันระหว่าง ระยะเวลาในการชําระคืนกับระยะเวลาที่ต้องการในการใช้เงินลงทุนในสินทรัพย์ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายในการดําเนินงานของแต่ละกิจการว่า ต้องการได้รับกำไรและยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับใด   นอกจากนี้ กิจการควรมีการวิเคราะห์ระดับเงินทุนหมุนเวียนเป็นระยะๆ เพื่อให้ทราบว่ามีกำไร จากการลงทุนที่คุ้มค่าหรือไม่ รวมถึงสภาพคล่องและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น หากผลที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้  กิจการจําเป็นต้องกลับไปทบทวน เพื่อพิจารณาถึงแนวทางในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่ดําเนินอยู่ และอาจต้องปรับเปลี่ยนการบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้มีความเหมาะสม มากยิ่งขึ้น

บทสรุป

       เงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจนั้น เปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่น  ที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินงานของธุรกิจที่ผู้บริหารจะละเลยไม่ได้ หลักในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยพิจารณาสภาพคล่อง ระดับของความเสี่ยงและกำไรในระดับที่ยอมรับได้ กล่าวคือการจัดสรรเงินเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ใดก็ตาม  โดยหลักทางการเงิน พบว่า หากลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน จะมีผลทำให้สภาพคล่องต่ำ ความเสี่ยงสูง  กำไรสูง  แต่หากลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์ถาวร จะมีผลทำให้สภาพคล่องสูง  ความเสี่ยงต่ำ กำไรต่ำ

       ดังนั้นการบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องอาศัยดุลยพินิจในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนว่าจะอยู่ในระดับใดที่เหมาะสม จึงจะทำให้ธุรกิจมีกำไร และสภาพคล่อง ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้   ในขณะที่การบริหารเงินทุนหมุนเวียนได้ 3 ลักษณะ คือเงินทุนหมุนเวียนเป็นศูนย์ (zero position)  เงินทุนหมุนเวียนเป็นบวก (positive position)  และเงินทุนหมุนเวียนเป็นบวก (positive position)  เเต่ละลักษณะจะมีผลต่อสภาพคล่องสูง   ความเสี่ยงต่ำ และความสามารถในการทำกำไร ที่แตกต่างกัน ในขณะที่ธุรกิจแต่ละประเภท จะมีความต้องการในการใช้เงินทุนหมุนเวียน และส่วนประกอบของสินทรัพย์หมุนเวียนแตกต่างขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อความเสี่ยง   ประเภทของธุรกิจ ขนาดและปริมาณขายของ นโยบายของธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ภาวการณ์แข่งขันทางการตลาดและ สภาวะแวดล้อม การจัดการและการบริหารเงินทุนหมุนเวียนของกิจการจะขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารการเงินของผู้ริหารแต่ละคน โดยผู้บริหารที่ระมัดระวัง (Conservative) ผู้บริหารที่กล้าเสี่ยง (Aggressive)และผู้บริหารที่ยึดสายกลาง (average)ทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อความเสี่ยงจะทีผลทำให้กิจการแต่ละแห่งมีการจัดการหรือการบริหารเงินทุนที่แตกต่างกันออกไป   นอกจากนี้กิจการควรมีการวิเคราะห์ระดับเงินทุนหมุนเวียนเป็นระยะๆ เพื่อให้ทราบว่ามีกำไร จากการลงทุนที่คุ้มค่าหรือไม่

……………………………………………………….

บรรณานุกรม

คณาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์การบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.(2532).การเงินธุรกิจ.พิมพ์ครั้งที่2.  กรุงเทพฯ : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชนะใจ   เดชวิทยาพร.  (2540). การจัดการด้านการเงิน.  กรุงเทพฯ : เอดิสัน เพรส โพรดักส์.

ธงชัย  สันติวงษ์และชัยยศ  สันติวงษ์. ( 2541). การเงินธุรกิจ.  กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

นภาพร   นิลาภรณ์กุล. (2551). การบริหารการเงิน. กรุงเทพฯ : บริษัททริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

นภาพร   นิลาภรณ์กุลและคณะ. (2551). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ : กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

เบญจวรรณ   รักษ์สุธี. (2540).  การเงินธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 8.  กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์.

ปรียานุช  กิจรุ่งโรจน์เจริญ. (2557). การเงินธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ :  สหายบล็อก.

เพชรี ขุมทรัพย์.วิเคราะห์งบการเงิน.(2540).กรุงเทพฯ : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เริงรัก  จำปาเงิน. (2543). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ : บุ๊คเน็ท.

ศิริพร เพชรคง .  การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เรื่องง่ายที่ไม่ควรมองข้าม ค้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2558. http://202.183.190.2/FTPiWebAdmin/knw_pworld/image_content.

สุมาลี   จิวมิตร.  การบริหารการเงิน. (2549) .กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมพร   เที่ยงตระกูล. (2548). การเงินธุรกิจ.  กรุงเทพฯ : ภาควิชาการเงินและการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

Prinches, George E.(1996). Essentials of Financial Management.  5 th ed.  New York : Harper Collins College Publishers.

Van Horne James.(2001). Financial Management and Policy.12 th.ed.New Delhi: Prentice – Hall.

Weston, J. Fred and Copeland, Thomas. E.(1992).Managerial Finance)  9 th ed.  Fort Worth TX : The Dryden Press.