Author Archives: writer3

การพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

การพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

กุลสิริ  กฤตธนรัชต์

สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปีการศึกษา 2557
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 5 สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ

 

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

     การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ     การพัฒนาหาประสิทธิภาพ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนหาความ พึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลอง ดังนี้

  1. ประสิทธิภาพเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี
  2. เปรียบเทียบคะแนนผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี
  3. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

ประสิทธิภาพเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

     การหาประสิทธิภาพเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบจากคะแนนจากแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน 38 คน ได้ผลดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี หน่วยที่ 10 และหน่วยที่ 11

  แบบทดสอบ คะแนนเต็ม คะแนนรวม ประสิทธิภาพ
ระหว่างเรียน (E1) 760 692 18.21 91.05
หลังการเรียน (E2) 1900 1723 45.34 90.68

     จากตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่าเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี มีประสิทธิภาพ 91.05/90.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ คือ 85/85 หมายถึง ผลการทดลองนี้ พบว่า ผู้เรียนสามารถทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน หน่วยที่ 10 และหน่วยที่ 11 วิชา การใช้โปรแกรมกราฟิก ได้คะแนนเฉลี่ย 18.21 และสามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 45.34 แสดงว่า การพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีมีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนได้ (รายละเอียดแสดงในภาคผนวก ง หน้า 131-135 )

การเปรียบเทียบคะแนนผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

     จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระหว่างคะแนนสอบก่อนเรียน และคะแนนสอบที่ได้จากการทำแบบทดสอบท้ายบทเรียนของผู้เรียนมาวิเคราะห์หาผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สถิติ แบบ t-test แบบจับคู่ (Matched-paired T-test) สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลปรากฏดังในตารางที่ 4

ตารางที่ 4 ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์  ทางการเรียนก่อน -หลังการจัดการเรียนรู้เป็นรายหน่วยจำนวน 2 หน่วย ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 38 คน

คะแนนทดสอบก่อนเรียน

(50 คะแนน)

คะแนนทดสอบหลังเรียน

(50 คะแนน)

ค่าความแตกต่าง

ทางการเรียน

ค่า t
S S D %
22.34 4.19 45.34 1.09 23 46 33.02

n = 38 ค่า t จากตาราง t-distribution critical values ที่ df (n-1) = 37
* นัยสำคัญที่ระดับ .05 มีค่า = 1.689

     จากตารางที่ 4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บช่วยสอนระบบ
มัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 22.34 (= 22.34 ) มีผลคะแนนหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ย 45.34 (= 45.34) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  สูงกว่าก่อนเรียน คะแนนเฉลี่ย 23.00 (= 23.00) และค่า t ที่จากการคำนวณ (33.024) สูงกว่าค่า t ที่เปิดจากตาราง 1.689 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

     สรุปได้ว่า เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น (รายละเอียดแสดงในภาคผนวก ข หน้า130) สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ   ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

     ผู้วิจัยได้ทำแบบประเมินความพึงพอใจสำหรับผู้เรียน 38 คน ที่มีต่อเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีดำเนินการโดยให้ผู้เรียนทำแบบประเมินความพึงพอใจหลังจากที่ผู้เรียนได้ทำการศึกษาจนครบทุกบทเรียน เรียบร้อยแล้ว สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ซึ่งผลที่ได้จากการประเมินแสดงในตารางที่ 5

ตารางที่  5 ผลการประเมินคุณภาพความพึงพอใจของกลุ่มผู้เรียนด้วยเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

ผู้เชี่ยวชาญ N S.D. ระดับความพึงพอใจ
      ผู้เรียน 38 4.46 0.26 ดี

     จากตารางที่  5 แสดงให้เห็นว่าผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย(MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี  ผู้เรียนจำนวน 38 คน มีค่าโดยเฉลี่ยรวมมีค่าเท่ากับ 4.46 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.26 ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดี (รายละเอียดแสดงในภาคผนวก ง หน้า 131-135 )

ตารางที่ 6 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

อันดับที่ รายการข้อคำถาม ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับ

ความพึงพอใจ

() (S.D.)
1. ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ 4.42 0.55 มาก
2. สามารถเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ 4.47 0.56 มาก
3. เนื้อหาครอบคลุมหลักสูตร 4.34 0.67 มาก
ตารางที่ 6 (ต่อ)
อันดับที่ รายการข้อคำถาม ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับ

ความพึงพอใจ

() (S.D.)
4. เนื้อหาอ่านเข้าใจง่าย 4.47 0.65 มาก
5. การเรียงลำดับของเนื้อหาสอดคล้องเหมาะสม 4.39 0.75 มาก
6. ปริมาณของเนื้อหาแต่ละหน่วยมีความเหมาะสม 4.45 0.50 มาก
7. ภาพชัดเจนสวยงามง่ายต่อการเข้าใจ 4.63 0.49 มากที่สุด
8. เสียงอธิบายชัดเจนง่ายต่อการเข้าใจ 4.39 0.68 มาก
9. แบบฝึกหัดช่วยให้เข้าใจบทเรียนง่ายขึ้น 4.42 0.72 มาก
10. ความชัดเจนของข้อคำถาม คำตอบ 4.63 0.54 มากที่สุด
11. ความเหมาะสมของกิจกรรมกับเวลาที่กำหนด 4.47 0.51 มาก
12. เกณฑ์การให้คะแนนมีความชัดเจน 4.58 0.50 มากที่สุด
13. การประเมินผลตามสภาพจริงที่เน้นการเรียนรู้ 4.45 0.50 มาก
14. ระยะเวลาในการเรียนแต่ละหัวข้อเหมาะสม 4.39 0.59 มาก
15. กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4.42 0.55 มาก
เฉลี่ยทุกข้อ 4.46 0.26 มาก

     จากตารางที่ 6 ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อต่อการเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย(MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.46, S.D. = 0.26) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ความชัดเจนของข้อคำถามคำตอบ (= 4.63, S.D. = 0.54) รองลงมา คือ ภาพชัดเจนง่ายต่อความเข้าใจ (= 4.63, S.D. = 0.49) และเกณฑ์การให้คะแนนมีความชัดเจน(= 4.58, S.D. = 0.50) และข้อที่ผู้เรียนมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ เนื้อหาครอบคลุมหลักสูตร (= 4.34, S.D. = 0.67) เสียงอธิบายชัดเจนง่ายต่อการเข้าใจ (= 4.39, S.D. = 0.68) และการเรียงลำดับของเนื้อหาสอดคล้องเหมาะสม (= 4.39, S.D. = 75)

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อพัฒนาบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี เพื่อนำไปใช้ทดลองกลุ่มตัวอย่างจำนวน 38 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียน ได้จากคะแนนที่กลุ่มตัวอย่างทำได้จากแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน ในแต่ละบทเรียน กับแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 85/85 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน ด้วยเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียวิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก ที่พัฒนาขึ้น เพื่อให้การดำเนินการวิจัยมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามขั้นตอน นอกจากนั้นยังได้หาความพึงพอใจของผู้เรียนจากกลุ่มตัวอย่าง โดยผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการดำเนินการวิจัยไว้ ดังนี้

  1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
  2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
  4. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

          ประชากร

           ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจวิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ทั้งหมด 4 ห้องเรียน จำนวน 150 คน

          กลุ่มตัวอย่าง

           กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจวิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม ได้ 1 ห้องเรียน จำนวน 38 คน เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกที่สร้างขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

       เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น

  1. บทเรียนการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียวิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของนักเรียนชั้นปีที่2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจวิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีซึ่งเป็นบทเรียนผ่านการนำเสนอด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและการปฏิสัมพันธ์
  2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบภาคทฤษฎี ซึ่งประกอบด้วย แบบทดสอบก่อนเรียน ผลการเรียนแบบผู้เรียนตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน จำนวน 50 ข้อ ซึ่งผ่านการหาคุณภาพแล้ว   จึงนำไปใช้ในบทเรียนการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  3. แบบประเมินคุณภาพของบทเรียน เป็นแบบประเมินด้านเนื้อหาสาระโดยมีหัวข้อการประเมิน คือ ด้านเนื้อหาวิชา ด้านการดำเนินเรื่อง ด้านการใช้ภาษา ด้านแบบทดสอบและแบบประเมินสื่อด้านเทคนิค วิธีการ โดยหัวข้อการประเมินคือ ด้านการดำเนินเรื่อง ด้านการใช้ภาษาและเสียง ด้านตัวอักษรและสี ด้านแบบทดสอบและด้านการออกแบบบทเรียน
  4. แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนด้วยการพัฒนาบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

     ขั้นตอนการการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

  1. วิเคราะห์เนื้อหา แบ่งขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังนี้
    1.1 ศึกษาเนื้อหารายวิชาและวิเคราะห์หลักสูตร โดยผู้วิจัยได้รวบรวมเนื้อหาและวิเคราะห์จากคำอธิบายรายวิชา มาตรฐานรายวิชา วัตถุประสงค์รายวิชา การใช้โปรแกรมกราฟิก
    1.2 การรวบรวมเนื้อหาและศึกษาข้อมูลปรับปรุงให้ทันสมัย และเป็นปัจจุบันที่เกี่ยวกับรายวิชา จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ หลักสูตรรายวิชาที่กำหนดไว้ หนังสือเอกสารตำราที่เกี่ยวข้อง สอบถามจากอาจารย์ผู้สอน และข้อมูลจากเว็บไซต์ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และความต้องการของเป้าหมาย รวบรวมเนื้อหา
  1. ออกแบบเนื้อหา มีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้
    2.1 ประเมินความสำคัญของหัวเรื่อง
    2.2 นำหัวข้อที่ได้มาเขียนแผนภูมิลงในแบบฟอร์ม Network Diagram เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของหัวเรื่อง
    2.3 การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม และวิเคราะห์ว่าวัตถุประสงค์แต่ละข้อเป็นประเภทความรู้ความจำ (Recall of Knowledge) นำไปประยุกต์ใช้ (Applied Knowledge) หรือถ่ายทอดได้ (Transfer) รวมถึงการวิเคราะห์ว่าเป็นประเภทพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) หรือจิตพิสัย (Affective Domain) ลงในแบบฟอร์มวิเคราะห์จุดประสงค์
    2.4 เมื่อได้เนื้อหาการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สมบูรณ์แล้ว จึงเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
    2.5 ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมแล้วนำมาปรับแก้ไข
    2.6 การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ข้อสอบชนิด 4 ตัวเลือก นำไปวิเคราะห์หาคุณภาพแบบทดสอบ (IOC) มีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังภาพที่ 10

ภาพที่ 10 การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

2.6.1 ร่างแบบสอบถามตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ แบบทดสอบเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก แบบทดสอบทั้งหมดที่ร่างมีจำนวน 60 ข้อ

2.6.2 นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมเสนอผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการผลิตสื่อ ด้านเนื้อหา และด้านสื่อ 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบและพิจารณาความเหมาะสม แล้วทำการปรับปรุงแก้ไข และนำกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาอีกครั้งจนเป็นที่น่าพอใจ

2.6.3 นำแบบทดสอบฉบับร่างมาทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี จำนวน 30 คน ซึ่งเป็นผู้เรียนที่เรียนจบในรายวิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกแล้ว

2.6.4 นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปหาประสิทธิภาพ 85/85 ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1นำบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียที่สร้างขึ้นไปทดลองกับนักเรียนรายบุคคลจำนวน 3 คน  ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยทำการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่าสามารถเรียนได้อย่างคล่องแคล่ว มีความเข้าใจหรือปัญหาในขณะเรียนหรือไม่อย่างไร และทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตของผู้วิจัยมาแก้ไขปรับปรุงเครื่องมือวิจัย

ขั้นที่ 2 นำบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มขนาดเล็กที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 15คน โดยดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับการทดลองครั้งที่ 1 โดยผู้วิจัยทำการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่าสามารถเรียนได้อย่างคล่องแคล่ว มีความเข้าใจหรือปัญหาในขณะเรียนหรือไม่  อย่างไร และทำ แบบฝึกหัดระหว่างเรียนและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตของผู้วิจัยมาแก้ไขปรับปรุงเครื่องมือวิจัย

ขั้นที่ 3 นำบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียที่สร้างขึ้นและปรับปรุงแก้ไขแล้ว ไปทดลองกับนักเรียนที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน30 คน   เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยให้กลุ่มตัวอย่างเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แต่ละตอนและให้ทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน เมื่อจบบทเรียนให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  นำคะแนนจากการทำแบบฝึกหัดจำนวน 2 ชุดๆ ละ 10 ข้อ และคะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 50 ข้อ จากนั้นผู้วิจัยนำผลของการศึกษามาหาประสิทธิภาพของเครื่องมือตามเกณฑ์ 85/85 โดยที่
85 ตัวแรก หมายถึง ร้อยละของคะแนนระหว่างเรียนหรือประสิทธิภาพของกระบวนการ( E1)
85 ตัวหลัง หมายถึง ร้อยละของคะแนนหลังเรียนหรือประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2)

2.6.5 นำแบบทดสอบมาตรวจให้คะแนน ด้วยวิธี 0-1 (Zero-One Method) มีเกณฑ์การให้คะแนน คือ ถ้าตอบถูกได้ 1 คะแนน ถ้าตอบผิดหรือไม่ตอบได้ 0 คะแนน

2.6.6 วิเคราะห์หาคุณภาพของข้อสอบ แยกผลคะแนนในลักษณะกลุ่มสูง กลุ่มต่ำ แบ่งกลุ่มผู้เรียน โดยแบ่งกลุ่มละ 33% ของผู้เรียนทั้งหมด จะได้กลุ่มละ 12 คน นักเรียนที่ได้คะแนนสูงสุด 12 คนแรกจะเรียกว่ากลุ่มสูง(NH) และนักเรียนที่ทำคะแนนต่ำสุด12 คน จะเรียกว่ากลุ่มต่ำ (NL)

2.6.7 วิเคราะห์หาค่าระดับความยากง่าย อำนาจจำแนก และความเชื่อมั่นตามสูตร แล้วคัดเลือกข้อมูลที่มีค่าระดับความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนกที่อยู่ในเกณฑ์กำหนดคือ มีค่าระดับความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป สามารถนำมาใช้ในการสร้างแบบทดสอบในเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก และใช้เป็นแบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกหัดระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน เมื่อผู้เรียนเรียนจบแล้ว

     ผลการวิเคราะห์ค่าระดับความยากง่าย และอำนาจจำแนกของแบบทดสอบจำนวน 50 ข้อ ที่มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ซึ่งผลการวิเคราะห์สรุปได้ดังในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 สรุปค่าระดับความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ จำนวน 50 ข้อ

รายการ ค่าระดับความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก
ช่วงค่า ค่าเฉลี่ย ช่วงค่า ค่าเฉลี่ย
แบบทดสอบ 50 ข้อ 0.20-0.80 0.73 0.20-0.60 0.32

     จากตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์แบบทดสอบทั้งหมดมี 50 ข้อ พบว่า มีค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.20-0.80 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.73 แสดงว่า เป็นแบบทดสอบที่มีค่าความยากง่ายค่อนข้างง่าย ส่วนค่าอำนาจจำแนกมีค่าอยู่ระหว่าง 0.20-0.601 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.32 จัดว่าเป็นข้อสอบที่มีคุณภาพดีมาก แบบทดสอบ 50 ข้อ สามารถนำมาใช้เป็นแบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกหัดระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังบทเรียนของเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกได้

2.6.7 วิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 50 ข้อ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95  โดยใช้สูตรKR-20 ของ Kuder Richardson (มนต์ชัย เทียนทอง, 2545, น.235)

2.6.8 นำแบบทดสอบที่คัดเลือกไว้เพื่อใช้เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการทดลอง

  1. การออกแบบตัวบทเรียน (Courseware) มีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้
    3.1 เขียนบทดำเนินเรื่อง (Storyboard) ในการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียวิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกโดยจัดทำเป็นรายละเอียด เป็นสคริปต์เนื้อหา ตามหัวข้อที่กำหนดของหน่วยการเรียน
    3.2 การออกแบบหน้าจอโครงร่าง (Template) และบทดำเนินเรื่อง ดังแสดงตัวอย่างจากภาพที่ 11โดยโปรแกรม Captivate 6 โดยกำหนดความละเอียดของการแสดงผลที่ 1024×768 Pixel
    3.3 ให้ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ตรวจสอบแล้วแนะนำการแก้ไขปรับปรุงจนถูกต้อง

ภาพที่  11  การออกแบบหน้าจอหลัก

ภาพที่ 12 การออกแบบสมัครสมาชิก

ภาพที่ 13 การออกแบบแสดงตำแหน่งลำดับโครงสร้างบทเรียน

ภาพที่ 14  การออกแบบหน้าจอแสดงเนื้อหา

ภาพที่ 15 การออกแบบหน้าจอแบบทดสอบ

  1. พัฒนาบทเรียน เริ่มจากใช้จัดเตรียมทรัพยากรและส่วนประกอบด้านมัลติมีเดียต่างๆ เช่น ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง การเลือกโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น โปรแกรม Adobe Captivate เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การสร้างสื่อ CAI ในระบบมัลติมีเดียที่ง่าย รวดเร็ว และสะดวกในการเผยแพร่ชิ้นงานในรูปแบบ Flash (SWF) HTML CD-ROM และไฟล์ที่ดำเนินการได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีกระบวนการ Set Upหรือไฟล์ EXE เหมาะสำหรับการใช้งาน e-learning หรือการสอน Online โปรแกรมมีความสามารถในการรองรับไฟล์มัลติมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ภาพ เสียง ภาพยนตร์ บรรยาย ไมโครโฟน พร้อมการจับหน้าจอภาพ การตัดต่อวีดีโอ โปรแกรม Camtasia Studio7 เป็นต้น โดยมีโปรแกรม PHP เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมและฐานข้อมูลที่เป็นตัวจัดเก็บคะแนนสอบของผู้เรียนด้วย MySQL เป็นต้น
  2. สร้างแบบประเมินคุณภาพเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียเพื่อใช้วัดความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค
  3. สร้างแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียที่สร้างขึ้นซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

ภาพที่ 16 การสร้างแบบประเมินคุณภาพและแบบประเมินความพึงพอใจ

6.1   รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษาข้อมูล ได้แก่ การสร้างแบบสอบถามความคิดเห็น รูปแบบของแบบสอบถาม วิธีการใช้งานและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการสร้างแบบสอบถาม

6.2   ร่างแบบสอบถามวัดความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินคุณภาพของบทเรียนที่สร้างขึ้น แบ่งเป็นแบบสอบถามด้านเนื้อหาจำนวน 4 ข้อ ผู้เชี่ยวชาญประเมิน 3 ท่าน และแบบสอบถามด้านเทคนิค จำนวน 5 ข้อ ผู้เชี่ยวชาญประเมิน 3 ท่าน และแบบประเมินความพึงพอใจสำหรับนักเรียน จำนวน 15 ข้อ กลุ่มผู้เรียน 38 คน

6.3   ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ที่ต้องการจะให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินเกี่ยวกับเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียวิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก มีแบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 4 ด้าน แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค 5 ด้าน และแบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับผู้เรียน 15 ข้อ ดังนี้

6.3.1  แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา

1)  เนื้อหาวิชา
ก)  ความสมบูรณ์ของวัตถุประสงค์
ข)  ความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับวัตถุประสงค์
ค)  ความถูกต้องของเนื้อหาในแต่ละบทเรียง
ง)  ความถูกต้องของเนื้อหา
จ)  ลำดับขั้นในการนำเสนอเนื้อหา
ฉ)  ความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา
ช)  ความเหมาะสมของเนื้อหากับระดับของผู้เรียน

2)  การดำเนินเรื่อง
ก)  ความเหมาะสมของลำดับขั้นการนำเสนอเนื้อหา
ข)  ความชัดเจนในการดำเนินเรื่อง
ค)  ความน่าสนใจในการดำเนินเรื่อง
ง)  การนำเสนอสื่อมีความสอดคล้องกับเนื้อหา

3)  การใช้ภาษา
ก)  ความถูกต้องของภาษาที่ใช้
ข)  ความเหมาะสมของภาษาที่ใช้กับวัยผู้เรียน
ค)  ความชัดเจนของภาษาที่ใช้สื่อความหมาย

4)  แบบทดสอบ
ก)  ความชัดเจนของคำสั่งและคำถามของแบบทดสอบ
ข)  ความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับจุดประสงค์โดยรวม
ค)  ความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับจุดประสงค์
ง)  ความครอบคลุมระหว่างแบบทดสอบกับจุดประสงค์
จ)  ความเหมาะสมของชนิดแบบทดสอบที่เลือกใช้
ฉ)  ความเหมาะสมของคำถาม
ช)  ความถูกต้องของคำตอบและความเหมาะสมของตัวเลข
ซ)  ความสะดวกของวิธีการโต้ตอบแบบทดสอบ เช่น การใช้เมาส์คลิก การเคลื่อนที่เมาส์ การใช้แป้นพิมพ์ เป็นต้น
ฌ)  ความถูกต้องของวิธีการรายงานและคะแนนแต่ละข้อของแบบทดสอบ
ฎ)  ความถูกต้องของวิธีการสรุปผลคะแนนรวม

6.3.2  แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค

1)  เนื้อหาและการดำเนินเรื่อง
ก)  ลำดับขั้นในการนำเสนอเนื้อหา
ข)  ความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา
ค)  ความน่าสนใจในการดำเนินเรื่อง

2)  ภาพ ภาษา และเสียง
ก)  ความตรงตามเนื้อหาของภาพที่นำเสนอ
ข)  ขนาดของภาพที่ใช้ประกอบบทเรียน
ค)  ภาพกราฟิกที่ใช้ประกอบการสอน
ง)  ภาพเคลื่อนไหวที่ใช้ประกอบการเรียน
จ)  เสียงบรรยายที่ใช้ประกอบการเรียน
ฉ)  ความถูกต้องของภาษาที่ใช้

3)  ตัวอักษรและสี
ก)  รูปแบบของตัวอักษรที่ใช้การนำเสนอ
ข)  ขนาดของตัวอักษรที่ใช้ในการนำเสนอ
ค)  สีของตัวอักษรโดยภาพรวม
ง)  สีของพื้นหลังบทเรียน โดยภาพรวม
จ)  สีของภาพและกราฟิก โดยภาพรวม

4)  แบบทดสอบ/แบบทดสอบหลังบทเรียน
ก)  ความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับเนื้อหา
ข)  วิธีการโต้ตอบแบบทดสอบหลังบทเรียน
ค)  การรายงานผลคะแนนแต่ละข้อของแบบ
ง)  การสรุปผลคะแนนรวมหลังแบบทดสอบ

