ชื่อผลงานทางวิชาการ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : ตำราประกอบการเรียนวิชาการจัดการความรู้และองค์การแห่งการเรียนรู้

ปีที่พิมพ์ : 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : พิมพ์ที่โรงพิมพ์สหธรรมิก ถนนจรัญสนิทวงศ์ กทม. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2557 ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2558 ใช้เป็นผลงานขอกำหนดตำแหน่ง รองศาสตราจารย์

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์นงนุช อุณอนันต์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา   

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : ตำราประกอบด้วยความรู้ 9 บท ซึ่งมีเนื้อหาเรียงลำดับตั้งแต่แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับความรู้ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ทฤษฎีที่นำมาใช้ในองค์การที่มีการจัดการความรู้ ปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ กระบวนการจัดการความรู้ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ องค์การแห่งการเรียนรู้ ทฤษฎีที่นำมาใช้ในองค์การแห่งการเรียนรู้และกรณีศึกษาการจัดการความรู้ในองค์กร

จุดเด่น / ความน่าสนใจ / การนำไปใช้ประโยชน์ : ตำราเล่มนี้ใช้สำหรับการเรียนวิชาการจัดการความรู้และองค์แห่งการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ไปประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในองค์การหรือมหาวิทยาลัยได้ดี เพราะ

1. มหาวิทยาลัยประกอบด้วยบุคลากรที่มีพลัง เป็นผู้ใฝ่รู้ทั้งด้านความคิด วิทยาการใหม่ๆ มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่องานจะได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

2. บุคลากรของมหาวิทยาลัย คือ ผู้เรียนรู้ จึงสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเองจากประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงานที่ได้จากการปฏิบัติงานด้วยตนเอง

3. ประสบการณ์เดิมของผู้ปฏิบัติงานและความรู้นั้นจะเกิดได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติงานทุกๆ ด้านด้วยกันเอง

4. การทำงานของทุกส่วนในมหาวิทยาลัย มีความเชื่อมโยงจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ ต้องใช้การคิดอย่างมีเหตุมีผล เป็นการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาด เพื่อความถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว องค์การจะประสบความสำเร็จอย่างสูง

จากทั้งจุดเด่นทั้ง 4 ประการ มหาวิทยาลัยสามารถนำมาเป็นกรอบความคิดเกี่ยวกับบุคลากรได้ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยควรมีโครงการสัมมนาผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับ “ การปฏิบัติงาน ” จะได้เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน

2. มหาวิทยาลัยควรนำกระบวนการคิด (ทักษะการคิด) อย่างเป็นระบบมาใช้กับการปฏิบัติงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถมองเห็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในภาพรวมได้ จะได้ช่วยกันป้องกัน และจะช่วยให้บุคลากรมีความผูกพันกันสูง เกิดความร่วมมืออย่างพร้อมเพียง นำสู่ไปสู่ผลสำเร็จตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้

3. ผู้บังคับบัญชาต้องเปิดใจกว้าง สร้างบรรยากาศการทำงานเป็นทีม ให้ทีมงานสนใจ สนุกกับการทำงานและต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีลักษณะการเรียนรู้เป็นทีม พยายามกระตุ้นผู้ใต้บังคับบัญชาให้ตื่นตัว แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้

4. ผู้บริหารต้องแสดงพฤติกรรมและเป็นแบบอย่างที่ดีที่สังคมยอมรับให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา พยายามส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยเป็นองค์การแห่งมีความสุขและสร้างความสุขให้เกิดขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจของทุกคนในองค์การ

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร