Category Archives: วิทยาศาสตร์สุขภาพ สาธารณสุขศาสตร์ และอาชีวอนามัย และความปลอดภัย

“ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศกับความหลากหลายของชนิดไล เคนในเขตชานเมือง กรณีศึกษาอำเภอ บางกรวย จังหวัดนนทบุรี”

       ชื่อเรื่อง “ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศกับความหลากหลายของชนิดไล เคนในเขตชานเมือง กรณีศึกษาอำเภอ บางกรวย จังหวัด            นนทบุรี”

        โดย ดร.อรพิมพ์  มงคลเคหา และคณะ 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

  • เป็นบทความวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศกับความหลากหลาย

ของชนิดไลเคน ซึ่งจะทำให้ทราบข้อมูลคุณภาพอากาศที่ดีมีผลต่อไลเคนอย่างไร

  • เป็นบทความวิจัยที่มีประโยชน์ทำให้สามารถนำข้อมูลจากบทความวิจัยนี้ไปใช้วาง แผนการจักการมลพิษทางอากาศได้เป็นอย่างดี
  • บทความวิจัยนี้จะทำให้ทราบถึงขั้นตอนการทำวิจัย เช่น การเตรียมการในพื้นที่ศึกษา การเก็บตัวอย่างคุณภาพอากาศ การศึกษาไลเคนและการวิเคราะห์หาปริมาณแก๊สในห้องปฏิบัติการ
  • สามารถนำผลจากบทความวิจัยนี้ลงสู่ชุมชนในแต่ละท้องถิ่นเพื่อให้ทราบข้อมูลจะได้ดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ
  • บทความวิจัยนี้สามารถนำไปทำการวิจัยต่อได้ เช่น ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศกับชนิดของพืชต่างๆในท้องถิ่นของตน
View Fullscreen

 

 

“การศึกษาการใช้งานถุงมือปรับอุณหภูมิจากถั่วเขียวกับผู้ปฏิบัติงานสัมผัสความเย็นในโรงผลิตน้ำแข็ง”

       ชื่อเรื่อง “การศึกษาการใช้งานถุงมือปรับอุณหภูมิจากถั่วเขียวกับผู้ปฏิบัติงานสัมผัสความเย็นในโรงผลิตน้ำแข็ง”

        โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เชิดศิริ  นิลผาย และคณะ                    

        สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

        ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ

        จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

  • เป็นบทความวิจัยเพื่อศึกษาระยะเวลาการอบถุงมือปรับอุณหภูมิจากถั่วเขียว เป็นการนำถั่วเขียวมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อีกทางหนึ่งเพราะประเทศไทยเราผลิตถั่วเขียวได้ปริมาณมาก นอกจากนี้ยังสามารถช่วยท้องถิ่นที่ปลูกถั่วเขียวได้เป็นอย่างดี
  • เป็นบทความวิจัยที่มีประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องสัมผัสกับความเย็น เช่น โรงงานผลิตน้ำแข็ง จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานอย่างยิ่ง
  • บทความวิจัยนี้จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการใช้งานถุงมือปรับอุณหภูมิให้สำหรับผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สามารถนำผลจากบทความวิจัยนี้ลงสู่ชุมชนในแต่ละท้องถิ่นเพื่อให้ทราบข้อมูลถึงถั่วเขียวสามารถนำมาทำประโยชน์ได้หลายอย่าง จะได้วางแผนการปลูกพืชได้เป็นอย่างดี
  • บทความวิจัยนี้สามารถนำไปทำการวิจัยต่อได้เช่นการพัฒนาทำถุงมือโดยใช้ผ้าต่างชนิดที่ทำความสะอาดง่ายและประยุกต์ใช้ธัญพืชชนิดอื่นๆที่มีต้นทุนต่ำและกักเก็บความร้อนได้ยาวนาน
View Fullscreen

การศึกษาปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารที่มีผลต่อโรคการเจ็บป่วยจากอาคารของผู้ปฏิบัติงานถ่ายเอกสาร

        ชื่อเรื่อง “การศึกษาปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารที่มีผลต่อโรคการเจ็บป่วยจากอาการของผู้ปฏิบัติงานถ่ายเอกสาร”

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เชิดศิริ  นิลผาย และคณะ

สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ

    จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

  • เป็นบทความวิจัยที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนปรับปรุงคุณภาพอากาศในอาคารของผู้ปฎิบัติงานที่มีการถ่ายเอกสาร
  • เป็นบทความวิจัยที่มีประโยชน์เพื่อศึกษาปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารที่มีผลต่อโรคการเจ็บป่วยของผู้ปฏิบัติงานถ่ายเอกสาร
  • บทความวิจัยนี้จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารและปรับปรุงสภาพแวดล้อม ในการทำงานให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน
  • สามารถนำผลจากบทความวิจัยนี้ลงสู่ชุมชนในแต่ละท้องถิ่นเพื่อให้ทราบข้อมูลอันตรายจากการใช้เครื่องถ่ายเอกสารซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้และจะได้ปฏิบัติงานอย่างระมัดระวัง
  • บทความวิจัยนี้สามารถนำไปทำการวิจัยต่อ เช่น หาสารอันตรายที่เกิด ขื้นจากการใช้เครื่องถ่ายเอกสาร เพื่อหาวิธีการป้องกันได้อย่างถูกต้อง
View Fullscreen

บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต่อการจัดการมูลฝอยครัวเรือน

View Fullscreen

ปัจจัยทำนายความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลว ที่ใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ

ปัจจัยทำนายความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วย
หายใจของผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลว
ที่ใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ
—————————————————————-
ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, พย.ด.1
ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์,พย.ม.2
เดช เกตุฉ่ำ, ค.ด.3

             ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บางกอกน้อย
 กรุงเทพฯ 10700, e-mail: [email protected]

             1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

             2 หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

             3 สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

             การวิจัยเรื่องนี้  เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย   วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อเพื่อศึกษาความสามารถในการทำนายของปัจจัยด้าน เพศ    อายุ  การรับรู้สมรรถนะตนเองในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ   การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย และความวิตกกังวลก่อนที่จะหย่าเครื่องช่วยหายใจต่อความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจโดยการหายใจเองใน 120 นาทีแรก ของผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวที่ใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ  โดยศึกษากับตัวอย่างทั้งหมดรวม 147 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่หย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จ  และกลุ่มที่หย่าเครื่องช่วยหายใจไม่สำเร็จ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก

            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 53.1 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 66.63 ปี ปัจจัยที่สามารถทำนายความสำเร็จในการหย่าเครื่องหายใจโดยการทดสอบการหายใจเอง ใน 120 นาทีแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .05 ได้แก่ การรับรู้  สมรรถนะตนเองในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ  โดยจะช่วยเพิ่มโอกาสในการหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จคิดเป็น 1.08 เท่า และความวิตกกังวลจะลดโอกาสในการหย่าเครื่องหายใจได้คิดเป็น 0.98 เท่า  โดยปัจจัยทั้งหมดสามารถทำนายความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ร้อยละ 66

            ศึกษารายละเอียดและข้อเสนอแนะสำหรับพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวที่ใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ ให้ผู้ป่วยสามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจได้สำเร็จ  ในวารสาร Journal  of Nursing  Science

 

              Wattanakitkrileart, D.,Pathomjaruvat,T., and Kedcham, D.
              (2013). Factors Predicting Weaning Success in
              Patients with Respiratory Failure Receiving Invasive
              Mechanical Ventilator.  Journal  of Nursing  Science.
              31 (3)  57 66.

             วารสารวิชาการ      Journal  of Nursing  Science
              Link ที่เข้าถึงได้     https://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/26039

ประสิทธิผลของการสื่อสารเพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติและความตั้งใจเกี่ยวกับการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน

ประสิทธิผลของการสื่อสารเพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติและความตั้งใจเกี่ยวกับการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน

Effectiveness of Communication for Attitude Modificationsand Intention about Having Sex in School Age

จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์, พรธิภา ไกรเทพ, ณภัทร เตียววิไล,
จิราพร ทรงพระ, วิทวัส กมุทศรี, ฌาน ปัทมะ พลยง


 

3จิราพร2

มะกอกฝรั่ง…ปลูกง่ายขายได้ทั้งปี

มะกอกฝรั่ง…ปลูกง่ายขายได้ทั้งปี

ผศ.วิชัย ปทุมชาติพัฒน์


 

                    ความนำ มะกอกฝรั่ง เป็นมะกอกอีกชนิดหนึ่ง เป็นชนิดที่ผลโตที่สุดในบรรดามะกอกด้วยกัน นิยมกินเป็นผลไม้สด คือปอกเปลือกแล้วล้างเมือกออกให้หมด สับออกเป็นชิ้นแล้วจิ้มพริกเกลือกินเป็นของว่าง ติดผลตลอดปี จึงเห็นมีขายในรถเข็นขายผลไม้ทั่วไปตลอดทุกฤดู ผู้บริโภคทั่วไปมักเรียกชื่อผิดว่ามะกอกน้ำ ซึ่งเป็นมะกอกผลเล็กขนาดปลายนิ้วมือ จึงเขียนบทความนี้ขึ้นมา เพื่อให้เกิดความกระจ่างด้วยภาพประกอบที่เห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน  

มะกอกฝรั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Spondias dulcis Parkinson

วงศ์มะม่วง ANACARDIACEAE

ชื่อสามัญ  Jew’s plum, Otatheite apple, Golden apple, Jew plum

ชื่ออื่น ๆ มะกอกหวาน  มะกอกดง  มะกอกเทศ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นเขตร้อน  สูง 7-12 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลแดง ผิวเรียบ ทรงพุ่มแผ่ออกกระจายแบบไม่มีรูปร่างแน่นอน ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อยออกตรงข้าม 6 – 8 คู่ ก้านใบยาว ใบหนา เรียบลื่น สีเขียว ใบย่อยเป็นรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามปลายยอด  เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศคล้ายช่อดอกมะม่วง ดอกย่อยขนาดเล็กมาก สีขาวอมเขียว กลีบดอก 5 กลีบ ฐานรองดอกเป็นสีเหลือง ผลสดเป็นรูปไข่หรือรูปกระสวย ออกเป็นพวง มียางเป็นจุดๆบนผิว ผลอ่อนเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนผลแก่เป็นสีเขียวอมเหลือง สุกแล้วเป็นสีส้ม ขนาดกว้าง 4 – 5.5 ซม. ยาว 5.5 – 7.5 ซม.  มีเมือกหุ้มผลที่ปอกเปลือกแล้ว เนื้อในเป็นสีขาวอมเขียว  มีเส้นใยหยาบๆคล้ายหนามแทรกอยู่  รสเปรี้ยวอมหวานมันและกรอบอร่อย ภายในผลมีกะลาที่มีเส้นใยหยาบๆคล้ายหนามโดยรอบหุ้มอยู่ ภายในกะลามีเมล็ดระหว่าง 3-5 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปทรงกลมรี

ถิ่นกำเนิด ในทวีปเอเชีย

การขยายพันธุ์ เพาะกล้าจากเมล็ด และการตอนกิ่ง

ประโชน์ของมะกอกฝรั่ง

1. ผลใช้รับประทานเป็นผลไม้ ใช้ปรุงอาหาร หรือคั้นน้ำจากผลมาทำเครื่องดื่มสมุนไพร ผลมีรสเปรี้ยวปนหวานมันและกรอบอร่อยมาก นิยมนำมาจิ้มกับพริกเกลือ โดยหาซื้อได้ง่ายในรถเข็นขายผลไม้ริมถนน หรือสับราดน้ำจิ้มรสเผ็ด อีกทั้งยังสามารถนำไปแปรรูปทำน้ำผลได้ เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส ฯลฯ

2. เนื้อผลมีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ เป็นยาช่วยบำบัดโรคธาตุพิการเพราะน้ำดีไม่ปกติ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด เป็นยาแก้ร้อนในอย่างแรง น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาหยอดหู แก้อาการปวดหูได้ดี

3. หลายชาตินำใบอ่อนมารับประทาน ประเทศฟิจิใช้ใบอ่อนมาทำแยม ในซามัวและตองกาใช้ทำอาหารพื้นเมือง ส่วนในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย นำมาจิ้มกับกะปิ สับยำใส่เครื่องปรุงพื้นเมือง หรือใช้เป็นส่วนผสมในอาหารที่มีลักษณะคล้ายกับยำผลไม้หรือส้มตำผลไม้

หมายเหตุ  1. มะกอกฝรั่ง อยู่ในวงศ์เดียวกันกับมะม่วง คือวงศ์ ANACARDIACEAE

2. มะกอกฝรั่งมี 2 ชนิด คือ มะกอกฝรั่ง และมะกอกฝรั่งแคระ  ในบทความนี้เราจะมะกอกฝรั่งเท่านั้น ส่วนมะกอกแคระ ก็มีลักษณะโดยรวมเหมือนมะกอกฝรั่ง เพียงแต่มีลำต้นแคระ  สูงได้เพียง1.00 – 1.50 เมตร ผลดก ขนาดของผลเล็กกว่ามะกอกฝรั่งเล็กน้อย นิยมปลูกไว้ในสวนในบริเวณบ้านไว้บริโภค

3. เมล็ดมะกอกฝรั่งจะมีกะลาที่มีเส้นใยหยาบๆคล้ายหนามโดยรอบหุ้มอยู่ ภายในมีเมล็ดระหว่าง 3-5 เมล็ด เมื่อนำไปเพาะกล้าจึงได้ต้นกล้ามากกว่า 1 ต้น ซึ่งอาจงอกไม่พร้อมกัน

4. ผลมะกอกฝรั่งที่สุกแล้ว เนื้อจะเหลว เมื่อนำมาบีบเนื้อออกให้หมด ล้างน้ำหลายครั้งให้สะอาด ผึ่งลมไว้ 1-2 วันแล้วจึงนำไปเพาะกล้า จะงอกได้ง่ายและได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์

5. มะกอกฝรั่งเป็นพืชที่ปลูกง่ายโตเร็ว ชอบที่ริมน้ำ ออกดอกติดผลตลอดทั้งปี ปลูกเป็นอาชีพได้ หากมีโรคใบหงิกที่ยอดอ่อน ให้หักยอดส่วนนั้นออกไปเผาทำลาย หากระบาด ต้องตัดแต่งออกมาก รอให้แตกยอดใหม่

อ้างอิง 1. https://medthai.com

2. https://www.thai-thaifood.com

 

เทคนิคการสอนวิชาเคมีเรื่องสมบัติของธาตุตามตารางธาตุและสมดุลเคมี

บรรยายโดย : รศ.สุธน เสถียรยานนท์


 

 

การลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการบรรจุกรณีศึกษาข้าวบรรจุถุง

นิธิศ ปุณธนกรภัทร์


การทดสอบสมรรถภาพร่างกายในงานอาชีวอนามัยของกลุ่มอาชีพชาวนา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ฌาน ปัทมะ พลยง