5)  การจัดการบทเรียน
ก)  การนำเสนอชื่อเรื่องหลักของบทเรียน
ข)  การนำเสนอชื่อเรื่องย่อยของบทเรียน
ค)  สิ่งอำนวยความสะดวกของบทเรียน เช่น การแจ้งเวลา การเสนอชื่อบทเรียน
ง)  การออกแบบหน้าจอ โดยภาพรวม
จ)  ความน่าสนใจชวนให้ติดตามบทเรียน
ฉ)  ความสมบูรณ์ของระบบการจัดการฐานข้อมูล
ช)  ความเหมาะสมของระบบการช่วยเหลือผู้เรียน
ซ)  การใช้ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ในการจัดการบทเรียน
ฌ)  การจัดการบทเรียน โดยภาพรวม

6.3.3   แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับผู้เรียน

1)  ความชัดเจนของวัตถุประสงค์
2)  สามารถเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์
3)  เนื้อหาครอบคลุมหลักสูตร
4)  เนื้อหาอ่านเข้าใจง่าย
5)  การเรียงลำดับของเนื้อหาสอดคล้องเหมาะสม
6)  ปริมาณของเนื้อหาแต่ละหน่วยมีความเหมาะสม
7)  ภาพชัดเจนสวยงามง่ายต่อการเข้าใจ
8)  เสียงอธิบายชัดเจนง่ายต่อการเข้าใจ
9)  แบบฝึกหัดช่วยให้เข้าใจบทเรียนง่ายขึ้น
10) ความชัดเจนของข้อคำถาม คำตอบ
11) ความเหมาะสมของกิจกรรมกับเวลาที่กำหนด
12) เกณฑ์การให้คะแนนมีความชัดเจน
13) การประเมินผลตามสภาพจริงที่เน้นการเรียนรู้
14) ระยะเวลาในการเรียนแต่ละหัวข้อเหมาะสม
15) กระบวนการจัดการเรียนรู้

6.4   การกำหนดมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามแบบของ ลิเคอร์ท (Likert, 1932) มีเกณฑ์ดังนี้

เห็นด้วยในระดับ   5   หมายถึง   มากที่สุด
เห็นด้วยในระดับ   4   หมายถึง   มาก
เห็นด้วยในระดับ   3   หมายถึง   ปานกลาง
เห็นด้วยในระดับ   2   หมายถึง   น้อย
เห็นด้วยในระดับ   1   หมายถึง   น้อยที่สุด

     การวิเคราะห์ของค่าเฉลี่ยเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่ได้จากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และผู้เรียน (บุญชม ศรีสะอาด, 2554)

ค่าเฉลี่ย  4.50 – 5.00  หมายถึง  อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก
ค่าเฉลี่ย  3.50 – 4.49  หมายถึง  อยู่ในเกณฑ์ ดี
ค่าเฉลี่ย  2.50 – 3.49  หมายถึง  อยู่ในเกณฑ์ ปานกลาง
ค่าเฉลี่ย  1.50 – 2.49  หมายถึง  อยู่ในเกณฑ์ พอใช้
ค่าเฉลี่ย  1.00 – 1.49  หมายถึง  อยู่ในเกณฑ์ ควรปรับปรุง

6.5   ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความเหมาะสมของการเขียนข้อคำถามความครอบคลุมเนื้อหา สิ่งที่ต้องการวัด ใช้แล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามที่ได้รับคำแนะนำ

6.6   ผู้วิจัยจึงจัดพิมพ์แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้สอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิควิธีการ และสอบถามความพึงพอใจสำหรับผู้เรียน

  1. วิธีการประเมินเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี โดยนำบทเรียนไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคตรวจสอบ

7.1   ผลการประเมินคุณภาพของเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียวิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและเทคนิค/วิธีการด้านละ 3 ท่าน ผลปรากฏดังตารางที่ 2

ตารางที่  2  ผลการประเมินคุณภาพของเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย(MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ของนักเรียนชั้นปีที่ 2  แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 กลุ่ม

ผลการประเมินคุณภาพของสื่อการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 กลุ่ม
ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน S.D. ระดับความคิดเห็น
ด้านเนื้อหา 3 4.48 0.53 ดี
ด้านเทคนิคและวิธีการ 3 4.44 0.56 ดี

จากตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่าผลการประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ และความพึงพอใจของผู้เรียนด้วยเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ของนักเรียนชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีพบว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจำนวน 3 ท่าน โดยมีค่าเฉลี่ยรวม มีค่าเท่ากับ 4.48 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.53 ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับดี ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิควิธีการ จำนวน 3 ท่าน โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.44 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.56 ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับดี (รายละเอียดแสดงในภาคผนวก ง หน้า 116-126)

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบทเรียนการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย(MMWBI)  วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก โดยใช้แผนการทดลองแบบ One-Group Pretest-Posttest Design ใช้ระยะเวลาดำเนินการทดลองตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2556 –กรกฎาคม2556 ผู้วิจัยได้ทำการดำเนินการทดลองที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี จำนวน 38 คน รายละเอียดในการดำเนินการทดลอง และเก็บข้อมูล มีดังนี้

  1. ติดตั้งบทเรียนการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย(MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกที่สร้างขึ้นไว้บนเว็บไซด์
  2. แจ้งกลุ่มตัวอย่างทราบล่วงหน้าก่อนการทดลอง
  3. จัดเตรียมห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ 38 เครื่อง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 38 คน
  4. ผู้วิจัยแนะนำวิธีการใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของนักเรียนชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีจากนั้นแนะนำวิธีการเริ่มเรียนบทเรียน วิธีการเรียน การควบคุมบทเรียน ลักษณะของการปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน การนำเข้าสู่เนื้อหาย่อย วิธีการทำแบบทดสอบและการคิดคะแนน
  5. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองเครื่องมือกับกลุ่มตัวอย่าง โดยให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จากนั้นเริ่มเรียนบทเรียน เมื่อเรียนจบแต่ละบทเรียนผู้เรียนต้องทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนจนครบทั้ง 2 หน่วยการเรียน ต่อจากนั้นผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หลังจากนั้นผู้เรียนได้รับใบงานภาคปฏิบัติเดี่ยวและใบงานภาคปฏิบัติกลุ่ม โดยผู้เรียนต้องใช้การประชุมปรึกษางานกลุ่มกันโดยใช้ Google Hang Out แชร์งานผ่าน Google Drive แสดงงานผ่านGoogle+ และประเมินผลงานตนเองผลงานเพื่อนและครูประเมิน ซึ่งคะแนนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ จะถูกนำมารวมกันเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการของการเรียนด้วยเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี
  6. หลังจากกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบหลังเรียนแล้ว ผู้วิจัยแจกแบบสอบถามความพึงพอใจของบทเรียน สำหรับผู้เรียนที่ใช้บทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีที่สร้างขึ้น
  7. รวบรวมข้อมูลคะแนนของการทำแบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกหัดระหว่างเรียนแต่ละหน่วยการเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อนำคะแนนทั้งหมดไปวิเคราะห์ข้อมูลหาประสิทธิภาพของบทเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจของผู้เรียน
  8. วิเคราะห์ข้อมูลสรุปผล

8.1   หาประสิทธิภาพของบทเรียนจากคะแนนเฉลี่ยของแบบฝึกหัดระหว่างเรียนแต่ละบทเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อประเมินผล (E1, E2) ที่เกณฑ์ 85/85
8.2   เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนบทเรียน
8.3   ประเมินค่าระดับความพึงพอใจของผู้เรียนหลังใช้บทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีและหาค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) และหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ในการวิจัยครั้งนี้ มีการจัดทำข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติต่าง ๆ ดังนี้

  1. สถิติพื้นฐาน
         1.1   ค่าเฉลี่ย (Mean) (วาโร เพ็งสวัสดิ์, 2551, น.284)

  1. วิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบ
         2.1   การวิเคราะห์หาความยากง่าย (Difficulty)


2.2   วิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนก ประสิทธิภาพของข้อสอบในการจำแนกผู้เข้าสอบออกเป็นกลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อน (วาโร เพ็งสวัสดิ์, 2551, น.238)

2.3    การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ (Reliability) ใช้สูตร KR-20 ของ คูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder – Richardson Formular 20) (วาโร เพ็งสวัสดิ์, 2551, น.240)

2.4   การหาค่าความแปรปรวน (บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร, 2555, น.285)

2.5   การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบทดสอบ โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์ จากสูตรการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item-objective Congruence : IOC) (พิสุทธา อารีราษฎ์, 2551, น.120)

  1. การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย(MMWBI)    (เพชราวดี จงประดับเกียรติ, 2551, ออนไลน์)

  1. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    ทดสอบความแตกต่างของคะแนนจากการเรียนของผู้เรียนที่ทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติแบบ t-test แบบจับคู่ (Matched-paired T-test) สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (ณัฐกร สงคราม, 2553, น.143)

 

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ใช้แบบแผนการทดลองแบบเดียวสอบก่อนเรียน-สอบหลังเรียน (One-Group Pretest – Posttest Design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการเลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี จำนวน 38 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างเรียนด้วยบทเรียนการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ซึ่งจะต้องทำแบบทดสอบก่อนเรียน ศึกษาเนื้อหาบทเรียน เมื่อเรียนจบในแต่ละบทเรียนจะต้องทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนทุกหน่วยจนครบ 2 หน่วยการเรียน และทำแบบทดสอบหลังเรียน เมื่อเรียนจบครบทุกบทเรียน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาประสิทธิภาพของบทเรียนและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนและวัดระดับความ พึงพอใจจากแบบสอบถามผู้เรียน

สรุปผลการวิจัย

     หลังจากที่ได้ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้

  1. ประสิทธิภาพของบทเรียนการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ดังนี้
         เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี มีประสิทธิภาพ 91.05/90.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ คือ 85/85 หมายถึง ผลการทดลองนี้พบว่าผู้เรียนสามารถทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน เรื่อง การปรับแต่งสีให้กับภาพ ได้คะแนนเฉลี่ย 18.21 และสามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 45.34 แสดงว่า เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีมีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนได้
  2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียน        การพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ดังนี้
         ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยการเรียนด้วยเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยจะเห็นว่า คะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบ    หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 45.34 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 22.34 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคะแนนสอบก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 4.19 มีการกระจายมากกว่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคะแนนสอบหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 1.10 ค่า t-test ตารางมีค่าเท่ากับ -33.024 แสดงให้เห็นว่า การเรียนด้วยเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
  3. ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI)วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่2  แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ดังนี้
    ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อต่อการเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ความชัดเจนของข้อคำถาม คำตอบ  รองลงมา คือ ภาพชัดเจนสวยงามง่ายต่อการเข้าใจ  และข้อที่ผู้เรียนมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ เนื้อหาครอบคลุมหลักสูตร  และ ระยะเวลาในการเรียนแต่ละหัวข้อเหมาะสม 

    สรุปได้ว่าเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ที่สร้างขึ้นในการวิจัยครั้งนี้มีประสิทธิภาพที่สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ตรงตามสมมติฐานการวิจัย

การอภิปรายผล

ผลจากการวิจัย เรื่อง การพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชา การใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี สามารถนำมาอภิปรายผลการวิจัยได้ดังต่อไปนี้

  1. ด้านการทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ กล่าวคือ ประสิทธิภาพของบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ผู้เรียนได้คะแนนเฉลี่ยของแบบฝึกหัดระหว่างเรียนมีค่าเท่ากับ 91.05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (E1) และคะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 90.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (E2) และเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี คะแนนแบบฝึกหัดระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนที่ผู้เรียนทำได้มีค่าเท่ากับ 91.05/90.68 สูงกว่าเกณฑ์ 85/85 ที่กำหนดไว้เป็นเพราะการดำเนินการพัฒนาและประเมินได้เป็นไปตามขั้นตอน ตั้งแต่การวิเคราะห์เนื้อหา     การสร้างแบบทดสอบ การออกแบบบทเรียน โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และด้านเทคนิควิธีการตรวจสอบทุกขั้นตอนจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน พบว่า บทเรียนการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี มีส่วนกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความตั้งใจและสนใจเรียนมากกว่าการเรียนรู้ในลักษณะมีผู้สอนเป็นผู้บรรยาย เพราะว่าการจัดการบทเรียนผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้นด้วยคุณลักษณะขององค์ประกอบของมัลติมีเดีย โดยนำเสนอเนื้อหาในแบบข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว การสร้างสรรค์ชิ้นงานด้านมัลติมีเดีย จำเป็นต้องถ่ายทอดจินตนาการจากสิ่งที่ยากให้เป็นสิ่งที่ง่ายต่อการรับรู้ ผู้เรียนยังได้รับประโยชน์และเพลิดเพลิน จึงไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนรู้ ช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้เรียนมากขึ้น ผู้เรียนสามารถปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับบทเรียนได้ในที่สุด ก็จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และเพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนได้ สอดคล้องกับงานวิจัยของศศิกัญชณา เย็นเอง (2549) ได้ทำการวิจัยเรื่อง เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับใช้ในการเรียนการสอนวิชา สถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (นานาชาติ) ผลการวิจัยปรากฏว่า เว็บช่วยสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 86.44/85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 85/85 ผู้เรียนสามารถทำแบบฝึกหัดของบทเรียนทั้ง 6 โมดูลได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ86.44 และสามารถทำแบบทดสอบ    หลังเรียน ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 85.00 นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของสุรภี เทพานวล (2550) ได้ทำวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1      ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ผลการวิจัยปรากฏว่า ผลการทดลองหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ทั้ง 2 ตอน มีประสิทธิภาพโดยรวมเป็น 89.11/88.56 โดยตอนที่ 1 เป็น 89.56/89.72 ตอนที่ 2 เป็น 88.67/87.41 ซึ่งได้ประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 85/85 และทุกขั้นตอนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้เช่นกัน
  2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้วิธีการทดสอบทางสถิติ t-test ปรากฏว่าค่า t-test ที่ได้จากตารางมีค่าเท่ากับ 33.02 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนจาก เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการเรียนด้วยเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 df.37 เมื่อพิจารณาจากผลคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบหลังเรียน มีค่าเท่ากับ 45.34 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนซึ่งมีค่าเท่ากับ 22.34 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนพบว่า ผู้เรียนตั้งใจเรียนรู้จากเนื้อหาตลอดเวลา เพราะมีกิจกรรมที่กำหนดให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ส่วนการนำเสนอเนื้อหาใช้เสียงบรรยายมาประกอบกับภาพเคลื่อนไหว เนื่องจากเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี เป็นลักษณะนามธรรม ไม่สามารถอธิบายให้เกิดภาพได้ จึงต้องการให้ผู้เรียนได้เห็นภาพอย่างชัดเจน เป็นขั้นตอน เข้าใจง่าย ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเนื้อหาตรงกันและสามารถกลับไปเรียนซ้ำตรงหน่วยการเรียนที่ยังไม่เข้าใจได้อีก ก่อนที่จะลงมือทำแบบทดสอบ      ซึ่งเหมาะกับการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดีกับการเรียนแบบปกติ ซึ่งจะใช้การบรรยายประกอบกับสื่อภาพ สื่อสไลด์ อาจทำให้ผู้เรียนเกิดความไม่เข้าใจในบางจุดได้ ผลการวิจัยการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี สามารถช่วยเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ วีระยุทธ์ ช่วยอุปการ (2553) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์ เรื่องไทร์สเตอร์ ทดลองกับกลุ่มตัวอย่างระดับ ปวช.1 แผนกช่างอิเล็คทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคระยอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกสุ่มอย่างง่าย ผลการวิจัยปรากฏว่า คะแนนการทดสอบหลังการเรียน มีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้วยการคำนวณจากสูตรหาค่า t-test ที่ได้จากการคำนวณมีค่าเท่ากับ 22.59 ซึ่งมากกว่าที่ได้จากตารางที่ระดับนัยสำคัญ .05 มีค่าเท่ากับ 2.03 และเมื่อพิจารณาผลคะแนนสอบหลังเรียน ปรากฏว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบมีค่าเท่ากับ 45.34 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 22.34 คะแนน แสดงว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งมีค่าเท่ากับ 45.34 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 22.34 คะแนน แสดงว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ นิตยา มณีนิล (2550) ได้ทำวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รายวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ 1 เรื่อง UNIFIEDMODELLING LANGUAGE (UML) และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของบทเรียนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มาจากประชากรที่เป็นนักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษที่ลงทะเบียนรหัสวิชา 4122502 จำนวน 53 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนแบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ 1 เรื่อง UNIFIED MODELLING LANGUAGE (UML) พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาผลคะแนนสอบหลังเรียนปรากกว่า คะแนนร้อยละเฉลี่ยจากการทดสอบท้ายบทเรียนเท่ากับ 91.87 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยรวมที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 52.02 คะแนน ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ผลการหาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี มีจำนวนผู้เรียน 38 คน ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.46 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.26 ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับดี โดยมีความพึงพอใจในด้านของเนื้อหาการดำเนินเรื่อง ภาพ ภาษา เสียง ตัวอักษร สี แบบทดสอบและการจัดการบทเรียน เนื่องจากเว็บ ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ซึ่งเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับผู้เรียน จึงไม่สึกเบื่อหน่ายต่อการเรียนด้วยตนเองและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน ผู้เรียนจึงมีความเข้าใจในเนื้อหาได้ดีขึ้น ทำให้ความพึงพอใจของผู้เรียนอยู่ในระดับดี สอดคล้องกับงานวิจัยของบุษราคัม ทองเพชร (2549) ได้ทำวิจัยเรื่อง พัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) กลุ่มตัวอย่างจำนวนผู้เรียน 30 คน ผลการวิจัยปรากฏว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาคณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพ 88.42/87.56 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาผลคะแนนสอบหลังเรียน ปรากฏว่า คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบมีค่าเท่ากับ 26.27 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 9.97 ค่า t-test ที่ได้จากการคำนวณมีค่าเท่ากับ 17.23 ซึ่งมากกว่าค่าที่ได้จากตารางระดับนัยสำคัญที่ระดับ .05 มีค่าเท่ากับ 1.699 และความคิดของผู้เรียนที่มีต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.05 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.78 ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับดี

จากการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า การพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี สามารถนำไปใช้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อเสนอแนะการวิจัย

          ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้

  1. การจัดเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนด้วยเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีจะต้องมีการเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เพียงพอกับจำนวนผู้เรียน
  2. การนำเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีจำเป็นจะต้องมีการอธิบายวิธีการใช้ให้กับผู้เรียนก่อน เพื่อผู้เรียนได้เรียนด้วยเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ได้อย่างถูกต้อง
  3. การพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี มีการวางแผนตามลำดับขั้นตอน เพื่อสะดวกในการแก้ไขข้อบกพร่องตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านเทคนิคและวิธีการและอาจารย์ที่ปรึกษา จะทำให้การพัฒนาบทเรียนง่ายต่อการสร้างมากขึ้น

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

  1. ควรเพิ่มเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) กับรายวิชาอื่น เพื่อใช้เป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น
  2. ควรมีการประมวลผลให้หลากหลายมากขึ้น เช่น การจับคู่การตอบคำถาม การเติมคำในช่องว่าง เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนและรู้สึกอยากทำมากขึ้น
  3. ควรศึกษารูปแบบการเรียนรู้ในรูปแบบอื่น เพื่อให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น โดยการสอดแทรกกิจกรรม เช่น แบบเกมการแข่งขัน การจูงใจด้วยรางวัล หรือคะแนน จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายมากขึ้น

 

โพธิ์ศรี พรรณไม้สวย ชื่อดี แต่มีพิษ

โพธิ์ศรี พรรณไม้สวย ชื่อดี แต่มีพิษ

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์

ความนำ “โพธิ์ศรี”ก็เป็นต้นไม้ที่คนรู้จักแต่ต้นและความสวยงามของใบ ดอก ผล และทรงพุ่ม  แต่ไม่รู้จักชื่อ ผู้เขียนได้รับคำถามมามาก ทั้งเรื่องชื่อและประโยชน์ของโพธิ์ศรี โพธิ์ศรีมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ในแถบประเทศนิคารากัวจนถึงเปรู นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏ คนไทยนิยมปลูกไว้ในวัด คงจะเป็นเพราะรูปร่างของทรงพุ่มและใบคล้าย“โพธิ์”นั่นเอง สิ่งควรรู้ที่ต้องนำมาเผยแพร่เกี่ยวกับโพธิ์ศรี มีหลายเรื่อง คือ ประการแรก โพธิ์ศรีไม่ใช่พืชจำพวกโพธิ์ ที่มีชื่อ “โพธิ์”นำหน้าเพราะใบคล้ายโพธิ์ ประการที่สองคือ โพธิ์ศรีไม่ได้เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติแต่อย่างใด จึงไม่จำเป็นต้องปลูกเฉพาะในวัด จะปลูกให้ร่มเงาในที่สาธารณะ สถานที่ราชการ หรืออาคารบ้านเรือนก็ได้ เนื่องจากเป็นพรรณไม้ที่แผ่กิ่งก้านได้กว้างไกล ทรงพุ่มแน่น และทิ้งใบน้อย ประการสุดท้ายที่ต้องจดจำคือในผลสวยๆนั้น มีเมล็ดกลมแบนสวยงามเช่นกัน หากรับประทานเมล็ดเข้าไปมีพิษถึงตาย จึงไม่ควรปลูกในสถานศึกษา คุณครูหรือผู้ปกครองต้องเตือนนักเรียนหรือเด็กในปกครองไม่ให้รับประทานเป็นอันขาด

โพธิ์ศรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hura crepitans Linn.
ชื่อวงศ์ Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ Sand box Tree, Portia tree, Umbrella tree, Monkey pistol, Monkey’s dinner bell
ชื่ออื่น โพธิ์ทะเล โพทะเล โพธิ์ฝรั่ง โพฝรั่ง โพศรี โพธิ์อินเดีย โพธิ์หนาม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          ไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 15 เมตร แผ่กิ่งก้านเป็นวงกว้างคล้ายร่ม ลำต้นและกิ่งใหญ่จะมีหนามเตี้ยบนเต้าแบนกระจายอยู่ทั่วไปอย่างหนาแน่น มียางสีขาวไหลออกมาเมื่อมีแผล ใบเดี่ยวรูปหัวใจคล้ายใบโพธิ์ ปลายใบแหลมยาว โคนใบเป็นรูปหัวใจ ขอบใบหยักเป็นซี่ฟันห่างๆ ใบกว้าง 8-11 ซม. ยาว 8-16 ซม. แผ่นใบเกลี้ยง มีขนตามเส้นกลางใบด้านล่าง เส้นใบมองเห็นได้ชัดเจน มีเส้นแขนงใบข้างละ 11-16 เส้น โค้งจรดกัน ก้านใบยาวประมาณ 6-10 ซม. หูใบเป็นรูปใบหอก ยาวประมาณ 0.7-1.5 ซม. หลุดร่วงได้ง่าย ดอกแยกเพศบนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้เป็นช่อดอกยาวสีแดงเข้ม ดอกเพศเมียจะมีรูปร่างกลมแบนเป็นรูปเห็ดขนาดเล็ก ช่อดอกเพศผู้ยาวประมาณ 3.5-5.5 ซม.ร ก้านช่อหนา ยาว 1.2-8 ซม. ดอกเพศเมียมีดอกเดียวอยู่ที่โคนก้าน ส่วนดอกเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านดอกยาวประมาณ 2 มม. เกสรเพศผู้มีประมาณ 10-20 อัน เรียงเป็น 2-3 วง เรียงสู่ด้านปลาย อับเรณูมีขนาดเล็ก ยาว 0.5 มม. ดอกเพศเมียก้านดอกยาว 1.2 ซม. กลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นรูปถ้วย ผลเดี่ยว กลมแป้นเป็นแบบแคปซูล แบ่งออกเป็นกลีบเท่าๆ กัน ประมาณ 14-16 กลีบ รูปทรงคล้ายฟักทอง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6.5-8 ซม. และสูง 3-5 ซม. ขั้วและก้นบุ๋มลึก เปลือกผลแข็งและหนา เขย่าผลเมื่อแห้งจัดจะมีเสียงเมล็ดสัมผัสผนังผล ผลที่แห้งจัดจะแตกออกเป็นชิ้นตามยาวของผล แต่ละชิ้นจะเป็นซี่คู่ เมล็ดกลมแบน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 ซม. กระเด็นออกมา กว่า 10 เมล็ด นำไปเพาะกล้าได้ง่าย

การขยายพันธุ์ เพาะกล้าจากเมล็ดที่กระเด็นออกมาจากผลที่แตกเป็นซี่

ถิ่นกำเนิด ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ในแถบประเทศนิการากัวจนถึงเปรู

หมายเหตุ “โพธิ์”ที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ อยู่ในวงศ์ MORACEAE ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus religiosa F. มีพืชในวงศ์เดียวกันหลายชนิด เช่น ไทร กร่าง มะเดื่อ ลูกฉิ่ง ขนุน สาเก เป็นต้น

ประโยชน์

  1. ปลูกเป็นไม้ประดับ และให้ร่มเงา ตามสวนสาธารณะ วัดวาอารามอาคาร และสถานที่ต่างๆ
  2. นำผลแห้งที่แตกเป็นชิ้นมาประดิษฐ์เป็นของตกแต่ง
  3. เนื้อไม้มีคุณภาพดี สามารถนำมาทำเฟอร์นิเจอร์
  4. ในอดีต ยางใช้เป็นยาเบื่อปลา หรือใช้อาบลูกดอกสำหรับล่าสัตว์
  5. ผลและเมล็ดมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง
  6. ในอินเดียนำผลที่ยังไม่สุกมาต้ม เจาะรู แล้วนำมาตากให้แห้ง บรรจุทรายไว้ในผล ใช้สำหรับซับหมึกจากปากกา จึงเป็นที่มาของชื่อ sand box tree

พิษของโพธิ์ศรี   ส่วนที่เป็นพิษ คือ เมล็ดและยางมีพิษ เด็กหรือผู้ใหญ่ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ นำผลและเมล็ดของโพธิ์ศรีไปรับประทานและเกิดอาการพิษ ทั้งนี้เนื่องจากผลซึ่งมีลักษณะสวยงามและดึงดูดสายตา ประกอบกับมีเมล็ดซึ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับเมล็ดถั่วปากอ้าที่ใช้บริโภค จึงเกิดพิษขึ้นได้ อาการเป็นพิษ คือ เมื่อกินเมล็ดเข้าไปประมาณ 1-2 เมล็ด จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ชีพจรเต้นเร็ว ตาพร่า ปวดท้อง ท้องร่วง และอาจมีเลือดปนออกมา ในรายที่ได้รับสารพิษในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการเพ้อ ชัก หมดสติ และเสียชีวิตได้ น้ำยางจะมีฤทธิ์กัดมาก เพราะประกอบไปด้วยสาร hurin และมีน้ำย่อย hurain ซึ่งเป็นเอนไซม์ย่อยโปรตีน ที่สามารถย่อยเนื้อได้ จึงทำให้เกิดอาการแพ้เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง โดยจะเกิดอาการเป็นผื่นแดงแบบไฟลามทุ่งและพุพองขึ้นเป็นตุ่มน้ำใส หรือถ้าเข้าตาก็อาจทำให้ตาบอดได้

กรณีศึกษาเรื่องพิษของโพธิ์ศรี

กรณีที่1 ผู้ป่วยจำนวน 23 ราย รับประทานเมล็ด 1-3 เมล็ด แล้วมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวด ศีรษะ ตาแดง มีอาการแสบร้อนในคอ ปวดท้อง ถ่ายเหลว และง่วงนอน
กรณีที่ 2 เด็กชายจำนวน 18 ราย อายุระหว่าง 12-15 ปี รับประทานเมล็ดแห้ง และเริ่มมีอาการตั้งแต่ 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง มีรายเดียวที่มีอาการเมื่อผ่านไป 6 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน แสบร้อนในคอ กระหายน้ำ และในบางรายพบว่ามีอาการปวดท้องและอุจจาระร่วง แต่วันรุ่งขึ้นอาการก็ดีขึ้น
กรณีที่ 3 ผู้ป่วยมีอาการแพ้เนื่องจากการสัมผัสยางของต้นโพธิ์ศรี มีอาการบวมแดงบริเวณผิวหนังและมีอาการอักเสบของเยื่อบุจมูกและตาตลอดปี

การรักษาเมื่อมีอาการ ก่อนนำส่งโรงพยาบาลควรให้ดื่มนมหรือผงถ่านเพื่อลดการดูดซึมของสารพิษ แล้วให้รีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อล้างท้องทันที และให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดเพื่อป้องกันการหมดสติและอาการช็อกจากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่

อ้างอิง

http://www.medplant.mahidol.ac.th/
https://medthai.com
https://th.wikipedia.org/wiki
http://thaiherbal.org/2709/2709

ทุเรียนเทศ ผลไม้หลากหลายสรรพคุณ

ทุเรียนเทศ ผลไม้หลากหลายสรรพคุณ

ผศ.วิชัย ปทุมชาติพัฒน์

ความนำ
          ชื่อของ “ทุเรียนเทศ หรือ ทุเรียนน้ำ” เพิ่งโด่งดังในประเทศไทยขึ้นมาช่วงไม่เกินสิบปีมานี้เอง เป็นเพราะงานวิจัยในอเมริกาพบว่าสารสกัดจากส่วนของใบ เมล็ด และลำต้นของทุเรียนเทศมีฤทธิ์ในการต่อต้านไวรัสและเซลล์มะเร็ง ผลไม้ชนิดนี้สามารถช่วยในการฆ่าเซลล์มะเร็งกว่า 12 ชนิดซึ่งรวมถึง มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งตับอ่อน ผลจากการรับประทานยาที่สกัดจากทุเรียนเทศ หรือการนำใบมาต้มเป็นชาแล้วรับประทาน จะช่วยในการฆ่าเซลล์มะเร็ง ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำคีโมถึง 10,000 เท่า โดยไม่ทำร้ายเซลล์ดีในร่างกาย ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผลไม้มหัศจรรย์นี้จะช่วยสู้เซลล์มะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ก่อให้เกิดการคลื่นเหียนวิงเวียน หรือเกิดอาการผมร่วงเหมือนกับการทำคีโม

          ทุเรียนเทศเป็นผลไม้ที่ขาดการให้ความสำคัญทางเศรษฐกิจในไทย ไม่มีการปลูกเป็นอาชีพ ทุเรียนเทศเป็นผลไม้แปลกหน้าสำหรับผู้พบเห็นในตลาดนัดตามชนบททางใต้ โดยปกติแล้วจะพบว่ามีการปลูกมากในภาคใต้ของประเทศไทยสำหรับบริโภคในครัวเรือน พบน้อยในภาคอื่น เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบอากาศที่มีความชื้นสูง สำหรับมาเลเซียและสิงคโปร์พบว่าทุเรียนเทศได้หายไปจากตลาดท้องถิ่น แต่กลับไปอยู่ในรูปของการแปรรูป เช่น น้ำทุเรียนเทศเข้มข้น น้ำทุเรียนเทศบรรจุกล่องพร้อมดื่มในร้านแถวรัฐปีนังของมาเลเซีย และข้ามมาขายในฝั่งไทย

          บทความนี้มุ่งให้ผู้อ่านรู้จักทุเรียนเทศและสรรพคุณที่หลากหลาย รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปลูกเป็นอาชีพและชวนเชิญให้รับประทานเป็นผลไม้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพโดยไม่ต้องรอให้เจ็บไข้ได้ป่วยก่อน ส่วนลู่ทางการพัฒนาทุเรียนเทศในเชิงอุตสาหกรรมเกษตรนั้น มีความเป็นไปได้สูงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย และสะดวกต่อการรับประทานมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันน้ำทุเรียนเทศเข้มข้นยังไม่มีการผลิตในประเทศไทย ยังไม่มีการนำเนื้อมาทำไอศกรีม หรือเยลลี่เหมือนดังในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์

ทุเรียนเทศ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Annona muricata L.
ชื่อวงศ์ ANNONACEAE
ชื่อสามัญ Soursop, Prickly Custard Apple
ชื่ออื่น ทุเรียนน้ำ(ภาคใต้)  ทุเรียนแขก (ภาคกลาง) หมากเขียบหลด หรือหมากพิลด (ภาคอีสาน) และ มะทุเรียน (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  ไม้ต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านค่อนข้างมากแต่ไม่เป็นระเบียบ ทรงพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลถึงดำ มีความสูง 4 – 5 เมตร ใบเดี่ยว รูปไข่รี เรียวยาว  ปลายแหลม โคนเรียวลง ค่อนข้างหนา ขอบใบเรียบ ใบเรียงสลับกันไปในระนาบเดียวกับกิ่ง ผิวใบอ่อนเป็นมัน กว้าง 5 – 7 ซม. ยาว 11 – 16 ซม. ก้านใบยาว 1 – 1.5 ซม.  เมื่อฉีกใบจะได้กลิ่นเหม็นเขียว ฉุนจัด ดอกเดี่ยวขนาดใหญ่เป็นรูปหัวใจ ห้อยลงที่ซอกใบ ดอกมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวส่งกลิ่นหอมตั้งแต่ช่วงบ่าย อยู่รวมกัน 2 – 4 ดอก กลีบเป็นรูปสามเหลี่ยมหนาแข็ง จำนวน 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ มีสีเหลืองแกมเขียว ยาว 3.5 – 4.5 ซม. บานแย้มเท่านั้น ไม่บานกว้าง   ออกดอกตลอดทั้งปี มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวส่งกลิ่นหอมตั้งแต่ช่วงบ่าย ผลกลุ่ม แต่มองดูคล้ายผลเดี่ยว สีเขียวสด รูปร่างกลมรีคล้ายทุเรียน เปลือกมีหนามแหลมแต่ไม่แข็ง และหนามนิ่มเมื่อสุก เนื้อในผลสีขาวเป็นเนื้อเดียวกันทั้งผล ไม่แยกเป็นแต่ละเมล็ดเหมือนน้อยหน่า มีรสหวานอมเปรี้ยวมีเส้นใยเกาะกันเหนียวแน่น ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 – 15 ซม. ยาว 15 – 25 ซม. น้ำหนักประมาณ 0.5 – 2.0 กิโลกรัม มีรสเปรี้ยว หรือหวานเล็กน้อย ถ้าผลยังดิบมีรสอมเปรี้ยว และมีรสมันเล็กน้อย เมล็ดแก่สีน้ำตาลถึงดำ หุ้มด้วยเนื้อสีขาว

การขยายพันธุ์ เพาะกล้าจากเมล็ด งอกภายใน 2-3 สัปดาห์ ให้ผลรุ่นแรกหลังอายุ 3 ปี หากต้องการให้ได้ผลผลิตเร็วขึ้นต้องขยายพันธุ์ด้วยการเสียบยอด และทาบกิ่ง

หมายเหตุ ทุเรียนเทศเป็นพืชในวงศ์เดียวกันกับน้อยหน่า น้อยโหน่ง การเวก กระดังงา นมแมว จำปี จำปา และมณฑา เป็นต้น

ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของอเมริกา ปลูกมากในแถบอเมริกากลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพืชที่ชอบสภาพพื้นที่ที่มีความชื้นสูง เป็นพืชเขตร้อน เริ่มแพร่กระจายไปสู่พื้นที่เขตร้อนทั่วโลกราวคริสต์ศตวรรษที่16 และแพร่กระจายมายังประเทศฟิลิปปินส์รวมทั้งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนักเดินเรือชาวสเปน  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในส่วนของประเทศไทยนั้นพบได้มากในภาคใต้ ในมาเลเซียและสิงคโปร์ และในแถบรัฐปีนังของมาเลเซียก็จะพบว่ามีการน้ำทุเรียนน้ำมาแปรรูปเป็นน้ำทุเรียนเข้มข้นซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากด้วย

การใช้ประโยชน์

  1. ทุเรียนเทศใช้กินเป็นผลไม้สดในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย   คนไทยสมัยโบราณนิยมนำผลอ่อนไปแกงส้ม
  2. ทุเรียนเทศถูกนำไปแปรรูปหลายแบบ เช่น เป็นผลไม้กวน เยลลี่ ไอศกรีมและซอส ในมาเลเซียนำไปทำน้ำผลไม้กระป๋อง เวียดนามนิยมทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น ในเม็กซิโกและโคลัมเบียนอกจากจะนิยมรับประทานเป็นผลไม้สดแล้ว ยังใช้ทำขนม เช่นเป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มที่ผสมนม ในอินโดนีเซียนิยมทำเป็นไอศกรีม โดยนำทุเรียนเทศไปต้มในน้ำ เติมน้ำตาลจนกว่าจะแข็ง และนำไปทำน้ำผลไม้ปั่น ในฟิลิปปินส์นิยมกินผลสุกและทำน้ำผลไม้ สมูทตี และไอศกรีม บางครั้งใช้ทำให้เนื้อนุ่ม ในเวียดนาม ใช้กินสดหรือทำสมูทตี นิยมนำเนื้อไปปั่นใส่นมข้นเติมน้ำแข็งเกล็ดหรือทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น ในมาเลเซียและอินโดนีเซียนิยมกินเป็นผลไม้เช่นกัน ในไทยจะเชื่อมแบบเชื่อมสาเก

สรรพคุณของทุเรียนเทศ

  1. ผลทุเรียนเทศมีคาร์โบไฮเดรตมาก โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโทส วิตามินซี และวิตามินบี ผล ใบ และเมล็ดมีฤทธิ์ทางยา ใช้ผลเป็นยาสมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหาร และมีสารต้านอนุมูลอิสระ  ผลดิบใช้รับประทานเพื่อรักษาโรคบิด ผลสุกช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  2. ผลจะช่วยเพิ่มน้ำนมกับหญิงให้นมบุตร
  3. ใบนำมาใช้ชงดื่มช่วยทำให้นอนหลับสบาย ใบใช้เป็นยาระงับประสาท ใบช่วยลดอาการไข้ลงได้ทันทีเมื่อตื่นนอน ใบเป็นยาแก้อาการท้องอืด ด้วยการนำมาขยี้ผสมกับปูนแล้วนำมาทาบริเวณท้อง ใบใช้รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการไอ อาการปวดตามข้อ ด้วยการนำมาขยี้ผสมกับปูนแล้วนำมาทา
  4. นำใบมาใส่ไว้ในหมอนหนุน จะช่วยทำให้หลับสบายยิ่งขึ้น (เนเธอร์แลนด์)
  5. รากและเปลือกนำมาทำเป็นชาชงดื่มแก้อาการเครียด ช่วยลดอาการเจ็บปวดและลดการเกร็ง
  6. ใบช่วยแก้อาการเมา ด้วยการใช้ใบขยี้ลงในน้ำผสมกับน้ำมะนาว 2 ลูก แล้วนำมาจิบ
  7. เมล็ดนำมาใช้ในการช่วยสมานแผลและห้ามเลือด
  8. ผลดิบนำมาตำแล้วพอกเป็นยาฝาดสมาน
  9. น้ำสกัดจากเนื้อยังช่วยในการขับพยาธิได้

ข้อควรระวัง

  1. เมล็ดของทุเรียนเทศมีพิษ จึงนำมาใช้ทำยาเบื่อและทำเป็นยาฆ่าแมลงศัตรูพืช ใช้ทำยาเบื่อปลาและเป็นยาฆ่าแมลง ประเทศมาเลเซียใช้ใบฆ่าแมลงขนาดเล็ก
  2. การรับประทานทุเรียนเทศติดต่อกันทุกวันเป็นระยะเวลานาน อาจจะทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน เนื่องจากในผลทุเรียนเทศจะมีสาร“แอนโนนาซิน” ซึ่งมีคุณสมบัติในการทำลายเซลล์สมอง และในส่วนของเมล็ดและเปลือกก็จะมีสารอัลคาลอยด์อยู่หลายชนิดที่เป็นพิษต่อร่างกาย แต่ถ้ารับประทานอย่างมีสติ ไม่ได้รับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานก็ไม่น่าจะเป็นโทษต่อร่างกาย
  3. สารสำคัญในทุเรียนเทศจะได้ผลดีที่สุด เมื่อบริโภคโดยผ่านกระบวนการน้อยที่สุด การรักษามะเร็งใช้จากใบทุเรียนเทศ ใช้ใบต้มเป็นชา ไม่ควรใช้ผ่านกระบวนการผลิต และอาจไม่ได้ผลเมือนำมาบรรจุแคปซูลหรืออัดเม็ด รวมทั้งการผ่านกระบวนการการผลิตทำเป็นน้ำผลไม้กระป๋อง เนื่องจากขั้นตอนการผลิตมักทำให้ประสิทธิภาพลดลง

การปลูกทุเรียนเทศ  ทุเรียนเทศเจริญเติบโตได้ดีในที่ดอก น้ำท่วมไม่ถึง สภาพดินร่วนที่มีความชุ่มชื้น ระบายน้ำได้ดี อากาศร้อนชื้นแบบภาคใต้ของประเทศไทย คนใต้มักนิยมปลูกไว้เป็นไม้ประดับในบ้าน เพราะดูแลได้ง่าย ทุเรียนเทศขยายพันธุ์ได้ง่ายโดยเมล็ด เพียงนำเมล็ดมาแช่น้ำทิ้งไว้ 1-2 วัน แล้วนำไปเพาะกล้าในดินผสมทั่วไป ต้นกล้าจะงอกขึ้นมาภายใน 2-3 สัปดาห์ ต้นกล้าจะโตช้า เมื่อต้นกล้าสูงราว 50 ซม. ก็นำไปปลูกในหลุมปลูกในแปลงปลูก ห่างกันต้นละ 2-3 เมตร ทุเรศเทศเป็นพืชที่เจริญเติบโตช้า จะเริ่มออกดอกเมื่อมีอายุประมาณ 3 ปี และให้ผลให้เก็บเกี่ยวในปีที่ 4  ซึ่งจะได้ผลผลิตประมาณปีละ 1.5 – 2 ตันต่อไร่

อ้างอิง

https://health.kapook.com/view66781.html
https://medthai.com
http://natres.psu.ac.th/ProjectSite/webpage/5durian-detail.htm
https://th.wikipedia.org/wiki/%

ชะมวง เป็นทั้งผักและสมุนไพรหลายสรรพคุณ

ชะมวง  เป็นทั้งผักและสมุนไพรหลายสรรพคุณ

ผศ.วิชัย ปทุมชาติพัฒน์

ความนำ คนทั่วไปส่วนใหญ่รู้จัก“ชะมวง”เฉพาะชื่อเท่านั้น แต่ไม่เคยเห็นต้นชะมวง เพราะใบชะมวงเป็นส่วนผสมของอาหารที่มีชื่อเสียงโด่งดังชื่อ“แกงหมูชะมวง”ของจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดใกล้เคียงนั่นเอง อาหารชนิดนี้ได้รับความนิยมด้วยรสชาติที่กลมกล่อม มีทั้งรสเปรี้ยวรสหวานมันเค็มในชามเดียวกัน ทำให้แพร่หลายไปทั่วประเทศ “ชะมวง”ก็ได้รับการกล่าวขานถึงมากขึ้นด้วย เนื่องจากชะมวงเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบอากาศร้อนชื้น มีปริมาณน้ำฝนตลอดปีสูง จึงเจริญเติบโตได้ดีในจังหวัดทางภาคตะวันออกและจังหวัดทางภาคใต้ เช่นเดียวกันกับมังคุดซึ่งเป็นพืชในวงศ์เดียวกัน โอกาสที่ประชาชนทั่วไปจะเห็นต้นชะมวงจึงมีน้อย และด้วยลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของชะมวงเป็นพืชที่มีดอกแยกเพศผู้และเพศเมียอยู่คนละต้น ทำให้โอกาสที่จะติดผลเพื่อแพร่พันธุ์ยากขึ้น    เกษตรกรผู้ปลูกจึงต้องปลูกชะมวงจำนวนหลายต้นเพื่อให้มีโอกาสได้ต้นที่มีเพศเมียและต้นที่มีเพศผู้ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อให้ติดผลสำหรับขยายพันธุ์ บทความนี้จะแนะนำให้รู้จักต้นชะมวงและส่วนประกอบต่างๆของต้นชะมวง พร้อมภาพประกอบที่ไปถ่ายมาจากแหล่งปลูกที่จังหวัดจันทบุรี นอกจากนี้ยังบอกประโยชน์และสรรพคุณทางสมุนไพรโดยสรุปให้เข้าใจได้ง่าย

ชะมวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia cowa Roxb. ex Choisy
ชื่อวงศ์ GUTTTIFERACEAE หรือ CLUSIACEAE
ชื่อสามัญ Cowa
ชื่ออื่น หมากโมง (อุดรธานี), กะมวง (ใต้), ส้มมวง (นครศรีธรรมราช) ส้มโมง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          ไม้ต้นไม่พลัดใบ ลำต้นสูง 15-20 เมตร เปลือกเรียบ สีน้ำตาลอมเทา เมื่ออายุมากเปลือกจะแตกเป็นสะเก็ด มียางสีเหลือง ต้นแตกกิ่งในระดับต่ำ ใต้เปลือกเป็นสีแดงหรือออกชมพูเข้มมีน้ำยางสีเหลือง ใบเดี่ยว แตกใบมากบริเวณปลายกิ่ง ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน เป็นมุมฉาก ใบรูปรี ค่อนข้างหนา แต่กรอบ กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 8-13 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน แผ่นใบเรียบ เป็นมัน ขอบใบเรียบ มองเห็นเส้นใบไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ใบอ่อนหรือยอดอ่อนมีสีม่วงแดง ใบแก่มีสีเขียวอ่อน และสีเขียวเข้มตามอายุใบ ใบมีรสเปรี้ยว ดอกเดี่ยว ขนาดเล็ก ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ และกิ่ง ดอกมีสีเหลืองนวล ด้านในดอกมีสีชมพูหรือม่วงแดง กลีบดอกมี 4 กลีบ ค่อนข้างแข็ง ขนาดกลีบเท่ากับกลีบเลี้ยง ดอกบานมีกลิ่นหอม ดอกเพศผู้ และตัวเพศเมียแยกต้นกัน ดอกเพศผู้มักออกตามซอกใบและกิ่งกลุ่มละ 3-8 ดอก ส่วนดอกเพศเมียออกบริเวณปลายยอดกลุ่มละ 2-5 ดอก ติดดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลสด มีลักษณะกลม เบี้ยวเล็กน้อย ผิวผลเรียบเป็นมัน ด้านบนผลบุ๋มลง และมีกลีบเลี้ยง 4-8 แฉกติดอยู่ที่ขั้วผล ผลมีร่องเป็นพูตื้นๆจากขั้วผลลงไปที่ก้นผล 5-8 ร่อง ขนาดผล 2.5-5.0 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่เมื่อสุกมีสีเหลือง เมื่อสุกจัดมีสีเหลืองออกส้ม เปลือกผลมียางสีเหลือง เนื้อหุ้มเมล็ดสีเหลือง ฉ่ำน้ำ เนื้อผลดิบมีรสฝาดอมเปรี้ยว เมื่อสุกออกเปรี้ยวมากกว่า เมล็ดแบนรี 4-6 เมล็ดต่อผล

แหล่งกระจายพันธุ์   ในป่าดิบชื้นตามที่ลุ่มต่ำทางภาคใต้ ภาคตะวันออก และทางภาคตะวันออกเฉียงใต้

การขยายพันธุ์ เพาะกล้าจากเมล็ด เก็บผลสุกที่ร่วงลงมาจากต้น นำมาแกะเปลือก แยกเอาเมล็ดมาตากแห้ง 5-7 วัน แล้วนั้นจึงนำไปเพาะในถุงเพาะชำ โดยใช้เนื้อดินผสมกับแกลบดำและขุยมะพร้าว ในอัตราส่วน 1:1:1

ประโยชน์

  1. ใบชะมวงอ่อน และยอดอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้นำมาปรุงอาหารประเภทต้มยำ แกงส้ม หมูชะมวง ต้มเนื้อเปื่อย แกงอ่อม และแกงที่ต้องการรสเปรี้ยว เมื่อถูกความร้อนใบจะกรอบนุ่ม
  2. ใบชะมวงอ่อน และยอดอ่อน ใช้รับประทานสดกับลาบ แหนมเนือง หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก
  3. ผลแก่มีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานเป็นผลไม้
  4. เนื้อไม้นำมาแปรรูปเป็นไม้ก่อสร้าง สร้างบ้านเรือน และทำเป็นเฟอร์นิเจอร์
  5. เนื้อไม้ และกิ่ง ใช้เป็นฝืนหุงหาอาหาร
  6. ปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อให้ร่มเงา
  7. เปลือกต้นและยางให้สีเหลืองที่เหมาะสำหรับการนำมาใช้สกัดทำสีย้อมผ้า
  8. น้ำยางสีเหลืองจากต้นชะมวง นำมาใช้ผสมในน้ำมันชักเงาได้

สรรพคุณของชะมวง

  1. ผลอ่อนช่วยฟอกโลหิต ช่วยแก้เสมหะ กัดเสมหะ กัดฟอกเสมหะ
  2. ผล ใบ ดอก ช่วยรักษาธาตุพิการ ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ ช่วยแก้อาการไอ
  3. ราก ใบ และผลอ่อนมีรสเปรี้ยว เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ตัวร้อน
  4. รากช่วยถอนพิษไข้ ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ
  5. ผลอ่อน ใบ ดอกใช้เป็นยาระบายท้อง
  6. ดอกช่วยในการย่อยอาหาร
  7. ใบช่วยขับโลหิตระดูของสตรี ช่วยแก้ดีพิการ
  8. แก่นใช้ฝนหรือแช่กับน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการเหน็บชา
  9. สาร“ชะมวงโอน”(Chamuangone)มีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งได้ดี ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคทางเดินอาหาร  ช่วยยับยั้งเชื้อโพรโทซัว

อ้างอิง

https://medthai.com
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=219
http://puechkaset.com/%E0%
https://th.wikipedia.org/wiki
https://www.samunpri.com/%

 

 

ส้มแขก สมุนไพรภาคใต้ของไทยเรา

ส้มแขก  สมุนไพรภาคใต้ของไทยเรา

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์

ความนำ ส้มแขก เป็นพืชในวงศ์เดียวกันกับมังคุด ชะมวง มะดัน เป็นต้น มีคุณสมบัติเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลายด้าน แต่ประชาชนทั่วไปรู้จักส้มแขกในสรรพคุณที่ช่วยลดความอ้วนเท่านั้น ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง มีผลงานวิจัยของนักวิชาการรองรับ จนได้รับการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนออกมาจำหน่ายอย่างแพร่หลาย นอกจากสรรพคุณในด้านลดความอ้วนแล้ว ส้มแขกยังมีประโยชน์ที่ควรรู้อีกมากมาย รวมทั้งมีเงื่อนไขในการบริโภคที่ควรระมัดระวัง ในส่วนของรูปร่างลักษณะของส้มแขกนั้นน้อยคนจะรู้จัก เนื่องจากส้มแขกเจริญเติบโตได้ดีในทางภาคใต้ของประเทศไทย  จึงจะสามารถพบส้มแขกทั้งที่เป็นผลสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปวางขายในตลาดสดหรือตลาดนัดในจังหวัดทางใต้ และอาจพบในงานแสดงสินค้าภาคอื่นบ้างเป็นครั้งคราว เนื่องจากส้มแขกเป็นพืชที่ติดผลตามฤดูกาล จึงจะพบได้ในช่วงปลายฤดูร้อน ต่อต้นฤดูฝนเท่านั้น บทความนี้นอกจากจะให้ความรู้เรื่องประโยชน์และสรรพคุณของส้มแขกแล้ว ผู้เขียนยังได้ติดตามเสาะแสวงหาหาแหล่งของส้มแขกและได้ถ่ายภาพมาจากหลายแหล่งมาประกอบเนื้อหา เพื่อให้ผู้ติดตามอ่านได้เห็นลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่ชัดเจน เป็นประโยชน์ทางการศึกษาต่อไป

ส้มแขก

ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia atroviridis Griff. ex T.Anderson
วงศ์ CLUSIACEAE หรือ GUTTIFERAE
ชื่อสามัญ  Garcinia , Malabar tamarind, Gambooge, Brindle berry, Assam fruit
ชื่ออื่น ชะมวงช้าง ส้มควาย (ตรัง) อาแซกะลูโก (ยะลา) ส้มพะงุน (ปัตตานี) ส้มมะอ้น ส้มมะวน มะขามแขก (ภาคใต้) เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5 -12 เมตร  ทรงพุ่มกว้าง แน่น ไม้เนื้อแข็ง เปลือกต้นเรียบ ต้นอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลอมดำ เมื่อลำต้นและกิ่งก้านเป็นแผลจะมียางสีเหลืองไหลออกมา ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบใหญ่ผิวเรียบเป็นมัน ใบอ่อนมีสีน้ำตาลอมแดง ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม กว้าง 6-8 ซม. ยาว 12-20 ซม. ดอกเดี่ยวดอกแยกเพศ ออกตามปลายยอด ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ด้านในสีแดง ด้านนอกมีสีเขียว มีเกสรเพศผู้เรียงอยู่บนฐานรองดอก ดอกเพศเมีย มีขนาดเล็กกว่าดอกเพศผู้ รังไข่มีรูปทรงกระบอก ผลสด ทรงกลมแป้น ผิวเรียบสีเขียว เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม ขนาด 7-9 ซม.   เปลือกผลเป็นร่องตามแนวขั้วไปยังปลายผล ประมาณ 8-10 ร่อง ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ 2 ชั้น ชั้นละ 4 กลีบ มีเมล็ดแข็ง 2-3 เมล็ดต่อผล

การขยายพันธุ์

  1. เพาะกล้าจากเมล็ด จะเจริญเติบโตช้า และให้ผลผลิตช้า
  2. เสียบยอด ให้ผลผลิตเร็วขึ้น

ถิ่นกำเนิด ในอินเดียและศรีลังกา ซึ่งมีปลูกมากในทางภาคใต้ของประเทศไทย

ประโยชน์

  1. ผลส้มแขกมีรสเปรี้ยว นิยมนำมาปรุงอาหารที่ต้องการรสเปรี้ยว เช่น แกงส้ม แกงเลียง ต้มเนื้อ ต้มปลา หรือใช้เป็นส่วนผสมของการทำน้ำยาขนมจีน
  2. ใบอ่อนส้มแขกใช้รองก้นภาชนะนึ่งปลา จะช่วยดับคาวเนื้อปลา
  3. ผลดิบเมื่อโตเต็มที่นำมาตากแห้ง แล้วนำไปต้มเคี่ยวในน้ำเชื่อม รับประทานเป็นของหวาน
  4. ผลแห้งเป็นตัวช่วยให้สีย้อมติดวัสดุที่ย้อมได้แน่นทนทาน
  5. นำใบแก่ของส้มแขกมาผสมกับยางพาราที่กรีดได้ เพื่อทำปฏิกิริยาให้น้ำยางพาราแข็งตัวเร็วขึ้น โดยใช้ใบแก่จำนวน 2 กิโลกรัมหมักกับน้ำ 10 ลิตรทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วนำมาผสมกับยางพารา
  6. เนื้อไม้ของต้นส้มแขกที่อายุเกิน 30 ปีขึ้นไป นำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรือทำเป็นไม้แปรรูปใช้ในการก่อสร้างได้

สรรพคุณ

  1. เนื้อผลของส้มแขกทำเป็นเครื่องดื่มลดความอ้วน ในผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบ เช่น แบบผง แบบเม็ด ชาส้มแขก ส้มแขกแคปซูล เมื่อรับประทานในระยะแรกอาจจะทำให้รู้สึกหิวบ่อยมากขึ้น เนื่องจากไปเร่งระบบการเผาผลาญอาหาร โดยร่างกายจะค่อย ๆ ปรับตัวไปเอง ซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ช่วงนี้ก็ให้ดื่มน้ำมากขึ้น เมื่อรับประทานต่อเนื่องไปก็จะช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้รู้สึกไม่หิว และเมื่อหยุดรับประทานผลิตภัณฑ์ส้มแขก ร่างกายจึงไม่กลับมาอ้วนอีก ที่สำคัญคือการลดความอ้วนด้วยส้มแขกจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างแน่นอน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาวิทยา จากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ประเมินผลและพบว่า ไม่มีการเปลี่ยนหน้าที่ของตับและไต รวมไปถึงระดับน้ำตาลในเลือดและความดันเลือดก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
  2. ช่วยแก้อาการไอ ใช้เป็นยาขับเสมหะ
  3. ผลแก่หรือดอกนำมาใช้ทำเป็นชาลดความดันได้
  4. ผลทำเป็นยาบรรเทาอาการปวดท้องในสตรีมีครรภ์
  5. ผลเป็นยาระบายอ่อน ๆ
  6. ใบสดน้ำมารับประทานช่วยแก้อาการท้องผูก เป็นยาขับปัสสาวะ
  7. รากใช้ทำเป็นยารักษานิ่ว
  8. สารสกัดจากส้มแขกช่วยทำให้ลำไส้เกิดการเคลื่อนไหวตัวได้เร็วขึ้นและขับไขมันออกมา
  9. ดอกตัวผู้แห้งต้มกับน้ำ ช่วยรักษาโรคเบาหวาน

 

ข้อควรระวังการใช้ส้มแขก

ส้มแขก มีสารสำคัญที่เป็นกรดมีชื่อว่า ไฮดรอกซี่ซิตริกแอสิด(Hydroxycitric Acid หรือ “HCA”) ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการสร้างไขมันจากการบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง นอกจากนี้ยังมีกรดอินทรีย์อื่น ๆ อีก เช่น กรดซิตริก (Citric Acid) กรดโดคีคาโนอิค (Dodecanoic Acid) กรดออกตาดีคาโนอิค (Octadecanoic acid) และกรดเพนตาดีคาโนอิค (Pentadecanoic acid)

ผลิตภัณฑ์สารสกัดส้มแขกที่มีปริมาณ HCA สูง ไม่ควรใช้กับสตรีตั้งครรภ์ หรือสตรีให้นมบุตร เพราะสารชนิดนี้จะไปรบกวนการสร้าง Fatty Acid, Acetyl coenzyme A รวมไปถึง Cholesterol ซึ่งอาจส่งผลต่อการสร้าง Steroid Hormone ได้นั่นเอง และสำหรับบุคคลทั่วไปการรับประทานในปริมาณมากเกินไปอาจมีอาการข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารได้

ในปัจจุบันส้มแขกได้มีการนำไปสกัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน หลายรูปแบบ เช่น แบบผง แบบเม็ด ชาส้มแขก ส้มแขกแคปซูล โดยจะมีขนาดตั้งแต่ 300-600 มิลลิกรัม และจะมีเนื้อส้มแขกประมาณ 250-500 มิลลิกรัม และมีปริมาณ HCA ประมาณ 60-70% โดยจะแตกต่างกับส้มแขกบดแห้งบรรจุแคปซูลธรรมดาที่ไม่ได้ผ่านการสกัด ซึ่งจะมีปริมาณของ HCA เพียง 30% เท่านั้น โดยวิธีการรับประทาน สารสกัดส้มแขก ให้รับประทานก่อนอาหารประมาณ 1 ชั่วโมงครั้งละ 1 แคปซูล

จึงมีคำเตือนให้ระวังในการบริโภคดังนี้

  1. สารสกัดจากส้มแขกมีความเป็นกรด หากรับประทานมาก หรือไม่รับประทานอาหารตามสลากยา จะทำให้เกิดการระคายเคือง ในกระเพาะอาหาร ทำให้ปวดท้องได้
  2. HCA อาจมีผล กระทบต่อการสร้าง acetylcholine ในสมอง และในคนซึมเศร้า ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ โรคความจำเสื่อมไม่ควรรับประทาน
  3. เนื่องจากสาร HCA มีผลรบกวนการสร้าง acetyl CaA, fatty acid รวมทั้ง cholesterol จึงอาจมีผลรบกวนต่อการสร้าง steroid hormone ได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ HCA หรือผลิตภัณฑ์ส้มแขกที่มี HCA ในปริมาณสูงในเด็ก และสตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร

อ้างอิง

http://www.bookmuey.com/?page=Garcenia.html
https://medthai.com
http://www.natres.psu.ac.th/FNR/vfsouthern/index.php/
https://www.pstip.com
https://th.wikipedia.org/wiki/

“มะกรูดหวาน” ผลไม้ที่ต้องอนุรักษ์

“มะกรูดหวาน” ผลไม้ที่ต้องอนุรักษ์

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์

ความนำ มะกรูดหวาน เป็นมะกรูดสายพันธุ์หนึ่ง มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับต้นมะกรูดทั่วไปเกือบทุกอย่าง ยกเว้น ใบนิ่ม ผิวใบเรียบ ผลใหญ่กว่ามะกรูดเปรี้ยว เนื้อในกลีบเป็นสีเหลืองเข้ม มีรสหวานหอม คล้ายส้มตราหรือส้มเช้ง ใช้รับประทานเป็นผลไม้ ไม่นิยมใช้ปรุงอาหาร

          สมัยยังเป็นเด็กผู้เขียนได้กินมะกรูดหวานอยู่เสมอ ที่บ้านเกิดอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม  ตอนเช้าจะมีชาวบ้านหิ้วใส่ตะกร้าเล็กๆมาเร่ขายตามบ้าน แม่จะซื้อให้ไว้ในครัวเป็นประจำเพราะเป็นผลไม้ท้องถิ่นที่แม่ก็ชอบกิน  ด้วยติดใจในรสชาติที่หวานหอม เมื่อโตขึ้นมาก็ไม่เห็นมะกรูดหวานอีกเลย ล่าสุดเมื่อปลายปี 2560 ไปพบในตลาดสดที่บ้านเกิด ที่ชาวบ้านนำมาขาย มีมาเพียง 10 ผล รีบซื้อมาทั้งหมด เพื่อขยายพันธุ์แจกจ่ายต้นกล้า  ก็ได้ลิ้มรสดั้งเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และขอตามไปที่บ้านแม่ค้าที่อยู่ห่างเมืองออกไปราว 10 กิโลเมตร พบว่าเป็นต้นเก่าแก่อยู่ปนอยู่กับต้นกล้วย น้อยหน่า มะม่วง และอื่นๆ เป็นการปลูกแบบสวนครัว ขาดการบำรุงรักษา  คุณภาพและปริมาณของผลผลิตจึงไม่แน่นอน .ในหมู่บ้านนั้นก็มีอีก2 ครอบครัวที่ปลูกทิ้งไว้กินในครอบครัว

          มะกรูดหวาน   จึงเป็นพืชหายากอีกชนิดหนึ่งที่ต้องจะอนุรักษ์ไว้ ควรปลูกไว้เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้กัน หากสามารถปลูกจำนวนมาก ก็สามารถนำไปขายทำรายได้ให้แก่เจ้าของได้ไม่น้อย คนโบราณชอบปลูกไว้ระหว่างต้นไม้อื่นในสวน ธรรมชาติของมะกรูดหวานจะออกผลดก หากได้รับการปลูกเป็นอาชีพ ได้รับการบำรุงรักษาที่ถูกหลักวิชาการ จะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ อาจเป็นสินค้าชุมชนในเบื้องต้น และพัฒนาเป็นผลไม้เศรษฐกิจได้ในอนาคตเหมือนส้มชนิดอื่นๆได้

มะกรูดหวาน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystrix DC.
ชื่อวงศ์ RUTACEAE
ชื่อสามัญ Sweet kaffir lime
ชื่ออื่น บักหูดหวาน(มหาสารคาม)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูง 2-4 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามยาว แหลม รูปทรงกระบอก ยาว 4 – 5 นิ้ว ใบ เปลือกลำต้นต้นเรียบ  สีน้ำตาลอ่อน ลำต้นมีกิ่งก้านจำนวนมากตั้งแต่ระดับล่างของลำต้นทำให้มีลักษณะเป็นพุ่ม ใบประกอบ มี 1 ใบย่อย เรียงสลับ รูปรี กว้างประมาณ 6.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ใบหนา ผิวเป็นมัน สีเขียวเข้ม มีต่อมน้ำมันกระจายทั่วแผ่นใบ ก้านใบแผ่เป็นแผ่น มีลักษณะคล้ายปีกนก ดอกออกเป็นช่อ มีดอกย่อยประมาณ 5 – 10 ดอก มีสีขาว ดอกย่อยกว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 1.5 ซม. ดอกสมบูรณ์เพศ ผลมีเนื้อ ผลแบบส้ม ติดผลดกเป็นพวง 5-7 ผล มีขนาดใหญ่กว่าผลของมะกรูดบ้าน ทรงกลมถึงรูปไข่ อาจมีจุกสั้นหรือไม่มี ผิว ขรุขระน้อย มีต่อมน้ำมันที่ผิว ผลกว้าง 5-7 ซม. ยาว 6-8 ซม. เปลือกหนาประมาณ 0.3 ซม. เมื่อสุกหรือแก่จัดเป็นสีเหลืองหรือเหลืองปนเขียวเล็กน้อย เนื้อข้างในมีลักษณะเป็นกลีบหลายกลีบ ประกอบด้วยถุงเล็ก ๆ จำนวนมาก มีน้ำสีเหลืองเข้มอยู่ข้างใน มีเมล็ดเกาะอยู่ในกลีบ เมล็ดกลมรี กว้าง 0.7 ซม. ยาว 0.9 ซม. จำนวน 15-20 เมล็ดต่อผล

การขยายพันธุ์

  1. เพาะกล้าจากเมล็ด
  2. ตอนกิ่ง  และเสียบยอด

หมายเหตุ

  1. สันนิษฐานว่ามะกรูดหวานเป็นเป็นมะกรูดกลายพันธุ์จากมะกรูดที่ใช้ปรุงอาหาร ได้รับความนิยมปลูกมาแต่โบราณจนกระทั่งปัจจุบัน
  2. มะกรูดหวานมีดอกและติดผลดกตลอดทั้งปี แต่จะมีมากในช่วงปลายฤดูฝน

ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของมะกรูดหวานกับมะกรูดธรรมดา

ส่วนประกอบ มะกรูดหวาน มะกรูดธรรมดา
ลำต้น -หนามแหลม ยาว ลำต้นตรง ทรงพุ่มแคบ -หนามสั้นกว่า จำนวนมาก กิ่งแผ่ออกด้านข้าง ทรงพุ่มกว้าง
ใบ -ปลายใบเรียวเล็ก ท่อนล่างที่เกิดจากก้านใบมีขนาดเล็ก คล้ายใบส้มเขียวหวาน -ปลายใบโค้งมน ท่อนล่างที่เกิดจากก้านใบขยายใหญ่
-มีกลิ่นเช่นเดียวกับส้มเขียวหวาน -มีกลิ่นหอมรุนแรง
-ไม่สามารถนำไปปรุงอาหารได้ -นำไปประกอบอาหารได้
ผล -มีผิวค่อนข้างเรียบ ขรุขระแต่ร่องไม่ลึก -ผิวขรุขระ มีร่องผิวลึก
-มีทรงกลม กลิ่นไม่ฉุนรุนแรง -มีทรงรี มีกลิ่นรุนแรงเหมือนใบ
-ไม่มีจุก หรือมีจุกแต่เตี้ย -มีจุกที่ขั้วผล สูงบ้าง เตี้ยบ้าง
-นำไปรับประทานเป็นผลไม้ -นำผิวไปเป็นส่วนผสมของเครื่องแกง
-คั้นน้ำ ใส่น้ำแข็ง เป็นน้ำผลไม้ -นำไปสระผม
  – นำไปเป็นน้ำมันหอมระเหย
เมล็ด – มีเมล็ดน้อย – มีเมล็ดมากกว่า
รสชาติของเนื้อผล – หวาน (เหมือนส้มตราหรือส้มเช้ง) – เปรี้ยวจัด
 -มีกลิ่นหอม -มีกลิ่นเฉพาะตัว
การขยายพันธุ์ -เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง เสียบยอด -เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง เสียบยอด

อ้างอิง

http://oknation.nationtv.tv/blog/chabatani/2010/12/11/entry-1
https://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.doa.go.th/pvp/images
https://www.thairath.co.th/content/1088319

บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต่อการจัดการมูลฝอยครัวเรือน

View Fullscreen